โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ดาวน์โหลด
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

น้ำมูกไหลและโรคหวัด

ทางลัด: ความแตกต่างความคล้ายคลึงกันค่าสัมประสิทธิ์การเปรียบเทียบ Jaccardการอ้างอิง

ความแตกต่างระหว่าง น้ำมูกไหลและโรคหวัด

น้ำมูกไหล vs. โรคหวัด

น้ำมูกไหล (Rhinorrhea หรือ Rhinorrhoea) เป็นอาการที่โพรงจมูกเกิดการอุดตันจากเมือกจำนวนหนึ่งและมักจะเกิดได้บ่อย น้ำมูกไหลเป็นอาการทั่วไปที่เกิดจากภูมิแพ้ (เยื่อจมูกอักเสบจากภูมิแพ้) หรืออาจเกิดจากโรคอื่นๆที่เป็นอยู่ อาทิ โรคหวัด หรืออาจมีสาเหตุจากอาการอื่นๆ อาทิ น้ำมูกไหลจากการร้องไห้, ร่างกายปรับอุณหภูมิไม่ทัน, การเสพโคเคนหรือการเลิกใช้สารจำพวกโอปิออยด์เช่นเมทาโดน อาการน้ำมูกไหลไม่จำเป็นต้องได้รับการรักษาเสมอไปเนื่องจากไม่ใช่อาการเจ็บป่วยและสามารถหายได้เอง แต่ก็มีวิธีรักษาให้หายอยู่ในกรณีที่มีการอักเสบหรือติดเชื้อ. อหอยส่วนจมูกอักเสบเฉียบพลัน หรือโรคเยื่อจมูกและลำคออักเสบเฉียบพลัน (Acute nasopharyngitis) เรียกโดยทั่วไปว่า โรคหวัด หรือ ไข้หวัด (Common cold) เป็นโรคติดเชื้อไวรัสในทางเดินหายใจส่วนบนที่กระทบต่อจมูกเป็นหลัก อาการของโรคมีทั้งไอ เจ็บคอ น้ำมูกไหล และไข้ซึ่งมักหายไปเองในเจ็ดถึงสิบวัน แต่บางอาการอาจอยู่ได้นานถึงสามสัปดาห์ ไวรัสกว่า 200 ชนิดเป็นสาเหตุของโรคหวัด โดยไรโนไวรัสเป็นชนิดที่พบบ่อยที่สุด การติดเชื้อทางเดินหายใจส่วนบนจำแนกได้หลวม ๆ ตามบริเวณที่ได้รับผลจากไวรัส โดยโรคหวัดกระทบต่อจมูก คอหอย (คอหอยอักเสบ) และโพรงจมูก (โพรงจมูกอักเสบ) เป็นหลัก ส่วนใหญ่อาการเกิดจากภูมิคุ้มกันของร่างกายตอบสนองต่อการติดเชื้อมากกว่าการทำลายเนื้อเยื่อจากไวรัสเอง การล้างมือเป็นวิธีการป้องกันหลัก และหลักฐานบางชิ้นสนับสนุนประสิทธิภาพของการสวมหน้ากากอนามัย โรคหวัดไม่มีวิธีรักษาจำเพาะ แต่สามารถรักษาอาการได้ โรคหวัดเป็นหนึ่งในโรคติดต่อที่พบบ่อยที่สุดในมนุษย์ และอยู่คู่กับมนุษยชาติมาแต่โบราณ ผู้ใหญ่ติดโรคหวัดโดยเฉลี่ยสองถึงสามครั้งต่อปี ขณะที่เด็กโดยเฉลี่ยติดโรคหวัดระหว่างหกถึงสิบสองครั้งต่อปี.

ความคล้ายคลึงกันระหว่าง น้ำมูกไหลและโรคหวัด

น้ำมูกไหลและโรคหวัด มี 0 สิ่งที่เหมือนกัน (ใน ยูเนี่ยนพีเดีย)

รายการด้านบนตอบคำถามต่อไปนี้

การเปรียบเทียบระหว่าง น้ำมูกไหลและโรคหวัด

น้ำมูกไหล มี 7 ความสัมพันธ์ขณะที่ โรคหวัด มี 42 ขณะที่พวกเขามีเหมือนกัน 0, ดัชนี Jaccard คือ 0.00% = 0 / (7 + 42)

การอ้างอิง

บทความนี้แสดงความสัมพันธ์ระหว่าง น้ำมูกไหลและโรคหวัด หากต้องการเข้าถึงบทความแต่ละบทความที่ได้รับการรวบรวมข้อมูลโปรดไปที่:

Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »