โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ฟรี
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

ดนตรีคลาสสิกและอุปรากร

ทางลัด: ความแตกต่างความคล้ายคลึงกันค่าสัมประสิทธิ์การเปรียบเทียบ Jaccardการอ้างอิง

ความแตกต่างระหว่าง ดนตรีคลาสสิกและอุปรากร

ดนตรีคลาสสิก vs. อุปรากร

วงซิมโฟนีออเคสตรา ดนตรีคลาสสิก (Classical music) เป็นรูปแบบหนึ่งของดนตรี ซึ่งมักจะหมายถึงดนตรีที่เป็นศิลปะของตะวันตก การแสดงดนตรีคลาสสิกจะใช้เครื่องดนตรี 4 กลุ่ม กลุ่มแรก คือ เครื่องสาย (String) แบ่งออกเป็น ไวโอลิน วิโอลา เชลโล และดับเบิลเบส กลุ่มที่สอง คือ เครื่องลมไม้ (Woodwind) เช่น ฟลูต คลาริเน็ต โอโบ บาสซูน ปิคโคโล กลุ่มที่สาม คือ เครื่องลมทองเหลือง (Brass) เช่น ทรัมเป็ต ทรอมโบน ทูบา เฟรนช์ฮอร์น กลุ่มที่สี่ คือ เครื่องกระทบ (Percussion) เช่น กลองทิมปานี ฉาบ กลองใหญ่ (Bass Drum) กิ๋ง (Triangle) เมื่อเล่นรวมกันเป็นวงเรียกว่าวงดุริยางค์หรือ ออร์เคสตรา (Orchestra) ซึ่งมีผู้อำนวยเพลง (conductor) เป็นผู้ควบคุมวง. รงอุปรากรซิดนีย์ในประเทศออสเตรเลีย เป็นโรงอุปรากรที่มีชื่อเสียงที่สุดแห่งหนึ่งของโลก อุปรากร (opera) เป็นศิลปะการแสดงบนเวทีชนิดหนึ่ง โดยมีลักษณะเป็นแบบละครที่ดำเนินเรื่องโดยใช้ดนตรีเป็นหลักหรือทั้งหมด อุปรากรถือเป็นส่วนหนึ่งของดนตรีคลาสสิก ตะวันตก มีความใกล้เคียงกับละครเวทีในเรื่องฉาก การแสดง และเครื่องแต่งกาย แต่สิ่งสำคัญที่แยกอุปรากรออกจากละครเวทีทั่วไป คือ ความสำคัญของเพลง ดนตรีที่ประกอบการร้อง ซึ่งอาจมีตั้งแต่วงดนตรีขนาดเล็กจนไปถึงวงออร์เคสตราขนาดใหญ.

ความคล้ายคลึงกันระหว่าง ดนตรีคลาสสิกและอุปรากร

ดนตรีคลาสสิกและอุปรากร มี 11 สิ่งที่เหมือนกัน (ใน ยูเนี่ยนพีเดีย): บัลเลต์ชาร์ล กูโนริชาร์ด วากเนอร์ลุดวิจ ฟาน เบโทเฟนวงทริโอออร์เคสตราอิกอร์ สตราวินสกีจูเซปเป แวร์ดีดนตรียุคคลาสสิกดนตรียุคโรแมนติกคายกคณะ

บัลเลต์

Classical bell tutus in ''The Dance Class'' by Degas, 1874 บัลเลต์ บัลเลต์ (ballet) หมายถึง การแสดงที่ประกอบด้วยการเต้น และ ดนตรีมีลักษณะเช่นเดียวกับอุปรากร เพียงแต่บัลเลต์เป็นการนำเสนอเนื้อเรื่อง โดยใช้การเต้นเป็นสื่อ มีกำเนิดขึ้นในระหว่างศตวรรษที่ 15 ที่ประเทศฝรั่งเศส ต่อมาในศตวรรษที่ 19 ได้แพร่หลายเข้าไปในประเทศอิตาลี การพัฒนาในยุคนี้คือ นิยมให้ผู้หญิงเป็นผู้แสดงเอก เรียกว่า บัลเลรินา (Ballerina) ศตวรรษที่ 20 บัลเลต์ได้รับการพัฒนาให้มีรูปแบบใหม่ที่เรียกว่า โมเดิร์นแดนซ์ (Modern Dance) คือ การนำเอาหลักของบัลเลต์มาผสมผสานดัดแปลงให้เป็นการเต้น โดยไม่ต้องใส่รองเท้าบัลเลต์และไม่ต้องใช้ปลายเท้าในลักษณะของบัลเลต์ ผู้มีบทบาทสำคัญในการประพันธ์เพลงบัลเลต์ ได้แก่ ไชคอฟสกี โปรโกเฟียฟ คอปแลนด์ และฟัล.

ดนตรีคลาสสิกและบัลเลต์ · บัลเลต์และอุปรากร · ดูเพิ่มเติม »

ชาร์ล กูโน

ร์ล-ฟรองซัว กูโน ชาร์ล-ฟร็องซัว กูโน (Charles-François Gounod; 18 มิถุนายน พ.ศ. 2361–18 ตุลาคม พ.ศ. 2436) เป็นคีตกวีชาวฝรั่ง.

ชาร์ล กูโนและดนตรีคลาสสิก · ชาร์ล กูโนและอุปรากร · ดูเพิ่มเติม »

ริชาร์ด วากเนอร์

ริชาร์ด วากเนอร์ (Richard Wagner; เกิดเมื่อวันที่ 22 พฤษภาคม ค.ศ. 1813 เสียชีวิตเมื่อวันที่ 13 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1883) เป็นหนึ่งในคีตกวีเอกชาวเยอรมัน ในสมัยคริสต์ศตวรรษที่ 19 และยังเป็นนักทฤษฎีดนตรีที่เก่งกาจ ส่วนใหญ่แล้วผลงานของวากเนอร์เป็นที่รู้จักจากอุปรากรที่เขาแต่ง ซึ่งมักจะเป็นเรื่องราวโศกนาฏกรรมประกอบดนตรี อิทธิพลของวากเนอร์ในดนตรีตะวันตกนั้นมากมายมหาศาล โดยเฉพาะอย่างยิ่งในอุปรากรที่เขาปฏิวัติรูปแบบโดยสิ้นเชิง Richard Wagner.

ดนตรีคลาสสิกและริชาร์ด วากเนอร์ · ริชาร์ด วากเนอร์และอุปรากร · ดูเพิ่มเติม »

ลุดวิจ ฟาน เบโทเฟน

ลุดวิจ ฟาน เบโทเฟน ใน ค.ศ. 1820 ลุดวิจ ฟาน เบโทเฟน (Ludwig van Beethoven,; 16 ธันวาคม ค.ศ. 1770 - 26 มีนาคม ค.ศ. 1827) เป็นคีตกวีและนักเปียโนชาวเยอรมัน เกิดที่เมืองบอนน์ ประเทศเยอรมนี เบโทเฟนเป็นตัวอย่างของศิลปินยุคจินตนิยมผู้โดดเดี่ยว และไม่เป็นที่เข้าใจของบุคคลในยุคเดียวกันกับเขา ในวันนี้เขาได้กลายเป็นคีตกวีที่มีคนชื่นชมยกย่องและฟังเพลงของเขากันอย่างกว้างขวางมากที่สุดคนหนึ่ง ตลอดชีวิตของเขามีอุปสรรคนานัปการที่ต้องฝ่าฟัน ทำให้เกิดความเครียดสะสมในใจเขา ในรูปภาพต่าง ๆ ที่เป็นรูปเบโทเฟน สีหน้าของเขาหลายภาพแสดงออกถึงความเครียด แต่ด้วยจิตใจที่แข็งแกร่งของเขา ก็สามารถเอาชนะอุปสรรคต่าง ๆ ในชีวิตของเขาได้ ตำนานที่คงอยู่นิรันดร์เนื่องจากได้รับการยกย่องจากคีตกวีโรแมนติกทั้งหลาย เบโทเฟนได้กลายเป็นแบบอย่างของพวกเขาเหล่านั้นด้วยความเป็นอัจฉริยะที่ไม่มีใครเทียมทาน ซิมโฟนีของเขา (โดยเฉพาะอย่างยิ่งซิมโฟนีหมายเลข 5 ซิมโฟนีหมายเลข 6 ซิมโฟนีหมายเลข 7 และ ซิมโฟนีหมายเลข 9) และคอนแชร์โตสำหรับเปียโนที่เขาประพันธ์ขึ้น (โดยเฉพาะอย่างยิ่งคอนแชร์โตหมายเลข 4 และ หมายเลข 5) เป็นผลงานที่ได้รับความนิยมมากที่สุด แต่ก็มิได้รวมเอาความเป็นอัจฉริยะทั้งหมดของคีตกวีไว้ในนั้น.

ดนตรีคลาสสิกและลุดวิจ ฟาน เบโทเฟน · ลุดวิจ ฟาน เบโทเฟนและอุปรากร · ดูเพิ่มเติม »

วงทริโอ

วงทริโอ (Trio) เป็นวงดนตรีที่ประกอบด้วยผู้เล่นดนตรี 3 คน ใช้เครื่องดนตรี 3 ชิ้น วงที่มีความนิยมสูงคือวงที่ประกอบด้วย เปียโน, ไวโอลิน และ เชลโล เรียกว่า "เปียโนทริโอ" วงทริโอนี้อาจมีการผสมผสานเครื่องดนตรีที่แตกต่างออกไปเช่น ใช้คลาริเน็ตแทนไวโอลิน (คลาริเน็ตทริโอ), ใช้เฟรนช์ฮอร์นแทนเชลโล (ฮอร์นทริโอ) หรือแม้แต่การผสมวงที่ไม่มีเปียโน เช่น ไวโอลิน, วิโอลา และ เชลโล (สตริงทริโอ), คลาริเน็ต, โอโบ และ บาสซูน (วู้ดวินด์ทริโอ) ฯลฯ วงเปียทริโอพัฒนามาจาก"แอคคอมพานีโซนาตา"ในสมัยของโมซาร์ท ซึ่งความจริงแล้วโมซาร์ทเปียโนทริโอที่เรารู้จักกันทุกทุกวันนี้ ก็คือโซนาตาสำหรับเปียโนที่มีการเล่นประกอบโดยไวโอลินและเชลโล โดยบทเด่นที่สุดและยากที่สุดจะเป็นของเปียโน ไวโอลินกับเชลโลอาจเพียงเล่นโน้ตเดียวกันกับมือซ้ายหรือมือขวาของเปียโน ต่อมาในสมัยของเบโธเฟน เครื่องสายได้มีบทบาทมากขึ้น เนื่องจากเป็นที่นิยมมากในหมู่ผู้เล่นดนตรี จุดเปลี่ยนแปลงที่จะเห็นได้ชัดที่สุด คือเปียโนทริโอที่ประพันธ์โดยเบโธเฟน ซึ่งไวโอลินและเชลโลในเปียโนทริโอบางบท มีบทบาทมากกว่าเปียโนเสียอีก ซึ่งเป็นผลให้นักประพันธ์เพลงในสมัยต่อๆมา ประพันธ์เพลงด้วยความมีอิสระมากขึ้น มีการผสมผสานเครื่องดนตรีในรูปแบบที่แปลกใหม่ออกไป หมวดหมู่:กลุ่มดนตรี หมวดหมู่:วงทริโอ.

ดนตรีคลาสสิกและวงทริโอ · วงทริโอและอุปรากร · ดูเพิ่มเติม »

ออร์เคสตรา

วง '''เมลเบิร์น ซิมโฟนี ออร์เคสตรา''' ออร์เคสตรา (orchestra) หรือ วงดุริยางค์ ในภาษาไทย เป็นคำศัพท์เกี่ยวกับดนตรี มีประวัติมาช้านาน และมีการเปลี่ยนแปลงรูปแบบไปตามยุคสมัย เพื่อสนองความต้องการของผู้ประพันธ์ในการถ่ายทอดความรู้สึกของดนตรีในแต่ละยุค วงออร์เคสตราเป็นวงดนตรีที่มีวิวัฒนาการเริ่มขึ้นราว..1600 ลักษณะที่สำคัญของวงออร์เคสตราคือ เป็นกลุ่มของนักดนตรี ที่เล่นเครื่องดนตรีหลักทั้ง 4 ประเภท ได้แก่ เครื่องดนตรีประเภทเครื่องสาย เครื่องเป่าลมไม้ เครื่องลมทองเหลือง และเครื่องกระทบ โดยบรรเลงภายใต้การควบคุมของผู้อำนวยเพลง.

ดนตรีคลาสสิกและออร์เคสตรา · ออร์เคสตราและอุปรากร · ดูเพิ่มเติม »

อิกอร์ สตราวินสกี

อิกอร์ เฟโดโรวิช สตราวินสกี้ (И́горь Фёдорович Страви́нский; Igor Stravinsky; 17 มิถุนายน ค.ศ. 1882 — 6 เมษายน ค.ศ. 1971)) เป็นคีตกวีดนตรีคลาสสิกสมัยคริสต์ศตวรรษที่ 20 ชาวรัสเซีย สตราวินสกี้ ราวปี 1950 สตราวินสกี้เป็นบุตรชายของนักร้องชื่อดังแห่งโรงละครหลวง เขาเกิดที่เมืองออรานีนบาม (Oranienbaum) ซึ่งตอนนี้เปลี่ยนเป็นชื่อ โลโมโนซอฟ (Lomonosov) ใกล้กับนครเซนต์ปีเตอร์สเบิร์ก ในประเทศรัสเซีย เขาเรียนด้านกฎหมายกับเปียโน ก่อนที่จะมาเป็นศิษย์ของนิโคไล ริมสกี้-คอร์ซาคอฟ บทเพลงชื่อดังชิ้นแรกของเขาได้แก่ วิหคเพลิง (ค.ศ. 1910 ด้วยการจ้างของแซร์จ เดียกิเลฟ เพื่อใช้แสดงในคณะบัลเลต์รัสเซีย ตามมาด้วยเพลง เปทรูชก้า (ค.ศ. 1911) พิธีบูชายัญในฤดูใบไม้ผลิ (ค.ศ. 1913) และอุปรากร เรื่อง นกไนติงเกล (ค.ศ. 1914) มีเรื่องที่วิพากษ์วิจารณ์กันมากเกี่ยวกับบัลเลต์เรื่อง พิธีบูชายัญในฤดูใบไม้ผลิ ทั้งจากท่าเต้น และความไม่เหมือนใครของดนตรีประกอบ ทำให้สตราวินสกี้กลายเป็นคีตกวี ที่มีชื่อเสียงมากที่สุดในคริสต์ศตวรรษที่ 20 สตราวินสกี้เสียชีวิตที่นิวยอร์ก ศพของเขาถูกฝังไว้ที่สุสานซาน มิเชลในนครเวนิซ ประเทศอิตาลี.

ดนตรีคลาสสิกและอิกอร์ สตราวินสกี · อิกอร์ สตราวินสกีและอุปรากร · ดูเพิ่มเติม »

จูเซปเป แวร์ดี

Verdi จูเซปเป ฟอร์ตูนีโน ฟรันเชสโก แวร์ดี (Giuseppe Verdi) เป็นคีตกวีชาวอิตาลี เกิดเมื่อวันที่10 ตุลาคม พ.ศ. 2356 (ค.ศ. 1813) เสียชีวิตเมื่อวันที่ 27 มกราคม พ.ศ. 2444 (ค.ศ. 1901) โด่งดังจากอุปรากรเรื่อง ลา ทราเวียตตา ไอด้า โอเทลโล ผลงานของเขาได้รับความนิยมอย่างสูงเมื่อเขายังมีชีวิตอยู่ และต่อเนื่องจวบจนปัจจุบัน แวร์ดีเกิดที่หมู่บ้าน Le Roncole ในอำเภอตาโร ซึ่งขณะนั้นอยู่ภายใต้การปกครองของจักรพรรดินโปเลียน โบนาปาร์ต ในปี พ.ศ. 2367 (ค.ศ. 1824) เขาได้ย้ายถิ่นฐานไปอยู่ที่เมืองบุสเชโต ที่ซึ่งเขาได้เรียนดนตรีกับเฟอร์ดินานโด โปรแวร์สิ เขาได้ประพันธ์ซิมโฟนี ขึ้นมาบทหนึ่งจากเพลงโหมโรงของอุปรากรเรื่อง กัลบกแห่งเมืองเซวิลล์ (Il barbiere di Siviglia) ของ จิโออัคคิโน รอสสินี จากนั้นก็ได้ย้ายไปอยู่ที่นครมิลาน เพื่อสมัครเข้าเรียนที่วิทยาลัยดนตรีแต่ก็ถูกปฏิเสธ เขาจึงเรียนแบบส่วนตัวกับวินเซนโซ ลาวินยา ผลงานประพันธ์อุปรากรเรื่องแรกของเขาคือ Oberto, conte di San Bonifacio (เปิดการแสดงครั้งแรกที่กรุงมิลาน เมื่อวันที่ 17 พฤศจิกายน พ.ศ. 2382) ตามด้วยเรื่อง Un giorno di regno (ซึ่งเป็นความพยายามประพันธ์อุปรากรชวนหัวเพียงครั้งเดียว ซึ่งมีเพียง Falstaff อีกเรื่องในช่วงบั้นปลายชีวิตของเขา) แต่เขาประสบความสำเร็จครั้งแรกเมื่อปี พ.ศ. 2385 (ค.ศ. 1842) จากเรื่อง Nabucco ที่ได้เปิดแสดงที่โรงละครลา สกาล่า ในนครมิลาน โดยมีนักแสดงนำได้แก่จูเซปปินา สเตร็ปโปนี ร้องเสียงโซปราโน ในบทของอาบิไก นักร้องสาวได้กลายเป็นภรรยาน้อยของแวร์ดี เขาได้แต่งงานกับหล่อนในอีกหลายปีให้หลัง ภายหลังการเสียชีวิตของภรรยาของเขา หลังจากที่อุปรากรเรื่อง I Lombardi alla prima crociata (เปิดแสดงครั้งแรกที่นครมิลาน เมื่อวันที่ 11 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2386) ที่มีเนื้อหาบางส่วนเกี่ยวข้องกับสถานการณ์การเมือง เรื่องErnani ก็ประสบความสำเร็จในการเปิดแสดงที่โรงละครลา เฟนิกซ์ ในนครเวนีซเช่นกัน ในปีต่อมา อุปรากรเรื่อง Giovanna d'Arco และ La Forza del Destino ก็ตอกย้ำความโด่งดังของแวร์ดี แต่เขาเห็นว่าการแสดงงานของเขาที่โรงละครลา สกาล่านั้นยังไม่เข้าขั้น เป็นเหตุให้เขาปฏิเสธการเปิดแสดงอุปรากรเรื่องต่อ ๆ มาในมิลาน อันได้แก่เรื่อง Atilla, Alzira และ แมคเบ็ท ในได้ถูกนำออกแสดงในเมืองต่าง ๆ ทั่ว ประเทศอิตาลี ส่วนเรื่อง I Masnadieri นั้นได้ถูกประพันธ์ขึ้นที่กรุงลอนดอน ในขณะที่นครมิลาน พ่ายแพ้และถูกจักรวรรดิออสเตรียเข้ายึดครอง แวร์ดีได้ประพันธ์อุปรากรเรื่อง Il Corsaro, La Battaglia di Legnano และ Luisa Miller รวมทั้งเรื่อง Manon Lescaut ที่แต่งไม่จบ หลังจากข่าวอื้อฉาวเกี่ยวกับบทประพันธ์เรื่อง Stiffelio ในปี พ.ศ. 2394 (ค.ศ. 1851) เรื่อง Rigoletto ก็ประสบความสำเร็จอย่างท่วมท้นในการเปิดแสดงที่โรงละครลา เฟนิกซ์ ในนครเวนีซ ในปี พ.ศ. 2396 (ค.ศ. 1853) เขาประสบความสำเร็จครั้งสำคัญอีกครั้งจากเรื่องIl Trovatore ที่โรงละครอพอลโลในกรุงโรม แต่การเปิดการแสดงภาคภาษาฝรั่งเศสในนครเวนีซไม่ประสบความสำเร็จเท่าใดนัก อุปรากรเรื่องอื่น ๆ ที่ประพันธ์ขึ้นในช่วงนี้ ได้แก่ งูพิษแห่งเกาะซิซิลี (เปิดแสดงที่กรุงปารีส) Aroldo (งานที่สร้างขึ้นมาจากเรื่อง Stiffelioเดิม) และเรื่อง Simon Boccanegra กับ Un ballo in maschera (ที่ถูกห้ามนำออกแสดง) แวร์ดีได้เข้ามามีส่วนร่วมอย่างมากในการรวมชาติของประเทศอิตาลี (เขาได้ประพันธ์บทเพลง Inno delle Nazioni ซึ่งได้รวมเอาเพลงชาติต่าง ๆ ในยุโรปไว้ด้วยกัน เช่น เพลง Fratelli d'Italia Marseillaise และ God Save the King ในปี พ.ศ. 2405 (ค.ศ. 1862) และได้รับเลือกตั้งให้ดำรงตำแหน่งวุฒิสมาชิก จากนั้นก็ได้นำผลงานเก่ามาแก้ไขเล็กน้อย จนกระทั่งถึงปี พ.ศ. 2409 (ค.ศ. 1866) เมื่อDon Carlos ได้ถูกนำออกแสดงครั้งแรกที่กรุงปารีส ในปี พ.ศ. 2415 (ค.ศ. 1872) เมื่อเขานำเรื่องไอด้า ออกแสดงที่โรงละครลา สกาล่าก็ประสบความสำเร็จอย่างท่วมท้น เขาได้ประพันธ์ให้แก่ผู้สำเร็จราชการแห่งอียิปต์กับเนื่องในโอกาสพิธีเปิดโรงละครแห่งใหม่ในกรุงไคโร และสำหรับการเปิดคลองสุเอซ ผลงานของแวร์ดีมีความเป็นชาตินิยมของชาวอิตาลีอยู่ในตัว (เป็นต้นว่าเพลงชาวยิวสำหรับกลุ่มนักร้องประสานเสียงขับร้องในเรื่อง Nabucco ที่มีชื่อเรียกอีกอย่างว่า Va Pensiero นั้น ได้รับการเสนอให้เป็นเพลงชาติอิตาลีมาอย่างสม่ำเสมอ โดยไม่ได้มีความหมายในเชิงเหยียดเชื้อชาติ) เป็นที่น่าประหลาดใจ เมื่อมีคนพบว่าชื่อของเขา Verdi เป็นตัวอักษรย่อของคำว่า Vittorio Emanuele Re D’Italia (วิคเตอร์ เอ็มมานูเอล กษัตริย์แห่งอิตาลี) ในช่วงเวลาที่ชาวเมืองมิลาน (ซึ่งยังตกอยู่ภายใต้การปกครองของออสเตรีย) ได้เริ่มหันมาสนับสนุนความพยายามรวมชาติอิตาลีของวิคเตอร์ เอ็มมานูเอล กลุ่มแนวร่วมหลบหนีเข้าเมืองได้เริ่มคบคิดที่จะให้กษัตริย์ Sardaigne บุกมิลาน เนื่องจากการกดขี่ของชาวออสเตรียนั้นรุนแรงเกินไป กลุ่มคนเหล่านี้ได้เริ่มการปลุกระดมที่มีชื่อเรียกอย่างเป็นทางการว่า « Viva VERDI » (« V.E.R.D.I. จงเจริญ ») แวร์ดีทราบเรื่องการนำชื่อของเขาไปใช้ ซึ่งโดยหลักแล้วเขาควรจะห้าม แต่เขาก็ไม่ได้ห้าม เรื่องราวอื่น ๆ ที่เกี่ยวพันกับการเมืองของแวร์ดีได้ถูกนำเสนอในบทอุปรากรเรื่อง I Lombardi แวร์ดีเสียชีวิตอย่างกะทันหันในปี พ.ศ. 2444 (ค.ศ. 1901) ที่นครมิลาน หลังจากการก่อสร้างคฤหาสน์ Casa di Riposo เสร็จสิ้น (เขาตั้งใจให้เป็นที่พักชั่วคราวของเหล่าศิลปินตกยาก) พีธีศพของเขาจัดขึ้นอย่างอลังการ ผู้เข้าร่วมราว 250,000 คนได้มาแสดงความคารวะต่อปูชนียบุคคลผู้หนึ่งของวงการดนตรีอิตาลี.

จูเซปเป แวร์ดีและดนตรีคลาสสิก · จูเซปเป แวร์ดีและอุปรากร · ดูเพิ่มเติม »

ดนตรียุคคลาสสิก

ลาสสิก (Classical period) เป็นยุคของดนตรีระหว่าง..1750-1820 ดนตรีมีการเปิดกว้างสู่ประชาชนเป็นดนตรีนอกโบสถ์ (secular music) มากขึ้น ดนตรียุคคลาสสิกมีลักษณะความเป็นจริง มีความสมดุล และชัดเจนในรูปแบบ ในยุคนี้ดนตรีบรรเลงมีความเด่นกว่าเพลงร้อง ดนตรียุคคลาสสิกเป็นดนตรีบริสุทธิ์ (absolute music) คือ ดนตรีที่ไม่มีจินตนาการอยู่เบื้องหลัง ไม่มีบทกวีประกอบ เป็นดนตรีที่มีแต่เสียงดนตรีบริสุทธิ์ ตรงข้ามกับดนตรีในยุคโรแมนติกที่เป็นดนตรีพรรณนา (program music) คือดนตรีที่มีเรื่องราว ยุคนี้มีกรุงเวียนนาของออสเตรียเป็นศูนย์กลางของดนตรี.

ดนตรีคลาสสิกและดนตรียุคคลาสสิก · ดนตรียุคคลาสสิกและอุปรากร · ดูเพิ่มเติม »

ดนตรียุคโรแมนติก

รแมนติก (ค.ศ.1810-1910) เป็นยุคของดนตรีคลาสสิกในช่วงศตวรรษที่19 ซึ่งเน้นอารมณ์ของดนตรีมากกว่าความสมดุลของบทตอน และเน้นความเป็นตัวตนของคีตกวีมากกว่ากฎเกณฑ์ทางดนตรีที่มีมาแต่เดิม คำว่า "โรแมนติก" ถูกประยุกต์ใช้ในวงการดนตรีปี ค.ศ. 1810 ซึ่งเอามาจากวงการวรรณกรรม มีความหมายว่า อารมณ์ที่รุนแรงของมนุษย์ โดยลักษณะดนตรีแบบโรแมนติกนี้เริ่มขึ้นในงานของนักประพันธ์เพลงและนักดนตรีชื่อ ลุดวิจ ฟาน เบโทเฟน (Ludwig van Beethoven) ดนตรียุคโรแมนติกนั้นเริ่มต้นด้วยเพลงขับร้องและเพลงเปียโนสั้นๆ ต่อมาเป็นเพลงสำหรับวงออร์เคสตร.

ดนตรีคลาสสิกและดนตรียุคโรแมนติก · ดนตรียุคโรแมนติกและอุปรากร · ดูเพิ่มเติม »

คายกคณะ

กคณะ หรือ นักร้องหมู่ (choir หรือ chorus) เป็นพวกขับร้อง พบมากในโบสถ์เพื่อขับเพลงทางศาสนา แต่ต่อมาก็เริ่มมีความนิยมและนำมาใช้กันทั่วไป คายกคณะแบ่งระดับเสียงของคายกที่อยู่ในวงตามเสียงสูง-ต่ำของนักร้องแต่ละคน โดยมีชื่อเรียกต่าง ๆ กันไปในแต่ละระดับเสียง เพลงที่ใช้ร้องมีหลายแนวทำนองสอดประสานกันไป.

คายกคณะและดนตรีคลาสสิก · คายกคณะและอุปรากร · ดูเพิ่มเติม »

รายการด้านบนตอบคำถามต่อไปนี้

การเปรียบเทียบระหว่าง ดนตรีคลาสสิกและอุปรากร

ดนตรีคลาสสิก มี 119 ความสัมพันธ์ขณะที่ อุปรากร มี 36 ขณะที่พวกเขามีเหมือนกัน 11, ดัชนี Jaccard คือ 7.10% = 11 / (119 + 36)

การอ้างอิง

บทความนี้แสดงความสัมพันธ์ระหว่าง ดนตรีคลาสสิกและอุปรากร หากต้องการเข้าถึงบทความแต่ละบทความที่ได้รับการรวบรวมข้อมูลโปรดไปที่:

Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »