โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ดาวน์โหลด
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

ชุมนุมเจ้าพระฝางและสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี

ทางลัด: ความแตกต่างความคล้ายคลึงกันค่าสัมประสิทธิ์การเปรียบเทียบ Jaccardการอ้างอิง

ความแตกต่างระหว่าง ชุมนุมเจ้าพระฝางและสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี

ชุมนุมเจ้าพระฝาง vs. สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี

รูปหล่อบุคคลในพิพิธภัณฑ์วัดพระฝาง ซึ่งชาวบ้านเชื่อว่าเป็นรูปหล่อของเจ้าพระฝาง (เรือน) อดีตผู้นำชุมนุมอิสระหลังเสียกรุงศรีอยุธยาครั้งที่สองธีระวัฒน์ แสนคำ. (2559). "'''ศึกเจ้าพระฝาง พ.ศ. 2313: สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช กับการปราบ "พวกสงฆ์อลัชชี" ที่เมืองสวางคบุรี'''," ใน ''ศิลปวัฒนธรรม''. ปีที่ 37 ฉบับที่ 5 มีนาคม ชุมนุมเจ้าพระฝาง เป็นชุมนุมอิสระภายหลังการเสียกรุงศรีอยุธยาครั้งที่สอง ในปี พ.ศ. 2310 โดยมีผู้นำชุมนุมเป็นพระสงฆ์ คือ พระพากุลเถระ (มหาเรือน) พระสังฆราชาแห่งเมืองสวางคบุรี (ฝาง) ชุมนุมดังกล่าวสิ้นสุดลงเมื่อสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีทรงยกทัพมาปราบปราม เมื่อ พ.ศ. 2313 โดยชุมนุมเจ้าพระฝาง เป็นชุมนุมอิสระสุดท้ายหลังเสียกรุงศรีอยุธยาครั้งที่ 2 โดยเฉพาะอย่างยิ่งการศึกปราบชุมนุมก๊กเจ้าพระฝางได้นั้น นับเป็นการพระราชสงครามสุดท้ายที่ ทำให้สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีทรงบรรลุพระราชภารกิจสำคัญ ในการรวบรวมพระราชอาณาเขตให้เป็นปึกแผ่นหนึ่งเดียวดังเดิมหลังภาวะจลาจลเสียกรุงศรีอยุธยาแก่พม่า ในปี พ.ศ. 2310 และนับเป็นการสถาปนากรุงธนบุรีได้อย่างเบ็ดเสร็จสมบูรณ์ เมื่อสำเร็จศึกปราบชุมนุมก๊กเจ้าพระฝาง ในปี พ.ศ. 2313. มเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี หรือ สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช (แต้จิ๋ว: Dênchao; 17 เมษายน พ.ศ. 2277 – 6 เมษายน พ.ศ. 2325) มีพระนามเดิมว่า สิน เป็นคนไทยเชื้อสายจีน เป็นพระมหากษัตริย์ผู้ก่อตั้งอาณาจักรธนบุรี และเป็นพระมหากษัตริย์พระองค์เดียวของราชอาณาจักรนั้น เดิมพระองค์เป็นนายทหารในรัชกาลสมเด็จพระที่นั่งสุริยาศน์อมรินทร์ ต่อม..

ความคล้ายคลึงกันระหว่าง ชุมนุมเจ้าพระฝางและสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี

ชุมนุมเจ้าพระฝางและสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี มี 12 สิ่งที่เหมือนกัน (ใน ยูเนี่ยนพีเดีย): ชุมนุมเจ้าพระฝางกองทัพเรือการเสียกรุงศรีอยุธยาครั้งที่สองรัฐตรังกานูวัดคุ้งตะเภาสภาพจลาจลหลังการเสียกรุงศรีอยุธยาครั้งที่สองสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศอาณาจักรธนบุรีจังหวัดพิษณุโลกเมืองสวางคบุรีเจ้าพระยาพิชัยราชา

ชุมนุมเจ้าพระฝาง

รูปหล่อบุคคลในพิพิธภัณฑ์วัดพระฝาง ซึ่งชาวบ้านเชื่อว่าเป็นรูปหล่อของเจ้าพระฝาง (เรือน) อดีตผู้นำชุมนุมอิสระหลังเสียกรุงศรีอยุธยาครั้งที่สองธีระวัฒน์ แสนคำ. (2559). "'''ศึกเจ้าพระฝาง พ.ศ. 2313: สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช กับการปราบ "พวกสงฆ์อลัชชี" ที่เมืองสวางคบุรี'''," ใน ''ศิลปวัฒนธรรม''. ปีที่ 37 ฉบับที่ 5 มีนาคม ชุมนุมเจ้าพระฝาง เป็นชุมนุมอิสระภายหลังการเสียกรุงศรีอยุธยาครั้งที่สอง ในปี พ.ศ. 2310 โดยมีผู้นำชุมนุมเป็นพระสงฆ์ คือ พระพากุลเถระ (มหาเรือน) พระสังฆราชาแห่งเมืองสวางคบุรี (ฝาง) ชุมนุมดังกล่าวสิ้นสุดลงเมื่อสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีทรงยกทัพมาปราบปราม เมื่อ พ.ศ. 2313 โดยชุมนุมเจ้าพระฝาง เป็นชุมนุมอิสระสุดท้ายหลังเสียกรุงศรีอยุธยาครั้งที่ 2 โดยเฉพาะอย่างยิ่งการศึกปราบชุมนุมก๊กเจ้าพระฝางได้นั้น นับเป็นการพระราชสงครามสุดท้ายที่ ทำให้สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีทรงบรรลุพระราชภารกิจสำคัญ ในการรวบรวมพระราชอาณาเขตให้เป็นปึกแผ่นหนึ่งเดียวดังเดิมหลังภาวะจลาจลเสียกรุงศรีอยุธยาแก่พม่า ในปี พ.ศ. 2310 และนับเป็นการสถาปนากรุงธนบุรีได้อย่างเบ็ดเสร็จสมบูรณ์ เมื่อสำเร็จศึกปราบชุมนุมก๊กเจ้าพระฝาง ในปี พ.ศ. 2313.

ชุมนุมเจ้าพระฝางและชุมนุมเจ้าพระฝาง · ชุมนุมเจ้าพระฝางและสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี · ดูเพิ่มเติม »

กองทัพเรือ

กองทัพเรือ หมายถึง กองกำลังทางทหารที่ปฏิบัติการทางน้ำ และมีหน้าที่ป้องกันประเทศทั้งในลำน้ำและในท้องทะเลหลวง กิจการของกองทัพเรือนั้นได้รวมเอาทั้งกิจการนาวิกโยธินซึ่งเป็นทหารเรือฝ่ายบก และกิจการการป้องกันชายฝั่งด้วย ในประเทศที่มีขนาดใหญ่มาก เช่น สหรัฐอเมริกา จะแยกกิจการเหล่านี้เป็นเหล่าทัพย่อยต่างหากเพื่อให้เกิดความสะดวกในการบริหารจัดการองค์กร.

กองทัพเรือและชุมนุมเจ้าพระฝาง · กองทัพเรือและสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี · ดูเพิ่มเติม »

การเสียกรุงศรีอยุธยาครั้งที่สอง

การเสียกรุงศรีอยุธยาครั้งที่สองหรือ สงครามคราวเสียกรุงศรีอยุธยาครั้งที่สอง เป็นความขัดแย้งทางทหารครั้งที่สองระหว่างราชวงศ์โกนบองแห่งพม่า กับราชวงศ์บ้านพลูหลวงแห่งอยุธยา ในการทัพครั้งนี้ กรุงศรีอยุธยาซึ่งเป็นราชธานีคนไทยเกือบสี่ศตวรรษได้เสียแก่พม่าและถึงกาลสิ้นสุดลงไปด้วย เหตุการณ์ได้เกิดขึ้นเมื่อวันอังคาร ขึ้น 9 ค่ำ เดือน 5 ปีกุน ตรงกับวันที่ 7 เมษายน..

การเสียกรุงศรีอยุธยาครั้งที่สองและชุมนุมเจ้าพระฝาง · การเสียกรุงศรีอยุธยาครั้งที่สองและสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี · ดูเพิ่มเติม »

รัฐตรังกานู

ตรังกานู (Terengganu เดิมสะกดว่า Trengganu หรือ Tringganu, อักษรยาวี: ترڠڬانو) เป็นรัฐสุลต่านและเป็นหนึ่งในสิบสามรัฐที่ประกอบขึ้นเป็นสหพันธ์มาเลเซีย มีชื่อเฉลิมเมืองเป็นภาษาอาหรับว่า ดารุลอีมาน ("ถิ่นที่อยู่แห่งความศรัทธา") รัฐตรังกานูตั้งอยู่ริมชายฝั่งตะวันออกเฉียงเหนือของมาเลเซียตะวันตก ทางทิศเหนือและทิศตะวันตกติดต่อกับรัฐกลันตัน ทางทิศใต้ติดต่อกับรัฐปะหัง และทางทิศตะวันออกจรดทะเลจีนใต้ หมู่เกาะเปอร์เฮินเตียน (Perhentian Islands) เป็นส่วนหนึ่งของรัฐนี้ด้วย ทำให้รัฐตรังกานูมีพื้นที่ทั้งหมดรวม 12,955 ตารางกิโลเมตร องค์ประกอบทางชาติพันธุ์ในปี พ.ศ. 2538 ได้แก่ ชาวมลายู (859,402 คน หรือร้อยละ 94) ชาวจีน (42,970 คน หรือร้อยละ 5) ชาวอินเดีย (4,355 คน) และอื่น ๆ (3,238 คน) เมืองชายฝั่งกัวลาเตอเริงกานู (Kuala Terengganu) ตั้งอยู่ที่ปากแม่น้ำตรังกานูเป็นทั้งเมืองหลวงของรัฐและเมืองของสุลต่าน และเป็นเมืองที่ใหญ่ที่สุดของรั.

ชุมนุมเจ้าพระฝางและรัฐตรังกานู · รัฐตรังกานูและสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี · ดูเพิ่มเติม »

วัดคุ้งตะเภา

วัดคุ้งตะเภา เป็นวัดโบราณในเขตการปกครองของคณะสงฆ์มหานิกาย และเป็น 1 ใน 9 วัดศักดิ์สิทธิ์สำคัญของจังหวัดอุตรดิตถ์ ตั้งอยู่ที่ หมู่บ้านคุ้งตะเภา ตำบลคุ้งตะเภา อำเภอเมืองอุตรดิตถ์ จังหวัดอุตรดิตถ์ ใกล้กับจุดตัดสี่แยกคุ้งตะเภา บนทางหลวงแผ่นดินหมายเลขที่ 11 (ถนนสายเอเชีย) วัดคุ้งตะเภา เป็นวัดโบราณมาตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานี และได้รับสถาปนาขึ้นใหม่ในสมัยสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช เมื่อปีขาล โทศก จุลศักราช 1132 อันเป็นปีที่พระองค์เสด็จขึ้นมาปราบปรามชุมนุมเจ้าพระฝางเมืองสวางคบุรี และประทับชำระคณะสงฆ์ จัดการหัวเมืองฝ่ายเหนือใหม่ตลอดฤดูน้ำ ดังปรากฏหลักฐานในพระราชพงศาวดารกรุงธนบุรี ฉบับพันจันทนุมาศ (เจิม) ซึ่งวัดคุ้งตะเภา เป็นเพียงวัดแห่งเดียวในปริมณฑลเมืองพิชัยและสวางคบุรี ที่ปรากฏหลักฐานการสถาปนาวัดในปีนั้น ตำนานวัดเล่าสืบกันมานับร้อยปีว่าสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ผู้คนย้ายกลับมาตั้งครัวเรือน สร้างวัดและศาลาการเปรียญขึ้นใหม่ ณ ริมคุ้งสำเภา พร้อมทั้งตรัสเรียกชื่อวัดที่ตั้งขึ้นใหม่นี้ว่า "วัดคุ้งตะเภา" ปัจจุบันทางราชการได้นำชื่อคุ้งตะเภาไปใช้ตั้งเป็นชื่อหมู่บ้านและชื่อตำบลคุ้งตะเภาสืบมาจนปัจจุบัน วัดแห่งนี้เป็นวัดที่เก่าแก่ที่สุดในเขตปกครองคณะสงฆ์ตำบลคุ้งตะเภา เคยเป็นวัดที่สถิตย์ของพระครูสวางคมุนี เจ้าคณะใหญ่เมืองฝางมาตั้งแต่โบราณ โดยเป็นวัดที่เป็นที่ประดิษฐานพระบรมสารีริกธาตุ และสองพระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์ที่เป็นที่เคารพศรัทธายิ่งของชาวตำบลคุ้งตะเภา ซึ่งพระพุทธรูปทั้งสององค์นั้นจัดได้ว่าเป็น 2 ใน 9 พระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์สำคัญคู่บ้านคู่เมืองอุตรดิตถ์ คือ พระพุทธสุวรรณเภตรา และ พระพุทธสุโขสัมฤทธิ์อุตรดิตถ์มุนี ปัจจุบันวัดคุ้งตะเภาเป็นวัดพัฒนาตัวอย่าง เป็นสำนักปฏิบัติธรรมประจำจังหวัดอุตรดิตถ์ แห่งที่ 3 (สำนักปฏิบัติธรรมภายใต้การกำกับของมหาเถรสมาคม)หนังสือสำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ ที่ พศ ๐๐๐๙/๐๕๓๖๕ เรื่อง แจ้งมติมหาเถรสมาคม ครั้งที่ ๑๒/๒๕๕๙ เรื่อง ขออนุมัติจัดตั้งสำนักปฏิบัติธรรมประจำจังหวัดอุตรดิตถ์ แห่งที่ ๓ วัดคุ้งตะเภา ลงวันที่ ๑๖ มิถุนายน ๒๕๕๙มติมหาเถรสมาคม ครั้งที่ ๑๒/๒๕๕๙ วันที่ ๓๐ พฤษภาคม ๒๕๕๙ สำนักเลขาธิการมหาเถรสมาคม มติที่ ๓๓๘/๒๕๕๙ เรื่อง ขออนุมัติจัดตั้งสำนักปฏิบัติธรรมประจำจังหวัดอุตรดิตถ์ แห่งที่ ๓ และเป็นวัดประจำตำบลที่มีสถิติพระภิกษุสามเณรจำพรรษามากที่สุดในตำบลคุ้งตะเภา เป็นศูนย์กลางทางด้านศาสนศึกษาของคณะสงฆ์และคฤหัสถ์ในเขตปกครองคณะสงฆ์ตำบลคุ้งตะเภาโดยพฤตินัย โดยเป็นที่ตั้งของสำนักงานใหญ่มูลนิธิ ๒๕๐ ปี วัดคุ้งตะเภา ศูนย์ศึกษาพระพุทธศาสนาวันอาทิตย์ สำนักเลขานุการรองเจ้าคณะอำเภอเมืองอุตรดิตถ์ฝ่ายการศึกษาคณะสงฆ์ สำนักศาสนศึกษาประจำตำบล และหน่วยอบรมประชาชนประจำตำบลคุ้งตะเภา (อปต.) ซึ่งเป็นหน่วยอบรมฯ ที่มีผลงานดีเด่นระดับจังหวัดอุตรดิตถ์ โดยมี พระสมุห์สมชาย จีรปุญฺโญ (แสงสิน) เป็นเจ้าอาวาสวัดคุ้งตะเภา (จร.).

ชุมนุมเจ้าพระฝางและวัดคุ้งตะเภา · วัดคุ้งตะเภาและสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี · ดูเพิ่มเติม »

สภาพจลาจลหลังการเสียกรุงศรีอยุธยาครั้งที่สอง

ลาจลหลังการเสียกรุงศรีอยุธยาครั้งที่สอง เป็นการอธิบายถึงความแตกแยกระหว่างกลุ่มการเมืองน้อยใหญ่ในอาณาจักรอยุธยาเดิม ภายหลังการเสียกรุงศรีอยุธยาครั้งที่สอง ในปี พ.ศ. 2310 โดยในทัศนะของนิธิ เอียวศรีวงศ์ สภาวะดังกล่าวแทบจะทำให้รัฐไทยล่มสลายลงไปตามเจตนาของพม่าในการรุกรานอาณาจักรอยุธยาเลยทีเดียว สภาวะดังกล่าวยังคงดำเนินอยู่ในรัชสมัยของสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี ก่อนที่บ้านเมืองอันเป็นปึกแผ่นอย่างแท้จริงจะถูกสถาปนาขึ้นอีกครั้งหลังจากการปราบดาภิเษกของพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก.

ชุมนุมเจ้าพระฝางและสภาพจลาจลหลังการเสียกรุงศรีอยุธยาครั้งที่สอง · สภาพจลาจลหลังการเสียกรุงศรีอยุธยาครั้งที่สองและสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี · ดูเพิ่มเติม »

สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี

มเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี หรือ สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช (แต้จิ๋ว: Dênchao; 17 เมษายน พ.ศ. 2277 – 6 เมษายน พ.ศ. 2325) มีพระนามเดิมว่า สิน เป็นคนไทยเชื้อสายจีน เป็นพระมหากษัตริย์ผู้ก่อตั้งอาณาจักรธนบุรี และเป็นพระมหากษัตริย์พระองค์เดียวของราชอาณาจักรนั้น เดิมพระองค์เป็นนายทหารในรัชกาลสมเด็จพระที่นั่งสุริยาศน์อมรินทร์ ต่อม..

ชุมนุมเจ้าพระฝางและสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี · สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีและสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี · ดูเพิ่มเติม »

สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ

มเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ หรือ พระมหาธรรมราชา เป็นพระมหากษัตริย์ไทยรัชกาลที่ 31 แห่งอาณาจักรอยุธยา และเป็นพระองค์ที่ 4 ในราชวงศ์บ้านพลูหลวง.

ชุมนุมเจ้าพระฝางและสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ · สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีและสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ · ดูเพิ่มเติม »

อาณาจักรธนบุรี

อาณาจักรธนบุรี เป็นอาณาจักรที่มีระยะเวลาสั้นที่สุดของไทย คือระหว่าง..

ชุมนุมเจ้าพระฝางและอาณาจักรธนบุรี · สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีและอาณาจักรธนบุรี · ดูเพิ่มเติม »

จังหวัดพิษณุโลก

ังหวัดพิษณุโลก เป็นจังหวัดหนึ่งในภาคกลางตอนบนของประเทศไทย มีประชากรในปี..

จังหวัดพิษณุโลกและชุมนุมเจ้าพระฝาง · จังหวัดพิษณุโลกและสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี · ดูเพิ่มเติม »

เมืองสวางคบุรี

วางคบุรี หรือ ฝาง เป็นเมืองโบราณที่มีหลักฐานการตั้งถิ่นฐานของผู้คนสืบต่อเนื่องยาวนานมากที่สุดแห่งหนึ่งในจังหวัดอุตรดิตถ์ เป็นเมืองที่มีประวัติศาสตร์ยาวนานมาตั้งแต่สมัยอาณาจักรสุโขทัย เคยเป็นเมืองที่อยู่เหนือสุดปลายพระราชอาณาเขตและเป็นศูนย์กลางทางศาสนาที่สำคัญของอาณาจักรอยุธยาโบราณ โดยอาณาเขตเมืองสวางคบุรีโบราณครอบคลุมพื้นที่ ตำบลผาจุก, ตำบลคุ้งตะเภา และตำบลแสนตอ ในปัจจุบัน เมืองสวางคบุรี ปรากฏหลักฐานการมีอยู่ในพงศาวดารเหนือ ระบุว่าเป็นที่ตั้งของพระมหาธาตุที่บรรจุพระบรมสารีริกธาตุส่วนพระรากขวัญของพระพุทธเจ้า และปรากฏชื่อเมืองในศิลาจารึกสุโขทัยหลายหลัก รวมถึงพระราชพงศาวดารตั้งแต่สมัยอยุธยาจนถึงรัตนโกสินทร์ และจากการเคยเป็นเมืองชายแดนพระราชอาณาเขต ทำให้เมืองนี้มีความสัมพันธ์เกี่ยวข้องกับผู้คนจากแคว้นล้านนาและล้านช้าง ผู้ที่อยู่อาศัยในเมืองส่วนใหญ่สืบทอดขนบวัฒนธรรมแบบคนหัวเมืองเหนือโบราณ (ภาษาถิ่นสุโขทัย) ซึ่งเป็นชนกลุ่มใหญ่ของเมืองนี้ หลังการสิ้นสุดลงของชุมนุมเจ้าพระฝาง ระหว่างปี พ.ศ. 2310-2313 ที่มีเมืองสวางคบุรีเป็นศูนย์กลาง และการขับไล่พม่ารวบรวมหัวเมืองล้านนาไว้ภายในพระราชอาณาเขตได้ในสมัยกรุงธนบุรี ประกอบกับตำแหน่งภูมิศาสตร์ทางการค้าลุ่มแม่น้ำน่านในยุคต่อมาเปลี่ยนแปลงไป ทำให้เมืองสวางคบุรีร่วงโรยลงในระยะต่อมา เมืองสวางคบุรีได้ลดฐานะความเป็นเมืองสำคัญทางศาสนาลงในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ เนื่องจากเมืองสวางคบุรีไม่ได้เป็นเมืองเหนือสุดปลายพระราชอาณาเขตอีกต่อไป อีกทั้งชาวเมืองสวางคบุรีส่วนใหญ่ได้โยกย้ายไปอยู่ในบริเวณที่กลายมาเป็นเมืองบางโพ (ท่าอิฐ, ท่าเสา) และได้รับยกฐานะขึ้นเป็นจังหวัดอุตรดิตถ์ในปัจจุบัน.

ชุมนุมเจ้าพระฝางและเมืองสวางคบุรี · สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีและเมืองสวางคบุรี · ดูเพิ่มเติม »

เจ้าพระยาพิชัยราชา

้าพระยาพิชัยราชา (?? - พ.ศ. 2317 หรือ 2318) หรืออีกชื่อหนึ่งคือ เจ้าพระยาสวรรคโลก เป็นทหารเอกคนสำคัญของพระเจ้ากรุงธนบุรี เดิมทีเป็น หลวงพิชัยราชา เป็นนายทหารจีน ติดตามพระยาตาก(สิน)ตีฝ่าวงล้อมจากค่ายวัดพิชัย ภายหลังได้รับยศเป็น พระยาพิชัยราชา ได้เป็นกองหน้าในการตีค่ายโพธิ์สามต้นเมื่อปี..2310 มีส่วนสำคัญในการปราบชุมนุมเจ้านครศรีธรรมราชในปี..2312 และ ชุมนุมเจ้าพระฝางในปี..2313 และหลังจากการปราบชุมนุมเจ้าพระฝางแล้ว ได้ขึ้นเป็น เจ้าพระยาพิชัยราชา สำเร็จราชการเมืองสวรรคโลก ท่านได้ทำการป้องกันเมืองสวรรคโลกจากพม่าได้สำเร็จในปี..2313 ภายหลังท่านถูกประหารเนื่องจากความไม่เป็นใจในราชการ.

ชุมนุมเจ้าพระฝางและเจ้าพระยาพิชัยราชา · สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีและเจ้าพระยาพิชัยราชา · ดูเพิ่มเติม »

รายการด้านบนตอบคำถามต่อไปนี้

การเปรียบเทียบระหว่าง ชุมนุมเจ้าพระฝางและสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี

ชุมนุมเจ้าพระฝาง มี 46 ความสัมพันธ์ขณะที่ สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี มี 110 ขณะที่พวกเขามีเหมือนกัน 12, ดัชนี Jaccard คือ 7.69% = 12 / (46 + 110)

การอ้างอิง

บทความนี้แสดงความสัมพันธ์ระหว่าง ชุมนุมเจ้าพระฝางและสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี หากต้องการเข้าถึงบทความแต่ละบทความที่ได้รับการรวบรวมข้อมูลโปรดไปที่:

Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »