โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ติดตั้ง
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

ปักกิ่งและอู๋ซี

ทางลัด: ความแตกต่างความคล้ายคลึงกันค่าสัมประสิทธิ์การเปรียบเทียบ Jaccardการอ้างอิง

ความแตกต่างระหว่าง ปักกิ่งและอู๋ซี

ปักกิ่ง vs. อู๋ซี

ปักกิ่ง หรือ เป่ย์จิง (จีน:, พินอิน: Běijīng) เป็นเมืองหลวงของสาธารณรัฐประชาชนจีน มีชื่อย่อว่า จิง ตั้งอยู่ที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือของ ที่ราบหวาเป่ย์ ชื่อเดิมคือ จี่ (冀) สมัยวสันตสารท (春秋)และสมัยรณรัฐ (战国)เป็นเมืองหลวงของแคว้นเยียน สมัยราชวงศ์เหลียว เป็นเมืองหลวงรอง ชื่อ เยียนจิง เป็นเมืองหลวงของจีนตั้งแต่สมัยราชวงศ์จิน หยวน หมิง ชิงจนถึง สาธารณรัฐจีน เคยใช้ชื่อจงตู ต้าตู เป่ย์ผิงและเป่ย์จิง โดยมีชื่อเรียกทั้งหมดกว่า 60 ชื่อ เริ่มตั้งเป็นเมืองตั้งแต่ปี 1928 ปัจจุบัน แบ่งเป็น 16 เขตและ 2 อำเภอ เป็นนครที่ขึ้นตรงต่อส่วนกลาง พื้นที่ทั่วกรุงปักกิ่งมีถึง 16,800 ตารางกิโลเมตร ถึงสิ้นปี.. อู๋ซี (อังกฤษ: Wuxi) เป็นเมืองอุตสาหกรรมเก่าในมณฑลเจียงซู สาธารณรัฐประชาชนจีน บริเวณที่ลุ่มปากแม่น้ำแยงซี มีทะเลสาบไท่หูพาดผ่านแบ่งเมืองออกเป็นสองส่วน ทางทิศจะวันตกมีอาณาเขตติดกับฉางโจว และทางทิศตะวันออกติดกับซูโจว เนื่องจากเป็นเมืองที่ได้รับการพัฒนาเมื่อไม่นานมานี้ จึงถูกขนานนามว่า "เซี่ยงไฮ้น้อย" มีชื่อเสียงในฐานะที่เป็นหนึ่งในเมืองต้นกำเนิดอุตสาหกรรมและเศรษฐกิจสมัยใหม่ของจีน และยังเป็นบ้านเกิดของนักธุรกิจที่มีชื่อเสียงหลายคนในสมัยศตวรรษที่ 20 ที่มีส่วนสร้างเมืองเซี่ยงไฮ้ให้เป็นเมืองเศรษฐกิจสมัยใหม่อีกด้ว.

ความคล้ายคลึงกันระหว่าง ปักกิ่งและอู๋ซี

ปักกิ่งและอู๋ซี มี 12 สิ่งที่เหมือนกัน (ใน ยูเนี่ยนพีเดีย): ชาวฮั่นกลุ่มภาษาจีนยุครณรัฐยุควสันตสารทราชวงศ์ชิงราชวงศ์หมิงหนานจิงฮ่องกงประเทศจีนเมืองเหรินหมินปี้เซี่ยงไฮ้

ชาวฮั่น

วฮั่น (漢族) เป็นประชากรส่วนใหญ่ในประเทศจีน ผลสำรวจจำนวนประชากรในปลายคริสต์ศตวรรษที่ 20 พบว่า มีชาวฮั่นราว 1,200 ล้านคนอาศัยในประเทศจีน และนับเป็นกลุ่มชนชาติที่ใหญ่ที่สุดในโลกด้วย มีหลักฐานว่าชาวฮั่นถือกำเนิดมาตั้งแต่สมัยหวงตี้ (黃帝) อาศัยอยู่ในแถบดินแดนจงหยวน และกระจายอยู่ทั่วประเทศจีนมายาวนานกว่า 5,000 ปี นับตั้งแต่สมัยเซี่ย ซาง โจว ชุนชิว-จั้นกั๋ว จนมาเริ่มเป็นปึกแผ่นในสมัยฉินและฮั่น สมัยฮั่นนี่เองที่เริ่มมีคำเรียก 'ฮั่น' ซึ่งเป็นกลุ่มชนที่มีความเชื่อตามแบบลัทธิเต๋า ชาวฮั่นมีกิจกรรมด้านการเกษตรและหัตถกรรมที่เจริญก้าวหน้า อีกทั้งมีการประดิษฐ์เครื่องสำริด การถักทอ เครื่องเคลือบดินเผา สถาปัตยกรรม และศิลปะการวาดภาพที่เป็นหน้าตาของชนชาติมาตั้งแต่ยุคโบราณ นอกจากนี้ ยังรวมถึงผลงานวรรณกรรมรูปแบบต่างๆ ที่เป็นที่ยอมรับไปทั่วด้วย และที่ลืมไม่ได้ก็คือ การเป็นชนกลุ่มแรกของโลกที่ค้นพบและสร้างสรรค์สิ่งประดิษฐ์ 4 อย่าง คือ กระดาษ เทคนิคการพิมพ์ เข็มทิศ และดินปืน บุคคลสำคัญเชื้อสายฮั่นในแผ่นดินจีนไม่ว่าจะเป็นนักทฤษฎี นักปฏิวัติ นักการเมือง กวี ศิลปินต่าง ๆ ที่ถูกจารึกนามในหน้าประวัติศาสตร์จีนและของโลกที่เรารู้จักกันดี ได้แก่ ดร.ซุนยัตเซ็น เหมาเจ๋อตง โจวเอินไหล หลิวเส้าฉี จูเต๋อ เติ้งเสี่ยวผิง หลู่ซวิ่น ฯลฯ ล้วนเป็นชาวฮั่นที่สร้างคุณูปการต่อลูกหลานชนชาวฮั่นในวันนี้ และยังรวมถึง ขงจื๊อ ปรัชญาเมธีผู้เรืองนามของจีน เป็นเวลาเนิ่นนานหลายร้อยปี ที่แนวคิดของขงจื๊อซึ่งเป็นรากฐานคุณธรรมคำสอนของชาวฮั่น ได้แผ่อิทธิพลไปทั่วทวีปเอเชียตะวันออก (East-Asia) ชาวฮั่นมีวันสำคัญทางประเพณีได้แก่ เทศกาลตรุษจีน 春節 เทศกาลหยวนเซียว 元宵節 เทศกาลไหว้บะจ่าง 端午節 เทศกาลไหว้พระจันทร์ 中秋節 (จงชิวเจี๋ย) เป็นต้น ชาวฮั่นมีภาษาพูดและภาษาเขียนเป็นของตนเองเรียกว่า ภาษาฮั่น 漢語 (ฮั่นอวี่) มีตัวอักษรเรียกว่า อักษรฮั่น 漢字 (ฮั่นจื่อ) ซึ่งยังแบ่งเป็นภาษาถิ่นอีกหลายภาษา อาทิ ภาษาถิ่นทางภาคเหนือ (北方話) ภาษากวางตุ้ง (粵語) ภาษาแคะ (客家話) ภาษาถิ่นแถบเซี่ยเหมิน (閩南語) ภาษาถิ่นฮกเกี๊ยน (閩北語) ภาษาถิ่นแถบเซี่ยงไฮ้-เจียงซู-เจ้อเจียง (吳語) ภาษาถิ่นแถบหูหนัน (湘語) และภาษาถิ่นแถบเจียงซี (贛語).

ชาวฮั่นและปักกิ่ง · ชาวฮั่นและอู๋ซี · ดูเพิ่มเติม »

กลุ่มภาษาจีน

ัฒนาการของภาษาจีนสำเนียงต่างๆ ภาษาจีน (汉语 - 漢語 - Hànyǔ - ฮั่นอวี่, 华语 - 華語 - Huáyǔ - หัวอวี่ หรือ 中文 - Zhōngwén - จงเหวิน) เป็นหนึ่งในตระกูลภาษาจีน-ทิเบต ชาวจีนส่วนใหญ่ถือภาษาจีนพูดชนิดต่าง ๆ ว่าเป็นภาษาเดียว โดยทั่วไปแล้ว ภาษาพูดในกลุ่มภาษาจีนเป็นภาษาที่มีเสียงวรรณยุกต์และไม่อ่านเนื่องเสียง อย่างไรก็ดี ยังมีความแตกต่างกันในภาษาพูดแต่ละภาษาอยู่มาก ความต่างเหล่านี้เทียบได้กับ ความแตกต่างระหว่างภาษาของภาษากลุ่มโรมานซ์ เราอาจแบ่งภาษาพูดของจีนได้ 6 ถึง 12 กลุ่ม ขึ้นอยู่กับเกณฑ์ที่ใช้ในการแบ่ง ที่เป็นที่รู้จักดี เช่น กลุ่มแมนดาริน กลุ่มหวู และกลุ่มกวางตุ้ง ยังเป็นที่โต้เถียงกันถึงปัจจุบันว่าภาษาพูดบางกลุ่มควรจัดเป็น "ภาษา" หรือเป็นแค่ "สำเนียง" ประชากรประมาณ 1/5 ของโลกพูดภาษาจีนแบบใดแบบหนึ่งเป็นภาษาแม่ ทำให้เป็นภาษาที่มีคนพูดเป็นภาษาแม่มากที่สุด สำเนียงพูดที่ถือเป็นมาตรฐาน คือ สำเนียงปักกิ่ง หรือ ภาษาฮั่น ซึ่งอยู่ในกลุ่มภาษาแมนดาริน ภาษาจีนกลาง หรือ ภาษาจีนแมนดาริน (Standard Mandarin) เป็นภาษาทางการของสาธารณรัฐประชาชนจีน และสาธารณรัฐจีนหรือไต้หวัน เป็นหนึ่งในภาษาทางการ 4 ภาษาทางการของประเทศสิงคโปร์ (ร่วมกับ ภาษาอังกฤษ ภาษามลายู และภาษาทมิฬ) และเป็นหนึ่งใน 6 ภาษาที่ใช้ในองค์การสหประชาชาติ (ร่วมกับ ภาษาอังกฤษ ภาษาอาหรับ ภาษาฝรั่งเศส ภาษารัสเซีย และภาษาสเปน) ภาษาจีนกวางตุ้ง เป็นภาษาทางการของ ฮ่องกง (ร่วมกับภาษาอังกฤษ) และมาเก๊า (ร่วมกับภาษาโปรตุเกส) นอกจากนี้ ภาษาเขียนยังได้เปลี่ยนแปลงตามระยะเวลา แต่การเปลี่ยนแปลงของภาษาเขียน ช้ากว่าการเปลี่ยนแปลงของภาษาพูดอย่างมาก จึงไม่ถูกจำกัดโดยความเปลี่ยนแปลงของภาษาพูดโดยส่วนใหญ่ ในปัจจุบัน ภาษาจีนใช้อักษรมาตรฐาน 2 รูปแบบทั่วโลก ได้แก่ อักษรจีนตัวเต็ม และ อักษรจีนตัวย่อ แผ้นที่แสดงพื้นที่ที่มีกลุ่มคนพูดภาษาจีนต่างๆ ในประเทศจีน.

กลุ่มภาษาจีนและปักกิ่ง · กลุ่มภาษาจีนและอู๋ซี · ดูเพิ่มเติม »

ยุครณรัฐ

รณรัฐ (Warring States) เป็นชื่อยุคหนึ่งในประวัติศาสตร์จีนโบราณ ถัดจากยุควสันตสารท และสิ้นสุดลงเมื่อฉินฉื่อหฺวังตี้รวมแผ่นดินในปีที่ 221 ก่อนคริสตกาล เป็นผลให้รัฐต่าง ๆ ที่รบรากันได้รวมเป็นหนึ่ง คือ จักรวรรดิฉิน ยุครณรัฐเริ่มขึ้นเมื่อใดนั้น นักวิชาการว่าไว้ต่างกัน ซึ่งมักตกในระหว่างปีที่ 481 ถึงปีที่ 403 ก่อนคริสตกาล แต่ซือหม่า เชียน นักประวัติศาสตร์ในราชวงศ์ฮั่น ว่า เริ่มเมื่อปีที่ 475 ก่อนคริสตกาล และข้อเขียนของซือหม่า เชียนนี้เป็นที่อ้างอิงกันมาก ส่วนชื่อ "รณรัฐ" นั้นเรียกตามชื่อหนังสือ "พิชัยสงครามรณรัฐ" (Zhàn Guó Cè; Strategies of the Warring States) หมวดหมู่:ประวัติศาสตร์จีน ราชวงศ์โจว.

ปักกิ่งและยุครณรัฐ · ยุครณรัฐและอู๋ซี · ดูเพิ่มเติม »

ยุควสันตสารท

แผนที่แสดงที่ตั้งของนครรัฐต่าง ๆ ในยุควสันตสารท วสันตสารท หรือภาษาจีนว่า ชุนชิว (Spring and Autumn period) เป็นชื่อยุคหนึ่งในประวัติศาสตร์จีนโบราณ อยู่ระหว่าง ประมาณ 770 ปีก่อนคริสต์ศักราช – 453 ปีก่อนคริสต์ศักราช (บางข้อมูลถือ 365 ปีก่อนคริสต์ศักราช – 482 ปีก่อนคริสต์ศักราช) เป็นยุคหนึ่งในราชวงศ์โจว ราชวงศ์ที่ยาวนานที่สุดในประวัติศาสตร์จีน นับเป็นยุคสมัยที่ได้รับการกล่าวขานอย่างมากในแง่ต่าง ๆ เนื่องจากเป็นยุคที่นครรัฐแต่ละรัฐรบด้วยด้วยกลอุบายที่แยบยล ก่อให้เกิดเป็นตำนานและเรื่องเล่าขานมากมายจนปัจจุบัน และเป็นต้นเรื่องที่ทำให้เกิดวรรณคดีจีนเรื่องสำคัญอีกเรื่อง คือ เลียดก๊ก ซึ่งถูกรวมไว้ด้วยกันกับยุคจ้านกว๋อ (หรือที่คุ้นเคยกันในชื่อเลียดก๊ก) การรบในยุคชุนชิวนั้นหลายเรื่องได้อ้างอิงในสามก๊กที่เกิดหลังจากนี้อีกนับพันปีต่อมา อีกแง่หนึ่ง เป็นยุคที่นักปราชญ์บัณฑิตแต่ละสาขาได้ถือกำเนิดและมีชีวิตอยู่ ซึ่งได้แต่งตำราหรือคำสอนต่าง ๆ ที่ตกทอดมาจนถึงปัจจุบัน เช่น ขงจื๊อ, เล่าจื๊อ, เม่งจื๊อ, ม่อจื๊อ เป็นต้น ในส่วนของปราชญ์แห่งสงคราม ก็คือ ซุนวู นั่นเอง.

ปักกิ่งและยุควสันตสารท · ยุควสันตสารทและอู๋ซี · ดูเพิ่มเติม »

ราชวงศ์ชิง

ราชวงศ์ชิง (พ.ศ. 2187 - 2455)(ภาษาแมนจู: 16px daicing gurun; ภาษาจีน:清朝; พินอิน: qīng cháo ชิงเฉา) หรือบางครั้งเรียกว่า ราชวงศ์แมนจู ปกครองแผ่นดินจีนต่อจากราชวงศ์หมิง และถือเป็นราชวงศ์สุดท้ายของประเทศจีน ตั้งแต..

ปักกิ่งและราชวงศ์ชิง · ราชวงศ์ชิงและอู๋ซี · ดูเพิ่มเติม »

ราชวงศ์หมิง

ราชวงศ์หมิง หรือ ราชวงศ์เบ๋ง (ฮกเกี้ยน) หรือ ราชวงศ์เม้ง (แต้จิ๋ว) หรือเป็นที่รู้จักกันในชื่อ จักรวรรดิต้าหมิง เป็นราชวงศ์ที่ปกครองจักรวรรดิจีน ระหว่าง พ.ศ. 1911 (ค.ศ. 1368) ถึง พ.ศ. 2187 (ค.ศ. 1644) ดำรงอยู่เป็นเวลารวม 276 ปี โดยปกครองต่อจากราชวงศ์หยวนของชาวมองโกล และพ่ายแพ้ให้กับราชวงศ์ชิงของชาวแมนจูในภายหลัง ราชวงศ์หมิงเป็นราชวงศ์ที่รุ่งเรืองในด้านวัฒนธรรมเป็นอย่างมาก ในยุคนี้มีการสำรวจทางทะเลอย่างกว้างขวาง ราชวงศ์หมิงในตอนต้น (1368 - 1464) ถือเป็นอาณาจักรที่ก้าวหน้าที่สุดในโลก ณ ช่วงเวลานั้น ราชวงศ์หมิงถือเป็นหนึ่งในยุคที่ถูกจัดโดยนักวิชาการชาวตะวันตกว่ามีการปกครองที่เป็นระบบและสังคมที่มีเสถียรภาพในประวัติศาสตร์มนุษย์ชาติก่อนที่จะล่มสลาย ราชวงศ์หมิงถือเป็นราชวงศ์ที่ปกครองประเทศจีนราชวงศ์สุดท้ายที่ปกครองโดยชาวฮั่น ปฐมจักรพรรดิต้าหมิง จูหยวนจาง หรือ จักรพรรดิหงหวู่ หลังจากที่ได้ทรงประกาศปลดแอกชาวฮั่นจากภายใต้การปกครองของราชวงศ์หยวนของชาวมองโกล ได้สถาปนาราชวงศ์หมิงขึ้น พระองค์ได้ทรงพยายามปฏิรูปการปกครองอาณาจักรเสียใหม่ ทรงพยายามสร้างระบบสังคมชุมชนชนบทแบบพึ่งพาตนเอง ปฏิรูประบบราชการ, กฎหมาย จักรพรรดิหงหวู่ได้สร้างระบบที่เป็นระเบียบที่ยืดหยุ่นเปลี่ยนแปลงได้ที่จะสามารถรองรับและสนับสนุนการทหารของราชวงศ์หมิงอย่างยั่งยืน ทำให้ด้านการทหารในช่วงนั้นราชวงศ์หมิงประสบความสำเร็จมีกองทัพภาคพื้นดินเกินกว่า 1 ล้านคนและกองทัพเรือมีอู่ต่อเรือที่หนานจิงเป็นอู่ต่อเรือที่ใหญ่ที่สุดในโลกในขณะนั้น พระองค์ยังได้ทรงตระหนักถึงการลดทอนอำนาจของเหล่าขันทีในราชสำนักCrawford, Robert.

ปักกิ่งและราชวงศ์หมิง · ราชวงศ์หมิงและอู๋ซี · ดูเพิ่มเติม »

หนานจิง

หนานจิง หรือรู้จักกันอีกชื่อว่า นานกิง เป็นเมืองหลวงของมณฑลเจียงซู สาธารณรัฐประชาชนจีน โดยหนานจิงเป็นหนึ่งในเมืองหลวงเก่าของจีน ปัจจุบันหนานจิงเป็นเมืองใหญ่อันดับสองในภาคตะวันออกของจีน รองจากช่างไห่ และหนานจิงเป็นเมืองหลวงของจีนคณะชาติสมัยปฏิวัติล้มล้างจักรพรรดิจีน ราชวงศ์ชิงหรือแมนจู หนานจิง ที่แปลว่านครหลวงใต้ เคยเป็นเมืองหลวงของหลายราชวงศ์ จนได้รับสมญานามว่า เมืองหลวงสิบแผ่นดิน และยังเป็น 1 ใน 6 นครโบราณ อันได้แก่ ปักกิ่ง หนานจิง ซีอาน ลั่วหยาง หางโจว และ ไคเฟิง เป็นเมืองหลวงครั้งสุดท้ายระหว่างปี พ.ศ. 2470 ถึง พ.ศ. 2492 โดยรัฐบาลสาธารณรัฐจีน ซึ่งมีผู้นำขณะนั้น คือ นายพลเจียงไคเช็ค หลังสถาปนาเป็นสาธารณรัฐประชาชนจีนในปี พ.ศ. 2492 รัฐบาลใหม่จึงได้ย้ายเมืองหลวงกลับมายังปักกิ่งดังเดิม บรรพบุรุษชาวหนานจิง จำนวนมากอพยพมาจากปักกิ่งตั้งแต่สมัยราชวงศ์หมิง จึงมีส่วนทำให้ภาษาหนานจิงมีสำเนียงคล้ายภาษาจีนกลางที่ฟังเข้าใจได้ทั่วไป จนทำให้ปัจจุบันหนานจิงเป็นหนึ่งในเมืองที่มีนักศึกษาต่างชาติมากที่สุดในประเทศจีน แต่เนิ่นๆการพัฒนา ตั้งแต่ 3 ราชอาณาจักรระยะเวลาหนานจิงได้กลายเป็นศูนย์แห่งอุตสาหกรรมอุตสาหกรรมของหนานจิงราชวงศ์ถูกขยายเพิ่มเติมและเมืองกลายเป็นหนึ่งในเมืองที่เจริญมากที่สุดในจีน.

ปักกิ่งและหนานจิง · หนานจิงและอู๋ซี · ดูเพิ่มเติม »

ฮ่องกง

องกง (Hong Kong; 香港) มีชื่ออย่างเป็นทางการว่า เขตบริหารพิเศษฮ่องกงแห่งสาธารณรัฐประชาชนจีน (Hong Kong Special Administrative Region of the People's Republic of China) เป็นเขตปกครองตนเองริมฝั่งทางใต้ของประเทศจีน ในทางภูมิศาสตร์มีสามเหลี่ยมปากแม่น้ำจูเจียงและทะเลจีนใต้โอบรอบ ฮ่องกงเป็นที่รู้จักในสกายไลน์ (skyline) ขยายและท่าเรือธรรมชาติลึก มีเนื้อที่ 1,104 กม.

ปักกิ่งและฮ่องกง · อู๋ซีและฮ่องกง · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศจีน

ประเทศจีน มีชื่ออย่างเป็นทางการว่า สาธารณรัฐประชาชนจีน (People's Republic of China (PRC)) เป็นรัฐเอกราชในเอเชียตะวันออก เป็นประเทศที่มีประชากรมากที่สุดในโลก กว่า 1,300 ล้านคน เป็นรัฐพรรคการเมืองเดียวปกครองโดยพรรคคอมมิวนิสต์จีน มีเมืองหลวงอยู่ที่กรุงปักกิ่ง ประเทศจีนแบ่งการปกครองออกเป็น 22 มณฑล (ไม่รวมพื้นที่พิพาทไต้หวัน) 5 เขตปกครองตนเอง 4 เทศบาลนคร (ปักกิ่ง เทียนจิน เซี่ยงไฮ้ และฉงชิ่ง) และ 2 เขตบริหารพิเศษ ได้แก่ ฮ่องกงและมาเก๊า ประเทศจีนมีพื้นที่ 9.6 ล้านตารางกิโลเมตร นับเป็นประเทศที่มีพื้นที่ทั้งหมดใหญ่ที่สุดในโลกเป็นอันดับ 3 หรือ 4 แล้วแต่วิธีการวัด ลักษณะภูมิประเทศของจีนมีความหลากหลาย ตั้งแต่ป่าสเต็ปป์และทะเลทรายในพื้นที่แห้งแล้งทางตอนเหนือของประเทศติดกับประเทศมองโกเลียและไซบีเรียของรัสเซีย และป่าฝนกึ่งโซนร้อนในพื้นที่ชื้นทางใต้ซึ่งติดกับเวียดนาม ลาว และพม่า ส่วนภูมิประเทศทางตะวันตกนั้นขรุขระและเป็นที่สูง โดยมีเทือกเขาหิมาลัยและเทือกเขาเทียนชานกั้นเป็นพรมแดนตามธรรมชาติกับประเทศอินเดีย เนปาล และเอเชียกลาง ในทางตรงกันข้าม แนวชายฝั่งด้านตะวันออกของจีนแผ่นดินใหญ่นั้นเป็นที่ราบต่ำ และมีแนวชายฝั่งยาว 14,500 กิโลเมตร (ยาวที่สุดเป็นอันดับที่ 11 ของโลก) ซึ่งติดต่อกับทะเลจีนใต้ทางใต้ และทะเลจีนตะวันออกทางตะวันออก นอกจากนี้ยังมีประเทศที่เป็นเกาะอยู่ใกล้เคียง ได้แก่ เกาหลี และญี่ปุ่น อารยธรรมจีนโบราณ ซึ่งถือว่าเป็นหนึ่งอารยธรรมยุคแรกเริ่มของโลก เจริญรุ่งเรืองในลุ่มแม่น้ำเหลืองอันอุดมสมบูรณ์ ซึ่งไหลผ่านที่ราบลุ่มจีนเหนือ จีนยึดระบบการเมืองแบบราชาธิปไตยหลายสหัสวรรษ จีนรวมกันเป็นปึกแผ่นครั้งแรกในสมัยราชวงศ์ฉินเมื่อ 221 ปีก่อนคริสตกาล ส่วนราชวงศ์สุดท้าย ราชวงศ์ชิง สิ้นสุดลงในปี..

ประเทศจีนและปักกิ่ง · ประเทศจีนและอู๋ซี · ดูเพิ่มเติม »

เมือง

มือง อังกฤษเขียนว่า (Mueang) ลาวเขียนว่า (ເມືອງ) เวียดนามเขียนว่า (Mường หรือ Mong) ไทใหญ่รัฐฉานเขียนว่า (မိူင်း หรือ mə́ŋ) ก่อนยุคสมัยใหม่ เป็นเมืองกึ่งอิสระ ที่อยู่กระจายในภูมิภาคอินโดจีน เนื้อที่หรือพื้นที่ของแต่ละเมืองจะติดกัน ซึ่งปัจจุบันนี้คือพื้นที่ตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศอินเดีย ตอนใต้ของประเทศจีน พื้นที่ทั้งหมดของประเทศไทย ลาว ตอนเหนือของพม่า บางส่วนของกัมพูชา บางส่วนของเวียดนาม ตอนใต้ของมณฑลยูนนาน พื้นที่ตะวันตกของของมณฑลกวางสี และแคว้นอัสสัม เมือง เป็น คำไทยดั้งเดิม เมืองในยุคก่อนสมัยใหม่นั้นจะมีกำแพงป้องกันข้าศึก และมีผู้ปกครอง เรียกว่า เจ้าเมือง อย่างน้อยก็เป็นเจ้าเมืองระดับ ขุน หรือพ่อขุน ซึ่งจะปกครองหมู่บ้านที่ขึ้นตรงต่อเมืองนั้นด้วย รูปแบบที่เป็นศูนย์กลางขององค์กรทางการเมืองบริหารจัดการรัฐในลำดับการปกครองแบบศูนย์รวมอำนาจ เช่น ผู้ปกครองเมืองขนาดเล็กจะอยู่ใต้การปกครองของผู้ปกครองเมืองใกล้กันที่มีอำนาจมากกว่าซึ่งก็จะอยู่ใต้อำนาจของพระมหากษัตริย์ส่วนกลางหรือผู้นำอื่นๆ เมืองที่มีอำนาจกว่านั้น (ที่รู้กันโดยทั่วไป คือ เชียง หรือ เวียง หรือ นคร หรือ กรุง เช่น กรุงเทพ มหานคร) บางยุคบางสมัยเจ้าเมืองลูกหลวงพยายามประกาศอิสรภาพจากเจ้าเมืองที่ตนเป็นเมืองขึ้น และน่าจะเป็นช่วงเวลาที่ชื่นบานในการเป็นอิสระแบบเป็นบ้านพี่เมืองน้อง ทั้งเมืองขนาดใหญ่และเมืองขนาดเล็กมักจะยกระดับความจงรักภักดี และส่งส่วยให้แก่มากกว่าหนึ่งแก่ผู้ครองเมืองที่อยู่ใกล้เคียง แต่ยังส่งให้แก่จักรวรรดิจีนซึ่งมีอำนาจมากที่สุดในยุคนั้นเป็นประจำ ซึ่งเป็นช่วงยุคต้นของราชวงศ์หมิงของจีน ต่อมา ฮ่องเต้ กุบไล ข่าน เอาชนะราชอาณาจักรไบ แห่งต้าหลี่ ปี..

ปักกิ่งและเมือง · อู๋ซีและเมือง · ดูเพิ่มเติม »

เหรินหมินปี้

หรินหมินปี้ (จีนตัวย่อ: 人民币; จีนตัวเต็ม: 人民幣; พินอิน: rénmínbì; ตามตัวอักษรหมายถึง "เงินตราของประชาชน") เป็นเงินตราอย่างเป็นทางการของสาธารณรัฐประชาชนจีน ออกโดย ธนาคารประชาชนแห่งชาติจีน (People's Bank of China) ซึ่งเป็นหน่วยงานทางด้านเงินตราของ จีนแผ่นดินใหญ่ ตัวย่อใน ISO 4217 คือ CNY ภาพด้านหน้าของธนบัตรใบละ 1 หยวน ภาพด้านหน้าของธนบัตรใบละ 5 เจียว.

ปักกิ่งและเหรินหมินปี้ · อู๋ซีและเหรินหมินปี้ · ดูเพิ่มเติม »

เซี่ยงไฮ้

ซี่ยงไฮ้ หรือ ช่างไห่ (จีน: 上海, พินอิน: Shànghǎi) เป็นเมืองที่ใหญ่ที่สุดของประเทศจีน ตั้งอยู่บริเวณปากแม่น้ำแยงซี เป็นเขตการปกครองระดับเขตการปกครองพิเศษแบบเทศบาลนคร ซึ่งมีสถานะเทียบเท่ากับมณฑล พื้นที่อยู่ในมณฑลเจ้อเจียงแต่ไม่ได้ขึ้นกับมณฑล การปกครองขึ้นตรงกับรัฐบาลกลาง มีท่าเรือที่มีจำนวนเรือคับคั่งที่สุดในโลก ตามมาด้วยสิงคโปร์และรอตเทอร์ดาม เซี่ยงไฮ้ในอดีตเป็นเพียงหมู่บ้านชาวประมง แต่ในปัจจุบันเซี่ยงไฮ้กลายเป็นเมืองที่มีคนอาศัยอยู่อย่างหนาแน่นมากที่สุดในประเทศจีน เต็มไปด้วยร้านค้า สิ่งก่อสร้าง ถนนเต็มไปด้วยรถ จักรยาน และผู้คน สิ่งที่พบเห็นได้มากในเมืองนี้จนอาจถือได้ว่าเป็นสัญลักษณ์ของเมืองคือต้นเมเปิลที่มีอายุเกือบร้อยปี ซึ่งปลูกโดยในสมัยที่ฝรั่งเศสเข้ามายึดครองเซี่ยงไฮ้.

ปักกิ่งและเซี่ยงไฮ้ · อู๋ซีและเซี่ยงไฮ้ · ดูเพิ่มเติม »

รายการด้านบนตอบคำถามต่อไปนี้

การเปรียบเทียบระหว่าง ปักกิ่งและอู๋ซี

ปักกิ่ง มี 49 ความสัมพันธ์ขณะที่ อู๋ซี มี 56 ขณะที่พวกเขามีเหมือนกัน 12, ดัชนี Jaccard คือ 11.43% = 12 / (49 + 56)

การอ้างอิง

บทความนี้แสดงความสัมพันธ์ระหว่าง ปักกิ่งและอู๋ซี หากต้องการเข้าถึงบทความแต่ละบทความที่ได้รับการรวบรวมข้อมูลโปรดไปที่:

Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »