โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ติดตั้ง
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

กาชีรอลา

ดัชนี กาชีรอลา

การ์ลิญญุส บราวน์ กับกาชีรอลา กาชีรอลา (caxirola) เป็นเครื่องดนตรีประเภทเพอร์คัชชันที่คิดค้นขึ้นโดยการ์ลิญญุส บราวน์ (Carlinhos Brown) นักดนตรีชาวบราซิล ประกอบด้วยตะกร้าพลาสติกปิดทุกด้าน ก้นราบ ใส่วัสดุสังเคราะห์ชิ้นเล็ก ๆ ไว้ข้างใน ซึ่งมาจากความต้องการของบราวน์ที่จะให้เป็นผลิตภัณฑ์ที่ยั่งยืน (sustainable product) กาชีรอลามีพื้นฐานมาจากกาชีชี (caxixi) เครื่องดนตรีพื้นเมืองชนิดหนึ่งของแอฟริกาและอเมริกาใต้ ดังนั้นจึงเป็นเครื่องดนตรีกระทบโดยอ้อม (indirectly struck idiophone) ซึ่งจะเกิดเสียงจากการเขย่าเช่นเดียวกัน นักวิจัยจากมหาวิทยาลัยสหพันธ์ซังตามารีอาในบราซิลระบุว่า เสียงที่เกิดจากกาชีรอลา 1 อันไม่ได้ดังไปกว่าเสียงพูดคุยเบา ๆ ของมนุษย์ และจะต้องใช้กาชีรอลาประมาณ 2,000 อันถึงจะมีระดับความดันเสียงเท่ากับวูวูเซลา 1 อัน กระทรวงการกีฬาของบราซิลได้ให้การรับรองกาชีรอลาเมื่อวันที่ 27 กันยายน ค.ศ. 2012 โดยมีจุดประสงค์เพื่อใช้เป็นเครื่องดนตรีประจำการแข่งขันฟุตบอลโลก 2014 อย่างเป็นทางการ อย่างไรก็ตาม กาชีรอลาถูกห้ามไม่ให้นำเข้าไปในสนามทั้งในการแข่งขันฟีฟ่าคอนเฟเดอเรชันส์คัพ 2013 และฟุตบอลโลก 2014 เนื่องจากรัฐบาลบราซิลเห็นว่ามีความเสี่ยงด้านความปลอดภัย หลังเกิดเหตุแฟนบอลของสโมสรบาเยียขว้างกาชีรอลาหลายร้อยอันลงไปในสนามฟงชีนอวา เมืองซัลวาดอร์ ด้วยความไม่พอใจที่ทีมของตนแพ้ให้กับวีตอเรีย (สโมสรคู่แข่งจากเมืองเดียวกัน) ไป 5-1 เมื่อวันที่ 28 เมษายน ค.ศ. 2013.

14 ความสัมพันธ์: ฟุตบอลโลก 2014ฟีฟ่าคอนเฟเดอเรชันส์คัพ 2013พ.ศ. 2555พ.ศ. 2556วูวูเซลาอาเรนาฟงชีนอวาทวีปอเมริกาใต้ทวีปแอฟริกาซัลวาดอร์ประเทศบราซิลเพอร์คัชชันเครื่องดนตรี27 กันยายน28 เมษายน

ฟุตบอลโลก 2014

ฟุตบอลโลก 2014 (2014 FIFA World Cup; Copa do Mundo da FIFA 2014) เป็นการแข่งขันฟุตบอลโลกครั้งที่ 20 ซึ่งจัดขึ้นที่ประเทศบราซิลระหว่างวันที่ 13 มิถุนายน–13 กรกฎาคม พ.ศ. 2557 ซึ่งเป็นครั้งที่สองที่บราซิลได้เป็นเจ้าภาพจัดการแข่งขันดังกล่าว โดยเป็นเจ้าภาพครั้งแรกเมื่อปี พ.ศ. 2493 ทำให้บราซิลกลายเป็นประเทศที่ 5 ที่เป็นเจ้าภาพฟุตบอลโลกสองครั้งต่อจากเม็กซิโก อิตาลี ฝรั่งเศส และเยอรมนี เป็นครั้งแรกที่จัดขึ้นในทวีปอเมริกาใต้นับตั้งแต่ พ.ศ. 2521 ที่ประเทศอาร์เจนตินา เป็นครั้งแรกที่มีจัดการแข่งขันนอกทวีปยุโรปสองครั้งติดต่อกัน และยังเป็นครั้งแรกที่มีจัดการแข่งขันในซีกโลกใต้สองครั้งติดต่อกัน (ก่อนหน้านี้ ฟุตบอลโลก 2010 จัดในประเทศแอฟริกาใต้) นอกจากนี้ ฟีฟ่าก็ได้ใช้เทคโนโลยีโกลไลน์เป็นครั้งแรกในการแข่งขันครั้งนี้ด้วย FIFA.com.

ใหม่!!: กาชีรอลาและฟุตบอลโลก 2014 · ดูเพิ่มเติม »

ฟีฟ่าคอนเฟเดอเรชันส์คัพ 2013

ฟีฟ่าคอนเฟเดอเรชันส์คัพ 2013 (2013 FIFA Confederations Cup) เป็นการแข่งขันฟุตบอลระดับนานาชาติคอนเฟเดอเรชันส์คัพ จัดโดยฟีฟ่า ในปี..

ใหม่!!: กาชีรอลาและฟีฟ่าคอนเฟเดอเรชันส์คัพ 2013 · ดูเพิ่มเติม »

พ.ศ. 2555

ทธศักราช 2555 ตรงกับปีคริสต์ศักราช 2012 เป็นปีอธิกสุรทินที่วันแรกเป็นวันอาทิตย์ตามปฏิทินเกรกอเรียน และเป็นปีมะโรง จัตวาศก จุลศักราช 1374 (วันที่ 15 เมษายน เป็นวันเถลิงศก) สมัชชาใหญ่แห่งสหประชาชาติประกาศให้..

ใหม่!!: กาชีรอลาและพ.ศ. 2555 · ดูเพิ่มเติม »

พ.ศ. 2556

ทธศักราช 2556 ตรงกับปีคริสต์ศักราช 2013 เป็นปีปกติสุรทินที่วันแรกเป็นวันอังคารตามปฏิทินเกรกอเรียน และเป็น.

ใหม่!!: กาชีรอลาและพ.ศ. 2556 · ดูเพิ่มเติม »

วูวูเซลา

วูวูเซลา ทำด้วยพลาสติก ทีมแอฟริกาใต้ กำลังเป่าวูวูเซลา ระหว่างการแข่งขันฟุตบอลโลก 2010 เสียงของวูวูเซลา วูวูเซลา (vuvuzela, เป็นภาษาซูลู แปลว่า ทำให้เกิดเสียงดัง) หรือในบางครั้งเรียก เลปาตาตา (Lepatata ในภาษาสวานา) เป็นเครื่องดนตรีประเภทเป่าคล้ายทรัมเป็ต เป็นเครื่องดนตรีและวัฒนธรรมของชนพื้นเมืองแอฟริกาใต้ มีความยาวประมาณ 1 เมตร นอกจากนี้ ยังใช้ในการเชียร์กีฬา เช่น ฟุตบอลอีกด้วย ปัจจุบัน วูวูเซลานิยมทำจากพลาสติก เสียงของวูวูเซลา เป็นไปในลักษณะดังกึกก้อง คล้ายเสียงร้องของช้าง วูวูเซลาใช้ในการเชียร์กีฬาครั้งแรก ในคริสต์ทศวรรษ 1990 โดยกลุ่มกองเชียร์ สโมสรฟุตบอลไกเซอร์ ชีฟส์ เอฟซี ในลีกแอฟริกาใต้ เริ่มนำมาใช้เป็น อุปกรณ์การเชียร์ทีมรักของตน ในสนามฟุตบอล แต่ยังเป็นที่รู้จักเฉพาะภายในแอฟริกาใต้เท่านั้น จากนั้น วูวูเซลา นำมาใช้อีกครั้ง ในการแข่งขันคอนเฟเดอเรชันส์คัพ 2009 ที่แอฟริกาใต้เป็นเจ้าภาพ และได้รับการกล่าวถึง ในแง่ที่เป็นอุปกรณ์เชียร์ ที่สามารถข่มขวัญทีมคู่แข่ง และกองเชียร์คู่แข่งได้เป็นอย่างดี ด้วยเสียงอันกึกก้อง รวมถึงทำลายสมาธิของนักฟุตบอลคู่แข่ง จึงเกิดกระแสวิจารณ์ไปทั่ว และทำให้ชาติตะวันตกบางชาติ ถึงกับเรียกร้องให้ สหพันธ์ฟุตบอลนานาชาติ (ฟีฟ่า) สั่งห้ามใช้อุปกรณ์ชิ้นนี้ระหว่างแข่งขัน แต่ประธานฟีฟ่า เซปป์ แบลตเตอร์ มีความเห็นคัดค้าน โดยให้เหตุผลว่า เป็นส่วนหนึ่งของวัฒนธรรมแอฟริกัน ในฟุตบอลโลก 2010 ที่แอฟริกาใต้เป็นเจ้าภาพ กองเชียร์ก็นำวูวูเซลามาใช้ และกลายเป็นที่วิจารณ์กันอย่างกว้างขวางอีกครั้ง เช่นกล่าวว่า เสียงเป่ากลบเสียงผู้พากษ์ และผู้ฝึกสอน หรือสร้างความรำคาญ บ้างก็บอกว่า เสียงดังคล้ายเสียงแมลงวัน หรือแมลงหวี่บินตอม เป็นต้น อย่างไรก็ดี งานวิจัยของคณะแพทย์ชาวเยอรมันกลุ่มหนึ่ง สนับสนุนการห้ามใช้วูวูเซลาอย่างถาวร โดยเตือนว่า ผู้ที่ได้รับผลกระทบจากเสียง ที่ดังเกินพอดีของวูวูเซลา ควรรีบมาพบแพทย์ ภายใน 24 ชั่วโมง เพื่อตรวจเช็คระบบการได้ยินเป็นการด่วน ก่อนที่อาจหูหนวกไปตลอดชีวิต นอกจากนี้แล้ว ยังมีแพทย์ชาวอังกฤษระบุว่า วูวูเซลาเป็นพาหะแพร่เชื้อโรคต่างๆ ได้ โดยรายงานว่า มีการทดสอบเป่า โดยอาสาสมัคร 8 ราย พบว่าในวูวูเซลา ชุ่มไปด้วยละอองน้ำลาย ซึ่งเป็นพาหะต่อเชื้อโรคต่างๆ และเชื้อโรคเหล่านี้ สามารถอยู่ในอากาศได้นานนับชั่วโมง ทำให้มีความเป็นไปได้อย่างมาก ที่จะมีการติดเชื้อต่อๆ กันไป และหากใช้วูวูเซลาอันเดียวกัน เป่าต่อๆ กันไป มากเท่าไร ก็ยิ่งมีโอกาสติดเชื้อได้ง่ายขึ้นอีก เป็นต้น.

ใหม่!!: กาชีรอลาและวูวูเซลา · ดูเพิ่มเติม »

อาเรนาฟงชีนอวา

อีไตปาวาอาเรนาฟงชีนอวา (Itaipava Arena Fonte Nova) หรือชื่ออย่างเป็นทางการว่า ศูนย์กีฬาและวัฒนธรรม ศาสตราจารย์โอกตาวีอู มังกาเบย์รา (Complexo Esportivo Cultural Professor Octávio Mangabeira) เป็นสนามฟุตบอลที่สร้างขึ้นสำหรับการแข่งขันฟีฟ่าคอนเฟเดอเรชันส์คัพ 2013 รวมไปถึงฟุตบอลโลก 2014 โดยตั้งอยู่ในเมืองซัลวาดอร์ รัฐบาเยีย ประเทศบราซิล สามารถจุผู้คนได้ 56,500 คน.

ใหม่!!: กาชีรอลาและอาเรนาฟงชีนอวา · ดูเพิ่มเติม »

ทวีปอเมริกาใต้

แผนที่ดาวเทียมแสดงส่วนประกอบทางภูมิศาสตร์ของทวีปอเมริกาใต้ แผนที่ทวีปอเมริกาใต้ ทวีปอเมริกาใต้ เป็นทวีปที่เส้นศูนย์สูตรโลกพาดผ่าน พื้นที่ส่วนใหญ่อยู่ในซีกโลกใต้ ขนาบข้างด้วยมหาสมุทรแปซิฟิกและมหาสมุทรแอตแลนติก ในทางภูมิศาสตร์ ทวีปอเมริกาใต้เพิ่งจะเคลื่อนมาบรรจบกับทวีปอเมริกาเหนือเมื่อไม่นานมานี้ ทำให้เกิดคอคอดปานามา เทือกเขาแอนดีสที่มีอายุน้อยและไม่หยุดนิ่งพาดผ่านเขตด้านตะวันตกของทวีป ดินแดนทางตะวันออกของเทือกเขาแอนดีส คือ แอ่งแม่น้ำแอมะซอน ซึ่งส่วนใหญ่เป็นเขตป่าดิบชื้น ทวีปอเมริกาใต้มีพื้นที่กว้างใหญ่เป็นอันดับ 4 รองจากเอเชีย แอฟริกา และอเมริกาเหนือตามลำดับ ส่วนจำนวนประชากรเป็นอันดับ 5 รองจากเอเชีย แอฟริกา ยุโรป และอเมริกาเหนือ.

ใหม่!!: กาชีรอลาและทวีปอเมริกาใต้ · ดูเพิ่มเติม »

ทวีปแอฟริกา

แผนที่ดาวเทียมแสดงส่วนประกอบทางภูมิศาสตร์ของทวีปแอฟริกา ภาพถ่ายทวีปแอฟริกาจากนอกโลก แอฟริกา (Africa) เป็นทวีปที่มีขนาดใหญ่ที่สุดเป็นอันดับ 2 ของโลกรองจากทวีปเอเชีย ทั้งในแง่ของพื้นที่และจำนวนประชากร ด้วยพื้นที่ประมาณ 30.2 ล้านตารางกิโลเมตร (11.7 ล้านตารางไมล์) รวมทั้งเกาะต่าง ๆ ที่อยู่ข้างเคียง ทวีปแอฟริกามีพื้นที่ประมาณร้อยละ 6 ของพื้นผิวโลกทั้งหมด และนับเป็นพื้นที่ประมาณร้อยละ 20.4 ของพื้นดินทั้งหมดSayre, April Pulley.

ใหม่!!: กาชีรอลาและทวีปแอฟริกา · ดูเพิ่มเติม »

ซัลวาดอร์

ซัลวาดอร์ (Salvador) เป็นเมืองใหญ่ที่สุดในภาคตะวันออกเฉียงเหนือของบราซิล ตั้งอยู่ทางชายฝั่งมหาสมุทรแอตแลนติก เป็นเมืองหลวงของรัฐบาเยีย ซัลวาดอร์เป็นเมืองหลวงแห่งแรกของบราซิลซึ่งก่อตั้งในยุคอาณานิคมโดยชาวโปรตุเกส เป็นเมืองใหญ่อันดับสามของประเทศต่อจาก เซาเปาลู และ รีโอเดจาเนโร ซัลวาดอร์ได้ชื่อว่าเป็นเมืองแห่งความสุข มีชื่อเสียงอย่างมากในเรื่องของการสังสรรค์ และเทศกาลรื่นเริง หมวดหมู่:เมืองหลวง หมวดหมู่:เมืองหลวงเก่า หมวดหมู่:เมืองในประเทศบราซิล.

ใหม่!!: กาชีรอลาและซัลวาดอร์ · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศบราซิล

ราซิล (Brazil; Brasil) หรือชื่อทางการว่า สหพันธ์สาธารณรัฐบราซิล (Federal Republic of Brazil; República Federativa do Brasil) เป็นประเทศที่ใหญ่ที่สุดและมีประชากรมากที่สุดในทวีปอเมริกาใต้ และเป็นประเทศที่ใหญ่ที่สุดเป็นอันดับที่ 5 ของโลก มีพื้นที่กว้างขวางระหว่างตอนกลางของทวีปอเมริกาใต้และ มหาสมุทรแอตแลนติก มีอาณาเขตติดต่อกับประเทศอุรุกวัย อาร์เจนตินา ปารากวัย โบลิเวีย เปรู โคลอมเบีย เวเนซุเอลา กายอานา ซูรินาม และแคว้นเฟรนช์เกียนาของฝรั่งเศส (ติดกับทุกประเทศในทวีปอเมริกาใต้ ยกเว้นเอกวาดอร์และชิลี) ชื่อ "บราซิล" มาจากต้นไม้ชนิดหนึ่งที่มีชื่อว่า บราซิลวูด (Pau-Brasil ในภาษาโปรตุเกส) ซึ่งนำไปใช้ย้อมผ้าด้วยสีแดงจากเปลือกไม้ของมัน บราซิลเป็นดินแดนแห่งเกษตรกรรมและป่าเขตร้อน การที่บราซิลมีทรัพยากรธรรมชาติที่มากมายและมีแรงงานเป็นจำนวนมาก ทำให้เป็นประเทศที่มีผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (GDP) สูงที่สุดในทวีปอเมริกาใต้ (สูงเป็นอันดับที่ 10 ของโลก) และเป็นผู้นำทางเศรษฐกิจระดับภูมิภาคในปัจจุบัน บราซิลใช้ภาษาโปรตุเกสเป็นภาษาทางการ.

ใหม่!!: กาชีรอลาและประเทศบราซิล · ดูเพิ่มเติม »

เพอร์คัชชัน

ในทางดนตรี เครื่องเพอร์คัชชัน (percussion) หมายถึงวัตถุที่ให้เสียงจากการตี กระทบ ถู เขย่า หรือการกระทำลักษณะที่ใกล้เคียงกันที่ทำให้วัตถุสั่นและเกิดเสียง เพอร์คัชชันนั้นหมายความรวมทั้งเครื่องดนตรีที่รู้จักกันทั่วไป เช่น กลอง ฉาบ ฆ้อง แทมบูรีน ไซโลโฟน หรือสิ่งของซึ่งถูกนำมาใช้ในดนตรีสมัยใหม่หลายชนิด เช่น ไม้กวาด ท่อโลหะ เป็นต้น เครื่องเพอร์คัชชันมีทั้งเครื่องดนตรีที่มีระดับเสียงและไม่มีระดับเสียง เครื่องดนตรีที่มีระดับเสียง ซึ่งหมายถึงว่าเสียงที่ออกมานั้นมีความถี่ที่ซับซ้อนจนมาสามารถตั้งเป็นตัวโน้ตได้เช่น กลองทิมปานี มาริมบา ไซโลโฟน ระนาด และเครื่องที่ไม่มีระดับเสียง เช่น กลองสแนร์ ฉาบ ไทรแองเกิล เป็นต้น คำว่าเพอร์คัชชัน มีที่มาจากภาษาละตินว่า "percussio" ซึ่งมีความหมายว่า"ตี" ในภาษาอังกฤษ คำว่าเพอร์คัชชันไม่ได้จำกัดการใช้เฉพาะในทางดนตรี ในภาษาไทย บางครั้งจะเรียกเครื่องเพอร์คัชชันว่า เครื่องกระทบ เครื่องตี หรือเครื่องเคาะ รวมถึงเครื่องให้จังหวะ และเครื่องประกอบจังหว.

ใหม่!!: กาชีรอลาและเพอร์คัชชัน · ดูเพิ่มเติม »

เครื่องดนตรี

รื่องดนตรี คือ อุปกรณ์ที่สร้างขึ้นมา หรือปรับจากอุปกรณ์อื่น ๆ เพื่อใช้งานสำหรับการผลิตเสียงดนตรี หรือสร้างเสียงสำหรับใช้ประกอบในการร้องรำทำเพลง โดยหลักการแล้ว อุปกรณ์ใดก็ตามที่สามารถนำมาใช้ผลิตเสียงดนตรี ย่อมเรียกว่า เครื่องดนตรี ได้ทั้งสิ้น ผู้ที่ใช้เครื่องดนตรีนั้น เรียกว่านักดนตรี.

ใหม่!!: กาชีรอลาและเครื่องดนตรี · ดูเพิ่มเติม »

27 กันยายน

วันที่ 27 กันยายน เป็นวันที่ 270 ของปี (วันที่ 271 ในปีอธิกสุรทิน) ตามปฏิทินสุริยคติแบบเกรกอเรียน เมื่อถึงวันนี้จะยังเหลือวันอีก 95 วันในปีนั้น.

ใหม่!!: กาชีรอลาและ27 กันยายน · ดูเพิ่มเติม »

28 เมษายน

วันที่ 28 เมษายน เป็นวันที่ 118 ของปี (วันที่ 119 ในปีอธิกสุรทิน) ตามปฏิทินสุริยคติแบบเกรกอเรียน เมื่อถึงวันนี้จะยังเหลือวันอีก 247 วันในปีนั้น.

ใหม่!!: กาชีรอลาและ28 เมษายน · ดูเพิ่มเติม »

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »