โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ดาวน์โหลด
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

ปลาคาร์ดินัลและปลานีออน

ทางลัด: ความแตกต่างความคล้ายคลึงกันค่าสัมประสิทธิ์การเปรียบเทียบ Jaccardการอ้างอิง

ความแตกต่างระหว่าง ปลาคาร์ดินัลและปลานีออน

ปลาคาร์ดินัล vs. ปลานีออน

ปลาคาร์ดินัล หรือ ปลาคาร์ดินัลเตตร้า หรือ ปลานีออนแดง (อังกฤษ: Cardinal, Red neon; ชื่อวิทยาศาสตร์: Paracheirodon axelrodi) เป็นปลาน้ำจืดในวงศ์ปลาคาราซินของอันดับปลาคาราซิน มันเป็นสัตว์ประจำถิ่นทางเหนือของแม่น้ำโอริโนโคและแม่น้ำนิโกรของอเมริกาใต้ เมื่อโตเต็มที่จะยาวประมาณ 3-5 เซนติเมตร ลักษณะของปลาคาร์ดินัลจะมีเส้นเหลือบสีน้ำเงินสดใสอันลักษณะประจำปลาในสกุล Paracheirodon ซึ่งเป็นปลาที่มีเส้นแบ่งด้านข้าง ร่างกายส่วนร่างเส้นนี้จะเป็นสีแดงสดดังนั้นจึงได้ชื่อว่า คาร์ดินัลเตตร้า คาร์ดินัลมองดูคล้ายญาติสนิทคือ ปลานีออนเตตร้า ซึ่งมักทำให้สับสนกันเป็นประจำ อย่างไรก็ตามสีแดงของปลานีออนจะมีแค่ครึ่งหนึ่งของลำตัวและเส้นสีน้ำเงินจะเปล่งประกายน้อยกว่า ลักษณะสะท้อนแสงของปลาชนิดนี้และปลานีออนเป็นสีทางโครงสร้างเกิดจากการสะท้อนแสงภายในผลึกguanineซึ่งพัฒนามาจากเซลล์พิเศษที่เรียกว่าiridocytesในชั้นใต้ผิวหนัง สีน้ำเงินที่มองเห็นนั้นจะมีการเปลี่ยนแปลงได้ขึ้นกับมุมที่มองถ้ามองจากล่างขึ้นบนกลายเป็นสีน้ำเงินเข้มจนกระทั่งเป็นสีคราม อย่างไรก็ตามถ้าเปลี่ยนมามองจากข้างบนตัวปลาสีก็จะกลายเป็นสีเขียว ปลาคาร์ดินัลเป็นปลาตู้ที่คนนิยมอย่างมากแต่ว่าแพร่หลายน้อยกว่าปลานีออนเพราะว่าจนเมื่อไม่นานมานี้มันเป็นการยากที่จะเพาะพันธุ์ในที่เลี้ยง อย่างไรก็ตาม ปัจจุบัน นักเพาะพันธุ์หลายรายก็สามารถที่จะเพาะพันธุ์ในที่เลี้ยงได้แล้ว แต่ก็มีประเด็นที่น่าสนใจอย่างหนึ่งในการตัดสินใจว่าเราควรซื้อปลาคาร์ดินัลที่เกิดจากการเพาะเลี้ยงหรือปลาที่ครีบขาด ๆ จากการจับจากธรรมชาติ โดยปกตินักเลี้ยงปลามักซื้อปลาเพาะแต่นักวิชาการชาวบราซิลเชื่อว่านักสะสมปลาควรที่จะสนับสนุนการจับปลาคาร์ดินัลของลุ่มน้ำอเมซอนต่อไป เพราะนับตั้งแต่คนหลายพันในท้องถิ่นถูกจ้างให้จับปลาเพื่ออุตสาหกรรมปลาตู้ มันมีข้อบ่งชี้ว่าถ้าชาวประมงเหล่านั้นสูญเสียวิถีชีวิตของพวกเขาในการจับปลาคาร์ดินัลและปลาเขตร้อนอื่นๆ พวกเขาอาจกลับไปตั้งหน้าตั้งตาตัดไม้ทำลายป่าต่อ ปลาเป็นสัตว์จำพวกที่รอบปีมีผลกับมันด้วยและช่วงชีวิตของมันจะมีเพียงแค่ปีเดียวในธรรมชาติ แต่ในที่เลี้ยงมันจะมีชีวิตอยู่ได้ถึงเจ็ดปี อุตสาหกรรมทั้งหมดที่บาร์เซลอสบนฝั่งของแม่น้ำริโอเนรโกของบราซิลที่ซึ่งชาวบ้านจับปลาสำหรับอุตสาหกรรมปลาตู้ การจับปลาคาร์ดินัลนั้นถูกประเมิณราคาไว้สูงมากโดยชาวบ้านที่สวมบทบาทเป็นผู้พิทักษ์สิ่งแวดล้อม มันอาจกล่าวได้ว่าพวกชาวบ้านจะไม่เข้าไปยุ่งเกี่ยวกับกิจกรรมที่มีความเป็นไปได้ที่จะทำลายธรรมชาติ เช่นการตัดไม้ทำลายป่าเพราะว่าพวกเขาสามารถเลี้ยงชีพอยู่ได้ด้วยการประมง บางทีระหว่างที่พวกเขาจับจากแหล่งกำเนิด คาร์ดินัลมีแนวโน้มว่าจะเป็นสิ่งที่ต้องใช้ความละเอียดอ่อนในการจับ ในธรรมชาติปลาเหล่านี้อาศัยอยู่ในน้ำอ่อนสุดๆ มีความเป็นกรดแต่ดูเหมือนมันก็จะทนทานกับน้ำที่มีภาวะกระด้าง เป็นด่าง สิ่งที่ต้องกังวลที่สุดก็คือน้ำในตู้ที่มีมลพิษ(รวมทั้งน้ำที่มีไนเตรทในระดับสูง) พวกมันพอใจน้ำที่อุ่นสักหน่อย และยอมรับกับอาหารแห้งส่วนใหญ่ได้เร็วมาก ปลาคาร์ดินัลเพาะมีแนวโน้มที่จะปรับตัวเข้ากับน้ำกระด้างได้ดีกว่าปลาคาร์ดินัลที่จับจากธรรมชาติ P. axelrodi มักถูกเรียกว่าปลานีออนแดงอีกด้วย Cheirodon axelrodi (ชื่อดั้งเดิม)และ Hyphessobrycon cardinalisเป็นชื่อเรียกที่เลิกใช้ไปแล้ว ชื่อสามัญของมัน(คาร์ดินัลเตตร้า)มาจากการที่สีแดงแวววาวของมันชวนให้นึกถึงเสื้อคลุมยาวของพระคาร์ดินัลส่วนชื่อรองของมันตั้งให้เป็นเกียรติแก่นักสัตววิทยา Herbert R. Axelrod. ปลานีออน หรือ ปลานีออนเตตร้า (อังกฤษ: Neon, Neon tetra; ชื่อวิทยาศาสตร์: Paracheirodon innesi) เป็นปลาน้ำจืดขนาดเล็กชนิดหนึ่ง ในวงศ์ปลาคาราซิน.

ความคล้ายคลึงกันระหว่าง ปลาคาร์ดินัลและปลานีออน

ปลาคาร์ดินัลและปลานีออน มี 12 สิ่งที่เหมือนกัน (ใน ยูเนี่ยนพีเดีย): การตั้งชื่อทวินามภาษาอังกฤษวงศ์ปลาคาราซินสัตว์สัตว์มีแกนสันหลังสีน้ำเงินสีแดงอันดับปลาคาราซินองศาเซลเซียสปลาที่มีก้านครีบปลานีออน (สกุล)ป่าดิบชื้น

การตั้งชื่อทวินาม

ระบบการเรียกชื่อสิ่งมีชีวิตแบบทวินาม (Binomial nomenclature) เป็นระบบการเรียกชื่อสิ่งมีชีวิตแต่ละสปีชีส์ที่ใช้อยู่ในปัจจุบัน ชื่อแต่ละชื่อในระบบนี้เรียกว่า ชื่อทวินาม (Binomial name) หรือ ชื่อวิทยาศาสตร์ (Scientific name) คือชื่อที่ใช้เรียกแทนสิ่งมีชีวิตในสปีชีส์ต่าง ๆ อย่างเป็นทางการ ชื่อทวินามจะเป็นภาษาละติน ประกอบด้วยคำศัพท์ 2 คำ คือ สกุล และ สปีชีส์ ซึ่งขึ้นอยู่กับสิ่งมีชีวิตที่ต้องการระบุ โดยรายละเอียดปลีกย่อยอาจแตกต่างกันออกไปบ้าง.

การตั้งชื่อทวินามและปลาคาร์ดินัล · การตั้งชื่อทวินามและปลานีออน · ดูเพิ่มเติม »

ภาษาอังกฤษ

ษาอังกฤษ หรือ ภาษาอังกฤษใหม่ เป็นภาษาในกลุ่มภาษาเจอร์แมนิกตะวันตกที่ใช้ครั้งแรกในอังกฤษสมัยต้นยุคกลาง และปัจจุบันเป็นภาษาที่ใช้กันแพร่หลายที่สุดในโลก ประชากรส่วนใหญ่ในหลายประเทศ รวมทั้ง สหราชอาณาจักร สหรัฐอเมริกา แคนาดา ออสเตรเลีย ไอร์แลนด์ นิวซีแลนด์ และประเทศในแคริบเบียน พูดภาษาอังกฤษเป็นภาษาที่หนึ่ง ภาษาอังกฤษเป็นภาษาแม่ที่มีผู้พูดมากที่สุดเป็นอันดับสามของโลก รองจากภาษาจีนกลางและภาษาสเปน มักมีผู้เรียนภาษาอังกฤษเป็นภาษาที่สองอย่างกว้างขวาง และภาษาอังกฤษเป็นภาษาราชการของสหภาพยุโรป หลายประเทศเครือจักรภพแห่งชาติ และสหประชาชาติ ตลอดจนองค์การระดับโลกหลายองค์การ ภาษาอังกฤษเจริญขึ้นในราชอาณาจักรแองโกล-แซ็กซอนอังกฤษ และบริเวณสกอตแลนด์ตะวันออกเฉียงใต้ในปัจจุบัน หลังอิทธิพลอย่างกว้างขวางของบริเตนใหญ่และสหราชอาณาจักรตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 17 จนถึงกลางคริสต์ศตวรรษที่ 20 ผ่านจักรวรรดิอังกฤษ และรวมสหรัฐอเมริกาด้วยตั้งแต่กลางคริสต์ศตวรรษที่ 20 ภาษาอังกฤษได้แพร่หลายทั่วโลก กลายเป็นภาษาชั้นนำของวจนิพนธ์ระหว่างประเทศและเป็นภาษากลางในหลายภูมิภาค ในประวัติศาสตร์ ภาษาอังกฤษกำเนิดจากการรวมภาษาถิ่นหลายภาษาที่สัมพันธ์อย่างใกล้ชิด ซึ่งปัจจุบันเรียกรวมว่า ภาษาอังกฤษเก่า ซึ่งผู้ตั้งนิคมนำมายังฝั่งตะวันออกของบริเตนใหญ่เมื่อคริสต์ศตวรรษที่ 5 คำในภาษาอังกฤษจำนวนมากสร้างขึ้นบนพื้นฐานรากศัพท์ภาษาละติน เพราะภาษาละตินบางรูปแบบเป็นภาษากลางของคริสตจักรและชีวิตปัญญาชนยุโรปDaniel Weissbort (2006).

ปลาคาร์ดินัลและภาษาอังกฤษ · ปลานีออนและภาษาอังกฤษ · ดูเพิ่มเติม »

วงศ์ปลาคาราซิน

วงศ์ปลาคาราซิน (Characins, Tetras) หรือ วงศ์ปลาตะเพียนกินเนื้อ เป็นวงศ์ปลาน้ำจืดวงศ์หนึ่งที่เดิมอยู่จัดอยู่ในวงศ์เดียวกับวงศ์ปลาตะเพียน (Cyprinidae) แต่ว่าปลาในวงศ์นี้เป็นปลากินเนื้อเป็นอาหาร หลายสกุล หลายชนิด ใช้ชื่อวงศ์ว่า Characidae โดยถือเป็นวงศ์หลักของปลาในอันดับปลาคาราซิน (Characiformes) สามารถแบ่งออกเป็นวงศ์ย่อยได้อีกหลายวงศ์ มีหลายร้อยชนิด นิยมอยู่รวมเป็นฝูง โดยปลาที่มีขนาดเล็ก เช่น ปลานีออน (Paracheirodon innesi) มักจะมีชื่อสามัญในภาษาอังกฤษ เรียกรวม ๆ กันว่า "ปลาเตตร้า" เป็นต้น พบกระจายอยู่ทั่วไปทั้งทวีปอเมริกาเหนือ, อเมริกากลาง และทวีปอเมริกาใต้ เป็นวงศ์ปลาที่มีความสำคัญทางเศรษฐกิจคือ ใช้บริโภค ซึ่งปลาที่รู้จักกันในแง่นี้ก็คือ ปลาคู้แดง (Piaractus brachypomus) เป็นต้น และนิยมเลี้ยงเป็นปลาตู้สวยงาม.

ปลาคาร์ดินัลและวงศ์ปลาคาราซิน · ปลานีออนและวงศ์ปลาคาราซิน · ดูเพิ่มเติม »

สัตว์

ัตว์ (Animal) เป็นสิ่งมีชีวิตยูแคริโอตหลายเซลล์ในอาณาจักร Animalia (หรือเรียก เมตาซัว) แผนกาย (body plan) ของพวกมันสุดท้ายคงที่เมื่อพัฒนา แม้สัตว์บางชนิดมีกระบวนการการเปลี่ยนสัณฐานภายหลังในช่วงชีวิต สัตว์ส่วนใหญ่เคลื่อนที่ได้ สัตว์ทุกชนิดต้องกินสิ่งมีชีวิตอื่นหรือผลิตภัณฑ์ของสิ่งมีชีวิตเพื่อการดำรงชีพ (สิ่งมีชีวิตสร้างอาหารเองไม่ได้) ไฟลัมสัตว์ที่รู้จักกันดีที่สุดปรากฏในบันทึกฟอสซิลเป็นสปีชีส์ภาคพื้นสมุทรระหว่างการระเบิดแคมเบรียน (Cambrian explosion) ประมาณ 542 ล้านปีก่อน สัตว์แบ่งเป็นกลุ่มย่อยหลายกลุ่ม บางกลุ่ม เช่น สัตว์มีกระดูกสันหลัง (นก สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม สัตว์สะเทินน้ำสะเทินบก สัตว์เลื้อยคลาน ปลา) มอลลัสกา (หอยกาบ หอยนางรม ปลาหมึก หมึกสาย หอยทาก) สัตว์ขาปล้อง (กิ้งกือ ตะขาบ แมลง แมงมุม แมงป่อง ปู ลอบสเตอร์ กุ้ง) สัตว์พวกหนอนปล้อง (ไส้เดือนดิน ปลิง) ฟองน้ำ และแมงกะพรุน.

ปลาคาร์ดินัลและสัตว์ · ปลานีออนและสัตว์ · ดูเพิ่มเติม »

สัตว์มีแกนสันหลัง

ัตว์มีแกนสันหลัง คือสัตว์ในไฟลัมคอร์ดาตา พวกมันจะมีแกนสันหลัง ใยประสาทส่วนหลังกลวง ช่องคอหอย หลอดเส้นประสาทกลวงส่วนหลัง และหางหลังทวารหนัก ในช่วงหนึ่งของวงจรชีวิต สัตว์มีแกนสันหลังเป็นพวกดิวเทอโรสโตม กล่าวคือในช่วงระยะตัวอ่อน ทวารหนักเกิดก่อนปาก และเป็นซีโลเมตที่มีสมมาตรด้านข้าง ในกรณีของสัตว์มีแกนสันหลังที่มีกระดูกสันหลัง แกนสันหลังจะถูกแทนที่โดยกระดูกสันหลังในช่วงเจริญเติบโต และพวกมันอาจจะมีปล้องตามร่างกาย ในอนุกรมวิธาน ตัวไฟลัมเองประกอบไปด้วยไฟลัมย่อยเวอร์เตบราตา (ซึ่งประกอบด้วย ปลา สัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำ สัตว์เลื้อยคลาน สัตว์ปีก และสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม) ทูนิคาตา (ซึ่งรวมทั้งซาล์ปและเพรียงหัวหอม) และเซฟาโลคอร์ดาตา ประกอบด้วยแหลนทะเล และยังรวมถึงบางกลุ่มที่สูญพันธุ์ไปแล้ว บางครั้งกลุ่มสัตว์มีกระดูกสันหลังถูกจัดรวมอยู่กับกลุ่มสัตว์มีกระโหลกศีรษะ สัตว์มีแกนสันหลังมีมากกว่า 65,000 สปีชีส์ที่ยังมีชีวิตอยู่ กว่าครึ่งเป็นพวกปลากระดูกแข็ง วาฬและเหยี่ยวเพเรกริน สัตว์ที่มีขนาดใหญ่ที่สุดและเคลื่อนที่เร็วที่สุดตามลำดับ เป็นสัตว์มีแกนสันหลังเช่นเดียวกันกับมนุษย์ ซากดึกดำบรรพ์ของสัตว์มีแกนสันหลังยุคแรกๆ มีอายุย้อนไปถึงในช่วงการระเบิดยุคแคมเบรียน.

ปลาคาร์ดินัลและสัตว์มีแกนสันหลัง · ปลานีออนและสัตว์มีแกนสันหลัง · ดูเพิ่มเติม »

สีน้ำเงิน

ีน้ำเงิน เป็นหนึ่งในแม่สี ทั้งแม่สีทางแสง และทางวัตถุธาตุ เป็นแม่สีที่มีความยาวคลื่นต่ำที่สุด แสงสีน้ำเงินมีบริเวณช่วงคลื่นระหว่าง 440-490 นาโนเมตร เป็นสีที่ใกล้เคียงกับสีฟ้าและสีกรมท่า และถือเป็น 1 ในแม่สีร่วมกับ สีแดง และสีเขียว สีน้ำเงิน เป็นสีในกลุ่มสีโทนเย็น สีน้ำเงินเป็นสีที่สร้างความสุขุมเยือกเย็น หนักแน่นและละเอียดรอบคอบ ใช้ในการสร้างแรงบันดาลใจและการแสดงออกทางศิลปะได้ดีอีกด้วย ขณะที่สีฟ้าให้ความรู้สึกแบบเดียวกับสีเขียว คือ สบายตา ให้ความรู้สึกเป็นอิสระ ปลอดโปร่ง โล่งใจ ลดความร้อนรุ่มกระวนกระวายใจลงได้.

ปลาคาร์ดินัลและสีน้ำเงิน · ปลานีออนและสีน้ำเงิน · ดูเพิ่มเติม »

สีแดง

ีแดง คือสีมีความถี่ของแสงที่ต่ำที่สุด ที่ตามนุษย์สามารถแยกแยะได้ แสงสีแดงมีบริเวณช่วงคลื่นระหว่าง 630-760 นาโนเมตร สีแดงเป็นสีอย่างสีเลือดหรือสีชาด, ใช้ประกอบสิ่งต่าง ๆ บางอย่างโดยอนุโลมตามลักษณะสี เป็นชื่อเรียกเฉพาะ เช่น มดแดง ผ้าแดง จัดเป็น 1 ในแม่สี 3 สี ร่วมกับสีเขียว, สีน้ำเงิน.

ปลาคาร์ดินัลและสีแดง · ปลานีออนและสีแดง · ดูเพิ่มเติม »

อันดับปลาคาราซิน

อันดับปลาคาราซิน (Characins) หรือ อันดับปลาตะเพียนกินเนื้อ เป็นอันดับปลาน้ำจืดวงศ์หนึ่งที่พบในทวีปอเมริกาเหนือจรดถึงทวีปอเมริกาใต้และทวีปแอฟริกา โดยใช้ชื่ออันดับว่า Characiformes สามารถแบ่งย่อยออกได้เป็นหลายวงศ์ โดยมี วงศ์ปลาคาราซิน (Characidae) เป็นวงศ์หลักที่มีจำนวนสมาชิกมาก หลายชนิดเป็นปลาที่รู้จักดี เช่น ปลาปิรันย่า, ปลาเปคู หรือ ปลาขนาดเล็ก ที่เป็นปลาสวยงาม เช่น ปลานีออน เป็นต้น ซึ่งปลาในขนาดเล็กในอันดับนี้มักถูกเรียกชื่อสามัญในภาษาอังกฤษว่า "เตตร้า" (Tetra) จุดเด่นของปลาในอันดับนี้ คือ มีครีบไขมัน ซึ่งเป็นครีบขนาดเล็กที่เป็นร่องรอยเหลือจากวิวัฒนาการในอดีตหลงเหลืออยู่ ที่ปัจจุบันนี้ไม่ได้ใช้งานแล้ว ปรากฏอยู่ระหว่างครีบหลังก่อนถึงต้นครีบหาง วงศ์ในอันดับปลาคาราซินมีตามนี้.

ปลาคาร์ดินัลและอันดับปลาคาราซิน · ปลานีออนและอันดับปลาคาราซิน · ดูเพิ่มเติม »

องศาเซลเซียส

องศาเซลเซียส (สัญลักษณ์ °C) หรือที่เคยเรียกว่า องศาเซนติเกรด (degree centigrade) เป็นหน่วยวัดอุณหภูมิหน่วยหนึ่งในระบบเอสไอ กำหนดให้จุดเยือกแข็งของน้ำคือ 0 °C และจุดเดือดคือ 100 °C โดยตั้งชื่อเพื่อเป็นเกียรติแก่แอนเดอร์ เซลเซียส ผู้ซึ่งสร้างระบบใกล้เคียงกับปัจจุบัน ในปัจจุบันองศาเซลเซียสใช้กับแพร่หลายทั่วโลกในชีวิตประจำวัน จะยกเว้นก็มีสหรัฐอเมริกาและประเทศจาไมกาเท่านั้นที่นิยมใช้หน่วยองศาฟาเรนไฮต์ แต่ในประเทศดังกล่าว องศาเซลเซียสและเคลวินก็ใช้มากในด้านวิทยาศาสตร.

ปลาคาร์ดินัลและองศาเซลเซียส · ปลานีออนและองศาเซลเซียส · ดูเพิ่มเติม »

ปลาที่มีก้านครีบ

ปลาที่มีก้านครีบ (Ray-finned fishes) เป็นชั้นย่อยของปลากระดูกแข็ง (Osteichthyes) ชั้นหนึ่ง ใช้ชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Actinopterygii (/แอก-ติ-โน-เทอ-ริ-กิ-ไอ/) เป็นปลาที่เคลื่อนไหวโดยอาศัยครีบและกล้ามเนื้อลำตัวเป็นสำคัญ ซึ่งแบ่งออกได้เป็น ก้านครีบแข็ง และก้านครีบอ่อน ซึ่งปลาส่วนใหญ่ในปัจจุบัน จะถูกจัดอยู่ในชั้นนี้ บรรพบุรุษของปลาในชั้นนี้จะมีขนาดเล็ก มีเกราะหุ้มตัวหนา มีปอดและเหงือก ชื่อ Andreolepis hedei โดยพบเป็นฟอสซิลอยู่ในยุคปลายซิลลูเรียนเมื่อกว่า 420 ล้านปีก่อนที่รัสเซีย, สวีเดน และเอสโตเนีย ปลาชั้นนี้มีการวิวัฒนาการอยู่ 3 ขั้นตอน คือ.

ปลาคาร์ดินัลและปลาที่มีก้านครีบ · ปลาที่มีก้านครีบและปลานีออน · ดูเพิ่มเติม »

ปลานีออน (สกุล)

ปลานีออน หรือ ปลาคาร์ดินัล (Neon tetras, Cardinal tetras) เป็นสกุลของปลาน้ำจืดขนาดเล็กสกุลหนึ่ง จัดอยู่ในสกุล Paracheirodon (/พา-รา-คี-อาย-โร-ดอน/) ในวงศ์ปลาคาราซิน (Characidae) มีรูปร่างโดยรวมคล้ายกับปลาซิว ซึ่งอยู่ในวงศ์ปลาตะเพียน (Cyprinidae) และพบเฉพาะทวีปเอเชีย, ยุโรป และแอฟริกา คือ มีรูปทรงยาวรี คล้ายเมล็ดข้าวสาร ตากลมโต มีครีบบางใสยาวพอประมาณทั้งหมด 7 ครีบ (ครีบว่าย 2, ครีบท้อง 2, ครีบกระโดง 1, ครีบทวาร 1, ครีบหาง 1) ต่างกันตรงที่มีครีบไขมันขนาดเล็ก ที่ก่อนถึงโคนหาง อันเป็นลักษณะประจำของปลาในวงศ์นี้ ลำตัวมีเกล็ดขนาดเล็กมันวาวปกคลุมทั้งตัว และมีฟันขนาดเล็กในปาก จุดเด่น คือ มีเส้นยาวเรืองแสงสีเขียวอมฟ้าพาดตั้งแต่จมูกผ่านลูกตายาวไปสุดที่ครีบไขมัน อันเป็นเอกลักษณ์ประจำสกุล ซึ่งเกิดจจากการสะท้อนแสงภายในผลึกกัวไนน์ ซึ่งพัฒนามาจากเซลล์พิเศษที่เรียกว่า อิริโดไซเตส ในชั้นใต้ผิวหนัง อันเป็นที่มาของชื่อสามัญของปลาในสกุลนี้ มีขนาดความยาวเต็มที่ 3 เซนติเมตร เป็นปลาที่หากินบริเวณกลางน้ำและผิวน้ำ อาศัยอยู่รวมกันเป็นฝูงกินแมลงน้ำ, แพลงก์ตอนสัตว์ และครัสเตเชียนขนาดเล็กเป็นอาหาร มีความปราดเปรียวว่องไว กระจายพันธุ์ทั่วไปในแม่น้ำและลำคลองหลายสายของทวีปอเมริกาใต้ โดยเฉพาะแหล่งน้ำที่มีเงาไม้ริมน้ำหรือไม้น้ำขึ้นหนาแน่น และสภาพความเป็นกรดด่าง (pH) ของน้ำค่อนข้างเป็นกรด (ต่ำกว่า 7-6.5 ลงไป) สภาพน้ำเป็นสีชาหรือสีน้ำตาล ขยายพันธุ์ด้วยการที่ตัวผู้ไล่ตัวเมียเข้าไปผสมพันธุ์และวางไข่ไว้กับไม้น้ำ แบ่งออกได้เป็น 3 ชนิด นิยมเลี้ยงกันเป็นปลาสวยงาม โดยเฉพาะในตู้ไม้น้ำ สามารถเพาะขยายพันธุ์ได้ในตู้เลี้ยง.

ปลาคาร์ดินัลและปลานีออน (สกุล) · ปลานีออนและปลานีออน (สกุล) · ดูเพิ่มเติม »

ป่าดิบชื้น

ป่าดิบชื้นที่อุทยานแห่งชาติไทรโยค ป่าดิบชื้น หรือ ป่าฝนเขตร้อน (tropical rain forest) จัดเป็นป่าประเภทไม่ผลัดใบ เป็นป่าที่มีสีเขียวตลอดทั้งปี ต้นไม้จะไม่ผลัดใบในช่วงฤดูแล้ง เนื่องจากปริมาณน้ำฝนค่อนข้างมาก ต้นไม้ไม่มีความจำเป็นต้องผลัดใบเพื่อลดการคายน้ำ ป่าชนิดนี้มักจะเรียกกันว่าป่าดงดิบ เป็นป่าที่อยู่ในเขตมรสุมพัดผ่านเกือบตลอดทั้งปี ขึ้นอยู่ตามที่ราบลุ่ม ที่ราบเชิงเขาที่มีระดับความสูงตั้งแต่ 0-100 เมตรจากระดับน้ำทะเลปานกลาง (บางครั้งอาจพบอยู่สูงถึงระดับ 250 เมตร) และมีปริมาณน้ำฝนไม่น้อยกว่า 2,000 มม./ปี พบมากทางภาคใต้และแถบจังหวัดชายทะเลภาคตะวันออก เช่น จังหวัดระยอง จันทบุรี และตร.

ปลาคาร์ดินัลและป่าดิบชื้น · ปลานีออนและป่าดิบชื้น · ดูเพิ่มเติม »

รายการด้านบนตอบคำถามต่อไปนี้

การเปรียบเทียบระหว่าง ปลาคาร์ดินัลและปลานีออน

ปลาคาร์ดินัล มี 25 ความสัมพันธ์ขณะที่ ปลานีออน มี 33 ขณะที่พวกเขามีเหมือนกัน 12, ดัชนี Jaccard คือ 20.69% = 12 / (25 + 33)

การอ้างอิง

บทความนี้แสดงความสัมพันธ์ระหว่าง ปลาคาร์ดินัลและปลานีออน หากต้องการเข้าถึงบทความแต่ละบทความที่ได้รับการรวบรวมข้อมูลโปรดไปที่:

Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »