โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ฟรี
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

ฟาโกไซโทซิสและระบบภูมิคุ้มกัน

ทางลัด: ความแตกต่างความคล้ายคลึงกันค่าสัมประสิทธิ์การเปรียบเทียบ Jaccardการอ้างอิง

ความแตกต่างระหว่าง ฟาโกไซโทซิสและระบบภูมิคุ้มกัน

ฟาโกไซโทซิส vs. ระบบภูมิคุ้มกัน

กระบวนการฟาโกไซโทซิส (Phagocytosis แปลตรงตัวแปลว่า "การกินเซลล์") หรือการกลืนกินของเซลล์ คือรูปแบบหนึ่งของการย่อยอาหารในเซลล์ หรือเอนโดไซโทซิส (Endocytosis) โดยที่อนุภาคขนาดใหญ่ (อาจเป็นสิ่งแปลกปลอมหรืออาหาร) ถูกโอบล้อมรอบโดยเยื่อหุ้มเซลล์ของเซลล์ (ส่วนมากจะใหญ่กว่าอนุภาคที่ทำการโอบ) และถูกนำเข้าไปอยู่ภายในเซลล์ (คล้ายกับการกิน) เพื่อทำให้อนุภาคกลายเป็นฟาโกโซม (Phagosome) หรือฟูดแวคิวโอล (Food vacuole) ซึ่งก็คือช่องว่างในเซลล์ที่มีอาหารหรือสิ่งแปลกปลอมบรรจุอยู่นั่นเอง ในสัตว์นั้น กระบวนการฟาโกไซโทซิสจะมีเซลล์ที่ถูกสร้างขึ้นเพื่อการนี้โดยเฉพาะเรียกว่า ฟาโกไซต์ (Phagocytes) ซึ่งจะทำหน้าที่ในการกำจัดสิ่งแปลกปลอมในร่างกาย ซึ่งก็คือการกำจัดเชื้อโรคนั่นเอง ส่วนในสัตว์มีกระดูกสันหลังนั้น ยังมีเซลล์อื่นนอกจากฟาโกไซต์ ทำหน้าที่เดียวกันอยู่ คือแมโครเฟจ (Macrophages) ที่มีขนาดใหญ่กว่าฟาโกไซต์ และกรานูโลไซต์ (Granulocytes) ที่มีขนาดเล็กกว่า โดยที่เซลล์ทั้งสองแบบนี้ล้วนอยู่ในเม็ดเลือดขาวทั้งสิ้น สิ่งที่ถือว่าเป็นสิ่งแปลกปลอมที่จะถูกกำจัดโดยวิธีการฟาโกไซโทซิสได้แก่ แบคทีเรีย, เซลล์เนื้อเยื่อที่ตายแล้ว และอนุภาคแร่ธาตุขนาดเล็ก ในกรณีที่แบคทีเรียนั้นอาจทำให้เซลล์ที่ทำการฟาโกไซโทซิสติดเชื้อได้จะถูกเคลือบด้วยแอนติบอดีก่อนที่จะถูกโอบเข้าไป แต่ในกรณีของแบคทีเรียที่เป็นเชื้อของโรคบางชนิดเช่นโรคเรื้อน และวัณโรค ซึ่งเมื่อถูกนำเข้าไปในเซลล์ผ่านกระบวนการฟาโกไซโทซิสแล้ว จะไม่สามารถถูกทำลายได้โดยเซลล์ฟาโกไซต์ที่ได้โอบเชื้อเข้าไป โดยจะเรียกเชื้อโรคเหล่านี้รวมไปถึงทุกสิ่งที่ขัดขวางหรือยับยั้งกระบวนการฟาโกไซโทซิสว่าแอนติฟาโกไลติก (Antiphagolytic) จากการรู้ถึงความสามารถของเชื้อโรคในการต่อต้านเซลล์ฟาโกไซต์ธรรมดาๆ ได้ ทำให้สรุปได้ว่าแมโครเฟจ และกรานูโลไซต์ (ซึ่งส่วนใหญ่มักจะเป็นแกรนูโลไซต์ประเภทนิวโทรฟิล, Neutrophil granulocytes) นั้นอาจถือได้ว่าเป็น "ฟาโกไซต์ที่เก่งกว่า" แต่นี่เป็นเพียงแค่ผลสรุปของการวิจัยเซลล์ประเภทนี้หลายๆ การวิจัยที่ตรงกันเท่านั้น ส่วนจุดที่สำคัญที่สุดในกระบวนการฟาโกไซโทซิสก็คือความสามารถในการควบคุมการอักเสบของมัน ซึ่งก็ขึ้นอยู่กับอนุภาคที่ถูกโอบ โดยกระบวนการฟาโกไซโทซิสนี้สามารถบรรเทาอาการอักเสบได้ หรือในกรณีของเซลล์ที่ตายแบบอะพอพโทซิส จะช่วยชะลอการหายอักเสบของเซลล์เหล่านั้น กระบวนการฟาโกไซโทซิสยังมีส่วนเกี่ยวข้องในการต้านทางต่อภูมิคุ้มกัน ซึ่งจะช่วยป้องกันการอักเสบกับส่วนต่างๆ ของร่างกายที่เป็นปกติ โดยการกำจัดสิ่งแปลกปลอมก่อนที่แอนติบอดีจะกำจัดซึ่งจะทำให้เกิดอาการอัก. ระบบภูมิคุ้มกัน (immune system) คือระบบที่คอยปกป้องร่างกายของสิ่งมีชีวิตจากสิ่งแปลกปลอม โดยเฉพาะจุลชีพก่อโรค เช่น แบคทีเรีย ไวรัส ปรสิต รา พยาธิ รวมถึงสิ่งแปลกปลอมอื่นๆ เช่น เซลล์ที่กำลังเจริญเติบโตไปเป็นมะเร็ง อวัยวะของผู้อื่นที่ปลูกถ่ายเข้ามาในร่างกาย การได้รับเลือดผิดหมู่ สารก่อภูมิแพ้ ฯลฯ สิ่งแปลกปลอมที่ร่างกายตรวจจับได้เรียกว่า แอนติเจน (antigen) แอนติเจนที่กระตุ้นการทำงานของระบบภูมิคุ้มกันเรียกว่า อิมมูโนเจน (immunogen) สิ่งแวดล้อมทั้งภายในและภายนอกร่างกายเต็มไปด้วยจุลินทรีย์ขนาดเล็กที่มองไม่เห็นด้วยตาเปล่า ส่วนใหญ่จุลินทรีย์ที่อยู่รอบตัวเหล่านี้ไม่ใช่เชื้อก่อโรคแต่ประการใด แต่ก็มีจุลินทรีย์อีกมากมายที่ก่อให้เกิดโรคติดเชื้อ เรียกว่าเชื้อโรค (pathogen) เพื่อป้องกันร่างกายจากเชื้อโรคเหล่านี้ มนุษย์มีระบบภูมิคุ้มกันที่ทำหน้าที่อย่างทรงประสิทธิภาพในการกำจัดเชื้อโรคออกไป หากภูมิคุ้มกันบกพร่อง แม้จะพัฒนายาต้านจุลชีพที่ดีเลิศเพียงใด ก็อาจจะไม่สามารถรักษาชีวิตคนเราจากโรคติดเชื้อไว้ได้ เพราะการที่จะหายจากโรคติดเชื้อได้นั้น ภูมิคุ้มกันในร่างกายเป็นผู้ช่วยตัวสำคัญที.

ความคล้ายคลึงกันระหว่าง ฟาโกไซโทซิสและระบบภูมิคุ้มกัน

ฟาโกไซโทซิสและระบบภูมิคุ้มกัน มี 5 สิ่งที่เหมือนกัน (ใน ยูเนี่ยนพีเดีย): วัณโรคสารภูมิต้านทานแบคทีเรียแกรนูโลไซต์เม็ดเลือดขาว

วัณโรค

วัณโรค (Tuberculosis) หรือ MTB หรือ TB (ย่อจาก tubercle bacillus) เป็นโรคติดเชื้อที่พบบ่อย และถึงแก่ชีวิตของผู้ป่วยในหลายกรณี ที่เกิดจากไมโคแบคทีเรียหลายสายพันธุ์ ตามปกติคือ Mycobacterium tuberculosis วัณโรคโดยปกติก่อให้เกิดอาการป่วยที่ปอด แต่ยังสามารถส่งผลกระทบต่อส่วนอื่นของร่างกายได้ วัณโรคแพร่ผ่านอากาศเมื่อผู้ที่มีการติดเชื้อ MTB มีฤทธิ์ไอ จาม หรือส่งผ่านน้ำลายผ่านอากาศ การติดเชื้อในมนุษย์ส่วนมากส่งผลให้เกิดไร้อาการโรค การติดเชื้อแฝง และราวหนึ่งในสิบของการติดเชื้อแฝงท้ายที่สุดพัฒนาไปเป็นโรคมีฤทธิ์ ซึ่ง หากไม่ได้รับการรักษา ทำให้ผู้ติดเชื้อเสียชีวิตมากกว่า 50% อาการตรงต้นแบบมีไอเรื้อรังร่วมกับเสมหะมีเลือดปน ไข้ เหงื่อออกกลางคืน และน้ำหนักลด การติดเชื้อในอวัยวะอื่นก่อให้เกิดอาการอีกมากมาย การวินิจฉัยต้องอาศัยรังสีวิทยา (โดยมากคือ การเอ็กซ์เรย์อก) การทดสอบโรคบนผิวหนัง การตรวจเลือด เช่นเดียวกับการตรวจโดยทางกล้องจุลทรรศน์และการเพาะเชื้อจุลชีววิทยาต่อของเหลวในร่างกาย การรักษานั้นยากและต้องอาศัยการปฏิชีวนะยาวหลายคอร์ส คาดกันว่าหนึ่งในสามของประชากรโลกติดเชื้อ M. tuberculosis และมีการติดเชื้อใหม่เกิดขึ้นในอัตราหนึ่งคนต่อวินาที ใน..

ฟาโกไซโทซิสและวัณโรค · ระบบภูมิคุ้มกันและวัณโรค · ดูเพิ่มเติม »

สารภูมิต้านทาน

รภูมิต้านทาน หรือ แอนติบอดี (antibody) หรือ อิมมิวโนโกลบูลิน (immunoglobulin) เป็นโปรตีนขนาดใหญ่ในระบบภูมิคุ้มกันที่ร่างกายมนุษย์หรือสัตว์ชั้นสูงอื่นๆ สร้างขึ้นเพื่อตรวจจับและทำลายฤทธิ์ของสิ่งแปลกปลอมที่เข้ามาในร่างกาย เช่น แบคทีเรีย และไวรัส แอนตีบอดีแต่ละชนิดจะจดจำโมเลกุลเป้าหมายที่จำเพาะของมันคือ แอนติเจน (antigen) แอนติบอดีส่วนใหญ่ถูกหลั่งออกมาจากเซลล์พลาสมา (plasma cell) ซึ่งเป็นเซลล์เม็ดเลือดขาวชนิดบีลิมโฟไซต์ (B lymphocyte) การกำจัดสิ่งแปลกปลอมโดยการสร้างแอนติบอดีเป็นการตอบสนองของระบบภูมิคุ้มกันที่เรียกว่า humoral immune response การเพิ่มปริมาณแอนตีบอดีที่สนใจสามารถทำได้โดยฉีดโปรตีนหรือเส้นเพปไทด์ ซึ่งเราเรียกว่า "แอนติเจน" เข้าไปในสิ่งมีชีวิต เช่น หนู กระต่าย แพะ หรือ แกะ เป็นต้น แอนติเจนเป็นสิ่งแปลกปลอมที่กระตุ้นระบบภูมิคุ้มกันได้ ตำแหน่งบนแอนติเจนที่จำเพาะในการกระตุ้นเรียกว่า เอปิโทป (epitope) ต่อมาระบบภูมิคุ้มกันแบบสารน้ำ (humoral immune system) ของสัตว์เหล่านี้ก็จะสร้างแอนตีบอดีตอบสนองอย่างจำเพาะต่อแอนติเจนที่ฉีดเข้าไป.

ฟาโกไซโทซิสและสารภูมิต้านทาน · ระบบภูมิคุ้มกันและสารภูมิต้านทาน · ดูเพิ่มเติม »

แบคทีเรีย

แบคทีเรีย หรือ บัคเตรี เป็นประเภทของสิ่งมีชีวิตประเภทใหญ่ประเภทหนึ่ง มีขนาดเล็ก มองด้วยตาเปล่าไม่เห็น ส่วนใหญ่มีเซลล์เดียว และมีโครงสร้างเซลล์ที่ไม่ซับซ้อนมาก และโดยทั่วไปแบคทีเรียแบ่งได้หลายรูปแ.

ฟาโกไซโทซิสและแบคทีเรีย · ระบบภูมิคุ้มกันและแบคทีเรีย · ดูเพิ่มเติม »

แกรนูโลไซต์

อีโอซิโนฟิล เบโซฟิล แกรนูโลไซต์ (granulocyte) เป็นเซลล์เม็ดเลือดขาวที่มีแกรนูลอยู่ภายในเซลล์ แบ่งย่อยได้เป็น นิวโตรฟิล (neutrophil) มีแกรนูลขนาดเล็ก นิวเคลียสมี 2-5 พู มีหน้าที่ทำลายสิ่งแปลกปลอมด้วยวิธีฟาโกไซโตซิส อีโอซิโนฟิล (eosinophil) มีแกรนูลขนาดกลาง นิวเคลียสมี 2 พู มีหน้าที่ทำลายสิ่งแปลกปลอม และยับยั้งการสร้างสารก่อภูมิแพ้ เบโซฟิล (basophil) มีแกรนูลขนาดใหญ่ นิวเคลียสรูปร่างบิดเป็นรูป s หรือ m มีหน้าที่ป้องกันไม่ให้เลือดแข็งตัว และหลั่งสารฮิสตามีน (histamine) ซึ่งเป็นสารก่อภูมิแพ้ หมวดหมู่:เลือด หมวดหมู่:เม็ดเลือดขาว หมวดหมู่:เซลล์ หมวดหมู่:โลหิตวิทยา หมวดหมู่:เซลล์เม็ดเลือด หมวดหมู่:ชีววิทยาของเซลล์.

ฟาโกไซโทซิสและแกรนูโลไซต์ · ระบบภูมิคุ้มกันและแกรนูโลไซต์ · ดูเพิ่มเติม »

เม็ดเลือดขาว

A scanning electron microscope image of normal circulating human blood. In addition to the irregularly shaped leukocytes, both red blood cells and many small disc-shaped platelets are visible เม็ดเลือดขาว (White blood cells - leukocytes) เป็นเซลล์ของระบบภูมิคุ้มกันซึ่งคอยป้องกันร่างกายจากทั้งเชื้อก่อโรคและสารแปลกปลอมต่างๆ เม็ดเลือดขาวมีหลายชนิด ทั้งหมดเจริญมาจาก pluripotent cell ในไขกระดูกที่ชื่อว่า hematopoietic stem cell เซลล์เม็ดเลือดขาวเป็นเซลล์ที่พบได้ทั่วไปในร่างกาย รวมไปถึงในเลือดและในระบบน้ำเหลือง จำนวนของเซลล์เม็ดเลือดขาวในเลือดมักใช้เป็นข้อบ่งชี้ของโรคและการดำเนินไปของโรค โดยปกติแล้วในเลือดหนึ่งลิตรจะมีเซลล์เม็ดเลือดขาวอยู่ประมาณ 4×109 ถึง 11×109 เซลล์ รวมเป็นเซลล์ประมาณ 1% ในเลือดของคนปกติ ในบางสภาวะ เช่น ลูคีเมีย (มะเร็งเม็ดเลือดขาว) จำนวนของเซลล์เม็ดเลือดขาวจะมีปริมาณได้มากกว่าปกติ หรือในภาวะ leukopenia จำนวนของเซลล์เม็ดเลือดขาวก็จะน้อยกว่าปกติ คุณสมบัติทางกายภาพของเซลล์เม็ดเลือดขาว เช่น ปริมาตร conductivity และ granularity อาจเปลี่ยนแปลงไประหว่างการกระตุ้นเซลล์ การเจริญของเซลล์ หรือการมีเซลล์มะเร็งเม็ดเลือดขาว.

ฟาโกไซโทซิสและเม็ดเลือดขาว · ระบบภูมิคุ้มกันและเม็ดเลือดขาว · ดูเพิ่มเติม »

รายการด้านบนตอบคำถามต่อไปนี้

การเปรียบเทียบระหว่าง ฟาโกไซโทซิสและระบบภูมิคุ้มกัน

ฟาโกไซโทซิส มี 15 ความสัมพันธ์ขณะที่ ระบบภูมิคุ้มกัน มี 62 ขณะที่พวกเขามีเหมือนกัน 5, ดัชนี Jaccard คือ 6.49% = 5 / (15 + 62)

การอ้างอิง

บทความนี้แสดงความสัมพันธ์ระหว่าง ฟาโกไซโทซิสและระบบภูมิคุ้มกัน หากต้องการเข้าถึงบทความแต่ละบทความที่ได้รับการรวบรวมข้อมูลโปรดไปที่:

Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »