โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ฟรี
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

อำเภอเทิงและเสาสะดือเมืองเชียงราย

ทางลัด: ความแตกต่างความคล้ายคลึงกันค่าสัมประสิทธิ์การเปรียบเทียบ Jaccardการอ้างอิง

ความแตกต่างระหว่าง อำเภอเทิงและเสาสะดือเมืองเชียงราย

อำเภอเทิง vs. เสาสะดือเมืองเชียงราย

อยเอียน เทิง (20px) เป็นอำเภอหนึ่งของจังหวัดเชียงร. ือเมืองเชียงราย กรุวัฒนธรรมเชียงราย เสาสะดือเมืองเชียงราย (เสาหลักเมือง) เป็นเครื่องหมายหรือสัญลักษณ์ของการก่อตั้งชุมชนและเมือง สำหรับจังหวัดเชียงรายจะเรียกเสาหลักเมืองว่าเสาสะดือเมือง จากหลักฐานทางประวัติศาสตร์ระบุว่า เมื่อครั้งการสร้างเมืองครั้งแรกใช้คำว่า "เสาสะดือเมือง" ไม่ใช้คำว่าเสาหลักเมือง เสาสะดือเมืองเชียงรายแห่งนี้สร้างขึ้นในปี พ.ศ. 2530 เนื่องในวโรกาสที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชมหาราช ทรงเจริญพระชนมพรรษาครบ 60 พรรษา หรือ 5 รอบ และเป็นการรำลึกถึงพระมหากรุณาธิคุณของพญามังรายมหาราช ผู้ทรงสร้างเมืองเชียงรายเนื่องในวโรกาสการเฉลิมฉลองการสร้างเมืองเชียงรายครบ 725 ปี โดยนายอร่าม เอี่ยมอรุณ ผู้ว่าราชการจังหวัดในขณะนั้นได้เป็นแม่งานร่วมกับหน่วยงานราชการ เช่น สถาบันวิจัยสังคม มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ องค์กรภาคประชาชน ภาคเอกชน และรัฐบาลเยอรมัน ลักษณะของเสาสะดือเมืองเชียงราย สร้างขึ้นโดยยึดตามรูปแบบเสาใจกลางบ้านของชาวไทลื้อซึ่งตั้งถิ่นฐานอยู่ในเขตอำเภอเทิง อำเภอเชียงของ อำเภอพาน จังหวัดเชียงราย ซึ่งปกติเสาใจกลางบ้านของชาวไทลื้อจะสร้างด้วยไม้ แต่เสาสะดือเมืองเชียงรายเป็นเสาหิน ซึ่งสร้างจากหินชั้นดีจากจังหวัดตาก ทั้งนี้เพื่อความคงทนถาวร โดยบริเวณที่ตั้งเสาสะดือเมืองแห่งนี้เรียกว่าดอยจอมทอง ซึ่งตามประวัติศาสตร์กล่าวว่าพญามังรายได้เสด็จมาหาตามช้างของพระองค์ซึ่งหนีเตลิดมา เมื่อพระองค์ได้ทรงพบว่าสถานที่แห่งนี้มีชัยภูมิเหมาะสมในการสร้างบ้านเมือง จึงโปรดให้สร้างเมืองเชียงรายขึ้น เสาสะดือเมืองเชียงราย สร้างในรูปแบบศิลปะขอมแบบพนมบาแกง โดยยึดตามรูปแบบสมมติของจักรวาล หันหน้าไปสู่ทิศตะวันออก บริเวณด้านนอกสุดเป็นคูน้ำเหมือนในจักรวาล ลานดินถัดจากคูน้ำหมายถึงแผ่นดิน ลานด้านในยกเป็นชั้นๆ จำนวน 6 ชั้น เปรียบเสมือนสวรรค์ทั้ง 6 ชั้น ในกามภูมิ ประกอบด้วยชั้นจาตุมหาราชิกา ดาวดึงส์ ยามะ ดุสิต นิมมานรตี และปรนิมมิตสวัตตี ตามลำดับ โดยแต่ละชั้นจะมีร่องน้ำคั่นกลาง เหมือนปัญจมหานที ได้แก่ คงคา ยมุนา อจิรวดี สรภู และมหิ ไหลลดหลั่นกันลงสู่พื้นดิน ชั้นในสุดยกเป็น 3 ชั้น หมายถึงรูปภูมิ อรูปภูมิ และนิพพาน ตัวเสาสะดือเมืองตั้งโดดเด่นดั่งเขาพระสุเมรุอยู่บนฐานสามเหลี่ยมยกพื้นสูง ซึ่งเปรียบเสมือนตรีกูฏบรรพต หรือผา 3 เส้า มีเสาบริวารล้อมรอบจำนวน 108 ต้น โดยตัวเสาสะดือเมืองมีขนาดใหญ่เท่ากับ 5 กำพระหัตถ์ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชมหาราช ซึ่งเป็นไปตามคติความเชื่อของล้านนาโบราณที่จะต้องสร้างเสาสะดือเมืองให้มีขนาดใหญ่เท่ากับ 5 กำพระหัตถ์ และมีความสูงเท่ากับส่วนสูงของพระวรกายของพระมหากษัตริย์ เสาสะดือเมืองเชียงรายและเสาบริวารแกะสลักจากหิน โดยฝีมือของนายสิงห์คำ สมเครือ ช่างฝีมือชาวพะเยา ปัจจุบันเสาสะดือเมืองเชียงรายนอกจากเป็นสถานที่รำลึกถึงการสร้างเมืองเชียงรายแล้ว ยังเป็นสถานที่ท่องเที่ยวที่สำคัญแห่งหนึ่งของจังหวัดเชียงราย บริเวณข้างเสาสะดือเมืองเชียงราย เป็นที่ตั้งของวัดพระธาตุดอยจอมทอง และเชิงบันไดทางขึ้นไปสู่เสาสะดือเมืองด้านขวามือ มีสิ่งก่อสร้างขนาดย่อมตั้งอยู่ เรียกว่า “กรุวัฒนธรรมเชียงราย” ซึ่งก่อสร้างขึ้นเมืองวันที่ 19 มกราคม พ.ศ. 2544 เพื่อเก็บร่องรอยและหลักฐานทางวัฒนธรรมร่วมสมัยปัจจุบัน ซึ่งกรุวัฒนธรรมเชียงรายนี้จะทำการขุดขึ้นมาอีกครั้งเมื่อมีอายุครบ 100 ปี หรือในวันที่ 19 มกราคม พ.ศ. 2644 ภาพ:Jt03.jpg| ภาพ:Jt04.jpg| ภาพ:Jt05.jpg| ภาพ:Jt06.jpg| สเสาสะดือเมืองเชียงราย สเสาสะดือเมืองเชียงราย หมวดหมู่:สิ่งก่อสร้างในจังหวัดเชียงราย หมวดหมู่:อำเภอเมืองเชียงราย.

ความคล้ายคลึงกันระหว่าง อำเภอเทิงและเสาสะดือเมืองเชียงราย

อำเภอเทิงและเสาสะดือเมืองเชียงราย มี 1 สิ่งที่เหมือนกัน (ใน ยูเนี่ยนพีเดีย): จังหวัดเชียงราย

จังหวัดเชียงราย

ังหวัดเชียงราย (55px เจียงฮาย; 50px) เป็นจังหวัดที่ตั้งอยู่ในภาคเหนือตอนบนของประเทศไทย มีภูมิศาสตร์อยู่ทางเหนือสุดของประเทศ ที่ตั้งของเมืองมีความสำคัญทางประวัติศาสตร์ตั้งแต่ยุคก่อตั้งอาณาจักรล้านนา เช่น เมืองเงินยาง เมืองเชียงแสน เมืองเชียงราย เมืองเชียงรายเป็นพื้นที่ดั้งเดิมของชาวไทยวน ปัจจุบันจังหวัดเชียงรายแบ่งการปกครองออกเป็น 18 อำเภอ มีน้ำแม่กก น้ำแม่อิง แม่น้ำรวก และแม่น้ำโขง เป็นแม่น้ำสายสำคัญ ทำเลที่ตั้งของจังหวัดเชียงรายอยู่บริเวณรอยต่อระหว่าง 3 ประเทศ คือ ประเทศไทย ประเทศพม่า และประเทศลาว หรือรู้จักกันในนามของดินแดนสามเหลี่ยมทองคำ ซึ่งอดีตเป็นแหล่งผลิตฝิ่นที่สำคัญของโลก ปัจจุบัน จังหวัดเชียงรายได้รับความสนใจในฐานะประตูสู่พม่า ลาว และจีนตอนใต้ ผ่านทางหลวงเอเชียสาย 2 และทางหลวงเอเชียสาย 3 เมืองเชียงรายมีประวัติศาสตร์อันยาวนาน เป็นที่ตั้งของหิรัญนครเงินยางเชียงแสน ซึ่งเป็นนครหลวงก่อนการกำเนิดอาณาจักรล้านนา มี "คำเมือง" เป็นภาษาท้องถิ่น มีเอกลักษณ์เฉพาะตัวทั้งด้านศิลปะ ประเพณีวัฒนธรรมที่มีความหลากหลายทางชาติพันธุ์ในรูปแบบล้านนา ไทใหญ่ ไทเขิน และไทลื้อจากสิบสองปันนาผสมผสานกัน.

จังหวัดเชียงรายและอำเภอเทิง · จังหวัดเชียงรายและเสาสะดือเมืองเชียงราย · ดูเพิ่มเติม »

รายการด้านบนตอบคำถามต่อไปนี้

การเปรียบเทียบระหว่าง อำเภอเทิงและเสาสะดือเมืองเชียงราย

อำเภอเทิง มี 46 ความสัมพันธ์ขณะที่ เสาสะดือเมืองเชียงราย มี 11 ขณะที่พวกเขามีเหมือนกัน 1, ดัชนี Jaccard คือ 1.75% = 1 / (46 + 11)

การอ้างอิง

บทความนี้แสดงความสัมพันธ์ระหว่าง อำเภอเทิงและเสาสะดือเมืองเชียงราย หากต้องการเข้าถึงบทความแต่ละบทความที่ได้รับการรวบรวมข้อมูลโปรดไปที่:

Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »