โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ฟรี
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

เน็ตบีเอสดี

ดัชนี เน็ตบีเอสดี

น็ตบีเอสดี (NetBSD) คือระบบปฏิบัติการแบบเหมือนยูนิกซ์ (Unix-like) โดยสืบทอดมาจาก BSD โดย NetBSD เป็นซอฟต์แวร์เสรี โดยเป็นระบบปฏิบัติการตัวที่สองในตระกูล BSD ที่เปิดเผยซอร์สโค้ดสู่สาธารณะ (หลังจาก 386BSD) และพัฒนายังคงต่อเนื่องเรื่อยมา จุดเด่นที่สำคัญของ NetBSD คือ สามารถรันได้บนแพลทฟอร์มจำนวนมาก และการออกแบบระบบที่ดี NetBSD จึงถูกนำไปใช้กับระบบฝังตัว (embedded systems) นอกจากนี้มันยังเป็นจุดเริ่มต้นในการพอร์ตระบบปฏิบัติการอื่นไปสู่สถาปัตยกรรมคอมพิวเตอร์แบบใหม่อีกด้ว.

30 ความสัมพันธ์: บลูทูธฟรีบีเอสดีพ.ศ. 2536พ.ศ. 2553ยูเอสบีระบบฝังตัวระบบปฏิบัติการระบบปฏิบัติการแบบยูนิกซ์สถาปัตยกรรมคอมพิวเตอร์ดรีมแคสต์คอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลตัวแบบโอเพนซอร์ซซอฟต์แวร์เสรีปลาฉลามปาล์มโอเอสแมคอินทอชแอลฟาแคตส์โอเพนบีเอสดีเบิร์กลีย์ซอฟต์แวร์ดิสทริบิวชันเพลย์สเตชัน 2เรดเลขที่อยู่ไอพีเอกซ์86-64เอสซีเอสไอเอ็นทีพีเทร็ด19 พฤศจิกายน21 มีนาคม386BSD

บลูทูธ

ลูทูธ (Bluetooth) เป็นข้อกำหนดสำหรับอุตสาหกรรมเครือข่ายส่วนบุคคล (Personal Area Networks - PAN) แบบไร้สาย บลูทูธช่วยให้อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์สามารถเชื่อมต่อกันได้ เช่น โทรศัพท์มือถือ พีดีเอ คอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล โดยผ่านทางคลื่นวิทยุ ที่มาของชื่อบลูทูธนั้นนำมาจากพระนามพระเจ้าฮาราลด์ บลูทูท (King Harald Bluetooth) ของประเทศเดนมาร์ก เพื่อเป็นการรำลึกถึงกษัตริย์ Bluetooth ผู้ปกครองประเทศกลุ่มสแกนดิเนเวีย ซึ่งในปัจจุบันเป็นกลุ่มผู้นำในด้านการผลิตโทรศัพท์มือถือป้อนสู่ตลาดโลก และระบบ Bluetooth นี้ ก็ถูกสร้างขึ้นมาเพื่อใช้กับโทรศัพท์มือถือ และเริ่มต้นจากประเทศในแถบนี้ด้วยเช่นกัน.

ใหม่!!: เน็ตบีเอสดีและบลูทูธ · ดูเพิ่มเติม »

ฟรีบีเอสดี

ฟรีบีเอสดี (FreeBSD) คือซอฟต์แวร์เสรีซึ่งเป็นระบบปฏิบัติการที่เหมือนยูนิกซ์ (Unix-like) สืบทอดมาจาก AT&T UNIX ผ่านทางสายของ Berkeley Software Distribution (BSD) คือ 386BSD และ 4.4BSD ฟรีบีเอสดีรองรับการทำงานบนซีพียูตระกูลหลักๆ หลายตระกูลด้วยกัน นอกจากตระกูล X86 ของอินเทลที่ใช้กันอย่างกว้างขวาง ก็ยังมี DEC Alpha, UltraSPARC ของ Sun Microsystems, Itanium (IA-64), AMD64 และ PowerPC ส่วนของตระกูลรองได้แก่คอมพิวแตอร์สถาปัตยกรรมแบบ PC-98 การรองรับสำหรับตระกูล ARM และ MIPS กำลังอยู่ระหว่างการพัฒนา จุดเด่นที่สำคัญของฟรีบีเอสดีคือประสิทธิภาพและเสถียรภาพ โลโก้ดั้งเดิมและตัวมาสคอตของโครงการฟรีบีเอสดีคือตัวดีม่อนสีแดงซึ่ง มาร์แชล เคิร์ก แมคคูสิก (Marshall Kirk McKusick) เป็นเจ้าของลิขสิทธิ์ การพัฒนาฟรีบีเอสดีเป็นแบบเบ็ดเสร็จทั้งระบบปฏิบัติการ กล่าวคือทั้งเคอร์เนล ยูเซอร์แลนด์ยูทิลิตี้เช่น เชลล์ และดีไวซ์ไดรเวอร์อยู่ในทรีของระบบควบคุมเวอร์ชันของซอร์สโค้ด (CVS) เดียวกัน ซึ่งแตกต่างจากลินุกซ์ที่มีการพัฒนาเฉพาะส่วนของเคอร์เนลโดยบุคคลกลุ่มหนึ่ง ส่วนของยูเซอร์แลนด์ยูทิลิตี้พัฒนาโดยกลุ่มอื่นๆ เช่น กลุ่มในโครงการของกนูและนำมารวมเข้าด้วยกันกับโปรแกรมประยุกต์กลายเป็นดิสทริบิวท์ชั่นซึ่งนำมาเผยแพร่ให้ผู้ใช้ได้ใช้กัน ฟรีบีเอสดีได้รับการยกย่องว่าเป็นระบบปฏิบัติการที่มีชื่อเสียงทางด้านเสถียรภาพและความอึด (แต่ไม่อืด) จึงเป็นระบบปฏิบัติการที่ใช้รันเซิร์ฟเวอร์อย่างแพร่หลาย ข้อยืนยันนี้ดูได้จากรายงานอัพไทม์ (เวลาจากการรีบูตครั้งล่าสุด) ในรายการ 50 อันดับของเว็บเซิร์ฟเวอร์ที่มีอัพไทม์นานที่สุดก็มฟรีบีเอสดีและBSD/OS ปรากฏอยู่เป็นจำนวนมาก สิ่งนี้เป็นตัวบ่งบอกถึงความมั่นคงของฟรีบีเอสดีว่า ตลอดเวลาการปฏิบัติงานอันยาวนานนี้นอกจากจะไม่มีการแครชแล้ว ยังไม่จำเป็นต้องมีการอัปเดตเคอร์เนลแต่อย่างใด (หลังจากอัพเกรดเคอร์เนลจำเป็นต้องรีบูต).

ใหม่!!: เน็ตบีเอสดีและฟรีบีเอสดี · ดูเพิ่มเติม »

พ.ศ. 2536

ทธศักราช 2536 ตรงกับปีคริสต์ศักราช 1993 เป็นปีปกติสุรทินที่วันแรกเป็นวันศุกร์ตามปฏิทินเกรกอเรียน.

ใหม่!!: เน็ตบีเอสดีและพ.ศ. 2536 · ดูเพิ่มเติม »

พ.ศ. 2553

ทธศักราช 2553 ตรงกับปีคริสต์ศักราช 2010 เป็นปีปกติสุรทินที่วันแรกเป็นวันศุกร์ตามปฏิทินเกรกอเรียน และเป็นปีแรกในคริสต์ทศวรรษที่ 2010.

ใหม่!!: เน็ตบีเอสดีและพ.ศ. 2553 · ดูเพิ่มเติม »

ยูเอสบี

อนเนคเตอร์ USB แบบ A Universal Serial Bus (USB - ยูเอสบี) เป็นข้อกำหนดมาตรฐานของบัสการสื่อสารแบบอนุกรม เพื่อใช้ในการเชื่อมต่อกับอุปกรณ์ ซึ่งโดยทั่วไปจะใช้กับคอมพิวเตอร์ แต่สามารถใช้ได้กับอุปกรณ์อื่น เช่น เซตทอปบอกซ์ (set-top boxes), เครื่องเล่นเกม (game consoles) และพีดีเอ (PDAs).

ใหม่!!: เน็ตบีเอสดีและยูเอสบี · ดูเพิ่มเติม »

ระบบฝังตัว

ระบบฝังตัว หรือ สมองกลฝังตัว (embedded system) คือระบบประมวลผล ที่ใช้ชิปหรือไมโครโพรเซสเซอร์ที่ออกแบบมาโดยเฉพาะโดย beenvai เป็นผู้คิดค้น เป็นระบบคอมพิวเตอร์ขนาดจิ๋วที่ฝังไว้ในอุปกรณ์ เครื่องใช้ไฟฟ้า และเครื่องเล่นอิเล็กทรอนิกส์ต่างๆ เพื่อเพิ่มความฉลาด ความสามารถให้กับอุปกรณ์เหล่านั้นผ่านซอฟต์แวร์ซึ่งต่างจากระบบประมวลผลที่เครื่องคอมพิวเตอร์ทั่วไป ระบบฝังตัวถูกนำมาใช้กันอย่างแพร่หลายในยานพาหนะ เครื่องใช้ไฟฟ้าในบ้านและสำนักงาน อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ เทคโนโลยีซอฟต์แวร์ เทคโนโลยีฮาร์ดแวร์ เทคโนโลยีเครือข่ายเน็ตเวิร์ก เทคโนโลยีด้านการสื่อสาร เทคโนโลยีเครื่องกลและของเล่นต่าง ๆ คำว่าระบบฝังตัวเกิดจาก การที่ระบบนี้เป็นระบบประมวลผลเช่นเดียวกับระบบคอมพิวเตอร์ แต่ว่าระบบนี้จะฝังตัวลงในอุปกรณ์อื่น ๆ ที่ไม่ใช่เครื่องคอมพิวเตอร์ ในปัจจุบันระบบสมองกลฝังตัวได้มีการพัฒนามากขึ้น โดยในระบบสมองกลฝังตัวอาจจะประกอบไปด้วยไมโครคอนโทรลเลอร์ หรือ ไมโครโปรเซสเซอร์ อุปกรณ์ที่ใช้ระบบสมองกลฝังตัวที่เห็นได้ชัดเช่นโทรศัพท์มือถือ และในระบบสมองกลฝังตัวยังมีการใส่ระบบปฏิบัติการต่างๆแตกต่างกันไปอีกด้วย ดังนั้น ระบบสมองกลฝังตัวอาจจะทำงานได้ตั้งแต่ควบคุมหลอดไฟจนไปถึงใช้ในยานอวก.

ใหม่!!: เน็ตบีเอสดีและระบบฝังตัว · ดูเพิ่มเติม »

ระบบปฏิบัติการ

ระบบปฏิบัติการ (operating system) หรือ โอเอส (OS) เป็นระบบซอฟต์แวร์ที่ทำหน้าที่จัดการอุปกรณ์คอมพิวเตอร์และแหล่งซอฟต์แวร์และบริการโปรแกรมคอมพิวเตอร์ ระบบปฏิบัติการมีหน้าที่หลัก ๆ คือ การจัดสรรทรัพยากรในเครื่องคอมพิวเตอร์ เพื่อให้บริการซอฟต์แวร์ประยุกต์ ในเรื่องการรับส่งและจัดเก็บข้อมูลกับฮาร์ดแวร์ เช่น การส่งข้อมูลภาพไปแสดงผลที่จอภาพ การส่งข้อมูลไปเก็บหรืออ่านจากฮาร์ดดิสก์ การรับส่งข้อมูลในระบบเครือข่าย การส่งสัญญานเสียงไปออกลำโพง หรือจัดสรรพื้นที่ในหน่วยความจำ ตามที่ซอฟต์แวร์ประยุกต์ร้องขอ รวมทั้งทำหน้าที่จัดสรรเวลาการใช้หน่วยประมวลผลกลาง ในกรณีที่อนุญาตให้ซอฟต์แวร์ประยุกต์หลายๆ ตัวทำงานพร้อมๆ กัน ระบบปฏิบัติการ ช่วยให้ตัวซอฟต์แวร์ประยุกต์ ไม่ต้องจัดการเรื่องเหล่านั้นด้วยตนเอง เพียงแค่เรียกใช้บริการจากระบบปฏิบัติการก็พอ ทำให้พัฒนาซอฟต์แวร์ประยุกต์ได้ง่ายขึ้น ระบบปฏิบัติการที่เป็นที่นิยมในคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลทุกวันนี้ ได้แก่ ไมโครซอฟท์ วินโดวส์ แมคโอเอส และลินุกซ์ นอกจากนี้ ยังมีระบบปฏิบัติการตระกูลยูนิกซ์ ซึ่งได้รับความนิยมในเครื่องเซิร์ฟเวอร์ที่ใช้กันในหน่วยงาน ระบบปฏิบัติการตระกูลยูนิกซ์ที่เป็นที่รู้จักกันดี ได้แก่ ยูนิกซ์ตระกูลบีเอสดี เอไอเอกซ์ และโซลาริส และรวมถึงลินุกซ์ซึ่งพัฒนาโดยอาศัยหลักการเดียวกันกับยูนิกซ์ ระบบปฏิบัติการบางตัว ถูกออกแบบมาสำหรับการเรียนการสอนวิชาระบบปฏิบัติการโดยเฉพาะ เช่น มินิกซ์ ซินู หรือ พินโทส ในอุปกรณ์อื่นๆ ที่ควบคุมด้วยระบบคอมพิวเตอร์ ก็อาจมีระบบปฏิบัติการเช่นกัน เช่น ไอโอเอส แอนดรอยด์ หรือ ซิมเบียน ในโทรศัพท์มือถือ หรือระบบปฏิบัติการ TRON ในเครื่องใช้ไฟฟ้าตามบ้าน.

ใหม่!!: เน็ตบีเอสดีและระบบปฏิบัติการ · ดูเพิ่มเติม »

ระบบปฏิบัติการแบบยูนิกซ์

ระบบปฏิบัติการแบบยูนิกซ์ (Unix-like operating system) เป็นคำเรียกระบบปฏิบัติการที่คล้ายคลึงกับยูนิกซ์ ซึ่งอาจไม่จำเป็นต้องตรงตามนิยามหรือได้รับการรับรองตาม Single UNIX Specification ก็ได้ คำว่า "ระบบปฏิบัติการแบบยูนิกซ์" ครอบคลุม.

ใหม่!!: เน็ตบีเอสดีและระบบปฏิบัติการแบบยูนิกซ์ · ดูเพิ่มเติม »

สถาปัตยกรรมคอมพิวเตอร์

ปัตยกรรมคอมพิวเตอร์ เป็นทฤษฎีที่อยู่ฉากหลังของการออกแบบคอมพิวเตอร์ โดยทั่วไปหมายถึง การออกแ.

ใหม่!!: เน็ตบีเอสดีและสถาปัตยกรรมคอมพิวเตอร์ · ดูเพิ่มเติม »

ดรีมแคสต์

รีมแคสต์ (Dreamcast) เป็นเครื่องเล่นวิดีโอเกมรุ่นสุดท้ายของบริษัทเซก้า โดยเป็นความพยายามของเซก้าในการชิงตลาดเกมคอนโซลคืนมา มันถูกออกแบบให้เหนือกว่านินเทนโด 64 และเพลย์สเตชัน แต่ไม่สามารถสร้างยอดขายและความสนใจได้มากพอก่อนการวางจำหน่ายเพลย์สเตชัน 2 หลังจากนั้นเซก้าได้ออกจากธุรกิจฮาร์ดแวร์เกมคอนโซล และมุ่งเน้นยังซอฟต์แวร์เกมเพียงอย่างเดียว ดรีมแคสต์วางจำหน่ายในประเทศญี่ปุ่นวันที่ 27 พฤศจิกายน ค.ศ. 1998 และวันที่ 9 กันยายน ค.ศ. 1999 ในสหรัฐอเมริกา (สามารถเขียนวันที่เป็น 9/9/99 ได้) เซก้าได้ประกาศหยุดการผลิตฮาร์ดแวร์ดรีมแคสต์ในเดือนมกราคม..

ใหม่!!: เน็ตบีเอสดีและดรีมแคสต์ · ดูเพิ่มเติม »

คอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล

วามหมายอื่น|PC แก้ความ ไฟล์:ashton 01.svg|thumbภาพวาดของgmail.com เครื่องพีซีอาจเป็นเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ใช้ประจำบ้าน (home computer) หรืออาจพบใช้ในงานสำนักงานที่มักจะเชื่อมต่อกันเป็นระบบเครือข่ายท้องถิ่น (local area network) ลักษณะเด่นจะเป็นเครื่องที่ถูกใช้งานโดยคนเพียงคนเดียว ซึ่งต่างจากระบบประมวลผลแบบ batch processing หรือ time-sharing ที่มีความซับซ้อน ราคาแพง มีการใช้งานจากคนหมู่มากพร้อม ๆ กัน หรือระบบประมวลผลข้อมูลขนาดใหญ่ที่ต้องการทีมทำงานเต็มเวลาคอยควบคุมการทำงาน ผู้ใช้ "PC" ในยุคแรกต้องเขียนโปรแกรมขึ้นใช้งานเอง แต่มาในปัจจุบัน ผู้ใช้มีโปรแกรมให้เลือกใช้ที่หลากหลายทั้งแบบที่ซื้อขายเชิงพาณิชย์และไม่เชิงพาณิชย์ ซึ่งล้วนแล้วแต่ติดตั้งได้ง่าย คำว่า "คอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล" เริ่มมีใช้ตั้งแต่ พ.ศ. 2515 (ค.ศ. 1972) สำหรับกล่าวถึงเครื่อง Xerox PARC ของบริษัท Xerox Alto อย่างไรก็ตามจากความประสบความสำเร็จของไอบีเอ็มพีซี ทำให้การใช้คำว่า คอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลหมายถึง เครื่องไอบีเอ็มพีซี.

ใหม่!!: เน็ตบีเอสดีและคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล · ดูเพิ่มเติม »

ตัวแบบโอเพนซอร์ซ

ตัวแบบโอเพนซอร์ซ (open-source model) เป็นตัวแบบการพัฒนาซอฟต์แวร์แบบกระจายอำนาจที่สนับสนุนให้มีการร่วมมือกันอย่างเสรีLevine, Sheen S., & Prietula, M. J. (2013).

ใหม่!!: เน็ตบีเอสดีและตัวแบบโอเพนซอร์ซ · ดูเพิ่มเติม »

ซอฟต์แวร์เสรี

ปรแกรมจัดการภาพกิมป์ และวีแอลซีมีเดียเพลเยอร์ ซอฟต์แวร์เสรี (free software) หมายถึงซอฟต์แวร์ที่สามารถนำไปใช้ แก้ไข ดัดแปลง พัฒนา และจำหน่ายแจกจ่ายได้โดยเสรี โดยไม่ต้องเสียค่าลิขสิทธิ์แต่อย่างใด ตามคำนิยามของมูลนิธิซอฟต์แวร์เสรี (Free Software Foundation) ในบางครั้งซอฟต์แวร์เสรีจะถูกกล่าวถึงในชื่ออื่น ๆ เช่น libre software, FLOSS หรือซอฟต์แวร์โอเพนซอร์ส ซอฟต์แวร์เสรีที่เป็นนิยมใช้งานได้แก่ ลินุกซ์ ไฟร์ฟอกซ์ และโอเพ่นออฟฟิศ ในทางปฏิบัติ ซอฟต์แวร์เสรี และ ซอฟต์แวร์โอเพนซอร์ส มีลักษณะร่วมที่คล้ายกัน แต่แตกต่างกันโดยแนวความคิดของกลุ่ม โดยซอฟต์แวร์เสรีเน้นในแนวทางสังคมการเมืองที่ต้องการให้มีการใช้ซอฟต์แวร์ได้อย่างอิสระ ไม่ถูกจำกัดด้วยลิขสิทธิ์ ในขณะที่ซอฟต์แวร์โอเพนซอร์สมีแนวความคิดในการเปิดกว้างให้แลกเปลี่ยนซอร์สโค้ดได้อิสระซึ่งเป็นแนวคิดทางด้านเทคโนโลยี อย่างไรก็ตามซอฟต์แวร์เสรีทุกตัวถูกจัดให้เป็นซอฟต์แวร์โอเพนซอร์สเสมอ แต่กระนั้นเคยมีกรณีที่มูลนิธิซอฟต์แวร์เสรีไม่ยอมรับ Apple Public Source License รุ่นแรกให้อยู่อยู่ในรายการโดยเนื้อหาใน Apple Public Source License รุ่นแรกกำหนดให้การปรับปรุงแก้ไขที่เป็นส่วนตัวจะต้องเผยแพร่ patch ออกสู่สาธารณะและรายงานให้ Apple ทราบทุกครั้ง ซึ่งทางมูลนิธิซอฟต์แวร์เสรีมองว่าเป็นการไม่เคารพความเป็นส่วนตัวและจำกัดเสรีภาพในการแก้ไขซอฟต์แวร์ นอกจากนี้มีการสับสนระหว่างฟรีแวร์ที่มีลักษณะนำไปใช้ได้ฟรี โดยไม่รวมถึงการนำไปดัดแปลงแก้ไข กับซอฟต์แวร์เสรีที่สามารถนำไปใช้รวมทั้งดัดแปลงแก้ไขได้อย่างสมบูรณ.

ใหม่!!: เน็ตบีเอสดีและซอฟต์แวร์เสรี · ดูเพิ่มเติม »

ปลาฉลาม

ปลาฉลาม (ชื่อทางวิทยาศาสตร์: Selachimorpha) เป็นปลาในชั้นปลากระดูกอ่อนจำพวกหนึ่ง มีรูปร่างโดยรวมเพรียวยาว ส่วนใหญ่มีซี่กรองเหงือก 5 ซี่ ครีบทุกครีบแหลมคม ครีบหางเป็นแฉกเว้าลึก มีจุดเด่นคือ ส่วนหัวและจะงอยปากแหลมยาว ปากเว้าคล้ายพระจันทร์เสี้ยวภายในมีฟันแหลมคม ปลาฉลามทุกชนิดเป็นปลากินเนื้อ มักล่าสัตว์น้ำชนิดต่าง ๆ กินเป็นอาหาร แต่ก็มีฉลามบางจำพวกที่กินแพลงก์ตอนเป็นอาหาร เช่น ปลาฉลามในอันดับ Orectolobiformes ได้แก่ ปลาฉลามวาฬ, ปลาฉลามในอันดับ Lamniformes เช่น ปลาฉลามเมกาเมาท์ (Megachasma pelagios) และปลาฉลามอาบแดด (Cetorhinus maximus) แต่ปลาฉลามบางสกุลในอันดับ Lamniformes เช่น ปลาฉลามมาโก (Isurus spp.) และปลาฉลามในอันดับ Carcharhiniformes มีรูปร่างเพรียวยาว ว่ายน้ำได้ปราดเปรียว โดยอาจทำความเร็วได้ถึง 35 กิโลเมตร/ชั่วโมง เช่น ซึ่งฉลามในอันดับนี้ หลายชนิดเป็นปลาที่ดุร้าย อาจทำร้ายมนุษย์หรือกินสิ่งต่าง ๆ ถึงแม้จะไม่ใช่อาหารได้ด้วย ฉลามในอันดับนี้ได้แก่ ปลาฉลามขาว (Carcharodon carcharias), ปลาฉลามเสือ (Galeocerdo cuvier), ปลาฉลามหัวบาตร (Carcharhinus leucas) เป็นต้น นอกจากนี้แล้ว ยังมีปลาฉลามที่มีรูปร่างประหลาดและพฤติกรรมที่แตกต่างไปจากปลาฉลามส่วนใหญ่ อาทิ ปลาฉลามเสือดาว (Stegostoma fasciatum), ปลาฉลามกบ (Chiloscyllium spp.) ที่อยู่ในอันดับ Orectolobiformes ซึ่งเป็นปลาฉลามที่ไม่ดุร้าย มักหากินและอาศัยอยู่ตามพื้นทะเล มีครีบหางโดยเฉพาะครีบหางตอนบนแหลมยาวและมีขนาดใหญ่ และมักมีสีพื้นลำตัวเป็นลวดลายหรือจุดต่าง ๆ เพื่อพรางตัวให้เข้ากับสภาพแวดล้อม หรือ ปลาฉลามโบราณ (Chlamydoselachus anguineus) ที่อยู่ในอันดับ Hexanchiformes ที่มีรูปร่างยาวคล้ายปลาไหล เป็นปลาน้ำลึกที่หาได้ยากมาก ๆ และเดิมเคยเชื่อว่าสูญพันธุ์ไปแล้ว ปลาฉลามโดยมากเป็นปลาที่ออกลูกเป็นตัว ในตัวผู้จะมีอวัยวะเพศเป็นติ่งยื่นยาวออกมาหนึ่งคู่เห็นได้ชัด ซึ่งเรียกว่า "เดือย" หรือ "Clasper" ในภาษาอังกฤษ แต่ก็มีเพียงบางชนิดเท่านั้นที่ออกลูกเป็นไข่ โดยมากแล้วเป็นปลาทะเล อาศัยอยู่ในทะเลทั้งเขตอบอุ่นและขั้วโลก มีเพียงบางสกุลและบางชนิดเท่านั้น ที่อาศัยอยู่ในน้ำจืดหรือน้ำกร่อยได้ อาทิ ปลาฉลามแม่น้ำ (Glyphis spp.) ที่เป็นปลาฉลามน้ำจืดแท้ โดยมีวงจรชีวิตอยู่ในน้ำจืดตลอดทั้งชีวิต และปลาฉลามหัวบาตร หรือ ปลาฉลามครีบดำ (Carcharhinus melanopterus) ที่มักหากินตามชายฝั่งและปากแม่น้ำ ซึ่งอาจปรับตัวให้อยู่ในน้ำจืดสนิทได้.

ใหม่!!: เน็ตบีเอสดีและปลาฉลาม · ดูเพิ่มเติม »

ปาล์มโอเอส

ปรแกรมบนปาล์มโอเอส แสดงเป็นรายการ สมุดบันทึกที่อยู่ ปฏิทิน โปรแกรมโอนถ่ายข้อมูล (HotSync) โปรแกรมจดบันทึก รายการสิ่งที่ต้องทำ โน้ตแพด ปาล์มโฟโต้ การตั้งค่าการทำงาน ปาล์มโอเอส หรือ พาล์มโอเอส (PalmOS) เป็นระบบปฏิบัติการ ที่สร้างขึ้นโดยบริษัท ปาล์มซอร์สอิงค์ สำหรับใช้กับเครื่องคอมพิวเตอร์มือถือที่เรียกว่าพีดีเอ ซึ่งผลิตโดยผู้ผลิตที่เป็นที่รู้จักหลายบริษัทเช่นปาล์มอิงค์, ซัมซุง, ลีโนโว, การ์มิน และ โซนี่ ได้รับการออกแบบมาให้ใช้งานได้ง่าย มาพร้อมกับแอปพลิเคชันพื้นฐาน เช่น สมุดบันทึกที่อยู่, นาฬิกา, ระบบการโอนย้ายข้อมูล(Sync) และระบบความปลอดภัย โดยเปิดตัวครั้งแรกใน..

ใหม่!!: เน็ตบีเอสดีและปาล์มโอเอส · ดูเพิ่มเติม »

แมคอินทอช

รื่องแมคอินทอชรุ่นแรก แมคอินทอช 128K แมคอินทอช (Macintosh) หรือที่รู้จักในชื่อย่อว่า แมค Mac เป็นชื่อของผลิตภัณฑ์เครื่องคอมพิวเตอร์ที่พัฒนา ออกแบบ และจำหน่ายโดยบริษัทแอปเปิล แมคอินทอชเครื่องแรกออกวางจำหน่ายเมื่อ 24 มกราคม พ.ศ. 2527 ออกแบบโดย เจฟ ราสกิน แต่ปัจจุบันโจนาธาน ไอฟ์ได้มารับช่วงต่อ โดยถือว่าเป็นระบบคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลที่มีส่วนติดต่อผู้ใช้แบบกราฟิก และเมาส์ ซึ่งไม่ได้ใช้คอมมานด์ไลน์เหมือนคอมพิวเตอร์ทั่วไปในขณะนั้น โดยในส่วนประเทศไทย บริษัท สหวิริยา โอเอ จำกัด เป็นผู้นำเข้าและเป็นตัวแทนจัดจำหน่ายรายแรก ซึ่ง แมคอินทอชรุ่นแรกที่ บริษัท สหวิริยา ได้เปิดตัวและทำตลาดเป็นรุ่นแรกคือ Macintosh Plus ซึ่งตลาดที่ บริษัท สหวิริยา ทำในขณะนั้น ส่วนใหญ่เป็น สำนักพิมพ์ นิตยสาร โรงพิมพ์ บริษัท ออกแบบ และบริษัท โฆษณา ซึ่งนับได้ว่า Macintosh เป็นผู้เริ่มพลิกวงการพิมพ์ และออกแบบ โดยใช้ ระบบปฏิบัติการ ที่ถือว่า ฉลาด และเป็นมิตร กับ ผู้ใช้งาน (user) มากที่สุดในขณะนั้น แต่เนื่องจากราคาที่สูงมากในขณะนั้น (ราคา 2,495 ดอลลาร์) ทำให้ยังไม่แพร่หลายในหมู่ ผู้ใช้ทั่วไป เครื่องคอมพิวเตอร์แมคอินทอชปัจจุบันมีผู้ควบคุมการออกแบบ โดยมีผลิตภัณฑ์หลักในชื่อสายการผลิต แมคมินิ ไอแมค และแมคโปร สำหรับคอมพิวเตอร์ตั้งโต๊ะ แมคบุ๊ก แมคบุ๊กแอร์ และแมคบุ๊กโปร สำหรับคอมพิวเตอร์พกพา เครื่องคอมพิวเตอร์แมคอินทอชจะมีการติดตั้งซอฟต์แวร์ระบบปฏิบัติการเฉพาะในชื่อแมคโอเอส ซึ่งรุ่นปัจจุบันคือ macOS 10.13 (High Sierra) ปัจจุบันเครื่องคอมพิวเตอร์แมคอินทอชซึ่งเปลี่ยนมาใช้ หน่วยประมวลผลกลางของอินเทลสามารถทำงานกับซอฟต์แวร์ระบบปฏิบัติการอื่นเช่น ลินุกซ์ หรือ วินโดวส์ได้ ลายเซ็นของสตีฟ จ็อบส์สลักในกรณีที่เครื่องคอมพิวเตอร์แอปเปิ้ลแมคอินทอชครั้งแรก.

ใหม่!!: เน็ตบีเอสดีและแมคอินทอช · ดูเพิ่มเติม »

แอลฟา

แอลฟา (alpha) หรือ อัลฟา (άλφα, ตัวใหญ่ Α, ตัวเล็ก α) เป็นอักษรกรีกตัวที่ 1 และมีค่าของเลขกรีกเท่ากับ 1.

ใหม่!!: เน็ตบีเอสดีและแอลฟา · ดูเพิ่มเติม »

แคตส์

แคทส์ (Cats) เป็นละครเพลงที่แต่งโดยแอนดรูว์ ลอยด์ เวบเบอร์ ดัดแปลงจากบทกวีสำหรับเด็ก Old Possum's Book of Practical Cats ของที. เอส. เอลเลียต เรื่องราวในจินตนาการเกี่ยวกับฝูงแมวที่อาศัยอยู่ในลานทิ้งขยะของเมือง อำนวยการสร้างโดยแคเมรอน แมคคินทอช เริ่มออกแสดงที่โรงละครเวสต์เอนด์ ลอนดอน ในปี..

ใหม่!!: เน็ตบีเอสดีและแคตส์ · ดูเพิ่มเติม »

โอเพนบีเอสดี

อเพนบีเอสดี (OpenBSD) เป็นระบบปฏิบัติการแบบเหมือนยูนิกซ์ (Unix-like) ที่สืบทอดมาจาก BSD แห่งมหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย เบิร์กลี.

ใหม่!!: เน็ตบีเอสดีและโอเพนบีเอสดี · ดูเพิ่มเติม »

เบิร์กลีย์ซอฟต์แวร์ดิสทริบิวชัน

ร์กลีย์ซอฟต์แวร์ดิสทริบิวชั่น (Berkeley Software Distribution -BSD; Berkeley Unix) เป็นระบบปฏิบัติการยูนิกซ์ที่พัฒนาและเผยแพร่โดย มหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย เบิร์กลีย์ เริ่มต้นในช่วงคริสต์ทศวรรษที่ 70 ชื่อบีเอสดียังคงมีอยู่ในระบบปฏิบัติการรุ่นใหม่ ๆ ซึ่งสืบทอดมาจากดิสทริบิวชั่นนี้ เช่น FreeBSD, NetBSD, และ OpenBSD เป็นต้น บีเอสดีจัดว่าเป็นยูนิกซ์ที่ใช้กันแพร่หลายสำหรับคอมพิวเตอร์ระดับเวิร์กสเตชันในยุคนั้น ทั้งนี้อาจเป็นเพราะสัญญาอนุญาตใช้งานของบีเอสดีนั้นไม่ซับซ้อน ทำให้บริษัทอื่น ๆ นำเทคโนโลยีไปพัฒนาในช่วงคริสต์ทศวรรษที่ 80 จนสร้างความคุ้นเคยในวงกว้าง ถึงแม้ว่าในช่วงคริสต์ทศวรรษที่ 90 บีเอสดีจะถูกแทนที่ด้วย System V รีลีส 4.x และ OSF/1 แต่ในระยะหลังนี้มีการปรับปรุงและพัฒนาระบบปฏิบัติการโดยใช้ซอร์สโค้ดที่เปิดเผยของบีเอสดีเป็นแกนหลัก.

ใหม่!!: เน็ตบีเอสดีและเบิร์กลีย์ซอฟต์แวร์ดิสทริบิวชัน · ดูเพิ่มเติม »

เพลย์สเตชัน 2

ลย์สเตชัน 2 (อังกฤษ: PlayStation 2; ญี่ปุ่น: プレイステーション2) หรือที่รู้จักกันในชื่อ พีเอสทู (PS2) เป็น เครื่องเล่นวิดีโอเกม ที่ผลิตโดย โซนี่คอมพิวเตอร์เอนเตอร์เทนเมนท์ พัฒนาต่อมาจากเพลย์สเตชัน การพัฒนาเริ่มต้นในเดือนเมษายน พ.ศ. 2542 และได้วางจำหน่ายในประเทศญี่ปุ่นครั้งแรกวันที่ 4 มีนาคม พ.ศ. 2543 และในสหรัฐอเมริกา วันที่ 26 ตุลาคม ปีเดียวกัน เพลย์สเตชัน 2 เป็นเครื่องเล่นที่ได้รับความนิยมมากที่สุดรุ่นหนึ่ง โดยปัจจุบันมียอดจำหน่ายมากกว่า 100 ล้านเครื่องทั่วโลก หลังจากที่มีการขาดตลาดในช่วงแรกที่วางจำหน่าย เพลย์สเตชัน 2 มีรูปทรง 2 แบบด้วยกันคือ.

ใหม่!!: เน็ตบีเอสดีและเพลย์สเตชัน 2 · ดูเพิ่มเติม »

เรด

รด (ออกเสียงอย่าง เหรด; Redundant Array of Inexpensive DisksDavid A. Patterson, Garth Gibson, and Randy H. Katz:. University of California Berkley. 1988. หรือ Redundant Array of Independent Disks: RAID) คือเทคโนโลยีการนำฮาร์ดดิสก์ หลายๆ อันมาต่อเข้าด้วยกันเพื่อให้มองเห็นเป็นอันเดียว เพื่อวัตถุประสงค์ต่างๆ เช่น เพิ่มความน่าเชื่อถือของข้อมูล หรือเพิ่มประสิทธิภาพการอ่าน/เขียนข้อมูล หลักการโดยรวมของ RAID คือ การสำเนาข้อมูล (mirroring) การแบ่งส่วนข้อมูล (striping) และการแก้ไขความผิดพลาด (error correction) การตั้งค่า RAID จะแบ่งเป็นระดับ (level) โดยที่แต่ละระดับจะมีจุดเด่นที่แตกต่างกัน เช่น ที่ระดับ 0 จะใช้วิธีการแบ่งส่วนข้อมูลเพื่อช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการอ่าน/เขียนข้อมูล แต่ไม่ช่วยในเรื่องของการแก้ไขความผิดพลาด ในขณะที่ระดับ 1 จะช่วยในการแก้ไขความผิดพลาดของข้อมูล แต่ต้องแลกกับการเนื้อที่เพิ่มขึ้นอีกเท่าตัว เป็นต้น นอกจากนี้ในการตั้งค่าบางรูปแบบยังสามารถผสมระดับต่างๆ เข้าด้วยกันเป็นระดับแบบซ้อน เช่น RAID 10 หรือ RAID 0+1 จะเป็นการสร้าง RAID 0 อยู่บน RAID 1 ซึ่งจะช่วยเพิ่มทั้งประสิทธิภาพและการแก้ไขความผิดพลาด เป็นต้น Raid 0 (striping) ช่วยให้การบันทึกข้อมูลได้เร็วขึ้น แต่ถ้ามีฮาร์ดดิสก์เครื่องใดเครื่องหนึ่งเสีย จะทำให้ข้อมูลทั้งหมดไม่สามารถใช้งานได้ สมมติมีฮาร์ดดิสก์ 2 เครื่อง เครื่องละ 100 GB จะมีเนื้อที่ในการเก็บข้อมูลทั้งหมด 200 GB Raid 1 (mirroring) ช่วยให้ข้อมูลมีความปลอดภัย ถ้าฮาร์ดดิสก์เครื่องใดเสีย อีกเครื่องหนึ่งก็จะทำงานแทนได้ สมมติมีฮาร์ดดิสก์ 2 เครื่อง เครื่องละ 100 GB จะมีเนื้อที่ในการเก็บข้อมูลทั้งหมด 100 GB Raid 0+1 เป็นการผสมผสานระหว่าง RAID 0 และ RAID 1 เข้าด้วยกัน ทำให้การเข้าถึงข้อมูลเป็นไปได้อย่างรวดเร็ว และมีการทำ mirror ข้อมูล (backup ข้อมูล) ไปด้วย นอกจาก เรด 0, เรด 1 และ เรด 0+1 แล้ว ยังมีเรดอีกหลายระดับ รายละเอียดตามด้านล่างนี้ แบบ RAID 0 ยกตัวอย่าง มีฮาร์ดดิสก์ 2 ลูกแต่ละลูกมีความจุ 500 GB ดังนั้นเราสามารถเก็บข้อมูลได้ 1000 Gb แต่เมื่อฮาร์ดดิสก์ลูกใดลูกหนึ่งเสีย ก็จะทำให้ ฮาร์ดดิสก์ ใช้งานไม่ได้ทั้งสองลูกเลย เพราะ เมื่อเราสั่งเก็บข้อมูล ข้อมูลจะแยกเป็นสองส่วนและแบ่งเก้บในฮาร์ดดิสก์คนละลูก ทำให้ความเร็วในการเข้าถึงข้อมูลสูง แต่ข้อเสียก็คือหาก harddisk ตัวใดตัวหนึ่งเสียหาย จะส่งผลกับข้อมูลทั้งระบบทันที แบบ RAID 1 ยกตัวอย่าง มีฮาร์ดดิสก์ 2 ลูกแต่ละคนมีความจุ 500 GB แต่เราจะสามารถเก็บข้อมูลได้แค่ 500 GB เพราะฮาร์ดดิสก์อีกลูกจะมีไว้สำหรับเก็บข้อมูล ทำให้เมื่อฮาร์ดดิสก์ลูกหลักเสียอีกตัวก็จะทำงานแทนทันที จุดเด่นของ RAID 1 คือความปลอดภัยของข้อมูล ไม่เน้นเรื่องประสิทธิภาพและความเร็วเหมือนอย่าง RAID 0 แม้ว่าประสิทธิภาพในการอ่านข้อมูลของ RAID 1 จะสูงขึ้นก็ตาม แบบ RAID 3 (N +1) ในกรณีนี้ต้องมีฮาร์ดดิสก์อย่างน้อย 3 ลูก ตัวอย่างเช่นฮาร์ดดิสก์ 3 ลูก แต่ละลูกมีความจุ 200 GB ดังนั้น server เราจะสามารถจุข้อมูลได้ 400 Gb อีก 200 Gb เก็บไว้สำรองข้อมูลในกรณีที่ลูกแรกหรือ ลูกที่สองเสีย ฮาร์ดดิสก์ลูกที่ 3 จะทำงานให้แทนลูกที่เสียทันที ดังนั้น RAID 3 เหมาะสำหรับใช้ในงานที่มีการส่งข้อมูลจำนวนมากๆ เช่นงานตัดต่อ Video เป็นต้น แบบ RAID 5 (N +1) มีความสามารถเช่นเดียวกับ RAID 3 แต่จุดเด่นของ RAID 5 คือ เทคโนโลยี Hot Swap ทำให้สามารถเปลี่ยน harddisk ในกรณีที่เกิดปัญหาได้ในขณะที่ระบบยังทำงานอยู่ เหมาะสำหรับงาน Server ต่างๆ ที่ต้องทำงานต่อเนื่อง RAID 6 (N +2) อาศัยพื้นฐานการทำงานของ RAID 5 แต่จะดีกว่า RAID 5 ตรงที่ว่ามี backup hard disk ถึง สองลูก และยอมให้เราทำการ Hot Swap ได้พร้อมกัน 2 ตัว ทำให้เหมาะกับงานที่ต้องการความปลอดภัยและเสถียรภาพของข้อมูลที่สูงมากๆ แบบ RAID 10 หรือ RAID 1 +0 คือการใช้ประโยชน์ของ RAID 0 และ RAID 1 เช่นเรามี ฮาร์ดดิสก์ 6 ลูก เราให้สามลูกแรกเป็น ลูกที่ใช้งานจริง ส่วนสามลูกหลังเป็นฮาร์ดดิสก์สำรอง ในกรณี ฮาร์ดดิสก์สามลูกแรกมีลูกใดลูกหนึ่งเสีย ฮาร์ดดิสก์สามลูกหลังจะทำงานแทนทันที แต่มีข้อเสียคือ เราต้องซื้อ Harddisk เป็นสองเท่าในการเพิ่มพื้นที่การใช้งาน เพื่อเพิ่มในส่วนที่ใช้งานและส่วนที่สำรอง เหมาะสำหรับ Server ที่ต้องการความเร็วในการเข้าถึงข้อมูลค่อนข้างมาก แต่ไม่ต้องการความจุมากนัก แบบ RAID 53 จะเป็นการรวมกันของ RAID ระดับ 0 และ 3 เพื่อความเร็วในการเขียนและอ่านข้อมูลที่มากขึ้น แต่ยังมีตัวสำรองในการป้องกันระบบล่มทั้งระบบ ในเวลาที่มี Harddisk เสี.

ใหม่!!: เน็ตบีเอสดีและเรด · ดูเพิ่มเติม »

เลขที่อยู่ไอพี

ลขที่อยู่ไอพี (IP address: Internet Protocol address) หรือชื่ออื่นเช่น ที่อยู่ไอพี, หมายเลขไอพี, เลขไอพี, ไอพีแอดเดรส คือฉลากหมายเลขที่กำหนดให้แก่อุปกรณ์แต่ละชนิด (เช่นคอมพิวเตอร์ เครื่องพิมพ์) ที่มีส่วนร่วมอยู่ในเครือข่ายคอมพิวเตอร์หนึ่ง ๆ ที่ใช้อินเทอร์เน็ตโพรโทคอลในการสื่อสาร RFC 760, DOD Standard Internet Protocol (January 1980) เลขที่อยู่ไอพีทำหน้าที่สำคัญสองอย่างได้แก่ การระบุแม่ข่ายหรือส่วนต่อประสานเครือข่าย และการกำหนดที่อยู่ให้ตำแหน่งที่ตั้ง บทบาทของมันได้บรรยายไว้ว่า "ชื่อใช้แสดงว่าเราค้นหาอะไร ที่อยู่ใช้แสดงว่ามันอยู่ที่ไหน เส้นทางใช้แสดงว่าจะไปที่นั่นอย่างไร" RFC 791, Internet Protocol – DARPA Internet Program Protocol Specification (September 1981) แต่เดิมผู้ออกแบบอินเทอร์เน็ตโพรโทคอล ได้กำหนดเลขที่อยู่ไอพีให้เป็นตัวเลข 32 บิตค่าหนึ่ง ซึ่งเป็นที่รู้จักในชื่อเลขที่อยู่ไอพีรุ่น 4 (IPv4) และระบบนี้ยังคงมีการใช้งานอยู่ในปัจจุบัน อย่างไรก็ดี เนื่องจากอินเทอร์เน็ตเติบโตขึ้นอย่างมหาศาล และมีการคาดการณ์ว่าเลขที่อยู่ไอพีรุ่น 4 จะถูกใช้หมดไป เลขที่อยู่ไอพีรุ่นใหม่จึงได้พัฒนาขึ้นใน..

ใหม่!!: เน็ตบีเอสดีและเลขที่อยู่ไอพี · ดูเพิ่มเติม »

เอกซ์86-64

AMD64 ถูกสร้างมาเพื่อเป็นคู่แข่งกับสถาปัตยกรรม IA64 ของบริษัทอินเทลและเอชพี ข้อแตกต่างที่สำคัญมีดังนี้.

ใหม่!!: เน็ตบีเอสดีและเอกซ์86-64 · ดูเพิ่มเติม »

เอสซีเอสไอ

วนต่อประสานระบบคอมพิวเตอร์ขนาดเล็ก หรือ เอสซีเอสไอ (Small Computer System Interface: SCSI) หรือเรียกแบบติดปากว่า สกัสซี เป็นอินเทอร์เฟซมาตรฐานในการแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างอุปกรณ์ฮาร์ดแวร์ และบัส SCSI สามารถต่อกับอุปกรณ์ได้ 7-15 ชิ้น โดยใช้ expansion board เพียงตัวเดียวต่อเข้ากับเครื่องคอมพิวเตอร์ เรียก expansion board นั้นว่า "SCSI host adapter" หรือ "SCSI controller" อุปกรณ์ที่ต่อด้วย SCSI สามารถเชื่อมต่อกันได้ เนื่องจากมันจะมี second port เพื่อจะต่อกับอุปกรณ์ตัวต่อไปได้ นอกจากนั้น SCSI board หนึ่งยังมี 2 controller นั่นคือมันสามารถต่อกับอุปกรณ์อื่นได้ถึง 30 ชิ้น SCSI สามารถใช้ได้ตั้งแต่พีซีทั่วไปไปจนถึงเมนเฟรม ถึงแม้ว่าพีซีมักจะมาพร้อมกับอินเทอร์เฟซ ไอดีอี ก็ตาม แต่ข้อดีของ SCSI ใน Desktop PC นั่นคือ สามารถต่อสแกนเนอร์และอุปกรณ์อื่นๆ (เช่น CD-Rs, DVD-RAM, Zip drives เป็นต้น) รวมทั้ง hard drives ได้ด้วย SCSI cable chain เพียงตัวเดียว แต่ข้อดีนี้ได้ลดความสำคัญลงไปเนื่องจากปัจจุบันมี interface ชนิดอื่นคือ USB และ FireWire เริ่มเป็นที่นิยมมากขึ้นลักษณะเฉพาะตัวของ SCSI คือ ในกรณีที่ใช้กับ network servers ที่มี hard drives หลายตัวที่สามารถ configured as fault-tolerant RAID clusters ในขณะที่ไดร์ฟใดไดร์ฟหนึ่งเสีย มันสามารถถอดออกและใส่ตัวใหม่เข้าไปได้โดยไม่สูญเสียข้อมูลเก่าไปแม้ในขณะระบบยังทำงานอยู่ SCSI-based RAID เป็นที่แพร่หลายใน file servers, database servers และ network servers อื่นๆ ภายใน Windows 95/98/NT/2000/XP และแมคอินทอช สามารถใช้กับ SCSI ได้เลย ส่วน Windows 3.1 และ ดอส ต้องทำการติดตั้งไดรเวอร์ของ SCSI SCSI chain เป็นข้อดีหนึ่งของ SCSI ที่สามารถเชื่อมต่ออุปกรณ์อื่นกับ host adapter ตัวหนึ่งโดยใช้ เพียงสล็อทเดียว ASPI & CAM เนื่องจาก SCSI ไม่สามารถใช้กับ Windows 3.1 และ DOS ได้ ดังนั้นหากจะเชื่อมต่ออุปกรณ์ SCSI 2 ตัวก็ต้องใช้ host adapter ถึง 2 ตัวซึ่งขัดกับข้อดีของ SCSI ฉะนั้นจึงมีการนำ ASPI และ CAM มาใช้เพื่อแก้ปัญหานี้โดยมันจะช่วยขจัดความแตกต่างและทำให้เกิด interface ระหว่าง host drivers กับ host adapters อุปกรณ์ SCSI ส่วนใหญ่สามารถใช้ ASPI และ CAM ได้ สำหรับ Windows 95/98 ที่ support SCSI จึงสามารถใช้กับ ASPI และ CAM ได้ด้วย ดังนั้น โปรแกรมเก่าๆบางโปรแกรมอาจะะไม่สามารถทำงานได้ SCSI & LAN SCSI ทำหน้าที่เหมือนกับ mini-LAN ซึ่งสามารถต่อกับอุปกรณ์ได้ 8 หรือ 16 ชิ้น เมื่อนับ host adapter เป็นอุปกรณ์หนึ่งก็เท่ากับว่ามันสามารถต่อกับอุปกรณ์ชนิดอื่นได้ 7 หรือ 15 ชิ้น นอกจากนั้น SCSI ยังยอมให้อุปกรณ์ 2 ชนิดเชื่อมกันได้ในเวลาเดียวกัน ไม่ว่าจะเป็น host กับอุปกรณ์อื่น หรือระหว่างอุปกรณ์อื่น 2 ชิ้น หมวดหมู่:อุปกรณ์บันทึกข้อมูล.

ใหม่!!: เน็ตบีเอสดีและเอสซีเอสไอ · ดูเพิ่มเติม »

เอ็นทีพี

อ็นทีพี หรือ เกณฑ์วิธีเทียบเวลาข่ายงาน (Network Time Protocol: NTP) เป็นโพรโทคอลสำหรับการปรับค่าเวลาของนาฬิกาในระบบคอมพิวเตอร์ โดย NTP ใช้พอร์ต 123 ของโพรโทคอล UDP เป็นพื้นฐาน มันถูกออกแบบมาให้รักษาความแม่นยำจากปัจจัยต่างๆ ที่ทำให้เกิดความคลาดเคลื่อนของเวลา NTPv4 สามารถรักษาความแม่นยำระดับ 10 มิลลิวินาที (1/100 วินาที) บนเครือข่ายอินเทอร์เน็ต หรือมากถึง 200 ไมโครวินาที (1/5000 วินาที) บนเครือข่ายภายในที่มีคุณสมบัติดีกว่า NTP เป็นโพรโทคอลอินเทอร์เน็ตที่เก่าแก่ที่สุดตัวหนึ่งที่ยังใช้อยู่จนถึงปัจจุบัน.

ใหม่!!: เน็ตบีเอสดีและเอ็นทีพี · ดูเพิ่มเติม »

เทร็ด

กระบวนการหนึ่งที่มีสองเทร็ด ทำงานบนหน่วยประมวลผลเดียว เทร็ด (thread ศัพท์บัญญัติว่า สายโยงใย) คือหน่วยการทำงานย่อยที่อยู่ในกระบวนการ มีการแบ่งปันทรัพยากรต่าง ๆ ในกระบวนการนั้น ๆ จุดประสงค์ของเทร็ดคือการเรียกใช้ซีพียูให้เกิดประโยชน์สูงสุด เทร็ดทำให้การทำงานของโปรแกรมง่าย และมีประสิทธิภาพมากขึ้นและมีประโยชน์ต่อระบบที่มีซีพียูหลายตัว หรือซีพียูที่มีหลายแก่น เพราะสามารถเรียกใช้เทร็ดหลายเทร็ดได้พร้อม ๆ กัน.

ใหม่!!: เน็ตบีเอสดีและเทร็ด · ดูเพิ่มเติม »

19 พฤศจิกายน

วันที่ 19 พฤศจิกายน เป็นวันที่ 323 ของปี (วันที่ 324 ในปีอธิกสุรทิน) ตามปฏิทินสุริยคติแบบเกรกอเรียน เมื่อถึงวันนี้จะยังเหลือวันอีก 42 วันในปีนั้น.

ใหม่!!: เน็ตบีเอสดีและ19 พฤศจิกายน · ดูเพิ่มเติม »

21 มีนาคม

วันที่ 21 มีนาคม เป็นวันที่ 80 ของปี (วันที่ 81 ในปีอธิกสุรทิน) ตามปฏิทินสุริยคติแบบเกรกอเรียน เมื่อถึงวันนี้จะยังเหลือวันอีก 285 วันในปีนั้น.

ใหม่!!: เน็ตบีเอสดีและ21 มีนาคม · ดูเพิ่มเติม »

386BSD

386BSD หรือ JOLIX เป็นระบบปฏิบัติการยูนิกซ์BSDฟรี สำหรับเครื่องอินเทล 80386.

ใหม่!!: เน็ตบีเอสดีและ386BSD · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

NetBSD

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »