โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ติดตั้ง
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

มหาวิทยาลัยอ๊อกซฟอร์ดและรายนามบุคคลจากมหาวิทยาลัยอ๊อกซฟอร์ด

ทางลัด: ความแตกต่างความคล้ายคลึงกันค่าสัมประสิทธิ์การเปรียบเทียบ Jaccardการอ้างอิง

ความแตกต่างระหว่าง มหาวิทยาลัยอ๊อกซฟอร์ดและรายนามบุคคลจากมหาวิทยาลัยอ๊อกซฟอร์ด

มหาวิทยาลัยอ๊อกซฟอร์ด vs. รายนามบุคคลจากมหาวิทยาลัยอ๊อกซฟอร์ด

มหาวิทยาลัยอ๊อกซฟอร์ด (University of Oxford หรือ Oxford University) หรือเรียกอย่างง่าย ๆ ว่า อ๊อกซฟอร์ด เป็นมหาวิทยาลัยวิจัยซึ่งตั้งอยู่ในเมืองอ๊อกซฟอร์ด ประเทศอังกฤษ สหราชอาณาจักร แม้ว่าจะไม่มีหลักฐานประวัติการก่อตั้งที่แน่นอน แต่มีหลักฐานว่าได้เริ่มสอนมาตั้งแต่ ค.ศ. 1096 ถือว่าเป็นมหาวิทยาลัยที่เก่าแก่ที่สุดในประเทศที่ใช้ภาษาอังกฤษเป็นภาษาแม่ และเป็นมหาวิทยาลัยเก่าแก่ที่สุดที่ยังเปิดสอนเป็นอันดับสอง อ๊อกซฟอร์ดเติบโตขึ้นอย่างรวดเร็วในปี ค.ศ. 1167 เมื่อพระเจ้าเฮนรีที่ 2 ทรงห้ามมิให้นักศึกษาชาวอังกฤษไปศึกษาที่มหาวิทยาลัยปารีส ภายหลังจากการพิพาทระหว่างนักศึกษาและชาวเมืองอ๊อกซฟอร์ดในปี ค.ศ. 1206 นักวิชาการบางส่วนได้หนีไปทางตะวันออกเฉียงเหนือสู่เมืองเคมบริดจ์ ซึ่งพวกเขาได้ก่อตั้งมหาวิทยาลัยเคมบริดจ์ขึ้น ทั้งสอง"มหาวิทยาลัยโบราณ"มักจะถูกเรียกว่า"อ๊อกซบริดจ์" มหาวิทยาลัยอ๊อกซฟอร์ดเติบโตขึ้นจากความหลากหลายของสถ​​าบันการศึกษาต่าง ๆ รวมถึงวิทยาลัยร่วมทั้ง 38 แห่ง และหน่วยงานทางวิชาการซึ่งแบ่งออกเป็นสี่แผนก แต่ละวิทยาลัยมีระบบการจัดการอย่างอิสระในการควบคุมสมาชิกรวมทั้งมีระบบโครงสร้างภายในและกิจกรรมเป็นของตนเอง มีลักษณะเป็นเมืองมหาวิทยาลัยซึ่งมีอาคารและสิ่งอำนวยความสะดวกกระจายอยู่ทั่วใจกลางเมือง การศึกษาระดับปริญญาตรีส่วนใหญ่ที่อ๊อกซฟอร์ดเป็นการจัดการด้วยวิธีติวเตอร์ตลอดรายสัปดาห์ไปในแต่ละวิทยาลัยและฮอลล์ต่าง ๆ โดยได้รับการสนับสนุนจากชั้นเรียน การบรรยาย และการปฏิบัติการซึ่งจัดขึ้นโดยคณะและภาควิชาต่าง ๆ ของมหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัยอ๊อกซฟอร์ดยังดำเนินงานพิพิธภัณฑ์มหาวิทยาลัยที่เก่าแก่ที่สุดในโลก รวมถึงสำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยที่ใหญ่ที่สุดในโลก และมีระบบห้องสมุดทางวิชาการที่ใหญ่ที่สุดในบริเตน อ๊อกซฟอร์ดมีศิษย์เก่าที่มีชื่อเสียงจำนวนมาก รวมถึงผู้ได้รับรางวัลโนเบล 28 คน นายกรัฐมนตรีสหราชอาณาจักร 27 คน ประมุขแห่งรัฐและผู้นำรัฐบาลหลายแห่งทั่วโลก อ๊อกซฟอร์ดเป็นแหล่งที่ตั้งของทุนการศึกษาโรดส์ซึ่งเป็นหนึ่งในทุนการศึกษานานาชาติที่เก่าแก่ที่สุดในโลกและมีชื่อเสียงมากที่สุด ซึ่งได้นำนักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษาเข้าศึกษาต่อที่มหาวิทยาลัยมานานกว่าศตวรรษ. รายชื่อบุคคลสำคัญจากมหาวิทยาลัยอ๊อกซฟอร.

ความคล้ายคลึงกันระหว่าง มหาวิทยาลัยอ๊อกซฟอร์ดและรายนามบุคคลจากมหาวิทยาลัยอ๊อกซฟอร์ด

มหาวิทยาลัยอ๊อกซฟอร์ดและรายนามบุคคลจากมหาวิทยาลัยอ๊อกซฟอร์ด มี 7 สิ่งที่เหมือนกัน (ใน ยูเนี่ยนพีเดีย): พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวสมเด็จพระราชาธิบดีจิกมี เคเซอร์ นัมเกล วังชุกสตีเฟน ฮอว์กิงอมร วาณิชวิวัฒน์อองซาน ซูจีอดัม สมิธประเทศภูฏาน

พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว

ระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาวชิราวุธฯ พระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว หรือ พระบาทสมเด็จพระรามาธิบดีศรีสินทรมหาวชิราวุธ พระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว (1 มกราคม พ.ศ. 2423 – 26 พฤศจิกายน พ.ศ. 2468) เป็นพระมหากษัตริย์ไทยรัชกาลที่ 6 ในราชวงศ์จักรี เสด็จพระราชสมภพเมื่อวันเสาร์ เดือนยี่ ขึ้น 2 ค่ำ ปีมะโรง ตรงกับวันที่ 1 มกราคม..

พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวและมหาวิทยาลัยอ๊อกซฟอร์ด · พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวและรายนามบุคคลจากมหาวิทยาลัยอ๊อกซฟอร์ด · ดูเพิ่มเติม »

สมเด็จพระราชาธิบดีจิกมี เคเซอร์ นัมเกล วังชุก

มเด็จพระราชาธิบดีจิกมี เคเซอร์ นัมเกล วังชุก (ภาษาซองคา: འཇིགས་མེད་གེ་སར་རྣམ་རྒྱལ་དབང་ཕྱུག་) เป็นพระมหากษัตริย์แห่งราชอาณาจักรภูฏาน รัชกาลที่ 5 แห่งราชวงศ์วังชุก ทรงได้รับการยกย่องจากชาวภูฏานรวมถึงชาวไทยส่วนใหญ่ว่ามีพระจริยวัตรที่งดงาม และเป็นที่รักยิ่งของประชาชนชาวภูฏาน สมเด็จพระราชาธิบดีจิกมี เคเซอร์ นัมเกล วังซุก ทรงเป็นศูนย์รวมจิตใจของพสกนิกรทุกหมู่เหล่า จากการที่ทรงวางพระองค์อย่างเป็นกันเองในหมู่ประชาชน จึงสร้างความประทับใจแก่พสกนิกรอย่างสูง ถึงแม้ว่าพระองค์ไม่ต้องทรงรับพระราชภารกิจการบริหารประเทศ เนื่องจากสมเด็จพระราชบิดาได้ทรงวางระบอบปกครองแบบประชาธิปไตยขึ้นมาอยู่ก่อนแล้ว แต่พระองค์เองก็ยังทรงเป็นสัญลักษณ์สำคัญ ในการสร้างเอกภาพและเสถียรภาพ ในประเทศที่มีประชากรเพียง 753,947 คน โดยมุ่งเน้นด้านความสุขมวลรวมของประชากรภายในประเทศเป็นสำคัญ.

มหาวิทยาลัยอ๊อกซฟอร์ดและสมเด็จพระราชาธิบดีจิกมี เคเซอร์ นัมเกล วังชุก · รายนามบุคคลจากมหาวิทยาลัยอ๊อกซฟอร์ดและสมเด็จพระราชาธิบดีจิกมี เคเซอร์ นัมเกล วังชุก · ดูเพิ่มเติม »

สตีเฟน ฮอว์กิง

ตีเฟน วิลเลียม ฮอว์กิง (Stephen William Hawking; 8 มกราคม ค.ศ. 1942 – 14 มีนาคม ค.ศ. 2018) เป็นนักฟิสิกส์ทฤษฎีและนักจักรวาลวิทยา ศาสตราจารย์ประจำมหาวิทยาลัยเคมบริดจ์ หนังสือวิทยาศาสตร์ของเขาและการปรากฏตัวต่อสาธารณะได้ทำให้เขาเป็นผู้มีชื่อเสียงด้านวิชาการ ผลงานวิทยาศาสตร์สำคัญของเขาจนถึงปัจจุบันมีการบัญญัติทฤษฎีบทเกี่ยวกับภาวะเอกฐานเชิงความโน้มถ่วงในกรอบของทฤษฎีสัมพัทธภาพทั่วไป ร่วมกับโรเจอร์ เพนโรส และการทำนายเชิงทฤษฎีที่ว่าหลุมดำควรปล่อยรังสี ซึ่งปัจจุบันมีชื่อว่า รังสีฮอว์กิง (บางครั้งเรียก รังสีเบเคนสไตน์-ฮอว์กิง) ฮอว์กิงป่วยจากโรคอะไมโอโทรฟิก แลเทอรัล สเกลอโรซิส (ALS) ชนิดหายาก ซึ่งเริ่มมีอาการเร็ว แต่ดำเนินโรคช้า ทำให้เขามีอาการกล้ามเนื้ออ่อนแรงลงเรื่อย ๆ เป็นเวลาหลายสิบปี ปัจจุบันต้องสื่อสารโดยใช้อุปกรณ์สังเคราะห์เสียงพูด ควบคุมผ่านกล้ามเนื้อมัดเดียวในแก้ม เขาแต่งงานสองครั้งและมีลูกสามคน ฮอว์กิงประสบความสำเร็จกับผลงานวิทยาศาสตร์สำหรับบุคคลทั่วไป (popular science) ซึ่งเขาอภิปรายทฤษฎีของเขาและจักรวาลวิทยาโดยรวม ซึ่งมีประวัติย่อของกาลเวลา (A Brief History of Time) และจักรวาลในเปลือกนัท (The Universe in a Nutshell) ซึ่งอยู่ในรายการขายดีที่สุดของบริติชซันเดย์ไทมส์ทำลายสถิตินานถึง 237 สัปดาห์ สตีเฟน ฮอว์กิง เสียชีวิตในวันที่ 14 มีนาคม..

มหาวิทยาลัยอ๊อกซฟอร์ดและสตีเฟน ฮอว์กิง · รายนามบุคคลจากมหาวิทยาลัยอ๊อกซฟอร์ดและสตีเฟน ฮอว์กิง · ดูเพิ่มเติม »

อมร วาณิชวิวัฒน์

ร.อมร วาณิชวิวัฒน์ อาจารย์ประจำภาควิชาสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เป็นหนึ่งในผู้ที่ได้รับการเสนอชื่อและได้รับการโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งเป็นสมาชิก สมาชิกสภาปฏิรูปแห่งชาติ (สปช.) ในด้านการเมือง (ได้รับการโปรดเกล้า ณ วันที่ 2 ตุลาคม 2557) ได้รับการแต่งตั้งโดยหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช) ให้ดำรงตำแหน่งกรรมการในคณะกรรมการร่างรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ยกร่าง พ.ศ. 2558) ณ วันที่ 5 ตุลาคม 2558.

มหาวิทยาลัยอ๊อกซฟอร์ดและอมร วาณิชวิวัฒน์ · รายนามบุคคลจากมหาวิทยาลัยอ๊อกซฟอร์ดและอมร วาณิชวิวัฒน์ · ดูเพิ่มเติม »

อองซาน ซูจี

อองซาน ซูจี (90px, เกิด 19 มิถุนายน 2488) เป็นนักการเมืองชาวพม่าและประธานพรรคสันนิบาตแห่งชาติเพื่อประชาธิปไตย (NLD) ผู้ดำรงตำแหน่ง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ และรัฐมนตรีประจำทำเนียบประธานาธิบดี ในการเลือกตั้งทั่วไปปี 2533 NLD ได้คะแนนเสียงทั้งประเทศ 59% และที่นั่ง 81% (392 จาก 485 ที่นั่ง) ในรัฐสภา ทว่า เธอถูกควบคุมตัวในบ้านก่อนการเลือกตั้ง เธอยังอยู่ภายใต้การควบคุมตัวในบ้านในประเทศพม่าเป็นเวลาเกือบ 15 จาก 21 ปีตั้งแต่วันที่ 20 กรกฎาคม 2532 จนการปล่อยตัวครั้งล่าสุดเมื่อวันที่ 13 พฤศจิกายน 2553 ทำให้เธอเป็นนักโทษการเมืองที่ขึ้นชื่อที่สุดคนหนึ่งของโลก ซูจีได้รับรางวัลราฟโต (Rafto Prize) และรางวัลซาฮารอฟสำหรับเสรีภาพทางความคิด (Sakharov Prize for Freedom of Thought) ในปี 2533 และรางวัลโนเบลสาขาสันติภาพในปี 2534 ในปี 2535 เธอได้รับรางวัลชวาหระลาล เนห์รูเพื่อความเข้าใจระหว่างประเทศ (Jawaharlal Nehru Award for International Understanding) โดยรัฐบาลอินเดีย และรางวัลซีมอง โบลีวาร์ระหว่างประเทศ (International Simón Bolívar Prize) จากรัฐบาลเวเนซุเอลา ในปี 2555 รัฐบาลปากีสถานมอบรางวัลชาฮิด เบนาซีร์ บุตโตเพื่อประชาธิปไตย (Shaheed Benazir Bhutto Award For Democracy) ในปี 2550 รัฐบาลแคนาดาประกาศให้เธอเป็นพลเมืองกิตติมศักดิ์ของประเทศ เป็นคนที่สี่ที่ได้รับเกียรตินี้ ในปี 2554 เธอได้รับเหรียญวัลเลนเบิร์ก (Wallenberg Medal) วันที่ 19 กันยายน 2555 อองซาน ซูจีได้รับเหรียญทองรัฐสภา ซึ่งร่วมกับเหรียญเสรีภาพประธานาธิบดี เป็นเกียรติยศพลเรือนสูงสุดในสหรัฐอเมริกา วันที่ 1 เมษายน 2555 พรรคสันนิบาติแห่งชาติเพื่อประชาธิปไตยประกาศว่าเธอได้รับเลือกให้ดำรงตำแหน่งในปีตูลุ้ดดอ (Pyithu Hluttaw) สภาล่างของรัฐสภาพม่า ซึ่งเป็นตัวแทนของเขตเลือกตั้งกอว์มู (Kawhmu) พรรคของเธอยังได้ที่นั่งว่าง 43 จาก 45 ที่นั่งในสภาล่าง คณะกรรมการการเลือกตั้งอย่างเป็นทางการยืนยันผลการเลือกตั้งในวันรุ่งขึ้น วันที่ 6 มิถุนายน 2556 ซูจีประกาศบนเว็บไซต์ของเวิลด์อีโคโนมิกฟอรัมว่าเธอต้องการลงสมัครรับเลือกตั้งเป็นประธานาธิบดีในการเลือกตั้งปี 2558 ทว่า ซูจีถูกห้ามมิให้เป็นประธานาธิบดีภายใต้รัฐธรรมนูญปัจจุบัน ซึ่งมิอาจแก้ไขได้โดยปราศจากการรับรองจากสมาชิกสภานิติบัญญัติทหารอย่างน้อยหนึ่งคน ในปี 2557 นิตยสารฟอบส์จัดให้เธอเป็นหญิงทรงอำนาจที่สุดในโลกอันดับที่ 61 ในการเลือกตั้งทั่วไปปี พ.ศ. 2558 พรรค NLD ได้คะแนนเสียงทั้งประเทศ 86% (255 ที่นั่ง ในสภาผู้แทนราษฎรและ 135 ที่นั่ง ในสภาเชื้อชาติ) ทว่า เธอซึ่งเป็นประธานพรรค NLD ไม่สามารถดำรงตำแหน่งประธานาธิบดีเนื่องจากมีข้อห้ามในรัฐธรรมนูญ.

มหาวิทยาลัยอ๊อกซฟอร์ดและอองซาน ซูจี · รายนามบุคคลจากมหาวิทยาลัยอ๊อกซฟอร์ดและอองซาน ซูจี · ดูเพิ่มเติม »

อดัม สมิธ

อดัม สมิธ (Adam Smith) นักปรัชญาศีลธรรม และ นักเศรษฐศาสตร์การเมืองผู้บุกเบิกชาวสกอตแลนด์ อดัม สมิธ เป็นผู้มีส่วนสำคัญในการกำหนดแนวคิดเศรษฐศาสตร์แนวตลาดเสรี เป็นบุคคลสำคัญในขบวนการที่เป็นที่รู้จักในชื่อว่า "ยุคสว่างของสกอตแลนด์" (Scottish Enlightenment) โดยเป็นที่รู้จักในฐานะผู้แต่งศาสตรนิพนธ์2 เรื่องคือ ทฤษฎีว่าด้วยศีลธรรมเร้าอารมณ์ (พ.ศ. 2302).

มหาวิทยาลัยอ๊อกซฟอร์ดและอดัม สมิธ · รายนามบุคคลจากมหาวิทยาลัยอ๊อกซฟอร์ดและอดัม สมิธ · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศภูฏาน

ประเทศภูฏาน (Bhutan; บูตาน) หรือชื่อทางการคือ ราชอาณาจักรภูฏาน เป็นประเทศในภูมิภาคเอเชียที่มีขนาดเล็ก และมีภูเขาเป็นจำนวนมาก ตั้งอยู่ในเทือกเขาหิมาลัยระหว่างประเทศอินเดียกับประเทศจีน ชื่อในภาษาท้องถิ่นของประเทศคือ Druk Yul แปลว่า "ดินแดนของมังกรสายฟ้า (Land of the Thunder Dragon)" นอกจากนี้ยังเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า Druk Tsendhen และชื่อเพลงชาติ เนื่องจากที่ภูฏาน เสียงสายฟ้าฟาดถือเป็นเสียงของมังกร ส่วนชื่อ ภูฏาน (Bhutan) มาจากคำสมาสในภาษาบาลี ภู-อุฏฺฏาน อันมีความหมายว่า "แผ่นดินบนที่สูง" (ในภาษาฮินดี สะกด भूटान ถอดเป็นตัวอักษรคือ ภูฏาน).

ประเทศภูฏานและมหาวิทยาลัยอ๊อกซฟอร์ด · ประเทศภูฏานและรายนามบุคคลจากมหาวิทยาลัยอ๊อกซฟอร์ด · ดูเพิ่มเติม »

รายการด้านบนตอบคำถามต่อไปนี้

การเปรียบเทียบระหว่าง มหาวิทยาลัยอ๊อกซฟอร์ดและรายนามบุคคลจากมหาวิทยาลัยอ๊อกซฟอร์ด

มหาวิทยาลัยอ๊อกซฟอร์ด มี 86 ความสัมพันธ์ขณะที่ รายนามบุคคลจากมหาวิทยาลัยอ๊อกซฟอร์ด มี 58 ขณะที่พวกเขามีเหมือนกัน 7, ดัชนี Jaccard คือ 4.86% = 7 / (86 + 58)

การอ้างอิง

บทความนี้แสดงความสัมพันธ์ระหว่าง มหาวิทยาลัยอ๊อกซฟอร์ดและรายนามบุคคลจากมหาวิทยาลัยอ๊อกซฟอร์ด หากต้องการเข้าถึงบทความแต่ละบทความที่ได้รับการรวบรวมข้อมูลโปรดไปที่:

Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »