โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ติดตั้ง
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

ระบบปฏิบัติการและโซลาริส

ทางลัด: ความแตกต่างความคล้ายคลึงกันค่าสัมประสิทธิ์การเปรียบเทียบ Jaccardการอ้างอิง

ความแตกต่างระหว่าง ระบบปฏิบัติการและโซลาริส

ระบบปฏิบัติการ vs. โซลาริส

ระบบปฏิบัติการ (operating system) หรือ โอเอส (OS) เป็นระบบซอฟต์แวร์ที่ทำหน้าที่จัดการอุปกรณ์คอมพิวเตอร์และแหล่งซอฟต์แวร์และบริการโปรแกรมคอมพิวเตอร์ ระบบปฏิบัติการมีหน้าที่หลัก ๆ คือ การจัดสรรทรัพยากรในเครื่องคอมพิวเตอร์ เพื่อให้บริการซอฟต์แวร์ประยุกต์ ในเรื่องการรับส่งและจัดเก็บข้อมูลกับฮาร์ดแวร์ เช่น การส่งข้อมูลภาพไปแสดงผลที่จอภาพ การส่งข้อมูลไปเก็บหรืออ่านจากฮาร์ดดิสก์ การรับส่งข้อมูลในระบบเครือข่าย การส่งสัญญานเสียงไปออกลำโพง หรือจัดสรรพื้นที่ในหน่วยความจำ ตามที่ซอฟต์แวร์ประยุกต์ร้องขอ รวมทั้งทำหน้าที่จัดสรรเวลาการใช้หน่วยประมวลผลกลาง ในกรณีที่อนุญาตให้ซอฟต์แวร์ประยุกต์หลายๆ ตัวทำงานพร้อมๆ กัน ระบบปฏิบัติการ ช่วยให้ตัวซอฟต์แวร์ประยุกต์ ไม่ต้องจัดการเรื่องเหล่านั้นด้วยตนเอง เพียงแค่เรียกใช้บริการจากระบบปฏิบัติการก็พอ ทำให้พัฒนาซอฟต์แวร์ประยุกต์ได้ง่ายขึ้น ระบบปฏิบัติการที่เป็นที่นิยมในคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลทุกวันนี้ ได้แก่ ไมโครซอฟท์ วินโดวส์ แมคโอเอส และลินุกซ์ นอกจากนี้ ยังมีระบบปฏิบัติการตระกูลยูนิกซ์ ซึ่งได้รับความนิยมในเครื่องเซิร์ฟเวอร์ที่ใช้กันในหน่วยงาน ระบบปฏิบัติการตระกูลยูนิกซ์ที่เป็นที่รู้จักกันดี ได้แก่ ยูนิกซ์ตระกูลบีเอสดี เอไอเอกซ์ และโซลาริส และรวมถึงลินุกซ์ซึ่งพัฒนาโดยอาศัยหลักการเดียวกันกับยูนิกซ์ ระบบปฏิบัติการบางตัว ถูกออกแบบมาสำหรับการเรียนการสอนวิชาระบบปฏิบัติการโดยเฉพาะ เช่น มินิกซ์ ซินู หรือ พินโทส ในอุปกรณ์อื่นๆ ที่ควบคุมด้วยระบบคอมพิวเตอร์ ก็อาจมีระบบปฏิบัติการเช่นกัน เช่น ไอโอเอส แอนดรอยด์ หรือ ซิมเบียน ในโทรศัพท์มือถือ หรือระบบปฏิบัติการ TRON ในเครื่องใช้ไฟฟ้าตามบ้าน. ซลาริส (Solaris) หรือในชื่อเต็ม The Solaris Operating Environment เป็นระบบปฏิบัติการคอมพิวเตอร์แบบยูนิกซ์ ที่พัฒนาโดย ซัน ไมโครซิสเต็มส์ ระบบปฏิบัติการโซลาริส ใช้ได้กับสถาปัตยกรรมคอมพิวเตอร์สองแบบ คือ แบบ สปาร์ค และแบบ x86 (แบบเดียวกับในเครื่องคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลทั่วไป) รุ่นแรก ๆ ของโซลาริสนั้น ใช้ชื่อว่า ซันโอเอส (SunOS) โดยมีพื้นฐานมาจากยูนิกซ์ตระกูลบีเอสดี แต่ต่อมาในรุ่นที่ 5 ได้เปลี่ยนมาใช้โค้ดของ ซิสเต็มส์ไฟว์ (System V) แทน และเปลี่ยนชื่อมาเป็น โซลาริส ดังเช่นในปัจจุบัน โดยเรียกโซลาริสรุ่นแรกว่า โซลาริส 2 และเปลี่ยนชื่อเรียกของซันโอเอสรุ่นก่อน ๆ เป็น โซลาริส 1.x และหลังจากโซลาริสรุ่น 2.6 ก็ได้ตัด "2." ข้างหน้าออกไป และเรียกเป็น โซลาริส 7 แทน รุ่นปัจจุบันของโซลาริสคือ โซลาริส 11 การพัฒนาบางส่วนของโซลาริสในอนาคต ขณะนี้ได้พัฒนาในโครงการ โอเพนโซลาริส (OpenSolaris) ซึ่งเป็นโครงการระบบปฏิบัติการแบบโอเพนซอร์ซ.

ความคล้ายคลึงกันระหว่าง ระบบปฏิบัติการและโซลาริส

ระบบปฏิบัติการและโซลาริส มี 4 สิ่งที่เหมือนกัน (ใน ยูเนี่ยนพีเดีย): ยูนิกซ์คอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลโซลาริสเบิร์กลีย์ซอฟต์แวร์ดิสทริบิวชัน

ยูนิกซ์

ูนิกซ์ (Unix แต่ชื่อตามเครื่องหมายการค้าคือ UNIX) เป็นระบบปฏิบัติการคอมพิวเตอร์แบบหลายงาน หลายผู้ใช้ ที่เริ่มพัฒนาโดยกลุ่มพนักงานของห้องปฏิบัติการ AT&T Bell Labs โดยกลุ่มนักพัฒนาที่เป็นที่รู้จัก คือ Ken Thompson, Dennis Ritchie และ Douglas McIlroy.

ยูนิกซ์และระบบปฏิบัติการ · ยูนิกซ์และโซลาริส · ดูเพิ่มเติม »

คอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล

วามหมายอื่น|PC แก้ความ ไฟล์:ashton 01.svg|thumbภาพวาดของgmail.com เครื่องพีซีอาจเป็นเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ใช้ประจำบ้าน (home computer) หรืออาจพบใช้ในงานสำนักงานที่มักจะเชื่อมต่อกันเป็นระบบเครือข่ายท้องถิ่น (local area network) ลักษณะเด่นจะเป็นเครื่องที่ถูกใช้งานโดยคนเพียงคนเดียว ซึ่งต่างจากระบบประมวลผลแบบ batch processing หรือ time-sharing ที่มีความซับซ้อน ราคาแพง มีการใช้งานจากคนหมู่มากพร้อม ๆ กัน หรือระบบประมวลผลข้อมูลขนาดใหญ่ที่ต้องการทีมทำงานเต็มเวลาคอยควบคุมการทำงาน ผู้ใช้ "PC" ในยุคแรกต้องเขียนโปรแกรมขึ้นใช้งานเอง แต่มาในปัจจุบัน ผู้ใช้มีโปรแกรมให้เลือกใช้ที่หลากหลายทั้งแบบที่ซื้อขายเชิงพาณิชย์และไม่เชิงพาณิชย์ ซึ่งล้วนแล้วแต่ติดตั้งได้ง่าย คำว่า "คอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล" เริ่มมีใช้ตั้งแต่ พ.ศ. 2515 (ค.ศ. 1972) สำหรับกล่าวถึงเครื่อง Xerox PARC ของบริษัท Xerox Alto อย่างไรก็ตามจากความประสบความสำเร็จของไอบีเอ็มพีซี ทำให้การใช้คำว่า คอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลหมายถึง เครื่องไอบีเอ็มพีซี.

คอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลและระบบปฏิบัติการ · คอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลและโซลาริส · ดูเพิ่มเติม »

โซลาริส

ซลาริส (Solaris) หรือในชื่อเต็ม The Solaris Operating Environment เป็นระบบปฏิบัติการคอมพิวเตอร์แบบยูนิกซ์ ที่พัฒนาโดย ซัน ไมโครซิสเต็มส์ ระบบปฏิบัติการโซลาริส ใช้ได้กับสถาปัตยกรรมคอมพิวเตอร์สองแบบ คือ แบบ สปาร์ค และแบบ x86 (แบบเดียวกับในเครื่องคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลทั่วไป) รุ่นแรก ๆ ของโซลาริสนั้น ใช้ชื่อว่า ซันโอเอส (SunOS) โดยมีพื้นฐานมาจากยูนิกซ์ตระกูลบีเอสดี แต่ต่อมาในรุ่นที่ 5 ได้เปลี่ยนมาใช้โค้ดของ ซิสเต็มส์ไฟว์ (System V) แทน และเปลี่ยนชื่อมาเป็น โซลาริส ดังเช่นในปัจจุบัน โดยเรียกโซลาริสรุ่นแรกว่า โซลาริส 2 และเปลี่ยนชื่อเรียกของซันโอเอสรุ่นก่อน ๆ เป็น โซลาริส 1.x และหลังจากโซลาริสรุ่น 2.6 ก็ได้ตัด "2." ข้างหน้าออกไป และเรียกเป็น โซลาริส 7 แทน รุ่นปัจจุบันของโซลาริสคือ โซลาริส 11 การพัฒนาบางส่วนของโซลาริสในอนาคต ขณะนี้ได้พัฒนาในโครงการ โอเพนโซลาริส (OpenSolaris) ซึ่งเป็นโครงการระบบปฏิบัติการแบบโอเพนซอร์ซ.

ระบบปฏิบัติการและโซลาริส · โซลาริสและโซลาริส · ดูเพิ่มเติม »

เบิร์กลีย์ซอฟต์แวร์ดิสทริบิวชัน

ร์กลีย์ซอฟต์แวร์ดิสทริบิวชั่น (Berkeley Software Distribution -BSD; Berkeley Unix) เป็นระบบปฏิบัติการยูนิกซ์ที่พัฒนาและเผยแพร่โดย มหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย เบิร์กลีย์ เริ่มต้นในช่วงคริสต์ทศวรรษที่ 70 ชื่อบีเอสดียังคงมีอยู่ในระบบปฏิบัติการรุ่นใหม่ ๆ ซึ่งสืบทอดมาจากดิสทริบิวชั่นนี้ เช่น FreeBSD, NetBSD, และ OpenBSD เป็นต้น บีเอสดีจัดว่าเป็นยูนิกซ์ที่ใช้กันแพร่หลายสำหรับคอมพิวเตอร์ระดับเวิร์กสเตชันในยุคนั้น ทั้งนี้อาจเป็นเพราะสัญญาอนุญาตใช้งานของบีเอสดีนั้นไม่ซับซ้อน ทำให้บริษัทอื่น ๆ นำเทคโนโลยีไปพัฒนาในช่วงคริสต์ทศวรรษที่ 80 จนสร้างความคุ้นเคยในวงกว้าง ถึงแม้ว่าในช่วงคริสต์ทศวรรษที่ 90 บีเอสดีจะถูกแทนที่ด้วย System V รีลีส 4.x และ OSF/1 แต่ในระยะหลังนี้มีการปรับปรุงและพัฒนาระบบปฏิบัติการโดยใช้ซอร์สโค้ดที่เปิดเผยของบีเอสดีเป็นแกนหลัก.

ระบบปฏิบัติการและเบิร์กลีย์ซอฟต์แวร์ดิสทริบิวชัน · เบิร์กลีย์ซอฟต์แวร์ดิสทริบิวชันและโซลาริส · ดูเพิ่มเติม »

รายการด้านบนตอบคำถามต่อไปนี้

การเปรียบเทียบระหว่าง ระบบปฏิบัติการและโซลาริส

ระบบปฏิบัติการ มี 21 ความสัมพันธ์ขณะที่ โซลาริส มี 12 ขณะที่พวกเขามีเหมือนกัน 4, ดัชนี Jaccard คือ 12.12% = 4 / (21 + 12)

การอ้างอิง

บทความนี้แสดงความสัมพันธ์ระหว่าง ระบบปฏิบัติการและโซลาริส หากต้องการเข้าถึงบทความแต่ละบทความที่ได้รับการรวบรวมข้อมูลโปรดไปที่:

Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »