โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ฟรี
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

ปลากดหัวเสียม

ดัชนี ปลากดหัวเสียม

ปลากดหัวเสียม (Shovelhead catfishes; เบงกาลี: আইড়) เป็นชื่อสกุลของปลาหนังน้ำจืดจำพวกหนึ่ง ในวงศ์ปลากด (Bagridae) ใช้ชื่อสกุลว่า Sperata (/สะ-เพอร์-อา-ทา/) มีทั้งหมดด้วยกัน 4 ชนิด (ดูในตาราง) รูปร่างโดยรวม ส่วนหัวและจะงอยปากยื่นยาวมากที่สุดในวงศ์เดียวกันนี้ หัวแบนราบเล็กน้อย ลำตัวทรงกระบอก แต่ด้านหลังยกสูง และเรียวไปทางด้านท้าย ตาเล็กอยู่ด้านบนของหัว ริมฝีปากตัดตรงอยู่ปลายสุดของจะงอยปาก หนวดที่ริมฝีปากยาวมาก ครีบหลังไม่มีก้านครีบแข็ง ครีบไขมันยาวมาก ครีบหางใหญ่เว้าลึก ด้านท้องสีจาง ครีบสีจาง ที่สำคัญคือ ปลาในสกุลนี้ในครีบไขมันจะมีจุดสีดำเห็นเด่นชัด มีขอบขาวที่ตอนปลายท้ายสุด มีการกระจายพันธุ์ในประเทศอินเดีย, อัฟกานิสถานและพม่า มีแหล่งที่พบคือ แม่น้ำสายใหญ่ในประเทศเหล่านี้ ได้แก่ แม่น้ำคงคา, แม่น้ำอิระวดี และพบได้จนถึงแม่น้ำสาละวินซึ่งเป็นพรมแดนของพม่าติดกับไทย โดยมีชื่อเรียกในภาษากะเหรี่ยงว่า "ปลาแก๊ด" มีขนาดลำตัวโดยเฉลี่ย 50 เซนติเมตร ใหญ่ที่สุดพบได้ถึง 180 เซนติเมตร ในชนิด S. aor ขยายพันธุ์ทำรังโดยการขุดพื้นแม่น้ำเป็นแอ่งกว้าง ในความลึกประมาณ 2 เมตร มีความสำคัญต่อมนุษย์ของการใช้เนื้อเพื่อการบริโภค และใช้ตกเป็นเกมกีฬา อีกทั้งยังมีการเลี้ยงเป็นปลาสวยงามอีกด้วย สำหรับในประเทศไทย โดยเฉพาะที่จังหวัดแม่ฮ่องสอน ชนิด S. acicularis ถือเป็นปลาที่นิยมบริโภคกันเป็นอย่างมากในท้องถิ่น เนื่องจากเนื้อมีรสชาติดี โดยในขณะนี้ กรมประมงสามารถเพาะขยายพันธุ์ลูกปลาชนิดนี้ได้แล้ว.

31 ความสัมพันธ์: พ.ศ. 2399พ.ศ. 2462พ.ศ. 2482พ.ศ. 2483พ.ศ. 2497กรมประมงการจับปลาภาษากะเหรี่ยงภาษาเบงกาลีมนุษย์วงศ์ปลากดสกุล (ชีววิทยา)สัตว์สัตว์มีแกนสันหลังสีดำสปีชีส์อันดับปลาหนังจังหวัดแม่ฮ่องสอนจุดประเทศพม่าประเทศอัฟกานิสถานประเทศอินเดียประเทศไทยปลากดหัวเสียมสาละวินปลาที่มีก้านครีบน้ำจืดแม่น้ำแม่น้ำสาละวินแม่น้ำอิรวดีแม่น้ำคงคาเมตร

พ.ศ. 2399

ทธศักราช 2399 ตรงกับปีคริสต์ศักราช 1856.

ใหม่!!: ปลากดหัวเสียมและพ.ศ. 2399 · ดูเพิ่มเติม »

พ.ศ. 2462

ทธศักราช 2462 ตรงกับปีคริสต์ศักราช 1919 เป็นปีปกติสุรทินที่วันแรกเป็นวันพุธ ตามปฏิทินเกรกอเรียน.

ใหม่!!: ปลากดหัวเสียมและพ.ศ. 2462 · ดูเพิ่มเติม »

พ.ศ. 2482

ทธศักราช 2561 เป็นปีปกติสุรทินที่วันแรกเป็นวันอาทิตย์ ตามปฏิทินเกรกอเรียน ตรงกับปีคริสต์ศักราช 1939.

ใหม่!!: ปลากดหัวเสียมและพ.ศ. 2482 · ดูเพิ่มเติม »

พ.ศ. 2483

ทธศักราช 2483 ตรงกับปีคริสต์ศักราช 1940 เป็นปีอธิกสุรทินที่วันแรกเป็นวันจันทร์ ตามปฏิทินเกรกอเรียน.

ใหม่!!: ปลากดหัวเสียมและพ.ศ. 2483 · ดูเพิ่มเติม »

พ.ศ. 2497

ทธศักราช 2497 ตรงกับปีคริสต์ศักราช 1954.

ใหม่!!: ปลากดหัวเสียมและพ.ศ. 2497 · ดูเพิ่มเติม »

กรมประมง

กรมประมง (Department of Fisheries) เป็น หน่วยงานของรัฐที่ทำการศึกษา ค้นคว้า สำรวจ วิจัย วิเคราะห์ ทดลอง ด้านวิชาการทุกสาขาวิชาการของประมง ตลอดจนทำการส่งเสริมสนับสนุนและพัฒนา อาชีพที่เกี่ยวกับการประมงของประเทศให้เจริญก้าวหน้าต่อไปในอนาคต เดิม กรมการประมง เป็นกรมสังกัด กระทรวงเศรษฐการ (ราชการส่วนเกษตร) และย้ายมาสังกัดกระทรวงเกษตราธิการ ในปี..

ใหม่!!: ปลากดหัวเสียมและกรมประมง · ดูเพิ่มเติม »

การจับปลา

การตกปลา เป็นการจับปลาและเป็นกีฬาที่เป็นที่นิยมชนิดหนึ่ง กระทำโดยการใช้เหยื่อล่อ โดยใช้ได้ทั้งที่เป็นเหยื่อสด เหยื่อหมัก และเหยื่อปลอม หมวดหมู่:การประมง หมวดหมู่:การตกปลา.

ใหม่!!: ปลากดหัวเสียมและการจับปลา · ดูเพิ่มเติม »

ภาษากะเหรี่ยง

ษากะเหรี่ยงเป็นภาษาในตระกูลจีน-ทิเบต สาขาทิเบต-พม่า มีผู้พูดภาษากะเหรี่ยงอยู่ในไทยและพม่า แบ่งเป็นภาษาย่อยได้ 8 ภาษา คือ.

ใหม่!!: ปลากดหัวเสียมและภาษากะเหรี่ยง · ดูเพิ่มเติม »

ภาษาเบงกาลี

ษาเบงกาลี (বাংলা, บังคลา) เป็นภาษาที่พูดโดยประชากรของประเทศบังคลาเทศ และรัฐเบงกอลตะวันตกในประเทศอินเดีย ที่ติดกับบังคลาเทศ นอกจากนี้ยังมีชุมชนของคนที่พูดภาษาเบงกอลที่ใหญ่พอควรในรัฐอัสสัม (อีกรัฐในอินเดีย ติดกับทั้งรัฐเบงกอลตะวันตกและประเทศบังคลาเทศ) และในประชากรที่อพยพไปทางตะวันตกและตะวันออกกลาง รูปแบบมาตรฐานของภาษานี้เรียกว่า cholit bhaashaa: จลิตภาษา เป็นภาษาย่อยที่พูดกันมากที่สุด มีแบบมาจาก "Calcutta Bengali" (ภาษาเบงกอลที่พูดในเมืองกัลกัตตา) ในประเทศบังกลาเทศ เขียนด้วยอักษรเบงกาลี ในภาษาอังกฤษ Bengali ใช้เรียกทั้งภาษาและคนที่พูดภาษานี้ ในภาษาเบงกาลีเองเรียกภาษาว่า Bangla: บังคลา (বাঙলা), ซึ่งเป็นคำที่เริ่มใช้มากขึ้นในภาษาอังกฤษ ส่วนในภาษาบังคลา ชาวเบงกอลเรียกว่า Bangali: บางกาลี (বাংলা) ถิ่นที่อยู่อาศัยตามธรรมเนียมของชาวเบงกาลีเรียกว่า Bengal: เบงกอล ในภาษาอังกฤษ และ Bongo: บองโก Banga: บางกา หรือ Bangla: บังคลา ในภาษาเบงกาลี "Bangadesh: บางกาเทศ" และ "Bangladesh: บังคลาเทศ" เป็นคำที่ใช้เรียกภูมิภาคของชาวเบงกอลก่อนที่จะมีการแยกเป็นสองส่วน คือ เบงกอลตะวันตก (West Bengal หรือ Poshchim Bongo: ปอจิม บองโก หรือ ประจิมบังกา) ซึ่งได้กลายเป็นรัฐของอินเดีย และส่วนตะวันออก (เบงกอลตะวันออก: East Bengal หรือ Purbo Bongo: ปูร์โบ บองโก หรือ บูรพาบังกา) กลายเป็นประเทศบังคลาเทศ เนื่องจากมีผู้ใช้ภาษาเบงกาลีมากกว่า250ล้านคนทั่วโลก ชีค ฮาซินา วาเจด นายกรัฐมนตรีบังกลาเทศ เสนอเมื่อ เดือนกันยายน..

ใหม่!!: ปลากดหัวเสียมและภาษาเบงกาลี · ดูเพิ่มเติม »

มนุษย์

มนุษย์ (ภาษาละตินแปลว่า "คนฉลาด" หรือ "ผู้รู้") เป็นสปีชีส์เดียวที่ยังมีชีวิตอยู่ในสกุล Homo ในทางกายวิภาค มนุษย์สมัยใหม่ถือกำเนิดขึ้นในทวีปแอฟริการาว 200,000 ปีที่แล้ว และบรรลุความนำสมัยทางพฤติกรรม (behavioral modernity) อย่างสมบูรณ์เมื่อราว 50,000 ปีที่แล้ว เชื้อสายมนุษย์แยกออกจากบรรพบุรุษร่วมสุดท้ายกับชิมแพนซี สิ่งมีชีวิตที่ใกล้ชิดที่สุด เมื่อราว 5 ล้านปีที่แล้วในแอฟริกา ก่อนจะวิวัฒนาการไปเป็นออสตราโลพิเธซีน (Australopithecines) และสุดท้ายเป็นสกุล Homo สปีชีส์ โฮโม แรก ๆ ที่อพยพออกจากแอฟริกา คือ Homo erectus, Homo ergaster ร่วมกับ Homo heidelbergensis ซึ่งถูกมองว่าเป็นบรรพบุรุษสายตรงของมนุษย์สมัยใหม่ Homo sapiens ยังเดินหน้าตั้งถิ่นฐานในทวีปต่าง ๆ โดยมาถึงยูเรเซียระหว่าง 125,000-60,000 ปีที่แล้ว ทวีปออสเตรเลียราว 40,000 ปีที่แล้ว ทวีปอเมริการาว 15,000 ปีที่แล้ว และเกาะห่างไกล เช่น ฮาวาย เกาะอีสเตอร์ มาดากัสการ์และนิวซีแลนด์ระหว่าง..

ใหม่!!: ปลากดหัวเสียมและมนุษย์ · ดูเพิ่มเติม »

วงศ์ปลากด

วงศ์ปลากด (Naked catfishes, Bagrid catfishes) เป็นปลาหนังไม่มีเกล็ด ในวงศ์ Bagridae (/บา-กริ-ดี้/) มีส่วนหัวค่อนข้างแบนราบ แต่ลำตัวแบนข้างไปทางด้านท้าย ปากกว้างอยู่ที่ปลายสุดของจะงอยปาก มีฟันซี่เล็กแหลมขึ้นเป็นแถวบนขากรรไกรและเพดาน มีหนวด 4 คู่ โดยคู่ที่อยู่ตรงริมฝีปากยาวที่สุด ครีบหลังและครีบอกเป็นก้านแข็ง หรือเรียกว่า เงี่ยง ครีบไขมันค่อนข้างยาว ครีบหางเว้าลึก ในตัวผู้มักมีติ่งเล็กๆ ที่ช่องก้น มีการกระจายพันธุ์ตามแหล่งน้ำจืดไปจนถึงน้ำกร่อยตั้งแต่ทวีปแอฟริกา, อนุทวีปอินเดีย, เอเชียอาคเนย์ ไปจนถึงหมู่เกาะซุนดา พบประมาณ 200 ชนิด สำหรับในประเทศไทย จัดเป็นปลาหนังวงศ์ที่พบมากชนิดที่สุดของไทย โดยพบมากกว่า 25 ชนิด เป็นปลากินเนื้อ มีนิสัยดุร้ายก้าวร้าว มีพฤติกรรมมักกบดานอยู่กับพื้นนิ่ง ๆ ถ้าไม่พบอาหารหรือล่าเหยื่อจะไม่เคลื่อนไหว กินอาหารได้หลากหลาย ตั้งแต่แมลง, ปลา, กุ้ง, ซากพืชซากสัตว์เน่าเปื่อย เป็นปลาเศรษฐกิจที่สำคัญ นิยมนำมาบริโภคบ่อย ปลาในวงศ์นี้ มีชื่อสามัญในภาษาไทยมักเรียกรวม ๆ กันว่า "ปลากด" ในปลาขนาดใหญ่ และ "ปลาแขยง" (ปลาลูกแหยง ในภาษาใต้) หรือ "ปลามังกง" ในปลาขนาดเล็ก โดยมีสกุลที่ใหญ่ที่สุดคือสกุล Rita ที่พบได้ในประเทศอินเดียและแม่น้ำสาละวินที่เมื่อโตเต็มที่อาจใหญ่ได้ถึง 2 เมตร.

ใหม่!!: ปลากดหัวเสียมและวงศ์ปลากด · ดูเพิ่มเติม »

สกุล (ชีววิทยา)

ในทางชีววิทยา สกุล (อังกฤษ genus) เป็นการจัดกลุ่มเอาสิ่งมีชีวิตสปีชีส์ที่มีลักษณะใกล้เคียงเข้ามารวมกัน ในการตั้งชื่อแบบทวินาม ชื่อสิ่งมีชีวิตประกอบขึ้นจากสองส่วน คือ สกุล ซึ่งต้องขึ้นต้นด้วยตัวพิมพ์ใหญ่ และ สปีชีส์ ตัวอย่างหนึ่งคือ Homo sapiens เป็นชื่อเรียกมนุษย์ อยู่ในสกุล Homo ชื่อสกุลในอาณาจักรหนึ่งสามารถซ้ำกับชื่อสกุลหรือชื่อในอนุกรมวิธานของอาณาจักรอื่นได้ ตัวอย่างเช่น Anura เป็นชื่อสกุลของพืชในวงศ์ และเป็นชื่ออันดับของกบ Aotus เป็นชื่อสกุลของถั่วและลิง เป็นต้น แต่ชื่อสกุลในอาณาจักรหนึ่ง ๆ ต้องห้ามซ้ำกัน หมวดหมู่:ชีววิทยา หมวดหมู่:การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์.

ใหม่!!: ปลากดหัวเสียมและสกุล (ชีววิทยา) · ดูเพิ่มเติม »

สัตว์

ัตว์ (Animal) เป็นสิ่งมีชีวิตยูแคริโอตหลายเซลล์ในอาณาจักร Animalia (หรือเรียก เมตาซัว) แผนกาย (body plan) ของพวกมันสุดท้ายคงที่เมื่อพัฒนา แม้สัตว์บางชนิดมีกระบวนการการเปลี่ยนสัณฐานภายหลังในช่วงชีวิต สัตว์ส่วนใหญ่เคลื่อนที่ได้ สัตว์ทุกชนิดต้องกินสิ่งมีชีวิตอื่นหรือผลิตภัณฑ์ของสิ่งมีชีวิตเพื่อการดำรงชีพ (สิ่งมีชีวิตสร้างอาหารเองไม่ได้) ไฟลัมสัตว์ที่รู้จักกันดีที่สุดปรากฏในบันทึกฟอสซิลเป็นสปีชีส์ภาคพื้นสมุทรระหว่างการระเบิดแคมเบรียน (Cambrian explosion) ประมาณ 542 ล้านปีก่อน สัตว์แบ่งเป็นกลุ่มย่อยหลายกลุ่ม บางกลุ่ม เช่น สัตว์มีกระดูกสันหลัง (นก สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม สัตว์สะเทินน้ำสะเทินบก สัตว์เลื้อยคลาน ปลา) มอลลัสกา (หอยกาบ หอยนางรม ปลาหมึก หมึกสาย หอยทาก) สัตว์ขาปล้อง (กิ้งกือ ตะขาบ แมลง แมงมุม แมงป่อง ปู ลอบสเตอร์ กุ้ง) สัตว์พวกหนอนปล้อง (ไส้เดือนดิน ปลิง) ฟองน้ำ และแมงกะพรุน.

ใหม่!!: ปลากดหัวเสียมและสัตว์ · ดูเพิ่มเติม »

สัตว์มีแกนสันหลัง

ัตว์มีแกนสันหลัง คือสัตว์ในไฟลัมคอร์ดาตา พวกมันจะมีแกนสันหลัง ใยประสาทส่วนหลังกลวง ช่องคอหอย หลอดเส้นประสาทกลวงส่วนหลัง และหางหลังทวารหนัก ในช่วงหนึ่งของวงจรชีวิต สัตว์มีแกนสันหลังเป็นพวกดิวเทอโรสโตม กล่าวคือในช่วงระยะตัวอ่อน ทวารหนักเกิดก่อนปาก และเป็นซีโลเมตที่มีสมมาตรด้านข้าง ในกรณีของสัตว์มีแกนสันหลังที่มีกระดูกสันหลัง แกนสันหลังจะถูกแทนที่โดยกระดูกสันหลังในช่วงเจริญเติบโต และพวกมันอาจจะมีปล้องตามร่างกาย ในอนุกรมวิธาน ตัวไฟลัมเองประกอบไปด้วยไฟลัมย่อยเวอร์เตบราตา (ซึ่งประกอบด้วย ปลา สัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำ สัตว์เลื้อยคลาน สัตว์ปีก และสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม) ทูนิคาตา (ซึ่งรวมทั้งซาล์ปและเพรียงหัวหอม) และเซฟาโลคอร์ดาตา ประกอบด้วยแหลนทะเล และยังรวมถึงบางกลุ่มที่สูญพันธุ์ไปแล้ว บางครั้งกลุ่มสัตว์มีกระดูกสันหลังถูกจัดรวมอยู่กับกลุ่มสัตว์มีกระโหลกศีรษะ สัตว์มีแกนสันหลังมีมากกว่า 65,000 สปีชีส์ที่ยังมีชีวิตอยู่ กว่าครึ่งเป็นพวกปลากระดูกแข็ง วาฬและเหยี่ยวเพเรกริน สัตว์ที่มีขนาดใหญ่ที่สุดและเคลื่อนที่เร็วที่สุดตามลำดับ เป็นสัตว์มีแกนสันหลังเช่นเดียวกันกับมนุษย์ ซากดึกดำบรรพ์ของสัตว์มีแกนสันหลังยุคแรกๆ มีอายุย้อนไปถึงในช่วงการระเบิดยุคแคมเบรียน.

ใหม่!!: ปลากดหัวเสียมและสัตว์มีแกนสันหลัง · ดูเพิ่มเติม »

สีดำ

ีดำ เป็นสีของวัตถุที่ไม่สะท้อนแสงที่สเปกตรัมสะท้อนออกมา วัตถุสีดำจะดูดกลืนทุกสีในสเปกตรัม จึงไม่สะท้อนสีใด ๆ ออกมาเลย หลายคนคิดว่าสีดำคือ "การผสมทุกสีเข้าด้วยกัน" แต่ความเป็นจริงแล้ว สีที่สามารถสะท้อนแสงคืนได้หมดทุกสีคือ สีขาว บางครั้งสีดำบ่งบอกถึงความว่างเปล่า และไม่มีสีสัน แต่สีดำเป็นสีสีหนึ่ง สามารถบ่งบอกคุณลักษณ์ต่างๆ ของวัตถุ เช่น แมวสีดำ หรือภาพศิลป์สีดำ.

ใหม่!!: ปลากดหัวเสียมและสีดำ · ดูเพิ่มเติม »

สปีชีส์

ในวิชาชีววิทยา ชนิด หรือทับศัพท์ว่า สปีชีส์ (species, ย่อ: sp., รูปพหูพจน์ย่อ: spp.) เป็นหน่วยการจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์พื้นฐานและอันดับอนุกรมวิธานหนึ่ง มักนิยามว่า สปีชีส์เป็นกลุ่มอินทรีย์ใหญ่สุดที่สามารถสืบพันธุ์แล้วออกลูกที่สืบพันธุ์ได้ การมีลักษณะปรับตัวเฉพาะบางท้องถิ่นอาจแบ่งสปีชีส์ต่ออีกได้เป็น "ชื่อต่ำกว่าระดับชนิด" (infraspecific taxa) เช่น ชนิดย่อย (ในทางพฤกษศาสตร์ มีใช้คำอื่น เช่น พันธุ์ (variety) พันธุ์ย่อยและแบบ (forma)).

ใหม่!!: ปลากดหัวเสียมและสปีชีส์ · ดูเพิ่มเติม »

อันดับปลาหนัง

อันดับปลาหนัง หรือ ตระกูลปลาหนัง (Catfish) เป็นอันดับทางอนุกรมวิธานของปลากระดูกแข็งอันดับหนึ่ง ใช้ชื่อชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Siluriformes (/ซิ-ลู-ริ-ฟอร์-เมส/) อันดับปลาหนังเป็นอันดับที่มีจำนวนปลามากถึง 35 วงศ์ และ 2,867 ชนิด ซึ่งประกอบไปด้วยปลาที่มีความสำคัญทางเศรษฐกิจ เช่น ปลาดุก, ปลาสวาย, ปลาบึก, ปลาเนื้ออ่อน, ปลาก.

ใหม่!!: ปลากดหัวเสียมและอันดับปลาหนัง · ดูเพิ่มเติม »

จังหวัดแม่ฮ่องสอน

ังหวัดแม่ฮ่องสอน (60px; 80px) เป็นจังหวัดในภาคเหนือของประเทศไทย มีความโดดเด่นหลายลักษณะ โดยเฉพาะสภาพภูมิประเทศ ความหลากหลายด้านวัฒนธรรม และความหลากหลายของประชากรจากหลายกลุ่มชาติพันธุ์ นับเป็นจังหวัดที่สถิติน่าสนใจหลายอย่าง เช่น มีประชากรเบาบางที่สุดในประเทศ และมีประชากรน้อยมากเป็นอันดับ 5 ในขณะที่มีพื้นที่มากเป็นอันดับ 8 ของประเทศ แม่ฮ่องสอนได้ชื่อว่าเป็น เมืองสามหมอก เนื่องจากมีสภาพภูมิประเทศเต็มไปด้วยภูเขาสูงสลับซับซ้อน สภาพอากาศมีหมอกปกคลุมตลอดเวลาส่วนใหญ่ของปี นอกจากนี้แม่ฮ่องสอนยังนับเป็นพื้นที่ปลายสุดด้านตะวันตกของประเทศ คือที่เส้นแวง 97.5 องศาตะวันออกในเขตอำเภอแม่สะเรียง (ตะวันออกสุดของประเทศ อยู่ที่อำเภอโขงเจียม จังหวัดอุบลราชธานี ที่ 105.5 องศาตะวันออก) แม่ฮ่องสอนได้รบการสถาปนาขึ้นเป็นเมือง เมื่อปี..

ใหม่!!: ปลากดหัวเสียมและจังหวัดแม่ฮ่องสอน · ดูเพิ่มเติม »

จุด

อาจหมายถึง.

ใหม่!!: ปลากดหัวเสียมและจุด · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศพม่า

ม่า หรือ เมียนมา (မြန်မာ,, มฺยะหฺม่า) มีชื่อทางการว่า สาธารณรัฐแห่งสหภาพพม่า หรือ สาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมา (ပြည်ထောင်စု သမ္မတ မြန်မာနိုင်ငံတော်, ปหฺยี่เด่าง์ซุ ตัมมะดะ มฺยะหฺม่า ไหฺน่หฺงั่นด่อ) เป็นรัฐเอกราชในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ มีพรมแดนติดกับอินเดีย บังกลาเทศ จีน ลาว และไทย หนึ่งในสามของพรมแดนพม่าที่มีความยาว 1,930 กิโลเมตรเป็นแนวชายฝั่งตามอ่าวเบงกอลและทะเลอันดามัน ด้วยพื้นที่ 676,578 ตารางกิโลเมตร ประเทศพม่าเป็นประเทศที่ใหญ่เป็นอันดับที่ 40 ของโลก และใหญ่เป็นอันดับที่ 2 ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ สำมะโนของประเทศในปี 2557 เผยว่าประเทศพม่ามีประชากรน้อยกว่าที่คาดการณ์ โดยมีบันทึกประชากร 51 ล้านคน มีเมืองหลวง คือ กรุงเนปยีดอ และนครใหญ่สุด คือ ย่างกุ้ง อารยธรรมช่วงต้นของประเทศพม่ามีนครรัฐปยูที่พูดภาษาตระกูลทิเบต-พม่าในพม่าตอนบน และราชอาณาจักรมอญในพม่าตอนล่าง ในคริสต์ศตวรรษที่ 9 ชาวพม่าได้เข้าครอบครองบริเวณลุ่มแม่น้ำอิรวดีตอนบน และสถาปนาราชอาณาจักรพุกามในช่วงคริสต์ทศวรรษที่ 1050 ภาษาและวัฒนธรรมพม่าพร้อมด้วยศาสนาพุทธนิกายเถรวาทค่อย ๆ ครอบงำในประเทศ อาณาจักรพุกามล่มสลายเพราะการบุกครองของมองโกลและรัฐหลายรัฐกำเนิดขึ้น ในคริสต์ศตวรรษที่ 16 ราชวงศ์ตองอูสร้างเอกภาพอีกครั้ง และช่วงสั้น ๆ เป็นจักรวรรรดิใหญ่สุดในประวัติศาสตร์เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ต้นศตวรรษที่ 19 ราชวงศ์คองบองได้ปกครองพื้นที่ประเทศพม่าและควบคุมมณีปุระและอัสสัมในช่วงสั้น ๆ ด้วย บริติชพิชิตพม่าหลังสงครามอังกฤษ-พม่าทั้งสามครั้งในคริสต์ศตวรรษที่ 19 และประเทศกลายเป็นอาณานิคมบริติช ประเทศพม่าได้รับเอกราชใน..

ใหม่!!: ปลากดหัวเสียมและประเทศพม่า · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศอัฟกานิสถาน

อัฟกานิสถาน (Afghanistan; افغانستان) เป็นประเทศในภูมิภาคเอเชียใต้ มีอาณาเขตทางทิศตะวันตกจรดประเทศอิหร่าน ทางทิศใต้และตะวันออกติดปากีสถาน ทางทิศเหนือติดเติร์กเมนิสถาน อุซเบกิสถาน และทาจิกิสถาน ส่วนทางทิศตะวันออกสุดติดประเทศจีน อัฟกานิสถานเป็นประเทศที่ไม่มีทางออกสู่ทะเล ระหว่างการล้มตอลิบานโดยการรุกรานอัฟกานิสถานของสหรัฐอเมริกา และความสำเร็จของโลยา จีร์กา ในปี พ.ศ. 2546 ชาวตะวันตกเรียกอัฟกานิสถานว่า Transitional Islamic State of Afghanistan อย่างไรก็ดี ภายใต้รัฐธรรมนูญของอัฟกานิสถานฉบับปัจจุบัน ประเทศนี้เรียกว่า สาธารณรัฐอิสลามอัฟกานิสถาน ในปัจจุบันเป็นหนึ่งในประเทศที่ยากจนที่สุดในโลก.

ใหม่!!: ปลากดหัวเสียมและประเทศอัฟกานิสถาน · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศอินเดีย

อินเดีย (India; भारत, ออกเสียง) หรือชื่อทางการว่า สาธารณรัฐอินเดีย (Republic of India; भारत गणराज्य) ตั้งอยู่ในทวีปเอเชียใต้ เป็นพื้นที่ส่วนใหญ่ของอนุทวีปอินเดีย มีประชากรมากเป็นอันดับที่สองของโลก และเป็นประเทศประชาธิปไตยที่มีประชากรมากที่สุดในโลก โดยมีประชากรมากกว่าหนึ่งพันล้านคน มีภาษาพูดร้อยแปดสิบแปดภาษาโดยประมาณ ด้านเศรษฐกิจ อินเดียมีอำนาจการซื้อมากเป็นอันดับที่สี่ของโลก ทั้งนี้ อาณาเขตทางทิศเหนือติดกับจีน เนปาล และภูฏาน ทางตะวันตกเฉียงเหนือติดกับปากีสถาน ทางตะวันออกติดพม่า ทางตะวันตกเฉียงใต้จรดมหาสมุทรอินเดีย ทางตะวันออกเฉียงใต้ติดศรีลังกา ล้อมรอบบังกลาเทศทางทิศเหนือ ทิศตะวันออก และทิศตะวันตก นอกนั้นยังมีเขตแดนทางทะเลต่อเนื่องกับน่านน้ำไทย พม่า และอินโดนีเซีย และด้วยพื้นที่ 3,287,590 ตารางกิโลเมตร อินเดียจึงเป็นประเทศที่ใหญ่ที่สุดอันดับ 7 ของโลก.

ใหม่!!: ปลากดหัวเสียมและประเทศอินเดีย · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศไทย

ประเทศไทย มีชื่ออย่างเป็นทางราชการว่า ราชอาณาจักรไทย เป็นรัฐชาติอันตั้งอยู่ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เดิมมีชื่อว่า "สยาม" รัฐบาลประกาศเปลี่ยนชื่อเป็นประเทศไทยอย่างเป็นทางการตั้งแต่ปี 2482 ประเทศไทยมีขนาดใหญ่เป็นอันดับที่ 50 ของโลก มีเนื้อที่ 513,115 ตารางกิโลเมตร และมีประชากรมากเป็นอันดับที่ 20 ของโลก คือ ประมาณ 66 ล้านคน กรุงเทพมหานครเป็นศูนย์กลางการบริหารราชการแผ่นดินและนครใหญ่สุดของประเทศ และการปกครองส่วนภูมิภาค จัดระเบียบเป็น 76 จังหวัด แม้จะมีการสถาปนาระบอบราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญและประชาธิปไตยระบบรัฐสภาในปี 2475 แต่กองทัพยังมีบทบาทในการเมืองไทยสูง ล่าสุด เกิดรัฐประหารเมื่อวันที่ 22 พฤษภาคม 2557 และมีการปกครองแบบเผด็จการทหารนับแต่นั้น พบหลักฐานการอยู่อาศัยอย่างต่อเนื่องในอาณาเขตประเทศไทยปัจจุบันตั้งแต่ 20,000 ปีก่อนคริสตกาล ชาวไทเริ่มอพยพเข้าสู่บริเวณนี้ในคริสต์ศตวรรษที่ 11 แล้วเข้ามาตั้งแว่นแคว้นต่าง ๆ ที่สำคัญได้แก่ อาณาจักรสุโขทัย อาณาจักรล้านนาและอาณาจักรอยุธยา นักประวัติศาสตร์มักถือว่าอาณาจักรสุโขทัยเป็นจุดเริ่มต้นของประวัติศาสตร์ไทย ต่อมาอาณาจักรอยุธยาค่อย ๆ เรืองอำนาจมากขึ้นจนเป็นมหาอำนาจในภูมิภาคในปลายคริสต์ศตวรรษที่ 14 การติดต่อกับชาติตะวันตกเริ่มด้วยผู้แทนทางทูตชาวโปรตุเกสในปี 2054 อาณาจักรรุ่งเรืองอย่างมากในรัชกาลสมเด็จพระนารายณ์มหาราช (ครองราชย์ปี 2199–2231) แต่หลังจากนั้นค่อย ๆ เสื่อมอำนาจโดยมีสาเหตุส่วนหนึ่งจากการผลัดแผ่นดินที่มีการนองเลือดหลายรัชกาล จนสุดท้ายกรุงศรีอยุธยาถูกทำลายสิ้นเชิงในปี 2310 สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีทรงรวบรวมแผ่นดินที่แตกออกเป็นก๊กต่าง ๆ และสถาปนาอาณาจักรธนบุรีที่มีอายุ 15 ปี ความวุ่นวายในช่วงปลายอาณาจักรนำไปสู่การสำเร็จโทษพระองค์โดยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ปฐมราชวงศ์จักรีแห่งกรุงรัตนโกสินทร์ ช่วงต้นกรุงรัตนโกสินทร์ ประเทศเผชิญภัยคุกคามจากชาติใกล้เคียง แต่หลังรัชกาลพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเป็นต้นมา ชาติตะวันตกเริ่มมีอิทธิพลในภูมิภาคเป็นอย่างมาก นำไปสู่การเข้าเป็นภาคีแห่งสนธิสัญญาไม่เป็นธรรมหลายฉบับ กระนั้น สยามไม่ตกเป็นอาณานิคมของตะวันตกชาติใด มีการปรับให้สยามทันสมัยและรวมอำนาจปกครองในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (ครองราชย์ปี 2411–53) สยามเข้าร่วมกับฝ่ายสัมพันธมิตรในสงครามโลกครั้งที่หนึ่งในปี 2460; ในปี 2475 เกิดการปฏิวัติเปลี่ยนแปลงการปกครองสู่ระบอบราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญโดยไม่เสียเลือดเนื้อ คณะราษฎรมีบทบาทนำทางการเมือง และในพุทธทศวรรษ 2480 นายกรัฐมนตรี จอมพล แปลก พิบูลสงคราม ดำเนินนโยบายชาตินิยมเข้มข้น ระหว่างสงครามโลกครั้งที่สอง ไทยเข้ากับฝ่ายอักษะ แต่ฝ่ายสัมพันธมิตรส่วนใหญ่ไม่ยอมรับการประกาศสงคราม ในช่วงสงครามเย็น ประเทศไทยเป็นพันธมิตรกับสหรัฐซึ่งสนับสนุนรัฐบาลทหารมาก รัฐประหารที่มีจอมพล สฤษดิ์ ธนะรัชต์เป็นหัวหน้าคณะในปี 2500 ทำให้คณะราษฎรหมดอำนาจ รัฐบาลฟื้นฟูพระราชอำนาจและมีมาตรการต่อต้านคอมมิวนิสต์ในภูมิภาค ผลของเหตุการณ์ 14 ตุลา 2516 ทำให้เกิดประชาธิปไตยระบบรัฐสภาช่วงสั้น ๆ ประเทศไทยมีนายกรัฐมนตรีจากการเลือกตั้งครั้งแรกในปี 2531 หลังพุทธทศวรรษ 2540 มีวิกฤตการเมืองระหว่างฝ่ายที่สนับสนุนและต่อต้านอดีตนายกรัฐมนตรีทักษิณ ชินวัตรมาจนปัจจุบัน รวมทั้งเกิดรัฐประหารสองครั้ง โดยครั้งล่าสุดเกิดในปี 2557 รัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบันเป็นฉบับที่ 20 ประกาศใช้เมื่อวันที่ 6 เมษายน 2560 หลังมีการลงประชามติรับร่างเมื่อหนึ่งปีก่อน ประเทศไทยเป็นสมาชิกสหประชาชาติ เอเปก อีกทั้งเป็นร่วมผู้ก่อตั้งอาเซียน ประเทศไทยเป็นพันธมิตรของสหรัฐตั้งแต่สนธิสัญญาซีโต้ในปี 2497 ถือเป็นประเทศอำนาจนำภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และประเทศอำนาจปานกลางในเวทีโลก ประเทศไทยเป็นประเทศที่มีรายได้ปานกลาง-สูงและประเทศอุตสาหกรรมใหม่ มีรายได้หลักจากภาคอุตสาหกรรมและบริการ การเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจทำให้มีการอพยพเข้าสู่เมืองในคริสต์ศตวรรษที่ 20 ตามประมาณการในปี 2560 จีดีพีของประเทศไทยมีมูลค่าราว 432,898 ล้านดอลลาร์สหรัฐ นับว่าเศรษฐกิจไทยเป็นเศรษฐกิจใหญ่สุดเป็นอันดับ 2 ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และใหญ่เป็นอันดับที่ 26 ของโลก.

ใหม่!!: ปลากดหัวเสียมและประเทศไทย · ดูเพิ่มเติม »

ปลากดหัวเสียมสาละวิน

ปลากดหัวเสียมปลาสะวิน (Salween shovelhead catfish) เป็นปลาหนังจำพวกปลากดหัวเสียมหรือปลาแก๊ดชนิดหนึ่ง ในวงศ์ปลากด (Bagridae) มีลักษณะสำคัญ คือ ส่วนหัวและจะงอยปากยื่นยาวมากที่สุดในกลุ่มปลากดทั้งหมด หัวแบนราบเล็กน้อย ลำตัวทรงกระบอก แต่ด้านหลังยกสูง และเรียวไปทางด้านท้าย ตาเล็กอยู่ด้านบนของหัว ริมฝีปากตัดตรงอยู่ปลายสุดของจะงอยปาก หนวดที่ริมฝีปากยาวมาก ครีบหลังไม่มีก้านครีบแข็ง ครีบไขมันยาวมาก ครีบหางใหญ่เว้าลึก ตัวมีสีเทาอมฟ้า หรือเขียวอ่อน ด้านท้องสีจาง ครีบสีจาง ครีบไขมันมีดวงสีดำเด่น ขอบขาวที่ตอนปลายท้ายสุด ครีบหางมีสีแดงเรื่อ ๆ ขนาดพบใหญ่สุดถึง 1 เมตร ขนาดที่พบทั่วไป 50 เซนติเมตร จับได้โดยเบ็ดราว ข่ายลอย พบเฉพาะในแม่น้ำสาละวินและสาขา, แม่น้ำตะนาวศรี รวมถึงแม่น้ำอิรวดี และแม่น้ำพะโค ในประเทศพม่า นิยมบริโภคในท้องถิ่นโดยปรุงสด ในประเทศไทยมักถูกจับขึ้นขายในท้องตลาดของจังหวัดแม่ฮ่องสอน และอำเภอแม่สอด จังหวัดตาก เป็นครั้งคราว เนื้อมีรสชาติดีพบมีการทำรังวางไข่โดยขุดแอ่งขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 1 เมตร และเลี้ยงลูกอ่อนถึงขนาด 3–4 เซนติเมตร หรืออาจจะใหญ่กว่า แต่ตัวผู้หรือตัวเมียเป็นผู้เลี้ยงยังไม่ทราบแน่ชัด รังที่พบอยู่ในระดับความลึกประมาณ 2 เมตร ในเดือนเมษายน ที่แม่น้ำปายมีพื้นเป็นทรายปนโคลนมีกรวดปนและใกล้กับกองหิน นอกจากนี้แล้ว ปลากดหัวเสียมสาละวินยังนิยมเลี้ยงเป็นปลาสวยงามอีกด้ว.

ใหม่!!: ปลากดหัวเสียมและปลากดหัวเสียมสาละวิน · ดูเพิ่มเติม »

ปลาที่มีก้านครีบ

ปลาที่มีก้านครีบ (Ray-finned fishes) เป็นชั้นย่อยของปลากระดูกแข็ง (Osteichthyes) ชั้นหนึ่ง ใช้ชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Actinopterygii (/แอก-ติ-โน-เทอ-ริ-กิ-ไอ/) เป็นปลาที่เคลื่อนไหวโดยอาศัยครีบและกล้ามเนื้อลำตัวเป็นสำคัญ ซึ่งแบ่งออกได้เป็น ก้านครีบแข็ง และก้านครีบอ่อน ซึ่งปลาส่วนใหญ่ในปัจจุบัน จะถูกจัดอยู่ในชั้นนี้ บรรพบุรุษของปลาในชั้นนี้จะมีขนาดเล็ก มีเกราะหุ้มตัวหนา มีปอดและเหงือก ชื่อ Andreolepis hedei โดยพบเป็นฟอสซิลอยู่ในยุคปลายซิลลูเรียนเมื่อกว่า 420 ล้านปีก่อนที่รัสเซีย, สวีเดน และเอสโตเนีย ปลาชั้นนี้มีการวิวัฒนาการอยู่ 3 ขั้นตอน คือ.

ใหม่!!: ปลากดหัวเสียมและปลาที่มีก้านครีบ · ดูเพิ่มเติม »

น้ำจืด

น้ำจืดในลำธาร น้ำจืด หมายถึงน้ำในแหล่งน้ำทั่วไปอาทิ บ่อน้ำ ทะเลสาบ แม่น้ำ ลำธาร เป็นต้น ที่ซึ่งมีเกลือและของแข็งอื่นละลายอยู่ในระดับต่ำ มีความหนาแน่นน้อย นั่นคือน้ำจืดไม่ได้เป็นน้ำเค็มและน้ำกร่อย น้ำจืดสามารถเป็นผลผลิตของน้ำทะเลที่เอาเกลือออกแล้วได้ น้ำจืดเป็นทรัพยากรหมุนเวียนที่สำคัญต่อสิ่งมีชีวิตบนบกเป็นส่วนใหญ่ และเป็นที่จำเป็นต่อมนุษย์สำหรับน้ำดื่ม และใช้ในเกษตรกรรม เป็นต้น องค์การสหประชาชาติได้คาดการณ์ไว้ว่า ประชากรโลกประมาณร้อยละ 18 ขาดแคลนน้ำดื่มที่ปลอดภั.

ใหม่!!: ปลากดหัวเสียมและน้ำจืด · ดูเพิ่มเติม »

แม่น้ำ

แม่น้ำตาปี อำเภอเมืองสุราษฎร์ธานี จังหวัดสุราษฎร์ธานี แม่น้ำ (river) เป็นทางน้ำธรรมชาติที่มีขนาดใหญ่ เป็นคำศัพท์ทั่วไปที่ในทางวิทยาศาสตร์หมายถึงกระแสน้ำตามธรรมชาติทั้งหลาย รวมทั้งกระแสน้ำขนาดเล็ก เช่น ลำธาร คลอง เป็นต้น น้ำฝนที่ตกลงบนพื้นดินจะไหลไปยังแม่น้ำแล้วออกสู่มหาสมุทรหรือแอ่งน้ำขนาดใหญ่อื่น ๆ เช่น ทะเลสาบ แม่น้ำมีส่วนประกอบโดยพื้นฐานหลายส่วน อาจมีแหล่งกำเนิดจากต้นน้ำหรือน้ำซับ แล้วไหลสู่กระแสน้ำหลัก ลำธารสายเล็กที่ไหลลงสู่แม่น้ำเรียกว่าแคว โดยปกติกระแสน้ำจะไหลไปตามร่องน้ำที่ขนาบข้างด้วยตลิ่ง ที่จุดสิ้นสุดของแม่น้ำหรือปากแม่น้ำ มักมีลักษณะแผ่ขยายออก เรียกพื้นที่บริเวณนี้ว่าดินดอนสามเหลี่ยม (Delta) หรือชะวากทะเล (Estuary).

ใหม่!!: ปลากดหัวเสียมและแม่น้ำ · ดูเพิ่มเติม »

แม่น้ำสาละวิน

แม่น้ำสาละวิน (Salween River; သံလွင်မြစ်; 40px; กะเหรี่ยงสะกอ: โคโหล่โกล) เป็นแม่น้ำสายที่ยาวเป็นอันดับที่ 26 ของโลก ยาว 2,800 กิโลเมตร และเป็นแม่น้ำที่มีความยาวเป็นอันดับสองของภูมิภาคเอเชียอาคเนย์ รองมาจากแม่น้ำโขง จากไทยพีบีเอส มีต้นกำเนิดจากการละลายของหิมะเหนือเทือกเขาหิมาลัย ไหลผ่านมณฑลยูนนาน ประเทศจีน ที่ซึ่งเรียกแม่น้ำนี้ว่า นู่เจียง (怒江) หมายถึง "แม่น้ำพิโรธ" และผ่านประเทศพม่าผ่านรัฐฉาน รัฐกะยา รัฐกะเหรี่ยง ซึ่งเป็นแม่น้ำกั้นพรมแดน ระหว่างพม่ากับไทยที่จังหวัดแม่ฮ่องสอน และไหลลงมาบรรจบกับแม่น้ำเมย หลังจากนั้นแม่น้ำสาละวินจึงไหลวกกลับเข้าประเทศพม่า และไหลลงสู่มหาสมุทรอินเดียที่อ่าวเมาะตะมะ รัฐมอญ แม่น้ำสาละวินมีต้นกำเนิดที่เดียวกับแม่น้ำโขง และแม่น้ำแยงซี โดยแบ่งแยกออกจากกันอย่างชัดเจนจากต้นกำเนิด และเนื่องจากเป็นน้ำที่เกิดจากการละลายของหิมะ อุณหภูมิของน้ำในแม่น้ำสาละวินจึงมีความเย็นกว่าน้ำในแม่น้ำอื่น ๆ ในประเทศไทย บางช่วงมีความลึกมากและน้ำไหลแรง นอกจากนี้ ในประเทศ จีน แม่น้ำสาละวิน เป็น 1 ในแม่น้ำ 3 สาย ที่ได้รับการขึ้นทะเบียนเป็น "มรดกโลก" ร่วมกับ แม่น้ำโขง และ แม่น้ำแยงซี ในเขตพื้นที่มณฑลยูนนาน ภายใต้ชื่อ พื้นที่คุ้มครองแม่น้ำขนานสามสายแห่งยูนนาน โดยพื้นที่ดังกล่าว นับได้ว่าเป็นสถานที่แห่งหนึ่งบนโลกที่มีความอุดมสมบูรณ์และความหลายหลายทางชีวภาพสูง.

ใหม่!!: ปลากดหัวเสียมและแม่น้ำสาละวิน · ดูเพิ่มเติม »

แม่น้ำอิรวดี

แม่น้ำอิรวดี (ออกเสียง เอยาวะดี) เป็นแม่น้ำที่ไหลจากเหนือจรดใต้ผ่านประเทศพม่า เป็นแม่น้ำที่ใหญ่สุดในประเทศและเป็นเส้นทางการค้าที่สำคัญที่สุด ชื่ออิรวดีในพม่ามาจาก ภาษาบาลี Irāvatī Airavati Erāvatī เป็นชื่อบาลีของช้างเอราวัณพาหนะของพระอินทร์ ช้างมักถูกใช้เป็นสัญลักษณ์สำหรับน้ำ และถูกนำมาใช้เป็นชื่อของแม่น้ำอื่น ๆ ในหลายภูมิภาคเช่น แม่น้ำอจิรวดี ในอินเดีย แม่น้ำอิรวดีมีต้นกำเนิดจากจุดบรรจบกันของ แม่น้ำมะลิขา และ แม่น้ำเมขา ที่ไหลลงมาจากธารน้ำแข็งบริเวณเทือกเขาหิมาลัยทางตอนเหนือของปูตาโอในพม่าตอนบน แม่น้ำค่อนข้างไหลเป็นเส้นตรงไปทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ ผ่านดินดอนสามเหลี่ยมปากแม่น้ำอิรวดี และไหลลงสู่ทะเลอันดามัน แม่น้ำอิรวดีมีพื้นที่ลุ่มน้ำ 404,200 ตารางกิโลเมตร (156,026 ตารางไมล์) ครอบคลุมพื้นที่ส่วนใหญ่ของประเทศพม่า นักกวีชาวอังกฤษ รัดยาร์ด คิปลิง มีการบรรยายถึงแม่น้ำอิรวดีในบทกวีที่เขาแต่งเรื่อง 'ถนนสู่มัณฑะเลย์' กว่าหกศตวรรษที่แม่น้ำถูกใช้สำหรับการค้าขายและการขนส่ง แม่น้ำมีความสำคัญต่อจักรวรรดิอังกฤษหลังได้พม่าเข้ามาอยู่ในอาณานิคมได้มีการพัฒนาเครือข่ายคลองชลประทาน แม่น้ำยังคงมีความสำคัญในปัจจุบันเนื่องจากเป็นเส้นทางการจราจรและเป็นเส้นทางของสินค้าส่งออกจำนวนมาก ข้าวมีการผลิตในเขตดินดอนสามเหลี่ยมปากแม่น้ำอิรวดีซึ่งมีการใช้น้ำจากแม่น้ำ ในปี..

ใหม่!!: ปลากดหัวเสียมและแม่น้ำอิรวดี · ดูเพิ่มเติม »

แม่น้ำคงคา

ริเวณที่ราบลุ่มแม่น้ำคงคาอันกว้างใหญ่ ริมฝั่งแม่น้ำคงคา แม่น้ำคงคา (เทวนาครี: गंगा คังคา ภาษาอังกฤษ: Ganges แกนจีส, Ganga) เป็นแม่น้ำสายสำคัญของอินเดีย ซึ่งได้ชื่อว่าเป็นแม่น้ำศักดิ์สิทธิ์ของชาวฮินดูคู่กับแม่น้ำยมุนาที่ไหลขนานกัน มีต้นกำเนิดทางภาคเหนือของอินเดีย บริเวณเทือกเขาหิมาลัย ไหลผ่านทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือของอินเดียไปทางตะวันออก และรวมกับแม่น้ำพรหมบุตรที่ประเทศบังกลาเทศ เกิดเป็นดินดอนสามเหลี่ยมขนาดใหญ่ชื่อว่าสามเหลี่ยมปากแม่น้ำคงคา นับเป็นแหล่งชลประทานและการคมนาคมที่สำคัญแห่งหนึ่ง ก่อนจะไหลออกที่อ่าวเบงกอล แม่น้ำคงคามีความยาวประมาณ 2,510 กิโลเมตร.

ใหม่!!: ปลากดหัวเสียมและแม่น้ำคงคา · ดูเพิ่มเติม »

เมตร

มตร อักษรย่อ ม. (mètre → metre meter The Metric Conversion Act of 1975 gives the Secretary of Commerce of the US the responsibility of interpreting or modifying the SI for use in the US., m) เป็นหน่วยฐานเอสไอของความยาวในหน่วยเอสไอ แต่เดิมนิยามว่าหนึ่งเมตรเท่ากับ 1/10,000,000 ของระยะทางจากเส้นศูนย์สูตรของโลกไปยังขั้วโลกเหนือวัดจากเส้นรอบวงที่ผ่านเมืองปารีส แต่เนื่องจากความแม่นยำทางมาตรวิทยา ที่มีมากขึ้น ตั้งแต่ปีพ.ศ. 2526 ความยาวหนึ่งเมตรจึงถูกนิยามไว้ให้เท่ากับความยาวที่แสงเดินทางได้ในสุญญากาศ ในช่วงเวลา วินาที.

ใหม่!!: ปลากดหัวเสียมและเมตร · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

AoriaAoriichthys seenghalaMacronesSperataสกุลปลากดหัวเสียมปลาแก๊ด

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »