โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ติดตั้ง
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

สีเผือก คนด่านเกวียนและอัศนี พลจันทร

ทางลัด: ความแตกต่างความคล้ายคลึงกันค่าสัมประสิทธิ์การเปรียบเทียบ Jaccardการอ้างอิง

ความแตกต่างระหว่าง สีเผือก คนด่านเกวียนและอัศนี พลจันทร

สีเผือก คนด่านเกวียน vs. อัศนี พลจันทร

ีเผือก คนด่านเกวียน นักร้องนำของวงคนด่านเกวียน วงดนตรีเพื่อชีวิตที่มีชื่อเสียงวงหนึ่งของไทย มีชื่อจริงว่า อิศรา อนันตทัศน์ (ชื่อเดิม: สำรอง อนันตทัศน์) เกิดเมื่อวันจันทร์ที่ 25 พฤศจิกายน พ.ศ. 2495 ที่อำเภอเมืองบึงกาฬ จังหวัดบึงกาฬ (ขณะนั้นยังเป็นส่วนหนึ่งของจังหวัดหนองคาย) ต่อมาเมื่อเข้าเรียนประถมศึกษาได้ย้ายมาอยู่ที่จังหวัดนครราชสีมา ต่อมาสามารถสอบเข้าเรียนวิชาช่างกลเกษตร ของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสานได้ แต่ทว่าเนื่องจากสถานการณ์การเมืองในเวลานั้นเป็นยุคของเผด็จการทหาร จึงได้มีโอกาสพบปะและร่วมกิจกรรมกับศิลปินหรือนักศึกษาศิลปะคนอื่น ๆ เช่น มงคล อุทก, พงษ์เทพ กระโดนชำนาญ, สุรชัย จันทิมาธร และได้เข้าร่วมในเหตุการณ์ 14 ตุลา ด้วย หลังเหตุการณ์ 6 ตุลา สีเผือกสอบบรรจุครูได้ ด้วยความที่พ่อเป็นครู จึงอยากให้ลูกชายเป็นครูตามด้วย แต่ติดที่พ่อเป็นข้าราชการ ขณะที่สีเผือกมีแนวความคิดต่อต้านระบบราชการอยู่ จึงเข้าทำงานเป็นครูอยู่ตามแถบชายป่า จากนั้นจึงเข้าร่วมกับพรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทย (พคท.) ในนาม "สหายครู" มีหน้าที่รับส่งเอกสาร, ส่งเสบียง, รับผิดชอบสมาชิกพรรคที่เข้าไปในเมือง พร้อมกับทำหน้าที่สอนหนังสือไปด้วย จนกระทั่งในปี พ.ศ. 2526 ได้ออกอัลบั้มชุดแรกในชื่อชุด "เด็กปั๊ม" กับวงคนด่านเกวียน ประสบความสำเร็จ จนถึงปัจจุบันนี้มีผลงานอัลบั้มออกมามากกว่า 20 อัลบั้ม มีเพลงที่ได้รับความนิยมและเป็นที่รู้จัก อาทิ เด็กปั๊ม, ชาวนาอาลัย, ตาผุยชุมแพ, กุหลาบปากซัน รวมถึง เดือนเพ็ญ ที่เป็นบทกวีของอัศนี พลจันทร์ มาร้องใหม่ด้ว.. อัศนี พลจันทร หรือในนามปากกาว่า นายผี และ สหายไฟ หรือ ลุงไฟ (15 กันยายน 2461 — 28 พฤศจิกายน 2530: อายุ 69 ปี) นักประพันธ์และนักปฏิวัติชาวไทย รู้จักกันในฐานะผู้แต่งเพลงเดือนเพ็ญ (คิดถึงบ้าน).

ความคล้ายคลึงกันระหว่าง สีเผือก คนด่านเกวียนและอัศนี พลจันทร

สีเผือก คนด่านเกวียนและอัศนี พลจันทร มี 5 สิ่งที่เหมือนกัน (ใน ยูเนี่ยนพีเดีย): พ.ศ. 2495พรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทยประเทศไทยเหตุการณ์ 14 ตุลาเดือนเพ็ญ (เพลง)

พ.ศ. 2495

ทธศักราช 2495 ตรงกับปีคริสต์ศักราช 1952.

พ.ศ. 2495และสีเผือก คนด่านเกวียน · พ.ศ. 2495และอัศนี พลจันทร · ดูเพิ่มเติม »

พรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทย

รรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทย (พคท.) (Communist Party of Thailand - CPT) เป็นพรรคคอมมิวนิสต์ในประเทศไทย ไม่เคยจดทะเบียนจัดตั้งตามกฎหมายอย่างเป็นทางการ ดำเนินแนวทางตาม ลัทธิมาร์กซ์ ลัทธิเลนิน และลัทธิเหมา นอกจากนั้น ในอดีตยังมีสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทย ซึ่งเป็นสมาชิกของ พคท.

พรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทยและสีเผือก คนด่านเกวียน · พรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทยและอัศนี พลจันทร · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศไทย

ประเทศไทย มีชื่ออย่างเป็นทางราชการว่า ราชอาณาจักรไทย เป็นรัฐชาติอันตั้งอยู่ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เดิมมีชื่อว่า "สยาม" รัฐบาลประกาศเปลี่ยนชื่อเป็นประเทศไทยอย่างเป็นทางการตั้งแต่ปี 2482 ประเทศไทยมีขนาดใหญ่เป็นอันดับที่ 50 ของโลก มีเนื้อที่ 513,115 ตารางกิโลเมตร และมีประชากรมากเป็นอันดับที่ 20 ของโลก คือ ประมาณ 66 ล้านคน กรุงเทพมหานครเป็นศูนย์กลางการบริหารราชการแผ่นดินและนครใหญ่สุดของประเทศ และการปกครองส่วนภูมิภาค จัดระเบียบเป็น 76 จังหวัด แม้จะมีการสถาปนาระบอบราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญและประชาธิปไตยระบบรัฐสภาในปี 2475 แต่กองทัพยังมีบทบาทในการเมืองไทยสูง ล่าสุด เกิดรัฐประหารเมื่อวันที่ 22 พฤษภาคม 2557 และมีการปกครองแบบเผด็จการทหารนับแต่นั้น พบหลักฐานการอยู่อาศัยอย่างต่อเนื่องในอาณาเขตประเทศไทยปัจจุบันตั้งแต่ 20,000 ปีก่อนคริสตกาล ชาวไทเริ่มอพยพเข้าสู่บริเวณนี้ในคริสต์ศตวรรษที่ 11 แล้วเข้ามาตั้งแว่นแคว้นต่าง ๆ ที่สำคัญได้แก่ อาณาจักรสุโขทัย อาณาจักรล้านนาและอาณาจักรอยุธยา นักประวัติศาสตร์มักถือว่าอาณาจักรสุโขทัยเป็นจุดเริ่มต้นของประวัติศาสตร์ไทย ต่อมาอาณาจักรอยุธยาค่อย ๆ เรืองอำนาจมากขึ้นจนเป็นมหาอำนาจในภูมิภาคในปลายคริสต์ศตวรรษที่ 14 การติดต่อกับชาติตะวันตกเริ่มด้วยผู้แทนทางทูตชาวโปรตุเกสในปี 2054 อาณาจักรรุ่งเรืองอย่างมากในรัชกาลสมเด็จพระนารายณ์มหาราช (ครองราชย์ปี 2199–2231) แต่หลังจากนั้นค่อย ๆ เสื่อมอำนาจโดยมีสาเหตุส่วนหนึ่งจากการผลัดแผ่นดินที่มีการนองเลือดหลายรัชกาล จนสุดท้ายกรุงศรีอยุธยาถูกทำลายสิ้นเชิงในปี 2310 สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีทรงรวบรวมแผ่นดินที่แตกออกเป็นก๊กต่าง ๆ และสถาปนาอาณาจักรธนบุรีที่มีอายุ 15 ปี ความวุ่นวายในช่วงปลายอาณาจักรนำไปสู่การสำเร็จโทษพระองค์โดยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ปฐมราชวงศ์จักรีแห่งกรุงรัตนโกสินทร์ ช่วงต้นกรุงรัตนโกสินทร์ ประเทศเผชิญภัยคุกคามจากชาติใกล้เคียง แต่หลังรัชกาลพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเป็นต้นมา ชาติตะวันตกเริ่มมีอิทธิพลในภูมิภาคเป็นอย่างมาก นำไปสู่การเข้าเป็นภาคีแห่งสนธิสัญญาไม่เป็นธรรมหลายฉบับ กระนั้น สยามไม่ตกเป็นอาณานิคมของตะวันตกชาติใด มีการปรับให้สยามทันสมัยและรวมอำนาจปกครองในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (ครองราชย์ปี 2411–53) สยามเข้าร่วมกับฝ่ายสัมพันธมิตรในสงครามโลกครั้งที่หนึ่งในปี 2460; ในปี 2475 เกิดการปฏิวัติเปลี่ยนแปลงการปกครองสู่ระบอบราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญโดยไม่เสียเลือดเนื้อ คณะราษฎรมีบทบาทนำทางการเมือง และในพุทธทศวรรษ 2480 นายกรัฐมนตรี จอมพล แปลก พิบูลสงคราม ดำเนินนโยบายชาตินิยมเข้มข้น ระหว่างสงครามโลกครั้งที่สอง ไทยเข้ากับฝ่ายอักษะ แต่ฝ่ายสัมพันธมิตรส่วนใหญ่ไม่ยอมรับการประกาศสงคราม ในช่วงสงครามเย็น ประเทศไทยเป็นพันธมิตรกับสหรัฐซึ่งสนับสนุนรัฐบาลทหารมาก รัฐประหารที่มีจอมพล สฤษดิ์ ธนะรัชต์เป็นหัวหน้าคณะในปี 2500 ทำให้คณะราษฎรหมดอำนาจ รัฐบาลฟื้นฟูพระราชอำนาจและมีมาตรการต่อต้านคอมมิวนิสต์ในภูมิภาค ผลของเหตุการณ์ 14 ตุลา 2516 ทำให้เกิดประชาธิปไตยระบบรัฐสภาช่วงสั้น ๆ ประเทศไทยมีนายกรัฐมนตรีจากการเลือกตั้งครั้งแรกในปี 2531 หลังพุทธทศวรรษ 2540 มีวิกฤตการเมืองระหว่างฝ่ายที่สนับสนุนและต่อต้านอดีตนายกรัฐมนตรีทักษิณ ชินวัตรมาจนปัจจุบัน รวมทั้งเกิดรัฐประหารสองครั้ง โดยครั้งล่าสุดเกิดในปี 2557 รัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบันเป็นฉบับที่ 20 ประกาศใช้เมื่อวันที่ 6 เมษายน 2560 หลังมีการลงประชามติรับร่างเมื่อหนึ่งปีก่อน ประเทศไทยเป็นสมาชิกสหประชาชาติ เอเปก อีกทั้งเป็นร่วมผู้ก่อตั้งอาเซียน ประเทศไทยเป็นพันธมิตรของสหรัฐตั้งแต่สนธิสัญญาซีโต้ในปี 2497 ถือเป็นประเทศอำนาจนำภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และประเทศอำนาจปานกลางในเวทีโลก ประเทศไทยเป็นประเทศที่มีรายได้ปานกลาง-สูงและประเทศอุตสาหกรรมใหม่ มีรายได้หลักจากภาคอุตสาหกรรมและบริการ การเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจทำให้มีการอพยพเข้าสู่เมืองในคริสต์ศตวรรษที่ 20 ตามประมาณการในปี 2560 จีดีพีของประเทศไทยมีมูลค่าราว 432,898 ล้านดอลลาร์สหรัฐ นับว่าเศรษฐกิจไทยเป็นเศรษฐกิจใหญ่สุดเป็นอันดับ 2 ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และใหญ่เป็นอันดับที่ 26 ของโลก.

ประเทศไทยและสีเผือก คนด่านเกวียน · ประเทศไทยและอัศนี พลจันทร · ดูเพิ่มเติม »

เหตุการณ์ 14 ตุลา

หตุการณ์ 14 ตุลา หรือ วันมหาวิปโยค เป็นเหตุการณ์การก่อการกำเริบโดยประชาชนครั้งสำคัญในประวัติศาสตร์การเมืองไทย เป็นเหตุการณ์ที่มีนักศึกษาและประชาชนมากกว่า 5 แสนคนชุมนุมเพื่อเรียกร้องรัฐธรรมนูญจากรัฐบาลเผด็จการจอมพลถนอม กิตติขจร นำไปสู่คำสั่งของรัฐบาลให้ใช้กำลังทหารเข้าปราบปราม ระหว่างวันที่ 14 ถึง 15 ตุลาคม พ.ศ. 2516 จนมีผู้เสียชีวิตกว่า 77 ราย บาดเจ็บ 857 ราย และสูญหายอีกจำนวนมาก เหตุการณ์ครั้งนี้ได้เกิดขึ้นด้วยสาเหตุที่สะสมก่อนหน้านี้หลายประการทั้ง ข่าวการทุจริตในรัฐบาล การพบซากสัตว์ป่าจากอุทยานในเฮลิคอปเตอร์ทหาร การถ่ายโอนอำนาจของจอมพลถนอม กิตติขจรต่อจากจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ ซึ่งเป็นช่วงเวลาที่รัฐบาลทหารเข้าปกครองประเทศนานเกือบ 15 ปี และรวมถึงการรัฐประหารตัวเอง พ.ศ. 2514 ซึ่งเป็นชนวนเหตุที่ทำให้ประชาชนเบื่อหน่ายการปกครองในระบอบเผด็จการทหารและต้องการเรียกร้องรัฐธรรมนูญที่เป็นประชาธิปไตยขึ้น การประท้วงเริ่มขึ้นอย่างเด่นชัดเมื่อมีการตีพิมพ์ "บันทึกลับจากทุ่งใหญ่" ออกเผยแพร่ทำให้เกิดความสนใจในหมู่ประชาชน สู่การเดินแจกใบปลิวเรียกร้องรัฐธรรมนูญของนิสิตนักศึกษาในสถานที่ต่างๆในกรุงเทพฯ จนถูกทหารควบคุมตัว ภายหลังเป็นที่รู้จักกันในฐานะ "13 ขบถรัฐธรรมนูญ" ทำให้เกิดความไม่พอใจครั้งใหญ่แก่มวลนักศึกษาและประชาชนเป็นอย่างมาก เกิดการประท้วงเริ่มต้นที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ สู่การเดินประท้วงในถนนราชดำเนิน โดยมีประชาชนทยอยเข้าร่วมจำนวนมาก ทำให้รัฐบาลได้ทำการสลายการชุมนุมจนมีผู้เสียชีวิตและบาดเจ็บเป็นจำนวนมาก จนเมื่อพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช และสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี ได้มีพระราชดำรัสทางโทรทัศน์รวมการเฉพาะกิจแห่งประเทศไทยต่อเหตุการณ์ครั้งนี้ ในเวลาต่อมาจอมพลถนอม กิตติขจรก็ได้ประกาศลาออกและได้เดินทางออกต่างประเทศรวมถึง.อ.ณรงค์ กิตติขจร และจอมพลประภาส จารุเสถียร กลุ่มบุคคลที่ประชาชนในสมัยนั้นเรียกว่า "3 ทรราช" เหตุการณ์ 14 ตุลา เป็นการลุกฮือของประชาชนครั้งแรกที่เรียกร้องประชาธิปไตยไทยสำเร็จและยังถือเป็นการรวมตัวของประชาชนมากที่สุดครั้งหนึ่งในประวัติศาสตร์ไทย จนกลายเป็นแรงบันดาลใจให้แก่ภาคประชาชนในประเทศอื่น ๆ ทำตามในเวลาต่อมา เช่น ที่ เกาหลีใต้ในเหตุการณ์จลาจลที่เมืองกวางจู เป็นต้นหนังสือ มาร์ค เขาชื่อ...

สีเผือก คนด่านเกวียนและเหตุการณ์ 14 ตุลา · อัศนี พลจันทรและเหตุการณ์ 14 ตุลา · ดูเพิ่มเติม »

เดือนเพ็ญ (เพลง)

ลงเดือนเพ็ญ หรือ เพลงคิดถึงบ้าน เขียนเนื้อร้องและทำนองโดย อัศนี พลจันทร (หรือที่รู้จักกันในนามปากกาว่า นายผี หรือ สหายไฟ) หากนับเพลงนี้เป็นเพลงเพื่อชีวิต ก็สมควรที่จะได้รับการยกย่องว่าเป็น สุดยอดเพลงเพื่อชีวิต ด้วยเป็นเพลงที่ถูกบันทึกเสียงและขับขานในวาระต่าง ๆ มากที่สุดเพลงหนึ่งในรอบทศวรรษที่ผ่านมา และน้อยคนเหลือเกินที่ได้ฟังเพลงนี้แล้วจะรู้สึกเฉย ๆ กับความหมายที่กินใจที่เพลงสื่อออกมา เพลงคิดถึงบ้านนี้ ทำให้ชื่อ นายผี อัศนี พลจันทร เป็นที่รู้จักและจดจำในวงกว้าง อัศนี พลจันทร แต่งเพลงนี้ขึ้น เพราะความรู้สึกคิดถึงบ้านของตัวเขาเอง ด้วยเหตุการณ์ทางสังคมในสมัยนั้น ทำให้เขาต้องจากบ้านเกิดเมืองนอนไปเป็นเวลานาน พงษ์เทพ กระโดนชำนาญ เป็นคนนำเพลง "คิดถึงบ้าน" นี้ออกมาจากราวป่า และบันทึกเสียงครั้งแรกในนามวงคาราวาน กับอัลบั้มชุด "บ้านนาสะเทือน" เมื่อปี 2526.

สีเผือก คนด่านเกวียนและเดือนเพ็ญ (เพลง) · อัศนี พลจันทรและเดือนเพ็ญ (เพลง) · ดูเพิ่มเติม »

รายการด้านบนตอบคำถามต่อไปนี้

การเปรียบเทียบระหว่าง สีเผือก คนด่านเกวียนและอัศนี พลจันทร

สีเผือก คนด่านเกวียน มี 29 ความสัมพันธ์ขณะที่ อัศนี พลจันทร มี 31 ขณะที่พวกเขามีเหมือนกัน 5, ดัชนี Jaccard คือ 8.33% = 5 / (29 + 31)

การอ้างอิง

บทความนี้แสดงความสัมพันธ์ระหว่าง สีเผือก คนด่านเกวียนและอัศนี พลจันทร หากต้องการเข้าถึงบทความแต่ละบทความที่ได้รับการรวบรวมข้อมูลโปรดไปที่:

Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »