โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ฟรี
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

วินสตัน เชอร์ชิลและวิลเลียม แกลดสตัน

ทางลัด: ความแตกต่างความคล้ายคลึงกันค่าสัมประสิทธิ์การเปรียบเทียบ Jaccardการอ้างอิง

ความแตกต่างระหว่าง วินสตัน เชอร์ชิลและวิลเลียม แกลดสตัน

วินสตัน เชอร์ชิล vs. วิลเลียม แกลดสตัน

ซอร์วินสตัน ลีโอนาร์ด สเปนเซอร์-เชอร์ชิล (Winston Leonard Spencer-Churchill) เป็นรัฐบุรุษชาวอังกฤษผู้ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีแห่งสหราชอาณาจักรสองสมัย ระหว่างปี 1940 ถึง 1945 และปี 1951 ถึง 1955 ได้รับการยอมรับอย่างกว้างขวางว่าเป็นผู้นำที่ยิ่งใหญ่ที่สุดในยุคสงครามของศตวรรษที่ 20 นอกจากนี้ วินสตันยังเป็นทหารในกองทัพอังกฤษ, นักประวัติศาสตร์, นักเขียน, ตลอดจนศิลปิน เขาได้รับรางวัลโนเบลสาขาอักษรศาสตร์ และยังเป็นบุคคลแรกที่ได้เป็น พลเมืองเกียรติยศแห่งสหรัฐอเมริกา ผู้คนมักนิยมเรียกเขาด้วยชื่อ "วินสตัน" แทนที่จะเรียกด้วยนามสกุล วินสตันเกิดในตระกูลชนชั้นสูงที่สืบเชื้อสายมาจากดยุกแห่งมาร์ลบะระ สาขาหนึ่งของตระกูลสเปนเซอร์ บิดาของเขาคือ ลอร์ดรันดอล์ฟ เชอร์ชิล นักการเมืองผู้ดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีคลัง ส่วนมารดาของเขาคือ เจนนี จีโรม นักสังคมสงเคราะห์ชาวอเมริกัน ในขณะที่ยังเป็นทหารหนุ่ม เขาได้ปฏิบัติภารกิจในบริติชอินเดีย และซูดาน และในสงครามโบเออร์ครั้งที่สอง เขามีชื่อเสียงขึ้นมาจากการเป็นนักข่าวสงครามและเขียนหนังสือเกี่ยวกับปฏิบัติการของเขา เขาเป็นผู้มีบทบาททางการเมืองแถวหน้ามาตลอดห้าสิบปี ได้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองและตำแหน่งในคณะรัฐมนตรีมากมาย ก่อนสงครามโลกครั้งที่หนึ่งเขาเป็นหัวหน้ากรรมการการค้า, รัฐมนตรีปิตุภูมิ, และรัฐมนตรียุติธรรม ระหว่างสงคราม เขายังคงดำรงตำแหน่งรัฐมนตรียุติธรรม จนกระทั่งความพ่ายแพ้ของอังกฤษในการทัพกัลลิโพลี ทำให้เขาต้องออกจากคณะรัฐบาลและไปประจำการราชการทหารอยู่ที่แนวหน้าภาคตะวันตกในตำแหน่งผู้บัญชาการกองพันลูกเสือที่ 6 จนกระทั่งเขาได้กลับคืนคณะรัฐบาลในตำแหน่งรัฐมนตรียุทธภัณฑ์ รัฐมนตรีว่าการสงคราม และ รัฐมนตรีน่านฟ้า และในปี 1921-1922 เป็นรัฐมนตรีว่าการอาณานิคม และต่อมาในปี 1924-1929 เป็นรัฐมนตรีคลังหลวง โดยเขาได้กำหนดให้สกุลเงินปอนด์กลับไปอิงค่าทองคำเหมือนกับยุคก่อนสงคราม ซึ่งทำให้เกิดภาวะเงินฝืดแพร่ไปทั้งเศรษฐกิจของสหราชอาณาจักร ภายหลังห่างหายจากงานการเมืองไปในทศวรรษที่ 1930 วินสตันก็ได้กลับมาทำงานการเมืองอีกครั้งเมื่อนาซีเยอรมนีเริ่มที่จะสั่งสมกำลังทหารและดูจะเป็นภัยคุกคามต่ออังกฤษ และแล้วการอุบัติขึ้นอย่างฉับพลันของสงครามโลกครั้งที่สอง ก็ทำให้เขาได้รับแต่งตั้งเป็นรัฐมนตรียุติธรรมอีกครั้ง และภายหลังการลาออกของนายกรัฐมนตรี เนวิล เชมเบอร์ลิน ในวันที่ 10 พฤษภาคม 1940 วินสตันก็กลายเป็นนายกรัฐมนตรี คำประกาศหนักแน่นของเขาที่จะไม่เป็นผู้ยอมแพ้ได้ช่วยกระตุ้นให้ชาวอังกฤษหันมาต่อต้านนาซีเยอรมนี โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงต้นสงครามซึ่งเป็นช่วงเวลาที่ยากเย็นเมื่อสหราชอาณาจักรและอาณานิคมอังกฤษเป็นเพียงฝ่ายเดียวที่ลุกขึ้นอยู่ฝ่ายตรงข้ามกับอดอล์ฟ ฮิตเลอร์ วินสตันได้กล่าวสุนทรพจน์ของเขาผ่านวิทยุกระจายเสียงปลุกขวัญกำลังใจชาวอังกฤษ เขาเป็นผู้นำของอังกฤษไปจนกระทั่งสามารถมีชัยเหนือนาซีเยอรมนีได้ แต่ทว่าการได้รับชัยชนะมาต้องแลกกับการสูญเสียการเป็นอภิมหาอำนาจของโลกให้กับสหรัฐอเมริกาไป เหล่าประเทศอาณานิคมที่ยึดครองได้แก่ อินเดีย มาเลเซีย พม่า เป็นต้นต่างก็ได้เรียกร้องเอกราชจนจำใจต้องยอมเป็นเหตุทำให้จักรวรรดิอังกฤษล่มสลายและกลายเป็นเครือจักรภพแห่งชาติแทน ภายหลังพรรคอนุรักษนิยมพ่ายการเลือกตั้งในปี 1945 เขาก็ทำหน้าที่เป็นผู้นำฝ่ายค้านต่อรัฐบาลพรรคแรงงาน เขาได้ออกมาเตือนอย่างเปิดเผยถึงอิทธิพลของโซเวียตในยุโรปผ่านมาตรการ "ม่านเหล็ก" และยังส่งเสริมความเป็นหนึ่งเดียวของยุโรป ภายหลังชนะเลือกตั้งในปี 1951 วินสตันก็กลับมาเป็นนายกรัฐมนตรีอีกครั้ง ในช่วงการดำรงตำแหน่งครั้งที่สองนี้ รัฐบาลของเขาเต็มไปด้วยข้อราชการต่างประเทศ ทั้งวิกฤตการณ์มาลายา, กบฎมาอูมาอูในเคนยา, สงครามเกาหลี ตลอดจนสนับสนุนการรัฐประหารในอิหร่าน ในปี 1953 เขาเริ่มเจ็บป่วยจากภาวะขาดเลือดในสมอง และลาออกจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรีในปี 1955 แต่เขายังคงเป็นสมาชิกสภาสามัญชนไปจนถึงปี 1964 วินสตันถึงแก่อสัญกรรมด้วยวัย 90 ปีในปี 1965 โดยสมเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบธที่ 2 พระราชทานรัฐพิธีศพให้เป็นเกียรติ เขายังคงได้รับการกล่าวถึงว่าเป็นหนึ่งในกลุ่มคนที่ยิ่งใหญ่ที่สุดในประวัติศาสตร์ชาติอังกฤษ ชื่อของเขาอยู่ในลำดับที่ 1 ของทำเนียบชาวอังกฤษผู้ยิ่งใหญ่ที่สุดตลอดกาลจากการจัดอันดับในปี 2002. วิลเลียม อีเวิร์ต แกลดสตัน (William Ewart Gladstone) เป็นรัฐบุรุษของพรรคลิเบอรัล และเป็นนายกรัฐมนตรีแห่งสหราชอาณาจักรสี่สมัยในรัชสมัยของสมเด็จพระราชินีนาถวิกตอเรียแห่งสหราชอาณาจักร สมัยแรกระหว่างวันที่ 3 ธันวาคม ค.ศ. 1868 ถึงวันที่ 17 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1874; สมัยที่สองระหว่างวันที่ 23 เมษายน ค.ศ. 1880 ถึงวันที่ 9 มิถุนายน ค.ศ. 1885; สมัยที่สามระหว่างวันที่ 1 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1886 ถึงวันที่ 20 กรกฎาคม ค.ศ. 1886 และสมัยสุดท้ายระหว่างวันที่ 15 สิงหาคม ค.ศ. 1892 ถึงวันที่ 2 พฤษภาคม ค.ศ. 1894 นอกจากนั้นก็ยังเป็นสมุหพระคลังอยู่ระยะหนึ่งและเป็นผู้สนับสนุนร่างพระราชบัญญัติการก่อตั้งรัฐบาลปกครองตนเอง (Home Rule Bill) ซึ่งเป็นร่างพระราชบัญญัติที่ร้องขอการก่อตั้งรัฐบาลในการปกครองตนเองในไอร์แลนด์ภายในสหราชอาณาจักร แกลดสตันมีชื่อเสียงว่าเป็นคู่อริคนสำคัญของเบนจามิน ดิสราเอลีผู้นำของพรรคคอนเซอร์เวทีฟ ความเป็นอริมิได้จำกัดแต่เพียงทางการเมืองแต่ในทางส่วนตัวด้วย เมื่อดิสราเอลีถึงแก่อสัญกรรมแกลดสตันเสนอให้มีงานศพอย่างเป็นทางการ แต่พินัยกรรมของดิสราเอลีระบุให้ฝังร่างไว้ข้างเคียงกับภรรยาที่แกลดสตันโต้ว่า "As Disraeli lived, so he died — all display, without reality or genuineness." สมเด็จพระราชินีนาถวิกตอเรียก็ไม่โปรดแกลดสตันตลอดเวลาที่เป็นนายกรัฐมนตรี และทรงเปรยครั้งหนึ่งว่าแกลดสตันพูดกับพระองค์ราวกับกล่าวปราศัยในการประชุมสาธารณชน แต่แกลดสตันเป็นที่รู้จักกันในบรรดาผู้สนับสนุนว่า “แกลดสตันขวัญใจประชาชน” หรือ “G.O.M.” (Grand Old Man) หรือโดยดิสราเอลี “God's Only Mistake” (ความผิดอย่างเดียวของพระเจ้า) แต่วินสตัน เชอร์ชิลล์ถือว่าแกลดสตันเป็นแรงบันดาลใ.

ความคล้ายคลึงกันระหว่าง วินสตัน เชอร์ชิลและวิลเลียม แกลดสตัน

วินสตัน เชอร์ชิลและวิลเลียม แกลดสตัน มี 2 สิ่งที่เหมือนกัน (ใน ยูเนี่ยนพีเดีย): นายกรัฐมนตรีสหราชอาณาจักรเดอะไรต์ออนะระเบิล

นายกรัฐมนตรีสหราชอาณาจักร

นายกรัฐมนตรีแห่งสหราชอาณาจักรบริเตนใหญ่และไอร์แลนด์เหนือ (Prime Minister of the United Kingdom of Great Britain and Northern Ireland) เป็นตำแหน่งหัวหน้ารัฐบาลในสมเด็จพระเจ้าแผ่นดินแห่งสหราชอาณาจักร การกำหนดนโยบายและการบริหารราชการแผ่นดินต่างๆถือเป็นความรับผิดชอบของนายกรัฐมนตรีและคณะรัฐมนตรีต่อพระมหากษัตริย์, รัฐสภา, พรรคการเมือง และโดยเฉพาะอย่างยิ่งต่อผู้มีสิทธิเลือกตั้ง ตำแหน่งนายกรัฐมนตรีถือเป็นหนึ่งในสี่อำมาตย์นายก ซึ่งหมายถึงผู้บริหารสูงสุดทั้งสี่ของรัฐบาล นายกรัฐมนตรีคนปัจจุบันเป็น คนที่ 54 คือ เทเรซา เมย์ หัวหน้าพรรคอนุรักษนิยม ซึ่งได้รับพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯเมื่อวันที่ 13 กรกฎาคม..

นายกรัฐมนตรีสหราชอาณาจักรและวินสตัน เชอร์ชิล · นายกรัฐมนตรีสหราชอาณาจักรและวิลเลียม แกลดสตัน · ดูเพิ่มเติม »

เดอะไรต์ออนะระเบิล

เดอะไรต์ออนะระเบิล (The Right Honourable; ย่อว่า "The Rt Hon." หรือ "Rt Hon.") แปลว่า ผู้ทรงเกียรติอย่างยิ่ง เป็นคำเรียกขานตามประเพณีสำหรับบุคคลหรือกลุ่มบุคคลบางจำพวกในสหราชอาณาจักร แคนาดา ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ และราชอาณาจักรบางแห่งในเครือจักรภพ ตลอดจนประเทศแถบแคริบเบียนที่ใช้ภาษาอังกฤษ มอริเชียส และประเทศอื่นในบางโอกาส คำเรียกขานนี้สำหรับผู้ยังมีชีวิตอยู่เท่านั้น ไม่ใช้แก่ผู้วายชนม์ หมวดหมู่:คำเรียกขาน.

วินสตัน เชอร์ชิลและเดอะไรต์ออนะระเบิล · วิลเลียม แกลดสตันและเดอะไรต์ออนะระเบิล · ดูเพิ่มเติม »

รายการด้านบนตอบคำถามต่อไปนี้

การเปรียบเทียบระหว่าง วินสตัน เชอร์ชิลและวิลเลียม แกลดสตัน

วินสตัน เชอร์ชิล มี 58 ความสัมพันธ์ขณะที่ วิลเลียม แกลดสตัน มี 28 ขณะที่พวกเขามีเหมือนกัน 2, ดัชนี Jaccard คือ 2.33% = 2 / (58 + 28)

การอ้างอิง

บทความนี้แสดงความสัมพันธ์ระหว่าง วินสตัน เชอร์ชิลและวิลเลียม แกลดสตัน หากต้องการเข้าถึงบทความแต่ละบทความที่ได้รับการรวบรวมข้อมูลโปรดไปที่:

Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »