โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ดาวน์โหลด
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

พระราชกฤษฎีกาอ็องบวซและสงครามศาสนาของฝรั่งเศส

ทางลัด: ความแตกต่างความคล้ายคลึงกันค่าสัมประสิทธิ์การเปรียบเทียบ Jaccardการอ้างอิง

ความแตกต่างระหว่าง พระราชกฤษฎีกาอ็องบวซและสงครามศาสนาของฝรั่งเศส

พระราชกฤษฎีกาอ็องบวซ vs. สงครามศาสนาของฝรั่งเศส

ระราชกฤษฎีกาอ็องบวซ ค.ศ. 1563 พระราชกฤษฎีกาอ็องบวซ (Edict of Amboise) ที่ลงนามกันที่พระราชวังอ็องบวซเมื่อวันที่ 19 มีนาคม ค.ศ. 1563 โดยแคทเธอรีน เดอ เมดิชิผู้ขณะนั้นทรงดำรงพระราชอิสริยยศเป็นผู้สำเร็จราชการแผ่นดินแทนพระราชโอรสพระเจ้าชาร์ลส์ที่ 9 เป็นพระราชกฤษฎีกาเพื่อการยุติช่วงแรกของสงครามศาสนาของฝรั่งเศส และนำราชอาณาจักรกลับมาสู่สันติสุขโดยการรับรองเสรีภาพและอภิสิทธิ์ในการนับถือศาสนาแก่ประชากรผู้เป็นโปรเตสแตนต์หรือที่เรียกว่าอูเกอโนต์ แม้ว่าจะเป็นพระราชกฤษฎีกาที่มีเนื้อหาที่จำกัดกว่าพระราชกฤษฎีกาแซ็ง-แฌร์แม็งที่ลงนามกันในปีก่อนหน้านั้น แต่ก็ยังอนุญาตให้มีการทำพิธีศาสนาแบบโปรเตสแตนต์ภายในที่อยู่อาศัยส่วนบุคคลของขุนนาง และในปริมณฑลของเมืองที่ระบุภายใน "baillage" หรือ "sénéchaussée" ราชสภาแห่งปารีสผู้ขับสมาชิกผู้เป็นอูเกอโนต์ออกจากสภาต่อต้านการลงทะเบียนของพระราชกฤษฎีกาเช่นเดียวกับสภาการปกครองท้องถิ่น แต่ก็ได้ยินยอมหลังจากที่มีการประท้วง แต่เพิ่มข้อแม้ในพระราชกฤษฎีกามิให้มีผลบังคับตามเนื้อหาอย่างเต็มที่จนกว่าพระเจ้าชาร์ลส์ที่ 9 จะทรงบรรลุนิติภาวะ เมื่อสภาแห่งชาติมีโอกาสที่จะตัดสินกรณีที่เกี่ยวกับข้อขัดแย้งทางศาสนา เมื่อพระเจ้าชาร์ลส์ทรงประกาศการบรรลุนิติภาวะของพระองค์เมื่อมีพระชนมายุได้ 14 พรรษาเมื่อวันที่ 17 สิงหาคม ค.ศ. 1563 พระองค์ก็ทรงเลือกรัฐบาลท้องถิ่นแห่งรูอ็องให้เป็นสถานที่สำหรับ "lit de justice" หรือ "การออกพระราชกฤษฎีกา" แทนปารีสที่ทำกันตามปกติ ในขณะเดียวกันก็ทรงออกพระราชกฤษฎีกาฉบับสมบูรณ์แทนฉบับย่อที่บังคับใช้กันก่อนหน้านั้น. หตุการณ์สังหารหมู่วันเซนต์บาร์โธโลมิว สงครามศาสนาของฝรั่งเศส (French Wars of Religion) เป็นสงครามกลางเมืองฝรั่งเศส ระหว่างค.ศ. 1562 ถึง ค.ศ. 1598 ระหว่างฝ่ายคาทอลิก นำโดยตระกูลกีส (Guise) กับกลุ่มอูเกอโนต์ (Huguenots) หรือโปรเตสแตนต์ในฝรั่งเศส นำโดยตระกูลบูร์บง ผลคือฝรั่งเศสเปลี่ยนราชวงศ์ใหม่จากราชวงศ์วาลัวส์ เป็นราชวงศ์บูร์บง และเสรีภาพทางศาสนาของผู้นับถือโปรเตสแตนต์ในฝรั่งเศสตามพระราชกฤษฎีกาแห่งนองซ์ออกโดยพระเจ้าอองรีที่ 4.

ความคล้ายคลึงกันระหว่าง พระราชกฤษฎีกาอ็องบวซและสงครามศาสนาของฝรั่งเศส

พระราชกฤษฎีกาอ็องบวซและสงครามศาสนาของฝรั่งเศส มี 5 สิ่งที่เหมือนกัน (ใน ยูเนี่ยนพีเดีย): พ.ศ. 2106พระเจ้าชาร์ลที่ 9 แห่งฝรั่งเศสอูเกอโนต์แคทเธอรีน เดอ เมดีชีโปรเตสแตนต์

พ.ศ. 2106

ทธศักราช 2106 ใกล้เคียงกั.

พ.ศ. 2106และพระราชกฤษฎีกาอ็องบวซ · พ.ศ. 2106และสงครามศาสนาของฝรั่งเศส · ดูเพิ่มเติม »

พระเจ้าชาร์ลที่ 9 แห่งฝรั่งเศส

ระเจ้าชาร์ลที่ 9 แห่งฝรั่งเศส (Charles IX of France) (27 มิถุนายน ค.ศ. 1550 - 30 พฤษภาคม ค.ศ. 1574) เป็นพระมหากษัตริย์แห่งฝรั่งเศสแห่งราชวงศ์วาลัวส์ ผู้ทรงครองราชบัลลังก์ฝรั่งเศสระหว่างวันที่ 5 ธันวาคม ค.ศ. 1560 จนเสด็จสวรรคตเมื่อวันที่ 30 พฤษภาคม ค.ศ. 1574 พระเจ้าชาร์ลที่ 9 เสด็จพระราชสมภพเมื่อวันที่ 27 มิถุนายน ค.ศ. 1550 ที่พระราชวังแซงต์-แชร์แม็ง-ออง-เลย์ในประเทศฝรั่งเศส เป็นพระราชโอรสองค์ที่สามในพระเจ้าอองรีที่ 2 และ แคทเธอรีน เดอ เมดิชิ ทรงเสกสมรสกับเอลิซาเบธแห่งออสเตรีย และมีพระราชธิดาพระองค์เดียวกับเอลิซาเบธมารี เอลิซาเบธแห่งวาลัวส์ พระเจ้าชาร์ลทระเป็นพระอนุชาของพระเจ้าฟรองซัวส์ที่ 2 และเป็นพระเชษฐาของพระเจ้าอองรีที่ 3 และมาร์เกอรีตแห่งวาลัวส์ สมเด็จพระราชินีแห่งฝรั่ง.

พระราชกฤษฎีกาอ็องบวซและพระเจ้าชาร์ลที่ 9 แห่งฝรั่งเศส · พระเจ้าชาร์ลที่ 9 แห่งฝรั่งเศสและสงครามศาสนาของฝรั่งเศส · ดูเพิ่มเติม »

อูเกอโนต์

อูเกอโนต์ (huguenots) เป็นกลุ่มชาติพันธุ์ศาสนาของคริสเตียน (โปรเตสแตนต์) ฝรั่งเศสผู้นับถือขนบปฏิรูป คำนี้ใช้เรียกสมาชิกคริสตจักรปฏิรูปแห่งฝรั่งเศสตั้งแต่ต้นคริสต์ทศวรรษ 1500 ถึงประมาณปี 1800 คำนี้มีจุดกำเนิดในประเทศฝรั่งเศส อูเกอโนต์เป็นคริสเตียนฝรั่งเศสซึ่งมาจากทางเหนือของประเทศฝรั่งเศสเป็นหลัก ซึ่งได้รับแรงบันดาลใจจากงานเขียนของนักเทววิทยาในต้นคริสต์ทศวรรษ 1500 และผู้สนับสนุนขนบปฏิรูปของนิกายโปรเตสแตนต์ ซึ่งขัดกับประชากรส่วนใหญ่ซึ่งเป็นเยอรมันนับถือนิกายลูเทอแรนในอาลซัส มอแซลและมงเบลียาร์ ฮันส์ ฮิลเลอร์แบรนด์ (Hans Hillerbrand) ในสารานุกรมนิกายโปรเตสแตนต์อ้างว่าชุมชนอูเกอโนต์มีประชากรมากถึงร้อยละ 10 ของประชากรฝรั่งเศสในวันก่อนการสังหารหมู่วันนักบุญบาร์โทโลมิว โดยลดลงเหลือร้อยละ 7–8 เมื่อประมาณปี 1600 และยิ่งลดลงหลังการเบียดเบียนอย่างหนักซึ่งเริ่มต้นอีกหลังพระราชกฤษฎีกาฟงแตนโบลโดยพระเจ้าหลุยส์ที่ 14 แห่งฝรั่งเศส จำนวนของอูเกอโนต์สูงสุดประมาณเกือบสองล้านคนในปี 1562 โดยส่วนใหญ่กระจุกอยู่ส่วนใต้และตะวันตกของประเทศฝรั่งเศส เมื่ออูเกอโนต์มีอิทธิพลและแสดงออกซึ่งศรัทธาของพวกตนอย่างเปิดเผยมากขึ้น ความเป็นปรปักษ์ของคาทอลิกก็เติบโตขึ้นด้วย แม้มีการผ่อนปรนทางการเมืองและพระราชกฤษฎีกาการยอมรับความต่างทางศาสนาจากพระมหากษัตริย์ฝรั่งเศส มีความขัดแย้งทางศาสนาหลายครั้งตามมา เรียก สงครามศาสนาฝรั่งเศส ซึ่งสู้รบกันเป็นพัก ๆ ตั้งแต่ปี 1562 ถึง 1598 อูเกอโนต์มีแฌน ดาเบร (Jeanne d'Albret) และพระราชโอรส อนาคตพระเจ้าอ็องรีที่ 4 แห่งฝรั่งเศส และเจ้ากองเด สงครามยุติด้วยพระราชกฤษฎีกานองซ์ ซึ่งให้อัตตาณัติศาสนา การเมืองและทหารพอสมควรแก่อูเกอโนต์ กบฏอูเกอโนต์ในคริสต์ทศวรรษ 1620 ทำให้มีการเลิกเอกสิทธิ์ทางการเมืองและทางทหารของพวกเขา พวกเขายังคงไว้ซึ่งบทบัญญัติทางศาสนาของพระราชกฤษฎีกานองซ์จนถึงรัชกาลพระเจ้าหลุยส์ที่ 14 พระองค์ค่อย ๆ เพิ่มการเบียดเบียนอูเกอโนต์จนทรงตราพระราชกฤษฎีกาฟงแตนโบล (ปี 1685) ยุติการรับรองนิกายโปรเตสแตนต์ใด ๆ ตามกฎหมายในประเทศฝรั่งเศสและบีบให้อูเกอโนต์เข้ารีตหรือหลบหนีในระลอกดราโกนาเดอ (dragonnades) รุนแรง พระเจ้าหลุยส์ที่ 14 ทรงทำให้ประชากรอูเกอโนต์ฝรั่งเศส 800,000 ถึง 900,000 คนลดเหลือ 1,000 ถึง 1,500 คน กระนั้น อูเกอโนต์จำนวนเล็กน้อยยังเหลือรอดและเผชิญการเบียดเบียนต่อเนื่องมาถึงพระเจ้าหลุยส์ที่ 15 เมื่อพระเจ้าหลุยส์ที่ 15 เสด็จสวรรคตในปี 1774 ลัทธิคาลวินในฝรั่งเศสเกือบสูญสิ้นทั้งหมด การเบียดเบียนคริสเตียนยุติลงอย่างเป็นทางการด้วยพระราชกฤษฎีกาแวร์ซาย (พระราชกฤษฎีกาการยอมรับความต่างทางศาสนา) ซึ่งพระเจ้าหลุยส์ที่ 16 ทรงลงพระปรมาภิไธยในปี 1787 สองปีให้หลัง ประกาศสิทธิมนุษยชนและพลเมืองปี 1789 ให้คริสเตียนได้รับสิทธิเท่าเทียมเป็นพลเมืองAston, Religion and Revolution in France, 1780–1804 (2000) pp 245–50 ผู้อพยพอูเกอโนต์จำนวนมากอพยพไปยังรัฐโปรเตสแตนต์อย่างอังกฤษ เวลส์ สกอตแลนด์ เดนมาร์ก สวีเดน สวิสเซอร์แลนด์ สาธารณรัฐดัตช์ รัฐผู้คัดเลือกบรันเดนบูร์กและรัฐผู้คัดเลือกพาลาทิเนตในจักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ ดัชชีปรัสเซีย หมู่เกาะแชนเนล ตลอดจนไอร์แลนด์ซึ่งประชากรส่วนใหญ่เป็นคาทอลิกแต่โปรเตสแตนต์ควบคุม พวกเขายังแพร่ไปยังอาณานิคมแหลมดัตช์ในแอฟริกาใต้ หมู่เกาะอินเดียตะวันออกดัตช์ แคริบเบียน นิวเนเธอร์แลนด์และอาณานิคมอังกฤษหลายแห่งในทวีปอเมริกาเหนือ ครอบครัวจำนวนน้อยไปยังรัสเซียที่นับถือออร์โธด็อกซ์และควิเบกที่นับถือคาทอลิก ปัจจุบัน อูเกอโนต์ส่วนใหญ่กลืนเข้าสู่สังคมและวัฒนธรรมต่าง ๆ แต่ชุมชนหลงเหลือกามีซาร์ (Camisards) ในเทือกเขาซีเวน (Cévennes) สมาชิกของคริสตจักรโปรเตสแตนต์รวมฝรั่งเศส สมาชิกฝรั่งเศสของคริสตจักรปฏิรูปโปรเตสแตนต์อาลซัสและลอแรนซึ่งส่วนใหญ่เป็นเยอรมัน ตลอดจนกลุ่มอูเกอโนต์ในประเทศอังกฤษและออสเตรเลียยังคงความเชื่อของพวกตนและการเรียกชื่ออูเกอโนต.

พระราชกฤษฎีกาอ็องบวซและอูเกอโนต์ · สงครามศาสนาของฝรั่งเศสและอูเกอโนต์ · ดูเพิ่มเติม »

แคทเธอรีน เดอ เมดีชี

ระเจ้าอองรีที่ 2 แห่งฝรั่งเศส พระราชสวามี แคทเธอรีน เดอ เมดิชิ (ภาษาอังกฤษ: Catherine de' Medici) (13 เมษายน ค.ศ. 1519 – 5 มกราคม ค.ศ. 1589) เกิดที่เมืองฟลอเรนซ์ ประเทศอิตาลี ชื่อเมื่อแรกเกิดในภาษาอิตาลีคือ “คาเทอรีนา มารีอา โรโมลา ดี ลอเร็นโซ เดอ เมดิชิ” (Caterina Maria Romola di Lorenzo de' Medici) พระบิดาและมารดาของแคทเธอรีนคือลอเรนโซที่ 2 เดอ เมดิชิ ดยุกแห่งเออร์บิโนและมาเดเลน เดอ ลา ทัวร์ โดแวญ เคาเทสแห่งบูลอยน (Madeleine de la Tour d'Auvergne, Countess of Boulogne) ทั้งสองคนเสียชีวิตไปไม่นานหลังจากที่แคทเธอรีนประสูติ พระนามมาเปลี่ยนมาสะกดแบบฝรั่งเศสต่อมาเป็น “Catherine de Médicis” แคทเธอรีนเป็นพระอัครมเหสีในพระเจ้าอองรีที่ 2 แห่งฝรั่งเศสระหว่างปี ค.ศ. 1547 ถึงปี ค.ศ. 1559 เมื่อมีพระชนม์ได้ 14 พรรษาในปี ค.ศ. 1533 แคทเธอรีนก็ทรงเสกสมรสกับอองรีดยุกแห่งออร์เลอองผู้เป็นพระราชโอรสองค์ที่สองของพระเจ้าฟรองซัวส์ที่ 1 แห่งฝรั่งเศส กับพระราชินีโคลด เมื่อเจ้าชายรัชทายาท ฟรองซัวส์ หรือ “โดแฟ็ง” (Dauphin) พระเชษฐาของอองรีสิ้นพระชนม์ในปี ค.ศ. 1536 อองรีก็ได้ขึ้นเป็นโดแฟงแทน แคทเธอรีนจึงทรงมีตำแหน่งเป็น “โดฟีน” (Dauphine) ต่อมาเมื่อพระเจ้าฟรองซัวส์ที่ 1 เสด็จสวรรคต อองรีก็ขึ้นเสวยราชสมบัติเป็นพระเจ้าอองรีที่ 2 แห่งฝรั่งเศส ในปี ค.ศ. 1547 ระหว่างการครองราชพระเจ้าอองรีก็มิได้ให้ความสำคัญต่อพระราชินีแคทเธอรีนเท่าใดนัก แต่ทรงกลับไปปรนเปรอพระสนมคนโปรด ไดแอน เดอ ปอยเตียร์ (Diane de Poitiers) แทน เมื่อพระเจ้าอองรีเสด็จสวรรคตในปี ค.ศ. 1559 พระราชินีแคทเธอรีนจึงทรงเริ่มมีบทบาททางการเมืองโดยการเป็นพระชนนีของพระเจ้าฟรองซัวส์ที่ 2 แห่งฝรั่งเศสผู้มีพระชนมายุเพียง 15 พรรษาเมื่อขึ้นครองราชย์และไม่ทรงแข็งแรงเท่าใดนัก พระเจ้าฟรองซัวส์ทรงปกครองฝรั่งเศสได้เพียงปีเดียวก็เสด็จสวรรคต พระราชินีแคทเธอรีนก็ได้รับแต่งตั้งให้เป็นผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ผู้มีอำนาจเต็มที่ในพระโอรสองค์รอง พระเจ้าชาร์ลที่ 9 ผู้มีพระชนมายุได้เพียง 10 พรรษา หลังจากพระเจ้าชาลส์เสด็จสวรรคตพระราชินีนาถแคทเธอรีนก็ทรงมีบทบาทสำคัญในการปกครองมากขึ้นเมื่อพระราชโอรสองค์ที่สามขึ้นครองราชย์เป็นพระเจ้าอองรีที่ 3 พระเจ้าอองรีทรงปรึกษาราชการแผ่นดินต่างๆ กับพระราชชนนีจนระยะสุดท้ายก่อนที่จะสิ้นพระชนม์ พระโอรสผู้อ่อนแอทั้งสามพระองค์ของแคทเธอรีนทรงปกครองฝรั่งเศสในขณะที่บ้านเมืองระส่ำระสายจากการก่อความไม่สงบต่างที่เกิดขึ้นจากสงครามกลางเมืองและสงครามศาสนา ปัญหาความขัดแย้งต่างๆ ที่เกิดขึ้นมิได้อยู่ในความควบคุมของระบบพระมหากษัตริย์และเป็นปัญหาที่ใหญ่แม้แต่สำหรับพระมหากษัตริย์ผู้ทรงอำนาจ เมื่อแรกเริ่มแคทเธอรีนก็พยายามประนีประนอมกับฝ่ายอูเกอโนท์ (Huguenots) หรือชาวฝรั่งเศสที่นับถือนิกายโปรเตสแตนต์เมื่อมีการจลาจลเกิดขึ้น แต่ก็ไม่ทรงเข้าใจอย่างลึกซึ้งถึงปัญหาความขัดแย้งทางปรัชญาทางคริสต์ศาสนวิทยาและสาเหตุของขบวนการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น ซึ่งทำให้พระองค์ไม่มีพระอุตสาหะพอที่จะพยายามแก้ไขสถานการณ์ได้อย่างสันติ และทรงใช้ไม้แข็งในการปราบปรามผู้ก่อความไม่สงบ พระองค์จึงทรงถูกประณามในเหตุการณ์ร้ายต่างๆ ที่เกิดขึ้นโดยเฉพาะเหตุการณ์การสังหารหมู่วันเซนต์บาโทโลมิว ในปี ค.ศ. 1572 ซึ่งเป็นผลให้อูเกอโนท์ถูกสังหารอย่างทารุณทั้งในปารีสและทั่วไปในประเทศฝรั่งเศส นักประวัติศาสตร์สันนิษฐานกันว่าในปารีสเองมีผู้เสียชีวิตประมาณ 2,000 คนและอีกประมาณ 5,000-10,000 คนในบริเวณอื่นทั่วฝรั่งเศส หลังจากนั้นก็มีเรื่องสยดสยองต่างๆ จากเหตุการณ์ในเอกสารที่แจกจ่ายกันในสมัยนั้นซึ่งเป็นต้นกำเนิด “ตำนานมืด” (The Black Legend) ของ “พระราชินีผู้ชั่วร้าย” จากปากเสียงของผู้เป็นปฏิปักษ์ต่อพระองค์ พระราชินีนาถแคทเธอรีนทรงถูกประณามว่าเป็น “Machiavellian Renaissance prince” ผู้ป้อนความกระหายอำนาจด้วยการอาชญากรรม, การวางยาพิษ และบางทีก็ถึงกับใช้อำนาจเวทมนตร์ “อากริพพา โดบินย์” (Agrippa d'Aubigné) กวีอูเกอโนท์ถึงกับขนานพระนามพระราชินีนาถแคทเธอรีนว่าเป็น “เชี้อโรคจากฟลอเรนซ์” (Florentine plague) ในคริสต์ศตวรรษที่ 19 นักประวัติศาสตร์จูลส์ มิเชลเลท์ (Jules Michelet) บรรยายพระราชินีนาถแคทเธอรีนว่าเป็น “หนอนที่หลุดออกมาจากหลุมศพของอิตาลี” นักประวัติศาสตร์ปัจจุบันให้เหตุผลสนับสนุนการใช้อำนาจอันเกินควรของพระราชินีนาถแคทเธอรีน แต่อาร์ เจ เนคช (R. J. Knecht) กล่าวว่าความทารุณของพระราชินีนาถแคทเธอรีนจะเห็นได้จากจดหมายที่ทรงเขียน นิโคลา ซัทเธอร์แลนด์ (Nicola Sutherland) กล่าวเตือนถึงความเกินเลยในการบรรยายอำนาจของพระองค์ว่าแทนที่จะเป็นภาพพจน์ที่ทรงปกครองอย่างมั่นคง พระราชินีนาถแคทเธอรีนทรงต้องต่อสู้กับความไม่สงบต่างๆ ที่เกิดขึ้นอย่างแทบไม่มีทางชนะ นโยบายการปกครองของพระองค์จึงเป็นนโยบายของความอยู่รอดของราชวงศ์วาลัวส์ไม่ว่าจะด้วยวิธีใดใด จึงอาจจะกล่าวได้ว่าถ้าไม่มีพระราชินีนาถแคทเธอรีนพระโอรสทั้งสามพระองค์ก็คงไม่ทรงสามารถปกครองฝรั่งเศสด้วยพระองค์เองได้ ระยะการปกครองระหว่างพระโอรสทั้งสามเรียกว่า “สมัยแคทเธอรีน เดอ เมดิชิ” (The Age of Catherine de' Medici).

พระราชกฤษฎีกาอ็องบวซและแคทเธอรีน เดอ เมดีชี · สงครามศาสนาของฝรั่งเศสและแคทเธอรีน เดอ เมดีชี · ดูเพิ่มเติม »

โปรเตสแตนต์

นิกายโปรเตสแตนต์ (Protestantism) เป็นนิกายหนึ่งในศาสนาคริสต์ ใช้หมายถึงคริสต์ศาสนิกชนใด ๆ ที่ไม่ใช่โรมันคาทอลิกและออร์ทอดอกซ์ โปรเตสแตนต์เป็นขบวนการศาสนาที่มีจุดเริ่มต้นที่ประเทศเยอรมนีช่วงต้นคริสต์ศตวรรษที่ 16 เพื่อคัดค้านหลักความเชื่อและการปฏิบัติแบบโรมันคาทอลิก โดยเฉพาะในประเด็นที่เกี่ยวกับความรอด การทำให้ชอบธรรม และคริสตจักรวิทยา โปรเตสแตนต์แบ่งออกเป็นหลายคริสตจักรย่อย ซึ่งยึดหลักความเชื่อแตกต่างกันไป แต่โดยทั่วไปจะยอมรับหลักการเหมือนกันว่ามนุษย์จะเป็นคนชอบธรรมได้ก็โดยอาศัยพระคุณจากพระเจ้าผ่านทางความเชื่อเท่านั้น (เรียกว่าหลักโซลากราเซียและโซลาฟีเด) เชื่อว่าผู้เชื่อทุกคนเป็นปุโรหิต และคัมภีร์ไบเบิลมีอำนาจสูงสุดในการกำหนดหลักความเชื่อและศีลธรรม (เรียกว่าหลักโซลาสกริปตูรา) ในคริสต์ศตวรรษที่ 16 ศิษย์ของมาร์ติน ลูเทอร์ ได้ตั้งคริสตจักรอิแวนเจลิคัลแห่งเยอรมนีและสแกนดิเนเวียขึ้น ส่วนคริสตจักรปฏิรูปในประเทศฮังการี สวิตเซอร์แลนด์ สกอตแลนด์ และฝรั่งเศส ตั้งขึ้นโดยฌ็อง กาลแว็ง และนักปฏิรูปศาสนาคนอื่น ๆ เช่น ฮุลดริช ซวิงลี นอกจากนี้ยังมีจอห์น น็อกซ์ ที่ตั้งคริสตจักรปฏิรูปในฮังการีขึ้น ในประเทศอังกฤษการปฏิรูปศาสนานำโดยคริสตจักรแห่งอังกฤษ และยังมีขบวนการปฏิรูปศาสนาอีกหลายกลุ่มเกิดขึ้นทั่วยุโรปภาคพื้นทวีป เช่น การปฏิรูปแบบรุนแรง ซึ่งเป็นต้นกำเนิดของกลุ่มอนาแบ๊บติสต์ โมราเวียน และขวนการไพเอทิสต์อื่น.

พระราชกฤษฎีกาอ็องบวซและโปรเตสแตนต์ · สงครามศาสนาของฝรั่งเศสและโปรเตสแตนต์ · ดูเพิ่มเติม »

รายการด้านบนตอบคำถามต่อไปนี้

การเปรียบเทียบระหว่าง พระราชกฤษฎีกาอ็องบวซและสงครามศาสนาของฝรั่งเศส

พระราชกฤษฎีกาอ็องบวซ มี 13 ความสัมพันธ์ขณะที่ สงครามศาสนาของฝรั่งเศส มี 36 ขณะที่พวกเขามีเหมือนกัน 5, ดัชนี Jaccard คือ 10.20% = 5 / (13 + 36)

การอ้างอิง

บทความนี้แสดงความสัมพันธ์ระหว่าง พระราชกฤษฎีกาอ็องบวซและสงครามศาสนาของฝรั่งเศส หากต้องการเข้าถึงบทความแต่ละบทความที่ได้รับการรวบรวมข้อมูลโปรดไปที่:

Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »