โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ดาวน์โหลด
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

เจียง จื่อหยาและเตียวเหลียง (ราชวงศ์ฮั่นตะวันตก)

ทางลัด: ความแตกต่างความคล้ายคลึงกันค่าสัมประสิทธิ์การเปรียบเทียบ Jaccardการอ้างอิง

ความแตกต่างระหว่าง เจียง จื่อหยาและเตียวเหลียง (ราชวงศ์ฮั่นตะวันตก)

เจียง จื่อหยา vs. เตียวเหลียง (ราชวงศ์ฮั่นตะวันตก)

วาดเจียง จื่อหยา จาก''สมุดภาพไตรภูมิ'' ภาพวาดเจียง จื่อหยาตกปลาที่ริมฝั่งแม่น้ำเว่ยสุ่ย และได้พบกับ โจวเหวินหวัง เจียงจื่อหยา (ตามสำเนียงกลาง) หรือ เกียงจูแหย (ตามสำเนียงฮกเกี้ยน) หรือเป็นที่รู้จักในชื่อ เจียงไท่กง เป็นนักยุทธศาสตร์คนสำคัญของโจวเหวินหวังและโจวอู่หวัง ผู้นำในการก่อรัฐประหารเพื่อล้มล้างราชวงศ์ซาง และสถาปนาราชวงศ์โจวขึ้น มีชีวิตอยู่เมื่อประมาณ 3,000 กว่าปีที่แล้ว ในปัจจุบัน นักประวัติศาสตร์ และนักวิชาการ หลายสำนักต่างลงความเห็นว่า เจียง จื่อหยา คือ 1 ใน 2 นักยุทธศาสตร์การสงครามที่เก่งกาจที่สุดในประวัติศาสตร์จีน โดยอีกผู้หนึ่งได้แก่ เตียวเหลียง (มีชีวิตอยู่ในสมัยราชวงศ์ฮั่นตะวันตก เป็นคนละคนกับเตียวเหลียงในเรื่องสามก๊ก) เสนาบดีแห่งราชวงศ์ฮั่นของหลิวปัง หรือปฐมจักรพรรดิฮั่นเกา ซึ่งบางตำราอ้างว่าเตียวเหลียงศึกษาการสงครามมาจากตำราพิชัยสงครามที่ เจียงจื่อหยา เขียนขึ้น. ตียวเหลียง หรือ จางเหลียง (Zhang Liang; 张亮; พินอิน: Zhāng liàng อ่านว่า จางเลี่ยง; ? - 189 ปีก่อน ค.ศ.) เป็นที่ปรึกษาและเสนาธิการคนสำคัญของจักรพรรดิฮั่นเกาจู่ ปฐมจักรพรรดิแห่งราชวงศ์ฮั่นตะวันตก โดยรับใช้หลิวปัง (ฮั่นเกาจู่) มาตั้งแต่ช่วงปลายราชวงศ์ฉิน จนถึงสงครามฉู่-ฮั่น ระหว่างหลิวปังและเซี่ยงอวี่ (ฌ้อปาอ๋อง) จนเป็นที่มาของวรรณกรรมจีนอมตะเรื่องไซ่ฮั่น เมื่อหลิวปังได้ชัยชนะเหนือฌ้อป้าอ๋องแล้วและขึ้นครองราชย์เป็นฮั่นเกาจู่ ก็ทรงแต่งตั้งเตียวเหลียงเป็นที่ปรึกษาในพระองค์ เชื่อกันว่า เตียวเหลียงได้รับคัมภีร์พิชัยสงครามที่ตกทอดมาจากเจียง ไท่กง หรือเจียง จื่อหยาง ที่ปรึกษาและเสนาธิการคนสำคัญอีกคนหนึ่งในยุคราชวงศ์โจวตอนต้น และในประวัติศาสตร์จีน จึงทำให้เตียวเหลียงวางแผนไม่เคยผิดพลาด ซือหม่า เชียน นักบันทึกประวัติศาสตร์ในยุคจีนโบราณได้บันทึกถึงเตียวเหลียงเอาไว้ว่า "เมื่อถึงคราวที่พระเจ้าฮั่นโกโจเผชิญปัญหาหนักหนาถึงขนาดคอขาดบาดตาย เตียวเหลียงผู้นี้ก็มักจะเป็นคนที่ช่วยพระองค์ให้รอดพ้นจากเรื่องเหล่านั้นเสมอ" นอกจากนี้แล้ว เตียวเหลียงยังได้รับการกล่าวขานอีกว่า เป็นบุรุษที่มีใบหน้าสวยราวกับอิสตรีคนหนึ่งในประวัติศาสตร์จีน ผู้คนมักจะเข้าใจผิดอยู่บ่อยครั้งว่าเป็นอิสตรี ในวรรณกรรมสามก๊ก นอกจากขวันต๋ง, งักเย และเจียง จื่อหยาง แล้ว ความสามารถของขงเบ้งที่ทั้งชีซี ผู้เป็นสหาย และสุมาเต็กโช ผู้เป็นอาจารย์มักจะกล่าวเปรียบเปรยนั้น เตียวเหลียงก็เป็นอีกผู้หนึ่งที่มักถูกหยิบยกไปเทียบเคียงกับขงเบ้ง โดยระบุว่า "หนึ่งในนั้นคือเกงสง (เจียง จื่อหยาง) ผู้วางฐานรากของราชวงศ์โจวอย่างแน่นหนาเป็นเวลาแปดร้อยปีและคนอื่น ๆ เตียวเหลียงที่ทำให้ราชวงศ์ฮั่นรุ่งโรจน์เป็นเวลาสี่ร้อยปี" เตียวเหลียงถึงแก่อสัญกรรรมเมื่อ 189 ปีก่อน..

ความคล้ายคลึงกันระหว่าง เจียง จื่อหยาและเตียวเหลียง (ราชวงศ์ฮั่นตะวันตก)

เจียง จื่อหยาและเตียวเหลียง (ราชวงศ์ฮั่นตะวันตก) มี 4 สิ่งที่เหมือนกัน (ใน ยูเนี่ยนพีเดีย): ราชวงศ์ฮั่นตะวันตกราชวงศ์โจวสามก๊กจักรพรรดิฮั่นเกาจู่

ราชวงศ์ฮั่นตะวันตก

ราชวงศ์ฮั่นตะวันตก (202 ปีก่อนคริสต์ศักราช – ค.ศ. 8) หลิวปังรบชนะฌ้อป๋าอ๋องเซี่ยงหวี่ และตั้งราชวงศ์ฮั่นขึ้น ราชวงศ์ฮั่นเป็นยุคทองของจีน คนจีนในยุคหลังจะเรียกตัวเองว่าเป็นชาวฮั่น ราชวงศ์ฮั่นอยู่ได้เป็นเวลานาน กว่า 400 ปี (ราว ๆ ช่วง พ.ศ. 335 - 763) (หรือราว ๆ ช่วง ก่อนคริสต์ศักราช 206 ปี - ค.ศ. 220) และล่มสลายมาเป็นยุคสามก๊ก (ราว ๆ พ.ศ. 763 - 823)(หรือ ๆ ค.ศ. 220 - 280)มีรายละเอียดดังต่อไปนี้ เมื่อกองทัพหลิวปังเอาชนะกองทหารของเซี่ยงอี่สำเร็จ จึงสถาปนาตนเองเป็นจักรพรรดิองค์แรกของราชวงศ์ฮั่นอันยิ่งใหญ่และยาวนาน มีพระนามว่า พระเจ้าฮั่นเกาจู่ โดยตั้งเมืองหลวงที่ ฉางอาน (ใกล้บริเวณเมืองซีอาน มณฑลส่านซีปัจจุบัน) แล้วเรียกชื่อประเทศว่า อาณาจักรฮั่น นักประวัติศาสตร์จีนแบ่งยุคสมัยของราชวงศ์ฮั่นเป็นสองยุคตามที่ตั้งของเมืองหลวง คือ ราชวงศ์ฮั่นตะวันตก (เริ่มต้นโดยพระเจ้าฮั่นเกาจู่) และราชวงศ์ฮั่นตะวันออก (เริ่มต้นที่พระเจ้าฮั่นกวงอู่) เนื่องจากความเจริญรุ่งเรืองของบ้านเมืองอันมากด้วยวัฒนธรรมและประวัติศาสตร์ยาวนาน จึงถือเป็นยุคทองของจีน จึงมีศัพท์จีนคำหนึ่งซึ่งได้ยินติดหูและใช้เรียกในชีวิตประจำวัน คือ ชาวฮั่น ภาษาฮั่น ซึ่งหมายถึง ชาวจีน ภาษาจีน นั่นเอง มันแสดงถึงความภาคภูมิใจของคนจีนที่สืบเนื่องกันมาตั้งแต่ยุคอาณาจักรฮั่นโบราณ.

ราชวงศ์ฮั่นตะวันตกและเจียง จื่อหยา · ราชวงศ์ฮั่นตะวันตกและเตียวเหลียง (ราชวงศ์ฮั่นตะวันตก) · ดูเพิ่มเติม »

ราชวงศ์โจว

ราชวงศ์โจว หรือ ราชวงศ์จิว (ภาษาอังกฤษ:Zhou Dynasty, ภาษาจีนกลาง:周朝, พินอิน: Zhōu Cháo) ราชวงศ์ที่ 3 ในประวัติศาสตร์จีน เริ่มประมาณ 1123 ปีก่อนคริสต์ศักราช - 256 ปีก่อนคริสต์ศักราช นับเป็นราชวงศ์ที่ยาวนานที่สุด ด้วยเวลาที่ยาวนานกว่า 867 ปี มีเรื่องราวต่าง ๆ เกิดขึ้นมากมาย เช่นการสู้รบระหว่างแว่นแคว้น การกำเนิดของปรัชญาเมธีหลายท่าน เช่น ขงจื๊อ, เล่าจื๊อ, ซุนวู เป็นต้น ในยุคชุนชิว.

ราชวงศ์โจวและเจียง จื่อหยา · ราชวงศ์โจวและเตียวเหลียง (ราชวงศ์ฮั่นตะวันตก) · ดูเพิ่มเติม »

สามก๊ก

มก๊ก (Romance of the Three Kingdoms) เป็นวรรณกรรมจีนอิงประวัติศาสตร์ เป็นที่รู้จักและได้รับความนิยมอย่างต่อเนื่อง จัดเป็นวรรณกรรมเพชรน้ำเอกของโลก เป็นมรดกทางปัญญาของปราชญ์ชาวตะวันออกที่สุดยอด มีการแปลเป็นภาษาต่าง ๆ มากกว่า 10 ภาษาการแปลสามก๊กในปัจจุบัน, อินไซด์สามก๊ก, ณรงค์ชัย ปัญญานนทชัย, สำนักพิมพ์ดอกหญ้า,..

สามก๊กและเจียง จื่อหยา · สามก๊กและเตียวเหลียง (ราชวงศ์ฮั่นตะวันตก) · ดูเพิ่มเติม »

จักรพรรดิฮั่นเกาจู่

ั่นเกาจู่ ตามภาษาจีนมาตรฐาน หรือ ฮั่นโกโจ ตามภาษาจีนฮกเกี้ยน ("อัครบรรพชนฮั่น"; 256 ปีก่อนคริสตกาล – 1 มิถุนายน 195 ปีก่อนคริสตกาล) พระนามเดิม หลิว ปัง เป็นจักรพรรดิพระองค์แรกแห่งราชวงศ์ฮั่นของจักรวรรดิจีน และเป็นผู้ก่อตั้งราชวงศ์ดังกล่าว เสวยราชย์ช่วง 202–195 ปีก่อนคริสตกาล นับเป็นหนึ่งในปฐมกษัตริย์จีนไม่กี่พระองค์ที่มาจากครอบครัวรากหญ้า ก่อนเข้าสู่อำนาจ หลิว ปัง เป็นข้าราชการชั้นผู้น้อยในราชวงศ์ฉิน ทำหน้าเป็นนายด่านที่บ้านเกิดในเทศมณฑลเพ่ย์ (沛縣) แห่งรัฐฉู่ (楚国) ที่ถูกราชวงศ์ฉินยึดครอง เมื่อฉินฉื่อหฺวังตี้ (秦始皇帝) ปฐมกษัตริย์ราชวงศ์ฉิน สิ้นพระชนม์ และจักรวรรดิฉิน (秦朝) ตกอยู่ในความวุ่นวายทางการเมือง หลิว ปัง ละทิ้งตำแหน่งราชการเข้าร่วมกบฏต่อต้านราชวงศ์ฉิน จนสามารถบีบให้จื่ออิง (子嬰) ผู้นำคนสุดท้ายของราชวงศ์ฉิน ยอมจำนนได้เมื่อ 206 ปีก่อนคริสตกาล เมื่อสิ้นราชวงศ์ฉินแล้ว เซี่ยง อฺวี่ (項羽) ผู้นำกบฏ แบ่งดินแดนฉินออกเป็นสิบแปดส่วน ให้หลิว ปัง เป็น "ราชาฮั่น" (漢王) ไปครองภูมิภาคปาฉู่ (巴蜀) อันห่างไกลและกันดาร หลิว ปัง จึงนำทัพต่อต้านเซี่ยง อฺวี่ และสามารถยึดภูมิภาคฉินทั้งสาม (三秦) ไว้ได้ นำไปสู่สงครามกลางเมืองที่เรียกว่า "สงครามฉู่–ฮั่น" (楚漢戰爭) ครั้น 202 ปีก่อนคริสตกาล หลังเกิดยุทธการไกเซี่ย (垓下之戰) หลิว ปัง มีชัยในการชิงอำนาจ จึงสามารถรวบดินแดนจีนส่วนใหญ่ไว้ในกำมือ เขาก่อตั้งราชวงศ์ฮั่น มีตนเป็นจักรพรรดิพระองค์แรก ใช้พระนาม "ฮั่นเกาจู่" รัชสมัยฮั่นเกาจู่มีการลดหย่อนภาษี ส่งเสริมลัทธิขงจื๊อ และปราบปรามกบฏเจ้าประเทศราชต่าง ๆ ฮั่นเกาจู่ยังริเริ่มนโยบายที่เรียก "วิวาห์สันติ" (和親) เพื่อสร้างความปรองดองกับกลุ่มซฺยงหนู (匈奴) หลังพ่ายแพ้ในยุทธการไป๋เติง (白登之戰) เมื่อ 200 ปีก่อนคริสตกาล ครั้น 195 ปีก่อนคริสตกาล ฮั่นเกาจู่สวรรคต พระโอรส คือ หลิว อิ๋ง (劉盈) สืบตำแหน่งต่อ ใช้พระนามว่า "ฮั่นฮุ่ย" (汉惠).

จักรพรรดิฮั่นเกาจู่และเจียง จื่อหยา · จักรพรรดิฮั่นเกาจู่และเตียวเหลียง (ราชวงศ์ฮั่นตะวันตก) · ดูเพิ่มเติม »

รายการด้านบนตอบคำถามต่อไปนี้

การเปรียบเทียบระหว่าง เจียง จื่อหยาและเตียวเหลียง (ราชวงศ์ฮั่นตะวันตก)

เจียง จื่อหยา มี 31 ความสัมพันธ์ขณะที่ เตียวเหลียง (ราชวงศ์ฮั่นตะวันตก) มี 15 ขณะที่พวกเขามีเหมือนกัน 4, ดัชนี Jaccard คือ 8.70% = 4 / (31 + 15)

การอ้างอิง

บทความนี้แสดงความสัมพันธ์ระหว่าง เจียง จื่อหยาและเตียวเหลียง (ราชวงศ์ฮั่นตะวันตก) หากต้องการเข้าถึงบทความแต่ละบทความที่ได้รับการรวบรวมข้อมูลโปรดไปที่:

Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »