โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ติดตั้ง
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

บันไดเสียงเมเจอร์

ดัชนี บันไดเสียงเมเจอร์

ันไดเสียงเมเจอร์ (major scale) หรือ บันไดเสียงไอโอเนียน เป็นบันไดเสียงหนึ่งที่ใช้กันมากที่สุด โดยเฉพาะดนตรีตะวันตก เป็นส่วนหนึ่งของบันไดเสียงไดอาโทนิก สร้างขึ้นจากโน้ต 7 ตัว เหมือนกับบันไดเสียงดนตรีส่วนใหญ่ โน้ตตัวที่แปดเป็นโน้ตตัวที่ซ้ำกับตัวที่หนึ่ง แต่มีความถี่เป็นสองเท่า หรือเรียกว่าออกเทฟที่สูงกว่าของโน้ตเดียวกัน (มาจากภาษาละติน "octavus" แปลว่า ลำดับที่แปด) บันเสียงเมเจอร์ที่ง่ายต่อการเขียนที่สุดคือ ซีเมเจอร์ ซึ่งเป็นบันไดเสียงเมเจอร์ที่ไม่มีชาร์ปหรือแฟลต บันไดเสียงเมเจอร์มีความสำคัญในดนตรียุโรป โดยเฉพาะในเพลงสมัยนิยม.

10 ความสัมพันธ์: บันไดเสียงชาร์ปอังคั่นอ็อกเทฟความถี่ซีเมเจอร์นครนิวยอร์กแฟลต (ดนตรี)โน้ตดนตรีเพลงสมัยนิยม

บันไดเสียง

บันไดเสียง หมายถึง โน้ต 5-12 ตัวที่เรียงกันตามลำดับจากเสียงต่ำไปสูง และจากเสียงสูงไปเสียงต่ำ มีโครงสร้างที่มีการกำหนดช่วงห่าง ของเสียงจากตัวโน้ตหนึ่งไปอีกตัวโน้ตหนึ่งอย่างเป็นระบบ ในแต่ละชนิดของบันไดเสียง ได้แก่ บันไดเสียงเมเจอร์ (major scale) บันไดเสียงไมเนอร์ (minor scale) เป็นต้น บันไดเสียงเป็นตัวกำหนดแนวทางการเคลื่อนของตัวโน้ตในเพลง และสร้างความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันให้กับบทเพลงอีกด้วย หมวดหมู่:ทฤษฎีดนตรี.

ใหม่!!: บันไดเสียงเมเจอร์และบันไดเสียง · ดูเพิ่มเติม »

ชาร์ป

น้ตซีชาร์ป และโน้ตซีดับเบิลชาร์ป บนกุญแจซอล ชาร์ป (sharp) ในทางดนตรี หมายถึง ระดับเสียงที่สูงขึ้นจากปกติ หากจะระบุให้ชัดเจนก็คือ ระดับเสียงที่สูงขึ้นทีละครึ่งเสียง (semitone) เขียนแทนด้วยสัญลักษณ์ เป็นเครื่องหมายแปลงเสียง (accidental) ชนิดหนึ่ง และเนื่องจากสัญลักษณ์ดังกล่าวมีรูปร่างคล้ายกับเครื่องหมายนัมเบอร์ # เครื่องหมายนัมเบอร์จึงถูกเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า ชาร์ป ตัวโน้ตที่ถูกกำกับด้วยชาร์ปจะมีเสียงสูงขึ้นครึ่งเสียง ในบันไดเสียงสากลที่แต่ละอ็อกเทฟ (octave) ห่างกัน 12 ครึ่งเสียง เสียงบีชาร์ปจะเทียบเท่ากับเสียงซีเนเชอรัล และเสียงจีชาร์ปจะเทียบเท่ากับเสียงเอแฟลต เป็นต้น นอกจากนี้ยังมี ดับเบิลชาร์ป (double sharp) คือระดับเสียงสูงขึ้นสองครึ่งเสียง ซึ่งเทียบเท่ากับการยกขึ้นหนึ่งขั้นเสียง เขียนแทนด้วยสัญลักษณ์ พบได้ในโน้ตเพลงที่มีการปรับคีย์ดนตรี และที่พบได้น้อยกว่าคือ ทริเปิลชาร์ป (triple sharp) คือระดับเสียงสูงขึ้นสามครึ่งเสียง เขียนแทนด้วย ในการปรับเสียงเครื่องดนตรี คำว่า ชาร์ป ยังหมายถึง เสียงที่เพี้ยนสูงขึ้นไปจากเดิมเล็กน้อย หากมีเครื่องสายหรือเสียงนักร้องที่แตกต่างกันเล็กน้อย เสียงที่สูงกว่า จะเรียกว่าเสียงชาร์ป เมื่อเทียบกับอีกเสียงหนึ่งซึ่งต่ำกว่า อักขระยูนิโคด '♯' (U+266F) คือเครื่องหมายชาร์ป และ '𝄪' (U+1D12A) คือเครื่องหมายดับเบิลชาร์ป.

ใหม่!!: บันไดเสียงเมเจอร์และชาร์ป · ดูเพิ่มเติม »

อังคั่น

อังคั่น เป็นชื่อเรียกรวมของเครื่องหมายวรรคตอนโบราณ แบ่งเป็นอังคั่นเดี่ยวและอังคั่นคู่ อังคั่นเดี่ยว หรือ คั่นเดี่ยว หรือ ขั้นเดี่ยว (ฯ) เป็นเครื่องหมายวรรคตอนที่นิยมใช้ในหนังสือไทยสมัยโบราณ ใช้เมื่อจบบท ตอน หรือเรื่อง ทั้งคำประพันธ์ร้อยกรองและร้อยแก้ว ใช้สัญลักษณ์เดียวกันกับไปยาลน้อย ปัจจุบันมีอังคั่นเดี่ยวให้เห็นในหนังสือวรรณคดีและตำราเรียนภาษาไทยเท่านั้น อังคั่นคู่ หรือ คั่นคู่ หรือ ขั้นคู่ (๚) เป็นเครื่องหมายวรรคตอนปรากฏในหนังสือไทยโบราณ ใช้ในบทกวีต่างๆ โดยมีไว้ใช้จบตอน นอกจากนี้ยังมีการใช้อังคั่นคู่กับเครื่องหมายอื่น ได้แก่ อังคั่นวิสรรชนีย์ (ฯะ, ๚ะ) ใช้เมื่อจบบทกวี และ อังคั่นวิสรรชนีย์โคมูตร (๚ะ๛) ใช้จบบริบูรณ์ อังคั่นคู่ไม่มีปรากฏบนแป้นพิมพ์ภาษาไทย แต่มีอยู่ในรหัสอักขระ TIS 620 ที่ 0xFA (250) และรหัสยูนิโคดที่ U+0E5A.

ใหม่!!: บันไดเสียงเมเจอร์และอังคั่น · ดูเพิ่มเติม »

อ็อกเทฟ

อ็อกเทฟ (octave) หรือ ขั้นคู่แปดเพอร์เฟกต์ (perfect eighth) มักเขียนย่อเป็น 8ve หรือ P8 คือขั้นคู่เสียง (interval) ที่เทียบจากโน้ตดนตรีตัวหนึ่งไปสู่โน้ตตัวหนึ่งในระดับเสียงที่ต่างกัน ซึ่งโน้ตตัวนั้นมีความถี่เป็นครึ่งหนึ่งหรือเป็นสองเท่าจากโน้ตตัวเดิม และเหตุที่เรียกว่าขั้นคู่แปด เนื่องจากตัวโน้ตสองตัวที่อยู่ห่างกัน 8 ขั้นบนบันไดเสียง (หรือ 12 ครึ่งเสียง) จะเกิดสมบัติดังกล่าว ไม่ว่าจะเป็นบันไดเสียงเมเจอร์หรือบันไดเสียงไมเนอร.

ใหม่!!: บันไดเสียงเมเจอร์และอ็อกเทฟ · ดูเพิ่มเติม »

ความถี่

วามถี่ (frequency) คือจำนวนการเกิดเหตุการณ์ซ้ำในหนึ่งหน่วยของเวลา ความถี่อาจเรียกว่า ความถี่เชิงเวลา (temporal frequency) หมายถึงแสดงให้เห็นว่าต่างจากความถี่เชิงพื้นที่ (spatial) และความถี่เชิงมุม (angular) คาบคือระยะเวลาของหนึ่งวงจรในเหตุการณ์ที่เกิดซ้ำ ดังนั้นคาบจึงเป็นส่วนกลับของความถี่ ตัวอย่างเช่น ถ้าหัวใจของทารกเกิดใหม่เต้นที่ความถี่ 120 ครั้งต่อนาที คาบ (ช่วงเวลาระหว่างจังหวะหัวใจ) คือครึ่งวินาที (นั่นคือ 60 วินาทีหารจาก 120 จังหวะ) ความถี่เป็นตัวแปรสำคัญในวิทยาศาสตร์และวิศวกรรม สำหรับระบุอัตราของปรากฏการณ์การแกว่งและการสั่น เช่น การสั่นของเครื่องจักร โสตสัญญาณ (เสียง) คลื่นวิทยุ และแสง.

ใหม่!!: บันไดเสียงเมเจอร์และความถี่ · ดูเพิ่มเติม »

ซีเมเจอร์

Play) โน้ตรูตมีสองเสียงห่างกันหนึ่งออกเทฟ บันไดเสียงซีเมเจอร์ เป็นบันไดเสียงเมเจอร์ที่ประกอบไปด้วย C, D, E, F, G, A, และ B เครื่องหมายตั้งบันไดเสียงของบันไดเสียงนี้ ไม่มีแฟลต และไม่มีชาร์ป มีไมเนอร์ร่วม คือ เอไมเนอร์ และมีไมเนอร์คู่ขนาน คือ ซีไมเนอร์ บันไดเสียง'''ซีเมเจอร์''' หนึ่งออกเทฟ.

ใหม่!!: บันไดเสียงเมเจอร์และซีเมเจอร์ · ดูเพิ่มเติม »

นครนิวยอร์ก

นครนิวยอร์ก หรือที่นิยมเรียกกันว่า นิวยอร์กซิตี (New York City; NYC) เป็นเมืองใหญ่ที่สุดในสหรัฐอเมริกา เป็นเมืองที่เจริญที่สุดในโลก เป็นมหานครเอกของโลก จัดได้ว่าเป็นศูนย์กลางทางเศรษฐกิจ การเงิน วัฒนธรรม บันเทิง ที่สำคัญที่สุดของโลก เป็นเมืองที่มี ตึกระฟ้า ตึกสูงมาก ตลอดระยะเวลา 150 ปี และยังเป็นที่ตั้งของสำนักงานใหญ่องค์การสหประชาชาติ นิวยอร์กตั้งอยู่บริเวณชายฝั่งมหาสมุทรแอตแลนติก ทางตะวันออกเฉียงเหนือของสหรัฐอเมริกา ประกอบด้วย 5 เขตปกครองที่เรียกว่า โบโรฮ์ (Borough) คือ เดอะบรองซ์ บรูคลิน แมนแฮตตัน ควีนส์ และสแตตัน ไอส์แลนด์ ประชากรรวมทั้งหมดประมาณ 8,274,527 คน ภายในพื้นที่ 790 ตร.กม.

ใหม่!!: บันไดเสียงเมเจอร์และนครนิวยอร์ก · ดูเพิ่มเติม »

แฟลต (ดนตรี)

น้ตเอแฟลต และโน้ตเอดับเบิลแฟลต บนกุญแจซอล ในทางดนตรี แฟลต (flat) หมายถึงระดับเสียงที่ต่ำลงจากปกติ หากจะระบุให้ชัดเจนก็คือ ระดับเสียงที่ต่ำลงทีละครึ่งเสียง (semitone) เขียนแทนด้วยสัญลักษณ์ มีรูปร่างคล้ายกับอักษรตัวเล็ก b เป็นเครื่องหมายแปลงเสียง (accidental) ชนิดหนึ่ง ตัวโน้ตที่ถูกกำกับด้วยแฟลตจะมีเสียงต่ำลงครึ่งเสียง ในบันไดเสียงสากลที่แต่ละอ็อกเทฟ (octave) ห่างกัน 12 ครึ่งเสียง เสียงซีแฟลตจะเทียบเท่ากับเสียงบีเนเชอรัล และเสียงจีแฟลตจะเทียบเท่ากับเสียงเอฟชาร์ป เป็นต้น นอกจากนี้ยังมี ดับเบิลแฟลต (double flat) คือระดับเสียงต่ำลงสองครึ่งเสียง ซึ่งเทียบเท่ากับการลดลงหนึ่งขั้นเสียง เขียนแทนด้วยสัญลักษณ์ พบได้ในโน้ตเพลงที่มีการปรับคีย์ดนตรี และที่พบได้น้อยกว่าคือ ทริเปิลแฟลต (triple flat) คือระดับเสียงต่ำลงสามครึ่งเสียง เขียนแทนด้วย ในการปรับเสียงเครื่องดนตรี คำว่า แฟลต ยังหมายถึง เสียงที่เพี้ยนต่ำลงจากเดิมเล็กน้อย หากมีเครื่องสายหรือเสียงนักร้องที่แตกต่างกันเล็กน้อย เสียงที่ต่ำกว่า จะเรียกว่าเสียงแฟลต เมื่อเทียบกับอีกเสียงหนึ่งซึ่งสูงกว่า อักขระยูนิโคด '♭' (U+266D) คือเครื่องหมายแฟลต และ '𝄫' (U+1D12B) คือเครื่องหมายดับเบิลแฟลต.

ใหม่!!: บันไดเสียงเมเจอร์และแฟลต (ดนตรี) · ดูเพิ่มเติม »

โน้ตดนตรี

น้ต ''เอ'' หรือ ''ลา'' โน้ต ในทางดนตรี มีความหมายได้สองทาง หมายถึง สัญลักษณ์ต่าง ๆ ที่ใช้ในการนำเสนอระดับเสียง และความยาวของเสียง หรือหมายถึงตัวเสียงเองที่เขียนแทนด้วยสัญลักษณ์เหล่านั้น โน้ตดนตรีแต่ละเสียงจะมีชื่อเรียกประจำของมันเองในแต่ละภาษา เช่น โด-เร-มี-ฟา-ซอล-ลา-ที บางครั้งอาจเขียนอักษรละติน A ถึง G แทนโน้ตดนตรี.

ใหม่!!: บันไดเสียงเมเจอร์และโน้ตดนตรี · ดูเพิ่มเติม »

เพลงสมัยนิยม

ลงสมัยนิยม (Popular music) เป็นส่วนหนึ่งของจำนวนแนวเพลงต่าง ๆ ที่ได้รับความสนใจอย่างกว้างขวาง และมักจะมีการกระจายให้กับผู้ชมที่มีขนาดใหญ่ผ่านทางอุตสาหกรรมเพลง เมื่อเปรียบเทียบกับดนตรีศิลปะ และดนตรีพื้นบ้าน ซึ่งได้รับการเผยแพร่ตัวอย่างในทางวิชาการ หรือ สอบสัมภาษณ์จากกลุ่มย่อยจากผู้ชมในท้องถิ่น การใช้คำ Popular แต่เดิมมาจากสมัย ทิม แพน แอลลี (Tin Pan Alley) ในทศวรรษ 1880 ในสหรัฐอเมริกาThe New Grove Dictionary of Music and Musicians, volume 15, p.87 entry Popular music quotation: ถึงแม้ว่าเพลงสมัยนิยมในบางครั้งจะเป็นที่รู้จักใน "เพลงป็อป" (Pop music) สองคำจะไม่สามารถสับเปลี่ยนกันได้ คำว่า Popular music เป็นคำทั่วไปสำหรับเสียงดนตรี ทุกเพศทุกวัย ที่ดึงดูดให้รสนิยมได้เป็นที่นิยม แต่ทว่าเพลงป็อปมักจะอ้างถึงแนวเพลงเป็นพิเศษ.

ใหม่!!: บันไดเสียงเมเจอร์และเพลงสมัยนิยม · ดูเพิ่มเติม »

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »