โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ฟรี
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

ปลาฉลามหางยาวธรรมดา

ดัชนี ปลาฉลามหางยาวธรรมดา

ปลาฉลามหางยาวธรรมดา หรือ ปลาฉลามเทรเชอร์ (Common thresher shark, Thresher shark, Long-tailed thresher shark) ปลากระดูกอ่อนชนิดหนึ่ง จำพวกปลาฉลาม อยู่ในวงศ์ปลาฉลามหางยาว (Alopiidae) โดยที่คำว่า vulpinus นั้นแปลงมาจากภาษาละตินคำว่า vulpes หมายถึง "หมาจิ้งจอก" ซึ่งในบางแหล่งข้อมูลที่มีข้อมูลเก่าอาจจะใช้ชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Alopias vulpes จัดเป็นปลาฉลามกินเนื้อที่มีขนาดใหญ่ชนิดหนึ่ง โดยมีความยาวเฉลี่ยเต็มที่ประมาณ 5.5-6.1 เมตร น้ำหนักตัวหนักได้ถึง 499 กิโลกรัม มีลักษณะเด่น คือ ครีบหางส่วนบนที่ยาวมาก คิดเป็นร้อยละ 50 ของขนาดตัว และมีน้ำหนักส่วนหางมากถึงร้อยละ 33 ของน้ำหนักตัวทั้งหมด ซึ่งครีบหางนี้ยามว่ายน้ำสามารถโบกขึ้นลงไปในแนวตั้งได้ด้วย ส่วนหัวมีขนาดกลมเล็ก ปากเล็ก ขากรรไกรเล็ก ภายในปากมีฟันแหลม ๆ คมซี่เล็ก ๆ จำนวนมาก ดวงตากลมโตมีขนาดใหญ่ ลำตัวสีขาวปลอดหรือขาวเงินแวววาวทั้งตัว ครีบอกแหลมยาว ครีบหลังตอนที่ 2 มีขนาดเล็ก ปลาฉลามหางยาวธรรมดา เป็นปลาฉลามที่มีนิสัยขี้อาย มักพบเห็นตัวได้ยากมาก เป็นปลาที่หากินและอาศัยอยู่ตามลำพัง โดยล่าปลาขนาดเล็กรวมถึงสัตว์น้ำอื่น ๆ กินเป็นอาหาร โดยมีวิธีการล่าเหยื่อด้วยการตีวนรอบฝูงเหยื่อให้เกิดน้ำวน เพื่อให้เหยื่อเกิดอาการตื่นตระหนกและจับทิศทางไม่ถูก จากนั้นปลาฉลามหางยาวธรรมดาก็จะว่ายผ่าตรงกลางวงไปงับกินเหยื่อทันที จัดเป็นปลาฉลามอีกชนิดหนึ่งที่ว่ายน้ำได้ว่องไวมาก เป็นปลาที่พบได้ทั่วโลกในทะเลและมหาสมุทรเขตร้อนและเขตอบอุ่น แต่ก็ถือว่าเป็นปลาที่พบเห็นได้ยากมาก สามารถพบเห็นได้ในที่ลึกถึง 500 เมตร แต่ปลาฉลามหางยาวธรรมดาก็สามารถว่ายเข้าชายฝั่งและเขตที่น้ำตื้นได้ด้วยเช่นกัน รวมถึงสามารถกระโดดได้สูงขึ้นเหนือน้ำได้ด้วย เป็นปลาที่ออกลูกเป็นตัว โดยลูกปลาจะกินกันเองตั้งแต่อยู่ในท้องแม่เหมือนปลาฉลามชนิดอื่นอีกหลายชนิด ลูกปลาแรกเกิดมีความยาวประมาณ 1.5 เมตร โดยออกลูกครั้งละ 2-6 ตัว เป็นปลาฉลามอีกชนิดหนึ่ง ที่ถูกคุกคามจนใกล้สูญพันธุ์จากการทำประมง จนถูกจัดให้เป็นหนึ่งใน 10 ชนิดของปลาฉลามที่ใกล้สูญพันธุ์ที่สุดของโลก โดยนำชิ้นส่วนต่าง ๆ ไปแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ หรือบริโภคเป็นปลาเศรษฐกิจ ที่เกาะมาลาปาสกัว ทางตอนเหนือของเกาะเซบู ในทะเลฟิลิปปิน เป็นสถานที่แห่งหนึ่งที่พบปลาฉลามหางยาวธรรมดาได้บ่อย จนกลายเป็นแหล่งท่องเที่ยวดำน้ำดูปลาฉลามหางยาวจนขึ้นชื่อ.

10 ความสัมพันธ์: ชั้นย่อยอีแลสโมแบรงไคภาษาละตินสัตว์สัตว์มีแกนสันหลังหมาจิ้งจอกอันดับปลาฉลามขาวทะเลฟิลิปปินปลากระดูกอ่อนปลาฉลามปลาฉลามหางยาว

ชั้นย่อยอีแลสโมแบรงไค

ั้นย่อยอีแลสโมแบรงไค (ชั้นย่อย: Elasmobranchii) เป็นชั้นย่อยของปลาในชั้นปลากระดูกอ่อน เป็นปลากระดูกอ่อนที่เป็นที่รู้จักกันเป็นอย่างดี ปลาในชั้นนี้มีวิวัฒนาการมาจากยุคดีโวเนียนยุคต้น (เมื่อ 400 ล้านปีก่อน) จนถึงปัจจุบัน ลักษณะสำคัญของปลาในชั้นนี้คือ ไม่มีถุงลมช่วยในการว่ายน้ำ มีช่องเหงือกทั้งหมด 5-7 คู่เปิดออกสู่ภายนอกเพื่อใช้ในการหายใจ ครีบหลังแข็งมีเกล็ดแบบสาก มีฟันที่แข็งแรงหลายชุดในปาก ปากอยู่ต่ำลงมาทางด้านท้อง มีขากรรไกรที่ไม่เชื่อมติดกับกะโหลก และเมื่อเจริญเติบโตขึ้นกระดูกอ่อนจะแทนที่ด้วยกระดูกสันหลัง รูจมูกทั้ง 2 ข้างไม่ทะลุเข้าช่องปาก หัวใจมี 2 ห้อง เม็ดเลือดแดงและเม็ดเลือดขาวมีนิวเคลียส เส้นประสาทสมอง 10 คู่ มีการสืบพันธุ์แบบอาศัยเพศด้วยการปฏิสนธิภายใน โดยที่ออกลูกเป็นตัว ตัวอ่อนเจริญในท่อรังไข่ เพศผู้จะมีอวัยวะเพศเป็นแท่ง 1 คู่ซึ่งวิวัฒนาการมาจากครีบ อยู่บริเวณกระดูกเชิงกราน บริเวณครีบท้อง ใช้สำหรับผสมพันธุ์และปล่อยอสุจิ ขณะที่เพศเมียจะมีช่องคลอด เป็นปลากระดูกอ่อนที่เป็นที่รู้จักกันเป็นอย่างดี เช่น ปลาฉลาม, ปลากระเบน, ปลาฉนาก, ปลาโรนัน พบกระจายพันธุ์อยู่ทั่วโลก.

ใหม่!!: ปลาฉลามหางยาวธรรมดาและชั้นย่อยอีแลสโมแบรงไค · ดูเพิ่มเติม »

ภาษาละติน

ษาละติน (Latin) เป็นภาษาโบราณในภาษากลุ่มอินโด-ยูโรเปียน มีต้นกำเนิดในที่ราบลาติอุม (Latium) ซึ่งเป็นพื้นที่รอบๆกรุงโรม และได้ชื่อว่าเป็นภาษาทางการในการสื่อสารของจักรวรรดิโรมัน ต่อมาภาษาละตินได้ถูกกำหนดให้เป็นภาษาสื่อสารและในพิธีสวดของศาสนจักรโรมันคาทอลิก และยังเป็นภาษาที่ใช้โดยนักวิทยาศาสตร์ นักปรัชญา และนักเทววิทยาของยุโรป ตั้งแต่ตลอดยุคกลางจนมาถึงยุคสมัยใหม่ ภาษาละตินจึงเป็นภาษาต้นฉบับของงานเขียนที่ทรงคุณค่าทั้งทางประวัติศาสตร์ และทางวรรณกรรมเป็นจำนวนมาก ภาษาอังกฤษได้รับคำในภาษาละตินเข้ามาในภาษาตนเป็นจำนวนมาก เนื่องจากอิทธิพลของเจ้าปกครองชาวแองโกล-นอร์มัน ซึ่งใช้ภาษาฝรั่งเศส นอกจากนี้คำศัพท์ที่ใช้ในสาขาวิทยาศาสตร์และการแพทย์ ล้วนเป็นคำศัพท์ภาษาละตินหรือสร้างจากภาษาละติน ภาษาละตินเป็นภาษามีวิภัติปัจจัย (การผันคำ) มีการก 7 การก (case), มีเพศ 3 เพศ, และมีพจน์ 2 พจน์ ภาษาอื่น ๆ อีกหลายภาษาที่ใช้ในปัจจุบัน พัฒนาสืบต่อมาจากภาษาละตินพื้นบ้าน ซึ่งจะเรียกกลุ่มภาษาเหล่านี้ว่า ภาษากลุ่มโรมานซ์ ภาษาที่อยู่ในกลุ่มภาษาโรมานซ์ที่สำคัญได้แก่ ภาษาฝรั่งเศส ภาษาโรมาเนีย ภาษาอิตาลี ภาษาโปรตุเกส และภาษาสเปน ภาษาส่วนใหญ่ในภาษากลุ่มอินโด-ยูโรเปียนก็มีความสัมพันธ์บางอย่างกับภาษาละติน แม้ภาษาละตินในปัจจุบัน จะมีผู้ใช้น้อยมากจนถูกนับว่าเกือบเป็นภาษาสูญแล้ว แต่การศึกษาภาษาละตินในโรงเรียนและในมหาวิทยาลัยก็ยังคงมีอยู่อย่างแพร่หลาย นอกจากนี้อักษรละติน (ที่พัฒนามาจากอักษรกรีก) ยังคงมีใช้ในหลายภาษา และเป็นอักษรที่ใช้มากที่สุดในโลก.

ใหม่!!: ปลาฉลามหางยาวธรรมดาและภาษาละติน · ดูเพิ่มเติม »

สัตว์

ัตว์ (Animal) เป็นสิ่งมีชีวิตยูแคริโอตหลายเซลล์ในอาณาจักร Animalia (หรือเรียก เมตาซัว) แผนกาย (body plan) ของพวกมันสุดท้ายคงที่เมื่อพัฒนา แม้สัตว์บางชนิดมีกระบวนการการเปลี่ยนสัณฐานภายหลังในช่วงชีวิต สัตว์ส่วนใหญ่เคลื่อนที่ได้ สัตว์ทุกชนิดต้องกินสิ่งมีชีวิตอื่นหรือผลิตภัณฑ์ของสิ่งมีชีวิตเพื่อการดำรงชีพ (สิ่งมีชีวิตสร้างอาหารเองไม่ได้) ไฟลัมสัตว์ที่รู้จักกันดีที่สุดปรากฏในบันทึกฟอสซิลเป็นสปีชีส์ภาคพื้นสมุทรระหว่างการระเบิดแคมเบรียน (Cambrian explosion) ประมาณ 542 ล้านปีก่อน สัตว์แบ่งเป็นกลุ่มย่อยหลายกลุ่ม บางกลุ่ม เช่น สัตว์มีกระดูกสันหลัง (นก สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม สัตว์สะเทินน้ำสะเทินบก สัตว์เลื้อยคลาน ปลา) มอลลัสกา (หอยกาบ หอยนางรม ปลาหมึก หมึกสาย หอยทาก) สัตว์ขาปล้อง (กิ้งกือ ตะขาบ แมลง แมงมุม แมงป่อง ปู ลอบสเตอร์ กุ้ง) สัตว์พวกหนอนปล้อง (ไส้เดือนดิน ปลิง) ฟองน้ำ และแมงกะพรุน.

ใหม่!!: ปลาฉลามหางยาวธรรมดาและสัตว์ · ดูเพิ่มเติม »

สัตว์มีแกนสันหลัง

ัตว์มีแกนสันหลัง คือสัตว์ในไฟลัมคอร์ดาตา พวกมันจะมีแกนสันหลัง ใยประสาทส่วนหลังกลวง ช่องคอหอย หลอดเส้นประสาทกลวงส่วนหลัง และหางหลังทวารหนัก ในช่วงหนึ่งของวงจรชีวิต สัตว์มีแกนสันหลังเป็นพวกดิวเทอโรสโตม กล่าวคือในช่วงระยะตัวอ่อน ทวารหนักเกิดก่อนปาก และเป็นซีโลเมตที่มีสมมาตรด้านข้าง ในกรณีของสัตว์มีแกนสันหลังที่มีกระดูกสันหลัง แกนสันหลังจะถูกแทนที่โดยกระดูกสันหลังในช่วงเจริญเติบโต และพวกมันอาจจะมีปล้องตามร่างกาย ในอนุกรมวิธาน ตัวไฟลัมเองประกอบไปด้วยไฟลัมย่อยเวอร์เตบราตา (ซึ่งประกอบด้วย ปลา สัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำ สัตว์เลื้อยคลาน สัตว์ปีก และสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม) ทูนิคาตา (ซึ่งรวมทั้งซาล์ปและเพรียงหัวหอม) และเซฟาโลคอร์ดาตา ประกอบด้วยแหลนทะเล และยังรวมถึงบางกลุ่มที่สูญพันธุ์ไปแล้ว บางครั้งกลุ่มสัตว์มีกระดูกสันหลังถูกจัดรวมอยู่กับกลุ่มสัตว์มีกระโหลกศีรษะ สัตว์มีแกนสันหลังมีมากกว่า 65,000 สปีชีส์ที่ยังมีชีวิตอยู่ กว่าครึ่งเป็นพวกปลากระดูกแข็ง วาฬและเหยี่ยวเพเรกริน สัตว์ที่มีขนาดใหญ่ที่สุดและเคลื่อนที่เร็วที่สุดตามลำดับ เป็นสัตว์มีแกนสันหลังเช่นเดียวกันกับมนุษย์ ซากดึกดำบรรพ์ของสัตว์มีแกนสันหลังยุคแรกๆ มีอายุย้อนไปถึงในช่วงการระเบิดยุคแคมเบรียน.

ใหม่!!: ปลาฉลามหางยาวธรรมดาและสัตว์มีแกนสันหลัง · ดูเพิ่มเติม »

หมาจิ้งจอก

หมาจิ้งจอก หรือ สุนัขจิ้งจอก หรือเรียกสั้น ๆ ว่า จิ้งจอก (fox, jackal; อีสาน: หมาจอก) จัดอยู่ในไฟลัมสัตว์มีกระดูกสันหลัง ชั้นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม วงศ์ Canidae ในเผ่า Vulpini ลักษณะทั่วไปของหมาจิ้งจอกจะมีขนาดลำตัวที่เล็กกว่าสุนัขบ้านทั่วไป และคล้ายกับสุนัขไทยพื้นเมือง จมูกแหลมยาว หูใหญ่ชี้ตั้ง ฟันกรามแข็งแรงและแหลมคม หางยาวเป็นพวง ขนสีน้ำตาลแกมเหลือง หมาจิ้งจอกมีทั้งหมด 27 ชนิด ใน 5 สกุล พบได้ทั่วโลก แม้กระทั่งขั้วโลกเหนือ สามารถปรับตัวให้เข้ากับทุกสภาพแวดล้อมได้ สำหรับในประเทศไทย หมาจิ้งจอกจัดอยู่ในสัตว์ป่าคุ้มครอง ตามพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป..

ใหม่!!: ปลาฉลามหางยาวธรรมดาและหมาจิ้งจอก · ดูเพิ่มเติม »

อันดับปลาฉลามขาว

อันดับปลาฉลามขาว (Mackerel shark) เป็นอันดับของปลากระดูกอ่อนในชั้นปลาฉลามอันดับหนึ่ง ใช้ชื่อว่า Lamniformes มีลักษณะโดยรวม คือ มีช่องเปิดเหงือกด้านละ 5 ช่อง ช่องเปิดเหงือกช่องที่ 4 และช่องที่ 5 อยู่เหนือฐานของครีบอก ไม่มีช่องรับน้ำบริเวณด้านหลังของตาหรือถ้ามีจะมีขนาดเล็ก จมูกไม่มีหนวด และไม่มีร่องเชื่อมระหว่างจมูก และปาก nตาอยู่ทางด้านข้างของส่วนหัวเยื้องขึ้นมาทางด้านบนเล็กน้อย ครีบหลังทั้งสองครีบไม่มีหนามแข็งอยู่ทางด้านหน้า มีครีบหลัง 2 ครีบ มีครีบก้น ปากกว้างเป็นแบบพระจันทร์เสี้ยวมุมปากอยู่ทางด้านหลังของตา จะงอยปากแหลมเป็นรูปกรวย มีทั้งหมดทั้งสิ้น 7 วงศ์ 60 ชนิดที่ยังคงมีชีวิตมาจนถึงปัจจุบันนี้.

ใหม่!!: ปลาฉลามหางยาวธรรมดาและอันดับปลาฉลามขาว · ดูเพิ่มเติม »

ทะเลฟิลิปปิน

ทะเลฟิลิปปิน ทะเลฟิลิปปิน (Dagat Pilipinas; Philippine Sea) ตั้งอยู่ทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศฟิลิปปินส์ เป็นส่วนหนึ่งของมหาสมุทรแปซิฟิกเหนือ มีร่องลึกได้แก่ ร่องลึกฟิลิปปินเทรนซ์และมาเรียนาเทรนซ์ ที่เป็นจุดลึกที่สุดในโลก.

ใหม่!!: ปลาฉลามหางยาวธรรมดาและทะเลฟิลิปปิน · ดูเพิ่มเติม »

ปลากระดูกอ่อน

ปลากระดูกอ่อน (ชั้น: Chondrichthyes; Cartilaginous fish) เป็นชั้นของปลาจำพวกหนึ่ง ซึ่งมีโครงสร้างกระดูกประกอบไปด้วยเซลล์กระดูกอ่อนอย่างเดียว โดยมีหินปูนมาประกอบเป็นบางส่วน ส่วนมากมีเหงือกแยกออกเป็นช่อง 5 ช่อง มีเกล็ดแบบพลาคอยด์ ที่จะไม่โตไปตามตัว มีลักษณะสากเมื่อสัมผัส ตัวผู้มีรยางค์เพศที่ครีบท้องเป็นติ่งยื่นเรียก แคลสเปอร์ หรือที่ในภาษาไทยเรียก เดือย โดยมากจะออกลูกเป็นตัว ขากรรไกรแยกออกจากกะโหลก ปลาจำพวกนี้พบทั่วโลกประมาณ 800 ชนิด เป็นปลากินเนื้อ ส่วนมากเป็นปลาทะเล ในน้ำจืดมีเพียงไม่กี่สิบชนิด มีหลายอันดับ หลายวงศ์ หลายสกุล โดยปลาในกลุ่มปลากระดูกอ่อนนี้ที่รู้จักกันดี ก็ได้แก่ ปลาฉลาม, ปลากระเบน, ปลาฉนาก, ปลาโรนัน เป็นต้น ปลากระดูกอ่อนส่วนใหญ่มีรูปร่างเรียวยาว ยกเว้น ปลากระเบน ที่มีรูปร่างแบน ส่วนใหญ่อยู่ในทะเล พบในน้ำจืดเพียงไม่กี่ชนิด เช่น ปลากระเบนน้ำจืด มีขนาดแตกต่างกันตามแต่ละสกุล แต่ละชนิด ตั้งแต่มีความยาวเพียงไม่ถึงหนึ่งฟุต จนถึง 20 เมตร หนักถึง 34 ตัน คือ ปลาฉลามวาฬ (Rhincodon typus) ซึ่งเป็นปลาที่ใหญ่ที่สุดในโลก.

ใหม่!!: ปลาฉลามหางยาวธรรมดาและปลากระดูกอ่อน · ดูเพิ่มเติม »

ปลาฉลาม

ปลาฉลาม (ชื่อทางวิทยาศาสตร์: Selachimorpha) เป็นปลาในชั้นปลากระดูกอ่อนจำพวกหนึ่ง มีรูปร่างโดยรวมเพรียวยาว ส่วนใหญ่มีซี่กรองเหงือก 5 ซี่ ครีบทุกครีบแหลมคม ครีบหางเป็นแฉกเว้าลึก มีจุดเด่นคือ ส่วนหัวและจะงอยปากแหลมยาว ปากเว้าคล้ายพระจันทร์เสี้ยวภายในมีฟันแหลมคม ปลาฉลามทุกชนิดเป็นปลากินเนื้อ มักล่าสัตว์น้ำชนิดต่าง ๆ กินเป็นอาหาร แต่ก็มีฉลามบางจำพวกที่กินแพลงก์ตอนเป็นอาหาร เช่น ปลาฉลามในอันดับ Orectolobiformes ได้แก่ ปลาฉลามวาฬ, ปลาฉลามในอันดับ Lamniformes เช่น ปลาฉลามเมกาเมาท์ (Megachasma pelagios) และปลาฉลามอาบแดด (Cetorhinus maximus) แต่ปลาฉลามบางสกุลในอันดับ Lamniformes เช่น ปลาฉลามมาโก (Isurus spp.) และปลาฉลามในอันดับ Carcharhiniformes มีรูปร่างเพรียวยาว ว่ายน้ำได้ปราดเปรียว โดยอาจทำความเร็วได้ถึง 35 กิโลเมตร/ชั่วโมง เช่น ซึ่งฉลามในอันดับนี้ หลายชนิดเป็นปลาที่ดุร้าย อาจทำร้ายมนุษย์หรือกินสิ่งต่าง ๆ ถึงแม้จะไม่ใช่อาหารได้ด้วย ฉลามในอันดับนี้ได้แก่ ปลาฉลามขาว (Carcharodon carcharias), ปลาฉลามเสือ (Galeocerdo cuvier), ปลาฉลามหัวบาตร (Carcharhinus leucas) เป็นต้น นอกจากนี้แล้ว ยังมีปลาฉลามที่มีรูปร่างประหลาดและพฤติกรรมที่แตกต่างไปจากปลาฉลามส่วนใหญ่ อาทิ ปลาฉลามเสือดาว (Stegostoma fasciatum), ปลาฉลามกบ (Chiloscyllium spp.) ที่อยู่ในอันดับ Orectolobiformes ซึ่งเป็นปลาฉลามที่ไม่ดุร้าย มักหากินและอาศัยอยู่ตามพื้นทะเล มีครีบหางโดยเฉพาะครีบหางตอนบนแหลมยาวและมีขนาดใหญ่ และมักมีสีพื้นลำตัวเป็นลวดลายหรือจุดต่าง ๆ เพื่อพรางตัวให้เข้ากับสภาพแวดล้อม หรือ ปลาฉลามโบราณ (Chlamydoselachus anguineus) ที่อยู่ในอันดับ Hexanchiformes ที่มีรูปร่างยาวคล้ายปลาไหล เป็นปลาน้ำลึกที่หาได้ยากมาก ๆ และเดิมเคยเชื่อว่าสูญพันธุ์ไปแล้ว ปลาฉลามโดยมากเป็นปลาที่ออกลูกเป็นตัว ในตัวผู้จะมีอวัยวะเพศเป็นติ่งยื่นยาวออกมาหนึ่งคู่เห็นได้ชัด ซึ่งเรียกว่า "เดือย" หรือ "Clasper" ในภาษาอังกฤษ แต่ก็มีเพียงบางชนิดเท่านั้นที่ออกลูกเป็นไข่ โดยมากแล้วเป็นปลาทะเล อาศัยอยู่ในทะเลทั้งเขตอบอุ่นและขั้วโลก มีเพียงบางสกุลและบางชนิดเท่านั้น ที่อาศัยอยู่ในน้ำจืดหรือน้ำกร่อยได้ อาทิ ปลาฉลามแม่น้ำ (Glyphis spp.) ที่เป็นปลาฉลามน้ำจืดแท้ โดยมีวงจรชีวิตอยู่ในน้ำจืดตลอดทั้งชีวิต และปลาฉลามหัวบาตร หรือ ปลาฉลามครีบดำ (Carcharhinus melanopterus) ที่มักหากินตามชายฝั่งและปากแม่น้ำ ซึ่งอาจปรับตัวให้อยู่ในน้ำจืดสนิทได้.

ใหม่!!: ปลาฉลามหางยาวธรรมดาและปลาฉลาม · ดูเพิ่มเติม »

ปลาฉลามหางยาว

ปลาฉลามหางยาว (Thresher shark, Long-tailed shark) เป็นปลากระดูกอ่อนประเภทปลาฉลามวงศ์หนึ่ง จัดอยู่ในวงศ์ Alopiidae ในอันดับปลาฉลามขาว (Lamniformes) โดยมีเพียงสกุลเดียว คือ Alopias แม้ว่าปลาฉลามหางยาวจะอยู่ในอันดับเดียวกันกับปลาฉลามขาว แต่ปลาฉลามหางยาวมีอุปนิสัยที่แตกต่างไปอย่างสิ้นเชิง โดยเป็นปลาที่ขี้อาย หาตัวพบเห็นได้ยากมาก แม้ว่าจะพบได้ในทะเลและมหาสมุทรเขตร้อนและเขตอบอุ่นทั่วโลก แต่สถานที่ ๆ พบเห็นตัวได้มีเพียงไม่กี่แห่ง ปลาฉลามหางยาว มีลักษณะเด่น คือ ลำตัวเพรียวยาวทรงกระสวย ดวงตากลมโตมีขนาดใหญ่ แต่มีปากขนาดเล็กและส่วนหัวที่กลมเล็ก ลำตัวเป็นสีเงินแวววาว ครีบหางตอนบนยาวมากอันเป็นลักษณะเด่นและเป็นที่มาของชื่อ ยามเมื่อว่ายน้ำครีบหางส่วนนี้สามารถขยับขึ้นลงได้ด้วย ครีบอกมีขนาดใหญ่ ปลาฉลามหางยาว มีประสาทรับกลิ่นที่ไวมากเช่นเดียวกับปลาฉลามทั่วไป เป็นปลาที่ล่าปลาชนิดอื่นในแนวปะการังกินเป็นอาหาร สามารถพบได้ในระดับความลึกกว่า 150 เมตร จัดเป็นปลาที่พบเห็นได้ยาก โดยแหล่งที่ขึ้นชื่อที่พบเห็นได้บ่อย คือ เกาะมาลาปัสกัว ที่อยู่ทางเหนือของเกาะเซบู ของทะเลฟิลิปปิน จนกลายเป็นแหล่งท่องเที่ยวดำน้ำดูปลาฉลามหางยาวจนขึ้นชื่อ.

ใหม่!!: ปลาฉลามหางยาวธรรมดาและปลาฉลามหางยาว · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

Alopias macrourusAlopias vulpesAlopias vulpinusCommon thresherCommon thresher sharkLong-tailed thresher sharkฉลามหางยาวธรรมดาฉลามเทรเชอร์ปลาฉลามเทรเชอร์

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »