โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ติดตั้ง
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

ยีราฟ (สกุล)และโอคาพี

ทางลัด: ความแตกต่างความคล้ายคลึงกันค่าสัมประสิทธิ์การเปรียบเทียบ Jaccardการอ้างอิง

ความแตกต่างระหว่าง ยีราฟ (สกุล)และโอคาพี

ยีราฟ (สกุล) vs. โอคาพี

thumb ยีราฟ (ชื่อวิทยาศาสตร์: Giraffa) เป็นสกุลหนึ่งของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมในวงศ์ Giraffidae เป็นสัตว์เคี้ยวเอื้อง มีลักษณะเด่น คือ เป็นสัตว์ที่ตัวสูง ขายาว ลำคอยาว มีเขา 1 คู่ ตัวมีสีเหลืองและสีน้ำตาลเข้มเป็นลาย มีถิ่นกำเนิดในทวีปแอฟริกา ตัวผู้มีความสูง 4.8 ถึง 5.5 เมตร (16-18 ฟุต) และมีน้ำหนักถึง 900 กิโลกรัม (2,000 ปอนด์) ตัวเมียมีขนาดและความสูงน้อยกว่าเล็กน้อย จัดเป็นสัตว์บกที่มีความสูงที่สุดในโลก ยีราฟ มีเขาทั้งตัวผู้และตัวเมีย ไม่ผลัดเขา ที่เขามีขนปกคลุมอยู่ เขาของยีราฟเป็นสิ่งแสดงถึงความแตกต่างระหว่างเพศ เขาของยีราฟตัวผู้ด้านบนมีลักษณะตัดราบเรียบและมีความใหญ่อวบกว่า ขณะที่ของตัวเมียจะมีขนสีดำปกคลุมเห็นเป็นพุ่มชัดเจน มีพฤติกรรมอาศัยอยู่รวมเป็นฝูงราว 15-20 ตัว หรือมากกว่านั้น ในทุ่งโล่งร่วมกับสัตว์กินพืชชนิดอื่น ๆ เช่น แอนทิโลป, ม้าลาย หรือนกกระจอกเทศ เข้าสู่วัยเจริญพันธุ์เมื่ออายุได้ 3 ปีครึ่ง ตั้งท้องนาน 420-461 วัน ลูกยีราฟหย่านมเมื่ออายุได้ 10 เดือน เมื่อคลอดออกมาแล้วจะสามารถยืนและเดินได้ภายในเวลาไม่นานเหมือนสัตว์กีบคู่ทั่วไป และวิ่งได้ภายในเวลา 2-3 วัน ตัวเมียมีเต้านมทั้งหมด 4 เต้า ยีราฟจะเป็นสัดทุก ๆ 14 วัน แต่ละครั้งเป็นอยู่ราว 24 ชั่วโมง มีอายุขัยเฉลี่ย 20-30 ปี. อคาพี (okapi; ชื่อวิทยาศาสตร์: Okapia johnstoni) เป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม อันดับสัตว์กีบคู่ ในวงศ์ Giraffidae เช่นเดียวกับยีราฟ เป็นสัตว์พื้นเมืองของเขตป่าฝนอีตูรี ซึ่งตั้งอยู่ทางตะวันออกเฉียงเหนือของสาธารณรัฐประชาธิปไตยคองโก ในแอฟริกากลาง แม้ว่าโอคาพีจะมีลายแถบและรูปร่างที่คล้ายกับม้าลาย แต่ที่จริงแล้วมีสายสัมพันธ์กับยีราฟ อันเป็นสัตว์ที่อยู่ในวงศ์เดียวกัน และถือว่าเป็นสัตว์เพียง 1 ใน 2 ชนิดเท่านั้นในวงศ์นี้ ที่ยังดำรงเผ่าพันธุ์มาจนถึงปัจจุบันนี้ จึงถือว่าเป็นซากดึกดำบรรพ์ที่มีชีวิตอยู่อีกชนิดหนึ่ง โอคาพีมีความสูงเพียงประมาณ 1.5-2 เมตร บริเวณขาทั้ง 4 ข้างและบั้นท้ายจะมีแถบดำคล้ายกับม้าลาย ส่วนบริเวณคอนั้นจะเห็นเป็นแถบไม่ชัดนัก อีกทั้งยังมีนัยน์ตาคล้ายคลึงกับกวางหรือแอนทีโลป โอคาพีตัวผู้นั้นจะมีเขา 2 เขา โดยหากมองจากด้านข้างแล้วจะทำให้ดูราวกับว่ามีเพียงเขาเดียว ซึ่งในอดีตมีผู้เคยเข้าใจว่าโอคาพี คือ ยูนิคอร์น สัตว์ในเทพปกรณัมกรีกด้วยซ้ำ แถบดำบนตัวของโอคาพีนั้น นอกจากจะเป็นสิ่งที่ช่วยพรางตัวในธรรมชาติแล้ว ยังเชื่อกันว่าเป็นสิ่งที่ช่วยให้โอคาพีวัยอ่อนสามารถที่จะสังเกตเห็นแม่ของตัวเองได้ง่ายขึ้นในสภาพแวดล้อมที่เป็นป่าฝนที่หนาทึบ เพราะถึงแม้โอคาพีเป็นสัตว์ที่รักสันโดษ มักใช้ชีวิตตามลำพัง แต่โอคาพีตัวเมียจะดูแลและไปไหนมาไหนกับลูกของตัวเองเสมอ โดยปกติแล้ว โอคาพีมีลำตัวสีน้ำตาลแดง มีความยาวประมาณ 2-2.5 เมตรและสูงประมาณ 1.5-2 เมตร ส่วนหางจะยาวประมาณ 30-40 เซนติเมตร เมื่อโตเต็มวัย โอคาพีจะมีน้ำหนักอยู่ในราว 200-250 กิโลกรัม และถึงแม้ว่าลำตัวของโอคาพีจะคล้ายคลึงกับยีราฟ แต่ลำคอก็มิได้ยืดยาวเหมือนยีราฟแต่อย่างใด โอคาพีเป็นที่รู้จักครั้งแรกของโลกในช่วงต้นศตวรรษที่ 20 จากการค้นพบของเซอร์แฮร์รี จอห์นสตัน ผู้สำเร็จราชการแห่งจักรวรรดิอังกฤษ ที่พบเห็นชาวปิกมีนุ่งห่มหนังของโอคาพี ในครั้งแรกเซอร์จอห์นสตันเข้าใจว่าเป็นหนังของม้าลายหน้า 71-72, สัตว์สวยป่างาม โดย ชมรมนิเวศวิทยา มหาวิทยาลัยมหิดล (สิงหาคม, 2518) ปัจจุบัน มีโอคาพีอยู่ในป่าที่ประมาณ 10,000–20,000 ตัวใน..

ความคล้ายคลึงกันระหว่าง ยีราฟ (สกุล)และโอคาพี

ยีราฟ (สกุล)และโอคาพี มี 8 สิ่งที่เหมือนกัน (ใน ยูเนี่ยนพีเดีย): การตั้งชื่อทวินามม้าลายสัตว์สัตว์มีแกนสันหลังสัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนมสปีชีส์อันดับย่อยสัตว์เคี้ยวเอื้องอันดับสัตว์กีบคู่

การตั้งชื่อทวินาม

ระบบการเรียกชื่อสิ่งมีชีวิตแบบทวินาม (Binomial nomenclature) เป็นระบบการเรียกชื่อสิ่งมีชีวิตแต่ละสปีชีส์ที่ใช้อยู่ในปัจจุบัน ชื่อแต่ละชื่อในระบบนี้เรียกว่า ชื่อทวินาม (Binomial name) หรือ ชื่อวิทยาศาสตร์ (Scientific name) คือชื่อที่ใช้เรียกแทนสิ่งมีชีวิตในสปีชีส์ต่าง ๆ อย่างเป็นทางการ ชื่อทวินามจะเป็นภาษาละติน ประกอบด้วยคำศัพท์ 2 คำ คือ สกุล และ สปีชีส์ ซึ่งขึ้นอยู่กับสิ่งมีชีวิตที่ต้องการระบุ โดยรายละเอียดปลีกย่อยอาจแตกต่างกันออกไปบ้าง.

การตั้งชื่อทวินามและยีราฟ (สกุล) · การตั้งชื่อทวินามและโอคาพี · ดูเพิ่มเติม »

ม้าลาย

thumb ม้าลาย เป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมกีบคี่ จัดอยู่ในสกุลม้า (Eguus) และจัดอยู่ในสกุลย่อย Hippotigris (แปลว่า ม้าลายเสือ) และDolichohippus แบ่งออกได้เป็น 3 ชนิด (ดูในตาราง) thumb.

ม้าลายและยีราฟ (สกุล) · ม้าลายและโอคาพี · ดูเพิ่มเติม »

สัตว์

ัตว์ (Animal) เป็นสิ่งมีชีวิตยูแคริโอตหลายเซลล์ในอาณาจักร Animalia (หรือเรียก เมตาซัว) แผนกาย (body plan) ของพวกมันสุดท้ายคงที่เมื่อพัฒนา แม้สัตว์บางชนิดมีกระบวนการการเปลี่ยนสัณฐานภายหลังในช่วงชีวิต สัตว์ส่วนใหญ่เคลื่อนที่ได้ สัตว์ทุกชนิดต้องกินสิ่งมีชีวิตอื่นหรือผลิตภัณฑ์ของสิ่งมีชีวิตเพื่อการดำรงชีพ (สิ่งมีชีวิตสร้างอาหารเองไม่ได้) ไฟลัมสัตว์ที่รู้จักกันดีที่สุดปรากฏในบันทึกฟอสซิลเป็นสปีชีส์ภาคพื้นสมุทรระหว่างการระเบิดแคมเบรียน (Cambrian explosion) ประมาณ 542 ล้านปีก่อน สัตว์แบ่งเป็นกลุ่มย่อยหลายกลุ่ม บางกลุ่ม เช่น สัตว์มีกระดูกสันหลัง (นก สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม สัตว์สะเทินน้ำสะเทินบก สัตว์เลื้อยคลาน ปลา) มอลลัสกา (หอยกาบ หอยนางรม ปลาหมึก หมึกสาย หอยทาก) สัตว์ขาปล้อง (กิ้งกือ ตะขาบ แมลง แมงมุม แมงป่อง ปู ลอบสเตอร์ กุ้ง) สัตว์พวกหนอนปล้อง (ไส้เดือนดิน ปลิง) ฟองน้ำ และแมงกะพรุน.

ยีราฟ (สกุล)และสัตว์ · สัตว์และโอคาพี · ดูเพิ่มเติม »

สัตว์มีแกนสันหลัง

ัตว์มีแกนสันหลัง คือสัตว์ในไฟลัมคอร์ดาตา พวกมันจะมีแกนสันหลัง ใยประสาทส่วนหลังกลวง ช่องคอหอย หลอดเส้นประสาทกลวงส่วนหลัง และหางหลังทวารหนัก ในช่วงหนึ่งของวงจรชีวิต สัตว์มีแกนสันหลังเป็นพวกดิวเทอโรสโตม กล่าวคือในช่วงระยะตัวอ่อน ทวารหนักเกิดก่อนปาก และเป็นซีโลเมตที่มีสมมาตรด้านข้าง ในกรณีของสัตว์มีแกนสันหลังที่มีกระดูกสันหลัง แกนสันหลังจะถูกแทนที่โดยกระดูกสันหลังในช่วงเจริญเติบโต และพวกมันอาจจะมีปล้องตามร่างกาย ในอนุกรมวิธาน ตัวไฟลัมเองประกอบไปด้วยไฟลัมย่อยเวอร์เตบราตา (ซึ่งประกอบด้วย ปลา สัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำ สัตว์เลื้อยคลาน สัตว์ปีก และสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม) ทูนิคาตา (ซึ่งรวมทั้งซาล์ปและเพรียงหัวหอม) และเซฟาโลคอร์ดาตา ประกอบด้วยแหลนทะเล และยังรวมถึงบางกลุ่มที่สูญพันธุ์ไปแล้ว บางครั้งกลุ่มสัตว์มีกระดูกสันหลังถูกจัดรวมอยู่กับกลุ่มสัตว์มีกระโหลกศีรษะ สัตว์มีแกนสันหลังมีมากกว่า 65,000 สปีชีส์ที่ยังมีชีวิตอยู่ กว่าครึ่งเป็นพวกปลากระดูกแข็ง วาฬและเหยี่ยวเพเรกริน สัตว์ที่มีขนาดใหญ่ที่สุดและเคลื่อนที่เร็วที่สุดตามลำดับ เป็นสัตว์มีแกนสันหลังเช่นเดียวกันกับมนุษย์ ซากดึกดำบรรพ์ของสัตว์มีแกนสันหลังยุคแรกๆ มีอายุย้อนไปถึงในช่วงการระเบิดยุคแคมเบรียน.

ยีราฟ (สกุล)และสัตว์มีแกนสันหลัง · สัตว์มีแกนสันหลังและโอคาพี · ดูเพิ่มเติม »

สัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนม

ัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนม (Mammalia) จัดอยู่ในไฟลัมสัตว์มีแกนสันหลัง โดยคำว่า Mammalia มาจากคำว่า Mamma ที่มีความหมายว่า "หน้าอก" เป็นกลุ่มของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนม ที่มีการวิวัฒนาการและพัฒนาร่างกายที่ดีหลากหลายประการ รวมทั้งมีระบบประสาทที่เจริญก้าวหน้า สามารถดำรงชีวิตได้ในทุกสภาพสิ่งแวดล้อมสัตววิทยา (สัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนม), บพิธ-นันทพร จารุพันธุ์, สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, 2547, หน้า 411 มีขนาดของร่างกายและรูปพรรณสัณฐานที่แตกต่างกันออกไป รวมถึงการทำงานของระบบต่าง ๆ ภายในร่างกาย ที่มีการปรับเปลี่ยนไปตามลักษณะของสายพันธุ์ มีลักษณะเด่นคือมีต่อมน้ำนมที่มีเฉพาะในเพศเมียเท่านั้น เพื่อผลิตน้ำนมเพื่อใช้เลี้ยงลูกวัยแรกเกิด เป็นสัตว์เลือดอุ่น มีขนเป็นเส้น ๆ (hair) หรือขนอ่อน (fur) ปกคลุมทั่วทั้งร่างกาย เพื่อเป็นการรักษาอุณหภูมิในร่างกาย ยกเว้นสัตว์น้ำที่ไม่มีขน สัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนม ไม่จัดอยู่ในประเภทสัตว์กลุ่มใหญ่ คือมีจำนวนประชากรประมาณ 4,500 ชนิด ซึ่งถือว่าเป็นปริมาณน้อยมากเมื่อเทียบกับนก ที่มีประมาณ 9,200 ชนิด และปลาอีกประมาณ 20,000 ชนิด รวมทั้งแมลงอีกประมาณ 800,000 ชนิด ส่วนใหญ่เป็นสัตว์บก เช่น สุนัข ช้าง ลิง เสือ สิงโต จิงโจ้ เม่น หนู ฯลฯ สำหรับสัตว์น้ำที่จัดเป็นเลี้ยงลูกด้วยน้ำนม ได้แก่ โลมา วาฬ มานาทีและพะยูน แต่สำหรับสัตว์ปีกประเภทเดียวที่เลี้ยงลูกด้วยน้ำนมคือค้างคาว ซึ่งกระรอกบินและบ่างนั้น ไม่จัดอยู่ในประเภทของสัตว์ปีก เนื่องจากใช้ปีกในการร่อนไปได้เพียงแค่ระยะหนึ่งเท่านั้น สัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนมส่วนใหญ่ออกลูกเป็นตัว ยกเว้นตุ่นปากเป็ดและอีคิดนาเท่านั้นที่ออกลูกเป็น.

ยีราฟ (สกุล)และสัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนม · สัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนมและโอคาพี · ดูเพิ่มเติม »

สปีชีส์

ในวิชาชีววิทยา ชนิด หรือทับศัพท์ว่า สปีชีส์ (species, ย่อ: sp., รูปพหูพจน์ย่อ: spp.) เป็นหน่วยการจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์พื้นฐานและอันดับอนุกรมวิธานหนึ่ง มักนิยามว่า สปีชีส์เป็นกลุ่มอินทรีย์ใหญ่สุดที่สามารถสืบพันธุ์แล้วออกลูกที่สืบพันธุ์ได้ การมีลักษณะปรับตัวเฉพาะบางท้องถิ่นอาจแบ่งสปีชีส์ต่ออีกได้เป็น "ชื่อต่ำกว่าระดับชนิด" (infraspecific taxa) เช่น ชนิดย่อย (ในทางพฤกษศาสตร์ มีใช้คำอื่น เช่น พันธุ์ (variety) พันธุ์ย่อยและแบบ (forma)).

ยีราฟ (สกุล)และสปีชีส์ · สปีชีส์และโอคาพี · ดูเพิ่มเติม »

อันดับย่อยสัตว์เคี้ยวเอื้อง

ัตว์เคี้ยวเอื้อง (ruminant) เป็นอันดับย่อยของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม ในอันดับสัตว์กีบคู่ (Artiodactyla) ใช้ชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Ruminantia สัตว์เคี้ยวเอื้องประกอบไปด้วยสัตว์ส่วนใหญ่ในอันดับนี้ ได้แก่ วัว, ควาย, แพะ, แกะ, กวาง และแอนทิโลป ลักษณะร่วมของสัตว์เคี้ยวเอื้อง ก็คือ มี กระเพาะ 4 ห้อง ที่เมื่อกินอาหารไปแล้ว คือ หญ้า คายออกมาเคี้ยวอย่างช้า ๆ อีกครั้งในเวลากลางคืน ก่อนจะถูกนำไปใช้เป็นประโยชน์ต่อร่างกาย โดยกระเพาะของสัตว์เคี้ยวเอื้องจะแบ่งออกเป็น 4 ห้อง คือ Rumen (ผ้าขี้ริ้ว), Reticulum (รังผึ้ง), Omasum (สามสิบกลีบ) และ Abomasum (กระเพาะแท้ หรือกระเพาะจริง).

ยีราฟ (สกุล)และอันดับย่อยสัตว์เคี้ยวเอื้อง · อันดับย่อยสัตว์เคี้ยวเอื้องและโอคาพี · ดูเพิ่มเติม »

อันดับสัตว์กีบคู่

อันดับสัตว์กีบคู่ เป็นอันดับของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมอันดับหนึ่ง ใช้ชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Artiodactyla (/อา-ทิ-โอ-แดค-ทิ-ล่า/) มีลักษณะเด่น คือ มีนิ้วเท้าที่เป็นกีบที่เป็นคู่ แตกต่างไปจากสัตว์ที่อยู่ในอันดับสัตว์กีบคี่ (Perissodactyla) ซึ่งมีกีบนิ้วเท้าเป็นจำนวนคี่ ทั้งสองอันดับล้วนแต่เป็นสัตว์กินพืช ที่จะกินพืชลักษณะแตกต่างกันออกไปตามสกุลและวงศ์ หรือชนิด กระจายพันธุ์ออกไปในทุกทวีปทั่วโลก ยกเว้นโอเชียเนีย ปัจจุบัน แบ่งออกเป็น 10 วงศ์ ราว 220 ชนิด โดยแบ่งออกได้เป็น 3 อันดับย่อย โดยแบ่งตามลักษณะของกระเพาะอาหาร โดยแบ่งออกเป็นห้อง ๆ หรือส่วน คือ.

ยีราฟ (สกุล)และอันดับสัตว์กีบคู่ · อันดับสัตว์กีบคู่และโอคาพี · ดูเพิ่มเติม »

รายการด้านบนตอบคำถามต่อไปนี้

การเปรียบเทียบระหว่าง ยีราฟ (สกุล)และโอคาพี

ยีราฟ (สกุล) มี 37 ความสัมพันธ์ขณะที่ โอคาพี มี 15 ขณะที่พวกเขามีเหมือนกัน 8, ดัชนี Jaccard คือ 15.38% = 8 / (37 + 15)

การอ้างอิง

บทความนี้แสดงความสัมพันธ์ระหว่าง ยีราฟ (สกุล)และโอคาพี หากต้องการเข้าถึงบทความแต่ละบทความที่ได้รับการรวบรวมข้อมูลโปรดไปที่:

Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »