โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ฟรี
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

ระบบสุริยะและโรแบร์ท บุนเซิน

ทางลัด: ความแตกต่างความคล้ายคลึงกันค่าสัมประสิทธิ์การเปรียบเทียบ Jaccardการอ้างอิง

ความแตกต่างระหว่าง ระบบสุริยะและโรแบร์ท บุนเซิน

ระบบสุริยะ vs. โรแบร์ท บุนเซิน

ระบบสุริยะ (Solar System) ประกอบด้วยดวงอาทิตย์และวัตถุอื่น ๆ ที่โคจรรอบดวงอาทิตย์เนื่องจากแรงโน้มถ่วง ได้แก่ ดาวเคราะห์ 8 ดวงกับดวงจันทร์บริวารที่ค้นพบแล้ว 166 ดวง ดาวเคราะห์แคระ 5 ดวงกับดวงจันทร์บริวารที่ค้นพบแล้ว 4 ดวง กับวัตถุขนาดเล็กอื่น ๆ อีกนับล้านชิ้น ซึ่งรวมถึง ดาวเคราะห์น้อย วัตถุในแถบไคเปอร์ ดาวหาง สะเก็ดดาว และฝุ่นระหว่างดาวเคราะห์ โดยทั่วไปแล้วจะแบ่งย่านต่าง ๆ ของระบบสุริยะ นับจากดวงอาทิตย์ออกมาดังนี้คือ ดาวเคราะห์ชั้นในจำนวน 4 ดวง แถบดาวเคราะห์น้อย ดาวเคราะห์ขนาดใหญ่รอบนอกจำนวน 4 ดวง และแถบไคเปอร์ซึ่งประกอบด้วยวัตถุที่เย็นจัดเป็นน้ำแข็ง พ้นจากแถบไคเปอร์ออกไปเป็นเขตแถบจานกระจาย ขอบเขตเฮลิโอพอส (เขตแดนตามทฤษฎีที่ซึ่งลมสุริยะสิ้นกำลังลงเนื่องจากมวลสารระหว่างดวงดาว) และพ้นไปจากนั้นคือย่านของเมฆออร์ต กระแสพลาสมาที่ไหลออกจากดวงอาทิตย์ (หรือลมสุริยะ) จะแผ่ตัวไปทั่วระบบสุริยะ สร้างโพรงขนาดใหญ่ขึ้นในสสารระหว่างดาวเรียกกันว่า เฮลิโอสเฟียร์ ซึ่งขยายออกไปจากใจกลางของแถบจานกระจาย ดาวเคราะห์ชั้นเอกทั้ง 8 ดวงในระบบสุริยะ เรียงลำดับจากใกล้ดวงอาทิตย์ที่สุดออกไป มีดังนี้คือ ดาวพุธ ดาวศุกร์ โลก ดาวอังคาร ดาวพฤหัสบดี ดาวเสาร์ ดาวยูเรนัส และดาวเนปจูน นับถึงกลางปี ค.ศ. 2008 วัตถุขนาดย่อมกว่าดาวเคราะห์จำนวน 5 ดวง ได้รับการจัดระดับให้เป็นดาวเคราะห์แคระ ได้แก่ ซีรีสในแถบดาวเคราะห์น้อย กับวัตถุอีก 4 ดวงที่โคจรรอบดวงอาทิตย์อยู่ในย่านพ้นดาวเนปจูน คือ ดาวพลูโต (ซึ่งเดิมเคยถูกจัดระดับไว้เป็นดาวเคราะห์) เฮาเมอา มาคีมาคี และ อีรีส มีดาวเคราะห์ 6 ดวงและดาวเคราะห์แคระ 3 ดวงที่มีดาวบริวารโคจรอยู่รอบ ๆ เราเรียกดาวบริวารเหล่านี้ว่า "ดวงจันทร์" ตามอย่างดวงจันทร์ของโลก นอกจากนี้ดาวเคราะห์ชั้นนอกยังมีวงแหวนดาวเคราะห์อยู่รอบตัวอันประกอบด้วยเศษฝุ่นและอนุภาคขนาดเล็ก สำหรับคำว่า ระบบดาวเคราะห์ ใช้เมื่อกล่าวถึงระบบดาวโดยทั่วไปที่มีวัตถุต่าง ๆ โคจรรอบดาวฤกษ์ คำว่า "ระบบสุริยะ" ควรใช้เฉพาะกับระบบดาวเคราะห์ที่มีโลกเป็นสมาชิก และไม่ควรเรียกว่า "ระบบสุริยจักรวาล" อย่างที่เรียกกันติดปาก เนื่องจากไม่เกี่ยวข้องกับคำว่า "จักรวาล" ตามนัยที่ใช้ในปัจจุบัน. รแบร์ท วิลเฮ็ล์ม เอเบอร์ฮาร์ท บุนเซิน (Robert Wilhelm Eberhard Bunsen) เป็นนักเคมีชาวเยอรมัน เขาศึกษาสเปกตรัมการแผ่ของวัตถุที่ได้รับความร้อน เป็นผู้ค้นพบซีเซียม (ค.ศ. 1860) และรูบิเดียม (ค.ศ. 1861) ร่วมกันกับกุสทัฟ เคียร์ชฮ็อฟ บุนเซินพัฒนากระบวนวิธีวิเคราะห์ก๊าซขึ้นมากมาย เป็นผู้บุกเบิกในสาขาเคมีเชิงแสง (photochemistry) และยังริเริ่มการศึกษาในสาขา organoarsenic chemistry บุนเซินกับผู้ช่วยในห้องทดลองของเขา คือปีเตอร์ เดซาก ร่วมกันพัฒนาตะเกียงบุนเซินขึ้นเป็นอุปกรณ์ให้ความร้อนที่ดีกว่าอุปกรณ์เดิม ๆ ในห้องทดลอง รางวัลบุนเซิน-เคียร์ชฮ็อฟเป็นรางวัลที่ตั้งขึ้นตามชื่อของเขากับเพื่อนร่วมงานคือ กุสทัฟ เคียร์ชฮ็อฟ.

ความคล้ายคลึงกันระหว่าง ระบบสุริยะและโรแบร์ท บุนเซิน

ระบบสุริยะและโรแบร์ท บุนเซิน มี 1 สิ่งที่เหมือนกัน (ใน ยูเนี่ยนพีเดีย): กุสทัฟ เคียร์ชฮ็อฟ

กุสทัฟ เคียร์ชฮ็อฟ

กุสทัฟ โรแบร์ท เคียร์ชฮ็อฟ (Gustav Robert Kirchhoff; 12 มีนาคม ค.ศ. 1824-17 ตุลาคม ค.ศ. 1887) เป็นนักฟิสิกส์ชาวเยอรมันผู้มีส่วนร่วมในการทำความเข้าใจพื้นฐานเกี่ยวกับวงจรไฟฟ้า สเปกโทรสโกปี และการแผ่รังสีของวัตถุดำจากวัตถุที่ได้รับความร้อน เขาเป็นผู้กำหนดคำว่า การแผ่รังสีของ "วัตถุดำ" เมื่อปี..

กุสทัฟ เคียร์ชฮ็อฟและระบบสุริยะ · กุสทัฟ เคียร์ชฮ็อฟและโรแบร์ท บุนเซิน · ดูเพิ่มเติม »

รายการด้านบนตอบคำถามต่อไปนี้

การเปรียบเทียบระหว่าง ระบบสุริยะและโรแบร์ท บุนเซิน

ระบบสุริยะ มี 186 ความสัมพันธ์ขณะที่ โรแบร์ท บุนเซิน มี 14 ขณะที่พวกเขามีเหมือนกัน 1, ดัชนี Jaccard คือ 0.50% = 1 / (186 + 14)

การอ้างอิง

บทความนี้แสดงความสัมพันธ์ระหว่าง ระบบสุริยะและโรแบร์ท บุนเซิน หากต้องการเข้าถึงบทความแต่ละบทความที่ได้รับการรวบรวมข้อมูลโปรดไปที่:

Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »