โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ดาวน์โหลด
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

การพิจารณาคดีเนือร์นแบร์คและอดอล์ฟ ฮิตเลอร์

ทางลัด: ความแตกต่างความคล้ายคลึงกันค่าสัมประสิทธิ์การเปรียบเทียบ Jaccardการอ้างอิง

ความแตกต่างระหว่าง การพิจารณาคดีเนือร์นแบร์คและอดอล์ฟ ฮิตเลอร์

การพิจารณาคดีเนือร์นแบร์ค vs. อดอล์ฟ ฮิตเลอร์

ซึดดอยท์เชอไซทุง (Süddeutsche Zeitung) ลงข่าว "คำพิพากษาในเนือร์นแบร์ค" ในภาพคือ: (แถวจากซ้ายไป - รูปจากบนลงมา) ''แถวที่หนึ่ง'' เกอริง, เฮสส์, ริบเบนทรอพ, โรเซนแบร์ก, ฟรังค์ และฟริก; ''แถวที่สอง'' ฟุงค์, ชไตเชอร์ และชัชท์; ''แถวที่สาม'' เดอนิทซ์, แรเดอร์ และชีรัช; ''แถวที่สี่'' เซาค์เคล, โยเดิล, พาเพิน, ไซซ์-อินควัร์ท, สเปร์, นอยรัท และบอร์มันน์ การพิจารณาคดีเนือร์นแบร์ค (Nuremberg trials) เป็นชุดการพิจารณาคดีทางทหารที่ฝ่ายสัมพันธมิตรผู้ชนะสงครามโลกครั้งที่สองเป็นผู้จัด มีจุดเด่นเป็นการฟ้องสมาชิกชั้นผู้ใหญ่ในคณะผู้นำทางการเมือง การทหาร และเศรษฐกิจของนาซีเยอรมนีซึ่งพ่ายสงคราม การพิจารณาทั้งนี้มีขึ้น ณ ตำหนักยุติธรรม เมืองเนือร์นแบร์ค รัฐบาวาเรีย ประเทศเยอรมนี โดยชุดแรกเป็น "การพิจารณาผู้กระทำความผิดอาญาสงครามกลุ่มหลัก" ในศาลทหารระหว่างประเทศ (International Military Tribunal) เริ่มในวันที่ 20 พฤศจิกายน.. อดอล์ฟ ฮิตเลอร์ (Adolf Hitler) เป็นนักการเมืองเยอรมันเชื้อชาติออสเตรีย หัวหน้าพรรคกรรมกรชาติสังคมนิยมเยอรมัน หรือที่รู้จักกันทั่วไปในชื่อ พรรคนาซี ฮิตเลอร์ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีเยอรมนี ระหว่าง..

ความคล้ายคลึงกันระหว่าง การพิจารณาคดีเนือร์นแบร์คและอดอล์ฟ ฮิตเลอร์

การพิจารณาคดีเนือร์นแบร์คและอดอล์ฟ ฮิตเลอร์ มี 28 สิ่งที่เหมือนกัน (ใน ยูเนี่ยนพีเดีย): ชตูร์มับไทลุงฟรันซ์ ฟอน พาเพินฟือเรอร์พรรคนาซีการพิจารณาคดีเนือร์นแบร์คฝ่ายอักษะมาร์ทิน บอร์มันน์มิวนิกรูดอล์ฟ เฮสส์วิลเฮล์ม ไคเทิลวินสตัน เชอร์ชิลสหภาพโซเวียตสนธิสัญญาแวร์ซายอัลแบร์ท ชเปียร์อัลเฟรด โยเดิลอันชลุสส์ฮันส์ ฟรังค์คาร์ล เดอนิทซ์ค่ายกักกันประเทศเยอรมนีนายกรัฐมนตรีเยอรมนีนาซีเยอรมนีแฟรงกลิน ดี. โรสเวลต์แฮร์มันน์ เกอริงโยอาคิม ฟอน ริบเบนทรอพโยเซฟ เกิบเบลส์โจเซฟ สตาลินเวียนนา

ชตูร์มับไทลุง

ตูร์มับไทลุง (Sturmabteilung; ชื่อย่อ เอสเอ (SA);; แปลว่า "กองกำลังพายุ") เป็นหน่วยกองกำลังกึ่งทหารเดิมของพรรคนาซี หน่วยเอสเอมีบทบาทสำคัญในการก้าวขึ้นสู่อำนาจของอดอล์ฟ ฮิตเลอร์ ในทศวรรษที่ 1920 ถึง 1930 โดยมีวัตถุประสงค์หลักในการคุ้มกันการเคลื่อนทัพและการระดมพลของนาซี เข้าก่อกวนการประชุมพรรคฝ่ายค้าน สู้กับหน่วยกึ่งทหารของฝ่ายตรงข้าม เช่น สันนิบาตนักสู้แนวหน้าสีแดง (Rotfrontkämpferbund) ของพรรคคอมมิวนิสต์แห่งเยอรมนี รวมถึงสร้างความหวาดกลัวให้แก่ชาวสลาวิกและโรมัน กลุ่มลัทธิ และกลุ่มยิว เช่นในช่วงการคว่ำบาตรชาวยิวของนาซี กลุ่มเอสเอบ้างก็รู้จักในยุคสมัยนั้นว่าพวกชุดกากี (Braunhemden) ทำนองเดียวกับกลุ่มชุดดำของมุโสลินี กลุ่มเอสเอมียศกึ่งทหารเป็นของตนเองซึ่งนำไปใช้กับกลุ่มนาซีหลายกลุ่ม โดยกลุ่มที่เป็นหัวหน้าก็เช่นกลุ่มชุทซ์ชทัฟเฟิล ซึ่งเคยอยู่ภายใต้กลุ่มเอสเอก่อนแยกตัวออกมาภายหลัง เหตุที่ใช้ชุดกากีเพราะว่าในสงครามโลกครั้งที่ 1 มีชุดเหล่านี้จำนวนมากและราคาถูก เพราะได้เคยมีการสั่งชุดนี้สำหรับทหารประจำอาณานิคมของดินแดนอาณานิคมของเยอรมัน กลุ่มเอสเอสูญเสียอำนาจหลังจากฮิตเลอร์สั่งให้มีการฆ่าล้างอย่างโหดเหี้ยมในเหตุการณ์คืนมีดยาว (die Nacht der langen Messer) และถูกแทนที่โดยกลุ่มเอสเอส แต่กลุ่มเอสเอก็ยังไม่ถูกเลิกถาวรจนกระทั่วอาณาจักรไรซ์ที่ 3 ยอมจำนนต่อฝ่ายสัมพันธมิตรในปี 1945.

การพิจารณาคดีเนือร์นแบร์คและชตูร์มับไทลุง · ชตูร์มับไทลุงและอดอล์ฟ ฮิตเลอร์ · ดูเพิ่มเติม »

ฟรันซ์ ฟอน พาเพิน

ฟรันซ์ โยเซฟ แฮร์มัน ไมเคิล มาเรีย ฟอน พาเพิน ซู คอนนิเกน(Franz Joseph Hermann Michael Maria von Papen zu Köningen)(29 ตุลาคม ค.ศ.1879 – 2 พฤษภาคม ค.ศ.1969)เป็นขุนนางเยอรมัน,เจ้าหน้าที่เสนาธิการและนักการเมือง เขาทำหน้าที่นายกรัฐมนตรีของเยอรมนีในปี..1932 และในฐานะรองนายกรัฐมนตรีภายใต้การนำของอดอล์ฟ ฮิตเลอร์ ในปี..1933–1934 เขาเป็นกลุ่มที่ปรึกษาใกล้ชิดกับประธานาธิบดีเพาล์ ฟอน ฮินเดนบูร์กในช่วงปลายของสาธารณรัฐไวมาร.

การพิจารณาคดีเนือร์นแบร์คและฟรันซ์ ฟอน พาเพิน · ฟรันซ์ ฟอน พาเพินและอดอล์ฟ ฮิตเลอร์ · ดูเพิ่มเติม »

ฟือเรอร์

ฟือเรอร์ (Führer) ในภาษาเยอรมัน หมายถึง "ผู้นำ" โดยคำว่า "ฟือเรอร์" มักจะหมายถึง ฉายาของผู้นำนาซีเยอรมนี อดอล์ฟ ฮิตเลอร์ และเป็นตำแหน่งสำคัญในคณะรัฐบาลสมัยนาซีเยอรมนี และองค์กรกึ่งทหาร (โดยเฉพาะอย่างยิ่งหน่วยเอ็สเอ็ส) โดยคำดังกล่าวเป็นการเอาอย่างจากคำว่า อิลดูเช ในภาษาอิตาลี ซึ่งมีความหมายอย่างเดียวกัน.

การพิจารณาคดีเนือร์นแบร์คและฟือเรอร์ · ฟือเรอร์และอดอล์ฟ ฮิตเลอร์ · ดูเพิ่มเติม »

พรรคนาซี

รรคกรรมกรชาติสังคมนิยมเยอรมัน (Nationalsozialistische Deutsche Arbeiterpartei, ย่อ: NSDAP) หรือ พรรคนาซี เดิมมีผู้เข้าร่วมเพียง 7 คน เป็นพรรคการเมืองที่ปกครองประเทศเยอรมนีช่วงไรช์ที่สาม ตั้งแต..

การพิจารณาคดีเนือร์นแบร์คและพรรคนาซี · พรรคนาซีและอดอล์ฟ ฮิตเลอร์ · ดูเพิ่มเติม »

การพิจารณาคดีเนือร์นแบร์ค

ซึดดอยท์เชอไซทุง (Süddeutsche Zeitung) ลงข่าว "คำพิพากษาในเนือร์นแบร์ค" ในภาพคือ: (แถวจากซ้ายไป - รูปจากบนลงมา) ''แถวที่หนึ่ง'' เกอริง, เฮสส์, ริบเบนทรอพ, โรเซนแบร์ก, ฟรังค์ และฟริก; ''แถวที่สอง'' ฟุงค์, ชไตเชอร์ และชัชท์; ''แถวที่สาม'' เดอนิทซ์, แรเดอร์ และชีรัช; ''แถวที่สี่'' เซาค์เคล, โยเดิล, พาเพิน, ไซซ์-อินควัร์ท, สเปร์, นอยรัท และบอร์มันน์ การพิจารณาคดีเนือร์นแบร์ค (Nuremberg trials) เป็นชุดการพิจารณาคดีทางทหารที่ฝ่ายสัมพันธมิตรผู้ชนะสงครามโลกครั้งที่สองเป็นผู้จัด มีจุดเด่นเป็นการฟ้องสมาชิกชั้นผู้ใหญ่ในคณะผู้นำทางการเมือง การทหาร และเศรษฐกิจของนาซีเยอรมนีซึ่งพ่ายสงคราม การพิจารณาทั้งนี้มีขึ้น ณ ตำหนักยุติธรรม เมืองเนือร์นแบร์ค รัฐบาวาเรีย ประเทศเยอรมนี โดยชุดแรกเป็น "การพิจารณาผู้กระทำความผิดอาญาสงครามกลุ่มหลัก" ในศาลทหารระหว่างประเทศ (International Military Tribunal) เริ่มในวันที่ 20 พฤศจิกายน..

การพิจารณาคดีเนือร์นแบร์คและการพิจารณาคดีเนือร์นแบร์ค · การพิจารณาคดีเนือร์นแบร์คและอดอล์ฟ ฮิตเลอร์ · ดูเพิ่มเติม »

ฝ่ายอักษะ

ฝ่ายอักษะ (Axis Powers; Achsenmächte; Potenze dell'Asse; Suujikukoku.) หรือชื่อ อักษะ โรม-เบอร์ลิน-โตเกียว (Rome-Berlin-Tokyo Axis) เป็นกลุ่มประเทศมหาอำนาจทางการทหารซึ่งสู้รบกับฝ่ายสัมพันธมิตรในสงครามโลกครั้งที่สอง ประกอบด้วยสามประเทศหลัก คือ นาซีเยอรมนี อิตาลีและจักรวรรดิญี่ปุ่น ซึ่งทั้งสามร่วมลงนามกติกาสัญญาไตรภาคี เมื่อเดือนกันยายน..

การพิจารณาคดีเนือร์นแบร์คและฝ่ายอักษะ · ฝ่ายอักษะและอดอล์ฟ ฮิตเลอร์ · ดูเพิ่มเติม »

มาร์ทิน บอร์มันน์

มาร์ติน บอร์มันน์ (Martin Bormann) เกิดวันที่ 17 มิถุนายน.ศ 1900 ที่รัฐซัคเซิน-อันฮัลท์,จักรวรรดิเยอรมันเขาเสียชีวิตด้วยการฆ่าตัวตายในวันที่ 2 พฤษภาคม.ศ 1945ที่ฟือเลอร์บุงเกอร์กรุงเบอร์ลิน เขาเป็นเลขธิการของพรรคนาซีและเพื่อนของฮิตเลอร.

การพิจารณาคดีเนือร์นแบร์คและมาร์ทิน บอร์มันน์ · มาร์ทิน บอร์มันน์และอดอล์ฟ ฮิตเลอร์ · ดูเพิ่มเติม »

มิวนิก

มิวนิก (Munich) หรือในภาษาเยอรมันว่า มึนเชิน (München) เป็นเมืองที่อยู่ทางใต้ของประเทศเยอรมนี และเป็นเมืองหลวงของรัฐบาวาเรีย ถือเป็นเมืองที่ใหญ่เป็นอันดับสามของประเทศรองจากเบอร์ลินและฮัมบวร์ค และเป็นหนึ่งในเมืองมั่งคั่งที่สุดของยุโรปตัวเมืองมีประชากร 1.3 ล้านคน และ 2.7 ล้านคนในเขตเมือง ตัวเมืองตั้งอยู่บนแม่น้ำอีซาร์ เหนือเทือกเขาแอลป์ มิวนิกเป็นเมืองที่มีเศรษฐกิจเข้มแข็งที่สุดในประเทศเยอรมนี โครงการริเริ่ม “Neue Soziale Marktwirtschaft (INSM)” (เศรษฐกิจตลาดสังคมใหม่) และนิตยสาร “Wirtschafts Woche” (ธุรกิจรายสัปดาห์) ให้คะแนนมิวนิกสูงที่สุดในการสำรวจเปรียบเทียบ ในเดือนมิถุนายน พ.ศ. 2549 (เป็นครั้งที่สาม) มิวนิกยังเป็นอันดับหนึ่งในการจัดอันดับโดยนิตยสาร “Capital” ในเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2548 ที่จัดอันดับแนวโน้มเศรษฐกิจระหว่าง..

การพิจารณาคดีเนือร์นแบร์คและมิวนิก · มิวนิกและอดอล์ฟ ฮิตเลอร์ · ดูเพิ่มเติม »

รูดอล์ฟ เฮสส์

รูดอล์ฟ วัลเทอร์ ริชาร์ด เฮสส์ (26 เมษายน 1894 – 17 สิงหาคม 1987) เป็นนักการเมืองคนสำคัญในนาซีเยอรมนี ได้รับแต่งตั้งเป็นรองฟือเรอร์ของอดอล์ฟ ฮิตเลอร์ในปี 1933 เขาดำรงตำแหน่งจนปี 1941 เมื่อเขาบินเดี่ยวไปประเทศสกอตแลนด์เพื่อพยายามเจรจาสันติภาพกับสหราชอาณาจักรระหว่างสงครามโลกครั้งที่สอง เขาถูกจับเป็นนักโทษและสุดท้ายถูกพิพากษาลงโทษฐานอาชญากรรมต่อสันติภาพ รับโทษจำคุกตลอดชีวิต เฮสส์สมัครเข้าเป็นทหารในกรมทหารปืนใหญ่สนามบาวาเรียที่ 7 เป็นทหารราบเมื่อสงครามโลกครั้งที่หนึ่งอุบัติ เขาได้รับบาดเจ็บหลายครั้งระหว่างสงคราม และได้รับเครื่องอิสริยาภรณ์กางเขนเหล็ก ชั้นสองในปี 1915 ไม่นานก่อนสงครามยุติ เฮสส์ขึ้นทะเบียนเพื่อฝึกเป็นนักบิน แต่มิได้ปฏิบัติหน้าที่ในบทบาทนี้ เขาออกจากกองทัพในเดือนธันวาคม 1918 ด้วยยศร้อยโทสำรอง (Leutnant der Reserve) ในฤดูใบไม้ร่วงปี 1919 เฮสส์สมัครเรียนในมหาวิทยาลัยมิวนิก ที่ซึ่งเขาศึกษาวิชาภูมิรัฐศาสตร์กับคาร์ล เฮาโชแฟร์ ผู้สนับสนุนมโนทัศน์เลเบนซเราม์ ("ที่อยู่อาศัย") ซึ่งต่อมากลายเป็นเสาหลักของอุดมการณ์พรรคนาซี เฮสส์เข้าร่วมพรรคนาซีเมื่อวันที่ 1 กรกฎาคม 1920 และร่วมกับฮิตเลอร์ก่อกบฏโรงเบียร์เมื่อวันที่ 8 พฤศจิกายน 1923 อันเป็นความพยายามของนาซีที่ล้มเหลวเพื่อยึดรัฐบาลบาวาเรีย ระหว่างรับโทษจำคุกจากความพยายามรัฐประหารนี้ เฮสส์ช่วยฮิตเลอร์เขียนงานของเขา ไมน์คัมพฟ์ ซึ่งต่อมากลายเป็นรากฐานแนวนโยบายของพรรคนาซี เมื่อนาซียึดอำนาจในปี 1933 เฮสส์ได้รับแต่งตั้งเป็นรองฟือเรอร์ของพรรคนาซีและได้รับตำแหน่งในคณะรัฐมนตรีของฮิตเลอร์ เขาเป็นผู้ทรงอำนาจสูงสุดอันดับสามในประเทศเยอรมนี รองแต่เพียงฮิตเลอร์และแฮร์มันน์ เกอริง นอกเหนือจากการปรากฏตัวแทนฮิตเลอร์ในการปราศรัยและชุมนุม เฮสส์ลงนามผ่านกฎหมายหลายฉบับซึ่งรวมกฎหมายเนือร์นแบร์กปี 1935 ซึ่งถอดสิทธิของชาวยิวในประเทศเยอรมนีนำไปสู่ฮอโลคอสต์ เฮสส์ยังสนใจการบิน โดยเรียนบินอากาศยานที่ซับซ้อนขึ้นซึ่งมาพัฒนาเมื่อสงครามโลกครั้งที่สองอุบัติ เมื่อวันที่ 10 พฤษภาคม 1941 เขาบินเดี่ยวไปประเทศสกอตแลนด์ ซึ่งเขาหวังจัดการเจรจาสันติภาพกับดุ๊กแฮมิลตัน ซึ่งเขาเชื่อว่าเป็นคนสำคัญในฝ่ายค้านของรัฐบาลอังกฤษ เฮสส์ถูกจับกุมทันทีที่มาถึงและถูกอังกฤษควบคุมตัวจนสิ้นสงคราม(หลังจากฮิตเลอร์ได้ทราบการกระทำของเฮสส์ทำให้เขาโกรธมากและทำการปลดเขาออกจากรองฟือเรอร์และได้แต่งตั้งมาร์ติน บอรมันแทน) เมื่อเขากลับประเทศเยอรมนีเพื่อรับการไต่สวนในการพิจารณาคดีเนือร์นแบร์กอาชญากรสงครามคนสำคัญในปี 1946 ตลอดการไต่สวน เขาอ้างว่าป่วยเป็นภาวะเสียความจำ แต่ภายหลังรับว่าเป็นอุบาย เฮสส์ถูกพิพากษาลงโทษฐานอาชญากรรมต่อสันติภาพและคบคิดกับผู้นำเยอรมันอื่นเพื่อก่ออาชญากรรมและถูกย้ายไปเรือนจำซแพนเดาในปี 1947 ซึ่งเขารับโทษจำคุกตลอดชีวิต ความพยายามซ้ำ ๆ ของสมาชิกครอบครัวและนักการเมืองคนสำคัญเพื่อให้ปล่อยตัวเขาถูกสหภาพโซเวียตขัดขวาง ขณะยังถูกควบคุมตัวในซแพนเดา เขาเสียชีวิตโดยดูเหมือนฆ่าตัวตายในปี 1987 เมื่ออายุ 93 ปี หลังเสียชีวิต เรือนจำถูกทำลายเพื่อมิให้กลายเป็นที่บูชาของนีโอนาซี หมวดหมู่:นาซี หมวดหมู่:นักการเมืองเยอรมัน หมวดหมู่:ทหารชาวเยอรมันในสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง‎ หมวดหมู่:ทหารในสงครามโลกครั้งที่สอง หมวดหมู่:เชลยศึกสงครามโลกครั้งที่สองชาวเยอรมันที่ถูกจับโดยสหราชอาณาจักร.

การพิจารณาคดีเนือร์นแบร์คและรูดอล์ฟ เฮสส์ · รูดอล์ฟ เฮสส์และอดอล์ฟ ฮิตเลอร์ · ดูเพิ่มเติม »

วิลเฮล์ม ไคเทิล

วิลเฮล์ม โยดีวิน โยฮันท์ กุสตาฟ ไคเทิล (Wilhelm Bodewin Johann Gustav Keitel) เป็นจอมพลเยอรมันซึ่งดำรงตำแหน่งหัวหน้ากองบัญชาการใหญ่แห่งเวร์มัคท์ ตลอดช่วงสงครามโลกครั้งที่สองในทวีปยุโรป ตำแหน่งของเขาเทียบได้กับรัฐมนตรีกลาโหม หลังสิ้นสุดสงคราม เขาถูกนำตัวเข้ารับการพิจารณาคดีเนือร์นแบร์กของสัมพันธมิตร เขาได้พยายามต่อสู้คดีแต่กลับถูกตัดสินโทษประหารชีวิตด้วยการแขวนคอ เขาถือเป็นหนึ่งในสามผู้บัญชาการทหารระดับสูงสุดของเยอรมันที่ถูกนำตัวขึ้นพิจารณาคดี.

การพิจารณาคดีเนือร์นแบร์คและวิลเฮล์ม ไคเทิล · วิลเฮล์ม ไคเทิลและอดอล์ฟ ฮิตเลอร์ · ดูเพิ่มเติม »

วินสตัน เชอร์ชิล

ซอร์วินสตัน ลีโอนาร์ด สเปนเซอร์-เชอร์ชิล (Winston Leonard Spencer-Churchill) เป็นรัฐบุรุษชาวอังกฤษผู้ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีแห่งสหราชอาณาจักรสองสมัย ระหว่างปี 1940 ถึง 1945 และปี 1951 ถึง 1955 ได้รับการยอมรับอย่างกว้างขวางว่าเป็นผู้นำที่ยิ่งใหญ่ที่สุดในยุคสงครามของศตวรรษที่ 20 นอกจากนี้ วินสตันยังเป็นทหารในกองทัพอังกฤษ, นักประวัติศาสตร์, นักเขียน, ตลอดจนศิลปิน เขาได้รับรางวัลโนเบลสาขาอักษรศาสตร์ และยังเป็นบุคคลแรกที่ได้เป็น พลเมืองเกียรติยศแห่งสหรัฐอเมริกา ผู้คนมักนิยมเรียกเขาด้วยชื่อ "วินสตัน" แทนที่จะเรียกด้วยนามสกุล วินสตันเกิดในตระกูลชนชั้นสูงที่สืบเชื้อสายมาจากดยุกแห่งมาร์ลบะระ สาขาหนึ่งของตระกูลสเปนเซอร์ บิดาของเขาคือ ลอร์ดรันดอล์ฟ เชอร์ชิล นักการเมืองผู้ดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีคลัง ส่วนมารดาของเขาคือ เจนนี จีโรม นักสังคมสงเคราะห์ชาวอเมริกัน ในขณะที่ยังเป็นทหารหนุ่ม เขาได้ปฏิบัติภารกิจในบริติชอินเดีย และซูดาน และในสงครามโบเออร์ครั้งที่สอง เขามีชื่อเสียงขึ้นมาจากการเป็นนักข่าวสงครามและเขียนหนังสือเกี่ยวกับปฏิบัติการของเขา เขาเป็นผู้มีบทบาททางการเมืองแถวหน้ามาตลอดห้าสิบปี ได้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองและตำแหน่งในคณะรัฐมนตรีมากมาย ก่อนสงครามโลกครั้งที่หนึ่งเขาเป็นหัวหน้ากรรมการการค้า, รัฐมนตรีปิตุภูมิ, และรัฐมนตรียุติธรรม ระหว่างสงคราม เขายังคงดำรงตำแหน่งรัฐมนตรียุติธรรม จนกระทั่งความพ่ายแพ้ของอังกฤษในการทัพกัลลิโพลี ทำให้เขาต้องออกจากคณะรัฐบาลและไปประจำการราชการทหารอยู่ที่แนวหน้าภาคตะวันตกในตำแหน่งผู้บัญชาการกองพันลูกเสือที่ 6 จนกระทั่งเขาได้กลับคืนคณะรัฐบาลในตำแหน่งรัฐมนตรียุทธภัณฑ์ รัฐมนตรีว่าการสงคราม และ รัฐมนตรีน่านฟ้า และในปี 1921-1922 เป็นรัฐมนตรีว่าการอาณานิคม และต่อมาในปี 1924-1929 เป็นรัฐมนตรีคลังหลวง โดยเขาได้กำหนดให้สกุลเงินปอนด์กลับไปอิงค่าทองคำเหมือนกับยุคก่อนสงคราม ซึ่งทำให้เกิดภาวะเงินฝืดแพร่ไปทั้งเศรษฐกิจของสหราชอาณาจักร ภายหลังห่างหายจากงานการเมืองไปในทศวรรษที่ 1930 วินสตันก็ได้กลับมาทำงานการเมืองอีกครั้งเมื่อนาซีเยอรมนีเริ่มที่จะสั่งสมกำลังทหารและดูจะเป็นภัยคุกคามต่ออังกฤษ และแล้วการอุบัติขึ้นอย่างฉับพลันของสงครามโลกครั้งที่สอง ก็ทำให้เขาได้รับแต่งตั้งเป็นรัฐมนตรียุติธรรมอีกครั้ง และภายหลังการลาออกของนายกรัฐมนตรี เนวิล เชมเบอร์ลิน ในวันที่ 10 พฤษภาคม 1940 วินสตันก็กลายเป็นนายกรัฐมนตรี คำประกาศหนักแน่นของเขาที่จะไม่เป็นผู้ยอมแพ้ได้ช่วยกระตุ้นให้ชาวอังกฤษหันมาต่อต้านนาซีเยอรมนี โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงต้นสงครามซึ่งเป็นช่วงเวลาที่ยากเย็นเมื่อสหราชอาณาจักรและอาณานิคมอังกฤษเป็นเพียงฝ่ายเดียวที่ลุกขึ้นอยู่ฝ่ายตรงข้ามกับอดอล์ฟ ฮิตเลอร์ วินสตันได้กล่าวสุนทรพจน์ของเขาผ่านวิทยุกระจายเสียงปลุกขวัญกำลังใจชาวอังกฤษ เขาเป็นผู้นำของอังกฤษไปจนกระทั่งสามารถมีชัยเหนือนาซีเยอรมนีได้ แต่ทว่าการได้รับชัยชนะมาต้องแลกกับการสูญเสียการเป็นอภิมหาอำนาจของโลกให้กับสหรัฐอเมริกาไป เหล่าประเทศอาณานิคมที่ยึดครองได้แก่ อินเดีย มาเลเซีย พม่า เป็นต้นต่างก็ได้เรียกร้องเอกราชจนจำใจต้องยอมเป็นเหตุทำให้จักรวรรดิอังกฤษล่มสลายและกลายเป็นเครือจักรภพแห่งชาติแทน ภายหลังพรรคอนุรักษนิยมพ่ายการเลือกตั้งในปี 1945 เขาก็ทำหน้าที่เป็นผู้นำฝ่ายค้านต่อรัฐบาลพรรคแรงงาน เขาได้ออกมาเตือนอย่างเปิดเผยถึงอิทธิพลของโซเวียตในยุโรปผ่านมาตรการ "ม่านเหล็ก" และยังส่งเสริมความเป็นหนึ่งเดียวของยุโรป ภายหลังชนะเลือกตั้งในปี 1951 วินสตันก็กลับมาเป็นนายกรัฐมนตรีอีกครั้ง ในช่วงการดำรงตำแหน่งครั้งที่สองนี้ รัฐบาลของเขาเต็มไปด้วยข้อราชการต่างประเทศ ทั้งวิกฤตการณ์มาลายา, กบฎมาอูมาอูในเคนยา, สงครามเกาหลี ตลอดจนสนับสนุนการรัฐประหารในอิหร่าน ในปี 1953 เขาเริ่มเจ็บป่วยจากภาวะขาดเลือดในสมอง และลาออกจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรีในปี 1955 แต่เขายังคงเป็นสมาชิกสภาสามัญชนไปจนถึงปี 1964 วินสตันถึงแก่อสัญกรรมด้วยวัย 90 ปีในปี 1965 โดยสมเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบธที่ 2 พระราชทานรัฐพิธีศพให้เป็นเกียรติ เขายังคงได้รับการกล่าวถึงว่าเป็นหนึ่งในกลุ่มคนที่ยิ่งใหญ่ที่สุดในประวัติศาสตร์ชาติอังกฤษ ชื่อของเขาอยู่ในลำดับที่ 1 ของทำเนียบชาวอังกฤษผู้ยิ่งใหญ่ที่สุดตลอดกาลจากการจัดอันดับในปี 2002.

การพิจารณาคดีเนือร์นแบร์คและวินสตัน เชอร์ชิล · วินสตัน เชอร์ชิลและอดอล์ฟ ฮิตเลอร์ · ดูเพิ่มเติม »

สหภาพโซเวียต

หภาพสาธารณรัฐสังคมนิยมโซเวียต (Сою́з Сове́тских Социалисти́ческих Респу́блик - CCCP; Union of Soviet Socialist Republics - USSR) หรือย่อเป็น สหภาพโซเวียต (Soviet Union) เป็นประเทศอภิมหาอำนาจในอดีตบนทวีปยูเรเชีย ระหว่างปี..

การพิจารณาคดีเนือร์นแบร์คและสหภาพโซเวียต · สหภาพโซเวียตและอดอล์ฟ ฮิตเลอร์ · ดูเพิ่มเติม »

สนธิสัญญาแวร์ซาย

''The Signing of the Peace Treaty of Versailles'' สนธิสัญญาแวร์ซาย (Treaty of Versailles) เป็นสนธิสัญญาสันติภาพที่จัดทำขึ้นเมื่อวันที่ 28 มิถุนายน ค.ศ. 1919 ณ พระราชวังแวร์ซาย ประเทศฝรั่งเศส ซึ่งเป็นการยุติสถานะสงครามระหว่างฝ่ายสัมพันธมิตรและจักรวรรดิเยอรมัน ซึ่งเป็นฝ่ายพ่ายแพ้ในสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง ส่วนกลุ่มประเทศฝ่ายมหาอำนาจกลางอื่น ๆ ได้มีการตกลงยกเลิกสถานภาพสงครามด้วยสนธิสัญญาฉบับอื่น แม้จะได้มีการลงนามสงบศึกตั้งแต่วันที่ 11 พฤศจิกายน..

การพิจารณาคดีเนือร์นแบร์คและสนธิสัญญาแวร์ซาย · สนธิสัญญาแวร์ซายและอดอล์ฟ ฮิตเลอร์ · ดูเพิ่มเติม »

อัลแบร์ท ชเปียร์

แบร์โทลด์ คอนราด แฮร์มันน์ อัลแบร์ท ชเปียร์ (Berthold Konrad Hermann Albert Speer;; 19 มีนาคม ค.ศ. 1905 – 1 กันยายน ค.ศ. 1981) เป็นสถาปนิกชาวเยอรมัน เป็นหัวหน้าสถาปนิกของอดอล์ฟ ฮิตเลอร์ก่อนได้รับตำแหน่งรัฐมนตรีกระทรวงสรรพาวุธของนาซีเยอรมนี ชเปียร์ยอมรับผิดในการพิจารณาคดีเนือร์นแบร์ก ทำให้ได้รับฉายา "นาซีผู้กล่าวคำขอโทษ" (the Nazi who said sorry) อย่างไรก็ตาม ชเปียร์ปฏิเสธไม่รู้เห็นเกี่ยวกับฮอโลคอสต์ ชเปียร์เกิดเมื่อปี..

การพิจารณาคดีเนือร์นแบร์คและอัลแบร์ท ชเปียร์ · อดอล์ฟ ฮิตเลอร์และอัลแบร์ท ชเปียร์ · ดูเพิ่มเติม »

อัลเฟรด โยเดิล

อัลเฟรด โยเซฟ เฟอร์ดินานด์ โยเดิล (Alfred Josef Ferdinand Jodl; 10 พฤษภาคม 1890 - 16 ตุลาคม 1946) เป็นนายพลเยอรมันซึ่งทำหน้าที่เป็นหัวหน้าของเจ้าหน้าที่ปฏิบัติการของกองบัญชาการสูงสุดแห่งเวร์มัคท์ และเป็นอาชญากรสงครามในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 เขาได้เซ็นสัญญาการยอมจำนนอย่างไม่มีเงื่อนไขต่อสัมพันธมิตรจากประธานาธิบดีคาร์ล เดอนิทซ์ ในปี 1945 หลังสงคราม โยเดิลมีความผิดในข้อหาสมรู้ร่วมคิดในการกระทำอาชญากรรมต่อสันติภาพ, การวางแผนการเริ่มต้นและขับเคี่ยวสงครามรุกราน, อาชญากรรมสงคราม และก่ออาชญากรรมต่อมนุษยชาติ ในการพิจารณาคดีนูเรมเบิร์ก คำสั่งหลักของเขาที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับลายเซ็นของเขาที่มีต่อคำสั่งคอมมานโดและผู้บังคับการตำรวจ พบว่ามีความผิดจริง จึงถูกตัดสินโทษให้ประหารชีวิตด้วยการแขวนคอ เมื่อวันที่ 16 ตุลาคม 1946 หมวดหมู่:บุคคลที่เกิดในปี พ.ศ. 2433 หมวดหมู่:บุคคลที่เสียชีวิตในปี พ.ศ. 2489 หมวดหมู่:ทหารชาวเยอรมัน หมวดหมู่:ทหารในสงครามโลกครั้งที่สอง หมวดหมู่:อาชญากรสงครามชาวเยอรมัน หมวดหมู่:ผู้ถูกประหารชีวิตโดยการแขวนคอ หมวดหมู่:บุคคลในปฏิบัติการโอเวอร์ลอร์ด.

การพิจารณาคดีเนือร์นแบร์คและอัลเฟรด โยเดิล · อดอล์ฟ ฮิตเลอร์และอัลเฟรด โยเดิล · ดูเพิ่มเติม »

อันชลุสส์

ตำรวจชายแดนเยอรมัน-ออสเตรียกำลังรื้อถอนที่กั้นชายแดนในเหตุการณ์อันชลุสส์ ปี 1938. อันชลุสส์ (Anschluss, Anschluß, ท. การผนวก หรือ การเชื่อมโยง) เป็นคำโฆษณาชวนเชื่อนาซีสำหรับการบุกครองและการรวมประเทศออสเตรียเข้ากับเยอรมนีในเดือนมีนาคม..

การพิจารณาคดีเนือร์นแบร์คและอันชลุสส์ · อดอล์ฟ ฮิตเลอร์และอันชลุสส์ · ดูเพิ่มเติม »

ฮันส์ ฟรังค์

ันส์ มิคาเอล ฟรังค์ (Hans Michael Frank) เป็นชาวเยอรมัน เกิดวันที่ 23 พฤษภาคม ปี..

การพิจารณาคดีเนือร์นแบร์คและฮันส์ ฟรังค์ · อดอล์ฟ ฮิตเลอร์และฮันส์ ฟรังค์ · ดูเพิ่มเติม »

คาร์ล เดอนิทซ์

ร์ล เดอนิทซ์ (Karl Dönitz; 16 กันยายน 1891 – 24 ธันวาคม 1980) เป็นจอมพลเรือชาวเยอรมันผู้มีบทบาทสำคัญในประวัติศาสตร์กองทัพเรือสมัยสงครามโลกครั้งที่สอง เดอนิทซ์สืบทอดตำแหน่งประมุขแห่งรัฐเยอรมนีต่อจากอดอล์ฟ ฮิตเลอร์ เขาเริ่มอาชีพในกองทัพเรือจักรวรรดิเยอรมันก่อนสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง ในปี 1918 ขณะที่เขาบังคับการเรือดำน้ำ UB-68 เรือถูกกองทัพบริติชจมและเดอนิทซ์ถูกจับเป็นเชลย ระหว่างอยู่ในค่ายเชลยศึก เขาสรุปสิ่งที่ต่อมาเขาเรียกว่ารูเดลทักทิค ("ยุทธวิธีฝูง" หรือเรียกทั่วไปว่า "ฝูงหมาป่า") เมื่อสงครามโลกครั้งที่สองอุบัติ เขาเป็นนายทหารเรือดำน้ำอาวุโสในครีกส์มารีเนอ ในเดือนมกราคม 1943 เขาได้ยศกรอสส์อัดมีรัล (จอมพลเรือ) และสืบตำแหน่งผู้บัญชาการทหารเรือจากจอมพลเรือ เอริช แรดเดอร์ วันที่ 30 เมษายน 1945 หลังอดอล์ฟ ฮิตเลอร์ถึงแก่อสัญกรรมและตามพินัยกรรมฉบับหลังสุดของฮิตเลอร์ เดอนิทซ์ถูกเสนอชื่อเป็นผู้สืบทอดประมุขแห่งรัฐจากฮิตเลอร์ ทั้งตำแหน่งประธานาธิบดีเยอรมนีและผู้บัญชาการทหารสูงสุด วันที่ 7 พฤษภาคม 1945 เขาสั่งให้อัลเฟรด โยเดิล หัวหน้าเสนาธิการของกองบัญชาการทหารสูงสุด ลงนามตราสารยอมจำนนในแรมส์ ประเทศฝรั่งเศส เดอนิทช์ยังเป็นหัวหน้ารัฐบาลเฟลนซ์บุร์กจนถูกฝ่ายสัมพันธมิตรยุบเมื่อวันที่ 23 พฤษภาคม ที่การพิจารณาคดีเนือร์นแบร์ก เขาถูกพิพากษาลงโทษฐานอาชญากรรมสงครามและตัดสินลงโทษจำคุกสิบปี หลังการปล่อยตัว เขาใช้ชีวิตเงียบ ๆ ในหมู่บ้านแห่งหนึ่งใกล้ฮัมบุร์กจนเสียชีวิตในปี 1980.

การพิจารณาคดีเนือร์นแบร์คและคาร์ล เดอนิทซ์ · คาร์ล เดอนิทซ์และอดอล์ฟ ฮิตเลอร์ · ดูเพิ่มเติม »

ค่ายกักกัน

กักกัน (Concentration Camp) คือสถานที่ที่รัฐใช้คุมขังนักโทษหรือกักกันบุคคลเฉพาะกลุ่มด้วยเหตุผลทางการเมือง นักโทษทางการเมือง ชนกลุ่มน้อย บุคคลที่เป็นปฏิปักษ์ต่อรัฐบาลหรือพลเมืองเชื้อชาติใดเชื้อชาติหนึ่ง นักโทษเหล่านี้จะถูกจับโดยไม่มีการสอบสวนตามกระบวนยุติธรรม และไม่มีกำหนดเวลาปล่อยตัว ทั้งยังถูกจำกัดสิทธิขั้นพื้นฐานของมนุษยชนด้วย ในแง่ประวัติศาสตร์ ค่ายกักกันที่เป็นที่รู้จักกันดีคือ ค่ายกักกันของพรรคนาซีในเยอรมันและค่ายกักกันแรงงานในสหภาพโซเวียต ค่ายกักกันมีขึ้นเป็นครั้งแรกเมื่อเกิดสงครามบัวร์ในแอฟริกาใต้ โดยทั่วไปค่ายกักกันจะประกอบด้วยโรงทหารกระท่อมหรือกระโจมที่พักและบริเวณรอบ ๆ ค่ายจะมีป้อมยามและลวดหนามล้อมรอบ ผู้คุมค่ายและยามรักษาการณ์มีอำนาจเหนือชีวิตนักโทษและจะปกครองอย่างเข้มงวด ค่ายกักกันที่สำคัญ ๆ ได้แก.

การพิจารณาคดีเนือร์นแบร์คและค่ายกักกัน · ค่ายกักกันและอดอล์ฟ ฮิตเลอร์ · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศเยอรมนี

ประเทศเยอรมนี (Germany; Deutschland ดอยฺชลันฺท) หรือชื่ออย่างเป็นทางการคือ สหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี (Federal Republic of Germany; Bundesrepublik Deutschland) เป็นสหพันธ์สาธารณรัฐแบบรัฐสภาในยุโรปกลาง มีรัฐองค์ประกอบ 16 รัฐ มีพื้นที่ 357,021 ตารางกิโลเมตร และมีภูมิอากาศตามฤดูกาลแบบอบอุ่นเป็นส่วนใหญ่ มีประชากรประมาณ 82 ล้านคน ซึ่งเป็นประเทศที่มีประชากรมากที่สุดในสหภาพยุโรป ประเทศเยอรมนีเป็นจุดหมายการเข้าเมืองยอดนิยมอันดับสองในโลกรองจากสหรัฐ เมืองหลวงและมหานครใหญ่สุดของประเทศคือ กรุงเบอร์ลิน ขณะที่เขตเมืองขยายใหญ่สุด คือ รูร์ โดยมีศูนย์กลางหลักดอร์ทมุนด์และเอสเซิน นครหลักอื่นของประเทศ ได้แก่ ฮัมบวร์ค มิวนิก โคโลญ แฟรงก์เฟิร์ต ชตุทท์การ์ท ดึสเซิลดอร์ฟ ไลพ์ซิจ เบรเมิน เดรสเดิน ฮันโนเฟอร์และเนือร์นแบร์ก ประเทศนี้มีระบอบการปกครองแบบประชาธิปไตยเชิงเสรีภาพและรัฐสวัสดิการ พรมแดนทางทิศเหนือติดทะเลเหนือ เดนมาร์ก และทะเลบอลติก ทิศตะวันออกติดโปแลนด์และเช็กเกีย ทิศใต้ติดออสเตรีย และสวิตเซอร์แลนด์ ทิศตะวันตกติดฝรั่งเศส ลักเซมเบิร์ก เบลเยียม และเนเธอร์แลนด์ มีเมืองหลวงและเมืองใหญ่ของประเทศคือเบอร์ลิน เยอรมนีมีประชากรประมาณ 80 ล้านคนและเป็นประเทศที่มีความหนาแน่นประชากรสูงสุดแห่งหนึ่ง อีกทั้งยังเป็นประเทศที่มีคนย้ายถิ่นมากที่สุดเป็นอันดับสามของโลก หลังจากที่สหรัฐอเมริกาเยอรมนีเป็นปลายทางการย้ายถิ่นที่สองได้รับความนิยมมากที่สุดในโลก เยอรมนีเป็นหนึ่งในสมาชิกผู้ก่อตั้งสหภาพยุโรปและยังก่อตั้งสหภาพการเงินกับสมาชิกในสหภาพยุโรปอีก 17 ประเทศ โดยใช้ชื่อว่ายูโรโซน เยอรมนีเป็นสมาชิกของกลุ่ม UNO, OECD, NATO, G7 และ G20 เยอรมนีเป็นประเทศที่มีอิทธิพลต่อประเทศอื่นๆในยุโรปและเป็นประเทศที่มีความสามารถที่จะแข่งขันในระดับโลก หากวัดจากผลผลิตมวลรวมภายในประเทศแบบปกติแล้ว เยอรมนีเป็นเศรษฐกิจที่ใหญ่ที่สุดในยุโรปและใหญ่เป็นอันดับสี่ของโลก ในปี 2012 เป็นประเทศที่มีการนำเข้าส่งออกมากที่สุดเป็นอันดับสาม ดัชนีการพัฒนามนุษย์ถือว่าสูงมาก.

การพิจารณาคดีเนือร์นแบร์คและประเทศเยอรมนี · ประเทศเยอรมนีและอดอล์ฟ ฮิตเลอร์ · ดูเพิ่มเติม »

นายกรัฐมนตรีเยอรมนี

นายกรัฐมนตรี (Bundeskanzler; Chancellor) เป็นตำแหน่งประมุขฝ่ายบริหารประเทศเยอรมนี เป็นชื่อเรียกตำแหน่งเก่าแก่ เกิดขึ้นในสมัยที่เยอรมนีเพิ่งรวมประเทศภายใต้รัฐธรรมนูญจักรวรรดิเยอรมัน (Constitution of the German Empire 1871 AD) ในสมัยบิสมาร์คในปี..

การพิจารณาคดีเนือร์นแบร์คและนายกรัฐมนตรีเยอรมนี · นายกรัฐมนตรีเยอรมนีและอดอล์ฟ ฮิตเลอร์ · ดูเพิ่มเติม »

นาซีเยอรมนี

นาซีเยอรมนี (Nazi Germany) หรือ ไรช์ที่สาม (Drittes Reich) หรือชื่ออย่างเป็นทางการคือ ไรช์เยอรมัน (Deutsches Reich) เป็นชื่อเรียกยุคหนึ่งในประวัติศาสตร์เยอรมนีระหว่างปี 1933 ถึง 1945 เมื่อประเทศเยอรมนีอยู่ภายใต้การควบคุมระบอบเผด็จการของอดอล์ฟ ฮิตเลอร์และพรรคนาซี ในการปกครองของฮิตเลอร์ ประเทศเยอรมนีกลายเป็นรัฐฟาสซิสต์ซึ่งควบคุมแทบทุกแง่มุมของชีวิต นาซีเยอรมนีล่มสลายหลังฝ่ายสัมพันธมิตรพิชิตเยอรมนีในเดือนพฤษภาคม 1945 ซึ่งยุติสงครามโลกครั้งที่สองในทวีปยุโรป ประธานาธิบดีแห่งสาธารณรัฐไวมาร์ เพาล์ ฟอน ฮินเดนบูร์กแต่งตั้งฮิตเลอร์เป็นนายกรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 30 มกราคม 1933 จากนั้น พรรคนาซีเริ่มกำจัดคู่แข่งทางการเมืองและรวบอำนาจ ฮินเดนบูร์กถึงแก่อสัญกรรมเมื่อวันที่ 2 สิงหาคม 1934 และฮิตเลอร์เป็นผู้เผด็จการแห่งเยอรมนีโดยการรวมอำนาจและตำแหน่งของนายกรัฐมนตรีกับประธานาธิบดี มีการจัดการลงประชามติทั่วประเทศเมื่อวันที่ 19 สิงหาคม 1934 ทำให้ฮิตเลอร์เป็นฟือเรอร์ (ผู้นำ) เยอรมนีเพียงผู้เดียว อำนาจเบ็ดเสร็จทั้งหมดรวมอยู่ในมือของฮิตเลอร์ และคำของเขาอยู่เหนือกฎหมายทั้งปวง รัฐบาลมิได้เป็นหน่วยที่ร่วมมือประสานกัน หากแต่เป็นหมู่กลุ่มแยกต่าง ๆ ที่แก่งแย่งอำนาจและความนิยมจากฮิตเลอร์ ท่ามกลางภาวะเศรษฐกิจตกต่ำครั้งใหญ่ นาซีฟื้นฟูเสถียรภาพทางเศรษฐกิจและยุติการว่างงานขนานใหญ่โดยใช้รายจ่ายทางทหารอย่างหนักและเศรษฐกิจแบบผสม มีการดำเนินการโยธาสาธารณะอย่างกว้างขวาง รวมการก่อสร้างเอาโทบาน การคืนเสถียรภาพทางเศรษฐกิจส่งเสริมความนิยมของรัฐบาลให้เพิ่มพูนขึ้น คตินิยมเชื้อชาติ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การต่อต้านยิว เป็นลักษณะหัวใจของนาซีเยอรมนี โดยถือว่า กลุ่มชนเจอร์มานิค หรือเชื้อชาตินอร์ดิก (Nordic race) เป็นเชื้อชาติอารยันซึ่งบริสุทธิ์ที่สุด ฉะนั้นจึงเป็นเชื้อชาติปกครอง (master race) ชาวยิวและชนกลุ่มอื่นที่ถือว่าไม่พึงปรารถนาถูกเบียดเบียนหรือฆ่า และการค้านการปกครองของฮิตเลอร์ถูกปราบปรามอย่างโหดเหี้ยม สมาชิกฝ่ายค้านเสรีนิยม สังคมนิยมและคอมมิวนิสต์ถูกฆ่า จำคุกหรือเนรเทศ โบสถ์คริสต์ก็ถูกกดขี่เช่นกัน โดยผู้นำหลายคนถูกจำคุก การศึกษามุ่งเน้นชีววิทยาเชื้อชาติ นโยบายประชากร และสมรรถภาพทางกายสำหรับราชการทหาร โอกาสในอาชีพและการศึกษาของสตรีถูกตัดทอน มีการจัดนันทนาการและการท่องเที่ยวผ่านโครงการความแข็งแรงผ่านความรื่นเริง (Strength Through Joy) มีการใช้โอลิมปิกฤดูร้อน 1936 เป็นตัวนำเสนอไรช์ที่สามในเวทีระหว่างประเทศ รัฐมนตรีโฆษณาการ โยเซฟ เกิบเบิลส์ ใช้ภาพยนตร์ การชุมนุมมวลชน และวาทศิลป์จับจิตของฮิตเลอร์เพื่อควบคุมมติมหาชนอย่างได้ผล รัฐบาลควบคุมการแสดงออกทางศิลปะ โดยสนับสนุนศิลปะบางรูปแบบ แต่ขัดขวางหรือห้ามศิลปะรูปแบบอื่น เริ่มตั้งแต่ปลายคริสต์ทศวรรษ 1930 นาซีเยอรมนีเรียกร้องดินแดนอย่างก้าวร้าวมากขึ้นเรื่อย ๆ และขู่ทำสงครามหากไม่สนองข้อเรียกร้อง เยอรมนียึดออสเตรียและเชโกสโลวาเกียในปี 1938 และ 1939 ฮิตเลอร์ทำสนธิสัญญาไม่รุกรานกับโจเซฟ สตาลิน และบุกครองโปแลนด์ในเดือนกันยายน 1939 เป็นการเปิดฉากสงครามโลกครั้งที่สองในทวีปยุโรป เยอรมนีเข้าเป็นพันธมิตรกับอิตาลีและฝ่ายอักษะที่เล็กกว่าและพิชิตทวีปยุโรปส่วนใหญ่เมื่อถึงปี 1940 และคุกคามสหราชอาณาจักร ไรช์ซคอมมิสซารีอัทควบคุมพื้นที่ที่ถูกพิชิตอย่างโหดร้ายและมีการสถาปนาการปกครองของเยอรมนีในประเทศโปแลนด์ที่เหลืออยู่ ชาวยิวและกลุ่มอื่นที่ถือว่าไม่พึงปรารถนาถูกจำคุกในค่ายกักกันและค่ายกำจัดนาซี การนำนโยบายเชื้อชาติของระบอบไปปฏิบัติลงเอยด้วยการสังหารชาวยิวและชนกลุ่มน้อยอื่นเป็นอันมากในฮอโลคอสต์ หลังการรุกรานสหภาพโซเวียตในปี 1941 นาซีเยอรมนีก็เริ่มเป็นรอง และปราชัยทางทหารสำคัญหลายครั้งในปี 1943 การทิ้งระเบิดทางอากาศต่อประเทศเยอรมนีทวีขึ้นในปี 1944 และฝ่ายอักษะถอยจากยุโรปตะวันออกและยุโรปใต้ หลังการบุกครองฝรั่งเศสของสัมพันธมิตร ประเทศเยอรมนีถูกโซเวียตจากทิศตะวันออกและฝ่ายสัมพันธมิตรจากทิศตะวันตกพิชิตและยอมจำนนในหนึ่งปี การที่ฮิตเลอร์ปฏิเสธยอมรับความปราชัยนำให้โครงสร้างพื้นฐานของเยอรมนีถูกทำลายล้างขนานใหญ่และการเสียชีวิตที่เกี่ยวข้องกับสงครามเพิ่มในเดือนท้าย ๆ ของสงคราม ฝ่ายสัมพันธมิตรผู้กำชัยริเริ่มนโยบายขจัดความเป็นนาซี (denazification) และนำผู้นำนาซีที่เหลือรอดหลายคนมาพิจารณาคดีอาชญากรรมสงครามในการพิจารณาคดีเนือร์นแบร์ก ส่วนประเทศเยอรมนีถูกยึดครองโดยมหาอำนาจฝ่ายสัมพันธมิตรคือ ฝรั่งเศส สหภาพโซเวียต สหรัฐอเมริกา และสหราชอาณาจักร.

การพิจารณาคดีเนือร์นแบร์คและนาซีเยอรมนี · นาซีเยอรมนีและอดอล์ฟ ฮิตเลอร์ · ดูเพิ่มเติม »

แฟรงกลิน ดี. โรสเวลต์

แฟรงกลิน เดลาโน โรสเวลต์ (อังกฤษ: Franklin Delano Roosevelt) เกิดวันที่ 30 มกราคม พ.ศ. 2425 (ค.ศ. 1882) เสียชีวิตวันที่ 12 เมษายน พ.ศ. 2488 (ค.ศ. 1945) เป็นประธานาธิบดีคนที่ 32 ของสหรัฐอเมริกา นอกจากนี้ยังเป็นประธานาธิบดีที่ดำรงตำแหน่งยาวนานที่สุด (พ.ศ. 2476-2488) และเป็นประธานาธิบดีเพียงคนเดียวของสหรัฐอเมริกาที่ได้รับเลือกถึงสี่สมัย ก่อนการประกาศญัตติข้อที่ 22 ในปี..

การพิจารณาคดีเนือร์นแบร์คและแฟรงกลิน ดี. โรสเวลต์ · อดอล์ฟ ฮิตเลอร์และแฟรงกลิน ดี. โรสเวลต์ · ดูเพิ่มเติม »

แฮร์มันน์ เกอริง

แฮร์มันน์ วิลเฮล์ม เกอริง (Hermann Wilhelm Göring) เป็นผู้นำทางทหารของไรช์ที่สามที่ตำแหน่งจอมพลไรช์ และยังเป็นผู้นำระดับสูงของพรรคกรรมกรชาติสังคมนิยมเยอรมัน (พรรคนาซี) เขามีบทบาทสำคัญในการขยายระบบเผด็จการของพรรคนาซีให้ครอบคลุมทั่วเยอรมนี รวมทั้งสร้างเสริมแสนยานุภาพทางทหารของเยอรมนีโดยเฉพาะกองทัพอากาศให้มีความแข็งแกร่ง ภายหลังนาซีล่มสลาย เขาถูกตัดสินประหารชีวิตในการพิจารณาคดีเนือร์นแบร์ก แต่เขาก็จบชีวิตตนเองด้วยการกลืนไซยาไนด์ก่อนหน้าการประหารชีวิตไม่กี่ชั่วโมง และก่อนกลืนไซยาไนด์เขาได้ตระโกนว่า "ไฮล์ ฮิตเลอร์".

การพิจารณาคดีเนือร์นแบร์คและแฮร์มันน์ เกอริง · อดอล์ฟ ฮิตเลอร์และแฮร์มันน์ เกอริง · ดูเพิ่มเติม »

โยอาคิม ฟอน ริบเบนทรอพ

อุบิตส์ ฟรีดรีช วิลเฮล์ม โยอาคิม ฟอน ริบเบนทรอพ (Ulrich Friedrich Wilhelm Joachim von Ribbentrop) (30 เมษายน 2436 - 16 ตุลาคม 2489) เป็นนักการเมืองชาวเยอรมัน เขาดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีกระทรวงต่างประเทศของนาซีเยอรมนี ซึ่งเขาได้เป็นตัวแทนในการลงนามสนธิสัญญาโมโลตอฟ-ริบเบนทรอพกับสหภาพโซเวียต เมื่อสิ้นสงครามเขาถูกตั้งข้อหาให้เป็นอาชญากรสงครามและได้รับโทษประหารชีวิตด้วยการแขวนคอในช่วงการพิจารณาคดีเนือร์นแบร์กในวันที่ 16 ตุลาคม..

การพิจารณาคดีเนือร์นแบร์คและโยอาคิม ฟอน ริบเบนทรอพ · อดอล์ฟ ฮิตเลอร์และโยอาคิม ฟอน ริบเบนทรอพ · ดูเพิ่มเติม »

โยเซฟ เกิบเบลส์

ล์ โยเซฟ เกิบเบลส์ (Paul Joseph Goebbels) หรือที่รู้จักกันดีในชื่อ โยเซฟ เกิบเบลส์ นักจิตวิทยามวลชน และแกนนำคนสำคัญฝ่ายพลเรือนของพรรคนาซี ผู้ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีแห่งจักรวรรดิที่สามหลังจากที่อดอล์ฟ ฮิตเลอร์ ฆ่าตัวตาย ได้ชื่อว่าเป็นเสมือนมือซ้ายของอดอล์ฟ ฮิตเลอร์ (ขณะที่มือขวาคือ ไฮน์ริช ฮิมม์เลอร์).

การพิจารณาคดีเนือร์นแบร์คและโยเซฟ เกิบเบลส์ · อดอล์ฟ ฮิตเลอร์และโยเซฟ เกิบเบลส์ · ดูเพิ่มเติม »

โจเซฟ สตาลิน

ซฟ สตาลิน (รัสเซีย: Иосиф Виссарионович Сталин Iosif Vissarionovich Stalin อิโอซิฟ วิซซาริโอโนวิช สตาลิน; อังกฤษ: Joseph Stalin) (1 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1878 - 5 มีนาคม ค.ศ. 1953) เป็นผู้นำของสหภาพโซเวียต ตั้งแต่กลางทศวรรษที่ 1920 ถึง..

การพิจารณาคดีเนือร์นแบร์คและโจเซฟ สตาลิน · อดอล์ฟ ฮิตเลอร์และโจเซฟ สตาลิน · ดูเพิ่มเติม »

เวียนนา

วียนนา (Vienna) หรือ วีน (Wien) เป็นเมืองหลวงของประเทศออสเตรีย และเป็นชื่อเขตการปกครองในออสเตรียด้วย เวียนนาเป็นเมืองใหญ่ที่สุดในออสเตรีย เป็นศูนย์กลางทั้งเศรษฐกิจและการปกครอง มีประชากรประมาณ 1.8 ล้านคน มีแม่น้ำดานูบไหลผ่าน เวียนนายังเป็นที่ตั้งของหน่วยงานในสหประชาชาติหลายแห่ง เช่น United Nations Industrial Development Organization (UNIDO) และองค์กรระดับนานาชาติหลายแห่ง เช่น โอเปก (OPEC).

การพิจารณาคดีเนือร์นแบร์คและเวียนนา · อดอล์ฟ ฮิตเลอร์และเวียนนา · ดูเพิ่มเติม »

รายการด้านบนตอบคำถามต่อไปนี้

การเปรียบเทียบระหว่าง การพิจารณาคดีเนือร์นแบร์คและอดอล์ฟ ฮิตเลอร์

การพิจารณาคดีเนือร์นแบร์ค มี 84 ความสัมพันธ์ขณะที่ อดอล์ฟ ฮิตเลอร์ มี 187 ขณะที่พวกเขามีเหมือนกัน 28, ดัชนี Jaccard คือ 10.33% = 28 / (84 + 187)

การอ้างอิง

บทความนี้แสดงความสัมพันธ์ระหว่าง การพิจารณาคดีเนือร์นแบร์คและอดอล์ฟ ฮิตเลอร์ หากต้องการเข้าถึงบทความแต่ละบทความที่ได้รับการรวบรวมข้อมูลโปรดไปที่:

Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »