โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ดาวน์โหลด
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

ยุทธการที่วุร์สเตอร์และสงครามกลางเมืองอังกฤษ

ทางลัด: ความแตกต่างความคล้ายคลึงกันค่าสัมประสิทธิ์การเปรียบเทียบ Jaccardการอ้างอิง

ความแตกต่างระหว่าง ยุทธการที่วุร์สเตอร์และสงครามกลางเมืองอังกฤษ

ยุทธการที่วุร์สเตอร์ vs. สงครามกลางเมืองอังกฤษ

ทธการที่วุร์สเตอร์ (Battle of Worcester) เกิดขึ้นเมื่อวันที่ 3 กันยายน ค.ศ. 1651 ที่วุร์สเตอร์ในอังกฤษและเป็นยุทธการสุดท้ายของสงครามกลางเมืองอังกฤษ ที่ฝ่ายรัฐสภาที่นำโดยโอลิเวอร์ ครอมเวลล์ได้รับชัยชนะต่อฝ่ายนิยมกษัตริย์ (Royalist) ที่นำโดยพระเจ้าชาลส์ที่ 2 โดยทั่วไปเป็นกองกำลังสกอตแลนด์ กองกำลังเพียง 16,000 คนของกองกำลังฝ่ายนิยมกษัตริย์ไม่สามารถต่อสู้กับกองกำลังที่มีจำนวนเหนือกว่ามาก 28,000 คนของ "กองทัพตัวแบบใหม่" (New Model Army) ของครอมเวลล์ได้จนในที่สุดก็จำต้องพ่ายแพ้. “หนูเห็นพ่อครั้งสุดท้ายเมื่อไหร่?” โดย วิลเลียม เฟรดเดอริค ยีมส์ (William Frederick Yeames) เป็นภาพรัฐสภาถามลูกชายของฝ่ายนิยมกษัตริย์ระหว่างสงครามกลางเมือง สงครามกลางเมืองอังกฤษ (English Civil War; ค.ศ. 1642 ถึงปี ค.ศ. 1651) เป็นสงครามกลางเมืองของอังกฤษ, สกอตแลนด์ และไอร์แลนด์ที่ต่อเนื่องกันหลายครั้งระหว่างฝ่ายรัฐสภา และฝ่ายกษัตริย์นิยม สงครามกลางเมืองอังกฤษครั้งที่ 1 เกิดขึ้นระหว่างปี ค.ศ. 1642 ถึงปี ค.ศ. 1646; ครั้งที่ 2 ระหว่างปี ค.ศ. 1648 ถึงปี ค.ศ. 1649 เป็นสงครามของความขัดแย้งระหว่างผู้สนับสนุนพระเจ้าชาลส์ที่ 1 ฝ่ายหนึ่งและผู้สนับสนุนรัฐสภายาวอีกฝ่ายหนึ่ง ขณะที่ครั้งที่ 3 ที่เกิดขึ้นระหว่างปี ค.ศ. 1649 ถึงปี ค.ศ. 1651 เป็นการต่อสู้ระหว่างผู้สนับสนุนพระเจ้าชาลส์ที่ 2 และผู้สนับสนุนรัฐสภารัมพ์อีกฝ่ายหนึ่ง สงครามกลางเมืองจบลงด้วยชัยชนะของฝ่ายรัฐสภาที่ยุทธการวูสเตอร์เมื่อวันที่ 3 กันยายน ค.ศ. 1651 ผลของสงครามกลางเมืองครั้งที่สองนำไปสู่การปลงพระชนม์ของพระเจ้าชาลส์ที่ 1, การลี้ภัยของพระราชโอรสพระเจ้าชาลส์ที่ 2 และการเปลี่ยนระบบการปกครองของอังกฤษจากระบอบพระมหากษัตริย์ไปเป็นระบบเครือจักรภพแห่งอังกฤษ ระหว่างปี ค.ศ. 1649 ถึงปี ค.ศ. 1653 และต่อจากนั้นไปเป็นระบบรัฐผู้พิทักษ์ภายใต้การนำของโอลิเวอร์ ครอมเวลล์ระหว่างปี ค.ศ. 1653 ถึงปี ค.ศ. 1659 เอกสิทธิ์ในการนับถือคริสต์ศาสนาของนิกายเชิร์ชออฟอิงแลนด์ในอังกฤษสิ้นสุดลงด้วยการรวม การปกครองโดยโปรเตสแตนต์ (Protestant Ascendancy) ในไอร์แลนด์ ในด้านรัฐธรรมนูญสงครามครั้งนี้เป็นการวางรากฐานว่าการปกครองระบอบพระมหากษัตริย์ไม่สามารถทำได้โดยมิได้รับความเห็นชอบจากรัฐสภา แต่อันที่จริงแล้วปรัชญานี้ก็มิได้ปฏิบัติกันอย่างจริงจังจนกระทั่งถึงสมัยการปฏิวัติอันรุ่งโรจน์ในปลายคริสต์ศตวรรษ.

ความคล้ายคลึงกันระหว่าง ยุทธการที่วุร์สเตอร์และสงครามกลางเมืองอังกฤษ

ยุทธการที่วุร์สเตอร์และสงครามกลางเมืองอังกฤษ มี 21 สิ่งที่เหมือนกัน (ใน ยูเนี่ยนพีเดีย): พ.ศ. 2194พระเจ้าชาลส์ที่ 1 แห่งอังกฤษพระเจ้าชาลส์ที่ 2 แห่งอังกฤษกองทัพตัวแบบใหม่ยุทธการที่ดันบาร์ (ค.ศ. 1650)วุร์สเตอร์หัวเกรียนจอร์จ มองก์ ดยุกที่ 1 แห่งอัลเบมาร์ลจอห์น แลมเบิร์ต (นายพล)ประเทศสกอตแลนด์นิวอิงแลนด์แม่น้ำเซเวิร์นแลงคาเชอร์แคริบเบียนแควาเลียร์โอลิเวอร์ ครอมเวลล์เบอร์มิวดาเจมส์ แฮมิลตัน ดยุกที่ 1 แห่งแฮมิลตัน19 สิงหาคม22 สิงหาคม3 กันยายน

พ.ศ. 2194

ทธศักราช 2194 ใกล้เคียงกั.

พ.ศ. 2194และยุทธการที่วุร์สเตอร์ · พ.ศ. 2194และสงครามกลางเมืองอังกฤษ · ดูเพิ่มเติม »

พระเจ้าชาลส์ที่ 1 แห่งอังกฤษ

ระเจ้าชาลส์ที่ 1 (Charles I; 19 พฤศจิกายน ค.ศ. 1600 — 30 มกราคม ค.ศ. 1649) เป็นพระเจ้าแผ่นดินแห่งราชอาณาจักรอังกฤษสมัยราชวงศ์สจวต รวมทั้งพระมหากษัตริย์แห่งสกอตแลนด์ และไอร์แลนด์ ระหว่างปี..

พระเจ้าชาลส์ที่ 1 แห่งอังกฤษและยุทธการที่วุร์สเตอร์ · พระเจ้าชาลส์ที่ 1 แห่งอังกฤษและสงครามกลางเมืองอังกฤษ · ดูเพิ่มเติม »

พระเจ้าชาลส์ที่ 2 แห่งอังกฤษ

ระเจ้าชาลส์ที่ 2 แห่งอังกฤษ (Charles II of England; 29 พฤษภาคม ค.ศ. 1630 – 6 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1685) พระมหากษัตริย์อังกฤษ พระมหากษัตริย์สกอตแลนด์ และพระมหากษัตริย์ไอร์แลนด์ ในราชวงศ์สจวต ระหว่างปี ค.ศ. 1660 ถึงปี ค.ศ. 1685 พระเจ้าชาลส์ที่ 2 พระราชสมภพเมื่อวันที่ 29 พฤษภาคม ค.ศ. 1630 ที่พระราชวังเซนต์เจมส์ในกรุงลอนดอน เป็นพระราชโอรสในพระเจ้าชาลส์ที่ 1 แห่งอังกฤษและพระนางเฮนเรียตตา มาเรีย ได้อภิเษกสมรสกับพระนางแคเธอริน และครองสกอตแลนด์ระหว่างวันที่ 30 มกราคม ค.ศ. 1649 ถึงวันที่ 3 กันยายน ค.ศ. 1651 และ อังกฤษ สกอตแลนด์ และไอร์แลนด์ ระหว่างวันที่ 29 พฤษภาคม ค.ศ. 1660 ถึงวันที่ 6 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1685 พระเจ้าชาลส์ที่ 2 แห่งอังกฤษเสด็จสวรรคตเมื่อวันที่ 6 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1685 ที่พระราชวังไวท์ฮอลในกรุงลอนดอน พระเจ้าชาลส์ที่ 2 เป็นพระมหากษัตริย์ตามกฎหมายหลังจากพระราชบิดาพระเจ้าชาลส์ที่ 1 ถูกประหารชีวิตที่พระราชวังไวต์ฮอลเมื่อวันที่ 30 มกราคม ค.ศ. 1649 แต่รัฐสภาอังกฤษมิได้ประกาศแต่งตั้งให้พระองค์เป็นพระมหากษัตริย์และผ่านบัญญัติว่าเป็นการดำรงตำแหน่งของพระองค์เป็นการผิดกฎหมาย จึงเกิดช่วงว่างระหว่างรัชกาลในอังกฤษ แต่ทางรัฐสภาสกอตแลนด์ประกาศให้พระองค์เป็นพระมหากษัตริย์ของชาวสกอตเมื่อวันที่ 5 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1649 ที่เอดินบะระ และรับพิธีราชาภิเษกเมื่อวันที่ 1 มกราคม ค.ศ. 1651 หลังจากที่พ่ายแพ้ยุทธการวูสเตอร์เมื่อวันที่ 3 กันยายน ค.ศ. 1651 พระเจ้าชาลส์ที่ 2 ก็เสด็จหนีไปยุโรปภาคพื้นทวีปและไปประทับลี้ภัยเป็นเวลา 9 ปีในประเทศฝรั่งเศสและเนเธอร์แลนด์ของสเปน หลังจากที่รัฐบาลสาธารณรัฐภายใต้การนำของริชาร์ด ครอมเวลล์ล่มในปี ค.ศ. 1659 นายพลจอร์จ มองค์ก็อัญเชิญชาลส์ให้กลับมาเป็นสมเด็จพระเจ้าแผ่นดินอังกฤษในสมัยที่เรียกกันว่า “การฟื้นฟูราชวงศ์อังกฤษ” พระเจ้าชาลส์ที่ 2 เสด็จกลับถึงอังกฤษเมื่อวันที่ 25 พฤษภาคม ค.ศ. 1660 และเสด็จเข้าลอนดอนในวันประสูติครบ 30 พรรษาเมื่อวันที่ 29 พฤษภาคม ค.ศ. 1660 และทรงได้รับการราชาภิเศกเป็นพระมหากษัตริย์อังกฤษและ ไอร์แลนด์เมื่อวันที่ 23 เมษายน ค.ศ. 1660 รัฐสภาภายใต้การนำของพระเจ้าชาลส์ที่ 2 ออกพระราชบัญญัติต่อต้านพิวริตันที่รู้จักกันในชื่อ “ประมวลกฎหมายแคลเรนดัน” (Clarendon code) โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อหนุนสถานะของคริสตจักรแห่งอังกฤษ แม้ว่าในทางส่วนพระองค์แล้วพระเจ้าชาลส์ที่ 2 จะทรงสนับสนุนนโยบายความมีเสรีภาพในการนับถือศาสนาก็ตาม ส่วนปัญหาใหญ่ในด้านการต่างประเทศในต้นรัชสมัยก็คือการสงครามอังกฤษ-เนเธอร์แลนด์ครั้งที่สอง ในปี ค.ศ. 1670 พระเจ้าชาลส์ทรงไปทำสัญญาลับกับพระเจ้าหลุยส์ที่ 14 แห่งฝรั่งเศสที่ระบุว่าฝรั่งเศสจะช่วยอังกฤษในสงครามอังกฤษ-เนเธอร์แลนด์ครั้งที่สาม และจะถวายเงินบำนาญแก่พระองค์โดยมีข้อแม้ว่าสมเด็จพระเจ้าชาลส์ต้องสัญญาว่าจะเปลื่ยนจากการนับถือนิกายแองกลิคันไปเป็นการนับถือนิกายโรมันคาทอลิก แต่พระเจ้าชาลส์มิได้ทรงระบุเวลาที่แน่นอนในเรื่องการเปลี่ยนนิกาย แต่ในขณะเดียวกันก็ทรงพยายามเพิ่มสิทธิและเสรีภาพให้แก่ผู้นับถือนิกายโรมันคาทอลิกและนิกายโปรเตสแตนต์ต่าง ๆ มากขึ้นโดยการออกพระราชปฏิญญาพระคุณการุญในปี ค.ศ. 1672 แต่รัฐสภาบังคับให้ทรงถอนในปี ค.ศ. 1679 ในปี ค.ศ. 1679 ไททัส โอตส์สร้างข่าวลือเรื่อง “การลอบวางแผนโพพิช” ที่เป็นผลให้เกิดวิกฤตกาลการกีดกัดต่อมา เมื่อเป็นที่ทราบกันว่าดยุกแห่งยอร์กพระอนุชาของพระเจ้าชาลส์ที่ 2 และรัชทายาทผู้ต่อมาขึ้นครองราชย์เป็นพระเจ้าเจมส์ที่ 2เปลี่ยนไปนับถือโรมันคาทอลิก ซึ่งเป็นเหตุการณ์ที่ทำให้บ้านเมืองแบ่งเป็นสองฝักสองฝ่าย ฝ่ายวิกสนับสนุนการยกเว้นไม่ให้ดยุกแห่งยอร์กขึ้นครองราชย์และฝ่ายทอรีต่อต้านการยกเว้น พระเจ้าชาลส์ที่ 2 ทรงเข้าข้างฝ่ายหลัง หลังจากที่ผู้ก่อการโปรเตสแตนต์วางแผน “การลอบวางแผนไรย์เฮาส์” ที่จะปลงพระองค์เองและดยุกแห่งยอร์กในปี ค.ศ. 1683 ที่ทำให้ผู้นำพรรควิกหลายคนถูกประหารชีวิตหรือถูกเนรเทศ พระเจ้าชาลส์ที่ 2 จึงทรงยุบสภาในปี ค.ศ. 1679 และทรงราชย์โดยไม่มีรัฐสภาจนเสด็จสวรรคตเมื่อวันที่ 6 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1685 ก่อนจะเสด็จสวรรคตพระเจ้าชาลส์ที่ 2 ก็ทรงเปลี่ยนไปนับถือโรมันคาทอลิกบนพระแท่นที่ประชวร พระเจ้าชาลส์ไม่มีพระราชโอรสธิดากับพระนางแคเธอรินแห่งบราแกนซา เพราะพระนางทรงเป็นหมัน แต่ทรงยอมรับว่ามีพระราชโอรสธิดานอกสมรส 12 องค์กับพระสนมหลายคน พระเจ้าชาลส์ที่ 2 ทรงเป็นที่รู้จักกันในพระนาม “ราชาเจ้าสำราญ” (Merrie Monarch) ซึ่งหมายถึงการใช้ชีวิตในราชสำนักของพระองค์ที่เต็มไปด้วยความสนุกสำราญซึ่งอาจจะเป็นผลมาจากการที่ถูกเก็บกดมาเป็นเวลานานภายใต้การปกครองของโอลิเวอร์ ครอมเวลล์และกลุ่มพิวริตัน.

พระเจ้าชาลส์ที่ 2 แห่งอังกฤษและยุทธการที่วุร์สเตอร์ · พระเจ้าชาลส์ที่ 2 แห่งอังกฤษและสงครามกลางเมืองอังกฤษ · ดูเพิ่มเติม »

กองทัพตัวแบบใหม่

หน้าปก "กฎ, กฎหมาย และระเบียบการฝึก" ของกองทัพตัวแบบใหม่ กองทัพตัวแบบใหม่ (New Model Army) ก่อตั้งเมื่อปี..

กองทัพตัวแบบใหม่และยุทธการที่วุร์สเตอร์ · กองทัพตัวแบบใหม่และสงครามกลางเมืองอังกฤษ · ดูเพิ่มเติม »

ยุทธการที่ดันบาร์ (ค.ศ. 1650)

ทธการที่ดันบาร์ (ค.ศ. 1650) (Battle of Dunbar (1650)) เกิดขึ้นเมื่อวันที่ 3 กันยายน ค.ศ. 1650 ที่ดันบาร์ในสกอตแลนด์และเป็นยุทธการในสงครามกลางเมืองอังกฤษครั้งที่ 3 ที่ฝ่ายรัฐสภาที่นำโดยโอลิเวอร์ ครอมเวลล์ได้รับชัยชนะต่อกองทัพสกอตแลนด์ที่นำโดยเดวิด เลสลี ลอร์ดนิวอาร์ก (David Leslie, Lord Newark) ที่มีความจงรักภักดีต่อพระเจ้าชาลส์ที่ 2 แห่งอังกฤษ ผู้ได้รับการสถาปนาให้เป็นพระมหากษัตริย์ของสกอตแลนด์เมื่อวันที่5 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1649.

ยุทธการที่ดันบาร์ (ค.ศ. 1650)และยุทธการที่วุร์สเตอร์ · ยุทธการที่ดันบาร์ (ค.ศ. 1650)และสงครามกลางเมืองอังกฤษ · ดูเพิ่มเติม »

วุร์สเตอร์

วุร์สเตอร์ (Worcester) เป็นนครและเมืองเทศมณฑลวุร์สเตอร์เชอร์ในภาคเวสต์มิดแลนส์ของอังกฤษ เมืองวุร์สเตอร์ตั้งอยู่ราว 30 ไมล์ (48 กิโลเมตร) ทางตะวันตกเฉียงใต้ของเมืองเบอร์มิงแฮม, 29 ไมล์ (47 กิโลเมตร) เหนือเมืองกลอสเตอร์ และมีประชากรประมาณ 94,300 คน วุร์สเตอร์มีแม่น้ำเซเวิร์นไหลผ่ากลางเมือง และเป็นเมืองที่ตั้งของมหาวิหารวุร์สเตอร์ที่สร้างมาตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 12 วุร์สเตอร์เป็นสนามรบของยุทธการที่วุร์สเตอร์ซึ่งเป็นยุทธการสุดท้ายของสงครามกลางเมืองอังกฤษ วุร์สเตอร์เป็นเมืองที่กองทัพตัวแบบใหม่ภายใต้การนำของโอลิเวอร์ ครอมเวลล์ได้รับชัยชนะต่อกองทัพฝ่ายกษัตริย์นิยมของพระเจ้าชาลส์ที่ 1ซึ่งเป็นผลให้อังกฤษเข้าสู่ยุคสมัยไร้กษัตริย์ที่อังกฤษและเวลส์เปลี่ยนระบบการปกครองเป็นสาธารณรัฐ นอกจากนั้นก็ยังศูนย์กลางของโรงงานทำเครื่องพอร์ซีเลนรอยัลวุร์สเตอร์และเป็นบ้านเกิดของคีตกวีเซอร์เอ็ดเวิร์ด เอลการ์ (Edward Elgar).

ยุทธการที่วุร์สเตอร์และวุร์สเตอร์ · วุร์สเตอร์และสงครามกลางเมืองอังกฤษ · ดูเพิ่มเติม »

หัวเกรียน

“ฝ่ายรัฐสภา” โดยจอห์น เพ็ตติ (John Pettie) กลุ่มหัวเกรียน หรือ ฝ่ายรัฐสภา (ภาษาอังกฤษ: Parliamentarians หรือ Roundhead) เป็นชื่อที่ใช้เรียกกลุ่มพิวริตันผู้สนับสนุนรัฐสภาแห่งอังกฤษระหว่างสงครามกลางเมืองอังกฤษ และเป็นผู้สนับสนุนโอลิเวอร์ ครอมเวลล์ และเป็นปฏิปักษ์ต่อสมเด็จพระเจ้าชาร์ลส์ที่ 1 แห่งอังกฤษ ครอมเวลล์ได้รับความก้าวหน้าทางการเมือง, เป็นสมาชิกของสภาสามัญชนผู้มีบทบาทสำคัญ และเป็นนายทหารผู้มีความสามารถ และในที่สุดก็แต่งตั้งตนเองเป็นเจ้าผู้พิทักษ์ ในปี ค.ศ. 1653 ฐานะทางการเมืองและทางการศาสนาของ “ฝ่ายรัฐสภา” รวมทั้งกลุ่มเพรสไบทีเรียน (Presbyterians), กลุ่มรีพับลิกันคลาสสิก (Classical republicanism), กลุ่มเลเวลเลอร์ (Levellers) และ กลุ่มอิสระทางศาสนา (Independents) ศัตรูของ “ฝ่ายรัฐสภา” คือ “ฝ่ายกษัตริย์นิยม” ผู้สนับสนุนพระเจ้าชาร์ลส์หรือที่เรียกเล่นๆ ว่า “กลุ่มคาวาเลียร์” (Cavalier).

ยุทธการที่วุร์สเตอร์และหัวเกรียน · สงครามกลางเมืองอังกฤษและหัวเกรียน · ดูเพิ่มเติม »

จอร์จ มองก์ ดยุกที่ 1 แห่งอัลเบมาร์ล

อร์จ มองก์ ดยุกที่ 1 แห่งอัลเบมาร์ล (George Monck, 1st Duke of Albemarle; 6 ธันวาคม ค.ศ. 1608 – 3 มกราคม ค.ศ. 1670) เป็นนักการทหารและนักการเมืองชาวอังกฤษที่มีบทบาทสำคัญในการฟื้นฟูราชวงศ์อังกฤษกลับคืนให้แก่สมเด็จพระเจ้าชาร์ลส์ที่ 2.

จอร์จ มองก์ ดยุกที่ 1 แห่งอัลเบมาร์ลและยุทธการที่วุร์สเตอร์ · จอร์จ มองก์ ดยุกที่ 1 แห่งอัลเบมาร์ลและสงครามกลางเมืองอังกฤษ · ดูเพิ่มเติม »

จอห์น แลมเบิร์ต (นายพล)

นายพลจอห์น แลมเบิร์ต (John Lambert) (ฤดูใบไม้ร่วง ค.ศ. 1619 - มีนาคม ค.ศ. 1684) แลมเบิร์ตเป็นนายพลของฝ่ายรัฐสภาในสงครามกลางเมืองอังกฤษ นายพลแลมเบิร์ตเกิดในฤดูใบไม้ร่วงของปี ค.ศ. 1619 ที่คาร์ลตัน ฮอลล์, เคิร์คบี มาลแลมในมลฑลอีสต์ไรดิงแห่งยอร์คเชอร์ปัจจุบันในครอบครัวที่มั่นคง แลมเบิร์ตศึกษากฎหมายที่อินส์ออฟคอร์ตในกรุงลอนดอน ในปี..

จอห์น แลมเบิร์ต (นายพล)และยุทธการที่วุร์สเตอร์ · จอห์น แลมเบิร์ต (นายพล)และสงครามกลางเมืองอังกฤษ · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศสกอตแลนด์

กอตแลนด์ (Scotland; Alba อาละเปอะ) เป็นชาติของชนชาวสก็อตและเป็นส่วนหนึ่งของประเทศสหราชอาณาจักร โดยครอบคลุมพื้นที่หนึ่งในสามทางตอนเหนือของเกาะบริเตนใหญ่ มีพรมแดนร่วมกับประเทศอังกฤษทางทิศใต้ ส่วนที่เหลือล้อมรอบด้วยมหาสมุทรแอตแลนติก ทางตะวันออกเป็นทะเลเหนือ และทิศตะวันตกเฉียงใต้จดช่องแคบเหนือและทะเลไอร์แลนด์ นอกเหนือจากแผ่นดินใหญ่แล้ว ประเทศสกอตแลนด์ยังมีเกาะอีกกว่า 790 เกาะ เอดินบะระ เมืองหลวงและนครใหญ่ที่สุดอันดับสองของประเทศ เป็นศูนย์กลางยุคเรืองปัญญาของชาวสกอตในคริสต์ศตวรรษที่ 18 ซึ่งเปลี่ยนสกอตแลนด์มาเป็นมหาอำนาจทางพาณิชย์ ทางการศึกษา และทางอุตสาหกรรมเมืองหนึ่งของทวีปยุโรป ฯ กลาสโกว์ นครใหญ่สุดของสกอตแลนด์ เคยเป็นนครอุตสาหกรรมชั้นนำของโลกและปัจจุบันเป็นศูนย์กลางของเขตเมืองขยายเกรตเตอร์กลาสโกว์ น่านน้ำสกอตแลนด์ประกอบด้วยทะเลแอตแลนติกเหนือและทะเลเหนือ ซึ่งมีปริมาณน้ำมันสำรองใหญ่สุดในสหภาพยุโรป ทำให้เมืองแอเบอร์ดีน นครใหญ่สุดอันดับสามในสกอตแลนด์ ได้ชื่อว่าเป็นเมืองหลวงน้ำมันของทวีปยุโรป เดิมราชอาณาจักรสกอตแลนด์เป็นประเทศอิสระที่ไม่ขึ้นกับประเทศอังกฤษจนถึง..

ประเทศสกอตแลนด์และยุทธการที่วุร์สเตอร์ · ประเทศสกอตแลนด์และสงครามกลางเมืองอังกฤษ · ดูเพิ่มเติม »

นิวอิงแลนด์

นิวอิงแลนด์ (New England) เป็นเขตหนึ่งในสหรัฐอเมริกาตั้งอยู่ทางตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศ โดยมีเมืองบอสตัน เป็นเมืองขนาดใหญ่ในเขต เขตนิวอิงแลนด์ประกอบด้วย 6 รัฐ ได้แก่ รัฐคอนเนตทิคัต รัฐนิวแฮมป์เชียร์ รัฐเมน รัฐแมสซาชูเซตส์ รัฐโรดไอแลนด์ และ รัฐเวอร์มอนต์ นิวอิงแลนด์มีทีมกีฬาที่สำคัญคือ นิวอิงแลนด์ เพทริออตส์ ทีมอเมริกันฟุตบอลจากเมืองฟอกซ์โบโร และทีมฟุตบอล นิวอิงแลนด์ เรฟโวลูชัน.

นิวอิงแลนด์และยุทธการที่วุร์สเตอร์ · นิวอิงแลนด์และสงครามกลางเมืองอังกฤษ · ดูเพิ่มเติม »

แม่น้ำเซเวิร์น

แม่น้ำเซเวิร์น (River Severn; Afon Hafren; Sabrina) เป็นแม่น้ำสายที่ยาวที่สุดในสหราชอาณาจักรที่ยาว 354 ที่สูงที่สุดที่แม่น้ำไหลสูง 610 เมตรจากระดับน้ำทะเลที่พลินลิมอน (Plynlimon) ใกล้เพาวิส (Powys) ในเทือกเขาคัมเบรียในเวลส์ และไหลผ่านมณฑลชร็อพเชอร์, มณฑลวูสเตอร์เชอร์ และมณฑลกลอสเตอร์เชอร์ โดยผ่านเมืองชรูสบรี, วูสเตอร์และกลอสเตอร์ แม่น้ำเซเวิร์นถือว่าเป็นหนึ่งในแม่น้ำสำคัญสิบสายของสหราชอาณาจักร เซเวิร์นกลายเป็นปากน้ำระหว่างทางใต้ของมณฑลกลอสเตอร์เชอร์และมอนมอนมอธเชอร์ จากนั้นก็ไหลลงสู่ช่องแคบบริสตอล ไปยังทะเลเคลติก และในที่สุดมหาสมุทรแอตแลนติก บริเวณไหลผ่านของแม่น้ำเซเวิร์นครอบคลุมบริเวณ 11,420 ตารางกิโลเมตรที่ไม่รวมแม่น้ำวาย (River Wye) และแม่น้ำเอวอน สาขาสำคัญของแม่น้ำเซเวิร์นรวมทั้งแม่น้ำเวอร์นุย (River Vyrnwy), แม่น้ำทีม (River Teme), แม่น้ำอัปเพอร์เอวอน (Upper Avon) และแม่น้ำสเตาเวอร์ (River Stour).

ยุทธการที่วุร์สเตอร์และแม่น้ำเซเวิร์น · สงครามกลางเมืองอังกฤษและแม่น้ำเซเวิร์น · ดูเพิ่มเติม »

แลงคาเชอร์

แลงคาสเชอร์ (ภาษาอังกฤษ: Lancashire) เป็นมณฑลในอังกฤษในสหราชอาณาจักรที่ตั้งอยู่ทางตะวันตกเฉียงเหนือของสหราชอาณาจักร ด้านตะวันตกติดกับทะเลไอริช ชื่อของมณฑลมาจากชื่อเมืองแลงคาสเตอร์ หรือบางที่เรียกว่า “เคานตี้แห่งแลงคาสเตอร์” - Lancashire และถือว่าเป็นเมืองศูนย์กลางการปกครอง แลงคาสเชอร์เรียกสั้นๆ ว่า “Lancs” แลงคาสเชอร์มีประชาชนรวมทั้งสิ้นประมาณ 1,451,500 คน ในเนื้อที่ 3079 ตารางกิโลเมตร ผู้ที่อาศัยอยู่ในแลงคาสเชอร์เรียกว่า “แลงคาสเตรียน” แลงคาสเชอร์แบ่งการปกครองเป็นสิบสี่แขวง: เวสต์แลงคาสเชอร์, คอร์ลีย์, เซาท์ริบเบิล, ฟิลด์, เพรสตัน, ไวร์, นครแลงคาสเตอร์, ริบเบิลแวลลีย์, เพนเดิล, เบิร์นลีย์, รอสเซ็นเดล, ฮินด์เบิร์น, แบล็คพูล, และ แบล็คเบิร์นและดาร์เวน โดยมีศูนย์กลางการปกครองอยู่ที่ เพรสตัน ประวัติศาสตร์แลงคาสเชอร์อาจจะเริ่มราวคริสต์ศตวรรษที่ 12 ในบันทึกทะเบียนราษฎรดูมสเดย์ (Domesday Book) ที่ทำในปี..

ยุทธการที่วุร์สเตอร์และแลงคาเชอร์ · สงครามกลางเมืองอังกฤษและแลงคาเชอร์ · ดูเพิ่มเติม »

แคริบเบียน

แคริเบียน (The Caribbean) เป็นกลุ่มประเทศและหมู่เกาะต่างในเขตทะเลแคริเบียนซึ่งอยู่ทางตะวันออกเฉียงใต้ของเม็กซิโก ทางตะวันตกเฉียงเหนือของเวเนซูเอลา มีรัฐอยู่ราวๆ 25 รัฐซึ่งรวมรัฐอิสระและรัฐภายใต้ความคุ้มครอง (dependencies).

ยุทธการที่วุร์สเตอร์และแคริบเบียน · สงครามกลางเมืองอังกฤษและแคริบเบียน · ดูเพิ่มเติม »

แควาเลียร์

แควาเลียร์ (Cavalier) เป็นคำที่ฝ่ายรัฐสภาใช้เรียกผู้นิยมกษัตริย์ที่สนับสนุนพระเจ้าชาลส์ที่ 1 ระหว่างสงครามกลางเมืองอังกฤษ (ระหว่างปี ค.ศ. 1642 ถึงปี ค.ศ. 1651) หรือเรียก ฝ่ายนิยมเจ้า (Royalists) เจ้าชายรูเพิร์ตแห่งไรน์ ผู้ทรงเป็นแม่ทัพกองทหารม้าของพระเจ้าชาลส์ ทรงมีลักษณะที่เรียกได้ว่าเป็นตัวอย่างของผู้เป็น แควาเลียร.

ยุทธการที่วุร์สเตอร์และแควาเลียร์ · สงครามกลางเมืองอังกฤษและแควาเลียร์ · ดูเพิ่มเติม »

โอลิเวอร์ ครอมเวลล์

อลิเวอร์ ครอมเวลล์ (Oliver Cromwell) (25 เมษายน ค.ศ. 1599 (ปฏิทินเก่า) - 3 กันยายน ค.ศ. 1658 (ปฏิทินเก่า) เป็นผู้นำทางการทหารและทางการเมืองชาวอังกฤษที่เป็นที่รู้จักกันดีในการเกี่ยวข้องกับเปลี่ยนระบบการปกครองของอังกฤษเป็นแบบสาธารณรัฐในฐานะ “เจ้าผู้พิทักษ์” (Lord Protector) แห่งอังกฤษ, สกอตแลนด์ และไอร์แลนด์ ครอมเวลล์เป็นแม่ทัพคนหนึ่งของกองทัพตัวแบบใหม่ (New Model Army) ผู้ได้รับชัยชนะต่อกองทัพของ ฝ่ายกษัตริย์นิยม (Cavalier) ในสงครามกลางเมืองอังกฤษ หลังจากปลงพระชนม์สมเด็จพระเจ้าชาร์ลส์ที่ 1 ในปี ค.ศ. 1649แล้ว ครอมเวลล์ก็มีอิทธิพลต่อเครือจักรภพแห่งอังกฤษ อยู่เพียงชั่วระยะเวลาสั้นในขณะเดียวกับที่ได้รับชัยชนะในการปราบปรามสกอตแลนด์และไอร์แลนด์ และปกครองในฐานะ “เจ้าผู้พิทักษ์” ตั้งแต่ปี ค.ศ. 1653 จนกระทั่งถึงแก่อสัญกรรมในปี ค.ศ. 1658.

ยุทธการที่วุร์สเตอร์และโอลิเวอร์ ครอมเวลล์ · สงครามกลางเมืองอังกฤษและโอลิเวอร์ ครอมเวลล์ · ดูเพิ่มเติม »

เบอร์มิวดา

อร์มิวดา เป็นดินแดนโพ้นทะเลของสหราชอาณาจักรในมหาสมุทรแอตแลนติก ตั้งอยู่นอกชายฝั่งตะวันออกของสหรัฐอเมริกาห่างจากรัฐนอร์ทแคโรไลนาไปทางตะวันออก 580 ไมล์ เบอร์มิวดาเป็นดินแดนโพ้นทะเลที่เก่าแก่ที่สุดของสหราชอาณาจักร ที่ยังคงเหลืออยู่ โดยมีชาวอังกฤษมาตั้งรกรากก่อนการรวมตัวเป็นสหราชอาณาจักรถึงสองศตวรรษ โดยค้นพบครั้งแรกเมื่อ พ.ศ. 2152 (ค.ศ. 1609).

ยุทธการที่วุร์สเตอร์และเบอร์มิวดา · สงครามกลางเมืองอังกฤษและเบอร์มิวดา · ดูเพิ่มเติม »

เจมส์ แฮมิลตัน ดยุกที่ 1 แห่งแฮมิลตัน

มส์ แฮมมิลตัน ดยุคแห่งแฮมมิลตันที่ 1 (James Hamilton, 1st Duke of Hamilton) (19 มิถุนายน ค.ศ. 1606 - 9 มีนาคม ค.ศ. 1649) เจมส์ แฮมมิลตันเป็นนายพลของกองทัพฝ่ายกษัตริย์นิยมชาวสกอตผู้มีบทบาทสำคัญในยุทธการเพรสตันในสงครามกลางสามอาณาจักร/สงครามกลางเมืองอังกฤษครั้งที่ 2 แต่พ่ายแพ้และถูกจับได้เมื่อวันที่ 25 สิงหาคม ค.ศ. 1648 ในที่สุดก็ถูกพิจารณาโทษและถูกประหารชีวิตเมื่อวันที่ 9 มีนาคม ค.ศ. 1649.

ยุทธการที่วุร์สเตอร์และเจมส์ แฮมิลตัน ดยุกที่ 1 แห่งแฮมิลตัน · สงครามกลางเมืองอังกฤษและเจมส์ แฮมิลตัน ดยุกที่ 1 แห่งแฮมิลตัน · ดูเพิ่มเติม »

19 สิงหาคม

วันที่ 19 สิงหาคม เป็นวันที่ 231 ของปี (วันที่ 232 ในปีอธิกสุรทิน) ตามปฏิทินสุริยคติแบบเกรกอเรียน เมื่อถึงวันนี้จะยังเหลือวันอีก 134 วันในปีนั้น.

19 สิงหาคมและยุทธการที่วุร์สเตอร์ · 19 สิงหาคมและสงครามกลางเมืองอังกฤษ · ดูเพิ่มเติม »

22 สิงหาคม

วันที่ 22 สิงหาคม เป็นวันที่ 234 ของปี (วันที่ 235 ในปีอธิกสุรทิน) ตามปฏิทินสุริยคติแบบเกรกอเรียน เมื่อถึงวันนี้จะยังเหลือวันอีก 131 วันในปีนั้น.

22 สิงหาคมและยุทธการที่วุร์สเตอร์ · 22 สิงหาคมและสงครามกลางเมืองอังกฤษ · ดูเพิ่มเติม »

3 กันยายน

วันที่ 3 กันยายน เป็นวันที่ 246 ของปี (วันที่ 247 ในปีอธิกสุรทิน) ตามปฏิทินสุริยคติแบบเกรกอเรียน เมื่อถึงวันนี้จะยังเหลือวันอีก 119 วันในปีนั้น.

3 กันยายนและยุทธการที่วุร์สเตอร์ · 3 กันยายนและสงครามกลางเมืองอังกฤษ · ดูเพิ่มเติม »

รายการด้านบนตอบคำถามต่อไปนี้

การเปรียบเทียบระหว่าง ยุทธการที่วุร์สเตอร์และสงครามกลางเมืองอังกฤษ

ยุทธการที่วุร์สเตอร์ มี 46 ความสัมพันธ์ขณะที่ สงครามกลางเมืองอังกฤษ มี 150 ขณะที่พวกเขามีเหมือนกัน 21, ดัชนี Jaccard คือ 10.71% = 21 / (46 + 150)

การอ้างอิง

บทความนี้แสดงความสัมพันธ์ระหว่าง ยุทธการที่วุร์สเตอร์และสงครามกลางเมืองอังกฤษ หากต้องการเข้าถึงบทความแต่ละบทความที่ได้รับการรวบรวมข้อมูลโปรดไปที่:

Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »