โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ฟรี
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

บลูส์ร็อกและเดอะโรลลิงสโตนส์

ทางลัด: ความแตกต่างความคล้ายคลึงกันค่าสัมประสิทธิ์การเปรียบเทียบ Jaccardการอ้างอิง

ความแตกต่างระหว่าง บลูส์ร็อกและเดอะโรลลิงสโตนส์

บลูส์ร็อก vs. เดอะโรลลิงสโตนส์

ลูส์ร็อก (Blues-rock) เป็นแนวเพลงผสมผสานระหว่างการแสดงคีตปฏิภาณแบบบลูส์ บนคอร์ดแบบ 12 บาร์บลูส์และการแจมแบบบูกี้กับสไตล์ร็อกแอนด์โรล โดยแกนหลักของบลูส์-ร็อก คือเครื่องดนตรีกีตาร์ไฟฟ้า กีตาร์เบสและกลองชุด ซึ่งกีตาร์ไฟฟ้าจะขยายผ่านตู้แอมไฟฟ้า ให้มีลักษณะรุนแรงมากขึ้น แนวเพลงนี้เริ่มพัฒนาในช่วงกลางคริสต์ทศวรรษ 1960 ในประเทศอังกฤษและสหรัฐอเมริกา ที่ปิเอโร สการัฟฟีเรียกว่า "เป็นแนวเพลงริทึมแอนด์บลูส์ที่เล่นโดยนักดนตรีขาวชาวยุโรป" วงดนตรีอังกฤษอย่างเช่น เดอะฮู, เดอะยาร์ดเบิร์ดส, เลดเซปเพลิน, ดิแอนนิมอลส์, ครีม และเดอะโรลลิงสโตนส์ ได้ทดลองดนตรีดังกล่าวจากศิลปินบลูส์ชาวอเมริกัน อย่าง ฮาวลิน วูล์ฟ, โรเบิร์ต จอห์นสัน, จิมมี ลีดและมัดดี วอเตอร์ส ขณะที่วงบลูส์ร็อกยุคแรก "จะพยายามเล่นเพลงแจ๊ซยาว ๆ ที่มีลักษณะคีตปฏิภาณ อย่างเห็นได้ชัด" โดยคริสต์ทศวรรษ 1970 บลูส์ร็อกเริ่มหนักขึ้นกับเน้นท่อนริฟฟ์"Blues-rock," Allmusic.com (Accessed September 29 2006), และในช่วงต้นคริสต์ทศวรรษ 1970 เส้นแบ่งระหว่างบลูส์ร็อกและฮาร์ดร็อกเกือบจะไม่เห็น วงแนวนี้บันทึกเสียงอัลบั้มแนวร็อก และในคริสต์ทศวรรษ 1980 และ 1990 ก็เริ่มกลับมาที่รากบลูส์เดิม และมีศิลปินอย่าง "เฟบูลัสธันเดอร์เบิร์ดสและสตีวี เรย์ วอแกน สร้างชื่อเสียงวงการร็อกขึ้น". อะโรลลิงสโตนส์ (The Rolling Stones) เป็นวงร็อกอังกฤษ ก่อตั้งวงในปี 1962 ในลอนดอน โดยหัวหน้าวงดั้งเดิม ไบรอัน โจนส์ และนักเปียโน เอียน สจ๊วต ร่วมด้วยนักร้อง มิก แจ็กเกอร์ และมือกีตาร์ คีธ ริชาร์ดส ในช่วงแรกแจ็กเกอร์และริชาร์ดส ร่วมในฐานะผู้ร่วมเขียนเพลง จากนั้นเริ่มนำวงหลังจากเกิดปัญหาและความไม่เอาแน่เอานอนของโจนส์ ต่อจากนั้น มือเบส บิลล์ ไวแมน และมือกลอง ชาร์ลีย์ วัตส์ ก็เข้ามาเป็นสมาชิกในยุคแรก และสจ๊วตรู้สึกว่าไม่เหมาะสมกับการเป็นทีนไอดอล จึงออกจากวงอย่างเป็นทางการเมื่อปี 1963 แต่ยังคงทำหน้าที่เป็นผู้จัดการวงในช่วงออกเดินทางทัวร์ และเป็นมือคีย์บอร์ด จนเขาตายในปี 1985 ในช่วงแรกผลงานส่วนใหญ่จะนำเพลงเก่าในรูปแบบบลูส์อเมริกันและอาร์แอนด์บี มาทำใหม่ หลังจากที่วงประสบความสำเร็จครั้งแรกในสหราชอาณาจักร พวกเขาก็เริ่มประสบความสำเร็จในอเมริกาหลังจากออกรายการ "British Invasion" ในต้นยุคทศวรรษ 1960 วง เดอะโรลลิงสโตนส์มีภาพลักษณ์ที่ขัดกับวงคู่แข่งอย่าง เดอะบีทเทิลส์อย่างเห็นได้ชัดคือ มีภาพลักษณ์เป็นพวกยาวรุงรังและต่อต้านสังคม มีซิงเกิลดังในปี 1965 อย่าง "(I Can't Get No) Satisfaction" และมีผลงานอัลบั้ม Aftermath หลังจากนั้นโจนส์เสียชีวิตในปี 1969 หลังจากถูกไล่ออกจากวง และแทนที่โดย มิก เทย์เลอร์ ซึ่งเทย์เลอร์ร่วมบันทึกเพลงกับวง 5 สตูดิโออัลบั้มก่อนออกจากวงในปี 1974 หลังจากนั้นมือกีตาร์ รอนนีย์ วูด เข้ามาในวง จากนั้นไวแมนออกจากวงในปี 1983 และดาร์รีล โจนส์ เข้ามาเป็นสมาชิกวงอย่างไม่เป็นทางการ เขาทำงานกับวงตั้งแต่ปี 1994 เดอะโรลลิงสโตนส์ ออกสตูดิโออัลบั้มมา 22 อัลบั้มในสหราชอาณาจักร (24 ชุดในสหรัฐอเมริกา) มีอัลบั้มคอนเสิร์ต 8 ชุด (9 ชุดในสหรัฐอเมริกา) และมีอัลบั้มรวมเพลงอีกหลายชุด มียอดขายรวม 200 ล้านชุดทั่วโลก อัลบั้มล่าสุดของพวกเขาคือ A Bigger Bang ออกในปี 2005 และเขายังมีสถิติในชุด Sticky Fingers (1971) ที่ถือเป็นอัลบั้มอันดับ 1 ในสหรัฐอเมริกาอย่างต่อเนื่อง ถึง 8 ชุด นอกจากนี้พวกเขายังมีชื่ออยู่ในร็อกแอนด์โรลฮอลออฟเฟม ในปี 2004 และติดอันดับ 4 ของการจัดอันดับนิตยสารโรลลิงสโตนในหัวข้อ 100 ศิลปินที่เยี่ยมที่สุดตลอดกาล.

ความคล้ายคลึงกันระหว่าง บลูส์ร็อกและเดอะโรลลิงสโตนส์

บลูส์ร็อกและเดอะโรลลิงสโตนส์ มี 2 สิ่งที่เหมือนกัน (ใน ยูเนี่ยนพีเดีย): บลูส์ร็อกแอนด์โรล

บลูส์

ลูส์ (Blues) เป็นรูปแบบของดนตรีประเภทหนึ่ง เกิดจากสภาพชีวิตและความเป็นอยู่ของคนดำที่หลั่งไหลเข้าสู่สหรัฐเพื่อการเป็นทาส สภาพชีวิตที่คับแค้นของพวกเขาได้ถูกนำเสนอผ่านบทเพลงด้วยการร้อง หรือสวดอ้อนวอนในทางศาสนาที่ เป็นท่วงทำนองที่น่าเศร้า อันเป็นเอกลักษณ์ของการร้องและท่วงทำนองที่เกิดจากเครื่องดนตรีที่ไม่มีคุณภาพจากความแร้นแค้น และความรู้ในด้านทฤษฎีดนตรีที่ผิดเพี้ยนไปจากเดิม ทำให้มีเสียงหรือคอร์ดความเพี้ยนซึ่งต่อมาก็ได้สร้างความแปลกหู จนเป็นลักษณะและเอกลักษณ์เฉพาะ ลักษณะสำคัญของเพลงบลูส์คือ การใช้เสียงร้อง หรือเสียงของเครื่องดนตรีที่เพี้ยนจากเสียงในบันไดเสียง ซึ่งเรียกกันว่า เบนท์ หรือ บลูโน้ต และการสไลด์เสียง ปกติเพลงบลูส์เป็นเพลงในอัตราจังหวะ 4/4 ใน 1 วรรคจะมี 12 ห้องเพลง การร้องแต่ละวรรคจะมีการอิมโพรไวเซชั่นไปจากทำนองเดิม เช่นเดียวกับการบรรเลงโดยเครื่องดนตรี ลักษณะเฉพาะของเพลงบลูส์ถูกวางด้วยด้วยรากฐานจากความเจ็บปวดแร้นแค้น ทุกข์ทรมาน ของชีวิต เนื้อเพลง และสำเนียงของบลูส์จึงแฝงความเจ็บปวดคล้ายการสะอึกสะอื้นเวลาร้องให้ จึงใช้แสดงอารมณ์เศร้าได้ดี นอกจากนั้น เรื่องของจังหวะ (rhythm) ของบลูส์ที่โดดเด่นเป็นเอกลักษณ์ และเป็นแบบแผนนำไปสู่ดนตรีรูปแบบอื่นมากมาย เช่น ฟังค์,โซลฟังค์,ริทึ่ม แอนด์ บลูส์, ร็อก แอนด์ โรล เป็นต้น ศิลปินบลูส์ที่น่าสนใจมีด้วยกันในหลายยุค เช่น BB.king ("You Know I Love You," "Woke Up This Morning," "Please Love Me,"), Muddy Waters, Buddy Guy, Stevie Ray Vaughan, Eric Clapton, John Lee Hooker,Jimi Hendrix ที่มาของคำว่า บลูส์ ในภาษาอังกฤษ blues หมายถึง อาการโศกเศร้า ในประโยคเช่น I feel blues.

บลูส์และบลูส์ร็อก · บลูส์และเดอะโรลลิงสโตนส์ · ดูเพิ่มเติม »

ร็อกแอนด์โรล

อลวิส เพรสลีย์ นักร้องร็อกแอนด์โรลที่มีอิทธิพลที่สุดคนนึงในยุคนั้น ร็อกแอนด์โรล (Rock and roll หรือ rock 'n' roll) คือแนวเพลงประเภทหนึ่งที่ได้พัฒนาในสหรัฐอเมริกาตั้งแต่ช่วงปลายยุค 40s จนมาได้รับความนิยมในต้นยุค 50s และได้แพร่ขยายความนิยมไปทั่วโลก ซึ่งในปัจจุบันเราจะเรียกกันสั้นๆว่า "ร็อก" ส่วนเรื่องจังหวะจะเป็นจังหวะ บูกี้ วูกี้ บลูส์ โดยจะทำให้เด๋นโดยจังหวะแบ็ค บีท (Back Beat) ซึ่งต่อมาจะใช้กลองสแนร์ ดนตรีร็อกแอนด์โรลช่วงแรกจะเล่นโดยกีตาร์ไฟฟ้า หนึ่งหรือสองตัว (1 ลีด,1 ริทึม),กีตาร์เบส (หรือดับเบิ้ลเบส),ชุดกลอง ส่วนคีย์บอร์ดจะเป็นส่วนเสริม ร็อกแอนด์โรลในช่วงต้นยุค 50s มักจะใช้แซกโซโฟนนำดนตรี ต่อมาจึงเปลี่ยนมาเป็นกีตาร์ช่วงกลางยุค 50s เปียโนก็ถูกใช้เป็นส่วนสำคัญในดนตรีร็อกแอนด์โรลช่วงกลางยุค 40s ความได้รับความนิยมในดนตรีร็อกแอนด์โรลเป็นอย่างมากได้แพร่กระจายสู่สังคม นอกจากทางด้านดนตรีแล้ว ยังมีผลต่อแฟชั่น ไลฟ์สไตล์ ภาษา ศิลปินที่มีชื่อเสียงอย่างมากคือ เอลวิส เพรสลีย์ ที่สร้างภาพยนตร์และรายการโทรทัศน์ในรูปแบบของร็อกแอนด์โรล ในปี..

บลูส์ร็อกและร็อกแอนด์โรล · ร็อกแอนด์โรลและเดอะโรลลิงสโตนส์ · ดูเพิ่มเติม »

รายการด้านบนตอบคำถามต่อไปนี้

การเปรียบเทียบระหว่าง บลูส์ร็อกและเดอะโรลลิงสโตนส์

บลูส์ร็อก มี 17 ความสัมพันธ์ขณะที่ เดอะโรลลิงสโตนส์ มี 13 ขณะที่พวกเขามีเหมือนกัน 2, ดัชนี Jaccard คือ 6.67% = 2 / (17 + 13)

การอ้างอิง

บทความนี้แสดงความสัมพันธ์ระหว่าง บลูส์ร็อกและเดอะโรลลิงสโตนส์ หากต้องการเข้าถึงบทความแต่ละบทความที่ได้รับการรวบรวมข้อมูลโปรดไปที่:

Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »