โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ติดตั้ง
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

กระแตเหนือและอันดับกระแต

ทางลัด: ความแตกต่างความคล้ายคลึงกันค่าสัมประสิทธิ์การเปรียบเทียบ Jaccardการอ้างอิง

ความแตกต่างระหว่าง กระแตเหนือและอันดับกระแต

กระแตเหนือ vs. อันดับกระแต

กระแตเหนือ (Northern treeshrew) เป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมขนาดเล็กชนิดหนึ่ง อยู่ในอันดับกระแต (Scandentia) ในวงศ์ Tupaiidae จัดเป็นกระแต 1 ใน 2 ชนิดที่พบได้ในประเทศไทย นอกเหนือจากกระแตใต้ หรือกระแตธรรมดา (T. glis) มีลักษณะคล้ายคลึงกัน แต่กระแตเหนือมีขนสีน้ำตาลเทา ในขณะที่กระแตใต้จะมีขนสีออกน้ำตาลแดง กระแตใต้ตัวเมียมีเต้านม 6 เต้า ขณะที่กระแตเหนือมีเต้านม 4 เต้า มีความยาวตั้งแต่ปลายจมูกจนถึงรูทวาร 13.5-20.5 เซนติเมตร มีอายุยืนเต็มที่ประมาณ 11 ปี พบกระจายพันธุ์ตั้งแต่ประเทศอินเดีย, พม่า, จีนตอนใต้ และกลุ่มประเทศอินโดจีน ในประเทศไทยพบทั่วทุกภาค ยกเว้นภาคใต้จะพบได้เฉพาะบริเวณเหนือคอคอดกระขึ้นไปเท่านั้น. ฟันของกระแต กระแต (1920.) เป็นอันดับของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมขนาดเล็กอันดับหนึ่ง ใช้ชื่ออันดับว่า Scandentia กระแต มีลักษณะโดยรวมคล้ายกับกระรอก ซึ่งเป็นสัตว์ที่อยู่ในอันดับสัตว์ฟันแทะ (Rodentia) รวมทั้งมีพฤติกรรมความเป็นอยู่ที่คล้ายกัน หากแต่กระแตมีปากยื่นยาวกว่ากระรอก มีฟันเล็กหลายซี่ ไม่ได้เป็นฟันแทะ แบ่งออกเป็นฟันตัด 4 ซี่ ที่ขากรรไกรบน และ 6 ซี่ที่ขากรรไกรล่าง สามรถเขียนเป็นสูตรได้ว่า จึงไม่สามารถที่จะกัดแทะผลไม้หรือไม้เปลือกแข็งอย่างกระรอกได้ และมีนิ้วที่ขาคู่หน้า 5 นิ้ว ที่เจริญและใช้ในการหยิบจับได้ดี เหมือนเช่นสัตว์ในอันดับไพรเมต (Primate) หรืออันดับวานร กระแตมีขนปกลุมลำตัวสีเขียวหรือสีน้ำตาลเหมือนกระรอก มีหางยาวประมาณ 12-19 เซนติเมตร กระแต นั้นหากินทั้งบนพื้นดิน โคนต้นไม้ และบนต้นไม้ กินได้ทั้งพืช และสัตว์เล็ก ๆ อย่าง แมลง หรือหนอน เป็นอาหาร โดยมากจะหากินในเวลากลางคืน และอาศัยอยู่ตามลำพังเพียงตัวเดียว แต่บางครั้งก็พบอยู่ด้วยกัน 2-3 ตัว เป็นฝูงเล็ก ๆ ออกลูกครั้งละ 2-3 ตัว โดยที่ก็ตกเป็นอาหารของสัตว์กินเนื้อขนาดใหญ่กว่า เช่น ชะมด หรืออีเห็น, แมวป่า หรือนกล่าเหยื่อ อย่าง เหยี่ยว หรืออินทรี ด้วย กระแต กระจายพันธุ์อยู่ทั่วไปในป่าทวีปเอเชียแถบเอเชียใต้และเอเชียอาคเนย์ มีทั้งหมด 19 ชนิด 5 สกุล แบ่งออกได้เป็น 2 วงศ์ (ดูในตาราง) พบในประเทศไทย 5 ชนิด คือ กระแตเหนือ (Tupaia belangeri) และกระแตใต้ หรือกระแตธรรมดา (T. glis), กระแตเล็ก (T. minor), กระแตหางขนนก (Ptilocercus lowii) และกระแตหางหนู (Dendrogale murina) เดิม กระแตเคยถูกจัดรวมอยู่อันดับเดียวกับอันดับสัตว์กินแมลง (Insectivora) เช่น หนูผี แต่ปัจจุบันได้ถูกแบ่งออกเป็นอันดับต่างหาก และกระแตถูกสันนิษฐานว่ามีบรรพบุรุษร่วมกันกับอันดับไพรเมตด้วย ด้วยมีนิ้วที่เท้าหน้าคล้ายคลึงกัน โดยวิวัฒนาการแยกออกจากกันในยุคอีโอซีนตอนกลาง.

ความคล้ายคลึงกันระหว่าง กระแตเหนือและอันดับกระแต

กระแตเหนือและอันดับกระแต มี 8 สิ่งที่เหมือนกัน (ใน ยูเนี่ยนพีเดีย): กระแตใต้วงศ์กระแตสัตว์สัตว์มีแกนสันหลังสัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนมสีน้ำตาลสปีชีส์เมตร

กระแตใต้

กระแตใต้ หรือ กระแตธรรมดา (common treeshrew, southern treeshrew) เป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมขนาดเล็กชนิดหนึ่ง ในอันดับกระแต (Scandentia) มีรูปร่างทั่วไปคล้ายกับกระรอก มีขนสีน้ำตาลแกมเขียว ส่วนใบหน้าแหลมยาว มีนิ้วที่เท้าหน้า 5 นิ้ว หางเรียวยาวเป็นพู่ มีเส้นขีดที่ไหล่ ลำตัวยาวประมาณ 17-24 เซนติเมตร หางยาว 17-24 เซนติเมตร ตัวเมียมีเต้านม 4 เต้า กระแตใต้ เป็นหนึ่งในกระแตที่พบได้ในประเทศไทย พบกระจายพันธุ์ตั้งแต่คอคอดกระลงไปตลอดแหลมมลายู จนถึงอินโดนีเซีย เป็นสัตว์ที่กินอาหารได้หลากหลายทั้งพืช, เมล็ดพืช, ผลไม้ และแมลงชนิดต่าง ๆ หากินได้ทั้งบนพื้นดิน, โคนต้นไม้ และบนต้นไม้ พบได้ในภูมิประเทศที่หลากหลายทั้งป่าดิบทึบ และสวนสาธารณะหรือสวนผลไม้ในชุมชนของมนุษ.

กระแตเหนือและกระแตใต้ · กระแตใต้และอันดับกระแต · ดูเพิ่มเติม »

วงศ์กระแต

วงศ์กระแต (Treeshrew) เป็นวงศ์ของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมขนาดเล็ก ในอันดับกระแต (Scandentia) วงศ์หนึ่ง ใช้ชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Tupaiidae มีลักษณะทั่วไปคล้ายกับกระรอก ซึ่งอยู่ในอันดับสัตว์ฟันแทะ (Rodentia) ซึ่งเป็นสัตว์ต่างอันดับกัน แต่ไม่มีฟันเป็นฟันแทะเหมือนกระรอก มีส่วนหน้าและจมูกยื่นแหลมยาวกว่า นิ้วเท้าหน้ามีทั้งหมด 5 นิ้ว และมีลักษณะคล้ายกับนิ้วของไพรเมต (Primate) หรือลิงมากกว่ากระรอก ใช้ประโยชน์ในการหยิบจับได้ดีกว่า มีพฤติกรรมการเลี้ยงลูกที่แปลก คือ หลังจากออกลูกแล้ว กระแตตัวแม่จะให้นมลูกอ่อนจนตัวด้วยเป่งไปน้ำนม ซึ่งมากถึงร้อยละ 50 ของน้ำหนักตัว หลังจากนั้นก็จะทิ้งลูกไปนานถึง 48 ชั่วโมงก่อนที่จะวกกลับมาให้นมจนเป่งแบบเดิมอีก นมของกระแตมีสัดส่วนไขมันสูงเป็นพิเศษ (ราวร้อยละ 26) ซึ่งทำให้ลูกกระแตรักษาอุณหภูมิร่างกายไว้ได้ที่ 37 องศาเซลเซียส โดยไม่ต้องพึ่งความอบอุ่นจากแม่ นอกจากนี้ยังมีโปรตีนมากถึงร้อยละ 10 ลูกกระแตสามารถออกจากรังได้ขณะที่มีอายุเพียง 4 สัปดาห์ มีการกระจายพันธุ์ทั่วไปในภูมิภาคเอเชียใต้และเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ หากินทั้งพืชและสัตว์ขนาดเล็ก พบได้ทั้งในป่าดิบ, ชุมชนของมนุษย์ พื้นที่เกษตรกรรม เช่น สวนผลไม้ หรือสวนสาธารณะ ปัจจุบันมีการแบ่งออกเป็นทั้งหมด 4 สกุล (ดูในตาราง) พบทั้งหมด 19 ชนิด ในประเทศไทยพบได้ 4 ชนิด คือ กระแตเหนือ (Tupaia belangeri), กระแตเล็ก (T. minor), กระแตใต้ (T. glis) และกระแตหางหนู (Dendrogale murina).

กระแตเหนือและวงศ์กระแต · วงศ์กระแตและอันดับกระแต · ดูเพิ่มเติม »

สัตว์

ัตว์ (Animal) เป็นสิ่งมีชีวิตยูแคริโอตหลายเซลล์ในอาณาจักร Animalia (หรือเรียก เมตาซัว) แผนกาย (body plan) ของพวกมันสุดท้ายคงที่เมื่อพัฒนา แม้สัตว์บางชนิดมีกระบวนการการเปลี่ยนสัณฐานภายหลังในช่วงชีวิต สัตว์ส่วนใหญ่เคลื่อนที่ได้ สัตว์ทุกชนิดต้องกินสิ่งมีชีวิตอื่นหรือผลิตภัณฑ์ของสิ่งมีชีวิตเพื่อการดำรงชีพ (สิ่งมีชีวิตสร้างอาหารเองไม่ได้) ไฟลัมสัตว์ที่รู้จักกันดีที่สุดปรากฏในบันทึกฟอสซิลเป็นสปีชีส์ภาคพื้นสมุทรระหว่างการระเบิดแคมเบรียน (Cambrian explosion) ประมาณ 542 ล้านปีก่อน สัตว์แบ่งเป็นกลุ่มย่อยหลายกลุ่ม บางกลุ่ม เช่น สัตว์มีกระดูกสันหลัง (นก สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม สัตว์สะเทินน้ำสะเทินบก สัตว์เลื้อยคลาน ปลา) มอลลัสกา (หอยกาบ หอยนางรม ปลาหมึก หมึกสาย หอยทาก) สัตว์ขาปล้อง (กิ้งกือ ตะขาบ แมลง แมงมุม แมงป่อง ปู ลอบสเตอร์ กุ้ง) สัตว์พวกหนอนปล้อง (ไส้เดือนดิน ปลิง) ฟองน้ำ และแมงกะพรุน.

กระแตเหนือและสัตว์ · สัตว์และอันดับกระแต · ดูเพิ่มเติม »

สัตว์มีแกนสันหลัง

ัตว์มีแกนสันหลัง คือสัตว์ในไฟลัมคอร์ดาตา พวกมันจะมีแกนสันหลัง ใยประสาทส่วนหลังกลวง ช่องคอหอย หลอดเส้นประสาทกลวงส่วนหลัง และหางหลังทวารหนัก ในช่วงหนึ่งของวงจรชีวิต สัตว์มีแกนสันหลังเป็นพวกดิวเทอโรสโตม กล่าวคือในช่วงระยะตัวอ่อน ทวารหนักเกิดก่อนปาก และเป็นซีโลเมตที่มีสมมาตรด้านข้าง ในกรณีของสัตว์มีแกนสันหลังที่มีกระดูกสันหลัง แกนสันหลังจะถูกแทนที่โดยกระดูกสันหลังในช่วงเจริญเติบโต และพวกมันอาจจะมีปล้องตามร่างกาย ในอนุกรมวิธาน ตัวไฟลัมเองประกอบไปด้วยไฟลัมย่อยเวอร์เตบราตา (ซึ่งประกอบด้วย ปลา สัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำ สัตว์เลื้อยคลาน สัตว์ปีก และสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม) ทูนิคาตา (ซึ่งรวมทั้งซาล์ปและเพรียงหัวหอม) และเซฟาโลคอร์ดาตา ประกอบด้วยแหลนทะเล และยังรวมถึงบางกลุ่มที่สูญพันธุ์ไปแล้ว บางครั้งกลุ่มสัตว์มีกระดูกสันหลังถูกจัดรวมอยู่กับกลุ่มสัตว์มีกระโหลกศีรษะ สัตว์มีแกนสันหลังมีมากกว่า 65,000 สปีชีส์ที่ยังมีชีวิตอยู่ กว่าครึ่งเป็นพวกปลากระดูกแข็ง วาฬและเหยี่ยวเพเรกริน สัตว์ที่มีขนาดใหญ่ที่สุดและเคลื่อนที่เร็วที่สุดตามลำดับ เป็นสัตว์มีแกนสันหลังเช่นเดียวกันกับมนุษย์ ซากดึกดำบรรพ์ของสัตว์มีแกนสันหลังยุคแรกๆ มีอายุย้อนไปถึงในช่วงการระเบิดยุคแคมเบรียน.

กระแตเหนือและสัตว์มีแกนสันหลัง · สัตว์มีแกนสันหลังและอันดับกระแต · ดูเพิ่มเติม »

สัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนม

ัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนม (Mammalia) จัดอยู่ในไฟลัมสัตว์มีแกนสันหลัง โดยคำว่า Mammalia มาจากคำว่า Mamma ที่มีความหมายว่า "หน้าอก" เป็นกลุ่มของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนม ที่มีการวิวัฒนาการและพัฒนาร่างกายที่ดีหลากหลายประการ รวมทั้งมีระบบประสาทที่เจริญก้าวหน้า สามารถดำรงชีวิตได้ในทุกสภาพสิ่งแวดล้อมสัตววิทยา (สัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนม), บพิธ-นันทพร จารุพันธุ์, สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, 2547, หน้า 411 มีขนาดของร่างกายและรูปพรรณสัณฐานที่แตกต่างกันออกไป รวมถึงการทำงานของระบบต่าง ๆ ภายในร่างกาย ที่มีการปรับเปลี่ยนไปตามลักษณะของสายพันธุ์ มีลักษณะเด่นคือมีต่อมน้ำนมที่มีเฉพาะในเพศเมียเท่านั้น เพื่อผลิตน้ำนมเพื่อใช้เลี้ยงลูกวัยแรกเกิด เป็นสัตว์เลือดอุ่น มีขนเป็นเส้น ๆ (hair) หรือขนอ่อน (fur) ปกคลุมทั่วทั้งร่างกาย เพื่อเป็นการรักษาอุณหภูมิในร่างกาย ยกเว้นสัตว์น้ำที่ไม่มีขน สัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนม ไม่จัดอยู่ในประเภทสัตว์กลุ่มใหญ่ คือมีจำนวนประชากรประมาณ 4,500 ชนิด ซึ่งถือว่าเป็นปริมาณน้อยมากเมื่อเทียบกับนก ที่มีประมาณ 9,200 ชนิด และปลาอีกประมาณ 20,000 ชนิด รวมทั้งแมลงอีกประมาณ 800,000 ชนิด ส่วนใหญ่เป็นสัตว์บก เช่น สุนัข ช้าง ลิง เสือ สิงโต จิงโจ้ เม่น หนู ฯลฯ สำหรับสัตว์น้ำที่จัดเป็นเลี้ยงลูกด้วยน้ำนม ได้แก่ โลมา วาฬ มานาทีและพะยูน แต่สำหรับสัตว์ปีกประเภทเดียวที่เลี้ยงลูกด้วยน้ำนมคือค้างคาว ซึ่งกระรอกบินและบ่างนั้น ไม่จัดอยู่ในประเภทของสัตว์ปีก เนื่องจากใช้ปีกในการร่อนไปได้เพียงแค่ระยะหนึ่งเท่านั้น สัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนมส่วนใหญ่ออกลูกเป็นตัว ยกเว้นตุ่นปากเป็ดและอีคิดนาเท่านั้นที่ออกลูกเป็น.

กระแตเหนือและสัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนม · สัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนมและอันดับกระแต · ดูเพิ่มเติม »

สีน้ำตาล

ีน้ำตาล (Brown) เป็นสีชนิดหนึ่งที่คล้ายกับสีของลำต้นของต้นไม้ ออกสีส้มแก่ๆ ผสมกับสีเขียวไปด้วย พบเห็นได้ทั่วไป เช่น กิ่งและลำต้นของต้นไม้ เป็นต้น เป็นสีที่ไม่ค่อยจะสะท้อนแสงเท่าไรนัก จัดอยู่ในกลุ่มจำพวกสีเย็น.

กระแตเหนือและสีน้ำตาล · สีน้ำตาลและอันดับกระแต · ดูเพิ่มเติม »

สปีชีส์

ในวิชาชีววิทยา ชนิด หรือทับศัพท์ว่า สปีชีส์ (species, ย่อ: sp., รูปพหูพจน์ย่อ: spp.) เป็นหน่วยการจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์พื้นฐานและอันดับอนุกรมวิธานหนึ่ง มักนิยามว่า สปีชีส์เป็นกลุ่มอินทรีย์ใหญ่สุดที่สามารถสืบพันธุ์แล้วออกลูกที่สืบพันธุ์ได้ การมีลักษณะปรับตัวเฉพาะบางท้องถิ่นอาจแบ่งสปีชีส์ต่ออีกได้เป็น "ชื่อต่ำกว่าระดับชนิด" (infraspecific taxa) เช่น ชนิดย่อย (ในทางพฤกษศาสตร์ มีใช้คำอื่น เช่น พันธุ์ (variety) พันธุ์ย่อยและแบบ (forma)).

กระแตเหนือและสปีชีส์ · สปีชีส์และอันดับกระแต · ดูเพิ่มเติม »

เมตร

มตร อักษรย่อ ม. (mètre → metre meter The Metric Conversion Act of 1975 gives the Secretary of Commerce of the US the responsibility of interpreting or modifying the SI for use in the US., m) เป็นหน่วยฐานเอสไอของความยาวในหน่วยเอสไอ แต่เดิมนิยามว่าหนึ่งเมตรเท่ากับ 1/10,000,000 ของระยะทางจากเส้นศูนย์สูตรของโลกไปยังขั้วโลกเหนือวัดจากเส้นรอบวงที่ผ่านเมืองปารีส แต่เนื่องจากความแม่นยำทางมาตรวิทยา ที่มีมากขึ้น ตั้งแต่ปีพ.ศ. 2526 ความยาวหนึ่งเมตรจึงถูกนิยามไว้ให้เท่ากับความยาวที่แสงเดินทางได้ในสุญญากาศ ในช่วงเวลา วินาที.

กระแตเหนือและเมตร · อันดับกระแตและเมตร · ดูเพิ่มเติม »

รายการด้านบนตอบคำถามต่อไปนี้

การเปรียบเทียบระหว่าง กระแตเหนือและอันดับกระแต

กระแตเหนือ มี 20 ความสัมพันธ์ขณะที่ อันดับกระแต มี 42 ขณะที่พวกเขามีเหมือนกัน 8, ดัชนี Jaccard คือ 12.90% = 8 / (20 + 42)

การอ้างอิง

บทความนี้แสดงความสัมพันธ์ระหว่าง กระแตเหนือและอันดับกระแต หากต้องการเข้าถึงบทความแต่ละบทความที่ได้รับการรวบรวมข้อมูลโปรดไปที่:

Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »