โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ติดตั้ง
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

ประเทศจีนและเขตการปกครองของประเทศจีน

ทางลัด: ความแตกต่างความคล้ายคลึงกันค่าสัมประสิทธิ์การเปรียบเทียบ Jaccardการอ้างอิง

ความแตกต่างระหว่าง ประเทศจีนและเขตการปกครองของประเทศจีน

ประเทศจีน vs. เขตการปกครองของประเทศจีน

ประเทศจีน มีชื่ออย่างเป็นทางการว่า สาธารณรัฐประชาชนจีน (People's Republic of China (PRC)) เป็นรัฐเอกราชในเอเชียตะวันออก เป็นประเทศที่มีประชากรมากที่สุดในโลก กว่า 1,300 ล้านคน เป็นรัฐพรรคการเมืองเดียวปกครองโดยพรรคคอมมิวนิสต์จีน มีเมืองหลวงอยู่ที่กรุงปักกิ่ง ประเทศจีนแบ่งการปกครองออกเป็น 22 มณฑล (ไม่รวมพื้นที่พิพาทไต้หวัน) 5 เขตปกครองตนเอง 4 เทศบาลนคร (ปักกิ่ง เทียนจิน เซี่ยงไฮ้ และฉงชิ่ง) และ 2 เขตบริหารพิเศษ ได้แก่ ฮ่องกงและมาเก๊า ประเทศจีนมีพื้นที่ 9.6 ล้านตารางกิโลเมตร นับเป็นประเทศที่มีพื้นที่ทั้งหมดใหญ่ที่สุดในโลกเป็นอันดับ 3 หรือ 4 แล้วแต่วิธีการวัด ลักษณะภูมิประเทศของจีนมีความหลากหลาย ตั้งแต่ป่าสเต็ปป์และทะเลทรายในพื้นที่แห้งแล้งทางตอนเหนือของประเทศติดกับประเทศมองโกเลียและไซบีเรียของรัสเซีย และป่าฝนกึ่งโซนร้อนในพื้นที่ชื้นทางใต้ซึ่งติดกับเวียดนาม ลาว และพม่า ส่วนภูมิประเทศทางตะวันตกนั้นขรุขระและเป็นที่สูง โดยมีเทือกเขาหิมาลัยและเทือกเขาเทียนชานกั้นเป็นพรมแดนตามธรรมชาติกับประเทศอินเดีย เนปาล และเอเชียกลาง ในทางตรงกันข้าม แนวชายฝั่งด้านตะวันออกของจีนแผ่นดินใหญ่นั้นเป็นที่ราบต่ำ และมีแนวชายฝั่งยาว 14,500 กิโลเมตร (ยาวที่สุดเป็นอันดับที่ 11 ของโลก) ซึ่งติดต่อกับทะเลจีนใต้ทางใต้ และทะเลจีนตะวันออกทางตะวันออก นอกจากนี้ยังมีประเทศที่เป็นเกาะอยู่ใกล้เคียง ได้แก่ เกาหลี และญี่ปุ่น อารยธรรมจีนโบราณ ซึ่งถือว่าเป็นหนึ่งอารยธรรมยุคแรกเริ่มของโลก เจริญรุ่งเรืองในลุ่มแม่น้ำเหลืองอันอุดมสมบูรณ์ ซึ่งไหลผ่านที่ราบลุ่มจีนเหนือ จีนยึดระบบการเมืองแบบราชาธิปไตยหลายสหัสวรรษ จีนรวมกันเป็นปึกแผ่นครั้งแรกในสมัยราชวงศ์ฉินเมื่อ 221 ปีก่อนคริสตกาล ส่วนราชวงศ์สุดท้าย ราชวงศ์ชิง สิ้นสุดลงในปี.. ตการปกครองของจีน เขตการปกครองของจีน มีอยู่ด้วยกัน 3 ระดับ ได้แก่ มณฑล อำเภอ และ ตำบล แต่ในปัจจุบันได้เพิ่มมาอีก 2 ระดับ คือ จังหวัด และ หมู่บ้าน ซึ่งถ้านำมาเรียงใหม่จะได้เป็น มณฑล จังหวัด อำเภอ ตำบล และ หมู่บ้าน.

ความคล้ายคลึงกันระหว่าง ประเทศจีนและเขตการปกครองของประเทศจีน

ประเทศจีนและเขตการปกครองของประเทศจีน มี 37 สิ่งที่เหมือนกัน (ใน ยูเนี่ยนพีเดีย): กลุ่มภาษาจีนมาเก๊ามณฑลชานตงมณฑลชานซีมณฑลชิงไห่มณฑลกวางตุ้งมณฑลกานซู่มณฑลกุ้ยโจวมณฑลฝูเจี้ยนมณฑลยูนนานมณฑลส่านซีมณฑลหูหนานมณฑลหูเป่ย์มณฑลอานฮุยมณฑลจี๋หลินมณฑลไหหลำมณฑลเสฉวนมณฑลเหลียวหนิงมณฑลเหอหนานมณฑลเหอเป่ย์มณฑลเฮย์หลงเจียงมณฑลเจียงซูมณฑลเจียงซีมณฑลเจ้อเจียงหนานหนิงฮ่องกงฉงชิ่งประเทศไต้หวันปักกิ่งไทเป...เทียนจินเขตปกครองตนเองกว่างซีจ้วงเขตปกครองตนเองมองโกเลียในเขตปกครองตนเองหนิงเซี่ยหุยเขตปกครองตนเองทิเบตเขตปกครองตนเองซินเจียงอุยกูร์เซี่ยงไฮ้ ขยายดัชนี (7 มากกว่า) »

กลุ่มภาษาจีน

ัฒนาการของภาษาจีนสำเนียงต่างๆ ภาษาจีน (汉语 - 漢語 - Hànyǔ - ฮั่นอวี่, 华语 - 華語 - Huáyǔ - หัวอวี่ หรือ 中文 - Zhōngwén - จงเหวิน) เป็นหนึ่งในตระกูลภาษาจีน-ทิเบต ชาวจีนส่วนใหญ่ถือภาษาจีนพูดชนิดต่าง ๆ ว่าเป็นภาษาเดียว โดยทั่วไปแล้ว ภาษาพูดในกลุ่มภาษาจีนเป็นภาษาที่มีเสียงวรรณยุกต์และไม่อ่านเนื่องเสียง อย่างไรก็ดี ยังมีความแตกต่างกันในภาษาพูดแต่ละภาษาอยู่มาก ความต่างเหล่านี้เทียบได้กับ ความแตกต่างระหว่างภาษาของภาษากลุ่มโรมานซ์ เราอาจแบ่งภาษาพูดของจีนได้ 6 ถึง 12 กลุ่ม ขึ้นอยู่กับเกณฑ์ที่ใช้ในการแบ่ง ที่เป็นที่รู้จักดี เช่น กลุ่มแมนดาริน กลุ่มหวู และกลุ่มกวางตุ้ง ยังเป็นที่โต้เถียงกันถึงปัจจุบันว่าภาษาพูดบางกลุ่มควรจัดเป็น "ภาษา" หรือเป็นแค่ "สำเนียง" ประชากรประมาณ 1/5 ของโลกพูดภาษาจีนแบบใดแบบหนึ่งเป็นภาษาแม่ ทำให้เป็นภาษาที่มีคนพูดเป็นภาษาแม่มากที่สุด สำเนียงพูดที่ถือเป็นมาตรฐาน คือ สำเนียงปักกิ่ง หรือ ภาษาฮั่น ซึ่งอยู่ในกลุ่มภาษาแมนดาริน ภาษาจีนกลาง หรือ ภาษาจีนแมนดาริน (Standard Mandarin) เป็นภาษาทางการของสาธารณรัฐประชาชนจีน และสาธารณรัฐจีนหรือไต้หวัน เป็นหนึ่งในภาษาทางการ 4 ภาษาทางการของประเทศสิงคโปร์ (ร่วมกับ ภาษาอังกฤษ ภาษามลายู และภาษาทมิฬ) และเป็นหนึ่งใน 6 ภาษาที่ใช้ในองค์การสหประชาชาติ (ร่วมกับ ภาษาอังกฤษ ภาษาอาหรับ ภาษาฝรั่งเศส ภาษารัสเซีย และภาษาสเปน) ภาษาจีนกวางตุ้ง เป็นภาษาทางการของ ฮ่องกง (ร่วมกับภาษาอังกฤษ) และมาเก๊า (ร่วมกับภาษาโปรตุเกส) นอกจากนี้ ภาษาเขียนยังได้เปลี่ยนแปลงตามระยะเวลา แต่การเปลี่ยนแปลงของภาษาเขียน ช้ากว่าการเปลี่ยนแปลงของภาษาพูดอย่างมาก จึงไม่ถูกจำกัดโดยความเปลี่ยนแปลงของภาษาพูดโดยส่วนใหญ่ ในปัจจุบัน ภาษาจีนใช้อักษรมาตรฐาน 2 รูปแบบทั่วโลก ได้แก่ อักษรจีนตัวเต็ม และ อักษรจีนตัวย่อ แผ้นที่แสดงพื้นที่ที่มีกลุ่มคนพูดภาษาจีนต่างๆ ในประเทศจีน.

กลุ่มภาษาจีนและประเทศจีน · กลุ่มภาษาจีนและเขตการปกครองของประเทศจีน · ดูเพิ่มเติม »

มาเก๊า

ตบริหารพิเศษมาเก๊าแห่งสาธารณรัฐประชาชนจีน (Macao Special Administrative Region of the People's Republic of China, เรียกสั้น ๆ ว่า มาเก๊า ในภาษาอังกฤษเขียนเป็น Macau และ Macao, อ้าวเหมิน; 馬交 ก็เรียก) เป็นพื้นที่บนชายฝั่งทางใต้ของประเทศจีน ปกครองโดยประเทศโปรตุเกสก่อนพ.ศ. 2542 เป็นอาณานิคมของยุโรปที่เก่าแก่ที่สุดในจีน ตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 16 อำนาจอธิปไตยเหนือมาเก๊าได้ย้ายไปที่สาธารณรัฐประชาชนจีนในพ.ศ. 2542 กลายเป็นเขตปกครองพิเศษของจีน มาเก๊าได้มีบทบาทที่มีอิทธิพลต่อจีนและตะวันตกโดยเฉพาะระหว่างคริสต์ศตวรรษที่ 16 และ คริสต์ศตวรรษที่ 19 ผู้ที่อาศัยอยู่ในมาเก๊าส่วนใหญ่พูดภาษากวางตุ้งเป็นภาษาแม่ ภาษาแมนดาริน ภาษาโปรตุเกส และภาษาอังกฤษก็มีพูดด้วย โดยกว้าง ๆ ชาวมาเก๊า (Macanese) หมายถึงผู้ที่พำนักอาศัยถาวรอยู่ในมาเก๊า ส่วนในวงแคบ หมายถึง ชนพื้นเมืองในมาเก๊าที่สืบทอดมาจากชาวโปรตุเกส มักจะผสมกับชาวจีนและบรรพบุรุษชาติอื่น ๆ นอกจากสิ่งที่เหลือจากประวัติศาสตร์ยุคอาณานิคมแล้ว.

ประเทศจีนและมาเก๊า · มาเก๊าและเขตการปกครองของประเทศจีน · ดูเพิ่มเติม »

มณฑลชานตง

มณฑลชานตง ใช้ตัวย่อว่า 鲁 (หลู่) ที่มาของชื่อมณฑลชานตงมาจากคำว่า ชาน (山, shān) ที่หมายถึงภูเขา และคำว่า ตง (东, dōng) ที่หมายถึงทิศตะวันออก มณฑลชานตงมีเมืองหลวง (เมืองใหญ่สุด) คือเมืองจี๋หนาน มณฑลนี้มีเนื้อที่ 156,700 ตารางกิโลเมตร (อันดับที่ 20 ของจีน) แต่มีประชากรมากเป็นอันดับสองของจีน คือประมาณ 91,800,000 คน (2004) มีความหนาแน่นของประชากรเท่ากับ 586 คนต่อตารางกิโลเมตร นับเป็นเมืองที่มีประชากรหนาแน่นมากเป็นอันดับ 5 ของจีน ตัวเลข GDP รวมในปี..

ประเทศจีนและมณฑลชานตง · มณฑลชานตงและเขตการปกครองของประเทศจีน · ดูเพิ่มเติม »

มณฑลชานซี

นซี ตามสำเนียงกลาง หรือ ซัวไซ ตามสำเนียงฮกเกี้ยน ชื่อย่อ จิ้น (晋) เป็นมณฑลหนึ่งของสาธารณรัฐประชาชนจีน ตั้งอยู่บริเวณตอนกลางของแม่น้ำเหลืองในภาคเหนือของประเทศจีน คำว่า "ชานซี" แปลตรงตัวว่า ทิศตะวันตกของภูเขา เนื่องจากมณฑลตั้งอยู่ทางตะวันตกของภูเขาไท่หัง มีเมืองเอกชื่อ ไท่หยวน มีเนื้อที่ 156,800 ตารางกิโลเมตร มีประชากรประมาณ 33,350,000 คน ความหนาแน่น 213 ต่อตารางกิโลเมตร จีดีพี 304.2 พันล้านเหรินหมินปี้ จีดีพีต่อประชากร 9120 เหรินหมินปี้ ประชากรส่วนใหญ่เป็นชาวฮั่น.

ประเทศจีนและมณฑลชานซี · มณฑลชานซีและเขตการปกครองของประเทศจีน · ดูเพิ่มเติม »

มณฑลชิงไห่

มณฑลชิงไห่ ชื่อย่อ ชิง(青)‘ชิงไห่’ แปลว่าทะเลสีเขียวชื่อทะเลสาบน้ำเค็มที่ใหญ่ที่สุด ของจีนที่อยู่ในมณฑล มีเมืองหลวงชี่อ ซีหนิง (西宁)มีเนื้อที่ทั้ง 721,000 ก.ม.

ประเทศจีนและมณฑลชิงไห่ · มณฑลชิงไห่และเขตการปกครองของประเทศจีน · ดูเพิ่มเติม »

มณฑลกวางตุ้ง

มณฑลกวางตุ้ง หรือ กว่างตง แบ่งการปกครองออกเป็น 21 เมืองใหญ่ 30 เมืองระดับอำเภอ 42 อำเภอและ 3 เขตปกครองตนเอง ตั้งอยู่ตอนใต้สุดของประเทศ ทางใต้ติดกับทะเลจีนใต้ ใกล้กับเกาะฮ่องกงและมาเก๊า เป็นประตูสู่เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และ มณฑลนี้นี่เองที่ประชากรส่วนมากได้อพยพไปตั้งถิ่นฐานในต่างประเทศ 100 กว่าปีที่แล้ว.

ประเทศจีนและมณฑลกวางตุ้ง · มณฑลกวางตุ้งและเขตการปกครองของประเทศจีน · ดูเพิ่มเติม »

มณฑลกานซู่

มณฑลกานซู่ หรือ มณฑลกังซก (จีนตัวย่อ: 甘肃省, จีนตัวเต็ม: 甘粛省) ชื่อย่อ กาน หรือ หล่ง (甘, 陇) ตั้งอยู่ทางภาคตะวันตกเฉียงเหนือของประเทศจีน ตอนบนของแม่น้ำฮวงโห (แม่น้ำเหลือง) มีเมืองหลวงชื่อ หลานโจว.

ประเทศจีนและมณฑลกานซู่ · มณฑลกานซู่และเขตการปกครองของประเทศจีน · ดูเพิ่มเติม »

มณฑลกุ้ยโจว

มณฑลกุ้ยโจว หรือเดิมไทยเรียกว่า กุยจิว (จีนตัวย่อ: 贵州省 จีนตัวเต็ม: 貴州省 Guizhou) ชื่อย่อ เฉียน (黔) หรือ กุ้ย (贵) ตั้งอยู่บนที่ราบสูงหยุนกุ้ยส่วนตะวันออก ระหว่างเส้นลองจิจูด 103.36 - 109.31 องศาตะวันออก และ ละติจูด 24.37 - 29.13 องศาเหนือ ทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ของประเทศจีน มีเมืองหลวงชื่อ กุ้ยหยาง มีเนื้อที่ 176,100 ก.ม. มีประชากร 39,040,000 คน ความหนาแน่น 222 ต่อตารางกิโลเมตร จีดีพี 159.2 พันล้านเหรินหมินปี้ ประชากรส่วนใหญ่เป็นชาวฮั่น.

ประเทศจีนและมณฑลกุ้ยโจว · มณฑลกุ้ยโจวและเขตการปกครองของประเทศจีน · ดูเพิ่มเติม »

มณฑลฝูเจี้ยน

มณฑลฝูเจี้ยน หรือ มณฑลฮกเกี้ยน (จีน: 福建省 Fujian) เป็นมณฑลชายฝั่งทะเลที่อยู่ทางภาคตะวันออกเฉียงใต้ของจีน อาณาเขตทางภาคเหนือติดกับมณฑลเจ้อเจียง ภาคใต้ติดกับมณฑลกวางตุ้ง ภาคตะวันออกติดกับช่องแคบไต้หวัน ชื่อฝูเจี้ยนมาจากอักษรนำหน้าชื่อเมืองสองเมืองรวมกันคือฝูโจวและเจี้ยนโอว ชื่อนี้ได้รับการตั้งในสมัยราชวงศ์ถัง.

ประเทศจีนและมณฑลฝูเจี้ยน · มณฑลฝูเจี้ยนและเขตการปกครองของประเทศจีน · ดูเพิ่มเติม »

มณฑลยูนนาน

มณฑลยูนนาน หรือ หยุนหนาน มีชื่อย่อว่า หยุน(云)หรือ เตียน(滇)มีชื่อในภาษาไทยถิ่นเหนือว่า วิเทหราช ตั้งอยู่ทิศตะวันตกเฉียงใต้ของจีน มีเมืองหลวงชื่อ คุนหมิง มีเนื้อที่ 394,100 ก.ม. มีประชากร ประมาณ 45,966,000 คน (2010) จีดีพี 10309.47 พันล้านหยวน (2012) ประชากรส่วนใหญ่เป็นชาวฮั่น นอกจากนั้นยังมีกลุ่มชาติพันธุ์อื่นๆอีก 25 กลุ่มชาติพัน.

ประเทศจีนและมณฑลยูนนาน · มณฑลยูนนานและเขตการปกครองของประเทศจีน · ดูเพิ่มเติม »

มณฑลส่านซี

นซี ตามสำเนียงกลาง หรือ เจียบไซ ตามสำเนียงฮกเกี้ยน (ชื่อย่อ: "ส่าน" (陕) หรือ "ฉิน" (秦)) เป็นมณฑลในสาธารณรัฐประชาชนจีน ตั้งอยู่ในเขตใจกลางประเทศแถบลุ่มแม่น้ำเหลือง (หวงเหอ) มีเมืองหลวงชื่อ ซีอาน มีเนื้อที่ 205,800 ตารางกิโลเมตร มีประชากรประมาณ 37,050,000 คน จีดีพี 288.4 พันล้านเหรินหมินปี้ จีดีพีต่อประชากร 7,780 เหรินหมินปี้ ประชากรส่วนใหญ่เป็นชาวฮั่น มณฑลส่านซีโดยมากมีลักษณะภูมิประเทศคล้ายแอ่งอยู่ระหว่างภูเขาหลายแห่ง.

ประเทศจีนและมณฑลส่านซี · มณฑลส่านซีและเขตการปกครองของประเทศจีน · ดูเพิ่มเติม »

มณฑลหูหนาน

มณฑลหูหนาน (จีน: 湖南省) ชื่อย่อ เซียง (湘)ตั้งอยู่บนลองจิจูด 108 องศา 47 ลิปดาถึง 114 องศา 45 ลิปดา ตะวันออก และละติจูด 24 องศา 39 ลิปดาถึง 30 องศา 28 ลิปดาเหนือ ทางตอนใต้ของทะเลสาบต้งถิง (洞庭湖) ทะเลสาบใหญ่ทางตอนกลางของแม่น้ำแยงซี มีเมืองหลวงชื่อ ฉางชา มีเนื้อที่ 211,800 ตาราง ก.ม.

ประเทศจีนและมณฑลหูหนาน · มณฑลหูหนานและเขตการปกครองของประเทศจีน · ดูเพิ่มเติม »

มณฑลหูเป่ย์

มณฑลหูเป่ย์ (จีน: 湖北省 Húběi Shěng) ชื่อย่อ เอ้อ (鄂) ตั้งอยู่ตอนกลาง ของประเทศ มีอาณาเขตอยู่ในพื้นที่ของแม่น้ำ 2 สายคือ แม่น้ำฉางเจียง (แยงซีเกียง) และฮั่นเจียง เนื่องจากอยู่ ทางเหนือของทะเลสาบต้งถิงทางตอนกลางของแม่น้ำ ฉางเจียง จึงได้ชื่อว่า ‘หูเป่ย’ ซึ่งแปลว่า เหนือทะเลสาบ มีเมืองหลวงชื่อ อู่ฮั่น มีเนื้อที่ 185,900 ตร.ก.ม. มีประชากร 60,160,000 คน ความหนาแน่น 324/ตร.

ประเทศจีนและมณฑลหูเป่ย์ · มณฑลหูเป่ย์และเขตการปกครองของประเทศจีน · ดูเพิ่มเติม »

มณฑลอานฮุย

มณฑลอานฮุย ตั้งอยู่ทางตะวันออกเฉียงใต้ของประเทศจีน มีเมืองเอกชื่อ เหอเฟย์ มีเนื้อที่ทั้งหมด 139,400 ตาราง ก.ม.

ประเทศจีนและมณฑลอานฮุย · มณฑลอานฮุยและเขตการปกครองของประเทศจีน · ดูเพิ่มเติม »

มณฑลจี๋หลิน

มณฑลจี๋หลิน ตั้งอยู่ทางตอนกลางของภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศ มีชายแดนติดต่อกับมณฑลต่างๆ ทางใต้ติดกับเหลียวหนิง ตะวันตกติดกับมองโกเลียใน เหนือติดกับเฮยหลงเจียง และตะวันออกติดต่อกับรัสเซียและคาบสมุทรเกาหลีโดยมีแม่น้ำยาลู่ว์เจียงเป็นเส้นเขตแดน มีเมืองหลวงชื่อ ฉางชุน(长春)มีเนื้อที่ 187,400 ก.ม. ประชากร 27,090,000 คน ความหนาแน่น 145 คนต่อตารางกิโลเมตร ค่าจีดีพี 295.8 พันล้านเหรินหมินปี้ หรือเฉลี่ย 10,900 เหรินเหมินปี้ต่อประชากรหนึ่งคน (ข้อมูล พ.ศ. 2547) ประชากรส่วนใหญ่เป็นชาวฮั่น.

ประเทศจีนและมณฑลจี๋หลิน · มณฑลจี๋หลินและเขตการปกครองของประเทศจีน · ดูเพิ่มเติม »

มณฑลไหหลำ

มณฑลไหหลำ หรือ ไห่หนาน (ภาษาจีน: 海南, พินอิน: Hǎinán) คือมณฑลของสาธารณรัฐประชาชนจีนที่มีขนาดเล็กที่สุด ตั้งอยู่ทางใต้สุดของประเทศ ประกอบด้วยเกาะหลายเกาะ โดยที่เกาะที่ใหญ่ที่สุดคือเกาะไหหลำ เมื่อชาวจีนพูดเกี่ยวกับ "ไห่หนาน" ในภาษาจีน มักจะหมายถึงเฉพาะเกาะไหหลำ เมื่อพูดถึงมณฑลไหหลำจะใช้คำว่า "ไห่หนานเฉิ่ง" เมืองหลวงคือ เมืองไหโข่ว.

ประเทศจีนและมณฑลไหหลำ · มณฑลไหหลำและเขตการปกครองของประเทศจีน · ดูเพิ่มเติม »

มณฑลเสฉวน

มณฑลเสฉวน หรือ ซื่อชวน หรือชื่อย่อว่า ชวน(川)หรือ สู่(蜀)เป็นมณฑลหนึ่งของประเทศจีน มีเมืองเอกชื่อเฉิงตู มณฑลเสฉวนอยู่ทางตะวันตกเฉียงใต้ของประเทศจีนตอนบนของแม่น้ำแยงซีเกียง มีพื้นที่ 485,000 ตาราง ก.ม. มีประชากรประมาณ 87,250,000 คน นับเป็นมณฑลที่มีพื้นที่ใหญ่เป็นอันดับ 4 ของจีน ทั้งขนาดพื้นที่และจำนวนประชากร ความหนาแน่น 180/ก.ม. จีดีพี 655.6 พันล้านเหรินหมินปี้ ต่อประชากร 7,510 ชื่อ "เสฉวน" มีความหมายว่า "แม่น้ำสี่สาย" เพราะมณฑลเสฉวนตั้งอยู่บนพื้นที่ของแม่น้ำ 3 สายมาบรรจบกัน คือ แม่น้ำแยงซีเกียง, แม่น้ำหลินเจียง, แม่น้ำจินซางเจียง สภาพอากาศเป็นแบบกึ่งร้อนชื้น สภาพโดยทั่วไปจะมีความชื้นในอากาศสูง สภาพอากาศจึงค่อนข้างครึ้มไม่ค่อยมีแสงแดด โดยในรอบสัปดาห์จะมีแสงแดดหรือเห็นพระอาทิตย์เพียงไม่กี่วัน แต่จะมีหมอกปกคลุมเป็นปกติ จนได้รับฉายาว่า "เมืองในหมอก" หรือ "หมาเห่าพระอาทิตย์" และได้รับการกล่าวขานว่า เพราะสภาพอากาศเป็นเช่นนี้ ผู้หญิงในมณฑลเสฉวนมีผิวสวยที่สุดในประเทศจีน ในทางประวัติศาสตร์เคยเป็นราชธานีก๊กสู่ฮั่นของเล่าปี่และขงเบ้งในสมัยสามก๊ก ปลายราชวงศ์ฮั่น ขงเบ้งได้เลือกเอาเสฉวนเป็นราชธานีของก๊กสู่ เพื่อหมายฟื้นฟูราชวงศ์ฮั่น.

ประเทศจีนและมณฑลเสฉวน · มณฑลเสฉวนและเขตการปกครองของประเทศจีน · ดูเพิ่มเติม »

มณฑลเหลียวหนิง

มณฑลเหลียวหนิง (จีนตัวย่อ: 辽宁省 จีนตัวเต็ม: 遼寧省) ชื่อย่อ เหลียว(辽)ตั้งอยู่ทางตอนใต้ของภาคตะวันออกเฉียงเหนือของจีน ทิศตะวันตกติดเหอเป่ย์ เหนือติดจี๋หลิน มองโกเลียใน ทิศตะวันออกเฉียงใต้มีแม่น้ำยาลู่ว์เจียงกั้นเขตแดนกับประเทศเกาหลีเหนือ ทางใต้เป็นทะเลเหลืองและทะเลป๋อไฮ่ มีเมืองหลวงชื่อ เฉิ่นหยาง มีเนื้อที่ 145,900 ก.ม.

ประเทศจีนและมณฑลเหลียวหนิง · มณฑลเหลียวหนิงและเขตการปกครองของประเทศจีน · ดูเพิ่มเติม »

มณฑลเหอหนาน

หอหนาน ตามสำเนียงกลาง หรือ ห้อหลำ ตามสำเนียงฮกเกี้ยน หรือชื่อย่อ อวี้ และชื่อเดิม จงโจว หรือ จงหยวน เป็นมณฑลในสาธารณรัฐประชาชนจีน ตั้งอยู่ทางตอนกลางเยื้องทางตะวันออกของประเทศ อยู่ทางตอนกลางส่วนล่างของ แม่น้ำเหลือง (หวงเหอ) ซึ่งไหลผ่านเป็นระยะทาง 700 กว่ากิโลเมตร ถือเป็นแหล่งอารยธรรมที่เก่าแก่แห่งหนึ่งของจีน มีเมืองเอกชื่อ เจิ้งโจว (郑州) มีเนื้อที่ 167,000 ตารางกิโลเมตร มีประชากร 97,170,000 คน ความหนาแน่น 582 ต่อตารางกิโลเมตร จีดีพี 881.5 พันล้านเหรินหมินปี้ จีดีพีต่อประชากร 9070 เหรินหมินปี้ ประชากรส่วนใหญ่เป็นชาวฮั่น มณฑลเหอหนานมีประชากรมากที่สุดในประเทศจีน ภูมิประเทศ ทิศตะวันตกเป็นเทือกเขาทอดตัวยาวสลับซับซ้อน อยู่สูงจากระดับน้ำทะเลมากกว่า 1,000 เมตร ทางตะวันออกเป็นพื้นที่ราบ สูงกว่าระดับน้ำทะเลราว 100 เมตร จุดที่สูงที่สุดของมณฑลอยู่ที่ยอดเหล่ายาช่า ในเมืองหลิงเป่า ซึ่งสูงกว่าระดับน้ำทะเลถึง 2413.8 เมตร ภูมิอากาศมีสภาพภูมิอากาศแบบมรสุมเขตร้อนกึ่งอบอุ่น มีฤดู 4 ฤดูอย่างชัดเจน อุณหภูมิเฉลี่ยต่อปี 13-15 องศาเซลเซียส เศรษฐกิจปี 2547 เหอหนันมีมูลค่าผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศเท่ากับ 881,509 ล้านหยวน เพิ่มขึ้นจากปีก่อนหน้า 13.7 % อุตสาหกรรมเหอหนันถือเป็นฐานผลิตพลังงานที่สำคัญ มีธุรกิจถ่านหิน 65 ราย สามารถผลิตถ่านหินได้ปีละประมาณ 100 ล้านตัน เป็นที่ 2 ของจีน.

ประเทศจีนและมณฑลเหอหนาน · มณฑลเหอหนานและเขตการปกครองของประเทศจีน · ดูเพิ่มเติม »

มณฑลเหอเป่ย์

มณฑลเหอเป่ย์ (河北省) ชื่อย่อ จี้(冀)ตั้งอยู่ระหว่างที่ราบสูง มองโกเลียในและที่ราบภาคเหนือของประเทศ เป็นมณฑลที่อยู่ล้อมรอบนครสำคัญคือ ปักกิ่ง และเทียนจินมีเมืองหลวงชื่อ ฉือเจียจวง มีเนื้อที่ 187,700 ก.ม.

ประเทศจีนและมณฑลเหอเป่ย์ · มณฑลเหอเป่ย์และเขตการปกครองของประเทศจีน · ดูเพิ่มเติม »

มณฑลเฮย์หลงเจียง

มณฑลเฮย์หลงเจียง (จีนตัวย่อ: 黑龙江省; จีนตัวเต็ม: 黑龍江省)ชื่อย่อ เฮย (黑)ชื่อ เฮยหลงเจียง มาจากชื่อแม่น้ำสายที่ใหญ่ที่สุดในมณฑล มีเมืองหลวงชื่อว่า ฮาร์บิน ซึ่งตั้งอยู่ในประเทศแมนจูกัว อดีตที่ประเทศถูกญี่ปุ่นเข้ายึดในปี พ.ศ. 2474 มณฑลเฮย์หลงเจียง มีประชากรประมาณ 39 ล้านคน มีเนื้อที่ 454,000 ตาราง ก.ม.

ประเทศจีนและมณฑลเฮย์หลงเจียง · มณฑลเฮย์หลงเจียงและเขตการปกครองของประเทศจีน · ดูเพิ่มเติม »

มณฑลเจียงซู

มณฑลเจียงซู (จีนตัวย่อ: 江苏省 จีนตัวเต็ม: 江蘇省 เจียงซูเฉิ่ง) ชื่อย่อ ‘ซู’ (苏) ตั้งอยู่ตอนกลางของดินแดนชายฝั่งทะเลตะวันออกของประเทศจีน มีเมืองหลวงชื่อว่าหนานจิง มีเนื้อที่ 102,600 ก.ม.มีประชากร ปี 2004 74,330,000 คน จีดีพี 1.54 ล้านล้านเหรินหมินปี้ต่อประชากร 20,700 ประชากรส่วนใหญ่เป็นชาวฮั่น แม่น้ำแยงซีเกียงไหลผ่านส่วนต่าง ๆ ทางใต้ของมณฑล.

ประเทศจีนและมณฑลเจียงซู · มณฑลเจียงซูและเขตการปกครองของประเทศจีน · ดูเพิ่มเติม »

มณฑลเจียงซี

มณฑลเจียงซี หรือเดิมไทยเรียกว่า เกียงซี ชื่อย่อ กั้น(赣)ตั้งอยู่ทางทิศตะวันออก เฉียงใต้ของประเทศจีน บนชายฝั่งตอนใต้ของลุ่มน้ำฉางเจียง (แยงซีเกียง) ตอนล่าง โดยด้านตะวันออกติดกับมณฑลเจ้อเจียง และฝูเจี้ยน ด้านใต้ติดกับกว่างตง ด้านตะวันตกติดกับหูหนัน ด้านเหนือติดกับหูเป่ย และอันฮุย มีเมืองหลวงชื่อ หนันชาง มีเนื้อที่ 166,900 ก.ม.

ประเทศจีนและมณฑลเจียงซี · มณฑลเจียงซีและเขตการปกครองของประเทศจีน · ดูเพิ่มเติม »

มณฑลเจ้อเจียง

มณฑลเจ้อเจียง (จีน: 浙江省 เจ้อเจียงเฉิง Zhejiang) ชื่อย่อ ‘เจ้อ’ (浙)ในหลักฐานไทยแต่เดิมเรียก มณฑลเจ๊เกี๋ยง มีเมืองหลวงชื่อเมืองหางโจว.

ประเทศจีนและมณฑลเจ้อเจียง · มณฑลเจ้อเจียงและเขตการปกครองของประเทศจีน · ดูเพิ่มเติม »

หนานหนิง

หนานหนิง (จ้วง: Namzningz) เป็นเมืองเอกของเขตปกครองตนเองกว่างซีจ้วง ทางภาคใต้ของสาธารณรัฐประชาชนจีน บางครั้งเรียกว่า นครสีเขียว เนื่องจากอุดมไปด้วยพื้นที่สีเขียวจากพรรณพืชเขตร้อน.

ประเทศจีนและหนานหนิง · หนานหนิงและเขตการปกครองของประเทศจีน · ดูเพิ่มเติม »

ฮ่องกง

องกง (Hong Kong; 香港) มีชื่ออย่างเป็นทางการว่า เขตบริหารพิเศษฮ่องกงแห่งสาธารณรัฐประชาชนจีน (Hong Kong Special Administrative Region of the People's Republic of China) เป็นเขตปกครองตนเองริมฝั่งทางใต้ของประเทศจีน ในทางภูมิศาสตร์มีสามเหลี่ยมปากแม่น้ำจูเจียงและทะเลจีนใต้โอบรอบ ฮ่องกงเป็นที่รู้จักในสกายไลน์ (skyline) ขยายและท่าเรือธรรมชาติลึก มีเนื้อที่ 1,104 กม.

ประเทศจีนและฮ่องกง · ฮ่องกงและเขตการปกครองของประเทศจีน · ดูเพิ่มเติม »

ฉงชิ่ง

ฉงชิ่ง หรือ จุงกิง เป็นเขตเทศบาลนคร ตั้งอยู่ภาคตะวันตกเฉียงใต้ของจีน มีพื้นที่ติดกับมณฑลหูเป่ย์ หูหนัน กุ้ยโจว เสฉวนและส่านซี ภายในตัวเมืองมีแม่น้ำไหลพาดผ่านหลายสายเป็นเมืองขนาดใหญ่อันดับ 8 ของจีน มีเนื้อที่ 82,300 ก.ม.² มีประชากร (พ.ศ. 2548) 31,442,300 คน ความหนาแน่น 379/ก.ม.² จีดีพี (2005) (310) พันล้านหยวน รวมต่อประชากร 8,540 พันล้านหยวน ประชากรส่วนใหญ่เป็นชาวฮั่น.

ฉงชิ่งและประเทศจีน · ฉงชิ่งและเขตการปกครองของประเทศจีน · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศไต้หวัน

ประเทศไต้หวัน (Taiwan) หรือชื่อทางการว่า สาธารณรัฐจีน (Republic of China) เป็นรัฐในทวีปเอเชียตะวันออก ปัจจุบันประกอบด้วยเกาะใหญ่ 5 แห่ง คือ จินเหมิน (金門), ไต้หวัน, เผิงหู (澎湖), หมาจู่ (馬祖), และอูชิว (烏坵) กับทั้งเกาะเล็กเกาะน้อยอีกจำนวนหนึ่ง ท้องที่ดังกล่าวเรียกรวมกันว่า "พื้นที่ไต้หวัน" (臺灣地區) ไต้หวันด้านตะวันตกติดกับจีนแผ่นดินใหญ่ ด้านตะวันออกและตะวันออกเฉียงเหนือติดกับญี่ปุ่น และด้านใต้ติดกับฟิลิปปินส์ กรุงไทเปเป็นเมืองหลวง ส่วนไทเปใหม่เป็นเขตปกครองที่จัดตั้งขึ้นใหม่ กินพื้นที่กรุงไทเป และเป็นเขตซึ่งประชากรหนาแน่นที่สุดในเวลานี้ เกาะไต้หวันนั้นเดิมเป็นที่อยู่ของชนพื้นเมือง และมีชาวจีนจากแผ่นดินใหญ่เข้ามาอาศัยร่วมด้วย จนกระทั่งชาววิลันดาและสเปนเดินทางเข้ามาในยุคสำรวจเมื่อศตวรรษที่ 17 และมาตั้งบ้านเรือนกลายเป็นนิคมใหญ่โต ต่อมาในปี 1662 ราชวงศ์หมิงในแผ่นดินใหญ่ถูกราชวงศ์ชิงแทนที่ เจิ้ง เฉิงกง (鄭成功) ขุนศึกหมิง รวมกำลังหนีมาถึงเกาะไต้หวัน และเข้ารุกไล่ฝรั่งออกไปได้อย่างราบคาบ เขาจึงตั้งราชอาณาจักรตงหนิง (東寧) ขึ้นบนเกาะเพื่อ "โค่นชิงฟื้นหมิง" (反清復明) แต่ในปี 1683 ราชวงศ์ชิงปราบปรามอาณาจักรตงหนิงและเข้าครอบครองไต้หวันเป็นผลสำเร็จ ไต้หวันจึงกลายเป็นมณฑลหนึ่งของจีน อย่างไรก็ดี ความบาดหมางระหว่างจีนกับญี่ปุ่นเป็นเหตุให้ญี่ปุ่นได้ไต้หวันไปในปี 1895 ก่อนเสียไต้หวันคืนให้แก่จีนหลังสงครามโลกครั้งที่สอง ช่วงนั้น มีการเปลี่ยนแปลงการปกครองในจีน พรรคชาตินิยม (國民黨) ได้เป็นใหญ่ แต่ไม่นานก็เสียทีให้แก่พรรคสังคมนิยม (共产党) พรรคชาตินิยมจึงหนีมายังเกาะไต้หวัน แล้วสถาปนาสาธารณรัฐจีนขึ้นบนเกาะไต้หวันแยกต่างหากจากสาธารณรัฐประชาชนจีนบนแผ่นดินใหญ่ อย่างไรก็ดี จีนยังคงถือว่า ไต้หวันเป็นมณฑลหนึ่งของตน และไต้หวันเองก็ยังมิได้รับการยอมรับจากนานาชาติว่าเป็นประเทศเอกราชมาจนบัดนี้ ในช่วงทศวรรษ 1980 ถึงต้นทศวรรษ 1990 การเมืองการปกครองสาธารณรัฐจีน (ไต้หวัน) ได้เจริญรุ่งเรืองจนเป็นประชาธิปไตยที่มีพรรคการเมืองหลายพรรคและมีการเลือกตั้งทั่วหน้า อนึ่ง ในช่วงกลางศตวรรษที่ 20 เศรษฐกิจไต้หวันงอกงามอย่างรวดเร็ว ไต้หวันจึงกลายเป็นประเทศพัฒนาแล้ว ทั้งได้ชื่อว่าเป็นหนึ่งในสี่เสือแห่งเอเชีย มีอุตสาหกรรมล้ำหน้า และมีเศรษฐกิจใหญ่โตเป็นอันดับที่ 19 ของโลก อุตสาหกรรมที่ใช้เทคโนโลยีชั้นสูงของไต้หวันยังมีบทบาทสำคัญมากในเศรษฐกิจโลก เป็นเหตุให้ไต้หวันได้เป็นสมาชิกองค์การการค้าโลกและความร่วมมือทางเศรษฐกิจเอเชีย-แปซิฟิก นอกจากนี้ เสรีภาพของสื่อมวลชน เสรีภาพทางเศรษฐกิจ การสาธารณสุข การศึกษา และการพัฒนามนุษย์ในไต้หวันยังได้รับการจัดอยู่ในอันดับสูงด้วยhttp://www.dgbas.gov.tw/public/Data/366166371.pdf.

ประเทศจีนและประเทศไต้หวัน · ประเทศไต้หวันและเขตการปกครองของประเทศจีน · ดูเพิ่มเติม »

ปักกิ่ง

ปักกิ่ง หรือ เป่ย์จิง (จีน:, พินอิน: Běijīng) เป็นเมืองหลวงของสาธารณรัฐประชาชนจีน มีชื่อย่อว่า จิง ตั้งอยู่ที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือของ ที่ราบหวาเป่ย์ ชื่อเดิมคือ จี่ (冀) สมัยวสันตสารท (春秋)และสมัยรณรัฐ (战国)เป็นเมืองหลวงของแคว้นเยียน สมัยราชวงศ์เหลียว เป็นเมืองหลวงรอง ชื่อ เยียนจิง เป็นเมืองหลวงของจีนตั้งแต่สมัยราชวงศ์จิน หยวน หมิง ชิงจนถึง สาธารณรัฐจีน เคยใช้ชื่อจงตู ต้าตู เป่ย์ผิงและเป่ย์จิง โดยมีชื่อเรียกทั้งหมดกว่า 60 ชื่อ เริ่มตั้งเป็นเมืองตั้งแต่ปี 1928 ปัจจุบัน แบ่งเป็น 16 เขตและ 2 อำเภอ เป็นนครที่ขึ้นตรงต่อส่วนกลาง พื้นที่ทั่วกรุงปักกิ่งมีถึง 16,800 ตารางกิโลเมตร ถึงสิ้นปี..

ประเทศจีนและปักกิ่ง · ปักกิ่งและเขตการปกครองของประเทศจีน · ดูเพิ่มเติม »

ไทเป

right แผนที่แสดงที่ตั้งของกรุงไทเปบนเกาะไต้หวัน นครไทเป (ไถเป่ย์ชื่อ) เป็นเมืองหลวงของสาธารณรัฐจีนหรือไต้หวัน ตั้งอยู่ทางตอนเหนือของเกาะไต้หวัน มีประชากรในปี ค.ศ. 2005 จำนวน 2,619,022 คน (ไม่รวมประชากรในเขตนครซินเป่ย์ซึ่งนครซินเป่ย์มีประชากรมากกว่า) นครไทเปเป็นศูนย์กลางการค้าและวัฒนธรรมของไต้หวัน เป็นที่ตั้งรัฐบาล และยังเป็นแหล่งอุตสาหกรรมที่สำคัญของประเทศ เช่น อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ สิ่งทอ เครื่องหนัง จักรยานยนต์ และยังเป็นอู่ต่อเรือด้วย นครไทเปเป็นเขตปกครองตนเองขึ้นตรงต่อรัฐบาลสาธารณรัฐจีน เช่นเดียวกับกรุงเทพมหานครและพัทยาของประเทศไทย นครไทเปอยู่ตรงกลางล้อมรอบด้วยนครซินเป่ย์ แต่มิใช่ส่วนหนึ่งของนครซินเป่ย์ ไทเป.

ประเทศจีนและไทเป · เขตการปกครองของประเทศจีนและไทเป · ดูเพิ่มเติม »

เทียนจิน

ทียนจิน หรือ เทียนสิน (พินอินระบบไปรษณีย์: Tientsin) คือหนึ่งใน 4 เทศบาลนครของจีน เทศบาลนครเทียนจินมีระดับเทียบเท่ากับมณฑลและปกครองจากรัฐบาลกลางโดยตรง พื้นที่ของเทียนจินเป็นเมืองที่มีพื้นที่ใหญ่เป็นอันดับ 3 ในจีนแผ่นดินใหญ่ จัดเป็นเมืองใหญ่อันดับ 3 ของประเทศจีน มีฉายา "เซี่ยงไฮ้ทางเหนือ" เนื่องจากประวัติที่เดิมเคยเป็นเมืองเช่าของตะวันตก การส่งออกอุตสาหกรรมหนัก เป็นเมืองท่าขนาดใหญ่และมีสถาปัตยกรรมแบบตะวันตก.

ประเทศจีนและเทียนจิน · เขตการปกครองของประเทศจีนและเทียนจิน · ดูเพิ่มเติม »

เขตปกครองตนเองกว่างซีจ้วง

ตปกครองตนเองกว่างซีจ้วง หรือ กวางสี หรือ กวางไซ (จ้วง: Gvangjsih Bouxcuengh Swcigih) หรือชื่อย่อว่า กุ้ย (桂; จ้วง: Gvei) เป็นเขตปกครองตนเองระดับจังหวัดตั้งอยู่ทางภาคใต้ของประเทศจีน มีเมืองเอกคือหนานหนิง.

ประเทศจีนและเขตปกครองตนเองกว่างซีจ้วง · เขตการปกครองของประเทศจีนและเขตปกครองตนเองกว่างซีจ้วง · ดูเพิ่มเติม »

เขตปกครองตนเองมองโกเลียใน

ตปกครองตนเองมองโกเลียใน (มองโกล) มีลักษณะพื้นที่แคบยาวพาดตามชายแดนภาคเหนือของจีน กั้นระหว่างจีนกับประเทศมองโกเลียและรัสเซีย มีเมืองหลวงชื่อ ฮูฮอต มีเนื้อที่ 1,183,000 ก.ม.

ประเทศจีนและเขตปกครองตนเองมองโกเลียใน · เขตการปกครองของประเทศจีนและเขตปกครองตนเองมองโกเลียใน · ดูเพิ่มเติม »

เขตปกครองตนเองหนิงเซี่ยหุย

ตปกครองตนเองหนิงเซี่ยหุย (Ningxia Hui Autonomous Region; ชื่อย่อ "หนิง" (宁)) เป็นหนึ่งในห้าเขตปกครองตนเองของจีน ตั้งอยู่ในภาคตะวันตกเฉียงเหนือของจีน ทางตอนบนของแม่น้ำหวงเหอ (แม่น้ำเหลือง) มีเมืองหลวงชื่อ หยินชวน.

ประเทศจีนและเขตปกครองตนเองหนิงเซี่ยหุย · เขตการปกครองของประเทศจีนและเขตปกครองตนเองหนิงเซี่ยหุย · ดูเพิ่มเติม »

เขตปกครองตนเองทิเบต

ตปกครองตนเองทิเบต (ทิเบต:བོད་- โบด์; ซีจ้าง) เป็นเขตปกครองตนเองของประเทศจีน มีเชื้อสายมาจากชาวอินเดีย ชาวทิเบต มีพระเป็นผู้นำของเขตปกครองพิเศษนี้ ชนพวกนี้นับถือศาสนาพุทธนิกายวัชรยาน คล้ายกับประเทศภูฏาน ทิเบตตั้งอยู่บนเทือกเขาหิมาลัย เป็นที่ราบสูงที่สูงที่สุดในโลก จนได้รับฉายาว่า หลังคาโลก ทิเบตมีอากาศที่หนาวเย็นมาก และมีความกดอากาศและอ๊อกซิเจนที่ต่ำ ฉะนั้นผู้ที่จะมาในทิเบตจะต้องปรับสภาพร่างกายก่อน และด้วยเหตุนี้ประชากรที่อาศัยอยู่ในทิเบตจึงน้อย พลเมืองชายของทิเบตกว่าครึ่งบวชเป็นพระ ก่อนจีนจะยึดครองทิเบต ทิเบตมีสามเณริกามากที่สุดในโลก ในทิเบตเคยมีคัมภีร์มากมาย พลเมืองนับถือศาสนาอย่างเคร่งครัด จนได้รับฉายาว่า "แดนแห่งพระธรรม" (land of dharma) ทิเบตมีเมืองหลวงชื่อ ลาซา (Lhasa).

ประเทศจีนและเขตปกครองตนเองทิเบต · เขตการปกครองของประเทศจีนและเขตปกครองตนเองทิเบต · ดูเพิ่มเติม »

เขตปกครองตนเองซินเจียงอุยกูร์

ตปกครองตนเองซินเจียงอุยกูร์ (شىنجاڭ ئۇيغۇر ئاپتونوم رايونى-; 新疆维吾尔自治区) เป็นเขตปกครองตนเองของจีนในภาคตะวันตกเฉียงเหนือของประเทศ เป็นเขตปกครองใหญ่ที่สุดของจีน เป็นเขตการปกครองชาติที่ใหญ่ที่สุดเป็นอันดับ 8 ของโลก กินพื้นที่กว่า 1.6 ล้านตารางกิโลเมตรและเป็นเขตการปกครองที่มีประชากรมากที่สุดติดอันดับหนึ่งในสิบ มีดินแดนพิพาทอักไสชินที่จีนบริหารอยู่ ซินเจียงมีพรมแดนติดต่อกับประเทศรัสเซีย มองโกเลีย คาซัคสถาน คีร์กีซสถาน ทาจิกิซสถาน อัฟกานิสถาน ปากีสถานและอินเดีย นอกจากนี้ยังมีพรมแดนติดต่อกับทิเบต มีน้ำมันสำรองอุดมสมบูรณ์และเป็นภาคที่ผลิตแก๊สธรรมชาติใหญ่ที่สุดของจีน.

ประเทศจีนและเขตปกครองตนเองซินเจียงอุยกูร์ · เขตการปกครองของประเทศจีนและเขตปกครองตนเองซินเจียงอุยกูร์ · ดูเพิ่มเติม »

เซี่ยงไฮ้

ซี่ยงไฮ้ หรือ ช่างไห่ (จีน: 上海, พินอิน: Shànghǎi) เป็นเมืองที่ใหญ่ที่สุดของประเทศจีน ตั้งอยู่บริเวณปากแม่น้ำแยงซี เป็นเขตการปกครองระดับเขตการปกครองพิเศษแบบเทศบาลนคร ซึ่งมีสถานะเทียบเท่ากับมณฑล พื้นที่อยู่ในมณฑลเจ้อเจียงแต่ไม่ได้ขึ้นกับมณฑล การปกครองขึ้นตรงกับรัฐบาลกลาง มีท่าเรือที่มีจำนวนเรือคับคั่งที่สุดในโลก ตามมาด้วยสิงคโปร์และรอตเทอร์ดาม เซี่ยงไฮ้ในอดีตเป็นเพียงหมู่บ้านชาวประมง แต่ในปัจจุบันเซี่ยงไฮ้กลายเป็นเมืองที่มีคนอาศัยอยู่อย่างหนาแน่นมากที่สุดในประเทศจีน เต็มไปด้วยร้านค้า สิ่งก่อสร้าง ถนนเต็มไปด้วยรถ จักรยาน และผู้คน สิ่งที่พบเห็นได้มากในเมืองนี้จนอาจถือได้ว่าเป็นสัญลักษณ์ของเมืองคือต้นเมเปิลที่มีอายุเกือบร้อยปี ซึ่งปลูกโดยในสมัยที่ฝรั่งเศสเข้ามายึดครองเซี่ยงไฮ้.

ประเทศจีนและเซี่ยงไฮ้ · เขตการปกครองของประเทศจีนและเซี่ยงไฮ้ · ดูเพิ่มเติม »

รายการด้านบนตอบคำถามต่อไปนี้

การเปรียบเทียบระหว่าง ประเทศจีนและเขตการปกครองของประเทศจีน

ประเทศจีน มี 198 ความสัมพันธ์ขณะที่ เขตการปกครองของประเทศจีน มี 81 ขณะที่พวกเขามีเหมือนกัน 37, ดัชนี Jaccard คือ 13.26% = 37 / (198 + 81)

การอ้างอิง

บทความนี้แสดงความสัมพันธ์ระหว่าง ประเทศจีนและเขตการปกครองของประเทศจีน หากต้องการเข้าถึงบทความแต่ละบทความที่ได้รับการรวบรวมข้อมูลโปรดไปที่:

Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »