โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ติดตั้ง
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

นกแสกแดง

ดัชนี นกแสกแดง

นกแสกแดง (Oriental bay owl) เป็นนกล่าเหยื่ออยู่ในวงศ์นกแสก (Tytonidae) มีรูปร่างโดยทั่วไปคล้ายนกแสกธรรมดา (Tyto alba) แต่มีขนาดที่เล็กกว่า เมื่อโตเต็มที่จะมีความสูงประมาณ 28-29 เซนติเมตร ลำตัวด้านบนมีสีน้ำตาลแดงหรือน้ำตาลเหลือง อันเป็นที่มาของชื่อ มีลายจุดสีน้ำตาลเหลืองหรือสีเนื้อ ด้านล่างลำตัวและใบหน้าสีเนื้อแกมชมพู มีลายแต้มสีออกม่วง ตาสีน้ำตาลเข้ม มีขนสีน้ำตาลยื่นยาวเล็กน้อยออกไปทางด้านข้างของรูหูเป็นพุ่ม ในขณะที่บินจะเห็นปีกค่อนข้างสั้น จัดเป็นนกที่บินได้เก่งมาก และอาจส่งเสียงร้องไปในขณะที่บิน โดยที่นกแสกชนิดนี้จะพบได้เฉพาะในป่าดิบและป่าเบญจพรรณ ตั้งแต่พื้นราบจนกระทั่งความสูง 2,200 เมตร จากระดับน้ำทะเล ออกหากินในตอนกลางคืน ตอนกลางวันส่วนใหญ่จะหลบซ่อนตามโพรงของต้นไม้ จึงทำให้พบเห็นตัวค่อนข้างยาก มีฤดูผสมพันธุ์ตลอดทั้งปี โดยทำรังตามโพรงต้นไม้ ซึ่งเป็นโพรงที่เกิดตามธรรมชาติ หรือโพรงที่สัตว์อื่น ๆ ทำทิ้งเอาไว้ รังมักจะอยู่สูงจากพื้นดินประมาณ 2-5 เมตร หรือมากกว่า นกมักจะใช้โพรงเดิมเป็นประจำทุก ๆ ปี นอกเหนือจากโพรงเหล่านั้นถูกนกหรือสัตว์อื่น ๆใช้ และนกแสกแดงไม่สามารถที่จะขับไล่ออกไปได้ ปรกติไม่มีวัสดุรองรังอีก รูปร่างของไข่เป็นรูปไข่ค่อนข้างกลม ขนาดโดยเฉลี่ย 30.0 x 34.5 มิลลิเมตร เปลือกไข่มีสีขาว ผิวเรียบ ในแต่ละรังมีไข่ 3-4 ฟอง บางรังก็มี 5 ฟอง ตัวเมียตัวเดียวที่ทำการฟักไข่ โดยเริ่มฟักหลังจากที่ออกไข่ฟองแรก ทั้ง 2 เพศช่วยกันเลี้ยงลูกอ่อน การพัฒนาของลูกอ่อนไม่แตกต่างไปจากนกแสกธรรมดามากนัก นกแสกแดงจัดเป็นนกแสก 1 ใน 2 ชนิดที่พบได้ในประเทศไทย โดยพบได้ในภาคเหนือ ภาคตะวันตกและภาคใต้ ส่วนภาคตะวันออกเฉียงเหนือและภาคตะวันออกพบได้น้อยและพบได้เฉพาะพิ้นที่บางส่วนเท่านั้น ในต่างประเทศพบได้ตั้งแต่ภูมิภาคเอเชียใต้ เช่น ศรีลังกา จนถึงภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เช่น ฟิลิปปินส์ ทำให้แบ่งออกได้เป็น 6 ชนิดย่อยด้วยกัน เช่น P. b. badius พบในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้, P. b. saturatus พบในรัฐสิกขิม, P. b. ripleyi พบในอินเดียตอนใต้, P. b. assimilis พบในศรีลังกา เป็นต้น.

33 ความสัมพันธ์: ชนิดย่อยพ.ศ. 2364การร่วมเพศภาคอีสาน (ประเทศไทย)ภาคตะวันออก (ประเทศไทย)ภาคตะวันตก (ประเทศไทย)ภาคใต้ (ประเทศไทย)ภาคเหนือ (ประเทศไทย)มิลลิเมตรระดับน้ำทะเลรัฐสิกขิมวงศ์นกแสกสัตว์สัตว์มีแกนสันหลังสัตว์ปีกสีชมพูสีม่วงสีน้ำตาลสีแดงสีเหลืองสปีชีส์ประเทศฟิลิปปินส์ประเทศศรีลังกาประเทศอินเดียประเทศไทยป่านกล่าเหยื่อนกแสกนกแสกแดง (สกุล)นกเค้าโมงเมตรเอเชียตะวันออกเฉียงใต้เอเชียใต้

ชนิดย่อย

นิดย่อย หรือ พันธุ์ย่อย หรือ สปีชีส์ย่อย (subspecies) หมายถึง สิ่งมีชีวิตในสกุล (genus) เดียวกัน และจัดอยู่ในชนิด (species) เดียวกัน แต่มีความแตกต่างกันบ้างเล็กน้อยซึ่งไม่สามารถแยกแยะออกเป็นชนิดใหม่ได้ จึงจัดเป็นชนิดย่อย โดยใช้ชื่อไตรนาม เช่น เต่าปูลู (Platysternon megacephalum pequense) เต่าปูลูเหนือ (Platysternon megacephalum megacephalum) เต่าปูลูใต้ (Platysternon megacephalum vogeli) เป็นต้น ความแตกต่างของชนิดย่อยมักอยู่ที่ลวดลาย สีสัน หรือขนาดลำตัว อันเนื่องจากสภาพภูมิประเทศที่อยู่ที่แตกต่างกัน ปกติชนิดย่อยของสัตว์นิยมเรียกว่า subspecies ส่วนพืชเรียกว่า variety.

ใหม่!!: นกแสกแดงและชนิดย่อย · ดูเพิ่มเติม »

พ.ศ. 2364

ทธศักราช 2364 ตรงกับปีคริสต์ศักราช 1821.

ใหม่!!: นกแสกแดงและพ.ศ. 2364 · ดูเพิ่มเติม »

การร่วมเพศ

'''Coition of a Hemisected Man and Woman''' (ประมาณ ค.ศ. 1492) วาดโดย เลโอนาร์โด ดา วินชี แสดงให้เห็นสิ่งที่เกิดขึ้นภายในร่างกายในการร่วมเพศระหว่างชาย-หญิง quote.

ใหม่!!: นกแสกแดงและการร่วมเพศ · ดูเพิ่มเติม »

ภาคอีสาน (ประเทศไทย)

อีสาน (มาจากภาษาบาลีหรือภาษาสันสกฤต ऐशान aiśāna แปลว่า "ตะวันออกเฉียงเหนือ") หรือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เป็นภูมิภาคหนึ่งในประเทศไทย ตั้งอยู่บนแอ่งโคราชและแอ่งสกลนคร มีแม่น้ำโขงกั้นประเทศลาวทางทิศเหนือและตะวันออกของภาค ทางทิศใต้มีเทือกเขาพนมดงรักกั้นประเทศกัมพูชาและภาคตะวันออกของประเทศไทย และมีทิวเขาเพชรบูรณ์และทิวเขาดงพญาเย็นเป็นแนวกั้นทางตะวันตกแยกจากภาคกลาง ภาคอีสานยังมีเนื้อที่มากที่สุดของประเทศไทย ประมาณ 168,854 ตารางกิโลเมตร หรือมีเนื้อที่ร้อยละ 33.17 เทียบได้กับหนี่งในสามของพื้นที่ทั้งหมดของประเทศไทยได้จัดว่าเป็นพื้นที่ที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทย เทือกเขาที่สูงที่สุดในภาคอีสานคือ ยอดภูลมโล ภูหลวง และภูกระดึง ซึ่งเป็นต้นกำเนิดของแม่น้ำสายสำคัญของชาวอีสานในหลายจังหวัดด้วยกัน เช่น แม่น้ำห้วยหลวง แม่น้ำชี ลำตะคอง แม่น้ำพอง แม่น้ำเลย แม่น้ำพรม แม่น้ำมูล แม่น้ำสงคราม ภาษาหลักของภาคนี้ คือ ภาษาอีสาน ซึ่งเป็นภาษาอีสานสำเนียงหนึ่งทางฝั่งขวาแม่น้ำโขง ส่วนภาษาไทยนิยมใช้กันทั่วไปโดยเฉพาะในเมืองใหญ่และจังหวัดนครราชสีมาแต่ไม่ถือเป็นภาษาหลัก ขณะเดียวกันยังมีภาษาเขมรที่ใช้กันมากในบริเวณอีสานใต้ นอกจากนี้ มีภาษาถิ่นอื่น ๆ อีกมาก เช่น ภาษาผู้ไท ภาษาโส้ ภาษาไทโคราช ภาษากวย (ส่วย) ภาษาแสก ภาษาข่า ภาษากะเลิง ภาษาโย้ย ภาษาย้อ เป็นต้น ภาคอีสานยังมีเอกลักษณ์ทางวัฒนธรรมที่โดดเด่นที่สุดของประเทศ เช่น อาหาร ภาษา อักษร เช่น อักษรไทน้อย ดนตรีหมอลำ ดนตรีกันตรึม ดนตรีเจรียง และศิลปะการฟ้อนรำ การเซิ้ง ที่เป็นเอกลักษณ์เฉพาะ เป็นต้น.

ใหม่!!: นกแสกแดงและภาคอีสาน (ประเทศไทย) · ดูเพิ่มเติม »

ภาคตะวันออก (ประเทศไทย)

ตะวันออก เป็นภูมิภาคย่อยทางตะวันออกของประเทศไทย เดิมถือเป็นส่วนหนึ่งของภาคกลาง อยู่ติดชายฝั่งอ่าวไทยด้านตะวันออก นับเป็นอีกภูมิภาคหนึ่งที่มีความสำคัญทางเศรษฐกิจ เนื่องจากเป็นแหล่งอุตสาหกรรม ผลไม้ และอัญมณีของประเท.

ใหม่!!: นกแสกแดงและภาคตะวันออก (ประเทศไทย) · ดูเพิ่มเติม »

ภาคตะวันตก (ประเทศไทย)

ตะวันตก เป็นภูมิภาคหนึ่งของประเทศไทยในระบบการแบ่งแบบ 6 ภูมิภาคตามคณะกรรมการภูมิศาสตร์แห่งชาติ และเป็นภูมิภาคย่อยของภาคกลางของระบบการแบ่งแบบ 4 ภูมิภาค (ซึ่งรวมภาคตะวันออก และภาคตะวันตก) ภาคตะวันตกมีอาณาเขตติดต่อกับประเทศพม่าทางทิศตะวันตก ติดต่อกับภาคเหนือทางทิศเหนือ ติดต่อกับภาคกลางทางทิศตะวันออก และติดต่อกับภาคใต้ทางทิศใต้ ภาคตะวันตกประกอบไปด้วยจังหวัดเพียง 5 จังหวัด แม้ว่าจะจัดรวมอยู่ในภาคตะวันตก แต่ในภูมิภาคนี้ยังมีความหลากหลาย ตามลักษณะทางภูมิศาสตร์ซึ่งแตกต่างกันค่อนข้างมาก.

ใหม่!!: นกแสกแดงและภาคตะวันตก (ประเทศไทย) · ดูเพิ่มเติม »

ภาคใต้ (ประเทศไทย)

ใต้ เป็นภูมิภาคหนึ่งของไทย ตั้งอยู่บนคาบสมุทรมลายู ขนาบด้วยอ่าวไทยทางฝั่งตะวันออก และทะเลอันดามันทางฝั่งตะวันตก มีเนื้อที่รวม 70,715.2 ตารางกิโลเมตร ความยาวจากเหนือจรดใต้ประมาณ 750 กิโลเมตร ทุกจังหวัดของภาคมีพื้นที่ติดชายฝั่งทะเล ยกเว้นจังหวัดยะลาและจังหวัดพัทลุง.

ใหม่!!: นกแสกแดงและภาคใต้ (ประเทศไทย) · ดูเพิ่มเติม »

ภาคเหนือ (ประเทศไทย)

หนือ เป็นภูมิภาคที่อยู่ด้านบนสุดของไทย มีลักษณะภูมิประเทศอันประกอบไปด้วยเทือกเขาสลับซับซ้อน ต่อเนื่องมาจากทิวเขาฉานโยมาในประเทศพม่าและประเทศลาว ภาคเหนือมีภูมิอากาศแบบทุ่งหญ้าสะวันนา เหมือนกับพื้นที่ส่วนใหญ่ของประเทศ การที่มีพื้นที่อยู่เหนือระดับน้ำทะเลและมีเส้นละติจูดอยู่ตอนบนทำให้สภาพอากาศของภาคเหนือเปลี่ยนแปลงตามฤดูกาลอย่างเห็นได้ชัด เช่น มีฤดูหนาวที่หนาวเย็นกว่าภูมิภาคอื่น ๆ ทางด้านประวัติศาสตร์ของภาคเหนือมีความสัมพันธ์ทางวัฒนธรรมกับอาณาจักรล้านน.

ใหม่!!: นกแสกแดงและภาคเหนือ (ประเทศไทย) · ดูเพิ่มเติม »

มิลลิเมตร

มิลลิเมตร อักษรย่อ มม. (Millimetre: mm) เป็นหน่วยวัดความยาว มีขนาดเท่ากับ 1 x 10-3 เมตร.

ใหม่!!: นกแสกแดงและมิลลิเมตร · ดูเพิ่มเติม »

ระดับน้ำทะเล

กราฟระดับน้ำทะเลที่วัดได้จากบริเวณที่มีความเสถียรทางธรณีวิทยา แสดงถึงระดับน้ำทะเลซึ่งสูงขึ้นถึง 24 เซนติเมตรในรอบ 120 ปี (2 มิลลิเมตร/ปี) ระดับทะเลปานกลาง* (Mean Sea-Level) หรือ ร.ท.ก. เป็นค่าการวัด ระดับน้ำทะเลขึ้นสูงสุด (High Tide: HT) และลงต่ำสุด (Low Tide: LT) ของแต่ละวันในช่วงระยะเวลาที่กำหนด แล้วนำค่ามาเฉลี่ยเป็นระดับน้ำทะเลปานกลาง สำหรับระยะเวลาที่ทำการรังวัดโดยทั่วไปจะต้องวัดเป็นเวลา 18.6 ปี ตามวัฏจักรของน้ำ ระดับน้ำทะเลปานกลางของแต่ละบริเวณทั่วโลกอาจจะมีความสูงไม่เท่ากัน ในประเทศไทยใช้เวลาในการวัด 5 ปี โดยเลือกที่ ถนนเกาะหลัก ตำบลเกาะหลัก จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ เป็นที่วัด แล้วนำมาหาค่าเฉลี่ย เพื่อใช้เป็นค่าระดับน้ำทะเลปานกลาง ให้มีค่า 0.000 เมตร ที่ 11°47'42.92"N/ 99°47'31.40"E ทำการถ่ายโยงมายังหมุด BM-A (ซึ่งถือว่าเป็นหมุดหลักฐานหมุดแรกของประเทศไทย) ที่ 13°46'23.74"N/100°31'45.39"E ซึ่งมีค่าระดับน้ำทะเลปานกลาง 1.4477 เมตร ประโยชน์ของการวัดระดับน้ำทะเลปานกลาง เพื่อใช้เป็นมาตรฐานในการเปรียบเทียบระดับความสูงต่ำของดิน หรือสิ่งก่อสร้างในงานสำรวจฯ งานก่อสร้างฯ และงานทั่วไป *มักถูกเขียนว่า ระดับน้ำทะเลปานกลาง หากอ้างอิงจากพจนานุกรมศัพท์ภูมิศาสตร์ ฉบับราชบัณฑิตยสถาน เล่มพิมพ์ครั้งที่ 4 ใช้คำว่า "ระดับทะเลปานกลาง" หมุด BM-A ระดับน้ำทะเลปานกลาง.

ใหม่!!: นกแสกแดงและระดับน้ำทะเล · ดูเพิ่มเติม »

รัฐสิกขิม

รัฐสิกขิม (เทวนาครี: सिक्किम; ภาษาทิเบต: འབྲས་ལྗོངས་; Sikkim) คือรัฐหนึ่งทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศอินเดีย มีพื้นที่ทางตะวันตกติดต่อกับประเทศเนปาล ทางทิศเหนือติดต่อกับเขตปกครองตนเองทิเบต และประเทศจีน ทางทิศตะวันออกติดต่อกับประเทศภูฏาน และทิศใต้ติดต่อกับรัฐเบงกอลตะวันตก รัฐหนึ่งของอินเดีย แต่เดิมสิกขิมเป็นรัฐเอกราช มีขนาดใหญ่กว่าเดลีเล็กน้อย ปกครองโดยราชวงศ์นัมเกล ด้วยความเป็นรัฐเอกราชเล็ก ๆ อาจถูกบั่นทอนจากจีนซึ่งยึดทิเบตได้ เมื่ออินเดียได้รับเอกราช สิกขิมจึงยอมอยู่ใต้เอกราชเดียวกับอินเดียเมื่อ 30 กว่าปีก่อน อดีตประชากรส่วนใหญ่ของที่นี้เป็นชาวเลปชาซึ่งมีเชื้อสายเป็นชาวทิเบต แต่ปัจจุบันประชากรส่วนใหญ่เป็นชาวเนปาลี ประมาณร้อยละ 75 ของประชากร.

ใหม่!!: นกแสกแดงและรัฐสิกขิม · ดูเพิ่มเติม »

วงศ์นกแสก

วงศ์นกแสก (Barn-owl, วงศ์: Tytonidae) เป็นวงศ์ของนกล่าเหยื่อในอันดับนกเค้าแมว (Strigiformes) ใช้ชื่อวงศ์ว่า Tytonidae นับเป็นวงศ์ของนกเค้าแมววงศ์หนึ่ง นอกเหนือจากวงศ์นกเค้าแมว (Strigidae) มีลักษณะทั่วไป คือ มีขนาดใหญ่กว่านกในวงศ์นกเค้าแมว ใบหน้ากลมแบน มีขนสีขาวเต็มหน้า ทำให้คล้ายรูปหัวใจ ตามีสีดำ อยู่ด้านหน้า และมีขนาดเล็กกว่าวงศ์นกเค้าแมว ปากเป็นจะงอยงุ้ม สีเหลืองเทา ชมพู หลังและปีกสีน้ำตาลอ่อน มีสีน้ำตาลเทาเป็นส่วน ๆ คอ อก ท้อง สีขาว ขาวนวล มีจุดสีน้ำตาลเข้มทั่วไป ปีกยาว หางสั้น ขนปีกและหางมีลายขวางสีเหลืองสลับน้ำตาลอ่อน ขาใหญ่ มีขนคลุมขา ตีนสีชมพู นิ้วมีเล็บยาว รูปร่างลักษณะตัวผู้และตัวเมียจะคล้ายกัน โดยตัวเมียจะโตกว่าเล็กน้อย ลำตัวตั้งตรง มีพฤติกรรมการหากินและเป็นอยู่คล้ายกับนกในวงศ์นกเค้าแมว โดยแบ่งออกได้เป็น 2 สกุล 16 ชนิด และยังมีอีก 4 สกุล ที่สูญพันธุ์ไปแล้ว (ดูในตาราง) พบกระจายพันธุ์ไปในทุกทวีปทั่วโลก ในหลายภูมิประเทศ ทั้งในป่าดิบที่มีความสูงจากระดับน้ำทะเล จนถึงชุมชนเมืองของมนุษย์ สำหรับในประเทศไทย พบได้ 3 ชนิด คือ นกแสก (Tyto alba) นกแสกทุ่งหญ้า (Tyto capensis) และนกแสกแดง (Phodilus badius) ซึ่งมีขนาดเล็กกว่า และพบได้เฉพาะในป่าเท่านั้น.

ใหม่!!: นกแสกแดงและวงศ์นกแสก · ดูเพิ่มเติม »

สัตว์

ัตว์ (Animal) เป็นสิ่งมีชีวิตยูแคริโอตหลายเซลล์ในอาณาจักร Animalia (หรือเรียก เมตาซัว) แผนกาย (body plan) ของพวกมันสุดท้ายคงที่เมื่อพัฒนา แม้สัตว์บางชนิดมีกระบวนการการเปลี่ยนสัณฐานภายหลังในช่วงชีวิต สัตว์ส่วนใหญ่เคลื่อนที่ได้ สัตว์ทุกชนิดต้องกินสิ่งมีชีวิตอื่นหรือผลิตภัณฑ์ของสิ่งมีชีวิตเพื่อการดำรงชีพ (สิ่งมีชีวิตสร้างอาหารเองไม่ได้) ไฟลัมสัตว์ที่รู้จักกันดีที่สุดปรากฏในบันทึกฟอสซิลเป็นสปีชีส์ภาคพื้นสมุทรระหว่างการระเบิดแคมเบรียน (Cambrian explosion) ประมาณ 542 ล้านปีก่อน สัตว์แบ่งเป็นกลุ่มย่อยหลายกลุ่ม บางกลุ่ม เช่น สัตว์มีกระดูกสันหลัง (นก สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม สัตว์สะเทินน้ำสะเทินบก สัตว์เลื้อยคลาน ปลา) มอลลัสกา (หอยกาบ หอยนางรม ปลาหมึก หมึกสาย หอยทาก) สัตว์ขาปล้อง (กิ้งกือ ตะขาบ แมลง แมงมุม แมงป่อง ปู ลอบสเตอร์ กุ้ง) สัตว์พวกหนอนปล้อง (ไส้เดือนดิน ปลิง) ฟองน้ำ และแมงกะพรุน.

ใหม่!!: นกแสกแดงและสัตว์ · ดูเพิ่มเติม »

สัตว์มีแกนสันหลัง

ัตว์มีแกนสันหลัง คือสัตว์ในไฟลัมคอร์ดาตา พวกมันจะมีแกนสันหลัง ใยประสาทส่วนหลังกลวง ช่องคอหอย หลอดเส้นประสาทกลวงส่วนหลัง และหางหลังทวารหนัก ในช่วงหนึ่งของวงจรชีวิต สัตว์มีแกนสันหลังเป็นพวกดิวเทอโรสโตม กล่าวคือในช่วงระยะตัวอ่อน ทวารหนักเกิดก่อนปาก และเป็นซีโลเมตที่มีสมมาตรด้านข้าง ในกรณีของสัตว์มีแกนสันหลังที่มีกระดูกสันหลัง แกนสันหลังจะถูกแทนที่โดยกระดูกสันหลังในช่วงเจริญเติบโต และพวกมันอาจจะมีปล้องตามร่างกาย ในอนุกรมวิธาน ตัวไฟลัมเองประกอบไปด้วยไฟลัมย่อยเวอร์เตบราตา (ซึ่งประกอบด้วย ปลา สัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำ สัตว์เลื้อยคลาน สัตว์ปีก และสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม) ทูนิคาตา (ซึ่งรวมทั้งซาล์ปและเพรียงหัวหอม) และเซฟาโลคอร์ดาตา ประกอบด้วยแหลนทะเล และยังรวมถึงบางกลุ่มที่สูญพันธุ์ไปแล้ว บางครั้งกลุ่มสัตว์มีกระดูกสันหลังถูกจัดรวมอยู่กับกลุ่มสัตว์มีกระโหลกศีรษะ สัตว์มีแกนสันหลังมีมากกว่า 65,000 สปีชีส์ที่ยังมีชีวิตอยู่ กว่าครึ่งเป็นพวกปลากระดูกแข็ง วาฬและเหยี่ยวเพเรกริน สัตว์ที่มีขนาดใหญ่ที่สุดและเคลื่อนที่เร็วที่สุดตามลำดับ เป็นสัตว์มีแกนสันหลังเช่นเดียวกันกับมนุษย์ ซากดึกดำบรรพ์ของสัตว์มีแกนสันหลังยุคแรกๆ มีอายุย้อนไปถึงในช่วงการระเบิดยุคแคมเบรียน.

ใหม่!!: นกแสกแดงและสัตว์มีแกนสันหลัง · ดูเพิ่มเติม »

สัตว์ปีก

ัตว์ปีก หรือ นก (รวมถึง ไก่, เป็ด, ห่าน, ไก่ฟ้า) จัดอยู่ในไฟลัมสัตว์มีแกนสันหลัง ชั้น Aves (คำว่า Aves เป็นภาษาละติน หมายถึง นก) โดยมีลักษณะทั่วไปคือ เป็นสัตว์ทวิบาท เลือดอุ่น ออกลูกเป็นไข่ รยางค์คู่หน้าเปลี่ยนแปลงไปเป็นปีก มีขนนก และมีกระดูกที่กลวงเบา ในปัจจุบันทั่วโลกมีนกอยู่ประมาณ 8,800 ถึง 9,800 ชนิด (ตามการจัดอนุกรมวิธานที่ต่างกัน) ซึ่งนับว่านกเป็นชั้นของสัตว์มีกระดูกสันหลังที่มีความหลากหลายมากที่สุด ในบรรดาชั้นของสัตว์มีกระดูกสันหลังทั้งหลายที่อาศัยอยู่บนพื้นดิน ความหลากหลายของนกนับเนื่องไปตั้งแต่ในเรื่องของขนาดตัว สีสัน เสียงร้อง อาหารการกิน และถิ่นที่อยู่อาศัย นกเป็นสัตว์ที่มีความสำคัญเป็นอันมากทั้งต่อระบบนิเวศและต่อชีวิตมนุษย์ ความสัมพันธ์ระหว่างคนกับนกเป็นไปอย่างแน่นแฟ้น และการเกื้อกูลกันระหว่างนกกับสรรพสิ่งต่างๆ ตามธรรมชาติก็เป็นไปอย่างแนบแน่น ถ้าหากปราศจากนก คงเป็นเรื่องยากที่จะจินตนาการถึงการดำรงอยู่ต่อไปของชีวภาคใบนี้.

ใหม่!!: นกแสกแดงและสัตว์ปีก · ดูเพิ่มเติม »

สีชมพู

ีชมพู เป็นสีที่เกิดจากการผสมสีแดงและสีขาว ในบางครั้งจะถูกกล่าวถึงในลักษณะสีแดงอ่อน สีชมพูมักจะถูกใช้ในการกล่าวถึงลักษณะของเด็กหญิง ซึ่งนิยมใช้ควบคู่กับ สีน้ำเงินหรือสีฟ้า ที่จะแสดงถึงเด็กชาย ในภาษาเหนือ เรียกสีชมพูว่า "จมออน" (จม-ออน).

ใหม่!!: นกแสกแดงและสีชมพู · ดูเพิ่มเติม »

สีม่วง

อกไม้สีม่วงอ่อน สีม่วง เป็นสีที่ผสมระหว่างสีน้ำเงินและสีแดง โดยปกติสีจะมีอยู่สองโทน คือ สีโทนร้อน และ สีโทนเย็น แต่สีม่วงเป็นสีที่อยู่ตรงกลางระหว่าง สีโทนร้อน และ สีโทนเย็น ซึ่งนอกจากสีม่วงแล้วยังมีสีเหลืองอีกสีหนึ่งที่มีลักษณะดังกล่าว จึงสามารถเลือกใช้สีม่วงเข้าไปผสมผสานได้กับสีทั้งสองโทน.

ใหม่!!: นกแสกแดงและสีม่วง · ดูเพิ่มเติม »

สีน้ำตาล

ีน้ำตาล (Brown) เป็นสีชนิดหนึ่งที่คล้ายกับสีของลำต้นของต้นไม้ ออกสีส้มแก่ๆ ผสมกับสีเขียวไปด้วย พบเห็นได้ทั่วไป เช่น กิ่งและลำต้นของต้นไม้ เป็นต้น เป็นสีที่ไม่ค่อยจะสะท้อนแสงเท่าไรนัก จัดอยู่ในกลุ่มจำพวกสีเย็น.

ใหม่!!: นกแสกแดงและสีน้ำตาล · ดูเพิ่มเติม »

สีแดง

ีแดง คือสีมีความถี่ของแสงที่ต่ำที่สุด ที่ตามนุษย์สามารถแยกแยะได้ แสงสีแดงมีบริเวณช่วงคลื่นระหว่าง 630-760 นาโนเมตร สีแดงเป็นสีอย่างสีเลือดหรือสีชาด, ใช้ประกอบสิ่งต่าง ๆ บางอย่างโดยอนุโลมตามลักษณะสี เป็นชื่อเรียกเฉพาะ เช่น มดแดง ผ้าแดง จัดเป็น 1 ในแม่สี 3 สี ร่วมกับสีเขียว, สีน้ำเงิน.

ใหม่!!: นกแสกแดงและสีแดง · ดูเพิ่มเติม »

สีเหลือง

ีเหลือง เป็น 1 ใน 3 แม่สี ร่วมกับสีแดง และสีน้ำเงิน โดยปกติสีจะมีอยู่สองโทน คือ สีโทนร้อน และ สีโทนเย็น แต่สีเหลืองเป็นสีที่อยู่ตรงกลางระหว่าง สีโทนร้อน และ สีโทนเย็น จึงสามารถเลือกใช้สีเหลืองเข้าไปผสมผสานได้กับสีทั้งสองโทน ซึ่งนอกจากสีเหลืองแล้วยังมีสีม่วงอีกสีหนึ่งที่มีลักษณะดังกล่าว.

ใหม่!!: นกแสกแดงและสีเหลือง · ดูเพิ่มเติม »

สปีชีส์

ในวิชาชีววิทยา ชนิด หรือทับศัพท์ว่า สปีชีส์ (species, ย่อ: sp., รูปพหูพจน์ย่อ: spp.) เป็นหน่วยการจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์พื้นฐานและอันดับอนุกรมวิธานหนึ่ง มักนิยามว่า สปีชีส์เป็นกลุ่มอินทรีย์ใหญ่สุดที่สามารถสืบพันธุ์แล้วออกลูกที่สืบพันธุ์ได้ การมีลักษณะปรับตัวเฉพาะบางท้องถิ่นอาจแบ่งสปีชีส์ต่ออีกได้เป็น "ชื่อต่ำกว่าระดับชนิด" (infraspecific taxa) เช่น ชนิดย่อย (ในทางพฤกษศาสตร์ มีใช้คำอื่น เช่น พันธุ์ (variety) พันธุ์ย่อยและแบบ (forma)).

ใหม่!!: นกแสกแดงและสปีชีส์ · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศฟิลิปปินส์

ฟิลิปปินส์ (Philippines; Pilipinas) หรือชื่อทางการว่า สาธารณรัฐฟิลิปปินส์ (Republic of the Philippines; Republika ng Pilipinas) เป็นประเทศเอกราชที่เป็นหมู่เกาะในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ตั้งอยู่ในมหาสมุทรแปซิฟิกตะวันตก ประกอบด้วยเกาะ 7,641 เกาะ ซึ่งจัดอยู่ในเขตภูมิศาสตร์ใหญ่ 3 เขตจากเหนือจรดใต้ ได้แก่ ลูซอน, วิซายัส และมินดาเนา เมืองหลวงของประเทศคือมะนิลา ส่วนเมืองที่มีประชากรมากที่สุดคือนครเกซอน ทั้งสองเป็นส่วนหนึ่งของเมโทรมะนิลา ฟิลิปปินส์มีอาณาเขตติดต่อกับทะเลจีนใต้ทางทิศตะวันตก ทะเลฟิลิปปินทางทิศตะวันออก และทะเลเซเลบีสทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ โดยมีพรมแดนทางทะเลร่วมกับไต้หวันทางทิศเหนือ ปาเลาทางทิศตะวันออก มาเลเซียและอินโดนีเซียทางทิศใต้ และเวียดนามทางทิศตะวันตก ฟิลิปปินส์ตั้งอยู่ในแถบวงแหวนไฟและใกล้กับเส้นศูนย์สูตร ทำให้มีแนวโน้มสูงที่จะประสบภัยจากแผ่นดินไหวและไต้ฝุ่น แต่ก็ทำให้มีทั้งทรัพยากรธรรมชาติที่อุดมสมบูรณ์และความหลากหลายทางชีวภาพอย่างยิ่งเช่นกัน ฟิลิปปินส์มีเนื้อที่ประมาณ 300,000 ตารางกิโลเมตร (115,831 ตารางไมล์) และมีประชากรประมาณ 100 ล้านคน นับเป็นประเทศที่มีประชากรมากที่สุดเป็นอันดับที่ 8 ในเอเชีย และเป็นประเทศที่มีประชากรมากที่สุดเป็นอันดับที่ 12 ของโลก นอกจากนี้ ณ ปี..

ใหม่!!: นกแสกแดงและประเทศฟิลิปปินส์ · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศศรีลังกา

รีลังกา (ශ්රී ලංකා; இலங்கை) หรือชื่อทางการว่า สาธารณรัฐสังคมนิยมประชาธิปไตยศรีลังกา (ශ්රී ලංකා ප්රජාතාන්ත්රික සමාජවාදී ජනරජය; இலங்கை சனநாயக சோசலிசக் குடியரசு) เป็นประเทศเกาะในมหาสมุทรอินเดียตอนเหนือ นอกชายฝั่งตะวันออกเฉียงใต้ของอนุทวีปอินเดีย ชื่อในอดีตได้แก่ ลังกา ลังกาทวีป สิงหลทวีป และ ซีลอน ซึ่งเป็นชื่อที่ใช้ในสมัยอาณานิคมจนถึง พ.ศ. 2517 มีพรมแดนทางทะเลติดต่อกับอินเดียทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือ และมัลดีฟส์ทางทิศตะวันตกเฉียงใต้.

ใหม่!!: นกแสกแดงและประเทศศรีลังกา · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศอินเดีย

อินเดีย (India; भारत, ออกเสียง) หรือชื่อทางการว่า สาธารณรัฐอินเดีย (Republic of India; भारत गणराज्य) ตั้งอยู่ในทวีปเอเชียใต้ เป็นพื้นที่ส่วนใหญ่ของอนุทวีปอินเดีย มีประชากรมากเป็นอันดับที่สองของโลก และเป็นประเทศประชาธิปไตยที่มีประชากรมากที่สุดในโลก โดยมีประชากรมากกว่าหนึ่งพันล้านคน มีภาษาพูดร้อยแปดสิบแปดภาษาโดยประมาณ ด้านเศรษฐกิจ อินเดียมีอำนาจการซื้อมากเป็นอันดับที่สี่ของโลก ทั้งนี้ อาณาเขตทางทิศเหนือติดกับจีน เนปาล และภูฏาน ทางตะวันตกเฉียงเหนือติดกับปากีสถาน ทางตะวันออกติดพม่า ทางตะวันตกเฉียงใต้จรดมหาสมุทรอินเดีย ทางตะวันออกเฉียงใต้ติดศรีลังกา ล้อมรอบบังกลาเทศทางทิศเหนือ ทิศตะวันออก และทิศตะวันตก นอกนั้นยังมีเขตแดนทางทะเลต่อเนื่องกับน่านน้ำไทย พม่า และอินโดนีเซีย และด้วยพื้นที่ 3,287,590 ตารางกิโลเมตร อินเดียจึงเป็นประเทศที่ใหญ่ที่สุดอันดับ 7 ของโลก.

ใหม่!!: นกแสกแดงและประเทศอินเดีย · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศไทย

ประเทศไทย มีชื่ออย่างเป็นทางราชการว่า ราชอาณาจักรไทย เป็นรัฐชาติอันตั้งอยู่ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เดิมมีชื่อว่า "สยาม" รัฐบาลประกาศเปลี่ยนชื่อเป็นประเทศไทยอย่างเป็นทางการตั้งแต่ปี 2482 ประเทศไทยมีขนาดใหญ่เป็นอันดับที่ 50 ของโลก มีเนื้อที่ 513,115 ตารางกิโลเมตร และมีประชากรมากเป็นอันดับที่ 20 ของโลก คือ ประมาณ 66 ล้านคน กรุงเทพมหานครเป็นศูนย์กลางการบริหารราชการแผ่นดินและนครใหญ่สุดของประเทศ และการปกครองส่วนภูมิภาค จัดระเบียบเป็น 76 จังหวัด แม้จะมีการสถาปนาระบอบราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญและประชาธิปไตยระบบรัฐสภาในปี 2475 แต่กองทัพยังมีบทบาทในการเมืองไทยสูง ล่าสุด เกิดรัฐประหารเมื่อวันที่ 22 พฤษภาคม 2557 และมีการปกครองแบบเผด็จการทหารนับแต่นั้น พบหลักฐานการอยู่อาศัยอย่างต่อเนื่องในอาณาเขตประเทศไทยปัจจุบันตั้งแต่ 20,000 ปีก่อนคริสตกาล ชาวไทเริ่มอพยพเข้าสู่บริเวณนี้ในคริสต์ศตวรรษที่ 11 แล้วเข้ามาตั้งแว่นแคว้นต่าง ๆ ที่สำคัญได้แก่ อาณาจักรสุโขทัย อาณาจักรล้านนาและอาณาจักรอยุธยา นักประวัติศาสตร์มักถือว่าอาณาจักรสุโขทัยเป็นจุดเริ่มต้นของประวัติศาสตร์ไทย ต่อมาอาณาจักรอยุธยาค่อย ๆ เรืองอำนาจมากขึ้นจนเป็นมหาอำนาจในภูมิภาคในปลายคริสต์ศตวรรษที่ 14 การติดต่อกับชาติตะวันตกเริ่มด้วยผู้แทนทางทูตชาวโปรตุเกสในปี 2054 อาณาจักรรุ่งเรืองอย่างมากในรัชกาลสมเด็จพระนารายณ์มหาราช (ครองราชย์ปี 2199–2231) แต่หลังจากนั้นค่อย ๆ เสื่อมอำนาจโดยมีสาเหตุส่วนหนึ่งจากการผลัดแผ่นดินที่มีการนองเลือดหลายรัชกาล จนสุดท้ายกรุงศรีอยุธยาถูกทำลายสิ้นเชิงในปี 2310 สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีทรงรวบรวมแผ่นดินที่แตกออกเป็นก๊กต่าง ๆ และสถาปนาอาณาจักรธนบุรีที่มีอายุ 15 ปี ความวุ่นวายในช่วงปลายอาณาจักรนำไปสู่การสำเร็จโทษพระองค์โดยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ปฐมราชวงศ์จักรีแห่งกรุงรัตนโกสินทร์ ช่วงต้นกรุงรัตนโกสินทร์ ประเทศเผชิญภัยคุกคามจากชาติใกล้เคียง แต่หลังรัชกาลพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเป็นต้นมา ชาติตะวันตกเริ่มมีอิทธิพลในภูมิภาคเป็นอย่างมาก นำไปสู่การเข้าเป็นภาคีแห่งสนธิสัญญาไม่เป็นธรรมหลายฉบับ กระนั้น สยามไม่ตกเป็นอาณานิคมของตะวันตกชาติใด มีการปรับให้สยามทันสมัยและรวมอำนาจปกครองในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (ครองราชย์ปี 2411–53) สยามเข้าร่วมกับฝ่ายสัมพันธมิตรในสงครามโลกครั้งที่หนึ่งในปี 2460; ในปี 2475 เกิดการปฏิวัติเปลี่ยนแปลงการปกครองสู่ระบอบราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญโดยไม่เสียเลือดเนื้อ คณะราษฎรมีบทบาทนำทางการเมือง และในพุทธทศวรรษ 2480 นายกรัฐมนตรี จอมพล แปลก พิบูลสงคราม ดำเนินนโยบายชาตินิยมเข้มข้น ระหว่างสงครามโลกครั้งที่สอง ไทยเข้ากับฝ่ายอักษะ แต่ฝ่ายสัมพันธมิตรส่วนใหญ่ไม่ยอมรับการประกาศสงคราม ในช่วงสงครามเย็น ประเทศไทยเป็นพันธมิตรกับสหรัฐซึ่งสนับสนุนรัฐบาลทหารมาก รัฐประหารที่มีจอมพล สฤษดิ์ ธนะรัชต์เป็นหัวหน้าคณะในปี 2500 ทำให้คณะราษฎรหมดอำนาจ รัฐบาลฟื้นฟูพระราชอำนาจและมีมาตรการต่อต้านคอมมิวนิสต์ในภูมิภาค ผลของเหตุการณ์ 14 ตุลา 2516 ทำให้เกิดประชาธิปไตยระบบรัฐสภาช่วงสั้น ๆ ประเทศไทยมีนายกรัฐมนตรีจากการเลือกตั้งครั้งแรกในปี 2531 หลังพุทธทศวรรษ 2540 มีวิกฤตการเมืองระหว่างฝ่ายที่สนับสนุนและต่อต้านอดีตนายกรัฐมนตรีทักษิณ ชินวัตรมาจนปัจจุบัน รวมทั้งเกิดรัฐประหารสองครั้ง โดยครั้งล่าสุดเกิดในปี 2557 รัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบันเป็นฉบับที่ 20 ประกาศใช้เมื่อวันที่ 6 เมษายน 2560 หลังมีการลงประชามติรับร่างเมื่อหนึ่งปีก่อน ประเทศไทยเป็นสมาชิกสหประชาชาติ เอเปก อีกทั้งเป็นร่วมผู้ก่อตั้งอาเซียน ประเทศไทยเป็นพันธมิตรของสหรัฐตั้งแต่สนธิสัญญาซีโต้ในปี 2497 ถือเป็นประเทศอำนาจนำภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และประเทศอำนาจปานกลางในเวทีโลก ประเทศไทยเป็นประเทศที่มีรายได้ปานกลาง-สูงและประเทศอุตสาหกรรมใหม่ มีรายได้หลักจากภาคอุตสาหกรรมและบริการ การเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจทำให้มีการอพยพเข้าสู่เมืองในคริสต์ศตวรรษที่ 20 ตามประมาณการในปี 2560 จีดีพีของประเทศไทยมีมูลค่าราว 432,898 ล้านดอลลาร์สหรัฐ นับว่าเศรษฐกิจไทยเป็นเศรษฐกิจใหญ่สุดเป็นอันดับ 2 ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และใหญ่เป็นอันดับที่ 26 ของโลก.

ใหม่!!: นกแสกแดงและประเทศไทย · ดูเพิ่มเติม »

ป่า

ป่า ป่าไม้ ตามพระราชบัญญัติป่าไม้ หมายถึง ที่ดินที่ไม่มีบุคคลใดบุคคลหนึ่งได้มาซึ่งกรรมสิทธิ์ครอบครองตามกฎหมายที่ดิน โดยทั่วไป หมายถึง บริเวณที่มีความชุ่มชื้น และปกด้วยใบไม้สีเขียว ขึ้นอยู่อย่างหนาแน่นและกว้างใหญ่พอที่จะมีอิทธิพลต่อสิ่งแวดล้อมในบริเวณนั้น เช่น ความเปลี่ยนแปลงของลมฟ้าอากาศ ความอุดมสมบูรณ์ของดินและน้ำ มีสัตว์ป่าและสิ่งมีชีวิตอื่นซึ่งมีความสัมพันธ์ซึ่งกันและกัน.

ใหม่!!: นกแสกแดงและป่า · ดูเพิ่มเติม »

นกล่าเหยื่อ

หยี่ยว เป็นนกล่าเหยื่อประเภทหนึ่ง นกล่าเหยื่อ (Bird of prey, Raptor-มาจากภาษาละตินคำว่า rapere หมายถึง "บังคับด้วยกำลัง") เป็นชื่อสามัญเรียกโดยรวมของนกกลุ่มที่หากินในเวลากลางวัน และกินเนื้อสัตว์เป็นอาหาร รวมถึงอาจกินซากเป็นอาหารด้วย นกล่าเหยื่อจะมีหลักการบินโดยใช้ความรู้สึกกระตือรือร้นโดยเฉพาะอย่างยิ่งการมองเห็น นกกลุ่มนี้เป็นนกที่ล่าสัตว์มีกระดูกสันหลังเป็นส่วนใหญ่รวมทั้งนกด้วยกันจำพวกอื่น ๆ โดยมีกรงเล็บและจะงอยปากที่ค่อนข้างใหญ่และประสิทธิภาพและเหมาะสำหรับการฉีกขาดเนื้อ ส่วนใหญ่ตัวเมียมีขนาดใหญ่กว่าตัวผู้ จัดเป็นสิ่งมีชีวิตที่อยู่บนสุดของห่วงโซ่อาหาร Brown, Leslie (1997).

ใหม่!!: นกแสกแดงและนกล่าเหยื่อ · ดูเพิ่มเติม »

นกแสก

นกแสก หรือ นกแฝก หรือ นกเค้าหน้าลิง (Barn owl, Common barn owl) เป็นนกเค้าแมวชนิดหนึ่งในวงศ์นกแสก (Tytonidae) วงศ์ย่อย Tytoninae มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Tyto alba จัดเป็น 1 ชนิดในจำนวน 19 ชนิดของนกในอันดับนกเค้าแมวที่พบได้ในประเทศไทย และนับเป็นนกแสกชนิดหนึ่งที่พบได้ในประเทศไทย (อีก 1 ชนิดนั้นคือ นกแสกแดง).

ใหม่!!: นกแสกแดงและนกแสก · ดูเพิ่มเติม »

นกแสกแดง (สกุล)

นกแสกแดง (Bay owl) เป็นสกุลของนกล่าเหยื่อที่หากินในเวลากลางคืน จำพวกนกเค้าแมวสกุลหนึ่ง ใช้ชื่อสกุลว่า Phodilus อยู่ในวงศ์ย่อย Phodilinae ในวงศ์นกแสก (Phodilidae) มีลักษณะแตกต่างจากนกแสกในสกุล Tyto คือ มีขนที่ตั้งแหลมเหนือตาแลหูคล้ายหู มีใบหน้าที่เป็นรูปตัวยู เป็นวงกลมมากกว่า และมีขาที่แข็งแรง สามารถเกาะกิ่งไม้ในลักษณะตัวตั้งตรงได้ รวมทั้งเสียงร้องที่แตกต่างกันด้วย มีการล่าเหยื่อด้วยการจ้องมองและการโยกหัวไปมา และใช้การบินไปเกาะยังใต้ต้นไม้ต้นเล็ก ๆ ใต้เรือนยอดป่า แล้วจึงจับเหยื่อ เนื่องจากมีปีกที่กลมและสั้น มีเพียง 2 ชนิดเท่านั้น คือ.

ใหม่!!: นกแสกแดงและนกแสกแดง (สกุล) · ดูเพิ่มเติม »

นกเค้าโมง

นกเค้าโมง หรือ นกเค้าแมว (Asian barred owlet) เป็นนกขนาดเล็กชนิดหนึ่ง จำพวกนกเค้าแมว มีลายสีน้ำตาลทั่วทั้งตัว ด้านใต้ของลำตัวเป็นสีขาวและมีลายสีขาวในแนวตั้งลากยาวขึ้นมาที่บริเวณอกอย่างไม่เป็นระเบียบ มีม่านตาสีเหลือง ในวัยเล็กจะมีลวดลายบนหัวเป็นจุดคล้ายกับนกเค้าแคระ (G. brodiei) ซึ่งเป็นนกในสกุลเดียวกันและเป็นนกจำพวกนกเค้าแมวที่เล็กที่สุดที่พบได้ในประเทศไทย นกเค้าโมง มีการกระจายพันธุ์อย่างกว้างขวางในภูมิภาคเอเชียใต้จนถึงเอเชียอาคเนย์และเอเชียตะวันออก มีชนิดย่อยทั้งสิ้น 8 ชนิด (ดูในตาราง) สามารถปรับตัวให้อยู่ได้ในทุกสภาพแวดล้อม ทั้งป่าทึบที่มีความสูงจากระดับน้ำทะเลไม่เกิน 1,980 เมตร จนถึงสวนสาธารณะในเมืองใหญ่ บางครั้งอาจจะพบได้ในเวลากลางวันได้อีกด้วย จึงนับเป็นนกจำพวกนกเค้าแมวอีกชนิดหนึ่งที่พบเห็นตัวได้บ่อยรองมาจากนกแสก (Tyto alba) สำหรับในประเทศไทย พบได้ทุกภาคยกเว้นภาคใต้ตอนล่างและภาคกลางตอนล่าง มีพฤติกรรมร้องได้หลายเสียง หลายทำนอง ในเวลากลางคืนจะร้องเป็นครั้งคราวคล้ายกับจะบอกโมงยาม จึงได้ชื่อว่า "นกเค้าโมง" เป็นสัตว์ป่าคุ้มครองตามพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่าพุทธศักราช 2535 แต่จากความที่เป็นนกขนาดเล็ก จึงทำให้นกเค้าโมงเป็นนกเค้าแมวอีกชนิดหนึ่งที่มีผู้นิยมเลี้ยงเป็นสัตว์เลี้ยงเช่นเดียวกับนกเค้าแคร.

ใหม่!!: นกแสกแดงและนกเค้าโมง · ดูเพิ่มเติม »

เมตร

มตร อักษรย่อ ม. (mètre → metre meter The Metric Conversion Act of 1975 gives the Secretary of Commerce of the US the responsibility of interpreting or modifying the SI for use in the US., m) เป็นหน่วยฐานเอสไอของความยาวในหน่วยเอสไอ แต่เดิมนิยามว่าหนึ่งเมตรเท่ากับ 1/10,000,000 ของระยะทางจากเส้นศูนย์สูตรของโลกไปยังขั้วโลกเหนือวัดจากเส้นรอบวงที่ผ่านเมืองปารีส แต่เนื่องจากความแม่นยำทางมาตรวิทยา ที่มีมากขึ้น ตั้งแต่ปีพ.ศ. 2526 ความยาวหนึ่งเมตรจึงถูกนิยามไว้ให้เท่ากับความยาวที่แสงเดินทางได้ในสุญญากาศ ในช่วงเวลา วินาที.

ใหม่!!: นกแสกแดงและเมตร · ดูเพิ่มเติม »

เอเชียตะวันออกเฉียงใต้

อเชียตะวันออกเฉียงใต้, อุษาคเนย์ หรือ เอเชียอาคเนย์ เป็นอนุภูมิภาคของทวีปเอเชีย ประกอบด้วยประเทศต่าง ๆ ซึ่งทิศเหนือติดจีน ทิศตะวันตกติดอินเดีย ทิศตะวันออกติดปาปัวนิวกินี และทิศใต้ติดออสเตรเลีย ภูมิภาคดังกล่าวตั้งอยู่บนรอยต่อของแผ่นทวีปหลายแผ่นที่ยังมีการไหวสะเทือนรุนแรงและการปะทุของภูเขาไฟอยู่ต่อเนื่อง เอเชียตะวันออกเฉียงใต้แบ่งได้ภาคภูมิศาสตร์ได้สองภาค ได้แก่ เอเชียตะวันออกเฉียงใต้แผ่นดินใหญ่หรืออินโดจีน ประกอบด้วย กัมพูชา ลาว พม่า ไทย เวียดนาม และมาเลเซียตะวันตก และเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ภาคพื้นสมุทร ประกอบด้วยบรูไน มาเลเซียตะวันออก ติมอร์-เลสเต อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ และสิงคโปร.

ใหม่!!: นกแสกแดงและเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ · ดูเพิ่มเติม »

เอเชียใต้

แผนที่เอเชียใต้ สีเขียวเข้มแสดงเอเชียใต้โดยทั่วไป และสีเขียวอ่อนคือเขตที่สหประชาชาติหมายถึงเอเชียใต้ เอเชียใต้เป็นภูมิภาคของทวีปเอเชีย และเป็นที่ตั้งของประเทศอินเดีย ปากีสถาน บังคลาเทศ ศรีลังกา เนปาล ภูฏาน และมัลดีฟส์ มีพื้นที่กว้าง 4,480,000 ตารางกิโลเมตร หรือ 12% ของทวีปเอเชีย ภูมิภาคนี้ยังเป็นที่รู้จักกันในอีกชื่อหนึ่งว่า อนุทวีปอินเดีย ประเทศที่ตั้งอยู่ในภูมิภาคนี้ทั้งหมดต่างก็เป็นสมาชิกขององค์กรความร่วมมือในภูมิภาคเอเชียใต้ (The South Asian Association for Regional Cooperation หรือ SAARC) ในบางครั้งพื้นที่บางส่วนหรือทั้งหมดของประเทศอัฟกานิสถาน ก็ถูกจำแนกให้เป็นส่วนหนึ่งของภูมิภาคเอเชียใต้ด้วย อนุภูมิภาคเอเชียใต้แบ่งออกเป็น 3 ส่วนคือ.

ใหม่!!: นกแสกแดงและเอเชียใต้ · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

Phodilus badius

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »