โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ฟรี
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

เวลเตอร์เวทและโธมัส เฮิร์นส์

ทางลัด: ความแตกต่างความคล้ายคลึงกันค่าสัมประสิทธิ์การเปรียบเทียบ Jaccardการอ้างอิง

ความแตกต่างระหว่าง เวลเตอร์เวทและโธมัส เฮิร์นส์

เวลเตอร์เวท vs. โธมัส เฮิร์นส์

วลเตอร์เวท (Welterweight) เป็นพิกัดน้ำหนักมวย ทั้งมวยสากลอาชีพและมวยสากลสมัครเล่นระดับกลางรุ่นหนึ่ง ที่อยู่ระหว่างรุ่นจูเนียร์เวลเตอร์เวทและซูเปอร์เวลเตอร์เวท โดยนักมวยที่จะชกในพิกัดนี้ ต้องมีน้ำหนักมากกว่า 140 ปอนด์ (63.503 กิโลกรัม) และไม่เกิน 147 ปอนด์ (66.678 กิโลกรัม) รุ่นเวลเตอร์เวทจัดได้ว่าเป็นพิกัดน้ำหนักที่ได้รับความนิยมเป็นอย่างมาก ด้วยความที่เป็นนักมวยพิกัดขนาดกลาง มีนักมวยจำนวนมากที่มีชื่อเสียงที่ชกในรุ่นนี้ทั้งในอดีตและปัจจุบัน ได้แก่ เฮนรี่ อาร์มสตรอง (ซึ่งถือได้ว่าป้องกันตำแหน่งแชมป์โลกในรุ่นนี้ได้มากที่สุดอีกด้วย คือ 18 ครั้ง และมากที่สุดเป็นอันดับ 4 ของโลก), ชูการ์ เรย์ โรบินสัน, คิด กาวิแลน, ชูการ์ เรย์ เลียวนาร์ด, โธมัส เฮิร์นส์, โรแบร์โต้ ดูรัน, โดนัลด์ เคอร์รี่, ฮูลิโอ ซีซาร์ ชาเวซ, เพอร์เนล วิเทเกอร์, ออสการ์ เดอ ลา โฮยา, เฟลิกซ์ ทรินิแดด, เชน มอสลีย์, อาร์ตูโร กัตติ, มิเกล คอตโต, แมนนี่ ปาเกียว, ฟลอยด์ เมย์เวทเธอร์ จูเนียร์, ฮวน มานูเอล มาร์เกวซ เป็นต้น สำหรับนักมวยชาวไทย ยังไม่เคยมีใครได้เป็นแชมป์โลกในรุ่นนี้ แต่มีนักมวยสากลสมัครคนหนึ่งที่ประสบความสำเร็จ คือ ได้เหรียญทองแดงในการแข่งขันกีฬาโอลิมปิก เมื่อปี ค.ศ. 1992 ในการแข่งขันที่บาร์เซโลน่า ประเทศสเปน คือ อาคม เฉ่งไล่ ในส่วนของนักมวยอาชีพ ถึงแม้จะยังไม่มีแชมป์ในระดับโลก แต่ก็มีนักมวยที่มีชื่อเสียงหรือเป็นแชมป์ในระดับภูมิภาค อาทิ สมพงษ์ เวชสิทธิ์, สมเดช ยนตรกิจ, อภิเดช ศิษย์หิรัญ, ศิริมงคล สิงห์มนัสศักดิ์, ถิรชัย อ.เอกรินทร์ เป็นต้น. มัส เฮิร์นส์ (Thomas Hearns) หรือ ทอมมี่ เฮิร์นส์ (Tommy Hearns) แชมป์โลก 5 รุ่นคนแรกของโลก เจ้าของฉายา "The Hit Man" หรือ "Detroit Cobra".

ความคล้ายคลึงกันระหว่าง เวลเตอร์เวทและโธมัส เฮิร์นส์

เวลเตอร์เวทและโธมัส เฮิร์นส์ มี 6 สิ่งที่เหมือนกัน (ใน ยูเนี่ยนพีเดีย): ชูการ์ เรย์ เลนเนิร์ดมวยสากลออสการ์ เดอ ลา โฮยาซูเปอร์ไลท์เวทซูเปอร์เวลเตอร์เวทประเทศไทย

ชูการ์ เรย์ เลนเนิร์ด

การชกครั้งแรกระหว่าง เลนเนิร์ด กับ ดูรัน ซึ่งเลนเนิร์ดเป็นฝ่ายแพ้คะแนน 15 ยก เสียแชมป์โลกและเป็นการแพ้ครั้งแรก ชูการ์ เรย์ ลีโอนาร์ด (Sugar Ray Leonard) (มักจะอ่านผิดเป็น เลนเนิร์ด) ยอดนักชกชาวอเมริกันในทศวรรษที่ 80 เจ้าของตำแหน่งแชมเปี้ยนโลก 5 รุ่น มีชื่อจริงว่า เรย์ ชาเลส ลีโอนาร์ด (Ray Charles Leonard) เกิดเมื่อวันที่ 17 พฤษภาคม ค.ศ. 1956 ที่เมืองวิลมิงตัน รัฐเซาท์แคโรไลนา ลีโอนาร์ดเริ่มการชกมวยจากมวยสากลสมัครเล่นมาก่อน จนได้เป็นตัวแทนทีมชาติสหรัฐอเมริกาชกโอลิมปิคที่มอนทรีออล ประเทศแคนาดา และชนะเลิศได้เหรียญทองในรุ่นไลท์เวลเตอร์เวท จากนั้นเลนเนิร์ดเริ่มต้นการชกมวยสากลอาชีพเป็นครั้งแรกในปีถัดมา จากการเทรนของ แองเจโล่ ดันดี เทรนเนอร์ระดับโลก อดีตเทรนเนอร์ของ มูฮัมหมัด อาลี จนได้ชิงแชมป์โลกครั้งแรกเมื่อวันที่ 30 พฤศจิกายน ค.ศ. 1979 ในรุ่นเวลเตอร์เวทของสภามวยโลก (WBC) กับ วิลเฟรด เบนิเตซ นักมวยชาวเปอร์โตริกัน ที่ลาสเวกัส ผลการชกเลนเนิร์ดชนะคะแนน 15 ยก ได้เป็นแชมป์โลกรุ่นแรก และเลนเนิร์ดก็สามารถป้องกันตำแหน่งไว้ได้ 1 ครั้ง เมื่อชนะน็อก เดวีย์ กรีน ยกที่ 4 จากนั้น ก็เป็นฝ่ายแพ้คะแนน 15 ยก แก่ โรแบร์โต้ ดูรัน นักมวยจอมตะลุยชาวปานาเมียน เมื่อวันที่ 20 มิถุนายน ค.ศ. 1980 ที่มอนทรีออล แต่อีก 5 เดือนถัดมา เลนเนิร์ดก็เป็นฝ่ายเอาชนะดูรันแย่งแชมป์โลกกลับคืนมาได้ โดยที่ดูรันเป็นฝ่ายขอยอมแพ้เอง เลนเนิร์ดคว้าแชมป์โลกในรุ่นที่ 2 โดยการเอาชนะน็อกยก 9 อายุบ คาลูเล่ เมื่อวันที่ 25 มิถุนายน ค.ศ. 1981 ได้เป็นแชมป์โลกรุ่นจูเนียร์มิดเดิลเวท ของสมาคมมวยโลก (WBA) แต่ไม่ได้ชกป้องกันตำแหน่งกับใครเลย เพราะเลนเนิร์ดต้องการที่จะชกกับ โธมัส เฮิร์นส์ อีกหนึ่งยอดนักชกที่กำลังมีฟอร์มร้อนแรงในขณะนั้น ซึ่งเฮิร์นส์เป็นเจ้าของแชมป์โลกเวลเตอร์เวท สมาคมมวยโลก จึงเป็นการล้มแชมป์เวลเตอร์สองสถาบัน ระหว่าง เลนเนิร์ด แชมป์ สภามวยโลก(WBC) สามารถชนะน็อกยก 14 เฮิร์นส์ได้ที่ซีซาร์ พาเลซ ลาสเวกัส ทำให้เลนเนิร์ดได้เป็นแชมป์โลกพร้อมกันถึง 2 สถาบัน จากนั้นเลนเนิร์ดก็ประกาศแขวนนวมไปเมื่อวันที่ 9 พฤศจิกายน ค.ศ. 1982 แต่แล้วในวันที่ 11 พฤษภาคม ค.ศ. 1985 เลนเนิร์ดก็หวนกลับคืนสู่วงการมวยอีกครั้ง โดยการชนะน็อกยก 9 เควิน โฮเวิร์ด นักมวยรุ่นน้องชาติเดียวกัน แม้จะเอาชนะน็อกได้ แต่ในครั้งนี้เลนเนิร์ดได้ถูกหมัดของโฮเวิร์ดชกลงไปให้กรรมการนับก่อนเป็นครั้งแรกในชีวิตการชกมวยด้วย หลังจากการชกครั้งนี้ เลนเนิร์ดก็ประกาศแขวนนวมอีกครั้ง คราวนี้ยาวนานถึง 3 ปี แล้วจู่ ๆ เลนเนิร์ดก็กลับมาชกมวยอีกครั้ง โดยไม่ได้อุ่นเครื่องกับใครเลย และท้าชิงแชมป์โลกในรุ่นมิดเดิลเวท สภามวยโลก กับ มาร์วิน แฮ็กเลอร์ ยอดนักชกอีกคนหนึ่งในรุ่นกลางของทศวรรษที่ 80 การชกกันของทั้งคู่ดำเนินไปจนถึงยกสุดท้าย ผลการชกปรากฏว่ากรรมการรวมคะแนนแล้วตัดสินให้เลนเนิร์ดเป็นฝ่ายชนะคะแนนไปโดยไม่เอกฉันท์ ทำให้เลนเนิร์ดได้ตำแหน่งแชมป์โลกในรุ่นที่ 3 แต่มีหลายความเห็นเห็นว่าแฮ็กเลอร์น่าจะเป็นฝ่ายชนะมากกว่า หลังจากชกครั้งนี้ มาร์วิน แฮ็กเลอร์ ก็ได้แขวนนวมไปอย่างถาวร โดยที่ไม่กลับมาชกมวยอีกเลย สำหรับลีโอนาร์ดแล้ว ในครั้งต่อมาได้สร้างความประหลาดมากในวงการมวยโลก เมื่อขอขึ้นชกเดิมพันตำแหน่งแชมป์โลกพร้อมกันถึง 2 รุ่น กับ ดอน ลาดอนเด้ นักมวยชาวแคนาเดี้ยน โดยเป็นการชิงแชมป์โลกรุ่นซูเปอร์มิดเดิลเวท สภามวยโลกที่ว่างอยู่ และชิงแชมป์โลกรุ่นไลท์เฮฟวี่เวท สภามวยโลก ที่ลาดอนเด้เป็นแชมป์โลกอยู่ด้วย ซึ่งการชกในแบบนี้เป็นการชกในครั้งแรกและครั้งเดียวตราบจนถึงทุกวันนี้ของวงการมวยโลก ผลการชกปรากฏว่า เลนเนิร์ดเป็นฝ่ายเอาชนะน็อกยก 9 ลาดอนเด้ ไปได้ ซึ่งทำให้เลนเนิร์ดเป็นนักมวยคนที่ 2 ของโลกที่ได้แชมป์โลกถึง 5 รุ่น หลังการได้แชมป์โลกรุ่นซูเปอร์มิดเดิลเวท ขององค์กรมวยโลก (WBO) ของ โธมัส เฮิร์นส์ เพียง 3 วันเท่านั้น จากนั้นลีโอนาร์ดก็สละตำแหน่งแชมป์โลกไลท์เฮฟวี่เวท ในอีก 8 วันต่อมา และชกป้องกันตำแหน่งแชมป์โลกซูเปอร์มิดเดิลเวท เอาไว้ 2 ครั้ง โดยเสมอกับ โธมัส เฮิร์นส์ 12 ยก ในแบบที่ลีโอนาร์ดน่าจะแพ้มากกว่า เพราะลีโอนาร์ดถูกเฮิร์นส์ชกลงไปให้กรรมการนับ 8 ถึง 2 ครั้ง และอีกครั้งเมื่อเอาชนะคะแนน โรแบร์โต้ ดูรัน ไปได้ ก่อนจะแขวนนวมอีกครั้งในเดือนสิงหาคม ค.ศ. 1990 9 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1991 ลีโอนาร์ดก็กลับมาชิงแชมป์โลกอีกครั้งในรุ่นซูเปอร์เวลเตอร์เวท สภามวยโลก กับ เทอร์รี่ นอริส นักมวยอันตรายรุ่นน้องร่วมชาติ คราวนี้ลีโอนาร์ดถูกนอริสถลุงอย่างหนัก และเป็นฝ่ายแพ้คะแนนไปอย่างขาดลอย และประกาศแขวนนวมอีกครั้ง ซึ่งครั้งนี้ไม่มีใครคิดว่าลีโอนาร์ดจะกลับมาชกมวยอีกแล้วอย่างแน่นอน แต่เมื่อหลายปีผ่านไป ในวันที่ 1 มิถุนายน ค.ศ. 1997 ลีโอนาร์ดก็หวนกลับมาสู่สังเวียนมวยอีกครั้ง โดยครั้งนี้พบกับ เฮคเตอร์ คามาโช่ นักมวยจอมลีลาชาวเปอร์โตริกัน ซึ่งในขณะนั้นคามาโช่เองก็อยู่ในปลายๆ ชีวิตการชกมวยแล้วเหมือนกัน ผลการชกลีโอนาร์ดไม่อาจสู้อะไรได้กับคามาโช่เลย และถูกถล่มอยู่ฝ่ายเดียวจนแพ้น็อกไปในยกที่ 5 เท่านั้น ในแบบที่ไม่เคยเป็นมาก่อนในชีวิต ซึ่งนี่คือการชกมวยครั้งสุดท้ายในชีวิตของลีโอนาร์ดอีกด้วย ชูการ์ เรย์ ลีโอนาร์ด (Sugar Ray Leonard) ได้ชื่อว่าเป็นยอดนักมวยในรุ่นกลางในทศวรรษที่ 80 ร่วมกับ โธมัส เฮิร์นส์, โรแบร์โต้ ดูรัน และ มาร์วิน แฮ็กเลอร์ ได้รับการยอมรับว่าเป็นนักมวยที่ชกอย่างชาญฉลาด ลีโอนาร์ดไม่ใช่นักมวยประเภทหมัดหนักหรือบู๊ล้างผลาญ หากแต่เป็นมวยที่มีชั้นเชิงลีลา แต่ในหลายครั้งก็สามารถเอาชนะน็อกคู่ต่อสู้ได้อย่างเด็ดขาด ซึ่งชื่อหน้าคำว่า "ชูการ์ เรย์" นั้น ลีโอนาร์ดนำมาจากชื่อของ ชูการ์ เรย์ โรบินสัน ยอดนักมวยในรุ่นมิดเดิลเวทกลางทศวรรษที่ 50 ซึ่งในปี ค.ศ. 2005 ได้ถูกจัดให้เป็นนักมวยที่เก่งที่สุดในโลกตลอดกาล และในส่วนของลีโอนาร์ดนั้น เขาถูกจัดให้อยู่ในอันดับ 6 ด้วยเช่นกัน.

ชูการ์ เรย์ เลนเนิร์ดและเวลเตอร์เวท · ชูการ์ เรย์ เลนเนิร์ดและโธมัส เฮิร์นส์ · ดูเพิ่มเติม »

มวยสากล

การแข่งขันมวยสากลระดับโลกระหว่าง รีการ์โด โดมิงเกวซ (ซ้าย) ฮุกซ้ายใส่ ออเรออน'ส ราฟาเอล ออร์ตีซ ที่แคลิฟอร์เนีย พ.ศ. 2548 มวยสากล (Boxing) เป็นศิลปะการต่อสู้ชนิดหนึ่งที่สู้กันด้วยหมัดทั้ง 2 ข้าง มีการแข่งขันตั้งแต่สมัยกีฬาโอลิมปิกยุคโบราณ และเป็นที่นิยมมาจนถึงปัจจุบัน มวยสากล จะกำหนดการให้คะแนน ถ้าไม่มีฝ่ายไหนแพ้ชนะน็อต จะตัดสินจากคะแนนรวมยกที่ 20 คือยกสุดท้.

มวยสากลและเวลเตอร์เวท · มวยสากลและโธมัส เฮิร์นส์ · ดูเพิ่มเติม »

ออสการ์ เดอ ลา โฮยา

ออสการ์ เดอ ลา โฮยา (Oscar De La Hoya) เกิดเมื่อวันที่ 4 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1971 ที่เมืองมอนเตเบลโล ในอีสต์ ลอสแอนเจลิส แคลิฟอร์เนี.

ออสการ์ เดอ ลา โฮยาและเวลเตอร์เวท · ออสการ์ เดอ ลา โฮยาและโธมัส เฮิร์นส์ · ดูเพิ่มเติม »

ซูเปอร์ไลท์เวท

ซูเปอร์ไลท์เวท (Super lightweight) ชื่อเรียกรุ่นมวยรุ่นหนึ่งที่อยู่ระหว่างรุ่นไลท์เวทกับรุ่นเวลเตอร์เวท นักมวยที่จะชกในรุ่นนี้ต้องมีน้ำหนักมากกว่า 135 ปอนด์ (61.235 กิโลกรัม) และไม่เกิน 140 ปอนด์ (63.503 กิโลกรัม) โดยสถาบันสภามวยโลก (WBC) และสมาคมมวยโลก (WBA) ก่อตั้งรุ่นนี้ขึ้นมาพร้อมกันในปี ค.ศ. 1967 โดยเริ่มแรกเรียกว่า ไลท์เวลเตอร์เวท (Light welterweight) ต่อมาทางสภามวยโลกได้เปลี่ยนชื่อรุ่นเป็น ซูเปอร์ไลท์เวท ส่วนทางสมาคมมวยโลกและสหพันธ์มวยนานาชาติ (IBF) เรียกว่า จูเนียร์เวลเตอร์เวท (Junior welterweight) แต่ในวงการมวยสากลสมัครเล่นยังคงเรียกว่า ไลท์เวลเตอร์เวท อยู่ สำหรับนักมวยไทยเคยครองแชมป์โลกในรุ่นนี้มาแล้ว 1 คน คือ แสนศักดิ์ เมืองสุรินทร์ ซึ่งเป็นแชมป์โลกรุ่นใหญ่สุดที่นักมวยไทยเคยเป็นแชมป์มาด้วย และมีนักมวยสากลสมัครเล่นเคยได้ครองเหรียญทองโอลิมปิกมาแล้วในปี ค.ศ. 2004 คือ มนัส บุญจำนงค์ และได้เหรียญเงินโอลิมปิก 2 คน คือ ทวี อัมพรมหา ในปี ค.ศ. 1984 และ มนัส บุญจำนงค์ ในปี ค.ศ. 2008 สำหรับนักมวยชาวต่างชาติที่มีชื่อเสียง ที่ชกหรือเคยชกในพิกัดน้ำหนักนี้ ได้แก่ กัตซ์ อิชิมะสึ, อันโตนิโอ เซอร์วองเตซ, ชูการ์ เรย์ เลียวนาร์ด, โธมัส เฮิร์นส์, โรแบร์โต้ ดูรัน, ฮูลิโอ ซีซาร์ ชาเวซ, ออสการ์ เดอ ลา โฮยา, มิเกล แองเจิล กอนซาเลซ, มิเกล คอตโต, แมนนี่ ปาเกียว, อีริค โมราเลส, ฟลอยด์ เมย์เวทเธอร์ จูเนียร์, อาร์ตูโร กัตติ, อาเมียร์ ข่าน, รุสลัน โปรวอดนิคอฟ เป็นต้น.

ซูเปอร์ไลท์เวทและเวลเตอร์เวท · ซูเปอร์ไลท์เวทและโธมัส เฮิร์นส์ · ดูเพิ่มเติม »

ซูเปอร์เวลเตอร์เวท

ซูเปอร์เวลเตอร์เวท (Super welterweight) เป็นพิกัดน้ำหนักมวยในระดับกลาง นักมวยที่ชกในรุ่นนี้ ต้องมีน้ำหนักตัวมากกว่า 147 ปอนด์ (66.678 กิโลกรัม) และไม่เกิน 154 ปอนด์ (69.853 กิโลกรัม) ในทางสภามวยโลก (WBC) จะเรียกพิกัดนี้ว่า ซูเปอร์เวลเตอร์เวท ขณะที่สมาคมมวยโลก (WBA) และสหพันธ์มวยนานาชาติ (IBF) และในแวดวงมวยสากลสมัครเล่นจะเรียกชื่อรุ่นนี้ว่า จูเนียร์มิดเดิลเวท (Junior middleweight) หรือ ไลท์มิดเดิลเวท (Light middleweight) อีกทั้งในรุ่นนี้ยังเป็นรุ่นแรกที่ตามกติกาแล้ว นักมวยที่ชกในพิกัดนี้ (และในพิกัดที่ใหญ่กว่านี้) ต้องใช้นวมขนาด 10 ออนซ์ แต่ก็อาจจะมีการปรับเปลี่ยนกันได้ตามแต่จะตกลงกัน นักมวยที่มีชื่อเสียงที่ได้ชกหรือเคยชกในพิกัดนี้ ได้แก่ วิลเฟร็ด เบนิเตซ, ชูการ์ เรย์ เลียวนาร์ด, โรแบร์โต้ ดูรัน, โธมัส เฮิร์นส์, ฮูลิโอ ซีซาร์ กรีน, เทอรี่ นอร์ริส, ออสการ์ เดอ ลา โฮยา, รอย โจนส์ จูเนียร์, เฟอร์นันโด วาร์กัส, แมนนี่ ปาเกียว, มิเกล คอตโต, ฟลอยด์ เมย์เวทเธอร์ จูเนียร์ เป็นต้น ในส่วนนักมวยชาวไทยยังไม่มีใครที่ประสบความสำเร็จในระดับโลก แต่ก็มีบางคนที่ได้แชมป์ในระดับนานาชาติ หรือมีชื่อเสียงทั้งในอดีต เช่น เขียวหวาน ยนตรกิจ, อภิเดช ศิษย์หิรัญ เป็นต้น (มีอยู่หนึ่งคน คือ เกียรติชัย ไอซ์เจลลิบาล์ม แต่เป็นแชมป์โลกของสหพันธ์มวยโลก (WBF) ซึ่งเป็นสถาบันเล็ก ไม่ได้มาตรฐาน ไม่ได้รับการยอมรับ) ในส่วนของมวยสากลสมัครเล่น มีอยู่หนึ่งคนที่ได้รับเหรียญรางวัลโอลิมปิก คือ พรชัย ทองบุราณ ได้รับเหรียญทองแดง จากการแข่งขันโอลิมปิก 2000 ที่นครซิดนีย์ ประเทศออสเตรเลี.

ซูเปอร์เวลเตอร์เวทและเวลเตอร์เวท · ซูเปอร์เวลเตอร์เวทและโธมัส เฮิร์นส์ · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศไทย

ประเทศไทย มีชื่ออย่างเป็นทางราชการว่า ราชอาณาจักรไทย เป็นรัฐชาติอันตั้งอยู่ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เดิมมีชื่อว่า "สยาม" รัฐบาลประกาศเปลี่ยนชื่อเป็นประเทศไทยอย่างเป็นทางการตั้งแต่ปี 2482 ประเทศไทยมีขนาดใหญ่เป็นอันดับที่ 50 ของโลก มีเนื้อที่ 513,115 ตารางกิโลเมตร และมีประชากรมากเป็นอันดับที่ 20 ของโลก คือ ประมาณ 66 ล้านคน กรุงเทพมหานครเป็นศูนย์กลางการบริหารราชการแผ่นดินและนครใหญ่สุดของประเทศ และการปกครองส่วนภูมิภาค จัดระเบียบเป็น 76 จังหวัด แม้จะมีการสถาปนาระบอบราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญและประชาธิปไตยระบบรัฐสภาในปี 2475 แต่กองทัพยังมีบทบาทในการเมืองไทยสูง ล่าสุด เกิดรัฐประหารเมื่อวันที่ 22 พฤษภาคม 2557 และมีการปกครองแบบเผด็จการทหารนับแต่นั้น พบหลักฐานการอยู่อาศัยอย่างต่อเนื่องในอาณาเขตประเทศไทยปัจจุบันตั้งแต่ 20,000 ปีก่อนคริสตกาล ชาวไทเริ่มอพยพเข้าสู่บริเวณนี้ในคริสต์ศตวรรษที่ 11 แล้วเข้ามาตั้งแว่นแคว้นต่าง ๆ ที่สำคัญได้แก่ อาณาจักรสุโขทัย อาณาจักรล้านนาและอาณาจักรอยุธยา นักประวัติศาสตร์มักถือว่าอาณาจักรสุโขทัยเป็นจุดเริ่มต้นของประวัติศาสตร์ไทย ต่อมาอาณาจักรอยุธยาค่อย ๆ เรืองอำนาจมากขึ้นจนเป็นมหาอำนาจในภูมิภาคในปลายคริสต์ศตวรรษที่ 14 การติดต่อกับชาติตะวันตกเริ่มด้วยผู้แทนทางทูตชาวโปรตุเกสในปี 2054 อาณาจักรรุ่งเรืองอย่างมากในรัชกาลสมเด็จพระนารายณ์มหาราช (ครองราชย์ปี 2199–2231) แต่หลังจากนั้นค่อย ๆ เสื่อมอำนาจโดยมีสาเหตุส่วนหนึ่งจากการผลัดแผ่นดินที่มีการนองเลือดหลายรัชกาล จนสุดท้ายกรุงศรีอยุธยาถูกทำลายสิ้นเชิงในปี 2310 สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีทรงรวบรวมแผ่นดินที่แตกออกเป็นก๊กต่าง ๆ และสถาปนาอาณาจักรธนบุรีที่มีอายุ 15 ปี ความวุ่นวายในช่วงปลายอาณาจักรนำไปสู่การสำเร็จโทษพระองค์โดยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ปฐมราชวงศ์จักรีแห่งกรุงรัตนโกสินทร์ ช่วงต้นกรุงรัตนโกสินทร์ ประเทศเผชิญภัยคุกคามจากชาติใกล้เคียง แต่หลังรัชกาลพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเป็นต้นมา ชาติตะวันตกเริ่มมีอิทธิพลในภูมิภาคเป็นอย่างมาก นำไปสู่การเข้าเป็นภาคีแห่งสนธิสัญญาไม่เป็นธรรมหลายฉบับ กระนั้น สยามไม่ตกเป็นอาณานิคมของตะวันตกชาติใด มีการปรับให้สยามทันสมัยและรวมอำนาจปกครองในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (ครองราชย์ปี 2411–53) สยามเข้าร่วมกับฝ่ายสัมพันธมิตรในสงครามโลกครั้งที่หนึ่งในปี 2460; ในปี 2475 เกิดการปฏิวัติเปลี่ยนแปลงการปกครองสู่ระบอบราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญโดยไม่เสียเลือดเนื้อ คณะราษฎรมีบทบาทนำทางการเมือง และในพุทธทศวรรษ 2480 นายกรัฐมนตรี จอมพล แปลก พิบูลสงคราม ดำเนินนโยบายชาตินิยมเข้มข้น ระหว่างสงครามโลกครั้งที่สอง ไทยเข้ากับฝ่ายอักษะ แต่ฝ่ายสัมพันธมิตรส่วนใหญ่ไม่ยอมรับการประกาศสงคราม ในช่วงสงครามเย็น ประเทศไทยเป็นพันธมิตรกับสหรัฐซึ่งสนับสนุนรัฐบาลทหารมาก รัฐประหารที่มีจอมพล สฤษดิ์ ธนะรัชต์เป็นหัวหน้าคณะในปี 2500 ทำให้คณะราษฎรหมดอำนาจ รัฐบาลฟื้นฟูพระราชอำนาจและมีมาตรการต่อต้านคอมมิวนิสต์ในภูมิภาค ผลของเหตุการณ์ 14 ตุลา 2516 ทำให้เกิดประชาธิปไตยระบบรัฐสภาช่วงสั้น ๆ ประเทศไทยมีนายกรัฐมนตรีจากการเลือกตั้งครั้งแรกในปี 2531 หลังพุทธทศวรรษ 2540 มีวิกฤตการเมืองระหว่างฝ่ายที่สนับสนุนและต่อต้านอดีตนายกรัฐมนตรีทักษิณ ชินวัตรมาจนปัจจุบัน รวมทั้งเกิดรัฐประหารสองครั้ง โดยครั้งล่าสุดเกิดในปี 2557 รัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบันเป็นฉบับที่ 20 ประกาศใช้เมื่อวันที่ 6 เมษายน 2560 หลังมีการลงประชามติรับร่างเมื่อหนึ่งปีก่อน ประเทศไทยเป็นสมาชิกสหประชาชาติ เอเปก อีกทั้งเป็นร่วมผู้ก่อตั้งอาเซียน ประเทศไทยเป็นพันธมิตรของสหรัฐตั้งแต่สนธิสัญญาซีโต้ในปี 2497 ถือเป็นประเทศอำนาจนำภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และประเทศอำนาจปานกลางในเวทีโลก ประเทศไทยเป็นประเทศที่มีรายได้ปานกลาง-สูงและประเทศอุตสาหกรรมใหม่ มีรายได้หลักจากภาคอุตสาหกรรมและบริการ การเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจทำให้มีการอพยพเข้าสู่เมืองในคริสต์ศตวรรษที่ 20 ตามประมาณการในปี 2560 จีดีพีของประเทศไทยมีมูลค่าราว 432,898 ล้านดอลลาร์สหรัฐ นับว่าเศรษฐกิจไทยเป็นเศรษฐกิจใหญ่สุดเป็นอันดับ 2 ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และใหญ่เป็นอันดับที่ 26 ของโลก.

ประเทศไทยและเวลเตอร์เวท · ประเทศไทยและโธมัส เฮิร์นส์ · ดูเพิ่มเติม »

รายการด้านบนตอบคำถามต่อไปนี้

การเปรียบเทียบระหว่าง เวลเตอร์เวทและโธมัส เฮิร์นส์

เวลเตอร์เวท มี 27 ความสัมพันธ์ขณะที่ โธมัส เฮิร์นส์ มี 47 ขณะที่พวกเขามีเหมือนกัน 6, ดัชนี Jaccard คือ 8.11% = 6 / (27 + 47)

การอ้างอิง

บทความนี้แสดงความสัมพันธ์ระหว่าง เวลเตอร์เวทและโธมัส เฮิร์นส์ หากต้องการเข้าถึงบทความแต่ละบทความที่ได้รับการรวบรวมข้อมูลโปรดไปที่:

Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »