โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ฟรี
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

ศิลานักปราชญ์และแฮร์รี่ พอตเตอร์กับศิลาอาถรรพ์

ทางลัด: ความแตกต่างความคล้ายคลึงกันค่าสัมประสิทธิ์การเปรียบเทียบ Jaccardการอ้างอิง

ความแตกต่างระหว่าง ศิลานักปราชญ์และแฮร์รี่ พอตเตอร์กับศิลาอาถรรพ์

ศิลานักปราชญ์ vs. แฮร์รี่ พอตเตอร์กับศิลาอาถรรพ์

วาด ''The Alchemist in Search of the Philosopher's Stone'' โดย โจเซฟ ไรต์ (ค.ศ. 1771) ศิลานักปราชญ์ (philosopher's stone, lapis philosophorum) เป็นสสารทางการเล่นแร่แปรธาตุอันเป็นตำนานซึ่งกล่าวกันว่าสามารถเปลี่ยนโลหะฐาน (เช่น ตะกั่ว) ให้เป็นทองคำหรือเงินได้ นอกจากนี้ บางครั้งยังเชื่อกันว่าเป็นน้ำอมฤตด้วย มีประโยชน์ทำให้กลับเป็นวัยหนุ่มสาว (rejuvenation) และอาจถึงบรรลุความเป็นอมตะ ศิลานักปราชญ์เป็นเป้าหมายการแสวงมากที่สุดในการเล่นแร่แปรธาตุตะวันตก ศิลานักปราชญ์เป็นสัญลักษณ์ใจกลางของการเล่นแร่แปรธาตุ โดยเป็นสัญลักษณ์แสดงความสมบูรณ์แบบที่ดีเลิศที่สุด การเห็นแจ้งและความสุขสำราญปานสวรรค์ ความพยายามแสวงศิลานักปราชญ์ เรียก "งานใหญ่" (The Great Work; Magnum opus) ในศาสนาพุทธและศาสนาฮินดู จินดามณีเป็นวัตถุที่เทียบเท่ากับศิลานักปราชญ. แฮร์รี่ พอตเตอร์กับศิลาอาถรรพ์ (Harry Potter and the Philosopher's Stone) เป็นนวนิยายเล่มแรกในชุดแฮร์รี่ พอตเตอร์ และนวนิยายประเดิมของเจ. เค. โรว์ลิง โครงเรื่องติดตามแฮร์รี่ พอตเตอร์ พ่อมดหนุ่มผู้ค้นพบมรดกเวทมนตร์ของเขา พร้อมกับสร้างเพื่อนสนิทและศัตรูจำนวนหนึ่งในปีแรกที่โรงเรียนคาถาพ่อมดแม่มดและเวทมนตร์ศาสตร์ฮอกวอตส์ ด้วยความช่วยเหลือของมิตร แฮร์รี่เผชิญกับความพยายามหวนคืนของพ่อมดมืด ลอร์ดโวลเดอมอร์ ซึ่งฆ่าบิดามารดาของแฮร์รี่ แต่ไม่สามารถฆ่าเขาได้เมื่ออายุหนึ่งขวบ บลูมส์บิวรีในกรุงลอนดอนจัดพิมพ์หนังสือดังกล่าวเมื่อวันที่ 26 มิถุนายน 2540 ในปี 2541 บริษัทสกอลาสติกจัดพิมพ์ฉบับสำหรับตลาดสหรัฐอเมริกาภายใต้ชื่อเรื่อง Harry Potter and the Sorcerer's Stone นวนิยายดังกล่าวชนะรางวัลหนังสืออังกฤษส่วนใหญ่ซึ่งตัดสินโดยเด็ก และรางวัลอื่นในสหรัฐอเมริกา หนังสือนี้แตะอันดับ 1 รายการบันเทิงคดีขายดีของนิวยอร์กไทมส์ ในเดือนสิงหาคม 2542 และอยู่ใกล้อันดับ 1 เป็นส่วนใหญ่ของปี 2542 และ 2543 มีการแปลเป็นภาษาอื่นอีกหลายภาษา และมีการสร้างเป็นภาพยนตร์ชื่อเดียวกัน บทปริทัศน์ส่วนใหญ่ชื่นชอบมาก โดยออกความเห็นต่อจินตนาการ ความขบขัน ความเรียบง่าย ลีลาตรงไปตรงมาและการสร้างโครงเรื่องที่ฉลาดของโรว์ลิง แม้บ้างติว่า บทท้าย ๆ ดูรวบรัด มีการเปรียบเทียบงานนี้กับงานของเจน ออสเตน ซึ่งเป็นผู้ประพันธ์คนโปรดคนหนึ่งของโรว์ลิง หรือโรอาลด์ ดาห์ล ซึ่งงานของเขาครอบงำเรื่องสำหรับเด็กก่อนมีแฮร์รี่ พอตเตอร์ และโฮเมอร์ นักเล่านิยายกรีกโบราณ แม้นักวิจารณ์บางส่วนคิดว่า หนังสือนี้ดูย้อนกลับไปเรื่องโรงเรียนกินนอนสมัยวิกตอเรียและเอ็ดเวิร์ด แต่นักวิจารณ์อื่น ๆ คิดว่า หนังสือนี้วางประเภทอยู่ในโลกสมัยใหม่อย่างแนบแน่นโดยมีลักษณะประเด็นจริยธรรมและสังคมร่วมสมัย แฮร์รี่ พอตเตอร์กับศิลาอาถรรพ์ ร่วมกับที่เหลือของชุดถูกกลุ่มศาสนาหลายกลุ่มโจมตีและห้ามในบางประเทศเพราะกล่าวหาว่านวนิยายนี้ส่งเสริมเวทมนตร์คาถา แต่นักวิจารณ์คริสตศาสนิกบางคนเขียนว่า หนังสือนี้ยกตัวอย่างมุมมองที่สำคัญของศาสนาคริสต์หลายอย่าง ซึ่งรวมอำนาจของการสละตนเองและวิธีซึ่งการตัดสินใจของบุคคลก่อเป็นบุคลิกภาพของเขา นักการศึกษาถือว่า แฮร์รี่ พอตเตอร์กับศิลาอาถรรพ์ และหนังสือตามมาเป็นตัวช่วยพัฒนาการรู้หนังสือที่สำคัญเพราะความนิยม นอกจากนี้ ยังใช้หนังสือชุดนี้เป็นแหล่งตัวอย่างในเทคนิคการศึกษา การวิเคราะห์สังคมวิทยาและการตล.

ความคล้ายคลึงกันระหว่าง ศิลานักปราชญ์และแฮร์รี่ พอตเตอร์กับศิลาอาถรรพ์

ศิลานักปราชญ์และแฮร์รี่ พอตเตอร์กับศิลาอาถรรพ์ มี 3 สิ่งที่เหมือนกัน (ใน ยูเนี่ยนพีเดีย): การเล่นแร่แปรธาตุนิโคลัส เฟลมเมลน้ำอมฤต

การเล่นแร่แปรธาตุ

การเล่นแร่แปรธาตุ การเล่นแร่แปรธาตุ หรือ รสายนเวท (alchemy) เป็นแบบแผนประเพณีทางปรัชญาทรงอิทธิพล ซึ่งผู้ปฏิบัติแต่โบราณอ้างว่าเป็นการตั้งต้นอำนาจที่ลึกซึ้ง วัตถุประสงค์ซึ่งนิยามการเล่นแร่แปรธาตุนั้นมีมากมาย แต่ในประวัติศาสตร์ มักรวมเอาเป้าหมายต่อไปนี้ คือ การสร้างศิลานักปราชญ์ ความสามารถเปลี่ยนโลหะฐานเป็นโลหะมีสกุล การพัฒนาน้ำอมฤต ซึ่งจะมอบความเยาว์และอายุยืนยาว การเล่นแร่แปรธาตุต่างจากวิทยาศาสตร์สมัยใหม่ตรงที่รวมเอาหลักและการปฏิบัติอันเกี่ยวข้องกับปรัมปราวิทยา เวทมนตร์ ศาสนาและเจตสภาพ (spirituality) ถือกันว่าเป็นศาสตร์ก่อนวิทยาศาสตร์ (protoscience) ซึ่งเอื้อต่อการ พัฒนาการของเคมีและแพทยศาสตร์สมัยใหม่ นักเล่นแร่แปรธาตุพัฒนาโครงสร้างเทคนิคห้องปฏิบัติการ ทฤษฎี ศัพทวิทยา และวิธีการทดลองพื้นฐาน ซึ่งบางอย่างยังใช้มาจนปัจจุบัน.

การเล่นแร่แปรธาตุและศิลานักปราชญ์ · การเล่นแร่แปรธาตุและแฮร์รี่ พอตเตอร์กับศิลาอาถรรพ์ · ดูเพิ่มเติม »

นิโคลัส เฟลมเมล

นิโคลัส เฟลมเมล นิโคลัส เฟลมเมล (Nicolas Flamel; 28 กันยายน ค.ศ. 1330 - ค.ศ. 1418) เป็นอาลักษณ์และผู้ขายเอกสารตัวเขียนชาวฝรั่งเศสที่ประสบความสำเร็จ มีชื่อเสียงหลังเสียชีวิตแล้วว่าเป็นนักเล่นแร่แปรธาตุ จากงานอันมีชื่อเสียงของเขาในศิลานักปราชญ.

นิโคลัส เฟลมเมลและศิลานักปราชญ์ · นิโคลัส เฟลมเมลและแฮร์รี่ พอตเตอร์กับศิลาอาถรรพ์ · ดูเพิ่มเติม »

น้ำอมฤต

น้ำอมฤต /อะมะริด, หรือ อะมะรึด/ หรือ น้ำทิพย์ (elixir of life, elixir of immorality หรือ Dancing Water, อาหรับ: الإكسير, อัลอีกซีร์; เปอร์เซีย: آب حیات, อาบเอฮะยาต) เป็นยาน้ำหรือเครื่องดื่มซึ่งเชื่อกันว่าจะยังให้ผู้ดื่มเป็นอมตะหรือคงความเยาว์วัยแห่งรูปร่างไว้ชั่วกัลป์ บ้างก็ว่าสามารถชุบชีวิตหรือสร้างชีวิตใหม่ได้ เรียกว่าเป็นยาแก้สรรพโรคประเภทหนึ่ง และเคยเป็นที่ต้องการและควานไขว่หาอย่างบ้าคลั่งของลัทธิรสายนเวทอยู่พักใหญ่ น้ำอมฤตปรากฏในวรรณกรรมหลายเรื่องของทุกชนชาต.

น้ำอมฤตและศิลานักปราชญ์ · น้ำอมฤตและแฮร์รี่ พอตเตอร์กับศิลาอาถรรพ์ · ดูเพิ่มเติม »

รายการด้านบนตอบคำถามต่อไปนี้

การเปรียบเทียบระหว่าง ศิลานักปราชญ์และแฮร์รี่ พอตเตอร์กับศิลาอาถรรพ์

ศิลานักปราชญ์ มี 14 ความสัมพันธ์ขณะที่ แฮร์รี่ พอตเตอร์กับศิลาอาถรรพ์ มี 74 ขณะที่พวกเขามีเหมือนกัน 3, ดัชนี Jaccard คือ 3.41% = 3 / (14 + 74)

การอ้างอิง

บทความนี้แสดงความสัมพันธ์ระหว่าง ศิลานักปราชญ์และแฮร์รี่ พอตเตอร์กับศิลาอาถรรพ์ หากต้องการเข้าถึงบทความแต่ละบทความที่ได้รับการรวบรวมข้อมูลโปรดไปที่:

Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »