โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ฟรี
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

ปลากระโทงดาบ

ดัชนี ปลากระโทงดาบ

ปลากระโทงดาบ หรือ ปลากระโทงแทงดาบ (Swordfish, Broadbill swordfish) เป็นปลาทะเลกระดูกแข็งชนิดหนึ่ง ในวงศ์ Xiphiidae จัดเป็นเพียงชนิดเดียวและสกุลเดียวเท่านั้น ที่อยู่ในวงศ์นี้ มีลักษณะทั่วไปคล้ายกับปลากระโทงร่ม (Istiophoridae) ต่างกันที่จะงอยปากที่ยื่นยาวออกไปมีลักษณะแบนลง เมื่อโตเต็มวัยไม่มีเกล็ดหุ้มตัว ไม่พบครีบท้อง ในปากไม่มีฟัน (มีฟันแต่เฉพาะยามเป็นปลาวัยอ่อน ซึ่งฟันมีความกริบเหมือนมีดโกน และจะหลุดออกเมื่อโตขึ้น) บริเวณด้านข้างคอด หางมีสันนูนเพียงข้างละสันเดียว มีขนาดตัวยาวได้ถึง 4.5 เมตร พบกระจายพันธุ์ไปในมหาสมุทรเขตร้อนและเขตอบอุ่นทั่วโลก สามารถที่จะดำน้ำได้ถึง 550 เมตร กินปลาขนาดเล็กทั่วไป สามารถว่ายน้ำได้เร็วถึง 50 ไมล์/ชั่วโมง จัดเป็นปลาที่ดุร้ายก้าวร้าวชนิดหนึ่ง มีรายงานโจมตีปลาฉลามหรือเต่าทะเล โดยพบชิ้นส่วนของจะงอยปากติดกับสิ่งที่แทง รวมถึงแม้แต่เรือดำน้ำขนาดเล็กเพื่อการวิจัยทางวิทยาศาสตร์ด้วย ก็เคยถูกปลากระโทงดาบโจมตี จนตัวปลาติดกับเรือจนตาย และเมื่อขึ้นสู่ผิวน้ำ ลูกเรือก็ได้กินปลาตัวนั้นเป็นอาหารSuper Fish: fasted predator in the sea, สารคดีทางแอนิมอลพนาเน็ต.

16 ความสัมพันธ์: ชั้นปลากระดูกแข็งพ.ศ. 2301ภาษากรีกภาษาละตินมหาสมุทรวงศ์ปลากระโทงสหภาพนานาชาติเพื่อการอนุรักษ์ธรรมชาติและทรัพยากรธรรมชาติสัตว์สัตว์มีแกนสันหลังอันดับย่อยปลากระโทงอันดับปลากะพงดาบคาโรลัส ลินเนียสปลากระโทงร่มปลาที่มีก้านครีบปลาน้ำเค็ม

ชั้นปลากระดูกแข็ง

ปลากระดูกแข็ง (ชั้น: Osteichthyes, Bony fish) จัดอยู่ในอาณาจักรสัตว์ซึ่งอยู่ในไฟลัมคอร์ดาตา เป็นปลาที่จัดอยู่ในชั้น Osteichthyes พบทั้งในน้ำจืดและน้ำเค็ม โครงร่างภายในเป็นกระดูกแข็งทั้งหมด ก้านครีบอาจเป็นกระดูกอ่อนหรือกระดูกแข็งก็ได้ มีกระดูกสันหลัง ปากอยู่ปลายสุดด้านหน้า มีฟัน ตาขนาดใหญ่ ไม่มีหนังตา ขากรรไกรเจริญดี หายใจด้วยเหงือก มีฝาปิดเหงือก หัวใจมี 2 ห้อง เม็ดเลือดแดงมีนิวเคลียส เส้นประสาทสมองมี 10 คู่ มีถุงรับกลิ่น 1 คู่ แยกเพศ ปฏิสนธิภายนอก ออกลูกเป็นไข่ มีบางชนิดที่ออกลูกเป็นตัว.

ใหม่!!: ปลากระโทงดาบและชั้นปลากระดูกแข็ง · ดูเพิ่มเติม »

พ.ศ. 2301

ทธศักราช 2301 ใกล้เคียงกั.

ใหม่!!: ปลากระโทงดาบและพ.ศ. 2301 · ดูเพิ่มเติม »

ภาษากรีก

ษากรีก ซึ่งคนที่พูดและเขียนภาษานี้เรียกว่า เฮลเลนิก หรือ เอลเลนิกา (Ελληνικά) เป็นภาษากลุ่มอินโด-ยูโรเปียน เกิดในประเทศกรีซ และเคยเป็นภาษาพูดตามชายฝั่งของเอเชียไมเนอร์และทางใต้ของประเทศอิตาลีในยุคโบราณ มีการพูดภาษาถิ่นจำนวนหนึ่ง เช่น ไอโอนิก ดอริก และแอททิก การเรียนการสอนภาษากรีกในประเทศไทยยังไม่แพร่หลายนัก ปัจจุบันมีเพียง คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง, รูปแบบไฟล.doc /สืบค้นเมื่อวันที่ 21 มกราคม..

ใหม่!!: ปลากระโทงดาบและภาษากรีก · ดูเพิ่มเติม »

ภาษาละติน

ษาละติน (Latin) เป็นภาษาโบราณในภาษากลุ่มอินโด-ยูโรเปียน มีต้นกำเนิดในที่ราบลาติอุม (Latium) ซึ่งเป็นพื้นที่รอบๆกรุงโรม และได้ชื่อว่าเป็นภาษาทางการในการสื่อสารของจักรวรรดิโรมัน ต่อมาภาษาละตินได้ถูกกำหนดให้เป็นภาษาสื่อสารและในพิธีสวดของศาสนจักรโรมันคาทอลิก และยังเป็นภาษาที่ใช้โดยนักวิทยาศาสตร์ นักปรัชญา และนักเทววิทยาของยุโรป ตั้งแต่ตลอดยุคกลางจนมาถึงยุคสมัยใหม่ ภาษาละตินจึงเป็นภาษาต้นฉบับของงานเขียนที่ทรงคุณค่าทั้งทางประวัติศาสตร์ และทางวรรณกรรมเป็นจำนวนมาก ภาษาอังกฤษได้รับคำในภาษาละตินเข้ามาในภาษาตนเป็นจำนวนมาก เนื่องจากอิทธิพลของเจ้าปกครองชาวแองโกล-นอร์มัน ซึ่งใช้ภาษาฝรั่งเศส นอกจากนี้คำศัพท์ที่ใช้ในสาขาวิทยาศาสตร์และการแพทย์ ล้วนเป็นคำศัพท์ภาษาละตินหรือสร้างจากภาษาละติน ภาษาละตินเป็นภาษามีวิภัติปัจจัย (การผันคำ) มีการก 7 การก (case), มีเพศ 3 เพศ, และมีพจน์ 2 พจน์ ภาษาอื่น ๆ อีกหลายภาษาที่ใช้ในปัจจุบัน พัฒนาสืบต่อมาจากภาษาละตินพื้นบ้าน ซึ่งจะเรียกกลุ่มภาษาเหล่านี้ว่า ภาษากลุ่มโรมานซ์ ภาษาที่อยู่ในกลุ่มภาษาโรมานซ์ที่สำคัญได้แก่ ภาษาฝรั่งเศส ภาษาโรมาเนีย ภาษาอิตาลี ภาษาโปรตุเกส และภาษาสเปน ภาษาส่วนใหญ่ในภาษากลุ่มอินโด-ยูโรเปียนก็มีความสัมพันธ์บางอย่างกับภาษาละติน แม้ภาษาละตินในปัจจุบัน จะมีผู้ใช้น้อยมากจนถูกนับว่าเกือบเป็นภาษาสูญแล้ว แต่การศึกษาภาษาละตินในโรงเรียนและในมหาวิทยาลัยก็ยังคงมีอยู่อย่างแพร่หลาย นอกจากนี้อักษรละติน (ที่พัฒนามาจากอักษรกรีก) ยังคงมีใช้ในหลายภาษา และเป็นอักษรที่ใช้มากที่สุดในโลก.

ใหม่!!: ปลากระโทงดาบและภาษาละติน · ดูเพิ่มเติม »

มหาสมุทร

การแบ่งมหาสมุทรตามแบบต่างๆ แผ่นที่กายภาพก้นทะเล มหาสมุทร (ocean) เป็นผืนน้ำทะเลขนาดใหญ่เชื่อมต่อกัน และครอบคลุมพื้นที่ประมาณ 3 ใน 4 (71%) ของพื้นผิวโลก มหาสมุทรเรียงตามลำดับขนาดจากมากไปน้อยได้แก่ มหาสมุทรแปซิฟิก มหาสมุทรแอตแลนติก มหาสมุทรอินเดีย มหาสมุทรใต้ และมหาสมุทรอาร์กติก คำว่า sea หรือทะเล บางครั้งใช้แทนคำว่า "ocean" หรือ "มหาสมุทร" ในภาษาอังกฤษแบบอเมริกันได้ แต่หากเจาะจงการพูดแล้ว sea คือแหล่งน้ำเค็ม (ส่วนหนึ่งของมหาสมุทร) ส่วนที่มีพื้นที่ติดพื้นดิน มวลน้ำเค็มปกคลุมประมาณ 72% ของพื้นผิวโลก (~3.6 กม.2) และถูกแบ่งเป็นมหาสมุทรหลัก ๆ และทะเลขนาดเล็กอีกหลายแห่ง โดยมหาสมุทรจะครอบคลุมพื้นที่โลกประมาณ 71% มหาสมุทรประกอบด้วยน้ำของโลก 97% และนักสมุทรศาสตร์กล่าวว่ามหาสมุทรในโลกเพิ่งได้มีการสำรวจไปได้เพียง 5% เท่านั้น ปริมาตรสุทธิมีประมาณ 1.35 พันล้านลูกบาศก์กิโลเมตร (320 ล้านลูกบาศก์ไมล์) มีความลึกเฉลี่ยที่ เนื่องจากมหาสมุทรเป็นส่วนประกอบหลักของอุทกภาคของโลก มหาสมุทรจึงเป็นสิ่งสำคัญต่อสิ่งมีชีวิตทุกชนิด เป็นส่วนหนึ่งในวัฏจักรคาร์บอน และมีอิทธิพลต่อภูมิอากาศและลมฟ้าอากาศ มหาสมุทรเป็นที่อยู่อาศัยของสิ่งมีชีวิตกว่า 230,000 สปีชีส์ แม้ว่ามหาสมุทรในส่วนที่ลึก ๆ ส่วนมากยังคงไม่ถูกสำรวจ และเชื่อกันว่ามีสิ่งมีชีวิตใต้น้ำมากกว่า 2 ล้านชนิดอยู่ในนั้น จุดกำเนิดของมหาสมุทรนั้นยังไม่มีคำตอบ แต่มีความคิดว่ามันเกิดขึ้นในบรมยุคเฮเดียน และอาจจะเป็นแรงกระตุ้นให้เกิดกระบวนการกำเนิดชีวิตจากสิ่งไร้ชีวิต.

ใหม่!!: ปลากระโทงดาบและมหาสมุทร · ดูเพิ่มเติม »

วงศ์ปลากระโทง

ปลากระโทงร่มอินโด-แปซิฟิก วงศ์ปลากระโทง, วงศ์ปลากระโทงแทง หรือ วงศ์ปลาปากนก ปลากระดูกแข็งขนาดใหญ่จำพวกหนึ่งอาศัยอยู่ในทะเล อยู่ในอันดับปลากะพง (Perciformes) ใช้ชื่อวงศ์ว่า Istiophoridae โดยคำว่า Istiophoridae ที่ใช้เป็นชื่อวงศ์นั้น มาจากภาษากรีกคำว่า "Ιστίων" (Istion) หมายถึง "ใบเรือ" รวมกับคำว่า "φέρειν" (pherein) หมายถึง "แบกไว้" ปลากระโทง เป็นปลาทะเลขนาดใหญ่ที่มีความปราดเปรียวและว่องไวมาก จัดเป็นปลาที่สามารถว่ายน้ำได้เร็วที่สุดในโลกด้วยมีกล้ามเนื้อที่ทรงพลัง และกระดูกหลังที่มีความยืดหยุ่นสูง สามารถพุ่งจากน้ำได้เร็ว 60 กิโลเมตร/ชั่วโมง และในฤดูอพยพอาจทำความเร็วได้ 90 กิโลเมตร/ชั่วโมง มีลำตัวค่อนข้างกลม ปากกว้าง มีฟันแบบวิลลิฟอร์ม ครีบหลังและครีบก้นมีอย่างละ 2 ครีบ ไม่มีครีบฝอย ครีบท้องมีก้านครีบ 1-3 ก้าน มีสันที่คอดหาง ครีบหางเว้าลึก มีจุดเด่นคือปลายปากด้านบนมีกระดูกยื่นยาวแหลมออกมา ใช้ในการนำทาง ล่าเหยื่อ และป้องกันตัว ซึ่งสันนิษฐานว่าเป็นสิ่งที่เหลืออยู่จากยุคก่อนประวัติศาสตร์ เพื่อป้องกันตัวจากบรรดาปลานักล่าต่าง ๆ ที่มีอยู่ดาษดื่นSuper Fish: fastest predator in the sea, สารคดีทางแอนิมอลพลาเน็ต.ทางทรูวิชั่นส์: เสาร์ที่ 15 มิถุนายน 2556 มีครีบกระโดงหลังมีสูงแหลม ในบางชนิด จะมีกระโดงสูงมากและครอบคลุมเกือบเต็มบริเวณหลัง ดูแลคล้ายใบเรือ มีสีและลวดลายข้างลำตัวแตกต่างออกไปตามแต่ชนิด ซึ่งจะเปลี่ยนไปตามสภาพอารมณ์ หากตกใจหรือเครียด สีจะซีด และใช้เป็นสิ่งที่แยกของปลาแต่ละตัว โดยมากแล้วมักจะอาศัยหากินอยู่บริเวณผิวน้ำ พบได้ในทะเลเขตอบอุ่นและเขตร้อนทั่วโลก ออกล่าเหยื่อเป็นปลาขนาดเล็กกว่า บางครั้งอาจอยู่รวมเป็นฝูงนับร้อยตัว มักล่าเหยื่อในเวลากลางวัน เนื่องจากเป็นปลาที่ล่าด้วยประสาทสัมผัสทางตาเป็นหลัก สามารถโดดพ้นน้ำได้สูงและมีความสง่างามมาก จึงนิยมตกเป็นเกมกีฬา ได้รับฉายาจากนักตกปลาว่าเป็น "ราชินีแห่งท้องทะล" โดยมักจะออกตกด้วยการล่องเรือไปกลางทะเลและตกด้วยอุปกรณ์ชนิดต่าง ๆ ซึ่งต้องใช้ด้วยกันเวลาหลายชั่วโมง ด้วยการให้ปลายื้อเบ็ดจนหมดแรงเอง โดยปลากระโทงชนิดที่ใหญ่ที่สุดคือ ปลากระโทงสีน้ำเงิน (Makaira nigricans) เป็นชนิดที่พบที่มหาสมุทรแอตแลนติก ที่สามารถโตเต็มที่ได้ถึง 5 เมตร หนักกว่า 636 กิโลกรัม.

ใหม่!!: ปลากระโทงดาบและวงศ์ปลากระโทง · ดูเพิ่มเติม »

สหภาพนานาชาติเพื่อการอนุรักษ์ธรรมชาติและทรัพยากรธรรมชาติ

หภาพนานาชาติเพื่อการอนุรักษ์ธรรมชาติและทรัพยากรธรรมชาติ (International Union for Conservation of Nature and Natural Resources หรือ World Conservative Union: IUCN) เป็นองค์การระหว่างประเทศที่จัดตั้งขึ้นด้วยเป้าหมายเพื่อการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ องค์กรนี้ก่อตั้งขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2491 (1948) มีสำนักงานใหญ่ตั้งอยู่บริเวณทะเลสาบเจนีวาในเมืองแกลนด์ ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ องค์กรประกอบไปด้วยประเทศสมาชิก 83 ประเทศ ตัวแทนรัฐบาล 108 กลุ่ม องค์กรอิสระ 766 กลุ่ม และองค์กรระหว่างประเทศ มีนักวิทยาศาสตร์และผู้เชี่ยวชาญในสังกัดประมาณ 10,000 จากทั่วโลก.

ใหม่!!: ปลากระโทงดาบและสหภาพนานาชาติเพื่อการอนุรักษ์ธรรมชาติและทรัพยากรธรรมชาติ · ดูเพิ่มเติม »

สัตว์

ัตว์ (Animal) เป็นสิ่งมีชีวิตยูแคริโอตหลายเซลล์ในอาณาจักร Animalia (หรือเรียก เมตาซัว) แผนกาย (body plan) ของพวกมันสุดท้ายคงที่เมื่อพัฒนา แม้สัตว์บางชนิดมีกระบวนการการเปลี่ยนสัณฐานภายหลังในช่วงชีวิต สัตว์ส่วนใหญ่เคลื่อนที่ได้ สัตว์ทุกชนิดต้องกินสิ่งมีชีวิตอื่นหรือผลิตภัณฑ์ของสิ่งมีชีวิตเพื่อการดำรงชีพ (สิ่งมีชีวิตสร้างอาหารเองไม่ได้) ไฟลัมสัตว์ที่รู้จักกันดีที่สุดปรากฏในบันทึกฟอสซิลเป็นสปีชีส์ภาคพื้นสมุทรระหว่างการระเบิดแคมเบรียน (Cambrian explosion) ประมาณ 542 ล้านปีก่อน สัตว์แบ่งเป็นกลุ่มย่อยหลายกลุ่ม บางกลุ่ม เช่น สัตว์มีกระดูกสันหลัง (นก สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม สัตว์สะเทินน้ำสะเทินบก สัตว์เลื้อยคลาน ปลา) มอลลัสกา (หอยกาบ หอยนางรม ปลาหมึก หมึกสาย หอยทาก) สัตว์ขาปล้อง (กิ้งกือ ตะขาบ แมลง แมงมุม แมงป่อง ปู ลอบสเตอร์ กุ้ง) สัตว์พวกหนอนปล้อง (ไส้เดือนดิน ปลิง) ฟองน้ำ และแมงกะพรุน.

ใหม่!!: ปลากระโทงดาบและสัตว์ · ดูเพิ่มเติม »

สัตว์มีแกนสันหลัง

ัตว์มีแกนสันหลัง คือสัตว์ในไฟลัมคอร์ดาตา พวกมันจะมีแกนสันหลัง ใยประสาทส่วนหลังกลวง ช่องคอหอย หลอดเส้นประสาทกลวงส่วนหลัง และหางหลังทวารหนัก ในช่วงหนึ่งของวงจรชีวิต สัตว์มีแกนสันหลังเป็นพวกดิวเทอโรสโตม กล่าวคือในช่วงระยะตัวอ่อน ทวารหนักเกิดก่อนปาก และเป็นซีโลเมตที่มีสมมาตรด้านข้าง ในกรณีของสัตว์มีแกนสันหลังที่มีกระดูกสันหลัง แกนสันหลังจะถูกแทนที่โดยกระดูกสันหลังในช่วงเจริญเติบโต และพวกมันอาจจะมีปล้องตามร่างกาย ในอนุกรมวิธาน ตัวไฟลัมเองประกอบไปด้วยไฟลัมย่อยเวอร์เตบราตา (ซึ่งประกอบด้วย ปลา สัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำ สัตว์เลื้อยคลาน สัตว์ปีก และสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม) ทูนิคาตา (ซึ่งรวมทั้งซาล์ปและเพรียงหัวหอม) และเซฟาโลคอร์ดาตา ประกอบด้วยแหลนทะเล และยังรวมถึงบางกลุ่มที่สูญพันธุ์ไปแล้ว บางครั้งกลุ่มสัตว์มีกระดูกสันหลังถูกจัดรวมอยู่กับกลุ่มสัตว์มีกระโหลกศีรษะ สัตว์มีแกนสันหลังมีมากกว่า 65,000 สปีชีส์ที่ยังมีชีวิตอยู่ กว่าครึ่งเป็นพวกปลากระดูกแข็ง วาฬและเหยี่ยวเพเรกริน สัตว์ที่มีขนาดใหญ่ที่สุดและเคลื่อนที่เร็วที่สุดตามลำดับ เป็นสัตว์มีแกนสันหลังเช่นเดียวกันกับมนุษย์ ซากดึกดำบรรพ์ของสัตว์มีแกนสันหลังยุคแรกๆ มีอายุย้อนไปถึงในช่วงการระเบิดยุคแคมเบรียน.

ใหม่!!: ปลากระโทงดาบและสัตว์มีแกนสันหลัง · ดูเพิ่มเติม »

อันดับย่อยปลากระโทง

อันดับย่อยปลากระโทง (Swordfish, Marlin, Billfish) เป็นอันดับย่อยของปลากระดูกแข็งทะเล ในอันดับปลากะพง (Perciformes) ใช้ชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Xiphioidei เป็นปลาทะเลขนาดใหญ่ เมื่อโตเต็มที่แล้วมีขนาดลำตัวเกินกว่า 1 เมตร มีจุดเด่น คือ มีจะงอยปากบนยาวแหลมใช้สำหรับไล่ต้อนปลาขนาดเล็กเป็นอาหาร และสำหรับป้องกันตัว เป็นปลาที่ว่ายน้ำได้รวดเร็วว่องไวมาก แบ่งออกเป็น 2 วงศ์ คือ.

ใหม่!!: ปลากระโทงดาบและอันดับย่อยปลากระโทง · ดูเพิ่มเติม »

อันดับปลากะพง

อันดับปลากะพง (อันดับ: Perciformes; Bass, Snapper, Perch, Jack, Grunter) เป็นการจำแนกอันดับของปลาจำพวกหนึ่ง ใช้ชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Perciformes (/เพอร์-ซิ-ฟอร์-เมส/) ซึ่งเป็นปลากระดูกแข็ง คิดเป็นร้อยละ 40 ของปลากระดูกแข็งทั้งหมด ลักษณะเด่นของปลาในอันดับนี้คือ เป็นปลากินเนื้อ เกล็ดมีลักษณะสากขอบเป็นหยักแข็ง ปากยาวมีลักษณะยืดหดได้ มีก้านครีบแข็ง หรือ Spine ที่ครีบหลังตอนหน้า พบได้ทั้ง น้ำจืด, น้ำกร่อย และทะเล สำหรับวงศ์ปลาที่อยู่ในอันดับนี้มีอยู่มากมายถึง 156 วงศ์ (ดูในเนื้อหา) โดยสามารถแบ่งได้เป็นอันดับย่อยลงไปอีก (ดูในตาราง).

ใหม่!!: ปลากระโทงดาบและอันดับปลากะพง · ดูเพิ่มเติม »

ดาบ

ญี่ปุ่น หรือ คะตะนะ เป็นดาบที่มีคมด้านเดียว ดาบ เป็นชื่อเรียกของอาวุธที่มีขนาดยาวและมีคมที่ด้าน มีการใช้ทั่วโลกโดยมีชื่อเรียกและลักษณะที่แตกต่างกันออกไป ส่วนประกอบหลักของดาบจะประกอบด้วยสามส่วนหลักคือ คมดาบ ไว้สำหรับฟันและตัด, ปลายดาบไว้สำหรับแทง, และ ด้ามดาบไว้สำหรับจับถือ.

ใหม่!!: ปลากระโทงดาบและดาบ · ดูเพิ่มเติม »

คาโรลัส ลินเนียส

รลัส ลินเนียส (ภาษาละติน) หรือ คาร์ล ลินเนียส (ภาษาสวีเดน) ปัจจุบันภาพนี้จัดแสดงที่ราชวิทยาลัยวิทยาศาสตร์แห่งสวีเดน ลายมือชื่อของคาร์ล ลินเนียส คาโรลัส ลินเนียส (Carolus Linnaeus) หรือ คาร์ล ฟอน ลินเนีย บ้างก็เรียก คาร์ล ลินเนียส (Carl Linnaeus) (23 พฤษภาคม พ.ศ. 2250 - 10 มกราคม พ.ศ. 2321) เป็นนักพฤกษศาสตร์ชาวสวีเดน ผู้ริเริ่มการจัดแบ่งสิ่งมีชีวิตออกเป็นหมวดหมู่ และการประยุกต์ใช้ระบบการเรียกชื่อสิ่งมีชีวิตแบบทวินาม ซึ่งมีประโยชน์ในการศึกษาชีววิทยาต่อมาจวบจนปัจจุบัน อนึ่ง ชื่อวิทยาศาสตร์ของสิ่งมีชีวิตที่จัดจำแนกโดยเขา จะลงท้ายด้วย L. หรือ Linn.

ใหม่!!: ปลากระโทงดาบและคาโรลัส ลินเนียส · ดูเพิ่มเติม »

ปลากระโทงร่ม

รีบหลังอันใหญ่เป็นเอกลักษณ์ ปลากระโทงร่ม หรือ ปลากระโทงแทงร่ม (Sailfish) เป็นปลากระโทงที่มีขนาดใหญ่ชนิดหนึ่ง ในสกุล Istiophorus มีรูปร่างยาวเรียว ลำตัวแบนข้าง ส่วนของสันหลังมีกล้ามเนื้อหนา หัวค่อนข้างโต ปากกว้าง จะงอยปากเรียวยาวและแหลม มีครีบกระโดงหลังสูงใหญ่เวลาแผ่กว้างจะมีลักษณะคล้ายใบเรือ ซึ่งใหญ่กว่าปลากระโทงสกุลอื่น ครีบอกมีขนาดเล็ก ครีบท้องเรียวยาวเหมือนแถบริบบิ้น ครีบก้นแยกเป็นสองอันเล็ก ๆ อันที่สองอยู่ตรงข้ามครีบหลังซึ่งมีขนาดใกล้เคียงกัน สีของลำตัวด้านหลังเป็นสีน้ำเงินเข้มปนดำข้างตัวสีน้ำเงินอ่อนกว่าด้านหลัง ท้องสีขาวเงินมีลายเป็นเส้นประพาดจากด้านหลังลงไปถึงท้อง ครีบทุกครีบมีสีดำ มีความยาวได้ถึง 3.5 เมตร น้ำหนักตัวประมาณ 100-125 กิโลกรัม กระจายพันธุ์อยู่ทั่วไปในทะเลเปิดของมหาสมุทรต่าง ๆ ทั้ง มหาสมุทรแปซิฟิก, มหาสมุทรแอตแลนติก, มหาสมุทรอินเดีย ในน่านน้ำไทยพบได้ทั้งฝั่งอ่าวไทยและทะเลอันดามัน เป็นปลาที่มีความปราดเปรียวว่องไวมาก โดยสามารถว่ายน้ำได้เร็วถึง 110 กิโลเมตรต่อชั่วโมง เนื่องจากเป็นปลาที่มีกล้ามเนื้อแข็งแรงมาก ข้อต่อของกระดูกและครีบต่าง ๆ ที่ช่วยในการเคลื่อนไหวได้เป็นอย่างดี มีการอพยพย้ายถิ่นไปตามกระแสน้ำ ลูกปลาวัยอ่อนเมื่อฟักออกมาจากไข่มีขนาดเพียง 3 มิลลิเมตรเท่านั้น และจะมีขนาดเหมือนตัวเต็มวัยเมื่อมีความยาวได้ 20 เซนติเมตร ปลาวัยอ่อนจะอาศัยหากินตามผิวน้ำที่ไม่ไกลจากฝั่งมากนัก และบางครั้งอาจเข้าไปหากินใกล้ชายฝั่งหรือใกล้กับเกาะ โดยใช้จะงอยปากที่แหลมยาวและครีบหลังที่ใหญ่ไล่ต้อน ซึ่งอาหารที่ชื่นชอบ คือ ปลาขนาดเล็กและหมึก เมื่อจะล่าเหยื่อ โดยเฉพาะปลาแมกเคอเรล จะเปลี่ยนสีลำตัวเป็นสีฟ้าหรือสีน้ำเงิน เนื่องจากสายตาของปลาแมกเคอเรลไวต่อแสงสีฟ้าหรือสีน้ำเงินมาก รวมทั้งสามารถมองเห็นแสงอัลตราไวโอเลตด้วย การเปลี่ยนเป็นสีฟ้าจะทำให้ปลาแมกเคอเรลสับสน ปลากระโทงร่ม เป็นปลาที่เป็นทื่นิยมอย่างมากในการตกเป็นเกมกีฬา ด้วยเป็นปลาที่สู้กับเบ็ดและต้องใช้พละกำลังและเวลาอย่างมากในการตก.

ใหม่!!: ปลากระโทงดาบและปลากระโทงร่ม · ดูเพิ่มเติม »

ปลาที่มีก้านครีบ

ปลาที่มีก้านครีบ (Ray-finned fishes) เป็นชั้นย่อยของปลากระดูกแข็ง (Osteichthyes) ชั้นหนึ่ง ใช้ชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Actinopterygii (/แอก-ติ-โน-เทอ-ริ-กิ-ไอ/) เป็นปลาที่เคลื่อนไหวโดยอาศัยครีบและกล้ามเนื้อลำตัวเป็นสำคัญ ซึ่งแบ่งออกได้เป็น ก้านครีบแข็ง และก้านครีบอ่อน ซึ่งปลาส่วนใหญ่ในปัจจุบัน จะถูกจัดอยู่ในชั้นนี้ บรรพบุรุษของปลาในชั้นนี้จะมีขนาดเล็ก มีเกราะหุ้มตัวหนา มีปอดและเหงือก ชื่อ Andreolepis hedei โดยพบเป็นฟอสซิลอยู่ในยุคปลายซิลลูเรียนเมื่อกว่า 420 ล้านปีก่อนที่รัสเซีย, สวีเดน และเอสโตเนีย ปลาชั้นนี้มีการวิวัฒนาการอยู่ 3 ขั้นตอน คือ.

ใหม่!!: ปลากระโทงดาบและปลาที่มีก้านครีบ · ดูเพิ่มเติม »

ปลาน้ำเค็ม

ปลาหมอทะเล (''Epinephelus lanceolatus'') เป็นปลาน้ำเค็มขนาดใหญ่ที่สุดที่มักพบได้ตามแนวปะการังเขตร้อนและเขตอบอุ่นทั่วโลก ปลาน้ำเค็ม หรือ ปลาทะเล คือ ปลาที่เป็นปลาส่วนใหญ่ที่พบได้ในปัจจุบันนี้ มีแหล่งอาศัยอยู่ในแหล่งน้ำที่เป็นน้ำทะเลหรือน้ำเค็มที่มีปริมาณความเค็มของเกลือละลายมากกว่าร้อยละ 3–5 ขึ้นไป อันได้แก่ มหาสมุทร, ทะเล, ทะเลสาบน้ำเค็ม, ทะเลลึก หรือปากแม่น้ำ, ชายฝั่ง หรือป่าโกงกางที่เป็นส่วนของน้ำเค็มหรือน้ำกร่อย โครงสร้างของปลาน้ำเค็มนั้นจะไม่แตกต่างไปจากปลาน้ำจืดเท่าใดนัก เพียงแต่จะมีการปรับตัวให้เข้ากับน้ำเค็มได้โดยมีผิวหนังและเกล็ดหุ้มตัวกันไม่ให้น้ำและเกลือแร่ผ่านสู่ร่างกายมากนัก น้ำจากภายในร่างกายจะแพร่ออกสู่ภายนอกร่างกาย เนื่องจากน้ำภายนอกร่างกายมีความเข้มข้นของสารละลายมากกว่าภายในร่างกาย ปลาน้ำเค็มจึงต้องมีการดื่มน้ำเพื่อทดแทนน้ำที่สูญเสียไปซึ่งต่างจากปลาน้ำจืด ไตของปลาน้ำเค็มขับปัสสาวะที่มีความเข้มข้นของเกลือแร่สูงเท่ากับปริมาณออกซิเจนในเลือด ขณะที่ปลาน้ำจืดไตจะขับปัสสาวะที่มีความเข้มข้นของเกลือแร่ต่ำกว่าที่อยู่ในเลือด ในขณะเดียวกันก็จะมีการขับสารละลายส่วนเกินที่ได้จากการดื่มน้ำออกสู่นอกร่างกาย โดยจะมีอวัยวะพิเศษที่จะช่วยในการขับสารละลายที่ไม่ต้องการออก เรียกว่า คลอไรด์เซลล์ ที่อยู่บริเวณเหงือก ที่เป็นอวัยวะช่วยในการหายใจ นอกจากนี้แล้ว ปลาน้ำเค็มในบางอันดับเช่นอันดับปลากะพงจะมีโครงสร้างของกระดูกที่มีความแข็งแรงและหนาแน่น มีน้ำหนักกว่าปลาน้ำจืด ทั้งนี้เนื่องจาก ความเค็มในทะเลหรือมหาสมุทรจะมีความหนาแน่นมากกว่าในน้ำจืด ฉะนั้นปลาน้ำเค็มจึงมีการลอยตัวตามธรรมชาติได้ดีกว.

ใหม่!!: ปลากระโทงดาบและปลาน้ำเค็ม · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

SwordfishXiphiasXiphias gladiusXiphiidaeปลากระโทงแทงดาบ

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »