โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ติดตั้ง
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

พรรคสามัคคีธรรม

ดัชนี พรรคสามัคคีธรรม

รรคสามัคคีธรรม (Justice Unity Party) พรรคการเมืองไทยที่ก่อตั้งขึ้นตาม รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2534 เป็นลำดับที่ 30/2535 เมื่อวันที่ 3 มกราคม พ.ศ. 2535 ในช่วงก่อนการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรในประเทศไทย มีนาคม พ.ศ. 2535 มีการรวบรวมนักการเมืองจากหลายพรรค และมีบุคคลในพรรคที่ใกล้ชิดกับคณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติ หรือ ร. โดยมีนายณรงค์ วงศ์วรรณ อดีตหัวหน้าพรรครวมไทย และพรรคเอกภาพ เป็นหัวหน้าพรรค และ นาวาอากาศตรีฐิติ นาครทรรพ บิดาของ นาวาอากาศเอกอนุดิษฐ์ นาครทรรพ เป็นเลขาธิการพรรค พรรคสามัคคีธรรม ได้ประกาศนโยบายของพรรคไว้ว่า "จะพัฒนาประเทศให้มีความเจริญรุ่งเรืองและมีความมั่นคงทั้งในทางเศรษฐกิจ สังคม และการเมือง เพื่อความผาสุกของประชาชนโดยถ้วนหน้า ทั้งนี้ โดยอาศัยวิธีการตามหลักการปกครองระบบประชาธิปไตยอันมีองค์พระมหากษัตริย์เป็นประมุข".

71 ความสัมพันธ์: ชวลิต โอสถานุเคราะห์ชัชวาลย์ ชมภูแดงชาญชัย ชัยรุ่งเรืองบุญเท่ง ทองสวัสดิ์พ.ศ. 2535พรรคชาติไทยพรรคพลังธรรมพรรคการเมืองพรรคกิจสังคมพรรครวมไทยพรรคสหประชาไทยพรรคความหวังใหม่พรรคประชากรไทยพรรคประชาธิปัตย์พรรคเสรีมนังคศิลาพรรคเอกภาพพฤษภาทมิฬพินิจ จันทรสุรินทร์กระทรวงการต่างประเทศ (ประเทศไทย)กรุงเทพการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป กันยายน พ.ศ. 2535การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป มีนาคม พ.ศ. 2535กิตติศักดิ์ หัตถสงเคราะห์มงคล จงสุทธนามณีรักเกียรติ สุขธนะรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2534วัลลภ สุปริยศิลป์วีรวร สิทธิธรรมสภาผู้แทนราษฎรไทยสมบัติ ศรีสุรินทร์สมพงษ์ อมรวิวัฒน์สยม รามสูตสวัสดิ์ คำประกอบสหรัฐสอาด ปิยวรรณสัมพันธ์ เลิศนุวัฒน์สันติ ชัยวิรัตนะสุชาติ ตันเจริญสุบิน ปิ่นขยันสุจินดา คราประยูรสนธยา คุณปลื้มอภิชาติ หาลำเจียกอาทิตย์ กำลังเอกอาทิตย์ อุไรรัตน์อดิศักดิ์ โภคกุลกานนท์อนุรักษนิยมอนุวรรตน์ วัฒนพงศ์ศิริอนุดิษฐ์ นาครทรรพจำนงค์ โพธิสาโรถนอม กิตติขจร...ทรงยศ รามสูตณรงค์ วงศ์วรรณคณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติประชุม รัตนเพียรประพาส ลิมปะพันธุ์ประสพ บุษราคัมประทวน เขียวฤทธิ์ประเทือง คำประกอบปรีชา เลาหพงศ์ชนะนิคม แสนเจริญแปลก พิบูลสงครามใหม่ ศิรินวกุลไพโรจน์ โล่ห์สุนทรเรืองวิทย์ ลิกค์เจริญ เชาวน์ประยูรเขตดุสิตเฉลิมพันธ์ ศรีวิกรม์เปรม ติณสูลานนท์13 กันยายน3 กรกฎาคม3 มกราคม ขยายดัชนี (21 มากกว่า) »

ชวลิต โอสถานุเคราะห์

นายชวลิต โอสถานุเคราะห์ (เกิด 16 พฤษภาคม พ.ศ. 2477) อดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง และเป็นอดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดขอนแก่น 3 สมั.

ใหม่!!: พรรคสามัคคีธรรมและชวลิต โอสถานุเคราะห์ · ดูเพิ่มเติม »

ชัชวาลย์ ชมภูแดง

ัชวาลย์ ชมภูแดง อดีตรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ในรัฐบาลของพลเอกสุจินดา คราประยูร อดีตรองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ในรัฐบาลพันตำรวจโท ทักษิณ ชินวัตร อดีตหัวหน้าพรรคพลังสังคมประชาธิปไตย และอดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร จังหวัดร้อยเอ็.

ใหม่!!: พรรคสามัคคีธรรมและชัชวาลย์ ชมภูแดง · ดูเพิ่มเติม »

ชาญชัย ชัยรุ่งเรือง

นายชาญชัย ชัยรุ่งเรือง อดีตหัวหน้าพรรคเพื่อแผ่นดิน อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม และสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดมหาสารคาม.

ใหม่!!: พรรคสามัคคีธรรมและชาญชัย ชัยรุ่งเรือง · ดูเพิ่มเติม »

บุญเท่ง ทองสวัสดิ์

ญเท่ง ทองสวัสดิ์ (15 เมษายน พ.ศ. 2455 - 1 พฤศจิกายน พ.ศ. 2542) เป็นอดีตประธานรัฐสภาและประธานสภาผู้แทนราษฎรไทย อดีตรองนายกรัฐมนตรี อดีตรัฐมนตรีหลายกระทรวง และเป็นอดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรรวม 16 สมัย ซึ่งมากที่สุดในโลก รวมถึงผู้ร่วมก่อตั้งพรรคประชาธิปัตย์ ได้รับฉายาจากนักสื่อมวลชนว่า เท่งเที่ยงถึง.

ใหม่!!: พรรคสามัคคีธรรมและบุญเท่ง ทองสวัสดิ์ · ดูเพิ่มเติม »

พ.ศ. 2535

ทธศักราช 2535 ตรงกับปีคริสต์ศักราช 1992 เป็นปีอธิกสุรทินที่วันแรกเป็นวันพุธตามปฏิทินเกรกอเรียน.

ใหม่!!: พรรคสามัคคีธรรมและพ.ศ. 2535 · ดูเพิ่มเติม »

พรรคชาติไทย

รรคชาติไทย (Chart Thai Party) เป็นอดีตพรรคการเมืองในประเทศไทย เคยมีบทบาททางการเมืองระดับชาติช่วงปี..

ใหม่!!: พรรคสามัคคีธรรมและพรรคชาติไทย · ดูเพิ่มเติม »

พรรคพลังธรรม

รรคพลังธรรม เป็นพรรคการเมืองขนาดกลาง หัวหน้าพรรคคนแรก คือ พล.ต.จำลอง ศรีเมือง ก่อตั้งในปี..

ใหม่!!: พรรคสามัคคีธรรมและพรรคพลังธรรม · ดูเพิ่มเติม »

พรรคการเมือง

รรคการเมือง เรียกย่อว่า พรรค คือองค์กรทางการเมืองที่รวมบุคคลที่มีอุดมการณ์เดียวกัน นั่นคือมีแนวความคิดทางการเมือง สังคม และเศรษฐกิจ แบบเดียวกันหรือคล้ายคลึงกัน เพื่อส่งบุคคลเข้ารับเลือกตั้ง เพื่อให้ได้เสียงข้างมากในรัฐสภาและจัดตั้งรัฐบาลเข้ามาบริหารประเทศตามแนวความคิดหรือนโยบายที่สอดคล้องกับอุดมการณ์ของกลุ่ม ลักษณะสำคัญที่สุดที่ทำให้พรรคการเมืองมีลักษณะแตกต่างจากกลุ่มทางการเมืองอื่น ๆ ก็คือ พรรคการเมืองจะต้องมีความปรารถนาหรือต้องการที่จะเป็นรัฐบาล เพื่อจะได้มีโอกาสนำนโยบายของพรรคไปปฏิบัติจริง ในระบอบรัฐสภา พรรคการเมืองส่วนใหญ่จะมีผู้นำ ซึ่งโดยทั่วไปแล้วถ้าพรรคการเมืองนั้นได้รับเสียงข้างมาก จะรับหน้าที่เป็นผู้นำรัฐบาล ขณะที่ในระบอบประธานาธิบดี พรรคการเมืองอาจไม่มีผู้นำที่ชัดเจน โดยเฉพาะในระบบการเมืองที่มีการแยกอำนาจโดยสมบูรณ์ ในการปกครองระบอบประชาธิปไตย พรรคการเมืองจะเป็นสถาบันทางการเมืองที่มีความสำคัญมากและขาดไม่ได้ในกระบวนการปกครอง เพราะการปกครองระบอบประชาธิปไตยเป็นการปกครองที่ให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการปกครองและมีอิทธิพลเหนือรัฐบาล โดยผ่านทางสภาผู้แทนราษฎร ๑)ความหมายของพรรคการเมือง หมายถึง กลุ่มบุคคลที่มีความคิดและผลประโยชน์ในทางเศรษฐกิจ สังคม และการเมืองที่คล้ายคลึงกัน.

ใหม่!!: พรรคสามัคคีธรรมและพรรคการเมือง · ดูเพิ่มเติม »

พรรคกิจสังคม

รรคกิจสังคม (Social Action Party) ก่อตั้งขึ้นในวันที่ 4 พฤศจิกายน พ.ศ. 2517 โดย หม่อมราชวงศ์คึกฤทธิ์ ปราโมช โดยให้ชื่อว่า "กิจสังคม" โดยแปลตรงตัวจากภาษาอังกฤษ โดยนำชื่อพรรคมาจากพรรคการเมืองนี้ในประเทศอังกฤษ พรรคมีสมาชิกที่ได้แจ้งต่อนายทะเบียนพรรคการเมืองไว้ จำนวน 27,413 คน และมีสาขาพรรคจำนวน 4 สาขา หม่อมราชวงศ์คึกฤทธิ์ ปราโมช ผู้ก่อตั้งพรรค และหัวหน้าพรรคคนแรกให้เหตุผลว.

ใหม่!!: พรรคสามัคคีธรรมและพรรคกิจสังคม · ดูเพิ่มเติม »

พรรครวมไทย

อาจหมายถึง.

ใหม่!!: พรรคสามัคคีธรรมและพรรครวมไทย · ดูเพิ่มเติม »

พรรคสหประชาไทย

รรคสหประชาไทย (ตัวย่อ: ส.ป.ท.) พรรคการเมืองในอดีตของประเทศไทยที่เคยเป็นพรรคที่ชนะการเลือกตั้งและเป็นพรรคที่เป็นแกนนำในการจัดตั้งรัฐบาลก่อตั้งเมื่อวันพฤหัสบดีที่ 24 ตุลาคม..

ใหม่!!: พรรคสามัคคีธรรมและพรรคสหประชาไทย · ดูเพิ่มเติม »

พรรคความหวังใหม่

ัญลักษณ์พรรคความหวังใหม่แบบเดิม พรรคความหวังใหม่ (New Aspiration Party; ย่อว่า ควม.) เป็นพรรคการเมืองหนึ่งในประเทศไทย เคยมีบทบาททางการเมืองระดับประเทศระหว่างปี..

ใหม่!!: พรรคสามัคคีธรรมและพรรคความหวังใหม่ · ดูเพิ่มเติม »

พรรคประชากรไทย

รรคประชากรไทย (Thai Citizen Party - TCP, ย่อว่า: ปชท.) เป็นพรรคการเมืองในประเทศไทย ก่อตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 9 มีนาคม พ.ศ. 2522 ณ บริเวณสนามชัยข้างพระบรมมหาราชวัง โดยมี นายสมัคร สุนทรเวช เป็นหัวหน้าพรรค เพื่อการเลือกตั้งในวันที่ 22 เมษายน พ.ศ. 2522 โดยผลการเลือกตั้งในครั้งนั้นพรรคประชากรไทยได้รับเลือกตั้ง 29 ที่นั่ง จากจำนวน 32 ที่นั่งในกรุงเทพมหานคร และอีก 3 ที่นั่งในต่างจังหวัด พรรคประชากรไทยจัดเป็นพรรคการเมืองขนาดเล็ก มีฐานเสียงที่สำคัญอยู่ในพื้นที่กรุงเทพมหานคร โดยมีบุคคลสำคัญอันเป็นเสมือนเอกลักษณ์ของพรรค คือ นายสมัคร สุนทรเวช หัวหน้าพรรค แต่หลังจากปี พ.ศ. 2540 แล้ว พรรคประชากรไทยมีบทบาทการเมืองในระดับประเทศลดลง อีกทั้งมีสมาชิกพรรคจำนวน 12 คน หันไปให้การสนับสนุนนายชวน หลีกภัย ให้ขึ้นดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีในสมัยที่ 2 ซึ่งขัดต่อความเห็นของนายสมัคร หัวหน้าพรรค ซึ่งเรียกกันว่า "กลุ่มงูเห่า" ต่อมาในปี พ.ศ. 2543 นายสมัคร ได้ลงรับสมัครเลือกตั้งได้เป็นผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ปัจจุบัน มีหัวหน้าพรรค คือ นายสุมิตร สุนทรเวช น้องชายของนายสมัคร ที่ทำการพรรคตั้งอยู่ที่ ถนนศรีวรา เขตวังทองหลาง กรุงเทพมหานคร มีสมาชิกพรรคจำนวน 69,852 คน.

ใหม่!!: พรรคสามัคคีธรรมและพรรคประชากรไทย · ดูเพิ่มเติม »

พรรคประชาธิปัตย์

รรคประชาธิปัตย์ (Democrat Party - DP, ย่อ: ปชป.) ก่อตั้งเมื่อวันที่ 5 เมษายน พ.ศ. 2489 เป็นพรรคการเมืองจดทะเบียนที่เก่าแก่ที่สุดของไทยที่ยังดำเนินการอยู่ พรรคมีสมาชิกที่ได้แจ้งต่อนายทะเบียนพรรคการเมืองไว้ จำนวน 2,895,933 คน นับเป็นพรรคการเมืองที่มีสมาชิกมากที่สุดในประเทศไทย และมีสาขาพรรคจำนวน 175.

ใหม่!!: พรรคสามัคคีธรรมและพรรคประชาธิปัตย์ · ดูเพิ่มเติม »

พรรคเสรีมนังคศิลา

รรคเสรีมนังคศิลา เป็นพรรคการเมืองในลำดับแรกประเทศไทย จดทะเบียนเมื่อวันที่ 29 กันยายน พ.ศ. 2498 หลังจากมี พระราชบัญญัติพรรคการเมือง พุทธศักราช 2498 ออกมาใช้ ซึ่งถือว่าเป็นกฎหมายที่เปิดให้จดทะเบียนพรรคการเมืองได้เป็นครั้งแรกของประเทศไทย มีหัวหน้าพรรค คือ จอมพล ป. พิบูลสงคราม เลขาธิการพรรคคือ พลตำรวจเอกเผ่า ศรียานนท์ อธิบดีกรมตำรวจ มีรองหัวหน้าพรรคได้แก่ จอมพล สฤษดิ์ ธนะรัชต์, พลตรีประภาส จารุเสถียร เป็นต้น มีที่ทำการพรรคอยู่ที่บ้านมนังคศิลา อันเป็นที่มาของชื่อพรรคโดยได้มีพิธีเปิดป้ายที่ทำการพรรคเมื่อวันที่ 2 กุมภาพัน..

ใหม่!!: พรรคสามัคคีธรรมและพรรคเสรีมนังคศิลา · ดูเพิ่มเติม »

พรรคเอกภาพ

รรคเอกภาพ (Solidarity Party) เป็นพรรคการเมืองของประเทศไทย ก่อตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 10 มีนาคม พ.ศ. 2526ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 119 ตอนที่ 22ง วันที่ 14 มีนาคม 2545 ในนาม พรรคประชาไทย โดยมีนายทวี ไกรคุปต์ เป็นหัวหน้าพรรค ต่อมาในวันที่ 27 พฤษภาคม พ.ศ. 2529 พรรคประชาไทยได้เปลี่ยนชื่อเป็นพรรครวมไทย และได้เปลี่ยนชื่ออีกครั้งเป็น พรรคเอกภาพ โดยได้ยุบรวมพรรคการเมืองขนาดเล็ก จำนวน 3 พรรค คือ พรรคกิจประชาคม ของนายบุญชู โรจนเสถียร พรรคก้าวหน้า ของนายอุทัย พิมพ์ใจชน และพรรคประชาชน ของนายเฉลิมพันธ์ ศรีวิกรม์ เข้ามารวมกับพรรครวมไทยและมี..จากการรวมตัวในครั้งนี้จำนวน 61 คน และถือเป็นพรรคใหญ่อันดับ 2 ในสภาผู้แทนราษฎรขณะนั้น ในช่วงแรกของการจัดตั้งพรรค ได้มีการมอบหมายให้ ณรงค์ วงศ์วรรณ หัวหน้าพรรครวมไทย ซึ่งเป็นพรรคที่ใหญ่ที่สุดในกลุ่มเป็นหัวหน้าพรรคคนแรก และมี เฉลิมพันธ์ ศรีวิกรม์ หัวหน้าพรรคประชาชน ซึ่งมีจำนวน..เป็นอันดับ 2 เป็นเลขาธิการพรรคคนแรกอีกด้วย โดยภายหลังจากการรวมพรรคกันไม่นาน พรรคก็เข้าร่วมรัฐบาล พล.อ.ชาติชาย ชุณหะวัน เมื่อได้รับพระบรมราชโองการแต่งตั้งเป็นนายกรัฐมนตรี เป็นสมัยที่ 2.

ใหม่!!: พรรคสามัคคีธรรมและพรรคเอกภาพ · ดูเพิ่มเติม »

พฤษภาทมิฬ

หตุการณ์พฤษภาทมิฬ เป็นเหตุการณ์ที่ประชาชนเคลื่อนไหวประท้วงรัฐบาลครั้งสำคัญครั้งหนึ่งในประวัติศาสตร์การเมืองที่มีพลเอกสุจินดา คราประยูร เป็น นายกรัฐมนตรี และต่อต้านการสืบทอดอำนาจของ คณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติ (รสช.) ระหว่างวันที่ 17-24 พฤษภาคม พ.ศ. 2535 ซึ่งเป็นการรัฐประหาร รัฐบาลพลเอกชาติชาย ชุณหะวัณ เมื่อเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2534 นำไปสู่เหตุการณ์ปราบปรามและปะทะกันระหว่างเจ้าหน้าที่ตำรวจและทหารกับประชาชนผู้ชุมนุม มีผู้เสียชีวิตและบาดเจ็บจำนวนมาก (พลเอกสุจินดาแถลงว่ามีผู้เสียชีวิต 40 คน บาดเจ็บ 600 คน) และนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงทางการเมือง เหตุการณ์ได้เริ่มต้นขึ้นเมื่อคณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติ ได้ทำการรัฐประหารรัฐบาลพลเอกชาติชาย ชุณหะวัณ โดยมีหัวหน้าคณะคือ พล.อ.สุนทร คงสมพงษ์ ผู้บัญชาการทหารสูงสุด ในขณะนั้นภายหลังการรัฐประหารได้เลือกนาย อานันท์ ปันยารชุน เป็นรักษาการนายกรัฐมนตรีและได้ร่างรัฐธรรมนูญจนมีการเลือกตั้งผลปรากฏว่านายณรงค์ วงศ์วรรณ หัวหน้าพรรคสามัคคีธรรมที่ตั้งขึ้นและได้รับการสนับสนุนจากบุคคลในคณะ ร. ได้คะแนนมากที่สุด แต่สุดท้ายไม่สามารถดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีได้เนื่องจากถูกรัฐบาลสหรัฐขึ้นบัญชีดำจากความใกล้ชิดกับนักค้ายาเสพติด ทำให้ พล.อ.สุจินดา ขึ้นเป็นนายกรัฐมนตรีแทน ซึ่งเป็นการตระบัดสัตย์ที่เคยกล่าวไว้ว่าจะไม่ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี จนได้รับฉายา "เสียสัตย์เพื่อชาติ" จากสื่อมวลชนในเวลาต่อมา จากผลดังกล่าว ทำให้ประชาชนหลายส่วนไม่พอใจการขึ้นดำรงตำแหน่งเป็นนายกรัฐมนตรีของพล.อ.สุจินดา ซึ่งขัดกับหลักประชาธิปไตย จนนำไปสู่การประท้วงทั้งการอดอาหาร การเดินขบวน และการชุมนุมในสถานที่ต่างๆ ในกรุงเทพฯ ทำให้รัฐบาลพล.อ.สุจินดาใช้คำสั่งสลายการชุมนุม เกิดการปะทะขึ้น มีประชาชนเสียชีวิตและบาดเจ็บเป็นจำนวนมาก ในเวลาต่อมาพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชได้ทรงรับสั่งให้พลเอกสุจินดา คราประยูรและพลตรีจำลอง ศรีเมืองเข้าเฝ้า โดยทรงพระราชทานพระราชดำรัสแก่คณะผู้เข้าเฝ้าทูลละอองธุลีพระบาท ซึ่งได้มีการเผยแพร่ผ่านโทรทัศน์รวมการเฉพาะกิจแห่งประเทศไทย หลังจากนั้นอีก 4 วัน พล.อ.สุจินดา จึงได้ประกาศลาออกจากการเป็นนายกรัฐมนตรี และนายอานันท์ ปันยารชุน ได้ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีอีกครั้ง ก่อนการเลือกตั้งในเวลาต่อมา การชุมนุมในครั้งนี้ยังเป็นการชุมนุมที่ผู้ประท้วงมีโทรศัพท์มือถือใช้สื่อสารจนถูกเรียกว่าเป็น "ม็อบมือถือ" และรวมถึงการเรียกชื่อฝั่งพรรคซึ่งแตกออกเป็น 2 ฝั่งจากผู้สื่อข่าว โดยเรียกฝั่งพรรคที่เข้าไปทางรัฐบาลของพล.อ.สุจินดา ว่า "พรรคมาร" ส่วนฝั่งพรรคที่คัดค้านการมีอำนาจของพล.อ.สุจินดา เรียกว่า "พรรคเทพ".

ใหม่!!: พรรคสามัคคีธรรมและพฤษภาทมิฬ · ดูเพิ่มเติม »

พินิจ จันทรสุรินทร์

ระวังสับสนกับ: พินิจ จันทร์สมบูรณ์ ดร.พินิจ จันทรสุรินทร์ อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ในรัฐบาลพลเอกสุจินดา คราประยูร อดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย ในรัฐบาลพลเอกชาติชาย ชุณหะวัณ และเป็นอดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดลำปางหลายสมั.

ใหม่!!: พรรคสามัคคีธรรมและพินิจ จันทรสุรินทร์ · ดูเพิ่มเติม »

กระทรวงการต่างประเทศ (ประเทศไทย)

กระทรวงการต่างประเทศ (Ministry of Foreign Affairs) เป็นหน่วยงานราชการไทยประเภทกระทรวง มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับราชการต่างประเทศและราชการอื่น ตามที่มีกฎหมายกำหนดให้เป็นอำนาจหน้าที่ของกระทรวงการต่างประเทศ หรือส่วนราชการที่สังกัดกระทรวงการต่างประเท.

ใหม่!!: พรรคสามัคคีธรรมและกระทรวงการต่างประเทศ (ประเทศไทย) · ดูเพิ่มเติม »

กรุงเทพ

กรุงเทพ อาจหมายถึง; ดินแดนและการปกครอง.

ใหม่!!: พรรคสามัคคีธรรมและกรุงเทพ · ดูเพิ่มเติม »

การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป กันยายน พ.ศ. 2535

การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป กันยายน..

ใหม่!!: พรรคสามัคคีธรรมและการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป กันยายน พ.ศ. 2535 · ดูเพิ่มเติม »

การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป มีนาคม พ.ศ. 2535

การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป มีนาคม..

ใหม่!!: พรรคสามัคคีธรรมและการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป มีนาคม พ.ศ. 2535 · ดูเพิ่มเติม »

กิตติศักดิ์ หัตถสงเคราะห์

นายกิตติศักดิ์ หัตถสงเคราะห์ อดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม ในรัฐบาลของนางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร เป็นอดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อม และอดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดอุดรธานี.

ใหม่!!: พรรคสามัคคีธรรมและกิตติศักดิ์ หัตถสงเคราะห์ · ดูเพิ่มเติม »

มงคล จงสุทธนามณี

นายมงคล จงสุทธนามณี (เกิด 22 กรกฎาคม พ.ศ. 2489) อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดเชียงราย 7 สมั.

ใหม่!!: พรรคสามัคคีธรรมและมงคล จงสุทธนามณี · ดูเพิ่มเติม »

รักเกียรติ สุขธนะ

นายรักเกียรติ สุขธนะ (4 เมษายน พ.ศ. 2497-) อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดอุดรธานี 7 สมัย และอดีตรัฐมนตรี 5 สมัย เมื่อปี..

ใหม่!!: พรรคสามัคคีธรรมและรักเกียรติ สุขธนะ · ดูเพิ่มเติม »

รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2534

รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2534 หรือ รัฐธรรมนูญฉบับ ร. รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ฉบับที่ 15 ประกาศใช้เมื่อวันที่ 9 ธันวาคม 2534 เพื่อใช้แทน ธรรมนูญการปกครองราชอาณาจักร พุทธศักราช 2534 ซึ่งได้ประกาศใช้เมื่อวันที่ 1 มีนาคม ปีเดียวกันโดยมีนาย อุกฤษ มงคลนาวิน ประธาน สภานิติบัญญัติแห่งชาติ เป็นผู้รับสนองพระบรมราชโองการ รัฐธรรมนูญฉบับนี้ถูกยกเลิกโดยการประกาศใช้รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540.

ใหม่!!: พรรคสามัคคีธรรมและรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2534 · ดูเพิ่มเติม »

วัลลภ สุปริยศิลป์

ร.วัลลภ สุปริยศิลป์ อดีตหัวหน้าพรรคเพื่อธรรม และเป็นอดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดน่าน 8 สมัย และเป็นบิดาของนายณัฐพงษ์ สุปริยศิลป์ อดีต..

ใหม่!!: พรรคสามัคคีธรรมและวัลลภ สุปริยศิลป์ · ดูเพิ่มเติม »

วีรวร สิทธิธรรม

นายวีรวร สิทธิธรรม (เกิด 9 กันยายน พ.ศ. 2481) อดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข ในสมัยรัฐบาลพลเอกชาติชาย ชุณหะวัณ อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดนครพนม 5 สมัย และ อดีตสมาชิกวุฒิสภาจังหวัดนครพนม.

ใหม่!!: พรรคสามัคคีธรรมและวีรวร สิทธิธรรม · ดูเพิ่มเติม »

สภาผู้แทนราษฎรไทย

ผู้แทนราษฎรไทย ประกอบด้วยสมาชิกซึ่งมาจากการเลือกตั้งโดยตรงทั้งหมด 500 คน และแบ่งการได้มาออกเป็นการเลือกตั้งแบบแบ่งเขตเลือกตั้งในแต่ละจังหวัด จำนวน 350 คน และแบบบัญชีรายชื่อของพรรคการเมือง โดยให้เขตประเทศเป็นเขตเลือกตั้ง จำนวน 150 คน ซึ่งหลักเกณฑ์และวิธีการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรตามรูปแบบนี้ เป็นไปตามบทบัญญัติรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 ทั้งนี้อายุของสภาผู้แทนราษฎรมีกำหนดคราวละ 4 ปี นับแต่วันเลือกตั้ง สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรย่อมเป็นผู้แทนปวงชนชาวไทยไม่อยู่ในความผูกมัดแห่งอาณัติมอบหมาย หรือความครอบงำใดๆ และต้องปฏิบัติหน้าที่ด้วยความซื่อสัตย์สุจริต เพื่อประโยชน์ส่วนรวมของประเทศชาติและความผาสุกของประชาชนโดยรวม โดยปราศจากการขัดกันแห่งผลประโยชน์ สภาผู้แทนราษฎรมีหน้าที่โดยตรงในทางนิติบัญญัติ ซึ่งร่างพระราชบัญญัติ หรือร่างพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญ จะตราขึ้นเป็นกฎหมายได้ ก็ด้วยคำแนะนำและยินยอมของรัฐสภา ซึ่งประกอบด้วยสภาผู้แทนราษฎรและวุฒิสภา และยังมีอำนาจควบคุมการบริหารราชการแผ่นดินด้วย เช่น การให้ความเห็นชอบบุคคลซึ่งสมควรได้รับแต่งตั้งเป็นนายกรัฐมนตรี การตั้งกระทู้ถาม และการเสนอญัตติขอให้เปิดอภิปรายทั่วไปเพื่อลงมติไม่ไว้วางใจนายกรัฐมนตรีหรือรัฐมนตรี ทั้งนี้ เป็นไปตามการปกครองระบอบประชาธิปไตยระบบรัฐสภา ปัจจุบันสภานิติบัญญัติแห่งชาติทำหน้าที่แทนสภาผู้แทนราษฎร จนถึงวันก่อนวันเปิดประชุมสภาผู้แทนราษฎรที่มาจากการเลือกตั้งครั้งแรกตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560.

ใหม่!!: พรรคสามัคคีธรรมและสภาผู้แทนราษฎรไทย · ดูเพิ่มเติม »

สมบัติ ศรีสุรินทร์

นายสมบัติ ศรีสุรินทร์ เป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดสุรินทร์ สังกัดพรรคเพื่อไทย และเป็นอดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการต่างประเทศ ในรัฐบาลพลเอก สุจินดา คราประยูร.

ใหม่!!: พรรคสามัคคีธรรมและสมบัติ ศรีสุรินทร์ · ดูเพิ่มเติม »

สมพงษ์ อมรวิวัฒน์

นายสมพงษ์ อมรวิวัฒน์ (3 กรกฎาคม พ.ศ. 2484 -) อดีตรองนายกรัฐมนตรี อดีตรัฐมนตรีหลายกระทรวง อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ระบบสัดส่วน สังกัดพรรคพลังประชาชน อดีตรองหัวหน้าพรรคสามัคคีธรรม และอดีตแกนนำกลุ่ม 16.

ใหม่!!: พรรคสามัคคีธรรมและสมพงษ์ อมรวิวัฒน์ · ดูเพิ่มเติม »

สยม รามสูต

นายสยม รามสูต อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดเชียงใหม่ 2 สมัย ได้รับเลือกตั้งครั้งแรก ในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2526 สังกัดพรรคกิจสังคม เขตเลือกตั้งที่ 3 จังหวัดเชียงใหม่ โดยลงสมัครคู่กับนายอำนวย ยศสุข ต่อมาได้ย้ายไปร่วมงานกับพรรครวมไทย พร้อมกับเจริญ เชาว์ประยูร สมพงษ์ อมรวิวัฒน์ และมานะ แพรสกุล และได้รับเลือกตั้งเป็นสมัยที่ 2 ในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2531 ในปี..

ใหม่!!: พรรคสามัคคีธรรมและสยม รามสูต · ดูเพิ่มเติม »

สวัสดิ์ คำประกอบ

นายสวัสดิ์ คำประกอบ (23 ตุลาคม พ.ศ. 2462 - 28 กันยายน พ.ศ. 2557) อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข และอดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดนครสวรรค์ 12 สมั.

ใหม่!!: พรรคสามัคคีธรรมและสวัสดิ์ คำประกอบ · ดูเพิ่มเติม »

สหรัฐ

หรัฐอเมริกา (United States of America) โดยทั่วไปเรียก สหรัฐ (United States) หรือ อเมริกา (America) เป็นสหพันธ์สาธารณรัฐ ประกอบด้วยรัฐ 50 รัฐ และหนึ่งเขตปกครองกลาง ห้าดินแดนปกครองตนเองสำคัญ และเกาะเล็กต่าง ๆ โดย 48 รัฐและเขตปกครองกลางตั้งอยู่ ณ ทวีปอเมริกาเหนือระหว่างประเทศแคนาดาและเม็กซิโก รัฐอะแลสกาอยู่มุมตะวันตกเฉียงเหนือของทวีปอเมริกาเหนือ มีเขตแดนติดต่อกับประเทศแคนาดาทางทิศตะวันออกและข้ามช่องแคบเบริงจากประเทศรัสเซียทางทิศตะวันตก และรัฐฮาวายเป็นกลุ่มเกาะในมหาสมุทรแปซิฟิกกลาง ดินแดนของสหรัฐกระจายอยู่ตามมหาสมุทรแปซิฟิกและทะเลแคริบเบียน ครอบคลุมเขตเวลาเก้าเขต ภูมิศาสตร์ ภูมิอากาศและสัตว์ป่าของประเทศหลากหลายอย่างยิ่ง สหรัฐมีพื้นที่ขนาด 9.8 ล้านตารางกิโลเมตร มีประชากรราว 326 ล้านคน ทำให้มีพื้นที่ขนาดใหญ่เป็นอันดับที่ 4 ของโลก และมีประชากรมากเป็นอันดับที่ 3 ของโลก เป็นประเทศซึ่งมีความหลากหลายทางเชื้อชาติและวัฒนธรรม และเป็นที่พำนักของประชากรเข้าเมืองใหญ่สุดในโลกAdams, J.Q., and Pearlie Strother-Adams (2001).

ใหม่!!: พรรคสามัคคีธรรมและสหรัฐ · ดูเพิ่มเติม »

สอาด ปิยวรรณ

ร.สอาด ปิยวรรณ เป็นอดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม ในรัฐบาลพลเอกเปรม ติณสูลานนท์ อดีตรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ในรัฐบาลพลเอกชาติชาย ชุณหะวัณ และเป็นอดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดลำปาง 6 สมัย สังกัดพรรคชาติไท.

ใหม่!!: พรรคสามัคคีธรรมและสอาด ปิยวรรณ · ดูเพิ่มเติม »

สัมพันธ์ เลิศนุวัฒน์

ัมพันธ์ เลิศนุวัฒน์ เป็นอดีตรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ในรัฐบาลของพลเอกชวลิต ยงใจยุทธ อดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์ ในรัฐบาลพลเอกสุจินดา คราประยูร อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรหลายสมั.

ใหม่!!: พรรคสามัคคีธรรมและสัมพันธ์ เลิศนุวัฒน์ · ดูเพิ่มเติม »

สันติ ชัยวิรัตนะ

นายสันติ ชัยวิรัตนะ (12 พฤศจิกายน พ.ศ. 2488 - 24 พฤษภาคม พ.ศ. 2543) อดีตรัฐมนตรี และอดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดชัยภูมิ 7 สมั.

ใหม่!!: พรรคสามัคคีธรรมและสันติ ชัยวิรัตนะ · ดูเพิ่มเติม »

สุชาติ ตันเจริญ

นายกองเอก สุชาติ ตันเจริญ อดีตรองประธานสภาผู้แทนราษฎร อดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดฉะเชิงเทรา 8 สมัย อดีตรองหัวหน้าพรรคชาติไทย และพรรคไทยรักไทย อีกทั้งยังเป็นอดีต..ในกลุ่ม 16.

ใหม่!!: พรรคสามัคคีธรรมและสุชาติ ตันเจริญ · ดูเพิ่มเติม »

สุบิน ปิ่นขยัน

น ปิ่นขยัน อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดเชียงใหม่ 3 สมัย อดีตรองหัวหน้าพรรคสามัคคีธรรม อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ กระทรวงพาณิชย์ และทบวงมหาวิทยาลัย เป็นผู้ก่อตั้งและเป็นประธานกรรมการบริหารของ บม.

ใหม่!!: พรรคสามัคคีธรรมและสุบิน ปิ่นขยัน · ดูเพิ่มเติม »

สุจินดา คราประยูร

ลเอก พลเรือเอก พลอากาศเอก สุจินดา คราประยูร (เกิด 6 สิงหาคม พ.ศ. 2476) เป็นอดีตนายกรัฐมนตรีของประเทศไทย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ผู้บัญชาการทหารบก และ ผู้บัญชาการทหารสูง.

ใหม่!!: พรรคสามัคคีธรรมและสุจินดา คราประยูร · ดูเพิ่มเติม »

สนธยา คุณปลื้ม

นธยา คุณปลื้ม ที่ปรึกษานายกรัฐมนตรีฝ่ายการเมือง (พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา) อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อม และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬาคนแรก อดีตที่ปรึกษานายกรัฐมนตรี(ทักษิณ ชินวัตร) และอดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดชลบุรีหลายสมั.

ใหม่!!: พรรคสามัคคีธรรมและสนธยา คุณปลื้ม · ดูเพิ่มเติม »

อภิชาติ หาลำเจียก

อภิชาติ หาลำเจียก (23 พฤษภาคม พ.ศ. 2497 - 15 กันยายน พ.ศ. 2551) อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร จังหวัดกาฬสินธุ์ 2 สมัย สังกัดพรรคกิจสังคม และพรรคสามัคคีธรรม อดีตสมาชิกสภากรุงเทพมหานคร สังกัดพรรคประชาธิปัตย์ และเป็นนักแสดง ผู้กำกับภาพยนตร.

ใหม่!!: พรรคสามัคคีธรรมและอภิชาติ หาลำเจียก · ดูเพิ่มเติม »

อาทิตย์ กำลังเอก

ลเอก พลเรือเอก พลอากาศเอก อาทิตย์ กำลังเอก (31 สิงหาคม พ.ศ. 2468 - 19 มกราคม พ.ศ. 2558) อดีตผู้บัญชาการทหารบก อดีตผู้บัญชาการทหารสูงสุดของไทย อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดเลย และอดีตสมาชิกวุฒิสภา จังหวัดเล.

ใหม่!!: พรรคสามัคคีธรรมและอาทิตย์ กำลังเอก · ดูเพิ่มเติม »

อาทิตย์ อุไรรัตน์

อาทิตย์ อุไรรัตน์ (9 พฤษภาคม พ.ศ. 2481-) อดีตประธานสภาผู้แทนราษฎร และอดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ อดีตรองหัวหน้าพรรคสามัคคีธรรม อดีตเจ้าของโรงพยาบาลเอกชนในเครือพญาไท เขาได้รับฉายา "วีรบุรุษประชาธิปไตย" จากเหตุการณ์พฤษภาทมิฬ ที่ได้เสนอชื่อ อานันท์ ปันยารชุน เป็นนายกรัฐมนตรีแทน พล.อ.อ.สมบุญ ระหงษ์ ที่กล่าวกันว่าจะมารับช่วงต่อรัฐบาล รสช. และเจ้าของฉายา "ดร.ไข่ผง" จากการเคยมีกิจการโรงงานผลิตไข่ผงที่จังหวัดฉะเชิงเทรา ปัจจุบันดำรงตำแหน่งอธิการบดีมหาวิทยาลัยรังสิต และเป็นกรรมการที่ปรึกษาพรรคประชาธิปัต.

ใหม่!!: พรรคสามัคคีธรรมและอาทิตย์ อุไรรัตน์ · ดูเพิ่มเติม »

อดิศักดิ์ โภคกุลกานนท์

นายอดิศักดิ์ โภคกุลกานนท์ เป็นอดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร แบบบัญชีรายชื่อ สังกัดพรรคเพื่อไทย และเคยเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร จังหวัดอุบลราชธานีหลายสมัย ได้รับเลือกตั้งครั้งแรกในการเลือกตั้ง..

ใหม่!!: พรรคสามัคคีธรรมและอดิศักดิ์ โภคกุลกานนท์ · ดูเพิ่มเติม »

อนุรักษนิยม

อนุรักษนิยม หรือ คติอนุรักษ์ (conservatism), โดยทั่วไปหมายถึงปรัชญาทางการเมืองที่ยึดถือเอาสิ่งดีงามในอดีตมาเป็นแนวทางในการดำเนินงานในปัจจุบัน โดยนิยมการเปลี่ยนแปลงแบบค่อยเป็นค่อยไป และส่วนใหญ่จะอยู่ตรงข้ามกับแนวคิดเสรีนิยม แนวอนุรักษนิยมทางการเมืองสมัยใหม่เริ่มต้นขึ้นในปลายคริสต์ศตวรรษที่ 18 ซึ่งเป็นปฏิกิริยาตอบสนองต่อการปฏิวัติฝรั่งเศสและการปฏิวัติอุตสาหกรรม อันนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจ สังคม และการเมือง พรรคการเมืองที่มีแนวคิดอนุรักษนิยมจัดเป็นพรรคอนุรักษนิยม.

ใหม่!!: พรรคสามัคคีธรรมและอนุรักษนิยม · ดูเพิ่มเติม »

อนุวรรตน์ วัฒนพงศ์ศิริ

อนุวรรตน์ วัฒนพงศ์ศิริ อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีและการพลังงาน อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ อดีตรัฐมนตรีว่าการทบวงมหาวิทยาลัย อดีตรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร จังหวัดบุรีรัมย์ และอดีตหัวหน้าพรรคเทิดไท.

ใหม่!!: พรรคสามัคคีธรรมและอนุวรรตน์ วัฒนพงศ์ศิริ · ดูเพิ่มเติม »

อนุดิษฐ์ นาครทรรพ

นาวาอากาศเอก อนุดิษฐ์ นาครทรรพ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร และรักษาการแทนรัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีอดีตที่ปรึกษาและโฆษกและเลขานุการศูนย์รักษาความสงบ ในรัฐบาลของนายกรัฐมนตรี นางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร และสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร กรุงเทพมหานคร สังกัดพรรคเพื่อไท.

ใหม่!!: พรรคสามัคคีธรรมและอนุดิษฐ์ นาครทรรพ · ดูเพิ่มเติม »

จำนงค์ โพธิสาโร

ำนงค์ โพธิสาโร เป็นอดีตนักการเมือง โดยเป็น..

ใหม่!!: พรรคสามัคคีธรรมและจำนงค์ โพธิสาโร · ดูเพิ่มเติม »

ถนอม กิตติขจร

อมพล จอมพลเรือ จอมพลอากาศ ถนอม กิตติขจร (11 สิงหาคม พ.ศ. 2454—16 มีนาคม พ.ศ. 2547) เป็น อดีตนายกรัฐมนตรีคนที่ 10 ของประเทศไทย ผู้บัญชาการทหารบก รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม และ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ ผู้ซึ่งเป็นหัวหน้าคณะรัฐบาลในเหตุการณ์ 14 ตุลา ปี 2516 ซึ่งเป็นเหตุการณ์การประท้วงของ นิสิต นักศึกษา และประชาชน โดยในเหตุการณ์ ทหารได้ใช้อาวุธสงครามเข้าปราบปรามนักศึกษาประชาชนที่ชุมนุมเรียกร้องรัฐธรรมนูญ จนทำให้มีผู้เสียชีวิตเป็นจำนวนมาก เป็นผลให้ จอมพล ถนอม กิตติขจร ต้องประกาศลาออกจากตำแหน่ง และเดินทางออกจากประเทศ พร้อมกับ จอมพล ประภาส จารุเสถียร และ พ.อ.ณรงค์ กิตติขจร ภายหลังเหตุการณ์ จอมพล ถนอม กิตติขจร ก็ได้เดินทางกลับ แล้วบวชเป็นพระสามเณร เป็นชนวนไปสู่การ ขับไล่ ของนักศึกษาธรรมศาสตร์ จนโยงไปสู่เหตุการณ์ 6 ตุลา ปี 2519 ทำให้มีผู้บาดเจ็บ เสียชีวิต และสูญหายจำนวนมาก จอมพล ถนอม กิตติขจร เคยดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีถึง 4 สมัย เป็นระยะเวลาถึง 10 ปี 6 เดือนเศษ และนับจากการเปลี่ยนการปกครอง พ.ศ. 2475 เป็นต้นมา นายทหารที่มาจากคนธรรมดาสามัญที่ครองยศจอมพลสายทหารบก มีด้วยกัน 7 คน จอมพลถนอมเป็นคนที่ 6 จอมพลประภาส จารุเสถียรเป็นคนที่ 7 แต่ผู้ที่มีอายุยืนที่สุด คือจอมพลถนอม จึงกลายเป็น "จอมพลคนสุดท้าย" จอมพลถนอมถึงแก่อสัญกรรมด้วยโรคเส้นเลือดในสมองแตกเมื่อกลางดึก เมื่อวันที่ 16 มิถุนายน..

ใหม่!!: พรรคสามัคคีธรรมและถนอม กิตติขจร · ดูเพิ่มเติม »

ทรงยศ รามสูต

นายทรงยศ รามสูต (เกิด 20 ธันวาคม พ.ศ. 2503) เป็นอดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดหนองคาย ได้รับการเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรครั้งแรกในปี พ.ศ. 2529 ในสังกัดพรรคชาติไทย ปัจจุบันสังกัดพรรคเพื่อไท.

ใหม่!!: พรรคสามัคคีธรรมและทรงยศ รามสูต · ดูเพิ่มเติม »

ณรงค์ วงศ์วรรณ

ณรงค์ วงศ์วรรณ (25 ธันวาคม พ.ศ. 2468 -) หรือเป็นที่รู้จักว่า "พ่อเลี้ยงเมืองแพร่" อดีตรองนายกรัฐมนตรี อดีตรัฐมนตรีหลายกระทรวง และอดีตหัวหน้าพรรคสามัคคีธรรม เป็นหัวหน้าพรรคการเมืองที่เคยได้รับเลือกตั้ง..มากที่สุดในสภาผู้แทนราษฎร แต่หัวหน้าพรรคไม่ได้รับตำแหน่งนายกรัฐมนตรี.

ใหม่!!: พรรคสามัคคีธรรมและณรงค์ วงศ์วรรณ · ดูเพิ่มเติม »

คณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติ

ณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติ หรือ ร. (National Peace Keeping Council - NPKC) เป็นคณะนายทหารที่ก่อการรัฐประหาร ยึดอำนาจจากพลเอกชาติชาย ชุณหะวัณ เมื่อวันที่ 23 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2534 นำโดย พลเอกสุนทร คงสมพงษ์ ผู้บัญชาการทหารสูงสุด พลเอกสุจินดา คราประยูร ผู้บัญชาการทหารบก, พลเอกอิสระพงศ์ หนุนภักดี รองผู้บัญชาการทหารบก และพลอากาศเอกเกษตร โรจนนิล ผู้บัญชาการทหารอากาศ คณะ ร. ให้เหตุผลในการยึดอำนาจว.

ใหม่!!: พรรคสามัคคีธรรมและคณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติ · ดูเพิ่มเติม »

ประชุม รัตนเพียร

ประชุม รัตนเพียร เกิดเมื่อวันที่ 25 กุมภาพัน..

ใหม่!!: พรรคสามัคคีธรรมและประชุม รัตนเพียร · ดูเพิ่มเติม »

ประพาส ลิมปะพันธุ์

ร้อยตรี ประพาส ลิมปะพันธุ์ อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร แบบบัญชีรายชื่อ สังกัดพรรคชาติพัฒนา อดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ในรัฐบาลของนายชวน หลีกภัย และเป็นอดีตเลขาธิการพรรคชาติพัฒน.

ใหม่!!: พรรคสามัคคีธรรมและประพาส ลิมปะพันธุ์ · ดูเพิ่มเติม »

ประสพ บุษราคัม

นายประสพ บุษราคัม (เกิด 26 พฤศจิกายน พ.ศ. 2484) อดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ และ อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดอุดรธานี 6 สมั.

ใหม่!!: พรรคสามัคคีธรรมและประสพ บุษราคัม · ดูเพิ่มเติม »

ประทวน เขียวฤทธิ์

นายประทวน เขียวฤทธิ์ (เกิด 19 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2482) อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดสุโขทัย 6 สมั.

ใหม่!!: พรรคสามัคคีธรรมและประทวน เขียวฤทธิ์ · ดูเพิ่มเติม »

ประเทือง คำประกอบ

นายประเทือง คำประกอบ เป็นอดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์ ในรัฐบาลหม่อมราชวงศ์เสนีย์ ปราโมช เป็นอดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการต่างประเทศ ในรัฐบาลหม่อมราชวงศ์คึกฤทธิ์ ปราโมช และเป็นอดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม ในรัฐบาลนายชวน หลีกภัย และเป็นอดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดนครสวรรค์ 8 สมั.

ใหม่!!: พรรคสามัคคีธรรมและประเทือง คำประกอบ · ดูเพิ่มเติม »

ปรีชา เลาหพงศ์ชนะ

นายปรีชา เลาหพงศ์ชนะ ประธานกรรมการ บริษัท กรุงไทย แลนด์ ดีวีลอปเมนท์ จำกัด อดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการต่างประเทศ และรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม แกนนำกลุ่มวังพญานาค ร่วมกับ นายพินิจ จารุสมบัติ เคยเป็นกรรมการบริหารพรรคสามัคคีธรรม และเป็นหนึ่งในคณะกรรมการบริหาร พรรคไทยรักไทย และภายหลังได้ย้ายเข้าสังกัด พรรคเพื่อแผ่นดิน.

ใหม่!!: พรรคสามัคคีธรรมและปรีชา เลาหพงศ์ชนะ · ดูเพิ่มเติม »

นิคม แสนเจริญ

นายนิคม แสนเจริญ (7 ตุลาคม พ.ศ. 2485 - 18 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2535) อดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม และ อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดชลบุรี 3 สมั.

ใหม่!!: พรรคสามัคคีธรรมและนิคม แสนเจริญ · ดูเพิ่มเติม »

แปลก พิบูลสงคราม

งครามอินโดจีน พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เมื่อครั้งผนวชทรงรับบาตรจากจอมพล ป. นายกรัฐมนตรีในขณะนั้น จอมพล จอมพลเรือ จอมพลอากาศ แปลก พิบูลสงคราม (14 กรกฎาคม พ.ศ. 2440 – 11 มิถุนายน พ.ศ. 2507) หรือที่เรียกกันทั่วไปว่า "จอมพล ป.พิบูลสงคราม" เป็นนายกรัฐมนตรีไทยที่ดำรงตำแหน่งนานที่สุด คือ 14 ปี 11 เดือน 18 วัน รวม 8 สมัย และเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย มีนโยบายที่สำคัญคือ การมุ่งมั่นพัฒนาประเทศไทย ให้มีความเจริญรุ่งเรืองทัดเทียมนานาอารยประเทศ มีการปลุกระดมให้คนไทยรู้สึกรักชาติ โดยออกประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี ว่าด้วย "รัฐนิยม" หลายอย่าง ซึ่งบางอย่างได้ประกาศเป็นกฎหมายในภายหลัง หลายอย่างกลายเป็นวัฒนธรรมของชาติ เช่น การรำวง, ก๋วยเตี๋ยวผัดไทย เป็นผู้เปลี่ยนชื่อ "ประเทศสยาม" เป็น "ประเทศไทย" และเป็นผู้เปลี่ยน "เพลงชาติไทย" มาเป็นเพลงที่ใช้กันอยู่ในปัจจุบัน คำขวัญที่รู้จักกันดีของนายกรัฐมนตรีผู้นี้คือ "เชื่อผู้นำชาติพ้นภัย" หรือ "ท่านผู้นำไปไหนฉันไปด้วย" และ "ไทยอยู่คู่ฟ้า" ในสายตานักวิชาการประวัติศาสตร์การเมืองไทยส่วนหนึ่งเห็นว่า จอมพล ป. พิบูลสงคราม เป็นเผด็จการทางทหารที่มีบทบาททางการเมืองสูง และให้ความสนใจกับความคิดที่ส่อไปในทางเชื้อชาตินิยม จอมพล ป. พิบูลสงคราม ถึงแก่อสัญกรรม เมื่อวันที่ 11 มิถุนายน พ.ศ. 2507 ในเวลาประมาณ 20.30 น. ณ บ้านพักส่วนตัว ชานกรุงโตเกียว สิริอายุได้ 67 ปี.

ใหม่!!: พรรคสามัคคีธรรมและแปลก พิบูลสงคราม · ดูเพิ่มเติม »

ใหม่ ศิรินวกุล

นายใหม่ ศิรินวกุล (15 มีนาคม พ.ศ. 2481 - 16 กันยายน พ.ศ. 2536) เป็นอดีตรองประธานสภาผู้แทนราษฎรไทย อดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ อดีตรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี และเป็นอดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดกาฬสินธุ์ 5 สมั.

ใหม่!!: พรรคสามัคคีธรรมและใหม่ ศิรินวกุล · ดูเพิ่มเติม »

ไพโรจน์ โล่ห์สุนทร

นายไพโรจน์ โล่สุนทร อดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ ในรัฐบาลนายชวน หลีกภัย (2) อดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย ในรัฐบาลพลเอกชวลิต ยงใจยุทธ และในรัฐบาลนายชวน หลีกภัย (1) และเป็นอดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดลำปางหลายสมั.

ใหม่!!: พรรคสามัคคีธรรมและไพโรจน์ โล่ห์สุนทร · ดูเพิ่มเติม »

เรืองวิทย์ ลิกค์

นายกองเอก เรืองวิทย์ ลิกค์ อดีตรัฐมนตรีหลายกระทรวง สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร จังหวัดกำแพงเพชร 9 สมัย ชาวกำแพงเพชรรู้จักกันในนามผู้แทนฯ "ใจถึง พึ่งได้ พบง่าย ใช้คล่อง".

ใหม่!!: พรรคสามัคคีธรรมและเรืองวิทย์ ลิกค์ · ดูเพิ่มเติม »

เจริญ เชาวน์ประยูร

นายเจริญ เชาวน์ประยูร อดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดเชียงใหม่ 7 สมัย ได้รับเลือกตั้งครั้งแรกในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2522.

ใหม่!!: พรรคสามัคคีธรรมและเจริญ เชาวน์ประยูร · ดูเพิ่มเติม »

เขตดุสิต

ตดุสิต เป็น 1 ใน 50 เขตการปกครองของกรุงเทพมหานคร อยู่ในกลุ่มเขตกรุงเทพกลาง สภาพพื้นที่ประกอบไปด้วยแหล่งการค้า แหล่งที่อยู่อาศัยหนาแน่นมาก เขตทหาร แหล่งท่องเที่ยวเชิงประวัติศาสตร์และศิลปวัฒนธรรม นอกจากนี้ยังเป็นสถานที่ที่ตั้งรัฐสภา กระทรวงต่าง ๆ และพระราชวัง จึงทำให้เขตนี้มีลักษณะราวกับว่าเป็นเขตการปกครองส่วนกลางของประเทศไทย อนึ่ง ที่ทำการสำนักงานส่วนภูมิภาคและสำนักงานประจำประเทศไทย ขององค์การสหประชาชาติ และขององค์การระหว่างประเทศหลายองค์การ ก็อยู่ในพื้นที่เขตนี้.

ใหม่!!: พรรคสามัคคีธรรมและเขตดุสิต · ดูเพิ่มเติม »

เฉลิมพันธ์ ศรีวิกรม์

นายเฉลิมพันธ์ ศรีวิกรม์ อดีตนักการเมืองและนักธุรกิจชาวไทยที่มีชื่อเสียง เคยดำรงตำแหน่งรองนายกรัฐมนตรี ในรัฐบาลของพลเอกชาติชาย ชุณหะวัณ และอดีตเลขาธิการพรรคประชาธิปัตย์ พรรคเอกภาพ รวมถึงเป็นรองหัวหน้าพรรคสามัคคีธรรม.

ใหม่!!: พรรคสามัคคีธรรมและเฉลิมพันธ์ ศรีวิกรม์ · ดูเพิ่มเติม »

เปรม ติณสูลานนท์

ลเอก พลเรือเอก พลอากาศเอก เปรม ติณสูลานนท์ ประธานองคมนตรี รัฐบุรุษ อดีตผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ในสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูร และนายกรัฐมนตรีไทยคนที่ 16 ดำรงตำแหน่ง 3 สมัย ระหว่างปี..

ใหม่!!: พรรคสามัคคีธรรมและเปรม ติณสูลานนท์ · ดูเพิ่มเติม »

13 กันยายน

วันที่ 13 กันยายน เป็นวันที่ 256 ของปี (วันที่ 257 ในปีอธิกสุรทิน) ตามปฏิทินสุริยคติแบบเกรกอเรียน เมื่อถึงวันนี้จะยังเหลือวันอีก 109 วันในปีนั้น.

ใหม่!!: พรรคสามัคคีธรรมและ13 กันยายน · ดูเพิ่มเติม »

3 กรกฎาคม

วันที่ 3 กรกฎาคม เป็นวันที่ 184 ของปี (วันที่ 185 ในปีอธิกสุรทิน) ตามปฏิทินสุริยคติแบบเกรกอเรียน เมื่อถึงวันนี้จะยังเหลือวันอีก 181 วันในปีนั้น.

ใหม่!!: พรรคสามัคคีธรรมและ3 กรกฎาคม · ดูเพิ่มเติม »

3 มกราคม

วันที่ 3 มกราคม เป็นวันที่ 3 ของปี ตามปฏิทินสุริยคติแบบเกรกอเรียน เมื่อถึงวันนี้จะยังเหลือวันอีก 362 วันในปีนั้น (363 วันในปีอธิกสุรทิน).

ใหม่!!: พรรคสามัคคีธรรมและ3 มกราคม · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

พรรคเทิดไท

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »