โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ติดตั้ง
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

ภาษาสกอต

ดัชนี ภาษาสกอต

ษาสกอต เป็นภาษาในกลุ่มภาษาเจอร์แมนิก ที่ใช้พูดกันในแถบพื้นที่ราบของสกอตแลนด์ และในพื้นที่อัลสเตอร์ (ซึ่งเรียกสำเนียงท้องถิ่นว่าอัลสเตอร์สกอต ชาวสกอตมักเรียกภาษานี้ว่า สกอตที่ราบต่ำ เพื่อไม่ให้สับสนกับภาษาแกลิกสกอต และภาษาเคลต์ซึ่งถูกจำกัดพื้นที่การใช้ตามประวัติศาสตร์ในแถบพื้นที่ราบสูงของสกอตแลนด์ ภาษาสกอตถูกพัฒนาขึ้นในสมัยเดียวกับภาษาอังกฤษสมัยกลาง นับแต่ต้นศตวรรษที่ 15 เป็นต้นมา ภาษาอังกฤษที่ใช้ในสกอตแลนด์ได้มีวิวัฒนาการ จนกลายเป็นภาษาที่มีเอกลักษณ์แตกต่างจากภาษาอังกฤษและภาษาท้องถิ่นอื่น ๆ ที่พูดกันในอังกฤษ หากแต่ยังขาดชื่อเรียก แต่หลังจาก ปี ค.ศ. 1495 เป็นต้นมา คำว่า สกอตติช (Scottis) ถูกใช้มากขึ้นเพื่ออ้างถึงภาษาพูดในถิ่นที่ลุ่ม ในขณะที่คำว่า Erse ซึ่งแปลว่า ไอริช ถูกใช้เป็นชื่อเรียกภาษาแกลิค ฯ ยกตัวอย่างเช่น ในตอนปลายศตวรรษที่ 15 วิลเลียม ดันบาร์ กวีชาวสกอต ใช้คำว่า Erse เพื่ออ้างถึงภาษาแกลิคและในช่วงต้นศตวรรษที่ 16 กาวิน ดักลาส เริ่มใช้คำว่า Scottis เพื่ออ้างอิงถึงภาษาถิ่นที่ราบลุ่ม ปัจจุบันภาษาแกลิกของสกอตแลนด์มักถูกเรียกว่า ภาษาแกลิก-สกอต หรือ ภาษาแกลิกสกอตแลน.

8 ความสัมพันธ์: ชาวสกอตแลนด์กลุ่มภาษาเจอร์แมนิกกลุ่มภาษาเคลต์ภาษาอังกฤษสมัยกลางภาษาอังกฤษเก่าอัลสเตอร์ประเทศสกอตแลนด์ไอร์แลนด์เหนือ

ชาวสกอตแลนด์

--> |region5.

ใหม่!!: ภาษาสกอตและชาวสกอตแลนด์ · ดูเพิ่มเติม »

กลุ่มภาษาเจอร์แมนิก

้นแบ่งระหว่างกลุ่มเจอร์แมนิกตะวันตกและกลุ่มเจอร์แมนิกเหนือ กลุ่มภาษาเจอร์แมนิก เป็นสาขาหนึ่งของตระกูลภาษาอินโด-ยูโรเปียน.

ใหม่!!: ภาษาสกอตและกลุ่มภาษาเจอร์แมนิก · ดูเพิ่มเติม »

กลุ่มภาษาเคลต์

กลุ่มภาษาเคลต์เป็นลูกหลานของภาษาเคลต์ตั้งเดิมหรือภาษาเคลต์ทั่วไปซึ่งเป็นภาษาในตระกูลภาษาอินโด-ยูโรเปียน คำว่าเคลต์เป็นคำที่ประดิษฐ์โดย Edward Lhuyd เมื่อ..

ใหม่!!: ภาษาสกอตและกลุ่มภาษาเคลต์ · ดูเพิ่มเติม »

ภาษาอังกฤษสมัยกลาง

ษาอังกฤษสมัยกลาง (Middle English) เป็นชื่อที่นักภาษาศาสตร์ใช้เรียกภาษาอังกฤษในหลากหลายรูปแบบ ซึ่งใช้พูดสื่อสารตั้งแต่สมัยชาวนอร์มันพิชิตอังกฤษ ใน..

ใหม่!!: ภาษาสกอตและภาษาอังกฤษสมัยกลาง · ดูเพิ่มเติม »

ภาษาอังกฤษเก่า

ษาอังกฤษเก่า (Ænglisc, Anglisc, Englisc; Old English ย่อว่า OE) หรือ ภาษาแองโกล-ซัคเซิน (Anglo-Saxon) เป็นภาษาอังกฤษยุคแรก ที่พูดกันในบริเวณที่ปัจจุบันคือแคว้นอิงแลนด์ อังกฤษและสกอตแลนด์ตอนใต้ ในระหว่าง กลางคริสต์ศตวรรษที่ 5 ถึงกลางคริสต์ศตวรรษที่ 12 นับเป็นภาษาเจอร์แมนิกตะวันตก ด้วยเหตุนี้ จึงมีความคล้ายคลึงกับภาษาฟริเซียนเก่า (Old Frisian) และภาษาแซกซันเก่า (Old Saxon) นอกจากนี้ยังมีความสัมพันธ์กับภาษานอร์สเก่า (Old Norse) และเชื่อมโยงไปถึงภาษาไอซ์แลนด์ปัจจุบัน (modern Icelandic) ด้วย ไวยกรณ์ของภาษาอังกฤษเก่ามีความใกล้เคียงกับไวยกรณ์ของภาษาเยอรมันสมัยใหม่ กล่าวคือ คำนาม คำวิเศษณ์ คำสรรพนาม และคำกริยา มีการผันเปลี่ยนรูปข้างท้ายของคำอยู่หลากหลายแบบ และการลำดับคำในประโยคก็มีอิสระมากกว่า ตัวอักษรของภาษาอังกฤษเก่าแค่เดิมเป็นระบบอักษรรูน (runic system) แต่ถูกแทนที่ด้วยอักษรละตินนับแต่ศตวรรษที่ 9 เป็นต้นมา ภาษาอังกฤษเก่านั้นมีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา และมีการใช้งานตลอดระยะเวลาประมาณ 700 ปี นับตั้งแต่ชนแองโกล-แซ็กซอนอพยพเข้ามายังเกาะบริเตน สร้างอิงแลนด์ขึ้น ในคริสต์ศวรรษที่ 5 จนถึงระยะเวลาหลังพวกนอร์มันบุกรุกเข้าไปเมื่อ ค.ศ. 1066 หลังจากนั้นภาษาอังกฤษก็เคลื่อนเข้าสู่การเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ที่สำคัญ ในยุคแรกๆ นี้ ภาษาอังกฤษเก่าได้ผสมกลมกลืนเข้ากับภาษาอื่นๆ ที่มีการติดต่อด้วย เช่น ภาษาเคลติก (Celtic) และภาษาถิ่นสองภาษาของภาษานอร์สเก่า (บรรพบุรุษของภาษาแดนิชในปัจจุบัน) จากการบุกรุกของพวกไวกิงจากทางเดนมาร์ก ซึ่งเข้ามาครอบครองและปกครองอาณาเขตในอิงแลนด์ตอนเหนือและตะวันออก หลังจากชาวนอร์แมนยกทัพเข้าชิงอังกฤษจากกษัตริย์แซ็กซอนมาปกครองได้ ใรปี..

ใหม่!!: ภาษาสกอตและภาษาอังกฤษเก่า · ดูเพิ่มเติม »

อัลสเตอร์

อัลสเตอร์ (Ulaidh หรือ Cúige Uladh, Ulster) เป็นหนึ่งในสี่จังหวัดของไอร์แลนด์ที่ตั้งอยู่ทางตอนเหนือของตัวเกาะ “อัลสเตอร์” มาจากภาษาไอร์แลนด์ว่า “Cúige Uladh” ที่แปลว่า “หนึ่งในห้าของอูเลด” ในสมัยโบราณเกาะไอร์แลนด์แบ่งออกเป็นห้าภูมิภาค โดยมีชนอูเลดตั้งถิ่นฐานอยู่ทางตอนเหนือสุดของบริเวณ ส่วนหลังของชื่ออาจจะมาจากภาษาไอร์แลนด์ “tír” หรือภาษานอร์สโบราณ “staðr” ทั้งสองคำมีความหมายเหมือนกันว่า “ดินแดน”.

ใหม่!!: ภาษาสกอตและอัลสเตอร์ · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศสกอตแลนด์

กอตแลนด์ (Scotland; Alba อาละเปอะ) เป็นชาติของชนชาวสก็อตและเป็นส่วนหนึ่งของประเทศสหราชอาณาจักร โดยครอบคลุมพื้นที่หนึ่งในสามทางตอนเหนือของเกาะบริเตนใหญ่ มีพรมแดนร่วมกับประเทศอังกฤษทางทิศใต้ ส่วนที่เหลือล้อมรอบด้วยมหาสมุทรแอตแลนติก ทางตะวันออกเป็นทะเลเหนือ และทิศตะวันตกเฉียงใต้จดช่องแคบเหนือและทะเลไอร์แลนด์ นอกเหนือจากแผ่นดินใหญ่แล้ว ประเทศสกอตแลนด์ยังมีเกาะอีกกว่า 790 เกาะ เอดินบะระ เมืองหลวงและนครใหญ่ที่สุดอันดับสองของประเทศ เป็นศูนย์กลางยุคเรืองปัญญาของชาวสกอตในคริสต์ศตวรรษที่ 18 ซึ่งเปลี่ยนสกอตแลนด์มาเป็นมหาอำนาจทางพาณิชย์ ทางการศึกษา และทางอุตสาหกรรมเมืองหนึ่งของทวีปยุโรป ฯ กลาสโกว์ นครใหญ่สุดของสกอตแลนด์ เคยเป็นนครอุตสาหกรรมชั้นนำของโลกและปัจจุบันเป็นศูนย์กลางของเขตเมืองขยายเกรตเตอร์กลาสโกว์ น่านน้ำสกอตแลนด์ประกอบด้วยทะเลแอตแลนติกเหนือและทะเลเหนือ ซึ่งมีปริมาณน้ำมันสำรองใหญ่สุดในสหภาพยุโรป ทำให้เมืองแอเบอร์ดีน นครใหญ่สุดอันดับสามในสกอตแลนด์ ได้ชื่อว่าเป็นเมืองหลวงน้ำมันของทวีปยุโรป เดิมราชอาณาจักรสกอตแลนด์เป็นประเทศอิสระที่ไม่ขึ้นกับประเทศอังกฤษจนถึง..

ใหม่!!: ภาษาสกอตและประเทศสกอตแลนด์ · ดูเพิ่มเติม »

ไอร์แลนด์เหนือ

อร์แลนด์เหนือ (Northern Ireland; Tuaisceart Éireann ทวฌเชอรท์ เอรัน) คือ 1 ใน 4 ประเทศองค์ประกอบของสหราชอาณาจักรซึ่งประกอบด้วยอังกฤษ สกอตแลนด์ เวลส์ และไอร์แลนด์เหนือ ไอร์แลนด์เหนือตั้งอยู่บนเกาะไอร์แลนด์ทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือ มีพรมแดนด้านตะวันตกและใต้ติดประเทศไอร์แลนด์ ทิศเหนือติดกับมหาสมุทรแอตแลนติก ทิศตะวันออกเฉียงเหนือติดกับช่องแคบเหนือ และทิศตะวันออกติดกับทะเลไอริช เมืองหลวงมีชื่อว่า เบลฟาสต์ ซึ่งมีประชากรประมาณ 333,000 คน.

ใหม่!!: ภาษาสกอตและไอร์แลนด์เหนือ · ดูเพิ่มเติม »

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »