โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ติดตั้ง
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

ประเทศอิสราเอลและอาเรียล ชารอน

ทางลัด: ความแตกต่างความคล้ายคลึงกันค่าสัมประสิทธิ์การเปรียบเทียบ Jaccardการอ้างอิง

ความแตกต่างระหว่าง ประเทศอิสราเอลและอาเรียล ชารอน

ประเทศอิสราเอล vs. อาเรียล ชารอน

ประเทศอิสราเอล (Israel; יִשְׂרָאֵל; إِسْرَائِيل) มีชื่ออย่างเป็นทางการว่า รัฐอิสราเอล (State of Israel; מְדִינַת יִשְׂרָאֵל; دَوْلَة إِسْرَائِيل) เป็นประเทศในตะวันออกกลางบนชายฝั่งตะวันออกเฉียงใต้ของทะเลเมดิเตอร์เรเนียนและชายฝั่งเหนือของทะเลแดง มีเขตแดนทางบกติดต่อกับประเทศเลบานอนทางทิศเหนือ ประเทศซีเรียทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือ ประเทศจอร์แดนทางทิศตะวันออก ดินแดนเวสต์แบงก์และฉนวนกาซาของปาเลสไตน์ทางทิศตะวันออกและตะวันตกตามลำดับ และประเทศอียิปต์ทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ ประเทศอิสราเอลมีภูมิลักษณ์หลากหลายแม้มีพื้นที่ค่อนข้างเล็ก เทลอาวีฟเป็นศูนย์กลางเศรษฐกิจและเทคโนโลยีของประเทศ ส่วนที่ตั้งรัฐบาลและเมืองหลวงตามประกาศคือ เยรูซาเลม แม้อำนาจอธิปไตยของรัฐเหนือเยรูซาเลมยังไม่มีการรับรองในระดับนานาประเทศThe Jerusalem Law states that "Jerusalem, complete and united, is the capital of Israel" and the city serves as the seat of the government, home to the President's residence, government offices, supreme court, and parliament. อาเรียล ชารอน (Ariel Sharon, אֲרִיאֵל שָׁר‏וֹן, أرئيل شارون) เกิดเมื่อวันที่ 26 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2471 ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีอิสราเอล เป็นคนที่ 11 ต่อจากเอฮุด บารัค ตั้งแต่วันที่ 7 มีนาคม พ.ศ. 2544 จนถึงวันที่ 14 เมษายน พ.ศ. 2549 หลังจากที่เขาได้เกิดอาการภาวะเลือดคั่งในสมอง เมื่อวันที่ 4 มกราคม พ.ศ. 2549 โดยเอฮุด โอลเมิร์ตได้รักษาการแทน หลังจากอยู่ในสภาพผักเรื้อรังกว่าแปดปี อาเรียลถึงแก่อสัญกรรมจากภาวะไตวายเมื่อวันที่ 11 มกราคม พ.ศ. 2557 ด้วยอายุ 85 ปี.

ความคล้ายคลึงกันระหว่าง ประเทศอิสราเอลและอาเรียล ชารอน

ประเทศอิสราเอลและอาเรียล ชารอน มี 4 สิ่งที่เหมือนกัน (ใน ยูเนี่ยนพีเดีย): ศาสนายูดาห์สงครามยมคิปปูร์เบนจามิน เนทันยาฮูเทลอาวีฟ

ศาสนายูดาห์

นายูดาห์ราชบัณฑิตยสถาน, พจนานุกรมศัพท์ศาสนาสากล ฉบับราชบัณฑิตยสถาน, พิมพ์ครั้งที่ 3, ราชบัณฑิตยสถาน, 2552, หน้า 281 หรือศาสนายิว (Judaism; יהדות) คือวิถีชีวิต ปรัชญา และศาสนาประเภทเอกเทวนิยม ตามความเชื่อของชาวยิวLewis (1984), pp.10, 20 มีต้นกำเนิดในคัมภีร์ฮีบรู (หรือคัมภีร์ทานัค) รวมถึงคัมภีร์ชั้นหลัง เช่น คัมภีร์ทาลมุด ศาสนิกชนยูดาห์ถือว่าวิถีนี้ เป็นพันธสัญญาระหว่างพระยาห์เวห์กับวงศ์วานอิสราเอล ศาสนายูดาห์แบบรับบีถือว่าพระยาห์เวห์ได้ประทานธรรมบัญญัติที่เรียกว่าคัมภีร์โทราห์แก่โมเสสที่ภูเขาซีนาย ศาสนายูดาห์มีพระเจ้าสูงสุด คือ พระยาห์เวห์ โดยชาวยิวมีความเชื่อว่าพระเจ้าทรงสร้างโลกและมนุษย์คู่แรกเมื่อประมาณ 4,000 ปีก่อนคริสตกาล และถือว่าโมเสสคือศาสดา ให้กำเนิดศาสนายูดาห์เมื่อประมาณ 2,000 ปีก่อนคริสตกาล และยังมีบุคคลสำคัญ เช่น อับราฮัม อิสอัค ยาโคบ ยูดาห์ ผู้เผยพระวจนะท่านอื่น ๆ อีกจำนวนมาก ฯลฯ เป็นต้น ศาสนายูดาห์มีความเป็นมายาวนานกว่าสี่พันปี (นับจากสมัยอับราฮัม) จึงถือเป็นศาสนาเอกเทวนิยมที่เก่าแก่ที่สุดที่ยังดำรงอยู่ในปัจจุบัน ในคัมภีร์ทานัคที่เขียนขึ้นในยุคหลัง เช่น หนังสือเอสเธอร์ เรียกชาวฮีบรูหรือวงศ์วานอิสราเอลว่าชาวยิว คัมภีร์ของศาสนายูดาห์ยังมีอิทธิพลอย่างมากต่อกลุ่มศาสนาอับราฮัมยุคหลังด้วย คือ ศาสนาคริสต์ ศาสนาอิสลาม และศาสนาบาไฮ รวมทั้งมีอิทธิพลต่อจริยธรรมและระบบซีวิลลอว์ตะวันตกทั้งทางตรงและทางอ้อม ชาวยิวเป็นกลุ่มชาติพันธุ์ศาสนา ซึ่งหมายรวมทั้งที่เป็นชาวยิวโดยกำเนิดและและคนที่เข้ารีตยิว ในปี..

ประเทศอิสราเอลและศาสนายูดาห์ · ศาสนายูดาห์และอาเรียล ชารอน · ดูเพิ่มเติม »

สงครามยมคิปปูร์

งครามยมคิปปูร์, สงครามเราะมะฎอนหรือสงครามตุลาคม (Yom Kippur War, Ramadan War, หรือ October War; หรือ מלחמת יום כיפור) เป็นสงครามรบกันระหว่างแนวร่วมรัฐอาหรับซึ่งมีประเทศอียิปต์และซีเรียเป็นผู้นำต่ออิสราเอลตั้งแต่วันที่ 6 ถึง 25 ตุลาคม 2516 การสู้รบส่วนใหญ่เกิดในคาบสมุทรไซนายและที่ราบสูงโกลัน ดินแดนซึ่งอิสราเอลยึดครองตั้งแต่สงครามหกวันเมื่อปี 2510 ประธานาธิบดีอียิปต์ อันวัร อัสซาดาต ยังต้องการเปิดคลองสุเอซอีกครั้ง ทั้งสองประเทศมิได้วางแผนเจาะจงทำลายอิสราเอล แต่ผู้นำอิสราเอลไม่อาจมั่นใจได้ สงครามเริ่มต้นเมื่อแนวร่วมอาหรับเปิดฉากจู่โจมร่วมต่อที่ตั้งของอิสราเอลในดินแดนที่อิสราเอลยึดครองในวันยมคิปปูร์ (Yom Kippur) ซึ่งเป็นวันศักดิ์สิทธิ์ที่สุดในศาสนายูดาย ซึ่งในปีนั้นยังตรงกับเดือนเราะมะฎอนศักดิ์สิทธิ์ของศาสนาอิสลามด้วย กำลังอียิปต์และซีเรียข้ามเส้นหยุดยิงเข้าสู่คาบสมุทรไซนายและที่ราบสูงโกลันตามลำดับ ทั้งสหรัฐอเมริกาและสหภาพโซเวียตเริ่มความพยายามส่งกำลังบำรุงแก่พันธมิตรของตนระหว่างสงคราม และนำไปสู่การเกือบเผชิญหน้ากันระหว่างอภิมหาอำนาจนิวเคลียร์สองประเทศ สงครามเริ่มต้นด้วยการข้ามคลองสุเอซครั้งใหญ่ที่สำเร็จของอียิปต์ หลังข้ามเส้นหยุดยิง กำลังอียิปต์รุดหน้าโดยแทบไม่มีการต้านทานเข้าสู่คาบสมุทรไซนาย หลังสามวันผ่านไป อิสราเอลได้ระดมพลกำลังส่วนใหญ่และหยุดยั้งการรุกของอียิปต์ ทำให้เกิดการตรึงอำนาจทางทหาร ฝ่ายซีเรียประสานงานการโจมตีที่ราบสูงโกลันให้พร้อมกับการรุกของอียิปต์ และทีแรกได้ดินแดนเพิ่มอย่างคุกคามสู่ดินแดนที่อิสราเอลถือครอง ทว่า ภายในสามวัน กำลังอิสราเอลผลักซีเรียเข้าสู่เส้นหยุดยิงก่อนสงคราม จากนั้นกำลังป้องกันอิสราเอลเปิดฉากการตีโต้ตอบสี่วันลึกเข้าไปในประเทศซีเรีย ภายในหนึ่งสัปดาห์ ปืนใหญ่อิสราเอลเริ่มระดมยิงชานกรุงดามัสกัส เมื่อประธานาธิบดีอียิปต์ซาดาตเริ่มกังวลเกี่ยวกับบูรณภาพของพันธมิตรหลักของเขา เขาเชื่อว่าการยึดจุดผ่านยุทธศาสตร์สองจุดซึ่งตั้งอยู่ลึกในไซนายจะทำให้ฐานะของเขาแข็งแรงขึ้นระหว่างการเจรจาหลังสงคราม ฉะนั้นเขาจึงสั่งให้อียิปต์กลับไปรุกอีก แต่การเข้าตีนั้นถูกขับกลับมาอย่างรวดเร็ว จากนั้นอิสราเอลตีโต้ตอบที่แนวต่อระหว่างกองทัพอียิปต์สองกองทัพ ข้ามคลองสุเอซเข้าประเทศอียิปต์ และเริ่มรุกหน้าอย่างช้า ๆ ลงใต้และไปทางตะวันตกสู่นครสุเอซในการสู้รบอย่างหนักกว่าหนึ่งสัปดาห์ซึ่งทำให้ทั้งสองฝ่ายเสียกำลังพลมาก วันที่ 22 ตุลาคม การหยุดยิงที่สหประชาชาติเป็นนายหน้าคลี่คลายอย่างรวดเร็ว โดยต่างฝ่ายต่างโทษอีกฝ่ายว่าละเมิด ในวันที่ 24 ตุลาคม อิสราเอลพัฒนาฐานะของตนอย่างมากและสำเร็จการล้อมกองทัพที่สามของอียิปต์และนครสุเอซ การพัฒนานี้นำไปสู่ความตึงเครียดระหว่างสหรัฐอเมริกาและสหภาพโซเวียต ผลคือ มีการกำหนดการหยุดยิงครั้งที่สองด้วยความร่วมมือตั้งแต่วันที่ 25 ตุลาคมถึงสิ้นสงคราม สงครามนี้มีการส่อความกว้างขวาง โลกอาหรับซึ่งประสบความอับอายในการแตกล่าฝ่ายเดียวของพันธมิตรอียิปต์–ซีเรีย–จอร์แดนในสงครามหกวัน รู้สึกว่าได้แก้ตัวทางจิตใจจากความสำเร็จขั้นต้นในความขัดแย้งนี้ ในประเทศอิสราเอล แม้มีความสำเร็จทางปฏิบัติการและยุทธวิธีอันน่าประทับใจในสมรภูมิ แต่สงครามนี้นำให้มีการตระหนักว่าไม่มีการรับประกันว่าประเทศอิสราเอลจะครอบงำรัฐอาหรับในทางทหารได้เสมอไป ดังที่เคยเป็นมาตลอดสงครามอาหรับ–อิสราเอลครั้งที่หนึ่ง สงครามสุเอซและสงครามหกวันก่อนหน้านี้ การเปลี่ยนแปลงเหล่านี้ปูทางสู่กระบวนการสันติภาพต่อมา ข้อตกลงค่ายเดวิดปี 2521 ในภายหลังนำสู่การคืนคาบสมุทรไซนายให้ประเทศอียิปต์และการคืนความสัมพันธ์ ซึ่งเป็นการรับรองอิสราเอลอย่างสันติโดยประเทศอาหรับเป็นครั้งแรก ประเทศอียิปต์ยังตีตนออกห่างจากสหภาพโซเวียตต่อไปและออกจากเขตอิทธิพลโซเวียตโดยสิ้นเชิง.

ประเทศอิสราเอลและสงครามยมคิปปูร์ · สงครามยมคิปปูร์และอาเรียล ชารอน · ดูเพิ่มเติม »

เบนจามิน เนทันยาฮู

เบนจามิน "บีบี" เนทันยาฮู (Benjamin "Bibi" Netanyahu; בִּנְיָמִין "בִּיבִּי" נְתָנְיָהוּ; بنيامين نتانياهو; เกิด 21 ตุลาคม 2492) เป็นนายกรัฐมนตรีอิสราเอลคนปัจจุบัน เขายังเป็นสมาชิกรัฐสภา (Knesset) และหัวหน้าพรรคลิคุด (Likud) เขาเกิดในกรุงเทลอาวีฟ มีบิดามารดาเป็นชาวยิวโลกิยะ เนทนยาฮูเป็นนายกรัฐมนตรีอิสราเอลคนแรกที่เกิดในประเทศอิสราเอลหลังการสถาปนารัฐ เนทันยาฮูเข้าร่วมกำลังป้องกันอิสราเอลไม่นานหลังสงครามหกวันในปี 2510 และเป็นหัวหน้าทีมในหน่วยรบพิเศษซาเยเรตแมตกัล (Sayeret Matkal) เขาเข้าร่วมหลายภารกิจ ซึ่งประกอบด้วยปฏิบัติการอินเฟอร์โน (ปี 2511), ปฏิบัติการกิฟต์ (ปี 2511) และปฏิบัติการไอโซโทป (ปี 2525) ซึ่งระหว่างนั้นเขาถูกยิงที่ไหล่ เขาต่อสู้ในแนวหน้าในสงครามการบั่นทอนกำลัง (War of Attrition) และสงครามยมคิปปูร์ในปี 2516 โดยร่วมกับกำลังพิเศษตีโฉบฉวยตามคลองสุเอซ แล้วนำการโจมตีของคอมมานโดลึกเข้าดินแดนซีเรีย เขาได้ยศร้อยเอกก่อนได้รับการปลด หลังสำเร็จการศึกษาจากสถาบันเทคโนโลยีแมสซาชูเซตส์ ด้วยปริญญาวิทยาศาสตร์บัณฑิตและวิทยาศาสตร์มหาบัณฑิต เขาได้รับสรรหาเป็นผู้ให้คำปรึกษาทางเศรษฐกิจแก่บอสตันคอนซัลทิงกรุป เขากลับประเทศอิสราเอลในปี 2521 เพื่อก่อตั้งสถาบันต่อต้านการก่อการร้ายโยนาทัน เนทันยาฮู (Yonatan Netanyahu Anti-Terror Institute) ซึ่งได้ชื่อตามโยนาทัน เนทันยาฮู ผู้เสียชีวิตขณะเป็นผู้นำปฏิบัติการเอนเทบบี (Entebbe) เนทันยาฮูรับราชการเป็นเอกอัครราชทูตอิสราเอลประจำสหประชาชาติตั้งแต่ปี 2527 ถึง 2531 เนทันยาฮูเป็นหัวหน้าพรรคลิคุดในปี 2536 เนทันยาฮูชนะการเลือกตั้งปี 2539 ทำให้กลายเป็นนายกรัฐมนตรีอิสราเอลที่หนุ่มที่สุด ดำรงวาระแรกระหว่างเดือนมิถุนายน 2539 ถึงกรกฎาคม 2541 เขาย้ายจากเวทีการเมืองไปภาคเอกชนหลังพ่ายการเลือกตั้งชิงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีปี 2542 แก่เอฮุด บารัค (Ehud Barak) เนทันยาฮูหวนคืนการเมืองในปี 2545 โดยเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ (ปี 2545–2546) และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง (ปี 2546–2548) ในรัฐบาลแอเรียล ชารอน แต่เขาออกจากรัฐบาลเพราะความไม่ลงรอยต่อแผนการปลดปล่อยกาซา ในฐานะรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง เนทันยาฮูปฏิรูปเศรษฐกิจอิสราเอลขนานใหญ่ ซึ่งผู้วิจารณ์ยกย่องว่าพัฒนาสมรรถนะทางเศรษฐกิจของอิสราเอลในเวลาต่อมาอย่างสำคัญ เขาทวงตำแหน่งหัวหน้าพรรคลิคุดในเดือนธันวาคม 2548 หลังชารอนออกไปตั้งพรรคการเมืองต่างหาก ในเดือนธันวาคม 2549 เนทันยาฮูเป็นผู้นำฝ่ายค้านในรัฐสภาและหัวหน้าพรรคลิคุดอย่างเป็นทางการ หลังการเลือกตั้งรัฐสภาปี 2552 ซึ่งลิคุดได้อันดับสองและพรรคฝ่ายขวาได้เสียงข้างมาก เนทันยาฮูตั้งรัฐบาลผสม หลังชัยชนะในการเลือกตั้งปี 2556 เขากลายเป็นบุคคลที่สองที่ได้รับเลือกตั้งดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีเป็นสมัยที่สาม ถัดจากเดวิด เบนกูเรียน ในเดือนมีนาคม 2558 เนทันยาฮูได้รับเลือกตั้งเป็นนายกรัฐมนตรีเป็นสมัยที่สี่ เนทันยาฮูได้รับเลือกตั้งเป็นนายกรัฐมนตรีอิสราเอลสี่สมัย เท่ากับสถิติของเดวิด เบนกูเรียน เขาเป็นนายกรัฐมนตรีคนเดียวในประวัติศาสตร์อิสราเลที่ได้รับเลือกตั้งสามครั้งติดต่อกัน ปัจจุบันเขาเป็นนายกรัฐมนตรีที่ดำรงตำแหน่งยาวที่สุดเป็นอันดับที่สอง หมวดหมู่:นายกรัฐมนตรีอิสราเอล หมวดหมู่:ทหารชาวอิสราเอล หมวดหมู่:ชาวยิว หมวดหมู่:ชาวเทลอาวีฟ.

ประเทศอิสราเอลและเบนจามิน เนทันยาฮู · อาเรียล ชารอนและเบนจามิน เนทันยาฮู · ดูเพิ่มเติม »

เทลอาวีฟ

thumbtime.

ประเทศอิสราเอลและเทลอาวีฟ · อาเรียล ชารอนและเทลอาวีฟ · ดูเพิ่มเติม »

รายการด้านบนตอบคำถามต่อไปนี้

การเปรียบเทียบระหว่าง ประเทศอิสราเอลและอาเรียล ชารอน

ประเทศอิสราเอล มี 108 ความสัมพันธ์ขณะที่ อาเรียล ชารอน มี 19 ขณะที่พวกเขามีเหมือนกัน 4, ดัชนี Jaccard คือ 3.15% = 4 / (108 + 19)

การอ้างอิง

บทความนี้แสดงความสัมพันธ์ระหว่าง ประเทศอิสราเอลและอาเรียล ชารอน หากต้องการเข้าถึงบทความแต่ละบทความที่ได้รับการรวบรวมข้อมูลโปรดไปที่:

Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »