โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ฟรี
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

ดนตรีคลาสสิกและดนตรียุคโรแมนติก

ทางลัด: ความแตกต่างความคล้ายคลึงกันค่าสัมประสิทธิ์การเปรียบเทียบ Jaccardการอ้างอิง

ความแตกต่างระหว่าง ดนตรีคลาสสิกและดนตรียุคโรแมนติก

ดนตรีคลาสสิก vs. ดนตรียุคโรแมนติก

วงซิมโฟนีออเคสตรา ดนตรีคลาสสิก (Classical music) เป็นรูปแบบหนึ่งของดนตรี ซึ่งมักจะหมายถึงดนตรีที่เป็นศิลปะของตะวันตก การแสดงดนตรีคลาสสิกจะใช้เครื่องดนตรี 4 กลุ่ม กลุ่มแรก คือ เครื่องสาย (String) แบ่งออกเป็น ไวโอลิน วิโอลา เชลโล และดับเบิลเบส กลุ่มที่สอง คือ เครื่องลมไม้ (Woodwind) เช่น ฟลูต คลาริเน็ต โอโบ บาสซูน ปิคโคโล กลุ่มที่สาม คือ เครื่องลมทองเหลือง (Brass) เช่น ทรัมเป็ต ทรอมโบน ทูบา เฟรนช์ฮอร์น กลุ่มที่สี่ คือ เครื่องกระทบ (Percussion) เช่น กลองทิมปานี ฉาบ กลองใหญ่ (Bass Drum) กิ๋ง (Triangle) เมื่อเล่นรวมกันเป็นวงเรียกว่าวงดุริยางค์หรือ ออร์เคสตรา (Orchestra) ซึ่งมีผู้อำนวยเพลง (conductor) เป็นผู้ควบคุมวง. รแมนติก (ค.ศ.1810-1910) เป็นยุคของดนตรีคลาสสิกในช่วงศตวรรษที่19 ซึ่งเน้นอารมณ์ของดนตรีมากกว่าความสมดุลของบทตอน และเน้นความเป็นตัวตนของคีตกวีมากกว่ากฎเกณฑ์ทางดนตรีที่มีมาแต่เดิม คำว่า "โรแมนติก" ถูกประยุกต์ใช้ในวงการดนตรีปี ค.ศ. 1810 ซึ่งเอามาจากวงการวรรณกรรม มีความหมายว่า อารมณ์ที่รุนแรงของมนุษย์ โดยลักษณะดนตรีแบบโรแมนติกนี้เริ่มขึ้นในงานของนักประพันธ์เพลงและนักดนตรีชื่อ ลุดวิจ ฟาน เบโทเฟน (Ludwig van Beethoven) ดนตรียุคโรแมนติกนั้นเริ่มต้นด้วยเพลงขับร้องและเพลงเปียโนสั้นๆ ต่อมาเป็นเพลงสำหรับวงออร์เคสตร.

ความคล้ายคลึงกันระหว่าง ดนตรีคลาสสิกและดนตรียุคโรแมนติก

ดนตรีคลาสสิกและดนตรียุคโรแมนติก มี 26 สิ่งที่เหมือนกัน (ใน ยูเนี่ยนพีเดีย): บัลเลต์ชาร์ล กูโนฟรันซ์ ชูแบร์ทฟรันซ์ ลิซท์กุสตาฟ มาห์เลอร์ริชาร์ด ชเตราส์ริชาร์ด วากเนอร์ลุดวิจ ฟาน เบโทเฟนออร์เคสตราอันโตญีน ดโวชากอุปรากรจูเซปเป แวร์ดีดนตรียุคคลาสสิกดนตรีแชมเบอร์คอนแชร์โตคายกคณะซิมโฟนีปิออตร์ อิลิช ไชคอฟสกีแอ็กตอร์ แบร์ลีโยซโยฮันเนส บราห์มโรแบร์ท ชูมันน์โซนาตาเฟรเดริก ชอแป็งเฟลิกซ์ เมนเดิลส์โซห์นเรควีเอ็มเซียร์เกย์ รัคมานีนอฟ

บัลเลต์

Classical bell tutus in ''The Dance Class'' by Degas, 1874 บัลเลต์ บัลเลต์ (ballet) หมายถึง การแสดงที่ประกอบด้วยการเต้น และ ดนตรีมีลักษณะเช่นเดียวกับอุปรากร เพียงแต่บัลเลต์เป็นการนำเสนอเนื้อเรื่อง โดยใช้การเต้นเป็นสื่อ มีกำเนิดขึ้นในระหว่างศตวรรษที่ 15 ที่ประเทศฝรั่งเศส ต่อมาในศตวรรษที่ 19 ได้แพร่หลายเข้าไปในประเทศอิตาลี การพัฒนาในยุคนี้คือ นิยมให้ผู้หญิงเป็นผู้แสดงเอก เรียกว่า บัลเลรินา (Ballerina) ศตวรรษที่ 20 บัลเลต์ได้รับการพัฒนาให้มีรูปแบบใหม่ที่เรียกว่า โมเดิร์นแดนซ์ (Modern Dance) คือ การนำเอาหลักของบัลเลต์มาผสมผสานดัดแปลงให้เป็นการเต้น โดยไม่ต้องใส่รองเท้าบัลเลต์และไม่ต้องใช้ปลายเท้าในลักษณะของบัลเลต์ ผู้มีบทบาทสำคัญในการประพันธ์เพลงบัลเลต์ ได้แก่ ไชคอฟสกี โปรโกเฟียฟ คอปแลนด์ และฟัล.

ดนตรีคลาสสิกและบัลเลต์ · ดนตรียุคโรแมนติกและบัลเลต์ · ดูเพิ่มเติม »

ชาร์ล กูโน

ร์ล-ฟรองซัว กูโน ชาร์ล-ฟร็องซัว กูโน (Charles-François Gounod; 18 มิถุนายน พ.ศ. 2361–18 ตุลาคม พ.ศ. 2436) เป็นคีตกวีชาวฝรั่ง.

ชาร์ล กูโนและดนตรีคลาสสิก · ชาร์ล กูโนและดนตรียุคโรแมนติก · ดูเพิ่มเติม »

ฟรันซ์ ชูแบร์ท

ฟรันซ์ ชูแบร์ท ฟรันซ์ เพเทอร์ ชูแบร์ท (Franz Peter Schubert) (31 มกราคม พ.ศ. 2340 — 19 พฤศจิกายน พ.ศ. 2371) คีตกวีชาวออสเตรี.

ดนตรีคลาสสิกและฟรันซ์ ชูแบร์ท · ดนตรียุคโรแมนติกและฟรันซ์ ชูแบร์ท · ดูเพิ่มเติม »

ฟรันซ์ ลิซท์

ฟรันซ์ ลิซท์ (Franz Liszt) หรือ แฟแร็นตส์ ลิสต์ (Liszt Ferenc) เป็นคีตกวีและนักเปียโนชาวฮังกาเรียน เกิดที่เมืองไรดิง เมื่อวันที่ 22 ตุลาคม..

ดนตรีคลาสสิกและฟรันซ์ ลิซท์ · ดนตรียุคโรแมนติกและฟรันซ์ ลิซท์ · ดูเพิ่มเติม »

กุสตาฟ มาห์เลอร์

กุสตาฟ มาห์เลอร์ ในวัยเด็ก กุสตาฟ มาห์เลอร์ (เกิด 7 กรกฎาคม ค.ศ. 1860 - เสียชีวิต 18 พฤษภาคม ค.ศ. 1911) เป็นคีตกวีและวาทยกรชาวโบฮีเมียน-ออสเตรียน มาห์เลอร์เป็นที่รู้จักในยุคของเขา ในฐานะวาทยากรชื่อดังแห่งยุค แต่ในปัจจุบัน เขากลับเป็นที่ยอมรับในฐานะคีตกวีแห่งยุคนีโอโรแมนติก โดยเฉพาะอย่างยิ่งจากซิมโฟนี และบทเพลงในลักษณะซิมโฟนี เช่น เพลง Das Lied von der Erde (บทเพลงแห่งโลก) ที่เป็นจุดสุดยอดของบทเพลงขับร้องที่เขาประพันธ์ ส่วนซิมโฟนีหมายเลข 3 ความยาว 95 นาที นับเป็นซิมโฟนีที่ยาวที่สุดที่เคยมีการเปิดแสดง และยังชื่อได้ว่าเป็นซิมโฟนีที่ยาวที่สุดในบรรดาซิมโฟนีทั้งหลายอีกด้ว.

กุสตาฟ มาห์เลอร์และดนตรีคลาสสิก · กุสตาฟ มาห์เลอร์และดนตรียุคโรแมนติก · ดูเพิ่มเติม »

ริชาร์ด ชเตราส์

ริชาร์ด เกออร์ก ชเตราส์ (Richard Georg Strauss; 11 มิถุนายน ค.ศ. 1864 – 8 กันยายน ค.ศ. 1949) เป็นนักแต่งเพลงชาวเยอรมัน ช่วงปลายของดนตรียุคโรแมนติก และต้น ยุคใหม่ เป็นที่รู้จักจากผลงานอุปรากร อย่าง Der Rosenkavalier, Elektra, Die Frau ohne Schatten และ Salome; ผลงานเพลงFour Last Songs; เพลงศรีปราชญ์ (Tone Poem) อย่าง Don Juan, Death and Transfiguration, Till Eulenspiegel's Merry Pranks, Also sprach Zarathustra, Ein Heldenleben, Symphonia Domestica และ An Alpine Symphony ชเตราส์ยังเป็นวาทยกรที่มีชื่อเสียงในยุโรปตะวันตกและอเมริกา หมวดหมู่:วาทยกร หมวดหมู่:คีตกวีชาวเยอรมัน หมวดหมู่:บุคคลจากมิวนิก หมวดหมู่:ผู้ได้รับเครื่องอิสริยาภรณ์เลฌียงดอเนอร์.

ดนตรีคลาสสิกและริชาร์ด ชเตราส์ · ดนตรียุคโรแมนติกและริชาร์ด ชเตราส์ · ดูเพิ่มเติม »

ริชาร์ด วากเนอร์

ริชาร์ด วากเนอร์ (Richard Wagner; เกิดเมื่อวันที่ 22 พฤษภาคม ค.ศ. 1813 เสียชีวิตเมื่อวันที่ 13 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1883) เป็นหนึ่งในคีตกวีเอกชาวเยอรมัน ในสมัยคริสต์ศตวรรษที่ 19 และยังเป็นนักทฤษฎีดนตรีที่เก่งกาจ ส่วนใหญ่แล้วผลงานของวากเนอร์เป็นที่รู้จักจากอุปรากรที่เขาแต่ง ซึ่งมักจะเป็นเรื่องราวโศกนาฏกรรมประกอบดนตรี อิทธิพลของวากเนอร์ในดนตรีตะวันตกนั้นมากมายมหาศาล โดยเฉพาะอย่างยิ่งในอุปรากรที่เขาปฏิวัติรูปแบบโดยสิ้นเชิง Richard Wagner.

ดนตรีคลาสสิกและริชาร์ด วากเนอร์ · ดนตรียุคโรแมนติกและริชาร์ด วากเนอร์ · ดูเพิ่มเติม »

ลุดวิจ ฟาน เบโทเฟน

ลุดวิจ ฟาน เบโทเฟน ใน ค.ศ. 1820 ลุดวิจ ฟาน เบโทเฟน (Ludwig van Beethoven,; 16 ธันวาคม ค.ศ. 1770 - 26 มีนาคม ค.ศ. 1827) เป็นคีตกวีและนักเปียโนชาวเยอรมัน เกิดที่เมืองบอนน์ ประเทศเยอรมนี เบโทเฟนเป็นตัวอย่างของศิลปินยุคจินตนิยมผู้โดดเดี่ยว และไม่เป็นที่เข้าใจของบุคคลในยุคเดียวกันกับเขา ในวันนี้เขาได้กลายเป็นคีตกวีที่มีคนชื่นชมยกย่องและฟังเพลงของเขากันอย่างกว้างขวางมากที่สุดคนหนึ่ง ตลอดชีวิตของเขามีอุปสรรคนานัปการที่ต้องฝ่าฟัน ทำให้เกิดความเครียดสะสมในใจเขา ในรูปภาพต่าง ๆ ที่เป็นรูปเบโทเฟน สีหน้าของเขาหลายภาพแสดงออกถึงความเครียด แต่ด้วยจิตใจที่แข็งแกร่งของเขา ก็สามารถเอาชนะอุปสรรคต่าง ๆ ในชีวิตของเขาได้ ตำนานที่คงอยู่นิรันดร์เนื่องจากได้รับการยกย่องจากคีตกวีโรแมนติกทั้งหลาย เบโทเฟนได้กลายเป็นแบบอย่างของพวกเขาเหล่านั้นด้วยความเป็นอัจฉริยะที่ไม่มีใครเทียมทาน ซิมโฟนีของเขา (โดยเฉพาะอย่างยิ่งซิมโฟนีหมายเลข 5 ซิมโฟนีหมายเลข 6 ซิมโฟนีหมายเลข 7 และ ซิมโฟนีหมายเลข 9) และคอนแชร์โตสำหรับเปียโนที่เขาประพันธ์ขึ้น (โดยเฉพาะอย่างยิ่งคอนแชร์โตหมายเลข 4 และ หมายเลข 5) เป็นผลงานที่ได้รับความนิยมมากที่สุด แต่ก็มิได้รวมเอาความเป็นอัจฉริยะทั้งหมดของคีตกวีไว้ในนั้น.

ดนตรีคลาสสิกและลุดวิจ ฟาน เบโทเฟน · ดนตรียุคโรแมนติกและลุดวิจ ฟาน เบโทเฟน · ดูเพิ่มเติม »

ออร์เคสตรา

วง '''เมลเบิร์น ซิมโฟนี ออร์เคสตรา''' ออร์เคสตรา (orchestra) หรือ วงดุริยางค์ ในภาษาไทย เป็นคำศัพท์เกี่ยวกับดนตรี มีประวัติมาช้านาน และมีการเปลี่ยนแปลงรูปแบบไปตามยุคสมัย เพื่อสนองความต้องการของผู้ประพันธ์ในการถ่ายทอดความรู้สึกของดนตรีในแต่ละยุค วงออร์เคสตราเป็นวงดนตรีที่มีวิวัฒนาการเริ่มขึ้นราว..1600 ลักษณะที่สำคัญของวงออร์เคสตราคือ เป็นกลุ่มของนักดนตรี ที่เล่นเครื่องดนตรีหลักทั้ง 4 ประเภท ได้แก่ เครื่องดนตรีประเภทเครื่องสาย เครื่องเป่าลมไม้ เครื่องลมทองเหลือง และเครื่องกระทบ โดยบรรเลงภายใต้การควบคุมของผู้อำนวยเพลง.

ดนตรีคลาสสิกและออร์เคสตรา · ดนตรียุคโรแมนติกและออร์เคสตรา · ดูเพิ่มเติม »

อันโตญีน ดโวชาก

อันโตญีน ดโวชาก อันโตญีน ดโวชาก (Antonín Dvořák) เป็นคีตกวีชาวเช็ก เกิดเมื่อวันที่ 8 กันยายน พ.ศ. 2384 (ค.ศ. 1841) ที่เมืองมุลโฮเซน (ในภาษาเช็กคือเมืองเนลาโฮเซเวส) ห่างจากกรุงปรากออกไปทางตอนเหนือราว 20 กิโลเมตร ในแคว้นโบฮีเมีย (สาธารณรัฐเช็ก) และเสียชีวิตเมื่อวันที่ 1 พฤษภาคม พ.ศ. 2447 (ค.ศ. 1904) ที่กรุงปราก.

ดนตรีคลาสสิกและอันโตญีน ดโวชาก · ดนตรียุคโรแมนติกและอันโตญีน ดโวชาก · ดูเพิ่มเติม »

อุปรากร

รงอุปรากรซิดนีย์ในประเทศออสเตรเลีย เป็นโรงอุปรากรที่มีชื่อเสียงที่สุดแห่งหนึ่งของโลก อุปรากร (opera) เป็นศิลปะการแสดงบนเวทีชนิดหนึ่ง โดยมีลักษณะเป็นแบบละครที่ดำเนินเรื่องโดยใช้ดนตรีเป็นหลักหรือทั้งหมด อุปรากรถือเป็นส่วนหนึ่งของดนตรีคลาสสิก ตะวันตก มีความใกล้เคียงกับละครเวทีในเรื่องฉาก การแสดง และเครื่องแต่งกาย แต่สิ่งสำคัญที่แยกอุปรากรออกจากละครเวทีทั่วไป คือ ความสำคัญของเพลง ดนตรีที่ประกอบการร้อง ซึ่งอาจมีตั้งแต่วงดนตรีขนาดเล็กจนไปถึงวงออร์เคสตราขนาดใหญ.

ดนตรีคลาสสิกและอุปรากร · ดนตรียุคโรแมนติกและอุปรากร · ดูเพิ่มเติม »

จูเซปเป แวร์ดี

Verdi จูเซปเป ฟอร์ตูนีโน ฟรันเชสโก แวร์ดี (Giuseppe Verdi) เป็นคีตกวีชาวอิตาลี เกิดเมื่อวันที่10 ตุลาคม พ.ศ. 2356 (ค.ศ. 1813) เสียชีวิตเมื่อวันที่ 27 มกราคม พ.ศ. 2444 (ค.ศ. 1901) โด่งดังจากอุปรากรเรื่อง ลา ทราเวียตตา ไอด้า โอเทลโล ผลงานของเขาได้รับความนิยมอย่างสูงเมื่อเขายังมีชีวิตอยู่ และต่อเนื่องจวบจนปัจจุบัน แวร์ดีเกิดที่หมู่บ้าน Le Roncole ในอำเภอตาโร ซึ่งขณะนั้นอยู่ภายใต้การปกครองของจักรพรรดินโปเลียน โบนาปาร์ต ในปี พ.ศ. 2367 (ค.ศ. 1824) เขาได้ย้ายถิ่นฐานไปอยู่ที่เมืองบุสเชโต ที่ซึ่งเขาได้เรียนดนตรีกับเฟอร์ดินานโด โปรแวร์สิ เขาได้ประพันธ์ซิมโฟนี ขึ้นมาบทหนึ่งจากเพลงโหมโรงของอุปรากรเรื่อง กัลบกแห่งเมืองเซวิลล์ (Il barbiere di Siviglia) ของ จิโออัคคิโน รอสสินี จากนั้นก็ได้ย้ายไปอยู่ที่นครมิลาน เพื่อสมัครเข้าเรียนที่วิทยาลัยดนตรีแต่ก็ถูกปฏิเสธ เขาจึงเรียนแบบส่วนตัวกับวินเซนโซ ลาวินยา ผลงานประพันธ์อุปรากรเรื่องแรกของเขาคือ Oberto, conte di San Bonifacio (เปิดการแสดงครั้งแรกที่กรุงมิลาน เมื่อวันที่ 17 พฤศจิกายน พ.ศ. 2382) ตามด้วยเรื่อง Un giorno di regno (ซึ่งเป็นความพยายามประพันธ์อุปรากรชวนหัวเพียงครั้งเดียว ซึ่งมีเพียง Falstaff อีกเรื่องในช่วงบั้นปลายชีวิตของเขา) แต่เขาประสบความสำเร็จครั้งแรกเมื่อปี พ.ศ. 2385 (ค.ศ. 1842) จากเรื่อง Nabucco ที่ได้เปิดแสดงที่โรงละครลา สกาล่า ในนครมิลาน โดยมีนักแสดงนำได้แก่จูเซปปินา สเตร็ปโปนี ร้องเสียงโซปราโน ในบทของอาบิไก นักร้องสาวได้กลายเป็นภรรยาน้อยของแวร์ดี เขาได้แต่งงานกับหล่อนในอีกหลายปีให้หลัง ภายหลังการเสียชีวิตของภรรยาของเขา หลังจากที่อุปรากรเรื่อง I Lombardi alla prima crociata (เปิดแสดงครั้งแรกที่นครมิลาน เมื่อวันที่ 11 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2386) ที่มีเนื้อหาบางส่วนเกี่ยวข้องกับสถานการณ์การเมือง เรื่องErnani ก็ประสบความสำเร็จในการเปิดแสดงที่โรงละครลา เฟนิกซ์ ในนครเวนีซเช่นกัน ในปีต่อมา อุปรากรเรื่อง Giovanna d'Arco และ La Forza del Destino ก็ตอกย้ำความโด่งดังของแวร์ดี แต่เขาเห็นว่าการแสดงงานของเขาที่โรงละครลา สกาล่านั้นยังไม่เข้าขั้น เป็นเหตุให้เขาปฏิเสธการเปิดแสดงอุปรากรเรื่องต่อ ๆ มาในมิลาน อันได้แก่เรื่อง Atilla, Alzira และ แมคเบ็ท ในได้ถูกนำออกแสดงในเมืองต่าง ๆ ทั่ว ประเทศอิตาลี ส่วนเรื่อง I Masnadieri นั้นได้ถูกประพันธ์ขึ้นที่กรุงลอนดอน ในขณะที่นครมิลาน พ่ายแพ้และถูกจักรวรรดิออสเตรียเข้ายึดครอง แวร์ดีได้ประพันธ์อุปรากรเรื่อง Il Corsaro, La Battaglia di Legnano และ Luisa Miller รวมทั้งเรื่อง Manon Lescaut ที่แต่งไม่จบ หลังจากข่าวอื้อฉาวเกี่ยวกับบทประพันธ์เรื่อง Stiffelio ในปี พ.ศ. 2394 (ค.ศ. 1851) เรื่อง Rigoletto ก็ประสบความสำเร็จอย่างท่วมท้นในการเปิดแสดงที่โรงละครลา เฟนิกซ์ ในนครเวนีซ ในปี พ.ศ. 2396 (ค.ศ. 1853) เขาประสบความสำเร็จครั้งสำคัญอีกครั้งจากเรื่องIl Trovatore ที่โรงละครอพอลโลในกรุงโรม แต่การเปิดการแสดงภาคภาษาฝรั่งเศสในนครเวนีซไม่ประสบความสำเร็จเท่าใดนัก อุปรากรเรื่องอื่น ๆ ที่ประพันธ์ขึ้นในช่วงนี้ ได้แก่ งูพิษแห่งเกาะซิซิลี (เปิดแสดงที่กรุงปารีส) Aroldo (งานที่สร้างขึ้นมาจากเรื่อง Stiffelioเดิม) และเรื่อง Simon Boccanegra กับ Un ballo in maschera (ที่ถูกห้ามนำออกแสดง) แวร์ดีได้เข้ามามีส่วนร่วมอย่างมากในการรวมชาติของประเทศอิตาลี (เขาได้ประพันธ์บทเพลง Inno delle Nazioni ซึ่งได้รวมเอาเพลงชาติต่าง ๆ ในยุโรปไว้ด้วยกัน เช่น เพลง Fratelli d'Italia Marseillaise และ God Save the King ในปี พ.ศ. 2405 (ค.ศ. 1862) และได้รับเลือกตั้งให้ดำรงตำแหน่งวุฒิสมาชิก จากนั้นก็ได้นำผลงานเก่ามาแก้ไขเล็กน้อย จนกระทั่งถึงปี พ.ศ. 2409 (ค.ศ. 1866) เมื่อDon Carlos ได้ถูกนำออกแสดงครั้งแรกที่กรุงปารีส ในปี พ.ศ. 2415 (ค.ศ. 1872) เมื่อเขานำเรื่องไอด้า ออกแสดงที่โรงละครลา สกาล่าก็ประสบความสำเร็จอย่างท่วมท้น เขาได้ประพันธ์ให้แก่ผู้สำเร็จราชการแห่งอียิปต์กับเนื่องในโอกาสพิธีเปิดโรงละครแห่งใหม่ในกรุงไคโร และสำหรับการเปิดคลองสุเอซ ผลงานของแวร์ดีมีความเป็นชาตินิยมของชาวอิตาลีอยู่ในตัว (เป็นต้นว่าเพลงชาวยิวสำหรับกลุ่มนักร้องประสานเสียงขับร้องในเรื่อง Nabucco ที่มีชื่อเรียกอีกอย่างว่า Va Pensiero นั้น ได้รับการเสนอให้เป็นเพลงชาติอิตาลีมาอย่างสม่ำเสมอ โดยไม่ได้มีความหมายในเชิงเหยียดเชื้อชาติ) เป็นที่น่าประหลาดใจ เมื่อมีคนพบว่าชื่อของเขา Verdi เป็นตัวอักษรย่อของคำว่า Vittorio Emanuele Re D’Italia (วิคเตอร์ เอ็มมานูเอล กษัตริย์แห่งอิตาลี) ในช่วงเวลาที่ชาวเมืองมิลาน (ซึ่งยังตกอยู่ภายใต้การปกครองของออสเตรีย) ได้เริ่มหันมาสนับสนุนความพยายามรวมชาติอิตาลีของวิคเตอร์ เอ็มมานูเอล กลุ่มแนวร่วมหลบหนีเข้าเมืองได้เริ่มคบคิดที่จะให้กษัตริย์ Sardaigne บุกมิลาน เนื่องจากการกดขี่ของชาวออสเตรียนั้นรุนแรงเกินไป กลุ่มคนเหล่านี้ได้เริ่มการปลุกระดมที่มีชื่อเรียกอย่างเป็นทางการว่า « Viva VERDI » (« V.E.R.D.I. จงเจริญ ») แวร์ดีทราบเรื่องการนำชื่อของเขาไปใช้ ซึ่งโดยหลักแล้วเขาควรจะห้าม แต่เขาก็ไม่ได้ห้าม เรื่องราวอื่น ๆ ที่เกี่ยวพันกับการเมืองของแวร์ดีได้ถูกนำเสนอในบทอุปรากรเรื่อง I Lombardi แวร์ดีเสียชีวิตอย่างกะทันหันในปี พ.ศ. 2444 (ค.ศ. 1901) ที่นครมิลาน หลังจากการก่อสร้างคฤหาสน์ Casa di Riposo เสร็จสิ้น (เขาตั้งใจให้เป็นที่พักชั่วคราวของเหล่าศิลปินตกยาก) พีธีศพของเขาจัดขึ้นอย่างอลังการ ผู้เข้าร่วมราว 250,000 คนได้มาแสดงความคารวะต่อปูชนียบุคคลผู้หนึ่งของวงการดนตรีอิตาลี.

จูเซปเป แวร์ดีและดนตรีคลาสสิก · จูเซปเป แวร์ดีและดนตรียุคโรแมนติก · ดูเพิ่มเติม »

ดนตรียุคคลาสสิก

ลาสสิก (Classical period) เป็นยุคของดนตรีระหว่าง..1750-1820 ดนตรีมีการเปิดกว้างสู่ประชาชนเป็นดนตรีนอกโบสถ์ (secular music) มากขึ้น ดนตรียุคคลาสสิกมีลักษณะความเป็นจริง มีความสมดุล และชัดเจนในรูปแบบ ในยุคนี้ดนตรีบรรเลงมีความเด่นกว่าเพลงร้อง ดนตรียุคคลาสสิกเป็นดนตรีบริสุทธิ์ (absolute music) คือ ดนตรีที่ไม่มีจินตนาการอยู่เบื้องหลัง ไม่มีบทกวีประกอบ เป็นดนตรีที่มีแต่เสียงดนตรีบริสุทธิ์ ตรงข้ามกับดนตรีในยุคโรแมนติกที่เป็นดนตรีพรรณนา (program music) คือดนตรีที่มีเรื่องราว ยุคนี้มีกรุงเวียนนาของออสเตรียเป็นศูนย์กลางของดนตรี.

ดนตรีคลาสสิกและดนตรียุคคลาสสิก · ดนตรียุคคลาสสิกและดนตรียุคโรแมนติก · ดูเพิ่มเติม »

ดนตรีแชมเบอร์

นตรีแชมเบอร์ (Chamber Music) หมายถึง ดนตรีจากวงดนตรีขนาดเล็กที่เหมาะสำหรับบรรเลงในห้อง เป็นดนตรีที่มีผู้บรรเลงน้อยคน ตั้งแต่ 2-3 คน หรืออย่างมาก 5-9 คน เพลงที่ใช้สำหรับวงดนตรีเชมเบอร์มักจะเป็นเพลงบรรเลง (Instrumental Music).

ดนตรีคลาสสิกและดนตรีแชมเบอร์ · ดนตรียุคโรแมนติกและดนตรีแชมเบอร์ · ดูเพิ่มเติม »

คอนแชร์โต

อนแชร์โต (concerto) คือ เป็นการประพันธ์เพลงรูปแบบหนึ่ง ส่วนมากมีสามท่อน (three-parts) ในอัตราจังหวะเร็ว-ช้า-เร็ว ส่วนที่สำคัญที่สุด คือ ต้องมีการเล่นประชันกัน โดยอาจจะเป็นการเดี่ยวเครื่องดนตรีประชันกับวงดนตรี หรือกลุ่มเครื่องดนตรีประชันกับวงดนตรีก็ได้.

คอนแชร์โตและดนตรีคลาสสิก · คอนแชร์โตและดนตรียุคโรแมนติก · ดูเพิ่มเติม »

คายกคณะ

กคณะ หรือ นักร้องหมู่ (choir หรือ chorus) เป็นพวกขับร้อง พบมากในโบสถ์เพื่อขับเพลงทางศาสนา แต่ต่อมาก็เริ่มมีความนิยมและนำมาใช้กันทั่วไป คายกคณะแบ่งระดับเสียงของคายกที่อยู่ในวงตามเสียงสูง-ต่ำของนักร้องแต่ละคน โดยมีชื่อเรียกต่าง ๆ กันไปในแต่ละระดับเสียง เพลงที่ใช้ร้องมีหลายแนวทำนองสอดประสานกันไป.

คายกคณะและดนตรีคลาสสิก · คายกคณะและดนตรียุคโรแมนติก · ดูเพิ่มเติม »

ซิมโฟนี

ซิมโฟนี (Symphony) เป็นดนตรีประเภทหนึ่ง เป็นดนตรีประกอบเพิ่มเติมในดนตรีคลาสสิกตะวันตก ซึ่งต้องบรรเลงเกือบตลอดเวลาสำหรับวงดนตรี ซิมโฟนีมักจะมีเครื่องดนตรีอย่างน้อยหนึ่งชนิดมาประกอบด้วยตามหลักการโซนาตา วงดนตรีที่บรรเลงดนตรีแบบซิมโฟนีนั้นเรียกว่า วงซิมโฟนี ออร์เคสตรา ซึ่งในวงจะประกอบไปด้วยเครื่องดนตรีครบทั้งสี่ชนิด ตัวอย่างเพลงซิมโฟนี หมวดหมู่:ดนตรีคลาสสิก.

ซิมโฟนีและดนตรีคลาสสิก · ซิมโฟนีและดนตรียุคโรแมนติก · ดูเพิ่มเติม »

ปิออตร์ อิลิช ไชคอฟสกี

ปิออตร์ อิลิช ไชคอฟสกี (Пётр Ильи́ч Чайко́вский; Pyotr Ilyich Tchaikovsky) หรือเป็นที่รู้จักในชื่อ ปีเตอร์ อิลิช ไชคอฟสกี เป็นคีตกวีชาวรัสเซีย เกิดเมื่อวันที่ 7 พฤษภาคม พ.ศ. 2383 (ค.ศ. 1840) ที่เมืองโวทคินสค์ เสียชีวิตเมื่อวันที่ 6 พฤศจิกายน พ.ศ. 2436 (ค.ศ. 1893) ที่ เซนต์ปีเตอร์สเบิร์ก ไชคอฟสกีเกิดในครอบครัวผู้มีอันจะกิน ชีวิตของเขาเต็มไปด้วยความขัดแย้งระหว่างความหรูหราและการอดมื้อกินมื้อ ข่าวอื้อฉาว และความต้องการเป็นที่ยอมรับ เขาได้รับการศึกษาจากวิทยาลัยดนตรีแห่งนครเซนต์ปีเตอร์สเบิร์ก ภายใต้การดูแลของอันทอน รูบินสไตน์ จากนั้นถูกเรียกให้ไปเป็นครูสอนวิชาเรียบเรียงเสียงประสานให้แก่น้องชายของรูบินสไตน์ที่กรุงมอสโก ที่มอสโกนี่เองที่เขาได้ประพันธ์ผลงานสำคัญหลายชิ้น เป็นต้นว่าซิมโฟนีหมายเลขหนึ่ง ชื่อ ความฝันในเหมันตฤดู เขาสมรสในปี พ.ศ. 2420 (ค.ศ. 1877) ด้วยความมุ่งมั่นที่จะรักษาความขัดแย้งภายในตนว่าเขาเป็นพวกรักร่วมเพศ แต่ความล้มเหลวของชีวิตแต่งงาน ที่เป็นที่โจษจันว่าอยู่กันอย่างไร้ความรักกับเจ้าสาวที่เป็นศิษย์ของเขาเอง ทำให้เขาเกือบฆ่าตัวตายสำเร็จ อารมณ์ของเขามั่นคงขึ้นในปี พ.ศ. 2423 (ค.ศ. 1880) เมื่อเขาได้ออกเดินทางไปทั่วทวีปยุโรป ประเทศอิตาลีได้สร้างแรงบันดาลใจให้เขาประพันธ์ผลงานหลายชิ้น รวมทั้งบทเพลงชื่อ คราพริชิโอ อิตาเลียน (capriccio italien) เขาประสบความสำเร็จหลายครั้งและได้พบปะกับคีตกวีเลื่องชื่อร่วมสมัย เป็นต้นว่า โยฮันเนส บราห์ม แอนโทนิน ดโวชาค ฯลฯ เขาเดินทางไปถึงสหรัฐอเมริกาเพื่อเปิดการแสดง ไชคอฟสกีเสียชีวิตในปีพ.ศ. 2436 (ค.ศ. 1893) ด้วยอหิวาตกโรคแต่บางกระแสกล่าวว่าเขาถูกบังคับให้ดื่มยาพิษฆ่าตัวตาย จากข้อหารักร่วมเพศ เพลงของเขาเป็นสะพานเชื่อมระหว่างดนตรีตะวันตกกับดนตรีรัสเซีย ด้วยการนำเสนอแบบร่วมสมัย ซึ่งรวมถึงคีตกวีโมเดสต์ มูสซอร์กสกี และ กลุ่มคีตกวีทั้งห้า ซึ่งเขาได้สร้างมิตรภาพกับพวกเขาเหล่านั้นไว้ด้ว.

ดนตรีคลาสสิกและปิออตร์ อิลิช ไชคอฟสกี · ดนตรียุคโรแมนติกและปิออตร์ อิลิช ไชคอฟสกี · ดูเพิ่มเติม »

แอ็กตอร์ แบร์ลีโยซ

แอ็กตอร์ แบร์ลีโยซ แอ็กตอร์ แบร์ลีโยซ (Hector Berlioz) เป็นคีตกวี นักเขียน และนักวิจารณ์ชาวฝรั่งเศส เกิดเมื่อวันที่ 11 ธันวาคม พ.ศ. 2346 (ค.ศ. 1803) ที่เมืองลาโกตแซ็งต็องเดร จังหวัดอีแซร์ เสียชีวิตเมื่อวันที่ 8 มีนาคม พ.ศ. 2411 (ค.ศ. 1869) ที่กรุงปารีส เขาเป็นหนึ่งในคีตกวีคนสำคัญในยุคโรแมนติกของทวีปยุโรป.

ดนตรีคลาสสิกและแอ็กตอร์ แบร์ลีโยซ · ดนตรียุคโรแมนติกและแอ็กตอร์ แบร์ลีโยซ · ดูเพิ่มเติม »

โยฮันเนส บราห์ม

ันเนส บรามส์ (Johannes Brahms 7 พฤษภาคม พ.ศ. 2376 - 3 เมษายน พ.ศ. 2440 พ.ศ. 2440) เป็นคีตกวีและวาทยกรชาวเยอรมัน หลายคนยกย่องเขาในฐานะทายาททางดนตรีของลุดวิจ ฟาน เบโทเฟน ซิมโฟนีบทแรกของเขาได้รับการยกย่องจาก ฮันส์ ฟอน บือโลว์ ว่าเป็นซิมโฟนีบทที่ 10 ของเบโทเฟน โยฮันเนส บราห์ม.

ดนตรีคลาสสิกและโยฮันเนส บราห์ม · ดนตรียุคโรแมนติกและโยฮันเนส บราห์ม · ดูเพิ่มเติม »

โรแบร์ท ชูมันน์

รแบร์ท ชูมันน์ โรแบร์ท อาเล็กซันเดอร์ ชูมันน์ (Robert Alexander Schumann) เป็นคีตกวีและนักวิจารณ์ดนตรีชาวเยอรมัน เกิดวันที่ 8 มิถุนายน พ.ศ. 2353 ที่เมืองซวิคเคา เสียชีวิต 29 กรกฎาคม พ.ศ. 2399 ที่เมืองเอนเดนิช (Endenich) ซึ่งปัจจุบันนี้กลายเป็นส่วนหนึ่งของเมืองบอนน์ ประเทศเยอรมนี.

ดนตรีคลาสสิกและโรแบร์ท ชูมันน์ · ดนตรียุคโรแมนติกและโรแบร์ท ชูมันน์ · ดูเพิ่มเติม »

โซนาตา

ซนาตา (Sonata; Sonare) เป็นประเภทของบทเพลงที่ใช้สำหรับเดี่ยวเครื่องดนตรี เช่น Piano sonata ก็คือบทเพลงที่ใช้สำหรับเดี่ยวเปียโน หรือ Violin Sonata ก็เป็นบทเพลงที่ใช้สำหรับเดี่ยวไวโอลิน อนึ่ง เพลงเดี่ยวสำหรับเครื่องดนตรีที่ไม่ใช่เปียโนมักจะมีเครื่องดนตรีบรรเลงประกอบ (Accompaniment) ซึ่งมักจะเป็นเปียโน โซนาตา เป็นภาษาอิตาลีและมาจากคำละตินว่า "โซนาเร" (Sonare) ที่หมายความว่าเสียง (Sound) ในความหมายว่าบรรเลง เพลงประเภทโซนาตามักประกอบด้วย 3 หรือ 4 ท่อน ท่อนแรกมักอยู่ในอัตราเร็ว ท่อนที่ 2 อยู่ในอัตราช้า ท่อนที่ 3 มักอยู่ในบรรยากาศที่ร่าเริง.

ดนตรีคลาสสิกและโซนาตา · ดนตรียุคโรแมนติกและโซนาตา · ดูเพิ่มเติม »

เฟรเดริก ชอแป็ง

ฟรเดริก ชอแป็ง เฟรเดริก ฟร็องซัว ชอแป็ง (Frédéric François Chopin) หรือ ฟรือแดรึก ฟรันต์ซีเชก ชอแป็ง (Fryderyk Franciszek Chopin บางครั้งสะกดว่า Szopen) เป็นคีตกวีชาวโปแลนด์ เกิดเมื่อวันที่ 1 มีนาคม พ.ศ. 2353 (ค.ศ. 1810) เสียชีวิตเมื่อวันที่ 17 ตุลาคม พ.ศ. 2392 (ค.ศ. 1849) จากวัณโรคที่ส่งผลต่อระบบทางเดินหายใจ ชื่อที่บิดามารดาของเขาตั้งให้คือ "Fryderyk Franciszek Chopin" ต่อมาได้หันมาใช้ชื่อเป็นภาษาฝรั่งเศสเมื่อเขาได้ตัดสินใจจากประเทศบ้านเกิดเป็นการถาวรเพื่อมุ่งหน้าสู่กรุงปารีส ประเทศฝรั่ง.

ดนตรีคลาสสิกและเฟรเดริก ชอแป็ง · ดนตรียุคโรแมนติกและเฟรเดริก ชอแป็ง · ดูเพิ่มเติม »

เฟลิกซ์ เมนเดิลส์โซห์น

ยาค็อบ ลุดวิก เฟลิกซ์ เมนเดลโซห์น-บาร์โธลดี (Jakob Ludwig Felix Mendelssohn-Bartholdy) เป็นที่รู้จักกันในชื่อ เฟลิกซ์ เมนเดลโซห์น (3 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1809 - 4 พฤศจิกายน ค.ศ. 1847) เป็นนักเปียโน คีตกวี และผู้อำนวยเพลงชาวเยอรมัน อยู่ในยุคโรแมนติกตอนต้น มีผลงานประพันธ์ทั้งซิมโฟนี คอนแชร์โต ออราทอริโอ และ1847 หมวดหมู่:คีตกวีชาวเยอรมัน หมวดหมู่:นักดนตรีคลาสสิก หมวดหมู่:วาทยกร หมวดหมู่:นักเปียโน หมวดหมู่:คีตกวีและนักแต่งเพลงชาวยิว หมวดหมู่:คีตกวีอุปรากร หมวดหมู่:บุคคลจากฮัมบูร์ก หมวดหมู่:ชาวเยอรมันเชื้อสายยิว โครงดนตรี.

ดนตรีคลาสสิกและเฟลิกซ์ เมนเดิลส์โซห์น · ดนตรียุคโรแมนติกและเฟลิกซ์ เมนเดิลส์โซห์น · ดูเพิ่มเติม »

เรควีเอ็ม

รควีเอ็ม (requiem) เป็นบทเพลงศาสนาคริสต์ที่ใช้ในพิธีศพ แต่ส่วนใหญ่ปัจจุบันจะใช้แสดงเพื่อการฟังในคอนเสิร์ตมากกว่าพิธีศพจริง ๆ ซึ่งจะประพันธ์โดยให้วงดุริยางค์ กับนักร้องเดี่ยว และวงขับร้องประสานเสียง เนื้อร้องที่ใช้นำมาจากพระคัมภีร์ บทที่มีความสำคัญ ได้แก่ เรควีเอ็มของโมซาร์ท, บราห์มส์, ฟอเร่, แวร์ดี, และแบร์ลิออส โมซาร์ทได้แต่งบทเพลงนี้เป็นบทสุดท้ายในชีวิตของเขา ว่ากันว่ามีชายลึกลับคนหนึ่งจ้างให้แต่งขึ้นแต่มารู้ภายหลังอีกทีคือ เคานต์วัลเซกก์ ซึ่งเป็นขุนนางในสำนักพระราชวัง แต่ก็นับเป็นผลงานที่มีความโดดเด่นชิ้นหนึ่ง ส่วนบราห์มส์แต่งเพลงนี้เป็นภาษาเยอรมัน.

ดนตรีคลาสสิกและเรควีเอ็ม · ดนตรียุคโรแมนติกและเรควีเอ็ม · ดูเพิ่มเติม »

เซียร์เกย์ รัคมานีนอฟ

ซียร์เกย์ วาซีเลวิช รัคมานีนอฟ (Сергей Васильевич Рахманинов) เป็นคีตกวี, นักเปียโน และ วาทยากร ชาวรัสเซีย เขาถูกจัดให้เป็นนักเปียโนที่มีชั้นเชิงและมีอิทธิพลมากที่สุดในยุคของเขา และเป็นผู้นำดนตรีคลาสสิกแบบโรแมนติกในยุโรป บทเพลงของเซียร์เกย์นั้นมีแรงขับมหาศาล และต้องอาศัยเทคนิคชั้นสูงในการบรรเลง โดยเฉพาะ Piano Concerto No.2, Op.

ดนตรีคลาสสิกและเซียร์เกย์ รัคมานีนอฟ · ดนตรียุคโรแมนติกและเซียร์เกย์ รัคมานีนอฟ · ดูเพิ่มเติม »

รายการด้านบนตอบคำถามต่อไปนี้

การเปรียบเทียบระหว่าง ดนตรีคลาสสิกและดนตรียุคโรแมนติก

ดนตรีคลาสสิก มี 119 ความสัมพันธ์ขณะที่ ดนตรียุคโรแมนติก มี 33 ขณะที่พวกเขามีเหมือนกัน 26, ดัชนี Jaccard คือ 17.11% = 26 / (119 + 33)

การอ้างอิง

บทความนี้แสดงความสัมพันธ์ระหว่าง ดนตรีคลาสสิกและดนตรียุคโรแมนติก หากต้องการเข้าถึงบทความแต่ละบทความที่ได้รับการรวบรวมข้อมูลโปรดไปที่:

Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »