โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ฟรี
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

ประชานศาสตร์และวิทยาศาสตร์

ทางลัด: ความแตกต่างความคล้ายคลึงกันค่าสัมประสิทธิ์การเปรียบเทียบ Jaccardการอ้างอิง

ความแตกต่างระหว่าง ประชานศาสตร์และวิทยาศาสตร์

ประชานศาสตร์ vs. วิทยาศาสตร์

ประชานศาสตร์ หรือ วิทยาการการรู้ หรือ วิทยาการปัญญา หรือ วิทยาศาสตร์พุทธิปัญญา (cognitive science) ความหมายโดยทั่วไปคือการศึกษาทางวิทยาศาสตร์ทั้งเรื่องของความคิดและความฉลาด แต่หากกล่าวอย่างเป็นรูปนัยจะเน้นว่าเป็นการศึกษาด้านสหวิทยาการประกอบด้วย ประชานจิตวิทยา (cognitive psychology) ประสาทจิตวิทยา (neuropsychology) ภาษาศาสตร์ ปรัชญา วิทยาการคอมพิวเตอร์ (เจาะจงเรื่องปัญญาประดิษฐ์) มานุษยวิทยา และ จิตชีววิทยา (psychobiology) หรือสาขาประยุกต์ที่เกี่ยวข้อง ทั้งนี้เพื่อการศึกษาวิจัยภาวะของจิตและกระบวนการที่มนุษย์ควบคุมเปลี่ยนแปรยักย้ายข้อมูลข่าวสาร งานวิจัยในสาขาวิทยาการการรู้ได้ประยุกต์ใช้องค์ความรู้จากหลากหลายสาขาเพื่อศึกษาการทำงานของระหว่างสมองและจิตใจ (brain and mind) ศึกษาวิจัยด้านความสัมพันธ์ระหว่างการคิด อารมณ์ และการกระทำ การเรียนรู้โดยใช้สมองเป็นฐาน (brain-based learning) พฤติกรรม ความผิดปกติทางการเรียน การรับรู้ ความสนใจ การจำ การแก้ปัญหา การคำนวณ การให้เหตุผล และการตัดสินใจ บนพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ เช่น การแปลผลจากการบันทึกคลื่นไฟฟ้าสมอง (EEG) การวิเคราะห์จากถ่ายภาพสมอง (brain imaging) เป็นต้น. วิทยาศาสตร์ คำว่า "วิทยาศาสตร์" มักถูกใช้เพื่อแทนคำว่า "Science" ในภาษาอังกฤษ แต่ถ้าจะกล่าวให้ตรงความหมายแล้ว เราใช้คำว่า "วิทยาศาสตร์" เพื่อหมายถึง "Exact science" ซึ่งไม่รวมสาขาวิชาทางสังคมศาสตร์เอาไว้ แม้ว่าสาขาวิชาทางสังคมศาสตร์จะใช้กระบวนการทางวิทยาศาสตร์เช่นเดียวกัน การแบ่งแยกดังกล่าวมีขึ้นเนื่องจากความแตกต่างในด้านเนื้อหาและธรรมชาติของการศึกษา มิใช่เรื่องของความจริงหรือความถูกต้องแต่อย่างใด คำว่า "Science" ในภาษาอังกฤษจะมีความหมายเทียบเท่ากับคำว่า "ศาสตร์" หมายถึง ความรู้เกี่ยวกับสิ่งต่าง ๆ ในธรรมชาติทั้งที่มีชีวิตและไม่มีชีวิต รวมทั้งกระบวนการประมวลความรู้เชิงประจักษ์ ที่เรียกว่ากระบวนการทางวิทยาศาสตร์ และกลุ่มขององค์ความรู้ที่ได้จากกระบวนการดังกล่าว การศึกษาในด้านวิทยาศาสตร์ยังถูกแบ่งย่อยออกเป็น วิทยาศาสตร์ธรรมชาติ และ วิทยาศาสตร์ประยุกต์ คำว่า science ในภาษาอังกฤษ ซึ่งแปลว่า วิทยาศาสตร์นั้น มาจากภาษาลาติน คำว่า scientia ซึ่งหมายความว่า ความรู้ ในคริสต์ศตวรรษที่ 17 ฟรานซิส เบคอนได้พยายามคิดค้นวิธีมาตรฐานในการอุปนัย เพื่อนำมาใช้สร้างทฤษฎีหรือกฎต่าง ๆ ทางวิทยาศาสตร์จากข้อมูลที่ทดลองหรือสังเกตได้จากธรรมชาติ เป็นผู้ถอนรื้อและปรับปรุงแนวความคิดเกี่ยวกับวิทยาศาสตร์สมัยเก่า ที่ยึดกับแนวความคิดของอริสโตเติลทิ้งไป.

ความคล้ายคลึงกันระหว่าง ประชานศาสตร์และวิทยาศาสตร์

ประชานศาสตร์และวิทยาศาสตร์ มี 4 สิ่งที่เหมือนกัน (ใน ยูเนี่ยนพีเดีย): ภาษาศาสตร์มานุษยวิทยาวิทยาการคอมพิวเตอร์ปรัชญา

ภาษาศาสตร์

ษาศาสตร์ (linguistics) คือ การศึกษาเกี่ยวกับภาษามนุษย์ ผู้ที่ศึกษาในด้านนี้เรียกว่า นักภาษาศาสตร.

ประชานศาสตร์และภาษาศาสตร์ · ภาษาศาสตร์และวิทยาศาสตร์ · ดูเพิ่มเติม »

มานุษยวิทยา

มานุษยวิทยา (anthropology) คือ วิชาที่เกี่ยวกับมนุษย์ มานุษยวิทยา เกิดจาก วิทยาศาสตร์ธรรมชาติ, มนุษยศาสตร์ และสังคมศาสตร.

ประชานศาสตร์และมานุษยวิทยา · มานุษยวิทยาและวิทยาศาสตร์ · ดูเพิ่มเติม »

วิทยาการคอมพิวเตอร์

วิทยาการคอมพิวเตอร์ หรือ วิทยาศาสตร์คอมพิวเตอร์ (Computer science) เป็นศาสตร์เกี่ยวกับการศึกษาค้นคว้าทฤษฎีการคำนวณสำหรับคอมพิวเตอร์ และทฤษฎีการประมวลผลสารสนเทศ ทั้งด้านซอฟต์แวร์ ฮาร์ดแวร์ และ เครือข่าย ซึ่งวิทยาการคอมพิวเตอร์นั้นประกอบด้วยหลายหัวข้อที่เกี่ยวข้องกับคอมพิวเตอร์ ตั้งแต่ระดับนามธรรม หรือความคิดเชิงทฤษฎี เช่น การวิเคราะห์และสังเคราะห์ขั้นตอนวิธี ไปจนถึงระดับรูปธรรม เช่น ทฤษฎีภาษาโปรแกรม ทฤษฎีการพัฒนาซอฟต์แวร์ ทฤษฎีฮาร์ดแวร์คอมพิวเตอร์ และ ทฤษฎีเครือข่าย ในแง่ของศาสตร์เกี่ยวกับคอมพิวเตอร์นั้น วิทยาการคอมพิวเตอร์เป็นหนึ่งในห้าสาขาวิชาคอมพิวเตอร์ ซึ่งประกอบด้วย สาขาวิทยาการคอมพิวเตอร์ หรือวิทยาศาสตรคอมพิวเตอร์ สาขาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ สาขาวิศวกรรมซอฟต์แวร์ สาขาเทคโนโลยีสารสนเทศ หรือเทคโนโลยีสารสนเทศและการสือสาร และ สาขาคอมพิวเตอร์ธุรกิจ หรือ ระบบสารสนเทศทางธุรก.

ประชานศาสตร์และวิทยาการคอมพิวเตอร์ · วิทยาการคอมพิวเตอร์และวิทยาศาสตร์ · ดูเพิ่มเติม »

ปรัชญา

มัยคลาสสิกไว้ในภาพเดียวกัน คำว่า ปรัชญา มีที่มามาจากภาษาสันสกฤต หมายถึงความรู้อันประเสริฐ โดยมีรากศัพท์มาจากคำว่า ปฺร ที่แปลว่าประเสริฐ กับ คำว่า ชฺญา ที่แปลว่ารู้ ซึ่งเป็นศัพท์บัญญัติโดยพระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าวรรณไวทยากร กรมหมื่นนราธิปพงศ์ประพันธ์ แทนคำว่า philosophy ในภาษาอังกฤษ ซึ่งมีรากศัพท์มาจากคำΦιλοσοφία ซึ่งไพธากอรัสเป็นผู้บัญญัติไว้ เมื่อราวศตวรรษที่ 6 ก่อน..

ประชานศาสตร์และปรัชญา · ปรัชญาและวิทยาศาสตร์ · ดูเพิ่มเติม »

รายการด้านบนตอบคำถามต่อไปนี้

การเปรียบเทียบระหว่าง ประชานศาสตร์และวิทยาศาสตร์

ประชานศาสตร์ มี 15 ความสัมพันธ์ขณะที่ วิทยาศาสตร์ มี 117 ขณะที่พวกเขามีเหมือนกัน 4, ดัชนี Jaccard คือ 3.03% = 4 / (15 + 117)

การอ้างอิง

บทความนี้แสดงความสัมพันธ์ระหว่าง ประชานศาสตร์และวิทยาศาสตร์ หากต้องการเข้าถึงบทความแต่ละบทความที่ได้รับการรวบรวมข้อมูลโปรดไปที่:

Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »