โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ฟรี
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

คริปโทเคอร์เรนซีและความปลอดภัยและบล็อกเชน

ทางลัด: ความแตกต่างความคล้ายคลึงกันค่าสัมประสิทธิ์การเปรียบเทียบ Jaccardการอ้างอิง

ความแตกต่างระหว่าง คริปโทเคอร์เรนซีและความปลอดภัยและบล็อกเชน

คริปโทเคอร์เรนซีและความปลอดภัย vs. บล็อกเชน

ริปโทเคอร์เรนซีและความปลอดภัย (Cryptocurrency and security) เป็นบทความที่กล่าวถึงการพยายามขโมยเงินดิจิทัลผ่านวิธีการต่าง ๆ รวมทั้งฟิชชิง การหลอก หรือการแฮ็ก และถึงวิธีการป้องกันธุรกรรมทางคริปโทเคอร์เรนซีที่ไม่ได้อนุญาต และเทคโนโลยีเพื่อเก็บคริปโทเคอร์เรนซี. แผนภาพของบล็อกเชน (หรือโซ่บล็อก) สายโซ่หลักมีบล็อกต่อกันยาวสุดตั้งแต่บล็อกเริ่มต้น (สีเขียว) จนถึงบล็อกปัจจุบัน บล็อกกำพร้า (สีม่วง) จะอยู่นอกโซ่หลัก บล็อกเชน#timestamping block for bitcoin --> บล็อกเชน (blockchain) หรือว่า โซ่บล็อก ซึ่งคำอังกฤษดั้งเดิมเป็นคำสองคำคือ block chain เป็นรายการระเบียน/บันทึก (record) ที่เพิ่มขึ้น/ยาวขึ้นเรื่อย ๆ โดยแต่ละรายการเรียกว่า บล็อก ซึ่งนำมาเชื่อมต่อเป็นลูกโซ่ (เชน) โดยตรวจสอบความถูกต้องและรับประกันความปลอดภัยโดยวิทยาการเข้ารหัสลับ บล็อกแต่ละบล็อกปกติจะมีค่าแฮชของบล็อกก่อนหน้าซึ่งสามารถใช้ยืนยันความถูกต้องของบล็อกก่อนหน้า มีตราเวลาและข้อมูลธุรกรรม บล็อกเชนออกแบบให้ทนทานต่อการเปลี่ยนข้อมูลที่บันทึกแล้ว คือมันเป็น "บัญชีแยกประเภท (ledger) แบบกระจายและเปิด ที่สามารถบันทึกธุรกรรมระหว่างบุคคลสองพวกอย่างมีประสิทธิภาพ ในรูปแบบที่ยืนยันได้และถาวร" เมื่อใช้เป็นบัญชีแยกประเภทแบบกระจาย บล็อกเชนปกติจะจัดการโดยเครือข่ายเพียร์ทูเพียร์ ซึ่งร่วมกันใช้โพรโทคอลเดียวกันเพื่อการสื่อสารระหว่างสถานี (node) และเพื่อยืนยันความถูกต้องของบล็อกใหม่ ๆ เมื่อบันทึกแล้ว ข้อมูลในบล็อกใดบล็อกหนึ่ง จะไม่สามารถเปลี่ยนย้อนหลังโดยไม่เปลี่ยนข้อมูลในบล็อกต่อ ๆ มาทั้งหมดด้วย ซึ่งจะทำได้ก็ต่อเมื่อได้การร่วมมือจากสถานีโดยมากในเครือข่าย บล็อกเชนออกแบบมาตั้งแต่ต้นเพื่อให้ปลอดภัย (secure by design) และเป็นตัวอย่างของระบบคอมพิวเตอร์แบบกระจายที่ทนต่อความผิดพร่องแบบไบแซนไทน์ได้สูง ดังนั้น ความเห็นพ้องแบบไม่รวมศูนย์ จึงเกิดได้โดยอาศัยบล็อกเชน ซึ่งอาจทำให้มันเหมาะเพื่อบันทึกเหตุการณ์ต่าง ๆ, บันทึกระเบียนการแพทย์, ในการจัดการบริหารระเบียนแบบอื่น ๆ เช่น การจัดการผู้มีสิทธิเข้าถึงระบบ (identity management), การประมวลผลธุรกรรม, การสร้างเอกสารแสดงความเป็นเจ้าของ, การตามรอยการผลิตและขนส่งอาหาร, หรือการใช้สิทธิออกเสียง บุคคลหรือกลุ่มบุคคลผู้ใช้นามแฝง ซาโตชิ นากาโมโตะ ได้ประดิษฐ์บล็อกเชนขึ้นในปี 2008 (พ.ศ. 2551) เพื่อใช้กับเงินคริปโทสกุลบิตคอยน์ โดยเป็นบัญชีแยกประเภทแบบกระจาย บล็อกเชนทำให้บิตคอยน์เป็นเงินดิจิทัลสกุลแรกที่แก้ปัญหาการใช้จ่ายสินทรัพย์เกินกว่าครั้งเดียว (Double spending problem) ได้ โดยไม่จำเป็นต้องมีบุคคลที่สามซึ่งเชื่อใจหรือมีคอมพิวเตอร์ศูนย์กลาง เป็นการออกแบบซึ่งเป็นแรงบันดาลใจสำหรับโปรแกรมประยุกต์อีกมากมายหลายอย่าง ในกรณีของบิตคอยน์ ผู้ใช้งานจะทำการโดยเชื่อมต่อกับเครือข่ายอินเทอร์เน็ต สามารถซื้อขายและยืนยันการใช้จ่ายบิตคอยน์ โดยจะมีการสร้างบล็อกขึ้นใหม่เพื่อเก็บรายการการซื้อขายแลกเปลี่ยน ในอัตราประมาณหนึ่งบล็อกต่อ 10 นาที และแต่ละบล็อกจะมีจำนวนธุรกรรมเฉลี่ยมากกว่า 500 รายการ.

ความคล้ายคลึงกันระหว่าง คริปโทเคอร์เรนซีและความปลอดภัยและบล็อกเชน

คริปโทเคอร์เรนซีและความปลอดภัยและบล็อกเชน มี 13 สิ่งที่เหมือนกัน (ใน ยูเนี่ยนพีเดีย): บัตรเครดิตบิตคอยน์การทำให้เกิดผลการโจมตีโดยปฏิเสธการให้บริการมหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ดรหัสผ่านรูปแบบเอกสารใช้ได้หลายระบบสแปมคริปโทเคอร์เรนซีคริปโทเคอร์เรนซีวอลเลตซอฟต์แวร์นักเลงคอมพิวเตอร์โดชคอยน์

บัตรเครดิต

ัตรเครดิต บัตรเครดิต หรือ บัตรสินเชื่อ เป็นบริการที่สถาบันทางการเงินต่าง ๆ ออกให้แก่ลูกค้า เพื่อใช้จ่ายแทนเงินสด บัตรเครดิตที่รู้จักกันเช่น วีซ่า มาสเตอร์การ์ด เจซีบี ยูเนี่ยนเพย์ อเมริกันเอกซ์เพรส ดิสคัฟเวอร์ และ ไดเนอร์สคลับ สามารถใช้ได้ตามจำนวนวงเงินบัตรที่อนุมัติหักออกด้วยค่าสินค้าและบริการที่ใช้จ่ายผ่านบัตร ค่าธรรมเนียม ดอกเบี้ย และหนี้สินคงค้างที่ยังไม่ได้ชำร.

คริปโทเคอร์เรนซีและความปลอดภัยและบัตรเครดิต · บล็อกเชนและบัตรเครดิต · ดูเพิ่มเติม »

บิตคอยน์

ตคอยน์ (Bitcoin) เป็นเงินตราแบบดิจิทัล (cryptocurrency) และเป็นระบบการชำระเงินที่ใช้กันทั่วโลก บิตคอยน์เป็นสกุลเงินดิจิทัลแรกที่ใช้ระบบกระจายอำนาจ โดยไม่มีธนาคารกลางหรือแม้แต่ผู้คุมระบบแม้แต่คนเดียว เครือข่ายเป็นแบบเพียร์ทูเพียร์ และการซื้อขายเกิดขึ้นระหว่างจุดต่อเครือข่าย (network node)โดยตรง ผ่านการใช้วิทยาการเข้ารหัสลับและไม่มีสื่อกลาง การซื้อขายเหล่านี้ถูกตรวจสอบโดยรายการเดินบัญชีแบบสาธารณะที่เรียกว่าบล็อกเชน บิตคอยน์ถูกพัฒนาโดยคนหรือกลุ่มคนภายใต้นามแฝง "ซาโตชิ นากาโมโตะ" และถูกเผยแพร่ในรูปแบบซอฟต์แวร์โอเพนซอร์ซในปี..

คริปโทเคอร์เรนซีและความปลอดภัยและบิตคอยน์ · บล็อกเชนและบิตคอยน์ · ดูเพิ่มเติม »

การทำให้เกิดผล

การทำให้เกิดผล (implementation) คือขั้นตอนต่อจากกระบวนการคิด,​ การวางแผน,​ การสร้างแบบจำลอง หรือการคิดขั้นตอนวิธี โดยประยุกต์สิ่งเหลานี้เพื่อการใช้งานจริง.

การทำให้เกิดผลและคริปโทเคอร์เรนซีและความปลอดภัย · การทำให้เกิดผลและบล็อกเชน · ดูเพิ่มเติม »

การโจมตีโดยปฏิเสธการให้บริการ

ในวิชาการคอมพิวเตอร์ การโจมตีโดยปฏิเสธการให้บริการ (denial-of-service (DoS) attack) เป็นความพยายามทำให้เครื่องหรือทรัพยากรเครือข่ายสำหรับผู้ใช้เป้าหมายใช้บริการไม่ได้ เช่น ขัดขวางหรือชะลอบริการของแม่ข่ายที่เชื่อมโยงกับอินเทอร์เน็ตอย่างชั่วคราวหรือถาวร ส่วน การโจมตีโดยปฏิเสธการให้บริการแบบกระจาย (distributed denial-of-service (DDoS) attack) คือการโจมตีดังกล่าวซึ่งแหล่งต้นทางเป็นเลขที่อยู่ไอพีมากกว่าหนึ่งหมายเลข และมักจะเป็นพันหมายเลข อาชญากรผู้โจมตีมักมุ่งเป้าไปยังเว็บไซต์หรือบริการซึ่งตั้งอยู่ในเว็บเซิร์ฟเวอร์ที่มีการเข้าชมสูงอย่างเช่น ธนาคาร เกตเวย์ชำระบัตรเครดิต โดยมีแรงจูงใจเบื้องหลังเป็นการแก้แค้น การแบล็กเมล หรือการเคลื่อนไหวทางการเมือง เป็นต้น, และสิ่งนี้คือจุดเริ่มต้นของ Hacker ที่พยายามทำให้เซิร์ฟเวอร์นั้นไม่สามารถให้บริการกับผู้ใช้งานได้.

การโจมตีโดยปฏิเสธการให้บริการและคริปโทเคอร์เรนซีและความปลอดภัย · การโจมตีโดยปฏิเสธการให้บริการและบล็อกเชน · ดูเพิ่มเติม »

มหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด

มหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด (Harvard University อ่านว่า ฮารฺเวิรฺด) มหาวิทยาลัยเอกชนในเมืองเคมบริดจ์ รัฐแมสซาชูเซตส์ สหรัฐอเมริกาได้ขึ้นชื่อว่าเป็นหนึ่งในมหาวิทยาลัยที่มีชื่อเสียงของโลก แห่งหนึ่งและเป็นหนึ่งมหาวิทยาลัยเก่าแก่ที่สุดของสหรัฐอเมริกา โดยก่อตั้งเมื่อปี 8 กันยายน พ.ศ. 2179 (ค.ศ. 1636) มีอายุครบ 370 ปีใน พ.ศ. 2549 ฮาร์วาร์ดเป็นหนึ่งในมหาวิทยาลัยในกลุ่มไอวีลีก โดยในปี..

คริปโทเคอร์เรนซีและความปลอดภัยและมหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด · บล็อกเชนและมหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด · ดูเพิ่มเติม »

รหัสผ่าน

แบบฟอร์มเข้าสู่ระบบของวิกิพีเดียภาษาอังกฤษ ต้องการให้ใส่ชื่อผู้ใช้ และรหัสผ่าน รหัสผ่าน คือ สายอักขระหรือคำที่เป็นความลับ ที่ใช้สำหรับยืนยันตัว พิสูจน์ความเป็นเจ้าของ หรือเข้าถึงแหล่งข้อมูล รหัสผ่านควรจะเก็บเป็นความลับเพื่อไม่ให้คนอื่นเข้าถึงได้ การใช้รหัสผ่านนั้นมีตั้งแต่โบราณ ในลักษณะการผ่านด่านทหารองครักษ์ เพื่อเข้าไปในบริเวณ โดยต้องให้รหัสผ่านหรือคำสัญลักษณ์ ทหารองครักษ์จะอนุญาตให้คนหรือกลุ่มคนผ่านเข้าไปได้หากพวกเขารู้รหัสผ่าน ในยุคสมัยใหม่ ใช้ชื่อผู้ใช้และรหัสผ่านในการเข้าสู่ระบบของคอมพิวเตอร์ที่มีระบบป้องกัน โทรศัพท์มือถือ เครื่องถอดรหัสเคเบิลทีวี เครื่องเอทีเอ็ม เป็นต้น สำหรับการใช้รหัสผ่านในคอมพิวเตอร์ทั่วไป มีหลายจุดประสงค์ เช่น การเข้าใช้ชื่อบัญชี การรับอีเมล การเข้าถึงแอปพลิเคชัน ฐานข้อมูล เครือข่าย เว็บไซต์ หรือแม้แต่อ่านหนังสือพิมพ์ออนไลน์ รหัสผ่านอาจจะเป็นคำที่ไม่มีอยู่จริง รหัสผ่านที่ไม่เป็นคำจะยากต่อการเดา รหัสผ่านอาจจะเป็นการนำคำหลายคำมารวมกัน ส่วนคำว่า พาสโคด (passcode) ใช้กับข้อมูลลับที่เป็นตัวเลขล้วน อย่างเช่น รหัสลับบุคคล (PIN) ที่ใช้ในการเข้าถึงเอทีเอ็ม รหัสผ่านโดยทั่วไป มักจะตั้งขึ้นให้สั้นเพียงพอที่ง่ายต่อการจำและพิมพ์ องค์กรส่วนใหญ่จะระบุนโยบายรหัสผ่านที่กำหนดความต้องการสำหรับการตั้งรหัสผ่าน เช่น การกำหนดความยาวขั้นต่ำ ตัวอักษรพิมพ์ใหญ่-พิมพ์เล็ก ตัวเลข และอักขระพิเศษ บางสิ่งที่ต้องห้าม เช่น ชื่อตนเอง วันเกิด ที่อยู่ เบอร์โทรศัพท์ เป็นต้น.

คริปโทเคอร์เรนซีและความปลอดภัยและรหัสผ่าน · บล็อกเชนและรหัสผ่าน · ดูเพิ่มเติม »

รูปแบบเอกสารใช้ได้หลายระบบ

รูปแบบเอกสารใช้ได้หลายระบบ (portable document format (ย่อ: pdf)) คือ รูปแบบแฟ้มลักษณะหนึ่ง ที่พัฒนาโดยบริษัทอะโดบีซิสเต็มส์ สำหรับแสดงเอกสารที่สามารถใช้งานได้ในทุกระบบปฏิบัติการ และยังคงลักษณะเอกสารเหมือนต้นฉบับ เอกสารในรูปแบบนี้สามารถจัดเก็บ ตัวอักษร รูปภาพ รูปลายเส้น ในลักษณะเป็นหน้าหนังสือ ตั้งแต่ หนึ่งหน้า หรือหลายพันหน้าได้ในแฟ้มเดียวกัน รูปแบบเป็นมาตรฐานที่เปิดให้คนอื่นสามารถเขียนโปรแกรมมาทำงานร่วมกันได้ รูปแบบนี้ เหมาะสมสำหรับงานที่ต้องการให้แสดงผลลักษณะเดียวกับต้นฉบับ ซึ่งแตกต่างกับการใช้งานรูปแบบอื่น เช่น HTML เพราะการแสดงผลของ HTML จะขึ้นอยู่กับโปรแกรมเบราว์เซอร์และคอมพิวเตอร์ที่ใช้ และเพราะฉะนั้น จะแสดงผลต่างกัน ถ้าใช้ต่างกัน.

คริปโทเคอร์เรนซีและความปลอดภัยและรูปแบบเอกสารใช้ได้หลายระบบ · บล็อกเชนและรูปแบบเอกสารใช้ได้หลายระบบ · ดูเพิ่มเติม »

สแปม

แปม (spam) คือชื่อเรียกของการส่งข้อความที่ผู้รับไม่ได้ร้องขอ ผ่านทางระบบอิเล็กทรอนิกส์ โดยส่วนมากจะทำให้เกิดความไม่พอใจต่อผู้รับข้อความ สแปมที่พบเห็นได้บ่อยได้แก่ การส่งสแปมผ่านทางอีเมล ในการโฆษณาชวนเชื่อ หรือโฆษณาขายของ โดยการส่งอีเมลที่เราไม่ต้องการ จากที่ใดก็ได้ในโลก โดยที่เราไม่รู้เลยว่าผู้ที่ส่งมาให้นั้นเป็นใคร หรือเป็นการแอบอ้างหรือไม่ เนื่องจากปัจจุบันมีการส่งสแปมที่สามารถปลอมชื่อและอีเมลผู้ส่งได้ จุดประสงค์คือ ผู้ส่งส่วนใหญ่ต้องการที่จะโฆษณา สินค้าหรือบริการต่าง ๆ ของบริษัทของตนเอง ซึ่งเป็นประเภทหนึ่งของเมลขยะซึ่งนอกจากจะทำให้ผู้รับรำคาญใจและเสียเวลาในการกำจัดข้อความเหล่านี้แล้ว สแปมยังทำให้ประสิทธิภาพการขนส่งข้อมูลบนอินเทอร์เน็ตลดลงด้วย สแปมในรูปแบบอื่นนอกจากอีเมลสแปมได้แก่ เมสเซนเจอร์สแปม นิวส์กรุ๊ปสแปม บล็อกสแปม และเอสเอ็มเอสสแปม การส่งสแปมเริ่มแพร่หลายเนื่องจากค่าใช้จ่ายในการส่งข้อความผ่านทางระบบอิเล็กทรอนิกส์ มีค่าใช้จ่ายน้อยมากเมื่อเทียบการการส่งข้อความชักชวนทางอื่น เช่นทางจดหมาย หรือการโฆษณาทางสื่อต่างๆ ทำให้ผู้ส่งประหยัดค่าใช้จ่ายในการส่งข้อความเชิญชวน และในขณะเดียวกันกฎหมายเกี่ยวกับระบบอิเล็กทรอนิกส์ที่เกี่ยวข้องกับสแปมยังไม่ครอบคลุม จนกระทั่งเริ่มมีใช้ครั้งแรกปี พ.ศ. 2546 (ค.ศ. 2003) ในประเทศสหรัฐอเมริก.

คริปโทเคอร์เรนซีและความปลอดภัยและสแปม · บล็อกเชนและสแปม · ดูเพิ่มเติม »

คริปโทเคอร์เรนซี

ริปโทเคอร์เรนซี (cryptocurrency, crypto currency) เป็นสินทรัพย์ดิจิทัลซึ่งออกแบบให้เป็นสื่อกลางการแลกเปลี่ยน ที่ใช้วิทยาการเข้ารหัสลับเพื่อรับประกันธุรกรรม เพื่อควบคุมการสร้างหน่วยเงินเพิ่ม และเพื่อยืนยันความถูกต้องของการโอนทรัพย์ เป็นรูปแบบหนึ่งของเงินดิจิทัล (digital currency) เงินทางเลือก (alternative currency) และเงินเสมือน (virtual currency) เป็นเงินที่ควบคุมโดยกระจายศูนย์กลาง เทียบกับเงินดิจิทัลที่ควบคุมโดยศูนย์กลาง หรือกับระบบธนาคารกลาง การควบคุมแบบกระจายศูนย์จะทำผ่านบล็อกเชน ซึ่งเป็นฐานข้อมูลธุรกรรมสาธารณะ โดยใช้เป็นบัญชีแยกประเภทแบบกระจาย บิตคอยน์ที่สร้างขึ้นในปี..

คริปโทเคอร์เรนซีและคริปโทเคอร์เรนซีและความปลอดภัย · คริปโทเคอร์เรนซีและบล็อกเชน · ดูเพิ่มเติม »

คริปโทเคอร์เรนซีวอลเลต

วอลเลตบิตคอยน์แบบกระดาษซึ่งมีที่อยู่บิตคอยน์เลขหนึ่งเพื่อรับเงิน และมีกุญแจส่วนตัวที่จับคู่กันสำหรับใช้จ่าย คริปโทเคอร์เรนซีวอลเลต (cryptocurrency wallet) เป็นที่ที่เก็บกุญแจสาธารณะและกุญแจส่วนตัว ซึ่งสามารถใช้รับหรือจ่ายคริปโทเคอร์เรนซีได้ วอลเลตใบหนึ่งสามารถมีกุญแจสาธารณะและกุญแจส่วนตัวหลายคู่ นี่ไม่เหมือนวอลเลตจริง ๆ ตรงที่ว่า คริปโทเคอร์เรนซีจริง ๆ ไม่ได้อยู่ในวอลเลต เพราะวอลเลตมีแต่กุญแจเป็นคู่ ๆ ดังนั้น จึงอาจจะเรียกได้ชัดเจนกว่าว่า สายคล้องกุญแจ ในกรณีของบิตคอยน์และคริปโทเคอร์เรนซีสกุลอื่น ๆ ที่มาจากมัน คริปโทเคอร์เรนซีเองจะเก็บไว้อย่างกระจายศูนย์ คือบันทึกไว้ในบัญชีแยกประเภทที่เป็นสาธารณะ คริปโทเคอร์เรนซีทุก ๆ หน่วยจะระบุกุญแจสาธารณะของบุคคลที่เป็นเจ้าของ ดังนั้น เพื่อจะบันทึกธุรกรรมใหม่ในบัญชีซึ่งเท่ากับเป็นการใช้คริปโทเคอร์เรนซีที่ว่านั้น ผู้ที่ออกคำสั่งทำธุรกรรมจะต้องมีกุญแจส่วนตัวที่คู่กับกุญแจสาธารณะนั้น โดยเดือนมกราคม 2018 มีคริปโทเคอร์เรนซีกว่า 1,300 สกุล สกุลแรกซึ่งรู้จักกันดีที่สุดก็คือบิตคอยน.

คริปโทเคอร์เรนซีวอลเลตและคริปโทเคอร์เรนซีและความปลอดภัย · คริปโทเคอร์เรนซีวอลเลตและบล็อกเชน · ดูเพิ่มเติม »

ซอฟต์แวร์

OpenOffice.org Writer ซอฟต์แวร์ (software) หรือ ส่วนชุดคำสั่ง หรือบางครั้งมีการสะกดว่า ซอฟ‌ท์แวร์ เป็นส่วนของระบบคอมพิวเตอร์ที่ใช้ในการจัดเก็บและประมวลผลข้อมูล ซอฟต์แวร์นั้นนอกจากจะสามารถใช้งานบนคอมพิวเตอร์ได้แล้ว ยังสามารถใช้งานบนเครื่องใช้ หรืออุปกรณ์อื่น เช่น โทรศัพท์มือถือ หรือหุ่นยนต์ในโรงงาน หรือเครื่องใช้ไฟฟ้าต่าง ๆ คำว่า "ซอฟต์แวร์" ใช้ครั้งแรกโดย จอห์น ดับเบิลยู. เทอร์กีย์ (John W. Turkey) ในปี พ.ศ. 2500 (ค.ศ. 1957) โดยแนวคิดของซอฟต์แวร์ปรากฏครั้งแรกในเรียงความของแอลัน ทัวริง บิดาของวิทยาการคอมพิวเตอร์ กล่าวกันว่าโปรแกรมคอมพิวเตอร์ชิ้นแรกของโลกเขียนโดยเอดา ไบรอน เป็นโปรแกรมที่ใช้สำหรับเครื่องวิเคราะห์ (analytical engine) ของชาร์ลส แ.

คริปโทเคอร์เรนซีและความปลอดภัยและซอฟต์แวร์ · ซอฟต์แวร์และบล็อกเชน · ดูเพิ่มเติม »

นักเลงคอมพิวเตอร์

นักเลงคอมพิวเตอร์ (hacker) หมายถึงผู้เชี่ยวชาญในสาขาคอมพิวเตอร์ บางครั้งยังใช้หมายถึงผู้เชี่ยวชาญในสาขาอื่นนอกจากคอมพิวเตอร์ด้วย โดยเฉพาะผู้ที่มีความรู้ในรายละเอียด หรือ ผู้ที่มีความเฉลียวในการแก้ปัญหาจากข้อจำกัด ความหมายที่ใช้ในบริบทของคอมพิวเตอร์นั้นได้เปลี่ยนแปลงไปจากความหมายดั้งเดิม โดยผู้ใช้คำในช่วงหลังนั้นได้ใช้ในความหมายที่กว้างออกไป รวมทั้งในบางครั้งยังใช้ในความหมายที่ขัดแย้งกัน ในปัจจุบัน "นักเลงคอมพิวเตอร์" นั้นใช้ใน 2 ความหมายหลัก ในทางที่ดี และ ไม่ค่อยดีนัก ความหมายที่เป็นที่นิยม และพบได้บ่อยในสื่อนั้น มักจะไม่ดี โดยจะหมายถึง อาชญากรคอมพิวเตอร์ ส่วนในทางที่ดีนั้น "นักเลงคอมพิวเตอร์" ยังใช้ในลักษณะของคำติดปาก หมายถึง ความเป็นพวกพ้อง หรือ สมาชิกของกลุ่มคอมพิวเตอร์ นอกเหนือจากนี้ คำว่า "นักเลงคอมพิวเตอร์" ยังใช้หมายถึงกลุ่มของผู้ใช้คอมพิวเตอร์ โดยเฉพาะโปรแกรมเมอร์ที่มีความสามารถในระดับผู้เชี่ยวชาญ ตัวอย่างเช่น "ลีนุส ทอร์วัลด์ส ผู้สร้างลินุกซ์ นั้นเป็นนักเลงคอมพิวเตอร์อัจฉริยะ" จากความหมายที่แตกต่างข้างต้น จะเห็นได้ถึงความขัดแย้งในการใช้คำ บางกลุ่มที่ใช้คำนักเลงคอมพิวเตอร์นี้เพื่อเรียกกลุ่มของตน ก็ไม่ชอบที่คำนี้ถูกใช้ในความหมายที่ไม่ดี และแนะนำให้ใช้คำอื่น เช่น แบล็กแฮต หรือ แคร็กเกอร์ เพื่อเรียกอาชญากรคอมพิวเตอร์แทน ส่วนผู้ที่ใช้คำนี้ในความหมายที่ไม่ดี ซึ่งเป็นความหมายที่นิยมใช้กันนั้น ให้ความเห็นถึงความหมายในทางที่ดี นั้นนอกจากจะก่อให้เกิดความสับสนแล้ว ดูเหมือนว่าจะไม่เป็นที่นิยมอีกด้วย ส่วนความหมายกลางนั้น ได้สังเกตถึงจุดร่วมระหว่างความหมายในทางที่ดีและไม่ดี โดยพิจารณาการเป็นนักเลงคอมพิวเตอร์ เป็นการใช้ความชำนาญ เพียงแต่อาจใช้เพื่อจุดประสงค์ที่แตกต่างกันทั้งในทางดีและไม่ดี ตัวอย่างเช่น ช่างสะเดาะกุญแจ มีความชำนาญในการปลดกลอน (เปรียบเทียบการสะเดาะกุญแจกับการเป็นนักเลงคอมพิวเตอร์) ซึ่งความชำนาญนี้อาจถูกใช้ได้ทั้งในทางที่ดีและไม่ดี การเป็นนักเลงคอมพิวเตอร์ สามารถหมายถึงวิธีการศึกษาหาคำตอบให้กับปัญหาอย่างใดอย่างหนึ่ง โดยที่มีข้อจำกัดในเรื่องของข้อมูลหรือความรู้ เพื่อให้เกิดการพัฒนาหรือความเข้าใจต่อปัญหาเหล่านั้นได้มากขึ้น การได้ใช้คำว่านักเลงคอมพิวเตอร์จึงเป็นสิ่งที่น่าภูมิใจ เพราะเปรียบได้กับเป็นผู้คิดค้นสิ่งใหม่ที่สามารถทำงานหรือแก้ปัญหาได้ดีขึ้นและง่ายขึ้น แต่ถ้าการเป็นนักเลงคอมพิวเตอร์ ที่อาศัยความรู้หรือความสามารถที่มีในทางที่ไม่ดี ก็จะเกิดความสับสนในการใช้คำว่านักเลงคอมพิวเตอร์ ดังนั้นคำว่าแครกเกอร์จึงถูกนำมาใช้เรียกคนที่มีความรู้ความเข้าใจต่อสิ่งใดสิ่งหนึ่งแต่ใช้ความรู้นั้นในทางที่ไม่ดีและขัดกับจริยธรรมของนักเลงคอมพิวเตอร.

คริปโทเคอร์เรนซีและความปลอดภัยและนักเลงคอมพิวเตอร์ · นักเลงคอมพิวเตอร์และบล็อกเชน · ดูเพิ่มเติม »

โดชคอยน์

อยน์ (Dogecoin,, code: DOGE, symbol: Ð and D) เป็นสกุลเงินแบบดิจิตัลที่ใช้รูปของสุนัขชื่อโดช(Doge)ที่เป็นอินเทอร์เน็ตมีมของสุนัขญี่ปุ่นพันธุ์ Shiba Inu เป็นโลโก้ของสกุลเงิน โดชคอยน์ถูกริเริ่มเมื่อวันที่ 8 ธันวาคม ค.ศ. 2013 เมื่อทำการเปรียบเทียบกับสกุลเงินดิจิตอลอื่น โดชคอยน์มีระยะเวลาการไมนิงจำนวนเหรียญเริ่มต้นเร็วกว่าสกุลเงินอื่น โดยจะมีเม็ดเงินที่เกิดจากการไมนิง 100 พันล้านเหรียญโดยประมาณภายในสิ้นปี 2014 และหลังจากนั้น 5.2 พันล้านเหรียญจะถูกสร้างทุกๆปี ทั้งนี้ในวันที่ 30 มีนาคม ค.ศ. 2014 โดชคอยน์จำนวนกว่า 65 พันล้านเหรียญได้ถูกไมนิงได้ ถึงแม้ว่าในขณะนี้จะมีแอปพลิเคชันสำหรับโดชคอยน์ไม่มากนัก แต่จำนวนการใช้โดชคอยน์ผ่านทางระบบการให้ทิปในอินเทอร์เน็ตกำลังเป็นที่นิยมเป็นอย่างมาก โดยระบบนี้ทำให้คนบนโลกโซเชียลมีเดียสามารถให้ทิปคนอื่นที่นำเสนอบนความที่น่าสนใจผ่านทางโดชคอยน์ ทั้งนี้สมาชิกในชุมชนโดชคอยน์และชุมชนอื่นๆใช้ประโยคที่ว่า "To the moon!" สำหรับเรียกเวลาราคาเหรียญกำลังสูงขึ้น.

คริปโทเคอร์เรนซีและความปลอดภัยและโดชคอยน์ · บล็อกเชนและโดชคอยน์ · ดูเพิ่มเติม »

รายการด้านบนตอบคำถามต่อไปนี้

การเปรียบเทียบระหว่าง คริปโทเคอร์เรนซีและความปลอดภัยและบล็อกเชน

คริปโทเคอร์เรนซีและความปลอดภัย มี 43 ความสัมพันธ์ขณะที่ บล็อกเชน มี 109 ขณะที่พวกเขามีเหมือนกัน 13, ดัชนี Jaccard คือ 8.55% = 13 / (43 + 109)

การอ้างอิง

บทความนี้แสดงความสัมพันธ์ระหว่าง คริปโทเคอร์เรนซีและความปลอดภัยและบล็อกเชน หากต้องการเข้าถึงบทความแต่ละบทความที่ได้รับการรวบรวมข้อมูลโปรดไปที่:

Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »