โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ดาวน์โหลด
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

เต่าจานและเต่าปากแม่น้ำ

ทางลัด: ความแตกต่างความคล้ายคลึงกันค่าสัมประสิทธิ์การเปรียบเทียบ Jaccardการอ้างอิง

ความแตกต่างระหว่าง เต่าจานและเต่าปากแม่น้ำ

เต่าจาน vs. เต่าปากแม่น้ำ

ต่าจาน หรือ เต่ากระอาน หรือ เต่ากระอานใต้ (Southern river terrapin) เต่าชนิดหนึ่ง ในวงศ์เต่านา (Geoemydidae) เป็นเต่าที่พบกระจายพันธุ์ในแหล่งน้ำที่เป็นน้ำกร่อยในประเทศมาเลเซีย, อินโดนีเซีย, กัมพูชา ตลอดจนภาคใต้ตอนล่างและภาคตะวันออกของไทย มีลักษณะทั่วไปคล้ายกับเต่ากระอาน (B. baska) แต่มีจมูกที่งอนกว่า และมีรายงานการพบฟอสซิลที่จังหวัดพระนครศรีอยุธยาด้วย เต่าจาน หรือเต่ากระอานเป็นเต่าอีกชนิดหนึ่งที่ใกล้สูญพันธุ์ เพราะถูกล่าเอาไปทำเป็นอาหารหรือเชื่อว่าเป็นยาบำรุง ในกัมพูชาถูกเรียกว่า "เต่าหลวงกัมพูชา" เนื่องจากในอดีตมีแต่เพียงสมาชิกราชวงศ์เท่านั้นที่จะบริโภคไข่เต่าชนิดนี้ได้ ปัจจุบันสามารถเพาะขยายพันธุ์ได้แล้วโดยศูนย์วิจัยและพัฒนาประมงน้ำจืดจังหวัดสตูล ในสังกัดกรมประมง เช่นเดียวกับเต่ากระอาน และเต่าลายตีนเป็ด (B. borneoensis) ซึ่งเป็นเต่าในสกุลเดียวกัน และรวมถึงมีการขยายพันธุ์ได้ด้วยหน่วยงานอนุรักษ์ของทางการกัมพูชาด้ว. ต่าปากแม่น้ำ (River terrapins) เป็นสกุลของเต่าสกุลหนึ่ง ใช้ชื่อสกุลว่า Batagur (/บา-ตา-เกอ/) ในวงศ์เต่านา (Geoemydidae) เป็นเต่าที่อาศัยอยู่ในแหล่งน้ำที่เป็นน้ำกร่อยใกล้ทะเล เช่น ปากแม่น้ำ หรือชะวากทะเล พบกระจายพันธุ์ในทวีปเอเชียในส่วนของเอเชียอาคเนย์และเอเชียใต้.

ความคล้ายคลึงกันระหว่าง เต่าจานและเต่าปากแม่น้ำ

เต่าจานและเต่าปากแม่น้ำ มี 8 สิ่งที่เหมือนกัน (ใน ยูเนี่ยนพีเดีย): วงศ์เต่านาสัตว์สัตว์มีแกนสันหลังสัตว์เลื้อยคลานอันดับย่อยเต่าเต่าเต่ากระอานเต่าลายตีนเป็ด

วงศ์เต่านา

วงศ์เต่านา (Terrapin, Pond turtle; ชื่อวิทยาศาสตร์: Geoemydidae หรือ ในอดีตใช้ Bataguridae) เป็นวงศ์ของเต่า ที่ส่วนมากอาศัยอยู่ในน้ำทั้งน้ำจืดและน้ำกร่อย หรือบางส่วนอาศัยบนพื้นที่มีความชุ่มชื้นหรือชื้นแฉะ หรืออยู่บนบกแห้ง ๆ เลยก็มี เป็นเต่าที่มีกระดองทรงกลมหรือโค้งนูนเล็กน้อย กระดองท้องใหญ่ กระดูกแอนกูลาร์ของขากรรไกรล่างไม่เชื่อมติดกับกระดูกอ่อนเมคเคล กระดูกเบสิคออคซิพิทัลเป็นชิ้นกว้าง การหุบขากรรไกรล่างเกิดจากการทำงานของกล้ามเนื้อที่ผ่านไปกระดูกโพรโอติก และขากรรไกรติดกับพื้นผิวของก้านกระดูกโพรโอติกที่อยู่ในซัยโนเวียลแคปซูล กระดองท้องไม่มีกระดูกมีโสพลาสทรอน มีกระดูกพลาสทรอนไปเชื่อมต่อกับขอบนอกของกระดองหลังที่มีร่องแบ่งเป็นกระดูกชิ้นเล็กจำนวน 11 คู่ กระดูกเชิงกรานเชื่อมติดกับกระดองท้องในลักษณะที่ยืดหยุ่นได้ เต่าในวงศ์นี้ถือเป็นวงศ์ใหญ่ สามารถแบ่งออกได้เป็น 2 วงศ์ย่อย (ดูในตาราง) มีทั้งหมด 23 สกุล พบราว 65 ชนิด แพร่กระจายพันธุ์ในทวีปยุโรปตอนใต้, เอเชียอาคเนย์, อเมริกากลาง และบางส่วนของทวีปอเมริกาใต้ ในประเทศไทยมีเต่าในวงศ์นี้มากถึง 16 ชนิด อาทิ เต่าลายตีนเป็ด (Callagur borneoensis), เต่ากระอาน (Batagur baska), เต่านา (Malayemys macrocephala และM. subtrijuga), เต่าหับ (Cuora amboinensis), เต่าดำ (Siebenrockiella crassicollis) เป็นต้น โดยเต่าชนิดที่ใหญ่ที่สุดในวงศ์นี้คือ เต่าน้ำบอร์เนียว (Orlitia borneensis) ที่มีความยาวของกระดองได้ถึง 80 เซนติเมตร พบในบึงน้ำและแม่น้ำของมาเลเซียและเกาะบอร์เนียว ซึ่งเป็นเต่าชนิดหนึ่งที่ใกล้สูญพันธุ์มากแล้วชนิดหนึ่ง.

วงศ์เต่านาและเต่าจาน · วงศ์เต่านาและเต่าปากแม่น้ำ · ดูเพิ่มเติม »

สัตว์

ัตว์ (Animal) เป็นสิ่งมีชีวิตยูแคริโอตหลายเซลล์ในอาณาจักร Animalia (หรือเรียก เมตาซัว) แผนกาย (body plan) ของพวกมันสุดท้ายคงที่เมื่อพัฒนา แม้สัตว์บางชนิดมีกระบวนการการเปลี่ยนสัณฐานภายหลังในช่วงชีวิต สัตว์ส่วนใหญ่เคลื่อนที่ได้ สัตว์ทุกชนิดต้องกินสิ่งมีชีวิตอื่นหรือผลิตภัณฑ์ของสิ่งมีชีวิตเพื่อการดำรงชีพ (สิ่งมีชีวิตสร้างอาหารเองไม่ได้) ไฟลัมสัตว์ที่รู้จักกันดีที่สุดปรากฏในบันทึกฟอสซิลเป็นสปีชีส์ภาคพื้นสมุทรระหว่างการระเบิดแคมเบรียน (Cambrian explosion) ประมาณ 542 ล้านปีก่อน สัตว์แบ่งเป็นกลุ่มย่อยหลายกลุ่ม บางกลุ่ม เช่น สัตว์มีกระดูกสันหลัง (นก สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม สัตว์สะเทินน้ำสะเทินบก สัตว์เลื้อยคลาน ปลา) มอลลัสกา (หอยกาบ หอยนางรม ปลาหมึก หมึกสาย หอยทาก) สัตว์ขาปล้อง (กิ้งกือ ตะขาบ แมลง แมงมุม แมงป่อง ปู ลอบสเตอร์ กุ้ง) สัตว์พวกหนอนปล้อง (ไส้เดือนดิน ปลิง) ฟองน้ำ และแมงกะพรุน.

สัตว์และเต่าจาน · สัตว์และเต่าปากแม่น้ำ · ดูเพิ่มเติม »

สัตว์มีแกนสันหลัง

ัตว์มีแกนสันหลัง คือสัตว์ในไฟลัมคอร์ดาตา พวกมันจะมีแกนสันหลัง ใยประสาทส่วนหลังกลวง ช่องคอหอย หลอดเส้นประสาทกลวงส่วนหลัง และหางหลังทวารหนัก ในช่วงหนึ่งของวงจรชีวิต สัตว์มีแกนสันหลังเป็นพวกดิวเทอโรสโตม กล่าวคือในช่วงระยะตัวอ่อน ทวารหนักเกิดก่อนปาก และเป็นซีโลเมตที่มีสมมาตรด้านข้าง ในกรณีของสัตว์มีแกนสันหลังที่มีกระดูกสันหลัง แกนสันหลังจะถูกแทนที่โดยกระดูกสันหลังในช่วงเจริญเติบโต และพวกมันอาจจะมีปล้องตามร่างกาย ในอนุกรมวิธาน ตัวไฟลัมเองประกอบไปด้วยไฟลัมย่อยเวอร์เตบราตา (ซึ่งประกอบด้วย ปลา สัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำ สัตว์เลื้อยคลาน สัตว์ปีก และสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม) ทูนิคาตา (ซึ่งรวมทั้งซาล์ปและเพรียงหัวหอม) และเซฟาโลคอร์ดาตา ประกอบด้วยแหลนทะเล และยังรวมถึงบางกลุ่มที่สูญพันธุ์ไปแล้ว บางครั้งกลุ่มสัตว์มีกระดูกสันหลังถูกจัดรวมอยู่กับกลุ่มสัตว์มีกระโหลกศีรษะ สัตว์มีแกนสันหลังมีมากกว่า 65,000 สปีชีส์ที่ยังมีชีวิตอยู่ กว่าครึ่งเป็นพวกปลากระดูกแข็ง วาฬและเหยี่ยวเพเรกริน สัตว์ที่มีขนาดใหญ่ที่สุดและเคลื่อนที่เร็วที่สุดตามลำดับ เป็นสัตว์มีแกนสันหลังเช่นเดียวกันกับมนุษย์ ซากดึกดำบรรพ์ของสัตว์มีแกนสันหลังยุคแรกๆ มีอายุย้อนไปถึงในช่วงการระเบิดยุคแคมเบรียน.

สัตว์มีแกนสันหลังและเต่าจาน · สัตว์มีแกนสันหลังและเต่าปากแม่น้ำ · ดูเพิ่มเติม »

สัตว์เลื้อยคลาน

ัตว์เลื้อยคลาน (reptile) จัดอยู่ในไฟลัมสัตว์มีแกนสันหลัง โดยคำว่า Reptilia มาจากคำว่า Repera ที่มีความหมายว่า "คลาน" เป็นสัตว์มีกระดูกสันหลังที่จัดเป็นสัตว์ในกลุ่มแรก ๆ ของโลกที่มีการดำรงชีวิตบนบกอย่างแท้จริง สัตว์เลื้อยคลานในยุคดึกดำบรรพ์ที่รอดชีวิตจากการสูญพันธุ์และยังดำรงชีวิตในปัจจุบัน มีจำนวนมากถึง 7,000 ชนิดชนิดของสัตว์เลื้อยคลาน, สัตววิทยา, บพิธ-นันทพร จารุพันธุ์, สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, 2547, หน้า 364 กระจายอยู่ทั่วโลกทั้งชนิดอาศัยในแหล่งน้ำและบนบก จัดเป็นกลุ่มของสัตว์ที่ประสบความสำเร็จในการปรับเปลี่ยนสภาพร่างกายในการเอาตัวรอดจากเหตุการณ์หินอุกกาบาตพุ่งชนโลกมามากกว่า 100 ล้านปีมาแล้ว ในยุคจูแรสซิกที่อยู่ในมหายุคมีโซโซอิก ซึ่งมีอายุของยุคที่ยาวนานถึง 100 ล้านปี จัดเป็นยุคที่สัตว์เลื้อยคลานมีวิวัฒนาการจนถึงขีดสุด มีสัตว์เลื้อยคลานมากมายหลากหลายขนาด ตั้งแต่กิ้งก่าตัวเล็ก ๆ จนถึงไทรันโนซอรัส เร็กซ์ซึ่งเป็นไดโนเสาร์กินเนื้อขนาดใหญ่ ที่มีจำนวนมากมายครอบครองพื้นที่ทั่วทุกแห่งในโลก ยุคจูแรสซิกจึงถือเป็นยุคของสัตว์เลื้อยคลานอย่างแท้จริง ต่อมาภายหลังเกิดเหตุการณ์อุกกาบาตพุ่งชนโลก ทำให้กลุ่มสัตว์บกที่อาศัยในยุคจูแรสซิก เกิดล้มตายและสูญพันธุ์อย่างกะทันหันโดยไม่ทราบสาเหตุของการสูญพันธุ์ที่ชัดเจนและแน่นอน.

สัตว์เลื้อยคลานและเต่าจาน · สัตว์เลื้อยคลานและเต่าปากแม่น้ำ · ดูเพิ่มเติม »

อันดับย่อยเต่า

อันดับย่อยเต่า (Turtle, Tortoise, Soft-shell turtle) เป็นอันดับย่อยของสัตว์เลื้อยคลานในอันดับเต่า (Testudines) ใช้ชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Cryptodira ลักษณะร่วมของเต่าในอันดับย่อยนี้ คือ สามารถยืดหรือหดหัวหรือส่วนคอเข้าไปในกระดองได้ แต่สามารถกระทำได้ในแนวดิ่งขึ้นลงหรือซ้อนทางด้านบนได้เท่านั้น ซึ่งเป็นลักษณะของเต่าส่วนใหญ่ แต่ก็มีบางวงศ์ที่ไม่สามารถทำเช่นนั้นได้ เนื่องจากมีส่วนหัวที่ใหญ่ ได้แก.

อันดับย่อยเต่าและเต่าจาน · อันดับย่อยเต่าและเต่าปากแม่น้ำ · ดูเพิ่มเติม »

เต่า

ต่า คือ สัตว์จำพวกหนึ่งในอันดับ Testudines จัดอยู่ในจำพวกสัตว์เลือดเย็น ในชั้นสัตว์เลื้อยคลาน เป็นสัตว์ที่มีวิวัฒนาการมาแล้วกว่า 200 ล้านปี ซึ่งเต่านั้นถือเป็นสัตว์ที่มีอายุยืนมากที่สุดชนิดหนึ่ง โดยเต่าจะมีกระดูกที่แข็งคลุมบริเวณหลังที่เรียกว่า "กระดอง" ซึ่งประกอบด้วยแคลเซียมเป็นส่วนใหญ่ ซึ่งจะสามารถหดหัว ขา และหางเข้าในกระดองเพื่อป้องกันตัวได้ แต่เต่าบางชนิดก็ไม่อาจจะทำได้ เต่าเป็นสัตว์ที่ไม่มีฟัน แต่มีริมฝีปากที่แข็งแรงและคม ใช้ขบกัดอาหารแทนฟัน โดยมากแล้ว เต่า เป็นสัตว์ที่เคลื่อนไหวและเคลื่อนที่ได้ช้า อาศัยและใช้ช่วงชีวิตหนึ่งอยู่ในน้ำ ซึ่งมีอาศัยทั้งน้ำจืด และทะเล แต่เต่าบางจำพวกก็ไม่ต้องอาศัยน้ำเลย เรียกว่า "เต่าบก" (Testudinidae) ซึ่งเต่าบกที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในโลก คือ เต่ายักษ์กาลาปากอส (Geochelone nigra) ที่อาศัยอยู่ตามเกาะต่าง ๆ ในหมู่เกาะกาลาปากอส ในเอกวาดอร์ (มีทั้งหมด 15 ชนิดย่อย) ในขณะที่เต่าน้ำที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในโลก คือ เต่าอัลลิเกเตอร์ (Macrochelys temminckii) อาศัยอยู่ตามหนองน้ำในทวีปอเมริกาเหนือ.

เต่าและเต่าจาน · เต่าและเต่าปากแม่น้ำ · ดูเพิ่มเติม »

เต่ากระอาน

ต่ากระอาน (Northern river terrapin) จัดอยู่ในไฟลัมสัตว์มีแกนสันหลัง จัดเป็นเต่าน้ำจืด-น้ำกร่อย มีความยาวกระดองมากกว่า 60 เซนติเมตร ที่ใหญ่ที่สุดในเอเชีย และถือว่าเป็นเต่าที่ใกล้สูญพันธุ์อย่างวิกฤติ ล่าสุดชาวบ้านในพื้นที่ อ.ตะกั่วทุ่ง.พังงา พบบริเวณคลองถ้ำเมื่อวันที่ 3 มกราคม..

เต่ากระอานและเต่าจาน · เต่ากระอานและเต่าปากแม่น้ำ · ดูเพิ่มเติม »

เต่าลายตีนเป็ด

ต่าลายตีนเป็ด (Painted terrapin) เป็นสัตว์เลื้อยคลานจำพวกเต่าน้ำชนิดหนึ่ง มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Batagur borneoensis เป็นเต่าที่มีสีสันสวยงาม กระดองค่อนข้างกลม ขนาดกระดองหลังมีความยาว 60 เซนติเมตร กระดองหลังมีสีน้ำตาลอ่อน ๆ มีลายสีดำตามยาว 3 เส้น หัวสีน้ำตาลมีแถบสีขาว ขามีสีเทา กระดองส่วนท้องสีขาวหรือสีครีม อาศัยอยู่บริเวณน้ำกร่อยแถบปากแม่น้ำ พบมากที่จังหวัดนราธิวาสและปัตตานี ปัจจุบันในประเทศไทยพบเฉพาะแค่ปากคลองละงู ใน อำเภอละงู จังหวัดสตูลเท่านั้น กินสัตว์น้ำและพืชเป็นอาหาร ในต่างประเทศพบที่ มาเลเซีย, บรูไน และอินโดนีเซีย ตัวเต็มวัยเพศผู้มีขนาดเล็กกว่าเพศเมีย ผสมพันธุ์กันทั้งกลางวันและกลางคืน ระหว่างเดือนตุลาคมถึงต้นเดือนธันวาคม แม่เต่าขึ้นมาวางไข่ประมาณต้นเดือนธันวาคมถึงกุมภาพันธ์ เวลา 21.00 นาฬิกา จนถึง 04.00 นาฬิกา ไข่มีลักษณะยาวรีเท่ากันตลอดฟอง ไข่ใช้เวลาฟักเป็นตัวใช้เวลาราว 88-99 วัน ปัจจุบัน เป็นเต่าที่ใกล้สูญพันธุ์มากแล้ว และเป็นสัตว์ป่าคุ้มครองประเภทที่ 2 ในพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พุทธศักราช 2535Praschag, P., Hundsdörfer, A. K. & Fritz, U. (2007).

เต่าจานและเต่าลายตีนเป็ด · เต่าปากแม่น้ำและเต่าลายตีนเป็ด · ดูเพิ่มเติม »

รายการด้านบนตอบคำถามต่อไปนี้

การเปรียบเทียบระหว่าง เต่าจานและเต่าปากแม่น้ำ

เต่าจาน มี 13 ความสัมพันธ์ขณะที่ เต่าปากแม่น้ำ มี 13 ขณะที่พวกเขามีเหมือนกัน 8, ดัชนี Jaccard คือ 30.77% = 8 / (13 + 13)

การอ้างอิง

บทความนี้แสดงความสัมพันธ์ระหว่าง เต่าจานและเต่าปากแม่น้ำ หากต้องการเข้าถึงบทความแต่ละบทความที่ได้รับการรวบรวมข้อมูลโปรดไปที่:

Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »