โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ฟรี
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

ลูซิเฟอร์และหนังสืออิสยาห์

ทางลัด: ความแตกต่างความคล้ายคลึงกันค่าสัมประสิทธิ์การเปรียบเทียบ Jaccardการอ้างอิง

ความแตกต่างระหว่าง ลูซิเฟอร์และหนังสืออิสยาห์

ลูซิเฟอร์ vs. หนังสืออิสยาห์

หนังสือเอเสเคียล คำว่า "ลูซิเฟอร์" หมายถึงทูตสวรรค์ที่ถูกพระเจ้าขับไล่ ลูซิเฟอร์ (Lucifer) เป็นคำ ๆ หนึ่งจากการถอดเสียงคำภาษาฮีบรู הֵילֵל ในหนังสืออิสยาห์ บทที่ 14 ข้อที่ 12 คำนี้สามารถถอดเสียงออกมาได้ว่า เฮเลล คำนี้ปรากฏเพียงครั้งเดียวในคัมภีร์ฮีบรู ซึ่งมีความหมายว่า "ผู้ส่องแสง": "shining one, morning star, Lucifer; of the king of Babylon and Satan (fig.)" ส่วนคำว่าลูซิเฟอร์นั้นมาจากคัมภีร์ไบเบิลฉบับวัลเกต ซึ่งถอดเสียง הֵילֵל ว่า ลูซีแฟร์ หมายถึง "ดาวประกายพรึก" หรือ "ผู้ส่องแสง" คริสตชนโบราณยุคหลัง มักจะใช้คำในภาษาละตินว่า ลูซิเฟอร์ ในฐานะปีศาจก่อนตกจากสวรรค์ เพื่อแทนตัวตนของปีศาจ/ซาตาน ทำให้ลูซิเฟอร์ในภาพลักษณ์ปีศาจถูกนำไปใช้อย่างแพร่หลายในวิหารและวรรณกรรมนิยมต่าง ๆ อย่างมากมาย ซึ่งแต่ก่อนคำว่าลูซิเฟอร์ในภาษาละตินนี้ไม่เคยถูกนำมาใช้อย่างเจาะจงในทางชั่วร้ายแบบนี้มาก่อน และความคิดนี้ก็แพร่หลายไปในคนทั่วไป โดยเฉพาะชาวคริสต์ ตัวตนของลูซิเฟอร์ในฐานะทูตสวรรค์นั้นเป็นสิ่งที่ถูกตีความขึ้นมา หากจะอ้างจากพระคัมภีร์แล้วตัวตนของทูตสวรรค์ลูซิเฟอร์ยังไม่เป็นที่แน่ชัดว่ามีอยู่จริงหรือไม่ ลูซิเฟอร์ที่เรารู้จักกันในฐานะปีศาจเป็นการตีความคำว่า הֵילֵל ของคริสตชน ซึ่งถูกนำไปเขียนในบทประพันธ์มากมายในฐานะปี. หนังสืออิสยาห์ (Book of Isaiah, ספר ישעיה) เป็นหนังสือลำดับที่ 5 ในหมวดผู้เผยพระวจนะ (Nevi'im) ของคัมภีร์ทานัค (Tanakh) และเป็นหนังสือเล่มที่ 1 ในหมวดประกาศกใหญ่ของคัมภีร์ไบเบิลภาคพันธสัญญาเดิม หนังสืออิสยาห์เขียนด้วยภาษาฮีบรู เชื่อมาแต่โบราณตามคำกล่าวอ้างในหนังสือคัมภีร์ว่าเขียนโดย อิสยาห์ ผู้เผยพระวจนะชาวยูดาห์ เมื่อ 800 ปีก่อนคริสตกาล บทที่ 1 - 39 (39 บท) ทำนายเคราะห์กรรมและการลงโทษ แก่ชาวยูเดียและประชาชาติทั้งหมดของโลกที่มีใจบาปต่อต้านพระเจ้า บทที่ 40 - 66 (27 บท) เรียกกันว่า "คัมภีร์แห่งการปลอบประโลม" ทำนายการฟื้นฟูประชาชาติอิสราเอลโดยพระเจ้า (ชาวคริสต์เชื่อว่าบางบทมีนัยความหมายถึง การเสด็จมาไถ่บาปของพระเยซูคริสต์) ส่วนนี้ยังรวมถึง "บทเพลงของผู้รับใช้ที่ได้รับความทุกข์ทน".

ความคล้ายคลึงกันระหว่าง ลูซิเฟอร์และหนังสืออิสยาห์

ลูซิเฟอร์และหนังสืออิสยาห์ มี 3 สิ่งที่เหมือนกัน (ใน ยูเนี่ยนพีเดีย): ภาษาฮีบรูคัมภีร์ฮีบรูคัมภีร์ไบเบิล

ภาษาฮีบรู

ษาฮีบรู (Modern Hebrew, อิฟริท) เป็นภาษาเซมิติก (Semitic) ซึ่งจัดอยู่ในตระกูลภาษาแอโฟรเอชีแอติก (Afro–Asiatic) เป็นภาษาที่เก่าแก่ โดยมีอายุมาอย่างน้อยตั้งแต่ 3,500 ปีที่แล้ว ในอดีต เคยเป็นภาษาตาย เหมือนดั่งภาษาบาลี สันสกฤต และละติน โดยใช้เป็นภาษาที่ใช้เพียงแต่ในวงจำกัด หนังสือต่างทางศาสนา และสถานที่ทางศาสนาเท่านั้น แต่ปัจจุบัน มีการกลับมาใช้เป็นภาษาพูดใหม่ และเป็นภาษาที่ชาวอิสราเอลใช้สื่อสารกันในชีวิตประจำวัน โดยภายในในอิสราเอล มีผู้พูดมากกว่า 4,380,000 คน ซึ่งเป็นภาษาราชการคู่กับภาษาอาหรับ นอกอิสราเอล ภาษาฮีบรูยังมีผู้พูดอีกจำนวนหนึ่ง ซึ่งโดยมากเป็นชุมชนชาวยิว ทะนัค (Tanakh) หรือพระคัมภีร์เก่า (The Old Testament) ของศาสนายิว เขียนไว้ด้วยภาษาฮีบรู ซึ่งถือว่าเป็นภาษาศักดิ์สิทธิ์ (לשון הקודש Leshon ha-Kodesh: เลโชน ฮา-โกเดช) ของชาวยิวตั้งแต่สมัยโบราณ นักภาษาศาสตร์ส่วนใหญ่ระบุว่าหลัง 57 ปีก่อนพุทธศักราช ซึ่งเป็นยุคที่จักรวรรดิบาบิโลเนียใหม่ทำลายกรุงเยรูซาเลมและอพยพชาวยิวไปยังบาบิโลนและพระเจ้าไซรัสมหาราชแห่งเปอร์เซียปลดปล่อยชาวยิวให้เป็นไท ภาษาฮีบรูในแบบที่เขียนในพระคัมภีร์เก่า ถูกแทนที่ด้วยภาษาฮีบรูใหม่และภาษาแอราเมอิกที่ใช้ในท้องถิ่นนั้น หลังจากพุทธศตวรรษที่ 7 จักรวรรดิโรมันเข้ายึดครองกรุงเยรูซาเล็ม และอพยพชาวยิวออกไป ภาษาฮีบรูเริ่มใช้เป็นภาษาพูดน้อยลงแต่ยังคงเป็นภาษาทางศาสนาและภาษาในการเขียน หลังจากเยรูซาเล็มถูกชาวบาบิโลนทำลายครั้งแรก 586 ปีก่อนคริสตกาล ภาษาอย่างในพระคัมภีร์เก่าเริ่มถูกแทนที่ด้วยคำในลักษณะใหม่ หลังจากจำนวนประชากรของชาวยิวในบางส่วนของจูเดีย (Judea) ลดลง ภาษาฮีบรูเลิกใช้เป็นภาษาพูดราวคริสต์ศตวรรษที่ 2 แต่ยังคงเป็นภาษาเขียนที่สำคัญต่อเนื่องมาตลอดหลายศตวรรษ นอกจากจะใช้ในศาสนาแล้ว งานเขียนสำหรับวัตถุประสงค์อื่น ๆ เช่น เขียนตำรา จดหมาย ปรัชญา การแพทย์ บทกวี บันทึกศาล ล้วนใช้ภาษาฮีบรู ซึ่งได้เข้ากับวงความรู้และคำเฉพาะใหม่ ๆ โดยคำยืมและคำประดิษฐ์ใหม่ ภาษาฮีบรูยังคงถูกรักษาไว้ในฐานะภาษาเขียนโดยชุมชนชาวยิวทั่วโลก จนกระทั่งมีการตั้งลัทธิไซออนนิสต์เพื่อฟื้นฟูชาติยิว สมาชิกไซออนนิสต์ส่งเสริมให้มีการแทนที่ภาษาพูดของชาวยิวในขณะนั้น เช่นภาษาอาหรับ ภาษาจูเดสโม (Judezmo, ภาษาลาดิโน Ladino ก็เรียก) ภาษายิดดิช ภาษารัสเซีย และภาษาอื่น ๆ ของชาวยิวที่อาศัยอยู่ต่างประเทศ เป็นภาษาของศาสนายิวส่วนใหญ่ที่อาศัยอยู่ในประเทศอิสราเอล ภาษาฮีบรู มีการสร้างคำใหม่โดยยืมจากภาษาฮีบรูในไบเบิลหรือจากภาษาอาหรับและภาษาอราเมอิก รวมทั้งภาษาในยุโรป เช่น ภาษาฝรั่งเศส ภาษารัสเซีย และภาษาเยอรมัน ภาษาฮีบรูกลายเป็นภาษาราชการของปาเลสไตน์ภายใต้การปกครองของอังกฤษตั้งแต..

ภาษาฮีบรูและลูซิเฟอร์ · ภาษาฮีบรูและหนังสืออิสยาห์ · ดูเพิ่มเติม »

คัมภีร์ฮีบรู

ต้นฉบับ “คัมภีร์ฮีบรู” พร้อมกับคำแปลภาษาแอราเมอิก คัมภีร์ฮีบรู (Hebrew Bible; Biblia Hebraica) หมายถึง คัมภีร์ทานัค (Tanakh; תנ"ך) ซึ่งเป็นชุดคัมภีร์ในศาสนายูดาห์ และเป็นที่มาของคัมภีร์ไบเบิลภาคพันธสัญญาเดิมของศาสนาคริสต์ด้วย คัมภีร์นี้ส่วนใหญ่บันทึกเป็นภาษาฮีบรูไบเบิล บางส่วนเป็นภาษาแอราเมอิกไบเบิล (เช่น หนังสือดาเนียล หนังสือเอสรา เป็นต้น) ซึ่งคัมภีร์ฮีบรูนี้มีหนังสือทั้งสิ้น 24 เล่ม สารบบของคัมภีร์ฮีบรูที่ใช้ในปัจจุบันสอดคล้องกับคัมภีร์ไบเบิลภาคพันธสัญญาเดิมของนิกายโปรเตสแตนต์ แต่ไม่ตรงกับของนิกายโรมันคาทอลิกและอีสเทิร์นออร์ทอดอกซ์ ซึ่งได้เพิ่ม "คัมภีร์อธิกธรรม" และ Anagignoskomena เข้ามา ความหมายของคัมภีร์ฮีบรูจึงไม่เกี่ยวกับชื่อ จำนวน และลำดับหนังสือ ต่างจากสารบบคัมภีร์ไบเบิลที่ศาสนาคริสต์จัดระบบขึ้นในยุคหลัง.

คัมภีร์ฮีบรูและลูซิเฟอร์ · คัมภีร์ฮีบรูและหนังสืออิสยาห์ · ดูเพิ่มเติม »

คัมภีร์ไบเบิล

ัมภีร์ไบเบิลกูเทนแบร์ก คัมภีร์ไบเบิลฉบับพิมพ์ครั้งแรก คัมภีร์ไบเบิลราชบัณฑิตยสถาน, พจนานุกรมศัพท์ศาสนาสากล อังกฤษ-ไทย ฉบับราชบัณฑิตยสถาน, พิมพ์ครั้งที่ 3, กรุงเทพฯ: ราชบัณฑิตยสถาน, 2552, หน้า 99 (Bible; ביבליה; ܟܬܒܐ ܩܕܝܫܐ; Αγία Γραφή) (มาจากภาษากรีกโบราณว่า Βίβλος บิบลิออน แปลว่า หนังสือ) ชาวโปรเตสแตนต์เรียกว่า พระคริสตธรรมคัมภีร์ (Holy Bible) เรียกโดยย่อว่า พระคัมภีร์ เป็นหนังสือที่บันทึกเรื่องราวเกี่ยวกับพระยาห์เวห์ มนุษย์ ความบาป และแผนการของพระเจ้าในการช่วยมนุษย์ให้รอดพ้นจากความพินาศอันเนื่องจากความบาปสู่ชีวิตนิรันดร์ เป็นหนังสือที่บันทึกหลักธรรมคำสอนของศาสนาคริสต์ ซึ่งในบางเล่มมีพื้นฐานมาจากหลักคำสอนของศาสนายูดาห์ของชาวยิว ชาวคริสต์เรียกคัมภีร์ไบเบิลในชื่ออื่น ๆ อีกหลายชื่อเช่น พระวจนะของพระเจ้า (Word of God) หนังสือดี (Good Book) และคัมภีร์ศักดิ์สิทธิ์ (Holy Scripture) คริสตชนทุกคนเชื่อว่าพระคัมภีร์ทุกบททุกข้อนั้นมนุษย์เขียนขึ้นโดยการดลใจจากพระเจ้า ประกอบด้วยหนังสือจำนวน 66 หรือ 73 หรือ 78 เล่ม (แล้วแต่นิกาย) ประกอบด้วยภาคพันธสัญญาเดิมและพันธสัญญาใหม่ พันธสัญญาเดิมถูกเขียนขึ้นก่อนที่พระเยซูคริสต์ประสูติ ทั้งหมดเขียนเป็นภาษาฮีบรู ยกเว้นส่วนที่เป็นคัมภีร์อธิกธรรม (ยอมรับเฉพาะชาวคาทอลิก) ถูกเขียนด้วยภาษากรีกและภาษาอียิปต์ ส่วนพันธสัญญาใหม่ถูกเขียนขึ้นหลังจากพระเยซูเสด็จขึ้นสู่สวรรค์แล้ว โดยบันทึกถึงเรื่องราวของพระเยซูตลอดพระชนม์ชีพ รวมทั้งคำสอน และการประกาศข่าวดีแห่งความรอด การยอมรับการทรมาน และการไถ่บาปของมนุษย์โดยพระเยซู การกลับคืนชีพอย่างรุ่งโรจน์ การส่งพระวิญญาณบริสุทธิ์มายังอัครทูต ประวัติศาสตร์ของคริสตจักรในยุคแรกเริ่ม ภายหลังการกลับคืนพระชนม์ชีพของพระเยซูแล้ว การเบียดเบียนคริสตจักรในรูปแบบต่าง ๆ พระคัมภีร์เป็นที่ยอมรับอย่างกว้างขวางว่าเป็นหนังสือที่ขายดีที่สุดของเวลาทั้งหมดที่มียอดขายต่อปีประมาณ 100 ล้านเล่มและได้รับอิทธิพลสำคัญในวรรณคดีและประวัติศาสตร.

คัมภีร์ไบเบิลและลูซิเฟอร์ · คัมภีร์ไบเบิลและหนังสืออิสยาห์ · ดูเพิ่มเติม »

รายการด้านบนตอบคำถามต่อไปนี้

การเปรียบเทียบระหว่าง ลูซิเฟอร์และหนังสืออิสยาห์

ลูซิเฟอร์ มี 16 ความสัมพันธ์ขณะที่ หนังสืออิสยาห์ มี 20 ขณะที่พวกเขามีเหมือนกัน 3, ดัชนี Jaccard คือ 8.33% = 3 / (16 + 20)

การอ้างอิง

บทความนี้แสดงความสัมพันธ์ระหว่าง ลูซิเฟอร์และหนังสืออิสยาห์ หากต้องการเข้าถึงบทความแต่ละบทความที่ได้รับการรวบรวมข้อมูลโปรดไปที่:

Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »