โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ฟรี
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

ภาษาอาร์และเอสพีเอสเอส

ทางลัด: ความแตกต่างความคล้ายคลึงกันค่าสัมประสิทธิ์การเปรียบเทียบ Jaccardการอ้างอิง

ความแตกต่างระหว่าง ภาษาอาร์และเอสพีเอสเอส

ภาษาอาร์ vs. เอสพีเอสเอส

ัญลักษณ์ภาษาอาร์ อาร์ (R) หรือ ภาษาอาร์ เป็นภาษาโปรแกรมบนคอมพิวเตอร์สำหรับวิเคราะห์ทางด้านสถิติ ภาษาอาร์เป็นที่นิยมใช้ในหมู่นักสถิติในด้านการพัฒนาซอฟต์แวร์สถิติเอง และการวิเคราะห์ข้อมูล ภาษาอาร์ได้ถูกนำมาเปรียบเทียบกับซอฟต์แวร์สถิติตัวอื่น อาทิ SAS, SPSS และ Stata โดยในปี 2552 ทางนิวยอร์กไทมส์ได้มีบทความเกี่ยวกับภาษาอาร์กล่าวถึงการยอมรับซอฟต์แวร์ตัวนี้ในหมู่นักสถิติ และการนำมาประยุกต์ในงานสถิติ ซึ่งมีผลต่อยอดขายกับซอฟต์แวร์ตัวอื่น อาทิ SAS ภาษาอาร์เป็นซอฟต์แวร์ฟรีในรูปแบบของโอเพนซอร์ซซึ่งสามารถนำไปใช้งานได้ฟรี และแจกจ่ายได้ฟรี. อสพีเอสเอส (SPSS) เป็นโปรแกรมคอมพิวเตอร์ที่ใช้เพื่อการวิเคราะห์ทางสถิติ บริษัทจัดจำหน่าย SPSS ถูกซื้อโดย IBM เมื่อเดือนมิถุนายน 2552 และปัจจุบันใช้ชื่อบริษัทว่า "SPSS: An IBM Company" SPSS เดิมชื่อว่า "Statistical Package for the Social Sciences" (ชุดโปรแกรมสถิติเพื่อสังคมศาสตร์) ออกเผยแพร่ครั้งแรกในปี 2511 หลังจากถูกพัฒนาโดย Norman H. Nie และ C. Hadlai Hull Norman Nie ในขณะนั้นเป็นนักศึกษารัฐศาสตร์ภาคบัณฑิตที่มหาวิทยาลัยสแตนฟอร์ด และปัจจุบันเป็นศาสตราจารย์วิจัยที่ภาควิชารัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยสแตนฟอร์ด และศาสตราจารย์เกียรติคุณสาขารัฐศาสตร์ที่มหาวิทยาลัยชิคาโก SPSS เป็นหนึ่งในโปรแกรมที่นิยมใช้แพร่หลายมากที่สุดสำหรับการวิเคราะห์ทางสถิติในสังคมศาสตร์ มันถูกใช้โดยนักวิจัยตลาด นักวิจัยสุขภาพ บริษัทสำรวจความคิดเห็น รัฐบาล นักวิจัยการศึกษา บริษัทการตลาด ฯลฯ คู่มือการใช้งาน SPSS ฉบับแรก (Nie, Bent & Hull, 1970) ถูกอธิบายว่าเป็นหนึ่งใน "หนังสือที่ทรงอิทธิพลที่สุดในสาขาสังคมวิทยา" นอกเหนือไปจากการวิเคราะห์ทางสถิติแล้ว การจัดการข้อมูล (การเลือกกรณีศึกษา, การแปลงแฟ้ม, การสร้างข้อมูลสืบทอด) และการทำเอกสารข้อมูล (พจนานุกรมเมทาเดตาจะถูกเก็บไว้ในแฟ้มข้อมูล) ก็เป็นความสามารถของซอฟต์แวร์รุ่นพื้นฐาน.

ความคล้ายคลึงกันระหว่าง ภาษาอาร์และเอสพีเอสเอส

ภาษาอาร์และเอสพีเอสเอส มี 1 สิ่งที่เหมือนกัน (ใน ยูเนี่ยนพีเดีย): สถิติศาสตร์

สถิติศาสตร์

ติศาสตร์ (Statistic Science) เป็นการศึกษาการเก็บ การวิเคราะห์ การตีความ การนำเสนอและการจัดระเบียบข้อมูล ในการประยุกต์สถิติศาสตร์กับปัญหาทางวิทยาศาสตร์ อุตสาหกรรมหรือสังคม ฯลฯ จำเป็นต้องเริ่มด้วยประชากรหรือกระบวนการที่จะศึกษา ประชากรเป็นได้หลากหลาย เช่น "ทุกคนที่อาศัยอยู่ในประเทศหนึ่ง" หรือ "ทุกอะตอมซึ่งประกอบเป็นผลึก" สถิติศาสตร์ว่าด้วยทุกแง่มุมของข้อมูลซึ่งรวมการวางแผนการเก็บข้อมูลในแง่การออกแบบการสำรวจและการทดลอง ในกรณีไม่สามารถเก็บข้อมูลสำมะโนได้ นักสถิติศาสตร์เก็บข้อมูลโดยการพัฒนาการออกแบบการทดลองจำเพาะและตัวอย่างสำรวจ การชักตัวอย่างเพื่อเป็นตัวแทนประกันว่าการอนุมานและการสรุปสามารถขยายจากตัวอย่างไปยังประชากรโดยรวมได้โดยปลอดภัย การศึกษาทดลองเกี่ยวข้องกับการวัดระบบที่กำลังศึกษา จัดดำเนินการระบบ แล้ววัดเพิ่มโดยใช้วิธีดำเนินการเดียวกันเพื่อตัดสินว่าการจัดดำเนินการดัดแปรค่าของการวัดหรือไม่ ในทางกลับกัน การศึกษาสังเกตไม่เกี่ยวข้องกับการจัดดำเนินการทดลอง มีการใช้ระเบียบวิธีสถิติศาสตร์สองอย่างหลักในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ สถิติศาสตร์พรรณนา ซึ่งสรุปข้อมูลจากตัวอย่างโดยใช้ดัชนีอย่างค่าเฉลี่ยหรือค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติศาสตร์อนุมาน ซึ่งดึงข้อสรุปจากข้อมูลซึ่งมีการกระจายสุ่ม (เช่น ข้อผิดพลาดสังเกต การกระจายการชักตัวอย่าง) สถิติศาสตร์พรรณนาส่วนใหญ่ว่าด้วยชุดคุณสมบัติของการกระจายสองชุด ได้แก่ แนวโน้มสู่ส่วนกลางซึ่งมุ่งให้ลักษระค่ากลางหรือตรงแบบของการกระจาย ขณะที่การกระจายให้ลักษณะขอบเขตซึ่งสมาชิกของการกระจายอยู่ห่างจากส่วนกลางและสมาชิกอื่น การอนุมานสถิติศาสตร์คณิตศาสตร์กระทำภายใต้กรอบทฤษฎีความน่าจะเป็น ซึ่งว่าด้วยการวิเคราะห์ปรากฏการณ์สุ่ม ในการอนุมานปริมาณไม่ทราบค่า มีการประเมินค่าตัวประมาณค่าตั้งแต่หนึ่งตัวโดยใช้ตัวอย่าง 1.สถิติ (Statistics) 2.เซตและการให้เหตุผล (Set and reasoning) 3.

ภาษาอาร์และสถิติศาสตร์ · สถิติศาสตร์และเอสพีเอสเอส · ดูเพิ่มเติม »

รายการด้านบนตอบคำถามต่อไปนี้

การเปรียบเทียบระหว่าง ภาษาอาร์และเอสพีเอสเอส

ภาษาอาร์ มี 6 ความสัมพันธ์ขณะที่ เอสพีเอสเอส มี 18 ขณะที่พวกเขามีเหมือนกัน 1, ดัชนี Jaccard คือ 4.17% = 1 / (6 + 18)

การอ้างอิง

บทความนี้แสดงความสัมพันธ์ระหว่าง ภาษาอาร์และเอสพีเอสเอส หากต้องการเข้าถึงบทความแต่ละบทความที่ได้รับการรวบรวมข้อมูลโปรดไปที่:

Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »