โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ติดตั้ง
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

มาร์กาเรต เบิร์ก-ไวต์และโรคพาร์คินสัน

ทางลัด: ความแตกต่างความคล้ายคลึงกันค่าสัมประสิทธิ์การเปรียบเทียบ Jaccardการอ้างอิง

ความแตกต่างระหว่าง มาร์กาเรต เบิร์ก-ไวต์และโรคพาร์คินสัน

มาร์กาเรต เบิร์ก-ไวต์ vs. โรคพาร์คินสัน

มาร์กาเรต เบิร์ก-ไวต์ (Margaret Bourke-White; 14 มิถุนายน ค.ศ. 1904 – 27 สิงหาคม ค.ศ. 1971) เป็นช่างภาพหญิงชาวอเมริกันที่ถ่ายภาพแนวสารคดี (en:Photojournalism) ซึ่งเป็นที่รู้จักในฐานะช่างภาพชาวต่างชาติคนแรกที่ได้รับอนุญาตให้ถ่ายภาพโรงงานอุตสาหกรรมในสหภาพโซเวียต ทั้งยังเป็นช่างภาพและนักข่าวสงคราม (War photographer) คนแรกที่เป็นผู้หญิงที่ได้รับอนุญาตให้ทำงานในสมรภูมิรบ และนอกจากนี้ยังเป็นช่างภาพหญิงคนแรกของนิตยสารไลฟ์ (en:Life Magazine) ภาพถ่ายของมาร์กาเร็ตปรากฏบนปกนิตยสารดังกล่าวในฉบับปฐมฤกษ์ เธอเสียชีวิตด้วยโรคพาร์กินสันเมื่อวันที่ 27 สิงหาคม 1971 ณ รัฐคอนเนตทิคัต หลังจากเริ่มมีอาการของโรคดังกล่าวเมื่อ 8 ปีก่อนหน้านั้น มาร์กาเร็ต นับเป็นช่างภาพหญิงคนสำคัญคนหนึ่งของวงการถ่ายภาพของโลก โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ในวงการภาพถ่ายสารคดีและภาพข่าว. รคพาร์คินสันเป็นความผิดปรกติการเสื่อมของระบบประสาทส่วนกลาง อาการของโรคพากินสันเกิดจากเซลล์ที่ผลิตโดปามีนในซับสแตนเชียไนกรา อันเป็นบริเวณหนึ่งในสมองส่วนกลาง ตาย ซึ่งยังไม่ทราบสาเหตุของการตายของเซลล์นี้ ในช่วงที่เป็นโรคใหม่ ๆ อาการเด่นชัดที่สุดเกี่ยวข้องกับการเคลื่อนไหว ซึ่งรวมการสั่น สภาพแข็งเกร็ง เคลื่อนไหวช้าและเดินและท่าเดินลำบาก ต่อมา อาจเกิดปัญหาการคิดและพฤติกรรมได้ โดยภาวะสมองเสื่อมเกิดได้ทั่วไปในระยะท้ายของโรค ขณะที่ภาวะซึมเศร้าเป็นอาการจิตเวชที่พบบ่อยที่สุด อาการอื่นมีปัญหารับความรู้สึก การหลับและอารมณ์ โรคพาร์คินสันพบมากในผู้สูงอายุ ผู้ป่วยส่วนมากเกิดอาการหลังอายุ 50 ปี อาการสั่งการหลักเรียกรวมว่า พาร์คินสันนิซึม (parkinsonism) หรือ กลุ่มอาการพาร์คินสัน (parkinsonian syndrome) โรคพาร์คินสันมักนิยามเป็นกลุ่มอาการพาร์คินสันที่เกิดเอง (ไม่มีสาเหตุที่ทราบ) แม้ผู้ป่วยนอกแบบบางคนมีสาเหตุจากพันธุกรรม มีการสืบสวนปัจจัยเสี่ยงและป้องกันหลายอย่าง หลักฐานชัดเจนที่สุด คือ ผู้ที่สัมผัสยาฆ่าแมลงบางชนิดจะมีความเสี่ยงต่อโรคพาร์คินสันมากขึ้น แต่ผู้สูบบุหรี่มีความเสี่ยงลดลง พยาธิสภาพของโรคเป็นลักษณะของการสะสมโปรตีนชื่อ แอลฟา-ไซนิวคลีอิน (alpha-synuclein) ในอินคลูชันบอดี (inclusion body) เรียก เลวีบอดี (Lewy body) ในเซลล์ประสาท และจากการสร้างและกัมมันตภาพของโดปามีนที่ผลิตในเซลล์ประสาทบางชนิดในหลายส่วนของสมองส่วนกลางไม่เพียงพอ เลวีบอดีเป็นเครื่องหมายพยาธิวิทยาของโรคนี้ และการกระจายของเลวีบอดีตลอดสมองของผู้ป่วยแตกต่างกันไปตามบุคคล การกระจายทางกายวิภาคศาสตร์ของเลวีบอดีมักสัมพันธ์โดยตรงกับการแสดงออกและระดับอาการทางคลินิกของแต่ละบุคคล การวินิจฉัยผู้ป่วยตรงแบบอาศัยอาการเป็นหลัก โดยใช้การทดสอบอย่างการสร้างภาพประสาท (neuroimaging) เพื่อยืนยัน.

ความคล้ายคลึงกันระหว่าง มาร์กาเรต เบิร์ก-ไวต์และโรคพาร์คินสัน

มาร์กาเรต เบิร์ก-ไวต์และโรคพาร์คินสัน มี 0 สิ่งที่เหมือนกัน (ใน ยูเนี่ยนพีเดีย)

รายการด้านบนตอบคำถามต่อไปนี้

การเปรียบเทียบระหว่าง มาร์กาเรต เบิร์ก-ไวต์และโรคพาร์คินสัน

มาร์กาเรต เบิร์ก-ไวต์ มี 21 ความสัมพันธ์ขณะที่ โรคพาร์คินสัน มี 8 ขณะที่พวกเขามีเหมือนกัน 0, ดัชนี Jaccard คือ 0.00% = 0 / (21 + 8)

การอ้างอิง

บทความนี้แสดงความสัมพันธ์ระหว่าง มาร์กาเรต เบิร์ก-ไวต์และโรคพาร์คินสัน หากต้องการเข้าถึงบทความแต่ละบทความที่ได้รับการรวบรวมข้อมูลโปรดไปที่:

Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »