โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ฟรี
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

ประเทศสกอตแลนด์และเอดินบะระ

ทางลัด: ความแตกต่างความคล้ายคลึงกันค่าสัมประสิทธิ์การเปรียบเทียบ Jaccardการอ้างอิง

ความแตกต่างระหว่าง ประเทศสกอตแลนด์และเอดินบะระ

ประเทศสกอตแลนด์ vs. เอดินบะระ

กอตแลนด์ (Scotland; Alba อาละเปอะ) เป็นชาติของชนชาวสก็อตและเป็นส่วนหนึ่งของประเทศสหราชอาณาจักร โดยครอบคลุมพื้นที่หนึ่งในสามทางตอนเหนือของเกาะบริเตนใหญ่ มีพรมแดนร่วมกับประเทศอังกฤษทางทิศใต้ ส่วนที่เหลือล้อมรอบด้วยมหาสมุทรแอตแลนติก ทางตะวันออกเป็นทะเลเหนือ และทิศตะวันตกเฉียงใต้จดช่องแคบเหนือและทะเลไอร์แลนด์ นอกเหนือจากแผ่นดินใหญ่แล้ว ประเทศสกอตแลนด์ยังมีเกาะอีกกว่า 790 เกาะ เอดินบะระ เมืองหลวงและนครใหญ่ที่สุดอันดับสองของประเทศ เป็นศูนย์กลางยุคเรืองปัญญาของชาวสกอตในคริสต์ศตวรรษที่ 18 ซึ่งเปลี่ยนสกอตแลนด์มาเป็นมหาอำนาจทางพาณิชย์ ทางการศึกษา และทางอุตสาหกรรมเมืองหนึ่งของทวีปยุโรป ฯ กลาสโกว์ นครใหญ่สุดของสกอตแลนด์ เคยเป็นนครอุตสาหกรรมชั้นนำของโลกและปัจจุบันเป็นศูนย์กลางของเขตเมืองขยายเกรตเตอร์กลาสโกว์ น่านน้ำสกอตแลนด์ประกอบด้วยทะเลแอตแลนติกเหนือและทะเลเหนือ ซึ่งมีปริมาณน้ำมันสำรองใหญ่สุดในสหภาพยุโรป ทำให้เมืองแอเบอร์ดีน นครใหญ่สุดอันดับสามในสกอตแลนด์ ได้ชื่อว่าเป็นเมืองหลวงน้ำมันของทวีปยุโรป เดิมราชอาณาจักรสกอตแลนด์เป็นประเทศอิสระที่ไม่ขึ้นกับประเทศอังกฤษจนถึง.. อดินบะระ (Edinburgh เอดินเบอระ; Dùn Èideann; บางคนอ่าน/เขียนผิดเป็น: เอดินเบิร์ก) เป็นเมืองหลวงของประเทศสกอตแลนด์ สหราชอาณาจักร ตั้งอยู่ทางฝั่งตะวันออกของสกอตแลนด์ เป็นเมืองเก่าแก่ที่มีประวัติความเป็นมาตั้งแต่สมัยกลาง ลักษณะภูมิประเทศเป็นภูเขาสูงอยู่กลางเมือง เป็นที่ตั้งของปราสาทเอดินบะระอันเป็นทำเลที่ได้เปรียบเชิงยุทธศาสตร์ในสมัยก่อน โดยรอบภูเขาถูกปรับพื้นที่เป็นคูเมืองเพื่อประโยชน์ในเชิงการทหาร รอบนอกเป็นที่ราบลดหลั่นเป็นขั้น ๆ กระจายออกโดยรอบ เอดินบะระเป็นที่ตั้งของรัฐสภาแห่งใหม่ของสกอตแลนด์ (เพิ่งแยกออกมาจากรัฐสภาของสหราชอาณาจักร) ตั้งอยู่บนถนนสายหลักของเอดินบะระคือ รอยัลไมล์ (The Royal Mile) ซึ่งสร้างตามแนวสันเขาเชื่อมโยงพื้นที่ประวัติศาสตร์ระหว่างปราสาทเอดินบะระและพระราชวัง สถานที่ท่องเที่ยวที่สำคัญ ได้แก่ บริเวณรอยัลไมล์ ปราสาทเอดินบะระ และสวนพฤกษศาสตร์ โดยเฉพาะปราสาทเอดินบะระเป็นปราสาทที่เป็นสถานที่เปิดตัวของหนังสือเรื่องแฮรี่ พอตเตอร์ เนื่องจากมีลักษณะใกล้เคียงฉากเมืองแม่มดในท้องเรื่อง เอดินบะระเป็นเมืองที่เจริญมากที่สุดเมืองหนึ่งในสหราชอาณาจักร มีศูนย์กลางเมืองตั้งอยู่รอบ ๆ ปราสาทเอดินบะระ เมืองเอดินบะระนั้นขึ้นชื่อว่าเป็นเมืองแห่งเทศกาลต่าง ๆ ตัวอย่างงานสำคัญที่ถูกจัดขึ้นในเมืองเอดินบะระ ได้แก่ เทศกาลศิลปะนานาชาติ Fringe ภาพยนตร์ วิทยาศาสตร์ งานหนังสือเด็ก เพลงแจ๊ส และเพลงพื้นบ้าน ในช่วงเทศกาลเหล่านี้ โดยเฉพาะช่วงเดือนสิงหาคมหรือช่วงหน้าร้อนของสหราชอาณาจักร ที่เมืองเอดินบะระจะมีจัดงานเทศกาลประจำปีที่สามารถดึงดูดนักท่องเที่ยวมาที่เมืองนี้เป็นจำนวนมาก จนทำให้เมืองเอดินบะระติดอันดับเมืองที่มีนักท่องเที่ยวมากที่สุดเป็นอันดับสองของสหราชอาณาจักรรองจากลอนดอน นอกจากนั้น เมืองเอดินบะระยังเป็นเมืองที่ได้ชื่อว่าเป็น "เมืองที่เป็นมิตรกับเด็ก" (The Child Friendly City) เนื่องจากภายในเมืองมีสถานที่ท่องเที่ยวที่เหมาะสำหรับเด็กมากมาย เช่น พิพิธภัณฑ์วัยเด็กและเรื่องเล่าของผู้คน (Museum of Childhood and People’s Story) สวนสัตว์ที่มีศูนย์การศึกษาที่เคลื่อนไหวได้จริง (Dynamic Education Centre) โลกแห่งผีเสื้อและแมลง (Butterfly & Insect World) และโลกทะเลลึก (Deep Sea World) เป็นต้น ในแง่ของเศรษฐศาสตร์ เมืองเอดินบะระเป็นเมืองศูนย์กลางทางการเงินที่ใหญ่เป็นอันดับสองของสหราชอาณาจักรรองจากลอนดอนและใหญ่เป็นอันดับห้าของยุโรป โดยมีมหาวิทยาลัยตั้งอยู่ถึงสามแห่งด้วยกันคือ มหาวิทยาลัยเอดินบะระ มหาวิทยาลัยแฮเรียต-วัตต์ และมหาวิทยาลัยเนเปียร์ ภาพ:Edinburgh1.JPG|ปราสาทเอดินบะระ ตั้งอยู่บนยอดเขากลางเมือง ภาพ:Edinburgh2.JPG|อาคารรัฐสภาของสกอตแลนด์ ตั้งอยู่ในเมืองเอดินบะร.

ความคล้ายคลึงกันระหว่าง ประเทศสกอตแลนด์และเอดินบะระ

ประเทศสกอตแลนด์และเอดินบะระ มี 6 สิ่งที่เหมือนกัน (ใน ยูเนี่ยนพีเดีย): ภาษาสกอตภาษาอังกฤษมหาวิทยาลัยเอดินบะระสหราชอาณาจักรประเทศในสหราชอาณาจักรเวลามาตรฐานกรีนิช

ภาษาสกอต

ษาสกอต เป็นภาษาในกลุ่มภาษาเจอร์แมนิก ที่ใช้พูดกันในแถบพื้นที่ราบของสกอตแลนด์ และในพื้นที่อัลสเตอร์ (ซึ่งเรียกสำเนียงท้องถิ่นว่าอัลสเตอร์สกอต ชาวสกอตมักเรียกภาษานี้ว่า สกอตที่ราบต่ำ เพื่อไม่ให้สับสนกับภาษาแกลิกสกอต และภาษาเคลต์ซึ่งถูกจำกัดพื้นที่การใช้ตามประวัติศาสตร์ในแถบพื้นที่ราบสูงของสกอตแลนด์ ภาษาสกอตถูกพัฒนาขึ้นในสมัยเดียวกับภาษาอังกฤษสมัยกลาง นับแต่ต้นศตวรรษที่ 15 เป็นต้นมา ภาษาอังกฤษที่ใช้ในสกอตแลนด์ได้มีวิวัฒนาการ จนกลายเป็นภาษาที่มีเอกลักษณ์แตกต่างจากภาษาอังกฤษและภาษาท้องถิ่นอื่น ๆ ที่พูดกันในอังกฤษ หากแต่ยังขาดชื่อเรียก แต่หลังจาก ปี ค.ศ. 1495 เป็นต้นมา คำว่า สกอตติช (Scottis) ถูกใช้มากขึ้นเพื่ออ้างถึงภาษาพูดในถิ่นที่ลุ่ม ในขณะที่คำว่า Erse ซึ่งแปลว่า ไอริช ถูกใช้เป็นชื่อเรียกภาษาแกลิค ฯ ยกตัวอย่างเช่น ในตอนปลายศตวรรษที่ 15 วิลเลียม ดันบาร์ กวีชาวสกอต ใช้คำว่า Erse เพื่ออ้างถึงภาษาแกลิคและในช่วงต้นศตวรรษที่ 16 กาวิน ดักลาส เริ่มใช้คำว่า Scottis เพื่ออ้างอิงถึงภาษาถิ่นที่ราบลุ่ม ปัจจุบันภาษาแกลิกของสกอตแลนด์มักถูกเรียกว่า ภาษาแกลิก-สกอต หรือ ภาษาแกลิกสกอตแลน.

ประเทศสกอตแลนด์และภาษาสกอต · ภาษาสกอตและเอดินบะระ · ดูเพิ่มเติม »

ภาษาอังกฤษ

ษาอังกฤษ หรือ ภาษาอังกฤษใหม่ เป็นภาษาในกลุ่มภาษาเจอร์แมนิกตะวันตกที่ใช้ครั้งแรกในอังกฤษสมัยต้นยุคกลาง และปัจจุบันเป็นภาษาที่ใช้กันแพร่หลายที่สุดในโลก ประชากรส่วนใหญ่ในหลายประเทศ รวมทั้ง สหราชอาณาจักร สหรัฐอเมริกา แคนาดา ออสเตรเลีย ไอร์แลนด์ นิวซีแลนด์ และประเทศในแคริบเบียน พูดภาษาอังกฤษเป็นภาษาที่หนึ่ง ภาษาอังกฤษเป็นภาษาแม่ที่มีผู้พูดมากที่สุดเป็นอันดับสามของโลก รองจากภาษาจีนกลางและภาษาสเปน มักมีผู้เรียนภาษาอังกฤษเป็นภาษาที่สองอย่างกว้างขวาง และภาษาอังกฤษเป็นภาษาราชการของสหภาพยุโรป หลายประเทศเครือจักรภพแห่งชาติ และสหประชาชาติ ตลอดจนองค์การระดับโลกหลายองค์การ ภาษาอังกฤษเจริญขึ้นในราชอาณาจักรแองโกล-แซ็กซอนอังกฤษ และบริเวณสกอตแลนด์ตะวันออกเฉียงใต้ในปัจจุบัน หลังอิทธิพลอย่างกว้างขวางของบริเตนใหญ่และสหราชอาณาจักรตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 17 จนถึงกลางคริสต์ศตวรรษที่ 20 ผ่านจักรวรรดิอังกฤษ และรวมสหรัฐอเมริกาด้วยตั้งแต่กลางคริสต์ศตวรรษที่ 20 ภาษาอังกฤษได้แพร่หลายทั่วโลก กลายเป็นภาษาชั้นนำของวจนิพนธ์ระหว่างประเทศและเป็นภาษากลางในหลายภูมิภาค ในประวัติศาสตร์ ภาษาอังกฤษกำเนิดจากการรวมภาษาถิ่นหลายภาษาที่สัมพันธ์อย่างใกล้ชิด ซึ่งปัจจุบันเรียกรวมว่า ภาษาอังกฤษเก่า ซึ่งผู้ตั้งนิคมนำมายังฝั่งตะวันออกของบริเตนใหญ่เมื่อคริสต์ศตวรรษที่ 5 คำในภาษาอังกฤษจำนวนมากสร้างขึ้นบนพื้นฐานรากศัพท์ภาษาละติน เพราะภาษาละตินบางรูปแบบเป็นภาษากลางของคริสตจักรและชีวิตปัญญาชนยุโรปDaniel Weissbort (2006).

ประเทศสกอตแลนด์และภาษาอังกฤษ · ภาษาอังกฤษและเอดินบะระ · ดูเพิ่มเติม »

มหาวิทยาลัยเอดินบะระ

ตึกโอลด์คอลเลจ ที่ตั้งของคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยเอดินบะระ (The University of Edinburgh; Universitas Academica Edinburgensis) ก่อตั้งเมื่อปี ค.ศ. 1583 เป็นมหาวิทยาลัยเก่าแก่อันดับ 4 ของสกอตแลนด์ ถัดจาก มหาวิทยาลัยเซนต์แอนดรูวส์ (ก่อตั้งเมื่อปี ค.ศ. 1410) มหาวิทยาลัยกลาสโกว์ (ก่อตั้งเมื่อปี ค.ศ. 1451) และ มหาวิทยาลัยอเบอร์ดีน (ก่อตั้งเมื่อปี ค.ศ. 1495) มหาวิทยาลัยที่มีชื่อเสียงในด้านการสอนและการวิจัย ตั้งอยู่ที่เมืองเอดินบะระ สกอตแลนด์ สหราชอาณาจักร เอดินบะระเป็นหนึ่งในมหาวิทยาลัยโบราณของสกอตแลนด์ และเป็นหนึ่งในมหาวิทยาลัยที่ใหญ่ที่สุดและมีชื่อเสียงที่สุดในสหราชอาณาจักร เอดินบะระเป็นสมาชิกของกลุ่มรัสเซล (Russell Group) ซึ่งเป็นกลุ่มมหาวิทยาลัยวิจัยของสหราชอาณาจักร นอกจากนี้ยังเป็นมหาวิทยาลัยเดียวของสกอตแลนด์ (และมหาวิทยาลัยเดียวในสหราชอาณาจักร นอกเหนือจาก เคมบริดจ์ และอ๊อกซฟอร์ด) ที่เป็นสมาชิกของ Coimbra Group และ LERU สองกลุ่มมหาวิทยาลัยชั้นนำของยุโรป และยังเป็นสมาชิกของเครือข่ายมหาวิทยาลัยวิจัย Universitas 21 อีกด้วย ในช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 18 มหาวิทยาลัยเอดินบะระได้กลายเป็นศูนย์กลางของยุครู้แจ้งของยุโรป (European Enlightenment) และกลายเป็นหนึ่งในมหาวิทยาลัยที่สำคัญที่สุดของทวีปยุโรป.

ประเทศสกอตแลนด์และมหาวิทยาลัยเอดินบะระ · มหาวิทยาลัยเอดินบะระและเอดินบะระ · ดูเพิ่มเติม »

สหราชอาณาจักร

หราชอาณาจักรบริเตนใหญ่และไอร์แลนด์เหนือ หรือโดยทั่วไปรู้จักกันว่า สหราชอาณาจักร และ บริเตน (Britain) เป็นรัฐเอกราชตั้งอยู่นอกชายฝั่งตะวันตกเฉียงเหนือของยุโรปภาคพื้นทวีป ประเทศนี้ประกอบด้วยเกาะบริเตนใหญ่ ส่วนตะวันออกเฉียงเหนือของเกาะไอร์แลนด์ และเกาะที่เล็กกว่าจำนวนมาก ไอร์แลนด์เหนือเป็นเพียงส่วนเดียวของสหราชอาณาจักรที่มีพรมแดนทางบกติดต่อกับรัฐอื่น คือ ประเทศไอร์แลนด์ นอกเหนือจากนี้แล้ว สหราชอาณาจักรล้อมรอบด้วยมหาสมุทรแอตแลนติกทางทิศตะวันตกและเหนือ ทะเลเหนือทางทิศตะวันออก ช่องแคบอังกฤษทางทิศใต้ และทะเลไอร์แลนด์ทางทิศตะวันตก รูปแบบการปกครองเป็นแบบราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญโดยมีระบบรัฐสภา เมืองหลวง คือ กรุงลอนดอน ประกอบด้วยสี่ประเทศ คือ ประเทศอังกฤษ สกอตแลนด์ เวลส์ และไอร์แลนด์เหนือ สามประเทศหลังนี้ได้รับการถ่ายโอนการบริหาร โดยมีอำนาจแตกต่างกัน ตั้งอยู่ในเมืองหลวงของประเทศนั้น ๆ คือ เอดินบะระ คาร์ดิฟฟ์ และเบลฟัสต์ตามลำดับ ส่วนเกิร์นซีย์ เจอร์ซีย์ และเกาะแมนเป็นบริติชคราวน์ดีเพนเดนซี และมิใช่ส่วนหนึ่งของสหราชอาณาจักร สหราชอาณาจักรมีดินแดนโพ้นทะเล 14 แห่ง ซึ่งเป็นสิ่งที่เหลืออยู่ของจักรวรรดิอังกฤษ ซึ่งขณะที่รุ่งเรืองที่สุดในช่วงปลายคริสต์ศตวรรษที่ 19 และต้นคริสต์ศตวรรษที่ 20 นั้น ครอบคลุมพื้นดินของโลกเกือบหนึ่งในสี่ และเป็นจักรวรรดิใหญ่ที่สุดในประวัติศาสตร์ อิทธิพลของอังกฤษยังสามารถพบเห็นได้จากความแพร่หลายของภาษา วัฒนธรรมและระบบกฎหมายในอดีตอาณานิคมหลายแห่ง สหราชอาณาจักรเป็นประเทศพัฒนาแล้ว และมีเศรษฐกิจใหญ่เป็นอันดับที่ 7 ของโลก ตามค่าผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ ณ ราคาตลาด และเศรษฐกิจใหญ่เป็นอันดับที่ 8 ของโลก ตามความเท่าเทียมของอำนาจซื้อ สหราชอาณาจักรเป็นประเทศอุตสาหกรรมประเทศแรกในโลก และเป็นมหาอำนาจอันดับหนึ่งของโลกระหว่างคริสต์ศตวรรษที่ 19 และต้นคริสต์ศตวรรษที่ 20 สหราชอาณาจักรยังถูกกล่าวขานว่าเป็นมหาอำนาจและยังมีอิทธิพลทางเศรษฐกิจ วัฒนธรรม ทหาร วิทยาศาสตร์และการเมืองระหว่างประเทศค่อนข้างมากอยู่ สหราชอาณาจักรได้รับรองว่าเป็นรัฐอาวุธนิวเคลียร์และมีรายจ่ายทางทหารมากเป็นอันดับที่ 4 ของโลก สหราชอาณาจักรเป็นสมาชิกถาวรของคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาตินับแต่สมัยประชุมแรกใน..

ประเทศสกอตแลนด์และสหราชอาณาจักร · สหราชอาณาจักรและเอดินบะระ · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศในสหราชอาณาจักร

หราชอาณาจักรแบ่งแยกออกได้เป็น 4 ประเทศ (country) ที่มีอธิปไตยของตนเอง ได้แก่ อังกฤษ สกอตแลนด์ เวลส์ และไอร์แลนด์เหนือ ภายในสหราชอาณาจักร ไอร์แลนด์เหนือ สกอตแลนด์ และเวลส์ ได้รับเอกราชในขั้นตอนการกระจายอำนาจทางนิติบัญญัติ จนมีสถานะเป็นรัฐอธิปไตยแบบเอกเทศ ทั้งนี้รัฐสภาแห่งสหราชอาณาจักรและรัฐบาลอังกฤษยังมีอำนาจจัดการกับกิจการที่สงวนไว้ทั้งหมดสำหรับไอร์แลนด์เหนือ กับสกอตแลนด์ และในกิจการที่ไม่ได้ถ่ายโอนทั้งหมดสำหรับเวลส์ แต่ไม่ใช่กิจการทั่วไปซึ่งได้ถ่ายโอนอำนาจไปยังรัฐสภาไอร์แลนด์เหนือ รัฐสภาสกอตแลนด์และสมัชชาแห่งชาติเวลส์ นอกจากนี้การโอนอำนาจปกครองตนเองให้ไอร์แลนด์เหนือ เป็นเงื่อนไขในการร่วมมือระหว่างฝ่ายบริหารไอแลนด์เหนือและรัฐบาลไอร์แลนด์ และรัฐบาลอังกฤษให้คำปรึกษากับรัฐบาลไอร์แลนด์เพื่อบรรลุข้อตกลงในเรื่องที่ไม่เกี่ยวกับเรื่องการเงิน ไอร์แลนด์เหนือ อังกฤษประกอบไปด้วยประชากรส่วนใหญ่, ONS.

ประเทศสกอตแลนด์และประเทศในสหราชอาณาจักร · ประเทศในสหราชอาณาจักรและเอดินบะระ · ดูเพิ่มเติม »

เวลามาตรฐานกรีนิช

วลามาตรฐานกรีนิช หรือ เวลามัชฌิมกรีนิช (Greenwich Mean Time) ชื่อย่อ จีเอ็มที (GMT) แต่เดิมเป็นคำใช้เรียกเวลาสุริยคติมัชฌิมที่หอดูดาวหลวงกรีนิช เมืองกรีนิช สหราชอาณาจักร ปัจจุบันคำนี้มักใช้เพื่อหมายถึงเวลาสากลเชิงพิกัด (ยูทีซี) ในฐานะเขตเวลา แม้ว่าหากถือโดยเคร่งครัดแล้ว ยูทีซีนั้นเป็นมาตรฐานเวลาที่วัดโดยนาฬิกาอะตอม ซึ่งจะเท่ากันเพียงโดยประมาณกับจีเอ็มทีในความหมายเดิม จีเอ็มทียังใช้หมายถึงเวลาสากล (ยูที) ซึ่งเป็นเวลาเชิงดาราศาสตร์ที่กำหนดขึ้นเพื่อทดแทนจีเอ็มทีโดยตรง เวลาเที่ยงวันของมาตรฐานกรีนิชนั้นไม่จำเป็นต้องเป็นเวลาที่ดวงอาทิตย์ข้ามผ่านเส้นเมริเดียนแรกที่กรีนิชเสมอไป ทั้งนี้เนื่องจากการโคจรของโลกเป็นวงรีรอบดวงอาทิตย์มีอัตราเร็วไม่สม่ำเสมอและแกนโลกที่เอียง เวลาเที่ยงวันกรีนิชอาจต่างจากเวลาที่ดวงอาทิตย์ข้ามผ่านเส้นเมริเดียนแรกถึง 16 นาที จึงจำเป็นต้องสมมุติดวงอาทิตย์มัชฌิม ซึ่งเป็นค่าเฉลี่ยจากการปรับการเคลื่อนที่ที่ไม่สม่ำเสมอของดวงอาทิตย์ดวงจริงขึ้นใช้คำนวณแทน ดวงอาทิตย์มัชฌิมนี้เองเป็นที่มาของคำว่า มัชฌิม ในคำว่าเวลามัชฌิมกรีนิช ก่อน ค.ศ. 1925 นักดาราศาสตร์ใช้จีเอ็มทีโดยนับเที่ยงวันเป็นชั่วโมงที่ศูนย์ (เวลาศูนย์นาฬิกา) ในขณะที่ประชาชนทั่วไปนับเที่ยงคืนเป็นชั่วโมงที่ศูนย์ นักดาราศาสตร์ได้เปลี่ยนมานับเที่ยงคืนเป็นชั่วโมงที่ศูนย์เช่นเดียวกับประชาชนทั่วไปตั้งแต..

ประเทศสกอตแลนด์และเวลามาตรฐานกรีนิช · เวลามาตรฐานกรีนิชและเอดินบะระ · ดูเพิ่มเติม »

รายการด้านบนตอบคำถามต่อไปนี้

การเปรียบเทียบระหว่าง ประเทศสกอตแลนด์และเอดินบะระ

ประเทศสกอตแลนด์ มี 41 ความสัมพันธ์ขณะที่ เอดินบะระ มี 13 ขณะที่พวกเขามีเหมือนกัน 6, ดัชนี Jaccard คือ 11.11% = 6 / (41 + 13)

การอ้างอิง

บทความนี้แสดงความสัมพันธ์ระหว่าง ประเทศสกอตแลนด์และเอดินบะระ หากต้องการเข้าถึงบทความแต่ละบทความที่ได้รับการรวบรวมข้อมูลโปรดไปที่:

Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »