โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ดาวน์โหลด
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

พีลิปโปสที่ 2 แห่งมาเกโดนีอาและอเล็กซานเดอร์มหาราช

ทางลัด: ความแตกต่างความคล้ายคลึงกันค่าสัมประสิทธิ์การเปรียบเทียบ Jaccardการอ้างอิง

ความแตกต่างระหว่าง พีลิปโปสที่ 2 แห่งมาเกโดนีอาและอเล็กซานเดอร์มหาราช

พีลิปโปสที่ 2 แห่งมาเกโดนีอา vs. อเล็กซานเดอร์มหาราช

ประติมากรรมเศียรของพีลิปโปสที่ 2 แห่งมาเกโดนีอา พีลิปโปสที่ 2 แห่งมาเกโดนีอา (กรีก: Φίλιππος Β' ὁ Μακεδών-มีความหมายว่า- φίλος (phílos) "เพื่อน" + ἵππος (híppos) "ม้า") กษัตริย์แห่งราชอาณาจักรมาเกโดนีอา มีรัชสมัยอยู่ระหว่าง 359– 336 ปีก่อนคริสต์ศักราช เป็นพระบิดาของอเล็กซานเดอร์ที่ 3 แห่งมาเกโดนีอา หรือที่รู้จักดีในนาม อเล็กซานเดอร์มหาราช พีลิปโปสที่ 2 แห่งมาเกโดนีอา มีพระเนตรที่ใช้การได้เพียงข้างเดียว เป็นกษัตริย์นักรบแห่งมาเกโดนีอา ที่ทำการรบเอาชนะนครรัฐต่าง ๆ ของกรีซโบราณได้หลายแห่ง ทั้ง ธีบส์, เอเธนส์ หรือสปาร์ตา เมื่อพระองค์ทำการยึดครองนครรัฐเอเธนส์ซึ่งเสมือนเป็นศูนย์กลางของกรีซโบราณได้แล้ว ทำให้ชาวกรีกในนครรัฐต่าง ๆ ต้องเปลี่ยนมุมมองที่มีต่อชาวมาเกโดนีอาใหม่ จากที่เคยมองว่าเป็นเพียงชนเผ่าที่เหมือนเป็นเผ่าป่าเถื่อน ไร้อารยธรรมทางเหนือของอาณาจักรเท่านั้น เมื่อพระองค์ไม่ได้ทำลายสิ่งปลูกสร้างต่าง ๆ หรือทำลายอารยธรรมของชาวเอเธนส์ หากแต่พระองค์ได้พยายามเรียนรู้และผสมรวมกันกับอารยธรรมของมาเกโดนีอา และพระองค์ยังได้ส่งเสริมนักวิชาการ นักปราชญ์ชาวเอเธนส์ต่าง ๆ ด้วยว่าจ้างให้ไปเผยแพร่ความรู้ยังมาเกโดนีอา และเป็นอาจารย์สอนวิทยาการต่าง ๆ ให้แก่ชาวมาเกโดนีอา เช่น อริสโตเติล ซึ่งอเล็กซานเดอร์ เมื่อครั้งยังเยาว์วัย ก็เป็นลูกศิษย์ของอริสโตเติลด้วยเช่นกัน ในการสงคราม พระองค์ได้ปรับปรุงยุทธวิธีการรบแบบใหม่ ทรงพัฒนากองทัพมาเกโดเนียโบราณขึ้นจนถึงจุดสมบูรณ์แบบ โดยใช้การผสมระหว่างกองทหารราบและกองทหารม้าเข้าไว้ด้วยกัน ใช้อาวุธแบบใหม่ คือ ทวนที่มีความยาวกว่า 5 เมตร โดยการใช้กองทหารตั้งแถวหน้ากระดานเดินบุกขึ้นหน้า และใช้ทวนยาวนี้พุ่งทะลุแทงข้าศึก ซึ่งรูปแบบการรบที่ใช้กันต่อมาอย่างยาวนานของกรีซโบราณ อีกทั้งยังประดิษฐ์หน้าไม้ที่มีอานุภาพยิงได้ระยะไกล และทะลวงเข้าถึงเกราะหรือโล่ของข้าศึกได้อีกด้วย พีลิปโปสที่ 2 แห่งมาเกโดนีอา มีประสงค์ที่จะทำสงครามกับอาณาจักรเปอร์เซีย ที่เสมือนเป็นคู่สงครามกับชาวกรีกมาตลอด แต่ประสงค์ของพระองค์มิทันได้เริ่มขึ้น เมื่อพระองค์สิ้นพระชนม์ลงก่อนเมื่อเดือนตุลาคม 336 ปีก่อนคริสต์ศักราช ขณะที่มีพระชนมายุได้ 46 ปี จากการลอบสังหารด้วยมีดปักเข้าที่พระอุระของมือสังหารที่เดินตามหลังพระองค์ ขณะที่พระองค์อยู่ในงานเฉลิมฉลอง ซึ่งไม่มีใครทราบถึงสาเหตุของการลอบสังหารครั้งนี้ เพราะมือสังหารได้ถูกสังหารโดยทหารองครักษ์ลงก่อนที่จะไต่สวนใด ๆ ได้มีการสันนิษฐานต่าง ๆ เช่น อาจเป็นการว่าจ้างของกษัตริย์เปอร์เซียด้วยทองคำ เป็นต้น. อเล็กซานเดอร์ที่ 3 แห่งมาเกโดนีอา (356-323 ปีก่อนคริสตกาล) หรือที่รู้จักกันโดยทั่วไปว่า อเล็กซานเดอร์มหาราช (Alexander the Great, Μέγας Ἀλέξανδρος) เป็นกษัตริย์กรีกจากราชอาณาจักรมาเกโดนีอา ผู้สร้างชื่อเสียงมากที่สุดของราชวงศ์อาร์กีด เป็นผู้สร้างจักรวรรดิที่ยิ่งใหญ่ที่สุดในประวัติศาสตร์ยุคโบราณ เกิดที่เมืองเพลลา ตอนเหนือของมาเกโดนีอา เมื่อปีที่ 356 ก่อนคริสตกาล ได้รับการศึกษาตามแบบกรีกดั้งเดิมภายใต้การกำกับดูแลของอริสโตเติล นักปรัชญากรีกผู้มีชื่อเสียง สืบทอดราชบัลลังก์ต่อจาก พีลิปโปสที่ 2 แห่งมาเกโดนีอา เมื่อปีที่ 336 ก่อนคริสตกาลหลังจากที่พระบิดาถูกลอบสังหาร สวรรคตในอีก 13 ปีต่อมาเมื่อพระชนมายุเพียง 32 พรรษา แม้ว่าราชบัลลังก์และจักรวรรดิของอเล็กซานเดอร์จะอยู่เพียงชั่วครู่ยาม แต่ผลกระทบจากการพิชิตดินแดนของพระองค์ส่งผลสืบเนื่องต่อมาเป็นเวลาหลายศตวรรษ อเล็กซานเดอร์ถือเป็นหนึ่งในบุรุษผู้มีชื่อเสียงมากที่สุดในโลกยุคโบราณ มีชื่อเสียงเลื่องลือในความสามารถทางการรบ ยุทธวิธี และการเผยแพร่อารยธรรมกรีกไปในดินแดนตะวันออก พระเจ้าพีลิปโปสทรงนำแว่นแคว้นกรีกโดยมากบนแผ่นดินใหญ่กรีซให้มาอยู่ภายใต้การปกครองของมาเกโดนีอา โดยใช้ทั้งกลวิธีทางการทูตและทางทหาร เมื่อพีลิปโปสสวรรคต อเล็กซานเดอร์จึงได้สืบทอดราชอาณาจักรที่เข้มแข็งและกองทัพที่เปี่ยมประสบการณ์ พระองค์เป็นที่ยอมรับในด้านการรบจากแว่นแคว้นกรีซ และได้เริ่มแผนการขยายอำนาจแผ่อาณาจักรตามที่บิดาเคยริเริ่มไว้ พระองค์ยกทัพรุกรานดินแดนเอเชียไมเนอร์ภายใต้การปกครองของอาณาจักรเปอร์เซีย และกระทำการรณยุทธ์อย่างต่อเนื่องติดต่อกันเป็นเวลาร่วมสิบปี อเล็กซานเดอร์เอาชนะชาวเปอร์เซียครั้งแล้วครั้งเล่า นำทัพข้ามซีเรีย อียิปต์ เมโสโปเตเมีย เปอร์เซีย และแบคเทรีย ทรงโค่นล้มกษัตริย์พระเจ้าดาไรอัสที่ 3 แห่งเปอร์เซีย และพิชิตจักรวรรดิเปอร์เซียได้ทั้งหมด พระองค์ไล่ตามความปรารถนาที่ต้องการเห็น "จุดสิ้นสุดของโลกและมหาสมุทรใหญ่ที่เบื้องปลาย" จึงยกทัพบุกอินเดีย แต่ต่อมาถูกบีบให้ต้องถอยทัพกลับโดยบรรดาทหารที่กำเริบขึ้นเนื่องจากเบื่อหน่ายการสงคราม การสูญเสียเฮฟีสเทียนทำให้อเล็กซานเดอร์ตรอมใจจนสวรรคตที่เมืองบาบิโลน ในปี 323 ก่อนคริสตกาล ก่อนจะเริ่มแผนการรบต่อเนื่องในการรุกรานคาบสมุทรอาระเบีย ในปีถัดจากการสวรรคตของอเล็กซานเดอร์ เกิดสงครามกลางเมืองทั่วไปจนอาณาจักรของพระองค์แตกเป็นเสี่ยงๆ ทำให้เกิดเป็นรัฐใหญ่น้อยมากมายปกครองโดยบรรดาขุนนางชาวมาเกโดนีอา แม้ความเป็นผู้พิชิตของพระองค์จะโดดเด่นอย่างยิ่ง แต่มรดกของอเล็กซานเดอร์ที่ยืนยงต่อมากลับมิใช่ราชบัลลังก์ กลายเป็นการเผยแพร่วัฒนธรรมที่ติดตามมาจากการพิชิตดินแดนเหล่านั้น การก่อร่างสร้างเมืองอาณานิคมกรีกและวัฒนธรรมกรีกที่เผยแพร่ไปในแดนตะวันออกทำให้เกิดเป็นวัฒนธรรมเฮเลนนิสติก ซึ่งยังคงสืบทอดต่อมาในจักรวรรดิไบแซนไทน์กระทั่งกลางคริสต์ศตวรรษที่ 15 อเล็กซานเดอร์เป็นบุคคลในตำนานในฐานะวีรบุรุษผู้ตามอย่างอคิลลีส มีบทบาทสำคัญในประวัติศาสตร์และวัฒนธรรมปรัมปราทั้งของฝ่ายกรีกและที่ไม่ใช่กรีก เป็นหลักเกณฑ์มาตรฐานซึ่งบรรดานายพลทั้งหลายใช้เปรียบเทียบกับตนเองแม้จนถึงปัจจุบัน โรงเรียนการทหารทั่วโลกยังคงใช้ยุทธวิธีการรบของพระองค์เป็นแบบอย่างในการเรียนการสอน.

ความคล้ายคลึงกันระหว่าง พีลิปโปสที่ 2 แห่งมาเกโดนีอาและอเล็กซานเดอร์มหาราช

พีลิปโปสที่ 2 แห่งมาเกโดนีอาและอเล็กซานเดอร์มหาราช มี 8 สิ่งที่เหมือนกัน (ใน ยูเนี่ยนพีเดีย): กษัตริย์ภาษากรีกราชอาณาจักรมาเกโดนีอาสปาร์ตาอาริสโตเติลธีบส์ตุลาคมเอเธนส์

กษัตริย์

กษัตริย์ (क्षत्रिय กฺษตฺริย; khattiya ขตฺติย; ปรากฤต:khatri) เป็นวรรณะหนึ่งในสังคมชาวฮินดู (อีก 4 วรรณะที่เหลือคือพราหมณ์ แพศย์ และศูทร).

กษัตริย์และพีลิปโปสที่ 2 แห่งมาเกโดนีอา · กษัตริย์และอเล็กซานเดอร์มหาราช · ดูเพิ่มเติม »

ภาษากรีก

ษากรีก ซึ่งคนที่พูดและเขียนภาษานี้เรียกว่า เฮลเลนิก หรือ เอลเลนิกา (Ελληνικά) เป็นภาษากลุ่มอินโด-ยูโรเปียน เกิดในประเทศกรีซ และเคยเป็นภาษาพูดตามชายฝั่งของเอเชียไมเนอร์และทางใต้ของประเทศอิตาลีในยุคโบราณ มีการพูดภาษาถิ่นจำนวนหนึ่ง เช่น ไอโอนิก ดอริก และแอททิก การเรียนการสอนภาษากรีกในประเทศไทยยังไม่แพร่หลายนัก ปัจจุบันมีเพียง คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง, รูปแบบไฟล.doc /สืบค้นเมื่อวันที่ 21 มกราคม..

พีลิปโปสที่ 2 แห่งมาเกโดนีอาและภาษากรีก · ภาษากรีกและอเล็กซานเดอร์มหาราช · ดูเพิ่มเติม »

ราชอาณาจักรมาเกโดนีอา

มาเกโดนีอา (Μακεδονία) หรือ มาซิโดเนีย (Macedonia) เป็นราชอาณาจักรในกรีซโบราณที่มีศูนย์กลางอยู่ทางตะวันออกเฉียงเหนือของคาบสมุทรกรีซ มาเกโดนีอาดินแดนของชนมาเกโดนีอาโบราณมีเขตแดนติดกับราชอาณาจักรอิไพรัส (Epirus) ทางตะวันตก, ราชอาณาจักรไพโอเนีย (Paionia) ทางตอนเหนือ, เทรซทางตะวันออก และเทสซาลี (Thessaly) ทางด้านใต้ ในช่วงระยะเวลาอันสั้นหลังจากการพิชิตดินแดนต่างๆ ของอเล็กซานเดอร์มหาราชราชอาณาจักรมาเกโดนีอาก็เป็นราชอาณาจักรที่มีอิทธิพลมากที่สุดในโลกที่มีดินแดนที่ครอบคลุมกรีซทั้งหมดไปจนถึงอินเดีย ซึ่งเป็นการเริ่มต้นยุคประวัติศาสตร์ที่เรียกว่าสมัยเฮเลนนิสต.

พีลิปโปสที่ 2 แห่งมาเกโดนีอาและราชอาณาจักรมาเกโดนีอา · ราชอาณาจักรมาเกโดนีอาและอเล็กซานเดอร์มหาราช · ดูเพิ่มเติม »

สปาร์ตา

แผนที่สปาร์ตาโบราณ สปาร์ตา (Doric: Spártā, Attic: Spártē) เป็นชื่อเรียกของรัฐอิสระ ของชาวดอเรียน ซึ่งเป็นหนึ่งในชนเผ่าที่สำคัญของกรีกในยุคโบราณ สปาร์ตามีศูนย์กลางอยู่ที่ลาโอเนีย และมีจุดเด่นที่เน้นการฝึกทหาร จนอาจจะกล่าวได้ว่าสปาร์ตาเป็นรัฐทางทหาร ที่เป็นที่เข้มแข็งที่สุดในประวัติศาสตร์ของกรีกโบราณ โดยกองทัพสปาร์ตาสามารถมีชัยเหนือจักรวรรดิเปอร์เซีย และ จักรวรรดิเอเธนเนียน และได้รับการยอมรับว่าเป็นผู้ปกป้องรัฐอื่น ๆ ในกรีก พวกสปาร์ตาสามารถตั้งนครรัฐของตนและยึดครองดินแดนต่าง ๆ ได้ด้วยการทำสงคราม ดั้งนั้นจึงให้ความสำคัญกับระบบทหาร หมวดหมู่:กรีซโบราณ หมวดหมู่:นครรัฐในกรีซโบราณ.

พีลิปโปสที่ 2 แห่งมาเกโดนีอาและสปาร์ตา · สปาร์ตาและอเล็กซานเดอร์มหาราช · ดูเพิ่มเติม »

อาริสโตเติล

อาริสโตเติล หรือ แอริสตอเติล (Αριστοτέλης; Aristotle) (384 ปีก่อนคริสตกาล – 7 มีนาคม 322 ปีก่อนคริสตกาล) เป็นนักปรัชญากรีกโบราณ เป็นลูกศิษย์ของเพลโต และเป็นอาจารย์ของอเล็กซานเดอร์มหาราช ท่านและเพลโตได้รับยกย่องให้เป็นหนึ่งในนักปรัชญาที่มีอิทธิพลสูงที่สุดท่านหนึ่ง ในโลกตะวันตก ด้วยผลงานเขียนหนังสือเกี่ยวกับฟิสิกส์ กวีนิพนธ์ สัตววิทยา การเมือง การปกครอง จริยศาสตร์ และชีววิทยา นักปรัชญากรีกโบราณที่ยิ่งใหญ่ที่สุดคืออาริสโตเติล เพลโต (อาจารย์ของอาริสโตเติล) และโสกราตีส (ที่แนวคิดของเขานั้นมีอิทธิพลอย่างสูงกับเพลโต) พวกเขาได้เปลี่ยนโฉมหน้าของปรัชญากรีก สมัยก่อนโสกราตีส จนกลายเป็นรากฐานสำคัญของปรัชญาตะวันตกในลักษณะปัจจุบัน โสกราตีสนั้นไม่ได้เขียนอะไรทิ้งไว้เลย ทั้งนี้เนื่องจากผลของแนวคิดปรากฏในบทสนทนาของเพลโตชื่อ เฟดรัส เราได้ศึกษาแนวคิดของเขาผ่านทางงานเขียนของเพลโตและนักเขียนคนอื่นๆ ผลงานของเพลโตและอริสโตเติลเป็นแก่นของปรัชญาโบราณ อริสโตเติลเป็นหนึ่งในไม่กี่บุคคลในประวัติศาสตร์ที่ได้ศึกษาแทบทุกสาขาวิชาที่มีในช่วงเวลาของเขา ในสาขาวิทยาศาสตร์ อริสโตเติลได้ศึกษา กายวิภาคศาสตร์, ดาราศาสตร์, วิทยาเอ็มบริโอ, ภูมิศาสตร์, ธรณีวิทยา, อุตุนิยมวิทยา, ฟิสิกส์,และ สัตววิทยา ในด้านปรัชญา อริสโตเติลเขียนเกี่ยวกับ สุนทรียศาสตร์, เศรษฐศาสตร์, จริยศาสตร์, การปกครอง, อภิปรัชญา, การเมือง, จิตวิทยา, วาทศิลป์ และ เทววิทยา เขายังสนใจเกี่ยวกับ ศึกษาศาสตร์, ประเพณีต่างถิ่น, วรรณกรรม และ กวีนิพนธ์ ผลงานของเขาเมื่อรวบรวมเข้าด้วยกันแล้ว สามารถจัดว่าเป็นสารานุกรมของความรู้สมัยกรีก.

พีลิปโปสที่ 2 แห่งมาเกโดนีอาและอาริสโตเติล · อาริสโตเติลและอเล็กซานเดอร์มหาราช · ดูเพิ่มเติม »

ธีบส์

ีบส์ (กรีกโบราณ: Θῆβαι, Thēbai) เป็นที่รู้จักของชาวอียิปต์โบราณว่า วาเซท เป็นเมืองอียิปต์โบราณตั้งอยู่ทางตะวันออกของแม่น้ำไนล์ประมาณ 800 กิโลเมตร (500 ไมล์) ทางตอนใต้ของทะเลเมดิเตอร์เรเนียน ซากปรักหักพังของเมืองนี้อยู่ในเมืองลักซอร์ในอียิปต์สมัยปัจจุบีน ธีบส์เป็นเมืองหลักของชาวอียิปต์บน และเป็นเมืองหลวงของอียิปต์ส่วนใหญ่ในช่วงราชอาณาจักรกลางและราชอาณาจักรใหม่ และอยู่ใกล้กับเมืองของชาวนิวเบีย และทะเลทรายทางทิศตะวันออกซึ่งมีทรัพยากรแร่และเส้นทางการค้าที่มีสำคัญ เป็นศูนย์กลางการบูชาและเป็นเมืองที่นับถือมากที่สุดของอียิปต์โบราณในช่วงความมั่งคั่ง พื้นที่ของธีบส์ครอบคลุมพื้นที่ทั้งฝั่งตะวันออกของแม่น้ำไนล์ซึ่งเป็นที่ตั้งของวิหารที่เมืืองคาร์นักและเมืองลักซอร์ และเมืองที่เหมาะสมตั้งอยู่ และชายฝั่งตะวันตกซึ่งเป็นที่ตั้งของสุสานขนาดใหญ่และยังคงอยู่ในสมัยปัจจุบันและยังสามารถพบได้.

ธีบส์และพีลิปโปสที่ 2 แห่งมาเกโดนีอา · ธีบส์และอเล็กซานเดอร์มหาราช · ดูเพิ่มเติม »

ตุลาคม

ตุลาคม เป็นเดือนที่ 10 ของปี ตามปฏิทินเกรกอเรียน และเป็นหนึ่งในเดือน 7 เดือนที่มี 31 วัน ตามหลักโหราศาสตร์ เดือนตุลาคมเริ่มต้นขึ้นเมื่อดวงอาทิตย์ยกเข้าสู่ราศีตุล และสิ้นสุดเมื่อยกเข้าสู่ราศีพิจิก แต่ในทางดาราศาสตร์ เดือนตุลาคมดวงอาทิตย์อยู่ในกลุ่มดาวหญิงสาวและไปอยู่ในกลุ่มดาวคันชั่งตอนต้นเดือนพฤศจิกายน เดือนตุลาคมในภาษาอังกฤษ October มาจากภาษาละติน octo เนื่องจากเป็นเดือนที่ 8 ในปฏิทินโรมันดั้งเดิมที่เริ่มต้นปีในเดือนมีนาคม ประเทศไทยเริ่มใช้ชื่อเดือนตุลาคมในปี พ.ศ. 2432 ตรงกับสมัยรัชกาลที่ 5 โดยสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอกรมพระยาเทววงศ์วโรปการ เป็นผู้เสนอให้ใช้ราศีกำหนดชื่อเดือน.

ตุลาคมและพีลิปโปสที่ 2 แห่งมาเกโดนีอา · ตุลาคมและอเล็กซานเดอร์มหาราช · ดูเพิ่มเติม »

เอเธนส์

อเธนส์ (Athens; Αθήνα อธีนา) เป็นเมืองหลวงของประเทศกรีซ และยังเป็นเมืองใหญ่ที่สุดในประเทศกรีซ ใช้ชื่อตามพระเจ้าอะธีนาในปุราณวิทยา เป็นหนี่งในเมืองที่เก่าแก่ที่สุดในโลก โดนกินช่วงระยะเวลามากกว่า 3,400 ปี และมีการตั้งถิ่นฐานมาตั้งแต่ประมาณช่วงสหัสวรรษที่ 11 และ 7 ก่อนคริสตกาล ในช่วงยุคคลาสสิกของกรีซ หรือประมาณปีที่ 508-322 ก่อนคริสต์ศักราช เอเธนส์ขึ้นสู่จุดสูงสุดของอำนาจ และเป็นนครรัฐที่มีอิทธิพลอย่างมากในยุคนั้น อีกทั้งยังเป็นศูนย์กลางของศิลปะ การเรียนรู้ และปรัชญา เมืองเอเธนส์ยังได้รับการอ้างอิงอย่างกว้างขวางว่าเป็นต้นกำเนิดของอารยธรรมตะวันตก และเป็นที่ที่การปกครองระบอบประชาธิปไตยถือกำเนิดขึ้นเป็นครั้งแรก ปัจจุบันเอเธนส์เป็นเมืองนานาชาติที่ทันสมัย เป็นศูนย์กลางทางเศรษฐกิจ การเงิน อุตสาหกรรม การเมือง และชีวิตทางวัฒนธรรมในกรีซ และภูมิภาคตะวันออกเฉียงใต้ของยุโรป เป็นที่ตั้งของท่าเรือไพรีอัส ซึ่งเป็นท่าเรือผู้โดยสารที่ใหญ่ที่สุดในยุโรป เอเธนส์ถูกจัดอันดับให้เป็นเมืองที่รวยที่สุดอันดับที่ 39 ของโลก ในปี 2012 ประชากรในเขตเทศบาลเมือง บนขนาดพื้นที่ มีประมาณ 655,442 คน (796,442 คน ณ ปี ค.ศ. 2004) ส่วนประชากรในเขตเมือง (urban area) ทั้งหมด บนขนาดพื้นที่ มี 3,090,508 คน ตามสถิติเมื่อปี..

พีลิปโปสที่ 2 แห่งมาเกโดนีอาและเอเธนส์ · อเล็กซานเดอร์มหาราชและเอเธนส์ · ดูเพิ่มเติม »

รายการด้านบนตอบคำถามต่อไปนี้

การเปรียบเทียบระหว่าง พีลิปโปสที่ 2 แห่งมาเกโดนีอาและอเล็กซานเดอร์มหาราช

พีลิปโปสที่ 2 แห่งมาเกโดนีอา มี 38 ความสัมพันธ์ขณะที่ อเล็กซานเดอร์มหาราช มี 55 ขณะที่พวกเขามีเหมือนกัน 8, ดัชนี Jaccard คือ 8.60% = 8 / (38 + 55)

การอ้างอิง

บทความนี้แสดงความสัมพันธ์ระหว่าง พีลิปโปสที่ 2 แห่งมาเกโดนีอาและอเล็กซานเดอร์มหาราช หากต้องการเข้าถึงบทความแต่ละบทความที่ได้รับการรวบรวมข้อมูลโปรดไปที่:

Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »