โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ฟรี
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

โทะโยะโตะมิ ฮิเดะโยะชิ

ดัชนี โทะโยะโตะมิ ฮิเดะโยะชิ

ทโยโตมิ ฮิเดโยชิ (2 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1537 – 18 กันยายน ค.ศ. 1598) เป็นไดเมียวคนสำคัญของญี่ปุ่นในยุคอะซุชิ-โมะโมะยะมะ เนื่องจากได้สร้างวีรกรรมต่อจากโอดะ โนบุนาง.

52 ความสัมพันธ์: ชูโงกุฟุกุโอะกะ (เมือง)พ.ศ. 2126พระเจ้าซ็อนโจแห่งโชซ็อนมะเอะดะ โทะชิอิเอะยุทธการที่เซะกิงะฮะระยุคอาซูจิ–โมโมยามะยุคเอะโดะยุคเซ็งโงกุรัฐบาลเอโดะราชวงศ์หมิงราชวงศ์โชซ็อนอะซะอิ นะงะมะซะอะเกะชิ มิสึฮิเดะอิชิดะ มิสึนะริอี ซุน-ชินจักรพรรดิว่านลี่จักรพรรดิโกะ-โยเซจังหวัดฟูกูอิจังหวัดกิฟุดะเตะ มะซะมุเนะคะโต คิโยะมะซะคันโตคุโระดะ โยะชิตะกะตระกูลมินะโมะโตะตระกูลโฮโจซากูระปราสาทโอซากะปราสาทเอโดะปักกิ่งปูซานนางาซากินาโงยะแคว้นซัตสึมะโมริ เทะรุโมะโตะโยะโดะ โดะโนะโอะอิชิโจโซะคะเบะ โมะโตะจิกะโทกูงาวะ อิเอยาซุโทะโยะโตะมิ ฮิเดะโยะริโทโฮกุโคะโนะเอะ ซะกิฮิซะโตเกียวโซลไดโจไดจิงไดเมียวเกาะชิโกกุเกาะคีวชูเคียวโตะเซ็สโซและคัมปะกุ...เซ็ปปุกุเปียงยาง ขยายดัชนี (2 มากกว่า) »

ชูโงกุ

ูโงกุ หรือ ชูโกกุ เป็นภูมิภาคทางส่วนปลายสุดของเกาะฮนชู โดยทิศเหนือติดทะเลญี่ปุ่น ทิศใต้ติดกับทะเลในทะเลเซโตะใน (Seto Naikai) ซึ่งเป็นผืนน้ำขนาด 9,500 ตารางกิโลเมตร มีเกาะเล็ก ๆ ระเกะระกะกว่า 1,000 เกาะ และได้รับการประกาศให้เป็นอุทยานแห่งชาติแห่งแรกของญี่ปุ่น ชูโงกุมีประชากรอาศัยอยู่ประมาณ 7.8 ล้านคน จากทั้งหมด 5 จังหวัด ซึ่งแบ่งเป็นสองด้านโดยเทือกเขาชูโงกุ ทางตอนกลางของภูมิภาค ด้านที่อยู่ทางฝั่งทะเลญี่ปุ่นเรียกว่า San-In ซึ่งแปลว่าร่มเงาของภูเขา ได้แก่จังหวัดทตโตริ ชิมาเนะ และตอนเหนือของจังหวัดยามางูจิ ภูมิอากาศของดินแดนทางด้านทะเลญี่ปุ่นนี้ มีแสงแดดจ้าและสดใสในฤดูร้อน ฤดูหนาวอากาศหนาวเย็น มรสุมจากทางตะวันตกเฉียงเหนือทำให้มีหมอกจัดและเมฆหนาทึบ ส่วนอีกด้านหนึ่งเรียกว่า San-Yo คือทางฝั่งทะเลใน ประกอบไปด้วยจังหวัดโอกายามะ ฮิโรชิมะ และทางตอนใต้ของจังหวัดยามางูจินั้นมีอากาศอุ่นสบายตลอดปี ปริมาณน้ำฝนมีไม่มาก มีแสงแดดจ้าเป็นส่วนใหญ่นอกจากเมืองฮิโรชิมะที่เป็นที่รู้จักกันดี เนื่องจากผลของการทิ้งระเบิดปรมาณูเมื่อสงครามโลกครั้งที่ 2 แล้ว ภูมิภาคนี้ยังมีชื่อเสียงในเรื่องของปราสาท สถาปัตยกรรมและศิลปหัตถกรรมโบราณ รวมถึงเนินทรายที่เลื่องชื่อแห่งทตโตริก็อยู่ที่ภูมิภาคนี้.

ใหม่!!: โทะโยะโตะมิ ฮิเดะโยะชิและชูโงกุ · ดูเพิ่มเติม »

ฟุกุโอะกะ (เมือง)

นครฟูกูโอกะ เป็นเมืองเอกของจังหวัดฟุกุโอะกะ ตั้งอยู่ริมชายฝั่งทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือของเกาะคีวชู ประเทศญี่ปุ่น ในปี 2013 ฟุกุโอะกะได้รับการจัดอันดับว่าเป็นเมืองน่าอยู่อันดับ 12 ของโลก จากนิตยสาร Monocle จากการที่ในเขตตัวเมืองมีพื้นที่สีเขียวจำนวนมาก นอกจากนี้ฟุกุโอะกะยังเป็นเมืองที่ได้รับความนิยมจากนักท่องเที่ยวที่สุดในเกาะคีวชู ซึ่งรองลงมาคือนครคิตะกีวชู และยังถือเป็นเมืองที่ใหญ่ที่สุดทางตะวันตกจากเขตมหานครเคฮันชิง จากการที่เป็นเมืองขนาดใหญ่และมีความสำคัญ ทำให้ฟุกุโอะกะได้รับสถานะเป็นนครโดยรัฐบัญญัติ เมื่อ 1 เมษายน 1972 ด้วยประชากรในเขตเมืองและปริมณฑลรวมกว่า 2.5 ล้านคน (สำมะโนปี 2005) ซึ่งทั้งฟุกุโอะกะ–คิตะกีวชู ต่างเป็นพื้นที่อุตสาหกรรมหนัก ซึ่งเป็นรายได้หลักของเมือง เมื่อกรกฎาคม 2011 ฟุกุโอะกะมีฐานะเป็นเมืองใหญ่อันดับ 6 ของญี่ปุ่น ซึ่งแซงหน้านครใหญ่อย่างเคียวโตะ นับเป็นครั้งแรกที่เมืองทางตะวันตกของภาคคันไซ สามารถมีประชากรมากกว่าเคียวโตะ นับตั้งแต่ก่อตั้งเมืองเคียวโตะเมื่อปี..

ใหม่!!: โทะโยะโตะมิ ฮิเดะโยะชิและฟุกุโอะกะ (เมือง) · ดูเพิ่มเติม »

พ.ศ. 2126

ทธศักราช 2126 ใกล้เคียงกั.

ใหม่!!: โทะโยะโตะมิ ฮิเดะโยะชิและพ.ศ. 2126 · ดูเพิ่มเติม »

พระเจ้าซ็อนโจแห่งโชซ็อน

ระเจ้าซ็อนโจ (선조 宣祖) เป็นพระมหากษัตริย์ราชวงศ์โชซ็อนองค์ที่ 14 (พ.ศ. 2110 ถึง พ.ศ. 2151) รัชสมัยของพระองค์เป็นเวลาที่วิกฤตที่สุดในประวัติศาสตร์เกาหลีและมีเหตุการณ์สำคัญหลายอย่าง ทั้งการรุกรานของญี่ปุ่นและการแบ่งฝ่ายของกลุ่มซานิมออกเป็นฝ่ายตะวันออก และฝ่ายตะวันตก ที่จะส่งผลต่อการเมืองอาณาจักรโชซ็อนไปอีกหลายร้อยปี แม้ว่าในสมัยของพระเจ้าซ็อนโจจะมีผู้มีความสามารถมากมาย เช่น ลีซุนชิน ลีฮวาง ลีอี แต่ความแตกแยกก็ทำให้โชซ็อนต้องเผชิญกับศึกหนัก องค์ชายฮาซง เป็นพระโอรสขององค์ชายทอกกึง ซึ่งเป็นพระโอรสของพระเจ้าจุงจงกับพระสนมอันชางบิน เป็นองค์ชายธรรมดาที่ห่างไกลจากราชบัลลังก์และไม่มีขุนนางใดสนับสนุนให้มีอำนาจ แต่ในพ.ศ. 2110 พระเจ้าเมียงจง สิ้นพระชนม์โดยที่ไม่มีทายาท บรรดาขุนนางจึงสรรหาพระราชวงศ์ที่พระเยาว์มาขึ้นครองราชย์ องค์ชายฮาซงจึงถูกเลือกและขึ้นครองราชย์เป็นพระเจ้าซ็อนโจ และเลื่อนสถานะของพระบิดาและพระมารดาเป็นแทวอนกุนและแทกุนบูอิน.

ใหม่!!: โทะโยะโตะมิ ฮิเดะโยะชิและพระเจ้าซ็อนโจแห่งโชซ็อน · ดูเพิ่มเติม »

มะเอะดะ โทะชิอิเอะ

มะเอะดะ โทะชิอิเอะ (15 มกราคม 1538 – 27 เมษายน 1599) ขุนพลคนสำคัญระดับแกนนำของ โอะดะ โนะบุนะงะ ในช่วง ยุคอะซุชิโมะโมะยะมะ ถึง ยุคเซ็งโงะกุ พ่อของเขาคือ มะเอะดะ โทะชิมะซะ เป็นบุตรคนที่ 4 จากพี่น้องทั้งหมด 7 คนมีชื่อเมื่อวัยเด็กว่า อินุชิโยะ หมวดหมู่:ซะมุไร หมวดหมู่:ไดเมียว หมวดหมู่:บุคคลในยุคมุโระมะจิ หมวดหมู่:บุคคลในยุคอะซุชิโมะโมะยะมะ หมวดหมู่:บุคคลจากนะโงะยะ หมวดหมู่:ข้ารับใช้ตระกูลโอะดะ หมวดหมู่:ข้ารับใช้ตระกูลโทะโยะโตะมิ.

ใหม่!!: โทะโยะโตะมิ ฮิเดะโยะชิและมะเอะดะ โทะชิอิเอะ · ดูเพิ่มเติม »

ยุทธการที่เซะกิงะฮะระ

ทธการเซะกิงะฮะระ เป็นยุทธการแตกหักเกิดขึ้นเมื่อวันที่ 21 ตุลาคม..

ใหม่!!: โทะโยะโตะมิ ฮิเดะโยะชิและยุทธการที่เซะกิงะฮะระ · ดูเพิ่มเติม »

ยุคอาซูจิ–โมโมยามะ

อาซูจิ–โมโมยามะ เป็นยุคที่เริ่มตั้งแต..

ใหม่!!: โทะโยะโตะมิ ฮิเดะโยะชิและยุคอาซูจิ–โมโมยามะ · ดูเพิ่มเติม »

ยุคเอะโดะ

อะโดะ หรือยุคที่เรียกว่า ยุคโทะกุงะวะ (徳川時代 Tokugawa-jidai) ค.ศ. 1603 - ค.ศ. 1868 คือยุคที่มีไดเมียวตระกูลโทะกุงะวะเป็นโชกุน เริ่มเมื่อโทะกุงะวะ อิเอะยะซุ ได้รวบอำนาจและตั้งรัฐบาลโชกุนขึ้นที่เอโดะ (ปัจจุบันคือโตเกียว) ใน..

ใหม่!!: โทะโยะโตะมิ ฮิเดะโยะชิและยุคเอะโดะ · ดูเพิ่มเติม »

ยุคเซ็งโงกุ

ซ็งโงกุ เป็นช่วงเวลาของความไม่สงบใน ญี่ปุ่น อันเกิดจากอำนาจการปกครองของ โชกุนตระกูลอาชิกางะในยุคมูโรมาจิเสื่อมลง ทำให้บรรดาไดเมียวผู้ปกครองแคว้นต่าง ๆ ในญี่ปุ่นต่างพากันตั้งตนเป็นอิสระ โดยเฉพาะไดเมียวที่อยู่ห่างจากเมืองหลวงเกียวโตมาก และทำสงครามกันเอง ทำให้ญี่ปุ่นลุกเป็นไฟ บ้านเมืองไม่มีขื่อแป โชกุนที่เกียวโตไม่สามารถทำอะไรได้เพราะเป็นเพียงหุ่นเชิดของไดเมียวที่มีอำนาจ สมัยเซ็งโงกุเป็นสมัยแห่งวีรบุรุษ โดยเฉพาะวีรบุรุษทั้งสามที่รวมประเทศญี่ปุ่นให้กลับเป็นหนึ่งเดียวอีกครั้งเป็นการสิ้นสุดสมัยเซ็งโงกุ ได้แก่ โอดะ โนบูนางะ, โทโยโตมิ ฮิเดโยชิ, และ โทกูงาวะ อิเอยาซุ อักษรคันจิของคำว่ายุคเซ็งโงกุ ตรงกับคำว่า "ยุคจ้านกว๋อ" ในภาษาจีน หมายถึง "ยุครณรัฐ" ซึ่งเกิดขึ้นอยู่ในช่วงระหว่าง 477-222 ปีก่อน..

ใหม่!!: โทะโยะโตะมิ ฮิเดะโยะชิและยุคเซ็งโงกุ · ดูเพิ่มเติม »

รัฐบาลเอโดะ

รัฐบาลเอโดะ หรือ รัฐบาลโชกุนโทกูงาวะ เป็นฝ่ายบริหารของประเทศญี่ปุ่นซึ่งใช้ระบอบศักดินา สถาปนาโดยโทกูงาวะ อิเอะยะสุ (徳川家康 Tokugawa Ieyasu) มีผู้ปกครองสูงสุดเป็นโชกุน (将軍 shōgun) ซึ่งต้องมาจากตระกูลโทกูงาวะ (徳川氏 Tokugawa-shi) เท่านั้น ในสมัยที่ประเทศญี่ปุ่นถูกปกครองโดยรัฐบาลโชกุนนั้น จะเรียกว่ายุคเอโดะ (江戸時代 edo-jidai) ตามชื่อเมืองเอโดะ ซึ่งรัฐบาลโชกุนสถาปนาให้เป็นเมืองหลวงแห่งใหม่ ปัจจุบัน คือกรุงโตเกียว (東京 Tōkyō) มีปราสาทเอโดะ (江戸城 Edo-jō) เป็นศูนย์กลางการปกครองตั้งแต่ ค.ศ. 1603 - 1868 จนกระทั่งถูกสมเด็จพระจักรพรรดิเมจิ (明治天皇 Meiji-tennō) ล้มล้างไปในการปฏิรูปสมัยเมจิ (明治維新 Meiji Ishin) หลังจากยุคเซงโงะกุ (戦国時代 Sengoku-jidai) หรือยุคไฟสงคราม โอดะ โนะบุนะงะ (織田 信長 Oda Nobunaga) และโทะโยะโตะมิ ฮิเดะโยะชิ (豊臣 秀吉 Toyotomi Hideyoshi) ได้ร่วมกันรวมอำนาจสู่ศูนย์กลาง และตั้งเป็นรัฐบาลกลางขึ้นอีกครั้งในยุคอะซึจิ-โมะโมะยะมะ (あづちももやまじだい Azuchi momoyama jidai) ซึ่งเป็นยุคสั้นๆ ก่อนยุคเอโดะ ต่อมา หลังจากยุทธการเซะกิงะฮะระ (関ヶ原の戦い Sekigahara no Tatakai) ซึ่งเป็นการรบครั้งใหญ่ในค.ศ. 1600 การปกครองและอำนาจทั้งหมด ได้ตกอยู่ในมือของโทกูงาวะ อิเอะยะสุโดยเบ็ดเสร็จ และสถาปนาตนเองเป็นโชกุนในปี ค.ศ. 1603 ซึ่งเป็นไปตามประเพณีโบราณ ที่ผู้เป็นโชกุนจะต้องสืบเชื้อสายจากต้นตระกูลมินะโมะโตะ (源 Minamoto) ในยุคของโทกูงาวะ ต่างจากยุคโชกุนก่อนๆ คือมีการนำระบบชนชั้นที่เริ่มใช้โดยโทะโยะโตะมิ ฮิเดะโยะชิ มาใช้อีกครั้งอย่างเข้มงวด โดยชนชั้นนักรบ หรือซามูไร (侍 Samurai) อยู่บนสุด ตามด้วยชาวนา ช่างฝีมือ และพ่อค้า การใช้ระบบชนชั้นอย่างเข้มงวดและไม่ยืดหยุ่นได้ทำให้เกิดจลาจลมาตลอดสมัย ภาษีที่เรียกเก็บจากชนชั้นชาวนานั้น อยู่ในอัตราคงที่โดยไม่คำนึงถึงอัตราเงินเฟ้อหรือการเปลี่ยนแปลงอื่นๆของค่าเงิน ส่งผลให้รายได้ภาษีที่เรียกเก็บจากชนชั้นซามูไร ผู้เป็นเจ้าของที่ดินมีมูลค่าลดลงเรื่อยๆตลอดยุค ซึ่งสาเหตุนี้ ก่อให้เกิดการเผชิญหน้าระหว่างซามูไรผู้ทรงเกียรติแต่ฐานะทางการเงินต่ำลงเรื่อยๆจากการจ่ายภาษี กับชาวนาผู้มีอันจะกิน เกิดเป็นการปะทะกันหลายต่อหลายครั้งที่เริ่มจากเหตุการณ์เล็กๆรุกลามเป็นเหตุการณ์วุ่นวาย อย่างไรก็ตาม ไม่มีสิ่งใดเปลี่ยนแปลงระบบสังคมยุคเอโดะได้ ตราบจนการเข้ามาของชาวตะวันตก เมื่อปลายคริสต์ศตวรรษที่ 19 กลุ่มไดเมียวผู้มีอำนาจ เช่น ตระกูลชิมะสึ (島津氏 Shimazu-shi) ได้ร่วมมือกับสมเด็จพระจักรพรรดิและพระบรมวงศานุวงศ์ ซึ่งในสมัยเอโดะเคยทรงเพียงศักดิ์แต่ไร้อำนาจ เพื่อโค่นล้มระบอบโชกุนในโดยสงครามโบะชิน (戊辰戦争 Boshin Sensō) ส่งผลให้เกิดการปฏิรูปเมจิโดยจักรพรรดิเมจิ รัฐบาลโชกุนโทกูงาวะถูกล้มล้างโดยสมบูรณ์ในค.ศ. 1868 โดยมีโทกูงาวะ โยชิโนบุ (徳川 慶喜 Tokugawa Yoshinobu) เป็นโชกุนคนที่ 15 และเป็นโชกุนคนสุดท้ายของญี่ปุ่น จากนั้น ญี่ปุ่นก็เข้าสู่ยุคเมจิ (明治時代 Meiji-jidai)อันมีการฟื้นฟูราชวงศ์มายังเมืองเอโดะ และเปลี่ยนชื่อเป็นกรุงโตเกียวดังเช่นปัจจุบัน.

ใหม่!!: โทะโยะโตะมิ ฮิเดะโยะชิและรัฐบาลเอโดะ · ดูเพิ่มเติม »

ราชวงศ์หมิง

ราชวงศ์หมิง หรือ ราชวงศ์เบ๋ง (ฮกเกี้ยน) หรือ ราชวงศ์เม้ง (แต้จิ๋ว) หรือเป็นที่รู้จักกันในชื่อ จักรวรรดิต้าหมิง เป็นราชวงศ์ที่ปกครองจักรวรรดิจีน ระหว่าง พ.ศ. 1911 (ค.ศ. 1368) ถึง พ.ศ. 2187 (ค.ศ. 1644) ดำรงอยู่เป็นเวลารวม 276 ปี โดยปกครองต่อจากราชวงศ์หยวนของชาวมองโกล และพ่ายแพ้ให้กับราชวงศ์ชิงของชาวแมนจูในภายหลัง ราชวงศ์หมิงเป็นราชวงศ์ที่รุ่งเรืองในด้านวัฒนธรรมเป็นอย่างมาก ในยุคนี้มีการสำรวจทางทะเลอย่างกว้างขวาง ราชวงศ์หมิงในตอนต้น (1368 - 1464) ถือเป็นอาณาจักรที่ก้าวหน้าที่สุดในโลก ณ ช่วงเวลานั้น ราชวงศ์หมิงถือเป็นหนึ่งในยุคที่ถูกจัดโดยนักวิชาการชาวตะวันตกว่ามีการปกครองที่เป็นระบบและสังคมที่มีเสถียรภาพในประวัติศาสตร์มนุษย์ชาติก่อนที่จะล่มสลาย ราชวงศ์หมิงถือเป็นราชวงศ์ที่ปกครองประเทศจีนราชวงศ์สุดท้ายที่ปกครองโดยชาวฮั่น ปฐมจักรพรรดิต้าหมิง จูหยวนจาง หรือ จักรพรรดิหงหวู่ หลังจากที่ได้ทรงประกาศปลดแอกชาวฮั่นจากภายใต้การปกครองของราชวงศ์หยวนของชาวมองโกล ได้สถาปนาราชวงศ์หมิงขึ้น พระองค์ได้ทรงพยายามปฏิรูปการปกครองอาณาจักรเสียใหม่ ทรงพยายามสร้างระบบสังคมชุมชนชนบทแบบพึ่งพาตนเอง ปฏิรูประบบราชการ, กฎหมาย จักรพรรดิหงหวู่ได้สร้างระบบที่เป็นระเบียบที่ยืดหยุ่นเปลี่ยนแปลงได้ที่จะสามารถรองรับและสนับสนุนการทหารของราชวงศ์หมิงอย่างยั่งยืน ทำให้ด้านการทหารในช่วงนั้นราชวงศ์หมิงประสบความสำเร็จมีกองทัพภาคพื้นดินเกินกว่า 1 ล้านคนและกองทัพเรือมีอู่ต่อเรือที่หนานจิงเป็นอู่ต่อเรือที่ใหญ่ที่สุดในโลกในขณะนั้น พระองค์ยังได้ทรงตระหนักถึงการลดทอนอำนาจของเหล่าขันทีในราชสำนักCrawford, Robert.

ใหม่!!: โทะโยะโตะมิ ฮิเดะโยะชิและราชวงศ์หมิง · ดูเพิ่มเติม »

ราชวงศ์โชซ็อน

ราชวงศ์โชซอน (Joseon Dynasty) หรือ ราชวงศ์อี ที่สถาปนาขึ้นภายหลังการยกสถานะของอาณาจักรโชซอนเป็นจักรวรรดิโชซอนตามพระบรมราชโองการของจักรพรรดิควังมูแห่งจักรวรรดิโชซอน (จักรพรรดิโคจง) เป็นราชวงศ์ที่ปกครองคาบสมุทรเกาหลีในระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ตั้งแต่ปี..

ใหม่!!: โทะโยะโตะมิ ฮิเดะโยะชิและราชวงศ์โชซ็อน · ดูเพิ่มเติม »

อะซะอิ นะงะมะซะ

อะซะอิ นะงะมะซะ อะซะอิ นะงะมะซะ เป็นไดเมียว ที่ใน ยุคเซ็งโงะกุ ครอบครองอยู่แถบจังหวัดโอม.

ใหม่!!: โทะโยะโตะมิ ฮิเดะโยะชิและอะซะอิ นะงะมะซะ · ดูเพิ่มเติม »

อะเกะชิ มิสึฮิเดะ

อะเกะชิ มิสึฮิเดะ เป็นขุนพลคนสำคัญของ โอะดะ โนะบุนะงะ ในยุคเซ็งโงะก.

ใหม่!!: โทะโยะโตะมิ ฮิเดะโยะชิและอะเกะชิ มิสึฮิเดะ · ดูเพิ่มเติม »

อิชิดะ มิสึนะริ

อิชิดะ มิสึนะริ เป็นขุนศึกที่รับใช้ โทะโยะโตะมิ ฮิเดะโยะชิ และเป็นผู้นำกองทัพตะวันตกใน ยุทธการเซะกิงะฮะระ อิชิดะ มิสึนะริ เกิดเมื่อค.ศ. 1559 ที่แคว้นโอมิ จังหวัดชิงะ ในปัจจุบัน เป็นบุตรชายคนรองของอิชิดะ มะซะสึงุ และมีพี่ชายคือ อิชิดะ มะสะซุมิ ตระกูลอิชิดะเป็นซะมุไรข้ารับใช้ของตระกูลอะซะอิ ซึ่งในขณะนั้นมีผู้นำคือ อะซะอิ นะงะมะสะ หลังจากที่ตระกูลอะซะอิสูญสิ้นลงเมื่อค.ศ. 1573ด้วยน้ำมือของโอะดะ โนะบุนะงะ สามพ่อลูกตระกูลอิชิดะจึงเข้ารับใช้ตระกูลโอะดะต่อมา อิชิดะ มิสึนะริ มีความสามารถทางด้านการบริหารและการคลัง ผิดกับซะมุไรร่วมสมัยโดยทั่วไปซึ่งเน้นการทหารเป็นหลัก ในสมัยการปกครองของโทะโยะโตะมิ ฮิเดะโยะชิ มิสึนะริจึงได้รับแต่งตั้งเป็นบุเกียว ซึ่งมีหน้าที่ทางด้านการบริหารปกครอง และยังได้รับการแต่งตั้งเป็นไดเมียวผู้ปกครองปราสาทซะวะยะมะ (แถบเมืองฮิโกะเนะในปัจจุบัน) ในช่วงการบุกครองเกาหลีของญี่ปุ่น (พ.ศ. 2135–2141) ไทโกฮิเดะโยะชิได้แต่งตั้งให้มิสึนะริเป็นผู้ตรวจการตรวจสอบการทำงานของบรรดาขุนศึกที่ยกทัพไปรุกรานอาณาจักรโชซอน มิสึนะริรายงานกลับมายังไทโกว่าการรุกรานนั้นไม่มีประสิทธิภาพ สร้างความไม่พอใจแก่บรรดาขุนศึกระดับสูงที่นำการรุกรานเกาหลีเป็นอย่างมาก ก่อนที่ไทโกฮิเดะโยะชิจะถึงแก่อสัญกรรมลงในค.ศ. 1598 ได้ทำการแต่งตั้งให้อิชิดะ มิสึนะริ เป็นหนึ่งในคณะ โกะบุเกียว หรือรัฐมนตรีทั้งห้า เพื่อคอยบริหารดูแลอาณาเขตของฮิเดะโยะชิในช่วงที่โทะโยะโตะมิ ฮิเดะโยะริ ผู้เป็นทายาทของฮิเดะโยะชิยังอยู่ในวัยเยาว.

ใหม่!!: โทะโยะโตะมิ ฮิเดะโยะชิและอิชิดะ มิสึนะริ · ดูเพิ่มเติม »

อี ซุน-ชิน

อี ซุน-ชิน (28 เมษายน พ.ศ. 2087 – 16 ธันวาคม พ.ศ. 2141) คือแม่ทัพเรือของเกาหลีในยุคราชวงศ์โชซ็อน ที่มีชื่อเสียงจากการนำกองทัพเรือเกาหลีเข้าต่อสู้กับกองทัพเรือญี่ปุ่น ในการรุกรานเกาหลีของญี่ปุ่น (พ.ศ. 2135-2141) ในยุคราชวงศ์โชซ็อน เขาเข้าร่วมรบในฐานะผู้บัญชาการที่ 1 แห่งจังหวัดทหารเรือคย็องซัง, ช็อลลา และชุงช็อง ราชทินนามของเขาคือ "Samdo Sugun Tongjesa" (ฮันกึล: 삼도수군통제사, ฮันจา: 三道水軍統制使) ซึ่งแปลว่า ผู้บัญชาการ 3 จังหวัดทหารเรือ ซึ่งเป็นราชทินนามสำหรับผู้ที่ครองตำแหน่ง ผู้บัญชาการหน่วยรบทางทะเลของราชวงศ์โซซอน มาจนถึง พ.ศ. 2439 อี ซุน-ชินมีชื่อเสียงด้วยการเอาชนะกองทัพญี่ปุ่นในขณะที่ฝ่ายตนมีจำนวนน้อยกว่ามากได้ และการประดิษฐ์เรือรบเต่า (คอบุกซ็อน, 거북선) ซึ่งเป็นเรือรบหุ้มเกราะโลหะลำแรกของโลกอีกด้วย เขาได้รับการยกย่องในฐานะแม่ทัพเรือไร้พ่าย และอาจหาญด้วยวีรกรรมการที่ตนนั้นถูกกระสุนปืนไฟยิงแต่มีคำสั่งให้ลูกน้องมัดตนไว้กับเสากระโดงเรือจนกว่าจะตายและให้แม่ทัพรองสวมเกราะของตนเพื่อขวัญกำลังใจของทหารเรือเกาหลีซึ่งมีเพียงไม่กี่คนในโลกนี้ที่ได้รับการยกย่องเช่นนี้ เขาเสียชีวิตในยุทธนาวีที่โนรยัง (อ่านว่า โน-รยัง) จากการถูกยิงด้วยกระสุนปืนไฟหนึ่งนัด ในวันที่16 ธันวาคม พ.ศ. 2141 ราชสำนักโชซ็อนยกย่อง เขาด้วยการพระราชทานราชทินนาม และยศให้หลายตำแหน่ง รวมทั้งชื่อที่ตั้งให้เป็นเกียรติอย่าง "ชุงมูกง" (Chungmugong,충무공, 忠武公, ขุนศึกผู้จงรัก), "ซ็อนมูอิลดึงกงชิน" (Seonmu Ildeung Gongsin, 선무일등공신, 宣武一等功臣, นายทหารผู้ควรได้รับการยกย่องชั้น1แห่งราชวงศ์โซซอน) และตำแหน่งอีก 2 คือ "ย็องอึยจ็อง" (Yeongijeong, 영의정, 領議政, Prime Minister), และ "ท็อกพุงบูว็อนกุน" (Deokpung Buwongun, 덕풍부원군, 德豊府院君, เจ้าชายแห่งราชสำนักจากท็อกพุง) และได้รับพระราชทานราชทินนามจากจักรพรรดิว่านลี่แห่งราชวงศ์หมิงว่า "จอมพลเรือแห่งจักรวรรดิหมิง".

ใหม่!!: โทะโยะโตะมิ ฮิเดะโยะชิและอี ซุน-ชิน · ดูเพิ่มเติม »

จักรพรรดิว่านลี่

มเด็จพระจักรพรรดิว่านลี่ (4 กันยายน ค.ศ. 1563 - 18 สิงหาคม ค.ศ. 1620) ประสูติเมื่อวันที่4 กันยายน..

ใหม่!!: โทะโยะโตะมิ ฮิเดะโยะชิและจักรพรรดิว่านลี่ · ดูเพิ่มเติม »

จักรพรรดิโกะ-โยเซ

ักรพรรดิโกะ-โยเซ เป็นจักรพรรดิองค์ที่ 107 ของญี่ปุ่นครองราชย์ระหว่างปี..

ใหม่!!: โทะโยะโตะมิ ฮิเดะโยะชิและจักรพรรดิโกะ-โยเซ · ดูเพิ่มเติม »

จังหวัดฟูกูอิ

จังหวัดฟูกูอิ ตั้งอยู่บริเวณภาคจูบุของญี่ปุ่น มีเมืองหลักอยู่ที่เมืองฟูกูอิ ฟูกูอิ.

ใหม่!!: โทะโยะโตะมิ ฮิเดะโยะชิและจังหวัดฟูกูอิ · ดูเพิ่มเติม »

จังหวัดกิฟุ

ังหวัดกิฟุ เป็นจังหวัดที่ตั้งอยู่ในบริเวณภูมิภาคจูบุบนเกาะฮนชู โดยเป็นจังหวัดที่ตั้งอยู่ในใจกลางของประเทศญี่ปุ่น.

ใหม่!!: โทะโยะโตะมิ ฮิเดะโยะชิและจังหวัดกิฟุ · ดูเพิ่มเติม »

ดะเตะ มะซะมุเนะ

ตะ มะซะมุเนะ ดะเตะ มะซะมุเนะ เป็นไดเมียว ที่สำคัญของญี่ปุ่นใน ยุคเซงโงะกุ และอยู่จนถึงยุคเอโดะ มีฉายาว่า มังกรตาเดียว มะซะมุเนะนั้นมีความสนใจต่อการทูตและเทคโนโลยีของชาติตะวันตก โดยในปี..

ใหม่!!: โทะโยะโตะมิ ฮิเดะโยะชิและดะเตะ มะซะมุเนะ · ดูเพิ่มเติม »

คะโต คิโยะมะซะ

ต คิโยะมะซะ เป็นหนึ่งในแม่ทัพในการรุกรานอาณาจักรโชซอนของญี่ปุ่น ด้วยผลงานในสมรภูมิชิซูคะตะเกะของเขาเป็นที่ประจักษณ์ เขาจึงกลายเป็นที่รู้จักในนามของ 1 ใน 7 ทหารเอกแห่งชิซูคะตะเกะ และได้รับศักดินา 3,000 ปี..

ใหม่!!: โทะโยะโตะมิ ฮิเดะโยะชิและคะโต คิโยะมะซะ · ดูเพิ่มเติม »

คันโต

ันโต เป็นภูมิภาคของประเทศญี่ปุ่นบนเกาะฮนชู ในภาคคันโตประกอบด้วย 7 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดกุมมะ, คะนะงะวะ, ชิบะ, ไซตะมะ, โตเกียว, โทะชิงิ และ อิบะระกิ คันโตมีขนาดประมาณ 32,423.85 ตารางกิโลเมตร ลักษณะเป็นที่ราบลุ่มประมาณร้อยละ 40 และที่เหลือมีลักษณะเป็นภูเขา ภาคคันโตมีประชากรประมาณ 41,487,171 คน (วันที่ 1 ตุลาคม..

ใหม่!!: โทะโยะโตะมิ ฮิเดะโยะชิและคันโต · ดูเพิ่มเติม »

คุโระดะ โยะชิตะกะ

ระดะ โยะชิตะกะ คุโระดะ โยะชิตะกะ หรือ คุโระดะ คัมเบ เป็นไดเมียวในยุคปลายเซ็งโงะกุจนถึงต้นยุคเอโดะและเป็นนักกลยุทธ์และที่ปรึกษาคนสำคัญของ โทะโยะโตะมิ ฮิเดะโยะชิ เขาเป็นผู้ที่มีชื่อเสียงในการที่มีความทะเยอทะยานอันยิ่งใหญ่ คุโรดะได้กลายมาเป็นชาวคริสต์เมื่อายุได้ 38 ปี และได้รับนามว่า ซิเมียน โจซุย เป็นนามที่รับมาจากพิธีจุ่มศีล คุโรดะ คัมเบ ยังได้รับการเคารพยกย่องจากนักรบของเขาในเรื่องของความเฉลียวฉลาดความกล้าหาญและความภักดี.

ใหม่!!: โทะโยะโตะมิ ฮิเดะโยะชิและคุโระดะ โยะชิตะกะ · ดูเพิ่มเติม »

ตระกูลมินะโมะโตะ

ตระกูลมินะโมะโตะ เป็นตระกูลซะมุไรที่ทรงอำนาจและอิทธิพลที่สุดตระกูลหนึ่งในญี่ปุ่นยุคเฮอัง เนื่องจากตระกูลนี้ได้ครองตำแหน่งโชกุน เป็นตระกูลแรกของญี่ปุ่น ตระกูลมินะโมะโตะสืบเชื้อสายจากจักรพรรดิซะงะ ซึ่งครองราชย์ระหว่างปี..

ใหม่!!: โทะโยะโตะมิ ฮิเดะโยะชิและตระกูลมินะโมะโตะ · ดูเพิ่มเติม »

ตระกูลโฮโจ

ตระกูลโฮโจ (Hōjō Clan) เป็นตระกูล ซะมุไร ที่ทรงอิทธิพลในยุค คะมะกุระ เพราะผู้นำตระกูลคนแรกคือ โฮโจ โทะคิมะซะ เป็นพ่อตาของ มินะโมะโตะ โนะ โยะริโตะโมะ โชกุนคนแรกของ รัฐบาลโชกุนคะมะกุระ และเป็น ชิกเก็ง หรือ ผู้สำเร็จราชการ ในสมัยของ มินะโมะโตะ โนะ โยะริอิเอะ โชกุนคนที่ 2 ผู้เป็นหลานชายคนโต ตระกูลโฮโจเริ่มมีบทบาทสำคัญเมื่อ โฮโจ โทะกิมะซะ ได้ช่วยชีวิต มินะโมะโตะ โนะ โยะริโตะโมะ จากการถูก ไล่ฆ่าพร้อมกับสนับสนุนโยะริโตะโมะให้ลุกขึ้นสู้กับ ตระกูลไทระ และยกลูกสาวให้แต่งงานด้วย หลังจาก สงครามเก็มเป ปรากฏว่าตระกูลมินะโมะ โตะได้ชัยชนะและทรงอำนาจในแผ่นดินเหนือราชสำนัก จึงทำให้ตระกูลโฮโจมีอำนาจและอิทธิพลตามไปด้วย หลังจาก จักรพรรดิโกะ-ชิระกะวะ เสด็จสวรรคตลง ในปี ค.ศ. 1192 โยะริโตะโมะจึงได้รับพระราชทาน ตำแหน่ง เซไตโชกุน เป็นคนแรกจาก จักรพรรดิโกะ-โทะบะ ยิ่งทำให้ตระกูลโฮโจทรงอำนาจและอิทธิพล มากขึ้น ต่อมาในปี ค.ศ. 1202 โยะริโตะโมะถึงแก่อสัญกรรม โยะริอิเอะ บุตรชายคนโตจึงขึ้นเป็นโชกุนสืบต่อมา แต่ในสมัยของโยะริอิเอะอำนาจทั้งหมดอยู่ที่โทะคิมะซะ ผู้เป็นตาพร้อมกันนั้นยังบีบบังคับโชกุนโยะริอิเอะให้ตั้ง ตัวเองเป็น ชิกเก็ง หรือผู้สำเร็จราชการทำให้โชกุน โยะริอิเอะไม่พอใจสละตำแหน่งให้ ซะเนะโตะโมะ ผู้ เป็นน้องชายหลังจากดำรงตำแหน่งเพียง 1 ปีซึ่งหลังจาก สมัยของโชกุนโยะริอิเอะเป็นต้นไปอำนาจทั้งหมดอยู่ที่ ชิกเก็งที่มาจากตระกูลโฮโจทั้งสิ้น ตระกูลโฮโจหมดอำนาจลงในปี ค.ศ. 1333 หลังจาก ตระกูลอะชิกะงะ ที่นำโดย อะชิกะงะ ทะกะอุจิ กระทำรัฐประหาร บุกเข้ายึด คะมะกุระ ทำให้ตระกูลโฮโจหมดอำนาจลงพร้อมกับตระกูลมินะโมะโต.

ใหม่!!: โทะโยะโตะมิ ฮิเดะโยะชิและตระกูลโฮโจ · ดูเพิ่มเติม »

ซากูระ

ซากูระ ซากูระ เป็นชื่อสามัญของพืชหลายชนิดจำพวกเชอร์รีในสกุล Prunus อาทิ P. jamasakura, P. serrulata เป็นต้น มีถิ่นกำเนิดในจีนตอนใต้, เกาะไต้หวัน, หมู่เกาะโอกินาวะ และหมู่เกาะญี่ปุ่น มีดอกสีขาว กลีบแต่ละกลีบมีจำนวนแตกต่างกันไปตามชนิด ลักษณะเด่นของซากูระก็คือ เมื่อร่วง จะร่วงพร้อมกันหมด ซากูระจึงเป็นสัญลักษณ์ของความเป็นทหารและวิถีความเป็นบูชิโดของญี่ปุ่น ดอกซากูระมีในเกาหลี, สหรัฐ, แคนาดา, จีน หรือที่อื่น ๆ แต่ไม่มีกลิ่น ขณะที่ในญี่ปุ่นนั้นผู้คนจำนวนมากยกย่องชื่นชมกลิ่นซากูระ และมักจะกล่าวฝากไว้ในบทกวี โดยซากูระจะบานในช่วงปลายเดือนมีนาคมถึงต้นเดือนเมษายน ซึ่งเป็นช่วงเริ่มต้นฤดูใบไม้ผลิ อุณหภูมิเริ่มอุ่นขึ้นจากฤดูหนาวที่หมดไป คำว่า "ซากูระ" ในภาษาญี่ปุ่นนั้นเชื่อกันว่ากร่อนมาจากคำว่า "ซากูยะ" (咲耶; หมายถึง ผลิบาน) อันเป็นชื่อของเทพธิดา "โคโนฮานาซากูยาฮิเม" (木花之開耶姫) ในเทพปกรณัมของญี่ปุ่น มีศาลบูชาของพระองค์อยู่บนยอดเขาฟูจิด้วย สำหรับพระนามของเทพธิดาองค์ดังกล่าวนั้น มีความหมายว่า "เจ้าหญิงดอกไม้บาน" และเนื่องจากซากูระเป็นดอกไม้ที่นิยมกันมากในญี่ปุ่นสมัยนั้น คำว่าดอกไม้ดังกล่าวจึงหมายถึงดอกซากูระนั่นเอง เทพธิดาองค์ดังกล่าวได้รับพระนามเช่นนั้น ก็เพราะมีเรื่องเล่ามาว่าทรงตกจากสวรรค์มาบนต้นซากูระ ดังนั้น ดอกซากูระจึงถือเป็นตัวแทนของดอกไม้ญี่ปุ่น ขณะที่รัฐบาลญี่ปุ่นประกาศให้ดอกเก๊กฮวย (ดอกเบญจมาศ) เป็นดอกไม้ประจำชาต.

ใหม่!!: โทะโยะโตะมิ ฮิเดะโยะชิและซากูระ · ดูเพิ่มเติม »

ปราสาทโอซากะ

ปราสาทโอซากะ เป็นปราสาทญี่ปุ่น ตั้งอยู่ในเขตชูโอ นครโอซากะ ประเทศญี่ปุ่น เป็นปราสาทที่มีชื่อเสียงที่สุดแห่งหนึ่งในประเทศญี่ปุ่น มีบทบาทในช่วงสงครามการรวมประเทศญี่ปุ่นเมื่อคริสต์ศตวรรษที่ 16 ในยุคอะซุชิ-โมะโมะยะม.

ใหม่!!: โทะโยะโตะมิ ฮิเดะโยะชิและปราสาทโอซากะ · ดูเพิ่มเติม »

ปราสาทเอโดะ

ปราสาทเอโดะ (江戸城, Edo Castle) เป็นปราสาทที่สำคัญแห่งหนึ่งของญี่ปุ่น เพราะเคยใช้เป็นที่พักของรัฐบาลโชกุนโทกูงาวะ เริ่มก่อสร้างในปี..

ใหม่!!: โทะโยะโตะมิ ฮิเดะโยะชิและปราสาทเอโดะ · ดูเพิ่มเติม »

ปักกิ่ง

ปักกิ่ง หรือ เป่ย์จิง (จีน:, พินอิน: Běijīng) เป็นเมืองหลวงของสาธารณรัฐประชาชนจีน มีชื่อย่อว่า จิง ตั้งอยู่ที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือของ ที่ราบหวาเป่ย์ ชื่อเดิมคือ จี่ (冀) สมัยวสันตสารท (春秋)และสมัยรณรัฐ (战国)เป็นเมืองหลวงของแคว้นเยียน สมัยราชวงศ์เหลียว เป็นเมืองหลวงรอง ชื่อ เยียนจิง เป็นเมืองหลวงของจีนตั้งแต่สมัยราชวงศ์จิน หยวน หมิง ชิงจนถึง สาธารณรัฐจีน เคยใช้ชื่อจงตู ต้าตู เป่ย์ผิงและเป่ย์จิง โดยมีชื่อเรียกทั้งหมดกว่า 60 ชื่อ เริ่มตั้งเป็นเมืองตั้งแต่ปี 1928 ปัจจุบัน แบ่งเป็น 16 เขตและ 2 อำเภอ เป็นนครที่ขึ้นตรงต่อส่วนกลาง พื้นที่ทั่วกรุงปักกิ่งมีถึง 16,800 ตารางกิโลเมตร ถึงสิ้นปี..

ใหม่!!: โทะโยะโตะมิ ฮิเดะโยะชิและปักกิ่ง · ดูเพิ่มเติม »

ปูซาน

ปูซาน หรือ พูซัน เป็นเมืองท่าที่ใหญ่ที่สุดในประเทศเกาหลีใต้ มีประชากรประมาณ 3.65 ล้านคน และปูซานยังคงเป็นเมืองที่ใหญ่อันดับ 2 ของประเทศรองจาก โซล บริเวณที่แออัดของปูซานตั้งอยู่บริเวณหุบเขาแคบระหว่างแม่น้ำ นักดง และ แม่น้ำซูหยอง ปูซานได้เคยเป็นเจ้าภาพการแข่งขันกีฬาเอเชียนเกมส์ 2002 และงานเอเปค 2005 ที่ผ่านมา และยังคงเป็นเมืองหนึ่งที่ร่วมจัดการแข่งขัน ฟุตบอลโลก 2002 นอกจากนี้ในวันที่ 14 พฤศจิกายน 2548 ปูซานได้เข้าร่วมประมูลเพื่อจะเป็นเจ้าภาพจัดงานแข่งขันโอลิมปิกฤดูร้อน 2020.

ใหม่!!: โทะโยะโตะมิ ฮิเดะโยะชิและปูซาน · ดูเพิ่มเติม »

นางาซากิ

มืองนางาซากิ เป็นเมืองเอกและเมืองที่ใหญ่ที่สุดในจังหวัดนางาซากิ บนเกาะคิวชู ประเทศญี่ปุ่น นางาซากิถูกก่อตั้งขึ้นโดยชาวโปรตุเกสในปลายศตวรรษที่ 16 ซึ่งขณะนั้นเป็นเพียงหมู่บ้านเล็กๆเพื่อการประมง ซึ่งทำให้นางาซากิกลายเป็นศูนย์กลางอิทธิพลของชาวโปรตุเกสและชาวยุโรป ตั้งแต่ศตวรรษที่ 16 ถึง 19 มีโบสถ์และศาสนสถานของศาสนาคริสต์มากมายในนางาซากิ ซึ่งศาสนสถานเหล่านี้ ได้ถูกขึ้นทะเบียนให้เป็นมรดกโลก นอกเหนือไปจากนี้ ท่าเรือในนางาซากิ ยังเคยเป็นที่ตั้งของฐานทัพเรือของกองทัพเรือจักรวรรดิญี่ปุ่น ระหว่างสงครามจีน-ญี่ปุ่นครั้งที่หนึ่ง และ สงครามรัสเซีย-ญี่ปุ่น นามของเมืองว่า "นางาซากิ" (長崎) มีความหมายว่า "แหลมที่ทอดยาว" ระหว่างสงครามโลกครั้งที่สอง 9 สิงหาคม..

ใหม่!!: โทะโยะโตะมิ ฮิเดะโยะชิและนางาซากิ · ดูเพิ่มเติม »

นาโงยะ

นครนาโงยะ เป็นเมืองที่ใหญ่ที่สุดในภาคชูบุ และมีประชากรมากเป็นอันดับ 4 ของประเทศญี่ปุ่น ตั้งอยู่บนชายฝั่งมหาสมุทรแปซิฟิกบนเกาะฮนชู เป็นเมืองเอกของจังหวัดไอชิและเป็นหนึ่งในเมืองท่าหลักของญี่ปุ่น ซึ่งประกอบด้วย โตเกียว, โอซะกะ, โคเบะ, โยะโกะฮะมะ, ชิบะ และ คิตะกีวชู นอกจากนี้ยังเป็นศูนย์กลางของเขตมหานครที่ใหญ่เป็นอันดับสามของญี่ปุ่นที่เรียกว่า เขตมหานครชูเกียว ซึ่งมีประชากรกว่า 9.1 ล้านคน.

ใหม่!!: โทะโยะโตะมิ ฮิเดะโยะชิและนาโงยะ · ดูเพิ่มเติม »

แคว้นซัตสึมะ

งสีของแคว้นซัตสึมะในสงครามโบะชิน แคว้นซัตสึมะ เคยเป็นหนึ่งในแคว้นไดเมียวที่ทรงอำนาจที่สุดในสมัยรัฐบาลโชกุนโทะกุงะวะ หรือสมัยเอะโดะของญี่ปุ่นในอดีต มีบทบาทสำคัญในสมัยการปฏิรูปเมจิ ทั้งยังครองตำแหน่งสำคัญในรัฐบาลเมจิหลังการปฏิรูปด้วยเช่นกัน ตลอดอายุของแคว้นซัตสึมะ แคว้นนี้ได้ถูกปกครองโดยไดเมียวระดับโทะซะมะ จากตระกูลชิมะซุ หลายต่อหลายรุ่น อาณาเขตของแคว้นกินพื้นที่ด้านใต้ของเกาะคีวชู ในบริเวณอดีตจังหวัดซัตสึมะ อดีตจังหวัดโอซุมิ และด้านตะวันตกของอดีตจังหวัดฮีวงะ มีอาณาจักรรีวกีว เป็นประเทศราช ปัจจุบัน พื้นที่ส่วนใหญ่กลายเป็นจังหวัดคาโงชิมะ ส่วนที่เหลือเป็นส่วนหนึ่งของจังหวัดมิยะซะกิ แคว้นซัตสึมะ มีชื่ออย่างเป็นทางการว่า แคว้นคาโงชิมะ มีศุนย์กลางการปกครองที่ปราสาทคาโงชิมะ ในเมืองคาโงชิมะ แคว้นซัตสึมะมีผลผลิตมวลรวมของแคว้นคิดเป็นหน่วยโคกุดะกะ (หน่วยวัดผลผลิตข้าวทั้งหมดแต่ละแคว้นในระบบศักดินาสมัยเอะโดะ สะท้อนถึงอำนาจและความมั่งคั่งของแคว้น ดังเช่น GDP ในปัจจุบัน) อยู่ที่ 770,000 โคกุ สูงเป็นอันดับสองรองจากแคว้นคะกะ ตระกูลชิมะซุ ปกครองแคว้นซัตสึมะเป็นเวลาประมาณ 4 ศตวรรษ นับแต่ก่อตั้งแคว้นในต้นยุคเอะโดะ จนถึงศตวรรษที่ 16 กินอาณาเขตเกือบทั้งเกาะคีวชู แม้ว่าจะถูกโทะโยะโตะมิ ฮิเดะโยะชิ ปราบปรามในยุทธการคีวชู ค.ศ. 1587 เพื่อปราบปรามและควบคุมไดเมียวตามหัวเมืองต่างๆ ตระกูลชิมะซุก็ยังคงเป็นตระกูลที่มีอิทธิพลสูงสุดเหนือเกาะต่างๆรอบข้างเหมือนเดิม ในระหว่างศึกเซกิงะฮะระ ซึ่งเป็นการรบครั้งใหญ่ ปิดฉากยุคเซงโงะกุ อันเป็นยุคแห่งไฟสงครามในค.ศ. 1600 ตระกูลชิมะซุก็ยังคงตั้งมั่นที่แคว้นซัตสึมะเพื่อรวบรวมและป้องกันกำลังของตัวเอง ในขณะที่ตระกูลอื่นๆถูกกำจัดไปในสงครามครั้งนี้ ตระกูลชิมะซุเป็นหนึ่งในไม่กี่ตระกูลที่สามารถรักษากองกำลังของตนเองเพื่อต่อต้านกองทัพของโชกุน ที่พยายามครอบครองดินแดนญี่ปุ่นทั้งหมดได้ ต่างกับอีกหลายตระกูลที่ยอมแพ้สละแว่นแคว้นที่ตนเองปกครองให้กับโชกุนในยุคเอะโดะ ตระกูลชิมะซุก็ยังคงดำรงสถานะความเป็นแคว้นของซัตสึมะ และอำนาจในการปกครองไว้ได้ตราบจนสิ้นยุคโชกุน.

ใหม่!!: โทะโยะโตะมิ ฮิเดะโยะชิและแคว้นซัตสึมะ · ดูเพิ่มเติม »

โมริ เทะรุโมะโตะ

โมะริ เทะรุโมะโตะ ไดเมียวแห่งโจชูคนที่ 1 โมะริ เทะรุโมะโตะ (Mori Terumoto,4 กุมภาพันธ์ 1553 - 2 มิถุนายน 1625) เป็นไดเมียวหรือเจ้าแคว้นโจชูคนแรก หมวดหมู่:บุคคลที่เกิดในปี พ.ศ. 2096 หมวดหมู่:ไดเมียว.

ใหม่!!: โทะโยะโตะมิ ฮิเดะโยะชิและโมริ เทะรุโมะโตะ · ดูเพิ่มเติม »

โยะโดะ โดะโนะ

นะ โยะโดะ โดะโนะ (ค.ศ. 1569 — 8 พฤษภาคม ค.ศ. 1615) เป็นสตรีที่ทรงอำนาจในญี่ปุ่นยุคอะซุชิโมะโมะยะมะ ในฐานะหลานสาวของ โอดะ โนะบุนะงะ ภรรยาน้อยของโทะโยะโตะมิ ฮิเดะโยะชิ และเป็นผู้นำในการต่อต้านการปกครองของรัฐบาลโชกุนโทะกุงะวะในช่วงแรก.

ใหม่!!: โทะโยะโตะมิ ฮิเดะโยะชิและโยะโดะ โดะโนะ · ดูเพิ่มเติม »

โอะอิชิ

ออิจิ โออิจิหรือโออิจิ-โนะ-กาตะ (ภาษาญี่ปุ่น:お市) (พ.ศ. 2090 - พ.ศ. 2126) เป็นบุคคลสำคัญในยุคเซงโงะกุและเธอยังเป็นมารดาในโยโดะ-โดโนะ,โอฮัทซึและโอเอะโยะ โออิจิเป็นน้องสาวของโอดะ โนะบุนะงะและเป็นน้องสะใภ้ของโนฮิเมะ ธิดาของไซโต้ โดซัน ไดเมียวแห่งแคว้นมิโนะ โออิจิเป็นที่รู้จักกันอย่างแพร่หลายในเรื่องความงามและมีเสน่ห์ นางยังเป็นทายาทของตระกูลไทระและตระกูลฟูจิวาร.

ใหม่!!: โทะโยะโตะมิ ฮิเดะโยะชิและโอะอิชิ · ดูเพิ่มเติม »

โจโซะคะเบะ โมะโตะจิกะ

ซะคะเบะ โมะโตะจิกะ โจโซะคะเบะ โมะโตะจิกะ เป็นไดเมียว ญี่ปุ่นในยุคเซงโงกุที่ได้ครองทั้งเกาะชิโกก.

ใหม่!!: โทะโยะโตะมิ ฮิเดะโยะชิและโจโซะคะเบะ โมะโตะจิกะ · ดูเพิ่มเติม »

โทกูงาวะ อิเอยาซุ

ทกูงาวะ อิเอยาซุ คือผู้สถาปนาบะกุฟุ (รัฐบาลทหาร) ที่เมืองเอะโดะ (โตเกียวในปัจจุบัน) และเป็นโชกุนคนแรกจากตระกูลโทกูงาวะที่ปกครองประเทศญี่ปุ่น ตั้งแต่สิ้นสุด ศึกเซะกิงะฮะระและเริ่มต้นยุคเอะโดะ เมื่อปี..

ใหม่!!: โทะโยะโตะมิ ฮิเดะโยะชิและโทกูงาวะ อิเอยาซุ · ดูเพิ่มเติม »

โทะโยะโตะมิ ฮิเดะโยะริ

ริสิ้นชีวิตพร้อมกับนางโยะโดะเมื่อปี ค.ศ. 1615 ในเหตุการณ์ การล้อมโอซะกะ ขณะอายุได้เพียง 22 ปีส่วนบุตรชายถูกจับประหารชีวิตและบุตรสาวถูกส่งไปอยู่วัดชี หมวดหมู่:บุคคลที่เกิดในปี พ.ศ. 2136 หมวดหมู่:ไดเมียว หมวดหมู่:บุคคลจากโอซะกะ หมวดหมู่:ตระกูลโทะโยะโตะม.

ใหม่!!: โทะโยะโตะมิ ฮิเดะโยะชิและโทะโยะโตะมิ ฮิเดะโยะริ · ดูเพิ่มเติม »

โทโฮกุ

ทโฮกุ แปลตรงตัวว่า "ทิศตะวันออกเฉียงเหนือ" เป็นอนุภูมิภาคของญี่ปุ่น ดินแดนที่ครอบคลุมพื้นที่หนึ่งในสี่ทางเหนือของเกาะฮนชู มีชื่อเดิมว่า "มิชิโนะกุ" แปลว่าถนนภายในหรือถนนสายแคบ เนื่องจากในอดีตนั้นยากต่อการเข้าถึง ด้วยภูมิประเทศส่วนใหญ่เป็นเทือกเขาขรุขระ และฤดูหนาวอันโหดร้าย โทโฮกุเป็นดินแดนที่ยังคงธรรมชาติอันสวยงาม และเป็นแหล่งของน้ำพุร้อนจำนวนนับไม่ถ้วน นอกจากนั้น โทโฮกุยังเป็นดินแดนแห่งตำนานเรื่องเล่าขานมากมาย และเป็นแห่งสุดท้ายที่ยังคงอนุรักษ์วิถีชีวิตขนบประเพณีญี่ปุ่นโบราณอยู่ รวมถึงหัตถกรรมพื้นเมืองที่ยังคงอนุรักษ์ไว้ ภายใต้ความเจริญและอารยธรรมสมัยใหม่ที่หลั่งไหลเข้ามา อนุภูมิอากาศในโทโฮกุ ถูกแบ่งโดยเทือกเขาที่เป็นแนวยาวจากเหนือลงมาเป็นสองด้าน คือทางด้านฝั่งทะเลญี่ปุ่น จะมีอากาศหนาวเย็น หิมะตกหนักในฤดูหนาว ในขณะที่ทางด้านฝั่งมหาสมุทรแปซิฟิกจะมีอากาศอบอุ่นกว่า ประชากรที่อาศัยอยู่ในแถบโทโฮกุ ปัจจุบันมีอยู่ประมาณ 9 ล้านคน ลดลงจากปี..

ใหม่!!: โทะโยะโตะมิ ฮิเดะโยะชิและโทโฮกุ · ดูเพิ่มเติม »

โคะโนะเอะ ซะกิฮิซะ

นะเอะ ซะกิฮิซะ (2079 – 7 มิถุนายน 2155) ขุนนางใน ยุคมุโระมะจิ ยุคอะซุชิโมะโมะยะมะ ถึง ยุคเอะโดะ ซึ่งได้ดำรงตำแหน่ง คัมปะกุ หรือผู้สำเร็จราชการในรัชสมัย จักรพรรดิโกะ-นะระ และเป็น ไดโจไดจิง ในรัชสมัยจักรพรรดิโองิมะชิเป็นบิดาของ โคะโนะเอะ ซะกิโกะ พระสนมใน จักรพรรดิโกะ-โยเซ เป็นพระอัยกา (ตา) ใน จักรพรรดิโกะ-มิซุโน และเป็นบิดาบุญธรรมของ โทะโยะโตะมิ ฮิเดะโยะชิ ซึ่งทำให้ฮิเดะโยะชิเป็นทายาทของ ตระกูลฟุจิวะระ ตามกฎหมายและได้ขึ้นเป็นคัมปะกุใน..

ใหม่!!: โทะโยะโตะมิ ฮิเดะโยะชิและโคะโนะเอะ ซะกิฮิซะ · ดูเพิ่มเติม »

โตเกียว

ตเกียว หรือชื่ออย่างเป็นทางการว่ามหานครโตเกียว (Tokyo Metropolis) หรือเรียกเอะโดะหรือเอโดะ เป็นเมืองหลวงของประเทศญี่ปุ่น มีระบบการปกครองแบบพิเศษซึ่งรวมการปกครองในรูปแบบจังหวัดและเมืองไว้ด้วยกัน ทั้งนี้ เขตอภิมหานครโตเกียวจัดว่าเป็นเขตเมืองที่ใหญ่ที่สุดในโลก โดยรวมเขตปริมณฑลแล้วมีประชากรอาศัยอยู่ราว 35,237,000 คน) เฉพาะในตัวเมืองโตเกียว 23 แขวงการปกครองพิเศษ มีประชากรในเขตเมืองประมาณ 12 ล้านคน ถือเป็นเมืองที่มีประชากรมากที่สุดในโลกเมืองหนึ่ง ประชากรทั้งหมดของโตเกียวมีทั้งหมดกว่า 35 ล้านคน โตเกียวตั้งอยู่บริเวณภูมิภาคคันโตของญี่ปุ่น คำว่า "โตเกียว" หมายถึง "นครหลวงตะวันออก" ในโตเกียวยังเป็นที่ตั้งของพระราชวังหลวงของสมเด็จพระจักรพรรดิ กรุงโตเกียวเคยเป็นเจ้าภาพการแข่งขันกีฬาโอลิมปิกปี 1964 และจะเป็นเจ้าภาพครั้งที่ 2 ในปี 2020 ระหว่างวันที่ 24 กรกฎาคม – 9 สิงหาคม พ.ศ. 2563.

ใหม่!!: โทะโยะโตะมิ ฮิเดะโยะชิและโตเกียว · ดูเพิ่มเติม »

โซล

ซล (ซออุล) ชื่ออย่างเป็นทางการ นครพิเศษโซล เป็นเมืองหลวงและมหานครที่ใหญ่ที่สุดของประเทศเกาหลีใต้ มีประชากรประมาณ 10 ล้านคน เป็นปริมณฑลที่ใหญ่ มีประชากรประมาณ 25 ล้านคนซึ่งเป็นบริเวณที่อยู่อาศัยซึ่งประกอบด้วยบริเวณมหานครอินช็อนและจังหวัดคย็องกี เกือบหนึ่งในสี่ของประชากรชาวเกาหลีใต้อาศัยอยู่ในโซลและชาวต่างชาติอีกประมาณ 275, 000 คน นครโซลได้มีส่วนเกี่ยวข้องกับเหตุการณ์ระดับหลายเหตุการณ์ โดยการใช้ความพยายามอย่างมากที่จะเพิ่มอิทธิพลในฐานะประเทศที่เป็นเจ้าภาพจัดการประชุมนานาชาติมากเป็นอันดับที่ 5 ในปี 2553 โซลได้รับการโหวตให้เป็นเป้าหมายยอดนิยมในการท่องเที่ยวจากนักท่องเที่ยวชาวจีน, ญี่ปุ่นและไทย 3 ปีต่อเนื่องกันในปี 2554 สถานีรถไฟโซลเป็นสถานีปลายทางหลักของรถไฟความเร็วสูงเคทีเอ๊กซ์และสถานีรถไฟใต้ดินโซลยังเป็นสถานีที่มีผู้ใช้งานมากเป็นอับดับที่สองของโลกโดยมีลักษณะเป็นสายวงรอบที่ยาวที่สุดและและมีเส้นทางรถไฟไต้ดินจนสุดสายที่ยาวเป็นอับดับที่สองของโลก โซลนั้นได้รวมระบบขนส่งมวลชนเข้ากับเมืองอินช็อนและจังหวัดคย็องกี โดยสามารถให้ผู้โดยสารสามารถใช้บริการรถโดยสารประจำทางหรือรถไฟไต้ดินได้อย่างอิสระโดยใช้บัตรที-มันนี่และเชื่อมต่อโดยทางเอเร็กซ์เพื่อไปยังท่าอากาศยานนานาชาติอินช็อน ซึ่งถูกจัดเป็นสนามบินยอดเยี่ยมตั้งแต่ปี 2548 โดยสภาการท่าอากาศยานนานาชาติ โซลเคยเป็นเจ้าภาพเอเชียนเกมส์ 1986, โอลิมปิกฤดูร้อน 1988, ฟุตบอลโลก 2002 และการประชุมสุดยอด จี-20 2010 โซลได้ชื่อว่าเป็นเมืองแห่งการออกแบบในปี 2553 โดยสมาคมออกแบบอุตสาหกรรมนานาชาต.

ใหม่!!: โทะโยะโตะมิ ฮิเดะโยะชิและโซล · ดูเพิ่มเติม »

ไดโจไดจิง

ง (太政大臣) หรือ อัครมหาเสนาบดี เป็นตำแหน่งสูงสุดของขุนนางฝ่ายบริหารของญี่ปุ่น เริ่มปรากฏครั้งแรกในปี พ.ศ. 1246 โดยมีเจ้าชายโอะซะกะเบะเป็นผู้ประเดิมตำแหน่ง หลังจากนั้นในยุคเฮอัง คนในตระกูลฟุจิวะระได้เป็นผู้ผูกขาดตำแหน่งไดโจไดจิงเรื่อยมา โครงสร้างการบริหาร จะแบ่งออกไปสามส่วน คือ ส่วนแรก ไดโจไดจิง หรืออัครมหาเสนาบดี เป็นผู้กุมอำนาจส่วนกลาง และประกอบด้วย ซะไดจิง (左大臣) มหาเสนาบดีฝ่ายซ้าย และอุไดจิง (右大臣) มหาเสนาบดีฝ่ายขวา โดยอัครมหาเสนาบดี จะเป็นประธานของสภาอำมาตย์และหัวหน้าของบรรดาข้าราชการ โดยเฉพาะมหาเสนาบดีฝ่ายซ้ายและฝ่ายขวา ตลอดจนสี่ขุนนางใหญ่และสามขุนนางเล็ก แต่ในสมัยเอะโดะ ซึ่งเป็นยุคที่รัฐบาลโชกุนโทะกุงะวะเรืองอำนาจ ตำแหน่งไดโจไดจิงเป็นตำแหน่งที่ไม่มีอำนาจแต่ก็มีการสืบตำแหน่งเรื่อยมา พอถึงรัชสมัยสมเด็จพระจักรพรรดิเมจิ ใน..

ใหม่!!: โทะโยะโตะมิ ฮิเดะโยะชิและไดโจไดจิง · ดูเพิ่มเติม »

ไดเมียว

ไดเมียว (แปลว่า มูลนาย) นั้นเป็นตำแหน่งเจ้าเมืองที่มีความสำคัญรองลงมาจากโชกุนและไดเมียวจากหลายตระกูลก็ได้เป็นโชกุนในเวลาต่อมา พวกตระกูลที่มีฐานะเป็นไดเมียวเรียกกันว่า โคตรตระกูล หมวดหมู่:ซะมุไร หมวดหมู่:ประวัติศาสตร์ญี่ปุ่น หมวดหมู่:ไดเมียว.

ใหม่!!: โทะโยะโตะมิ ฮิเดะโยะชิและไดเมียว · ดูเพิ่มเติม »

เกาะชิโกกุ

กกุ เป็นเกาะที่เล็กที่สุดในบรรดาสี่เกาะหลักของญี่ปุ่น มีพื้นที่ 18,783 ตารางกิโลเมตร ถูกล้อมรอบ 3 ด้านด้วยเกาะฮนชูและเกาะคีวชู ตอนกลางของเกาะมีภูเขาสูงกว่าระดับน้ำทะเล 1,000-2,000 เมตร มีประชากรประมาณ 4.2 ล้านคนอาศัยอยู่กระจายตามที่ลุ่มชายฝั่งทะเล หากเทียบกับอีก 3 เกาะหลักของญี่ปุ่นแล้ว ชิโกกุมีความเงียบสงบและยังคงบรรยากาศแบบธรรมชาติไว้ได้ โดยที่ไม่ถูกกลืนโดยวัฒนธรรมสมัยใหม่ ชิโกกุถูกแบ่งออกเป็นตอนเหนือและตอนใต้โดยภูเขาสูงชัน ทางเหนือมีปริมาณน้ำฝนน้อยและมีเมืองอุตสาหกรรมอยู่ตลอดแนว ส่วนทางใต้ด้านมหาสมุทรแปซิฟิกนั้นจะเป็นป่ารก อากาศจะอบอุ่น ปริมาณน้ำฝนมีมาก อากาศบนเกาะจะอบอุ่นสบายในช่วงต้นฤดูใบไม้ผลิ และช่วงเริ่มฤดูใบไม้ร่วง นอกจากอุตสาหกรรมผลิตเหล็กและเคมีแล้ว การประมงกับการเกษตรกรรมแบบเร่งผลผลิตทำกันอย่างแพร่หลาย บนที่ราบของเมืองโคจิชายฝั่งทะเลแปซิฟิก มีการมีการทำไร่ผลไม้ และการปลูกผักในเรือนกระจก เกาะชิโกกุถูกเชื่อมต่อกับเกาะฮนชูด้วยสะพานเซโตโอฮาชิ ซึ่งเป็นสะพานหกสาย ใช้เกาะเล็ก ๆ 5 แห่งเป็นจุดเชื่อมต่อ ด้วยความยาวถึง 12.3 กิโลเมตร ทำให้สะพานแห่งนี้ เป็นหนึ่งในสะพานสองชั้นที่มีความยาวมากกว่าสะพานแห่งอื่น ๆ ในโลกเก.

ใหม่!!: โทะโยะโตะมิ ฮิเดะโยะชิและเกาะชิโกกุ · ดูเพิ่มเติม »

เกาะคีวชู

ีวชู เป็นเกาะที่มีขนาดใหญ่เป็นอันดับ 3 ของประเทศญี่ปุ่น และตั้งอยู่ในภาคตะวันตกเฉียงใต้ของหมู่เกาะญี่ปุ่น มีเนื้อที่ 35,640 ตารางกิโลเมตร และมีประชากร 14,779,000 คน (ปี 2003) ชื่อคีวชูหมายถึง เก้าแคว้น.

ใหม่!!: โทะโยะโตะมิ ฮิเดะโยะชิและเกาะคีวชู · ดูเพิ่มเติม »

เคียวโตะ

ียวโตะ หรือ เกียวโต อาจหมายถึง.

ใหม่!!: โทะโยะโตะมิ ฮิเดะโยะชิและเคียวโตะ · ดูเพิ่มเติม »

เซ็สโซและคัมปะกุ

งราชวงศ์สำหรับผู้สำเร็จราชการ ในประวัติศาสตร์ญี่ปุ่น เซ็สโซ เป็นยศของผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ สำหรับจักรพรรดิที่ยังทรงพระเยาว์เกินกว่าจะปกครองก่อนที่พระองค์จะเจริญพรรษาพอที่จะปกครองประเทศ เซ็สโซจะว่าราชการแทน และ คัมปะกุ เป็นตำแหน่งผู้สำเร็จราชการสำหรับจักรพรรดิที่ทรงเจริญพระชนพรรษาแล้ว โดยอ้างว่าพระจักรพรรดิทรงไม่รู้เรื่องงานบริหารประเทศ จึงต้องให้คัมปะกุ คอยช่วยบริหารจัดการ ตลอดสมัยเฮอัง อำนาจการบริหารประเทศอยู่ในสองตำแหน่งนี้ คือ เซ็สโซ และคัมปะกุตลอด 500 ปี ผูกขาดโดยคนของตระกูลฟุจิวะระ และสายย่อยของตระกูลนี้ตลอด โดยเราจะเรียกตระกูลเหล่านี้ว่า เซ็สกัง หรือตระกูลผู้สำเร็จราชการนั่นเอง ภายหลังจากสมัยเฮอังอำนาจอยู่ในมือของรัฐบาลทหาร โดยโชกุนปกครองประเทศแทน โดยผู้สำเร็จราชการของโชกุนจะเรียกว่า ชิกเก็ง.

ใหม่!!: โทะโยะโตะมิ ฮิเดะโยะชิและเซ็สโซและคัมปะกุ · ดูเพิ่มเติม »

เซ็ปปุกุ

ีกรรมฮาราคีรี เซ็ปปุกุ หรือ ฮาราคีรี เป็นการฆ่าตัวตายโดยการคว้านท้อง ในยุคซามูไร ของประเทศญี่ปุ่น โดยใช้มีดสั้นแทงที่หน้าท้องใต้เอวขวา แล้วกรีดมาทางซ้ายแล้ว ดึงมีดขึ้นข้างบน ซึ่งเป็นการเปิดเยื่อบุช่องท้องแล้วตัดลำไส้ให้ขาด หลังจากนั้นซามูไรอีกคนหนึ่งจะใช้ดาบซามูไรตัดศีรษะจนขาด การตายด้วยวิธีนี้ เชื่อว่าเป็นการตายอย่างมีเกียรติแล้ว ส่วนใหญ่ผู้ทำเซ็ปปุกุทำตามหลักศาสนาชินโตที่จารึกไว้ในคัมภีร์โคะจิคิ เพราะแสดงความกล้าหาญและพิสูจน์ให้เห็นถึงความสามารถในการบังคับจิตใจของตนเอง การคว้านท้องถูกนำมาใช้โดยสมัครใจที่จะตายกับซามูไรที่มีเกียรติแทนที่จะตกอยู่ในมือของศัตรูของพวกเขา (และน่าจะถูกทรมาน) เป็นรูปแบบของโทษประหารชีวิตสำหรับซามูไรที่มีการกระทำผิดร้ายแรงหรือดำเนินการ เหตุผลอื่น ๆ ที่ได้นำความอัปยศแก่พวกเขา การฆ่าตัวตายโดยการจำยอมจึงถือเป็นพิธีซึ่งโดยปกติจะเป็นส่วนหนึ่งของพิธีกรรมซับซ้อนมากขึ้นและการดำเนินการในฐานะที่ต้องการให้ผู้อื่นเข้าใจในการต้องการในการรักษาเกียรติของพวกเขาจึงควรมีผู้คนมาชมขณะทำเซ็ปปุกุด้วย ในญี่ปุ่น คำว่า "ฮาราคีรี" ถือเป็นคำหยาบและไม่เคารพต่อผู้กระทำเซ็ปปุกุ และการเขียนตัวอักษรคันจิของสองคำนี้เขียนเหมือนกันโดยสลับตัวอักษรหน้าหลัง.

ใหม่!!: โทะโยะโตะมิ ฮิเดะโยะชิและเซ็ปปุกุ · ดูเพิ่มเติม »

เปียงยาง

ปียงยาง (평양, พย็องยัง) คือเมืองหลวงของประเทศเกาหลีเหนือ เป็นเขตแหล่งเศรษฐกิจที่สำคัญที่สุดของประเทศเกาหลีเหนือ ในอดีตนั้นเคยเป็นเมืองหลวงของหลายอาณาจักร เช่น ใน 2333 ปีก่อนคริสต์ศักราชนั้นเคยเป็นเมืองหลวงของอาณาจักรโชซ็อนโบราณ ในสมัยนั้นมีชื่อว่าเมืองวังก็อมซ็อง ในปี ค.ศ. 427 ได้เป็นเมืองหลวงของอาณาจักรโคกูรยอ มีชื่อว่าเมืองเปียงยาง จนถึงปี ค.ศ. 668 ที่อาณาจักรโคกูรยอล่มสลายลง.

ใหม่!!: โทะโยะโตะมิ ฮิเดะโยะชิและเปียงยาง · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

Toyotomi Hideyoshiฮิเดโยชิโทะโยะโทะมิ ฮิเดะโยะชิโทโยโทมิ ฮิเดโยชิโทโยโตมิ ฮิเดโยชิ

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »