โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ฟรี
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

ธุดงค์

ดัชนี ธุดงค์

'''ธุดงค์''' หมายถึงข้อถือวัตรปฏิบัติเพื่อขัดเกลากิเลส 13 ข้อ ของพุทธศาสนิกชน ซึ่งไม่ได้หมายเฉพาะแค่การถือกลดออกเดินจาริกไปยังป่าเขาเพื่อวิเวกของพระสงฆ์อย่างเดียวเท่านั้น ปัจจุบันคำว่าธุดงค์ในประเทศไทยถูกใช้ในความหมายว่าเป็นการเดินจาริกของพระสงฆ์ หรือ การเดินธุดงค์ ซึ่งแตกต่างจากความหมายเดิมในพระไตรปิฎก การถือธุดงค์ตามความหมายในพระไตรปิฎกสามารถเลือกสมาทานได้ โดยไม่จำเป็นต้องยึดติดกับรูปแบบการเดินถือกรดบาตรไปที่ต่าง ๆ เช่น การถืออรัญญิกังคะ (อยู่ป่า) โสสานิกังคะ (อยู่ป่าช้า) เพราะธุดงค์เป็นแนวทางเอื้อให้ผู้ปฏิบัติได้มีความวิเวกปราศจากความวุ่นวายจากสังคม เพื่อมุ่งต่อการปฏิบัติธรรมทางจิตอย่างเข้มงวด การจาริกของพระสงฆ์ในประเทศไทย มักเข้าใจปะปนกับคำว่า ธุดงค์ ทั้งนี้เนื่องจากบางข้อของธุดงควัตร เช่น อรัญญิกังคะ หมายถึงการอยู่ในบริเวณป่า ทำให้พระสงฆ์ที่ถือธุดงค์ข้อนี้จะต้องเดินทางไปหาที่วิเวกในบริเวณป่าและไม่อยู่ติดที่เป็นเวลานาน ธุดงค์ (ธุตงฺค, Dhutanga) เป็นวัตรปฏิบัติที่พระพุทธเจ้าทรงอนุญาตไว้ แต่ไม่มีการบังคับ แล้วแต่ผู้ใดจะสมัครใจปฏิบัติพระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๙ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๒๑ ขุททกนิกาย มหานิทเทส ทุฏฐัฏฐกสุตตนิทเทสที่ ๓. พระไตรปิฎกฉบับสยามรั.

31 ความสัมพันธ์: บังสุกุลบาตรบิณฑบาตพระพุทธเจ้าพระมหากัสสปะพระราชวุฒาจารย์ (ดูลย์ อตุโล)พระราชนิโรธรังสีคัมภีรปัญญาวิศิษฏ์ (เทสก์ เทสรังสี)พระสงฆ์พระนาลกะพระไตรปิฎกพุทธศักราชกิเลสกุฏิภิกษุวัดวิหารศีลสบงสมาธิสมาทานสักการะสังฆาฏิสันโดษอรรถกถาอาบัติจาริกประเทศไทยนิมนต์โยชน์ไตรจีวรเสนาสนะ

บังสุกุล

ังสุกุล แปลว่า ฝั่งแห่งฝุ่น, กองฝุ่น, คลุกฝุ่น, เปื้อนฝุ่น เป็นคำใช้เรียกผ้าที่ภิกษุชักจากศพ หรือผ้าที่ทอดไว้หน้าศพ หรือผ้าที่ทอดไว้บนด้ายสายสิญจน์ หรือผ้าภูษาโยงที่ต่อมาจากศพด้วยการพิจารณากรรมฐานว่า ผ้าบังสุกุล โดยเรียกกริยาที่พระชักผ้าหรือพิจารณาผ้าเช่นนั้นว่า ชักผ้าบังสุกุล หรือ พิจารณาผ้าบังสุกุล คำว่า "บังสุกุล" นั้น มาจากคำภาษาบาลีว่า ปํสุ (อ่านว่า ปัง-สุ) แปลว่า ฝุ่น และคำว่า กูล (อ่านว่า กู-ละ) แปลว่า เปื้อน, คลุก สมาสคำทั้งสองเข้าด้วยบทวิเคราะห์เป็น ปํสุกูล (อ่านว่า ปัง-สุ-กู-ละ) แปลว่า ผ้าที่เปื้อนฝุ่น เมื่อมาเป็นคำไทย เปลี่ยน "ปอ ปลา" เป็น "บอ ใบไม้" รัสสะ "สระ อู" ให้สั้นลง เป็น "อุ" และปรับเสียงเป็นรูปแบบภาษาไทยที่มีตัวสะกด เป็น บังสุกุล อ่านว่า บัง-สุ-กุน ดังนั้นคำว่า "บังสุกุล" จึงต้องเขียนว่า บังสุกุล เท่านั้น ไม่สามารถเขียนเป็นอย่างอื่นได้ หากเขียนเป็น บังสกุล ถือเป็นคำที่เขียนผิด อันเกิดจากการเทียบเคียงผิดกับคำว่า สกุล ที่หมายถึง ตระกูลวงศ์ ในสมัยพุทธกาลภิกษุต้องแสวงหาผ้าที่เขาทิ้งแล้วจากกองขยะหรือจากป่าช้ามาทำจีวรใช้ ผ้าเหล่านั้นส่วนใหญ่จะเปื้อนฝุ่นหรือสกปรก จึงเรียกว่าบังสุกุล.

ใหม่!!: ธุดงค์และบังสุกุล · ดูเพิ่มเติม »

บาตร

ตรพระ บาตรเป็นหนึ่งในอัฐบริขาร เป็นของที่พระภิกษุและสามเณรใช้ในการบิณฑบาต.

ใหม่!!: ธุดงค์และบาตร · ดูเพิ่มเติม »

บิณฑบาต

ระพุทธรูปคันธาระ ปางทรงบาตร บิณฑบาต (อ่านว่า บิน-ทะ-บาด) เป็นภาษาบาลี มาจากคำว่า ปิณฺฑ + ปาต แปลว่า การตกลงแห่งก้อนข้าว โดยทั่วไปคำนี้หมายถึงกิจวัตรของพระภิกษุสงฆ์และสามเณรในพระพุทธศาสนา ในการออกเดินถือบาตรรับการถวายภัตตาหารหรือสิ่งของจากชาวบ้านในเวลาเช้า เรียกว่าการออกบิณฑบาต การออกบิณฑบาตของพระภิกษุเป็นกิจวัตรที่พระพุทธเจ้าทรงกำหนดไว้ให้เป็นหน้าที่ของพระภิกษุสามเณรมาตั้งแต่สมัยพุทธกาล โดยพระพุทธองค์ทรงสรรเสริญการบิณฑบาตว่าเป็นกิจอันประเสริฐ หรือในสามัญเรียกว่าการโปรดสัตว์ เพราะการออกบิณฑบาตนั้นนับว่าเป็นการเผยแผ่พระศาสนาทางหนึ่งด้วย ดังในสมัยพุทธกาลที่พระภิกษุสงฆ์จะเทศนาโปรดแก่บรรดาชาวบ้านซึ่งมาร่วมทำบุญ อันเป็นต้นเหตุแห่งการสวดให้พรหลังภัตตกิจในปัจจุบันนี้.

ใหม่!!: ธุดงค์และบิณฑบาต · ดูเพิ่มเติม »

พระพุทธเจ้า

ระสัมมาสัมพุทธเจ้า หรือ พระพุทธเจ้า เป็นพระสมัญญานามที่ใช้เรียกพระบรมศาสดาของศาสนาพุทธ พระพุทธศาสนาทั้งฝ่ายเถรวาทและมหายานต่างนับถือพระพุทธเจ้าว่าเป็นศาสดาของตนเหมือนกันแต่รายละเอียดปลีกย่อยต่างกัน ฝ่ายเถรวาทให้ความสำคัญกับพระพุทธเจ้าพระองค์ปัจจุบันคือ "พระโคตมพุทธเจ้า" ซึ่งเชื่อว่าเป็นพระองค์ที่ 4 ในภัทรกัปนี้ และมีกล่าวถึงพระพุทธเจ้าในอดีตกับในอนาคตบ้างแต่ไม่ให้ความสำคัญเท่า ฝ่ายมหายานนับถือพระพุทธเจ้าของฝ่ายเถรวาททั้งหมดและเชื่อว่านอกจากพระพุทธเจ้า 28 พระองค์ ที่ระบุในพุทธวงศ์ของพระไตรปิฎกภาษาบาลีแล้ว ยังมีพระพุทธเจ้าอีกมากมายเพิ่มเติมขึ้นมาจากตำนานของเถรวาท ผู้ปรารถนาจะเป็นพระพุทธเจ้าต้องบำเพ็ญบารมีเป็นพระโพธิสัตว์ก่อน เมื่อบารมีเต็มแล้วจึงจะได้ตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้าในชาติสุดท้าย พระพุทธเจ้าทุกพระองค์มีลักษณะพิเศษตรงกันคือ เป็นมนุษย์เพศชายเกิดในวรรณะกษัตริย์หรือพราหมณ์ พระวรกายสมบูรณ์ด้วยมหาปุริสลักขณะ ก่อนออกผนวชจะอภิเษกสมรสมีพระโอรสพระองค์หนึ่ง หลังจากนั้นทรงพบเทวทูตทำให้ตัดสินใจออกผนวช วันออกผนวชจะตรงกับวันเพ็ญเดือนอาสาฬหะ ตามคัมภีร์ฝ่ายพุทธ ถือกันว่าพระโคตมพุทธเจ้าดำรงพระชนม์ชีพอยู่ระหว่าง 80 ปีก่อนพุทธศักราช จนถึงเริ่มพุทธศักราชซึ่งเป็นวันปรินิพพาน ตรงกับ 543 ปีก่อนคริสตกาลตามตำราไทยอ้างอิงปฏิทินสุริยคติไทยและปฏิทินจันทรคติไทย และ 483 ปีก่อนคริสตกาลตามปฏิทินสากล.

ใหม่!!: ธุดงค์และพระพุทธเจ้า · ดูเพิ่มเติม »

พระมหากัสสปะ

ระมหากัสสปะ เป็นพระอรหันต์สาวกองค์หนึ่งของพระโคตมพุทธเจ้า เป็นเอตทัคคะที่ทรงยกย่องและให้ถือเป็นแบบอย่างในด้านผู้ทรงธุดงค์และสรรเสริญคุณแห่งธุดงค์, พระสุตตัตนตปิฎก อังคุตตรนิกาย เอกกนิบาต ๑. เอตทัคควรรค ๑. ปฐมวรรค ภายหลังที่พระพุทธเจ้าปรินิพพาน ท่านได้เป็นประธานในการสังคายนาครั้งที่หนึ่งในศาสนาพุท.

ใหม่!!: ธุดงค์และพระมหากัสสปะ · ดูเพิ่มเติม »

พระราชวุฒาจารย์ (ดูลย์ อตุโล)

ระราชวุฒาจารย์ หรือ หลวงปู่ดูลย์ อตุโล เป็นพระภิกษุฝ่ายวิปัสสนาธุระ ชาวสุรินทร์ ศิษย์ของพระอาจารย์มั่น ภูริทตฺโต หลวงปู่กับพระบรมวงศานุวง.

ใหม่!!: ธุดงค์และพระราชวุฒาจารย์ (ดูลย์ อตุโล) · ดูเพิ่มเติม »

พระราชนิโรธรังสีคัมภีรปัญญาวิศิษฏ์ (เทสก์ เทสรังสี)

ระราชนิโรธรังสีคัมภีรปัญญาวิศิษฏ์ หรือ หลวงปู่เทสก์ เทสรังสี เป็นพระภิกษุฝ่ายวิปัสสนาธุระสายหลวงปู่มั่น ภูริทตฺโต ที่มีชื่อเสียง.

ใหม่!!: ธุดงค์และพระราชนิโรธรังสีคัมภีรปัญญาวิศิษฏ์ (เทสก์ เทสรังสี) · ดูเพิ่มเติม »

พระสงฆ์

ระสงฆ์ หมายถึง หมู่สาวกของพระพุทธเจ้า ผู้ซึ่งฟังคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้าแล้วเลื่อมใส สละเรือนออกบวช ถือวัตร ปฏิบัติ ตามพระธรรมวินัยที่พระบรมศาสดาสั่งสอนและกำหนดไว้ พระสงฆ์ จัดเป็นหนึ่งในพระรัตนตรัย ซึ่งได้แก่ พระพุทธเจ้า พระธรรม และพระสงฆ์ โดยพระสงฆ์ในพระรัตนตรัยหมายถึงเฉพาะพระอริยสงฆ์ คือบุคคลไม่ว่าคฤหัสถ์หรือนักบวช และไม่ว่ามนุษย์หรือเทวดา ที่ปฏิบัติธรรมจนได้บรรลุมรรคผล แต่โดยทั่วไปมักเข้าใจว่าพระสงฆ์คือภิกษุหรือภิกษุณี คือมนุษย์ที่ได้ฟังคำสั่งสอนแล้วเกิดความเลื่อมใสจนสละเรือนออกบวชตามพระพุทธเจ้า เพราะต้องการจะได้บรรลุธรรมตามพระพุทธเจ้าสั่งสอนไว้ ถือเป็นนักบวชในพระพุทธศาสนา พระภิกษุปฏิบัติตามสิกขาบทที่กำหนดไว้จำนวน 227 ข้อ ส่วนพระภิกษุณีรักษาสิกขาบท 311 ข้อ บางครั้งเรียกว่าสงฆ์ ภิกษุรูปแรกในพระศาสนาของพระโคตมพุทธเจ้าคือพระอัญญาโกณฑัญญ.

ใหม่!!: ธุดงค์และพระสงฆ์ · ดูเพิ่มเติม »

พระนาลกะ

ระนาลกเถระ หรือ พระนาลกะ เป็นพระภิกษุสาวกเอตทัคคะของพระพุทธเจ้า นับเนื่องในพระอสีติมหาสาวก 80 องค์สำคัญในพระพุทธศาสนาในสมัยพุทธกาล.

ใหม่!!: ธุดงค์และพระนาลกะ · ดูเพิ่มเติม »

พระไตรปิฎก

ระไตรปิฎก (Tipiṭaka; त्रिपिटक) เป็นคัมภีร์ที่บันทึกคำสอนของพระโคตมพุทธเจ้า ไตรปิฎก แปลว่า ตะกร้า 3 ใบ เพราะเนื้อหาแบ่งเป็น 3 หมวดใหญ่ ๆ คือ.

ใหม่!!: ธุดงค์และพระไตรปิฎก · ดูเพิ่มเติม »

พุทธศักราช

ทธศักราช ย่อว.. เป็นศักราชที่เริ่มนับเมื่อพระโคตมพุทธเจ้าปรินิพพาน ในประเทศไทยเริ่มนับเมื่อปรินิพพานแล้ว 1 ปี แต่ในเช่น ในประเทศไทยเป็นปี..

ใหม่!!: ธุดงค์และพุทธศักราช · ดูเพิ่มเติม »

กิเลส

กิเลส (กิเลส; क्लेश เกฺลศ) หมายถึง สภาพที่ทำให้จิตเศร้าหมอง.

ใหม่!!: ธุดงค์และกิเลส · ดูเพิ่มเติม »

กุฏิ

กุฏิ หรือ กุฎี (อ่านว่า กุด หรือ กุดติ) แปลว่า กระต๊อบ, กระท่อม, โรงนา ใช้ว่า กุฏี ก็ได้ เรียกเพี้ยนไปว่ากฎิ ก็มี (กฎิ แปลว่า สะเอว) หมายถึงอาคารที่เป็นโรงเรือนหรือตึกอันเป็นที่อยู่พำนักอาศัยของภิกษุสามเณร ใช้เป็นศัพท์เฉพาะในพระพุทธศาสนา กุฏิ สมัยก่อนจะแยกกันเป็นหลัง ๆ อยู่รวมกันหลาย ๆ หลัง เช่น กุฏิเรือนไทย เรียกว่า กุฏิหมู่ หรือ หมู่กุฏิ บางแห่งสร้างเป็นหลายชั้นและหลายห้อง เรียกว่า กุฏิแถว สำหรับกุฏิที่ประทับของพระพุทธเจ้ามีชื่อเรียกเป็นพิเศษว่า พระคันธกุฎี เพราะมีกลิ่นหอมอยู่ตลอดเวลา กุฏิที่อยู่อาศัย พุทธบัญญัติเดิมกําหนดขนาดของ กุฏิให้พอดีที่พระภิกษุรูปเดียวจะอาศัยอยู่ได้สะดวก มีเนื้อที่กําหนดความยาว ๑๒ คืบพระสุคต และกว้าง ๗ คืบพระสุคต คือ ประมาณ ๓.๐๐ เมตร x ๑.๗๕ เมตร ตามมาตราส่วนปัจจุบันจะเห็นได้ว่า ขนาดตามที่กําหนดไว้นี้กําหนดเพื่อการอยู่อาศัย โดยแท้จริงมิใช่เพื่อสะสมสิ่งใดๆด้วยเลยตัวอย่างเช่นกุฏิที่ใช้ ในการปฏิบัติวิปัสสนาโดยทั่วไปในปัจจุบัน การที่พระภิกษุแต่ละรูปจะมีกุฏิอยู่อาศัยเองได้นั้น จะต้องประกาศต่อสาธารณะว่าจะทํากุฏิอยู่อาศัยอยู่ถึง ๓ ครั้ง หากไม่มีผู้ใดคัดค้านกรรมสิทธิ์ในที่ดินจึงจะทํากุฏิอยู่ได้ ที่มีพุทธบัญญัติให้กระทํา ดังนี้ก็เพื่อมิให้พระภิกษุล่วงละเมิด ที่ดินที่เป็นทรัพย์สินกรรมสิทธิ์ของผู้อื่น หรือพระภิกษุ อาจเข้าอยู่อาศัยในที่ที่มีผู้สละแบ่งให้ก็ได้ เช่นในเรือนที่พระภิกษุจะต้องอยู่รวมกันหลายๆ รูป แต่การอยู่อาศัยรวมกันนั้น ก็จะต้องมีการกำหนด แบ่งเขตให้เป็นสัดส่วนเฉพาะของภิกษุแต่ละรูป เขตเฉพาะตนดังกล่าวนี้เรียกว่า เขตของการครองผ้าไตรจีวร เขตนี้มีเครื่องล้อมบังเป็นที่หมายกำหนด แต่ถ้าไม่มีเครื่องล้อมบัง จะถือเอากำหนดหัตถบาสที่มีระยะหนึ่งศอกโดยรอบตัวเป็นเขตกำหนด หรือเป็นป่าก็อนุญาตให้อย่างมาก ๗ อัพภันดรโดยประมาณ คือในวงรอบ ๙๘ เมตร เป็นเขตครองผ้าไตรจีวร เขตครองผ้าไตรจีวร หมายถึง เขตที่พระภิกษุ จะต้องรักษาเครื่องนุ่งห่มที่เรียกว่าไตรจีวร (ผ้านุ่ง ผ้าห่ม และผ้าพาดไหล่) ไว้กับตัวเฉพาะในเวลากลางคืน จนกว่าจะถึงเวลาเช้า แม้ในเวลานอนก็จะต้องรักษาไตรจีวรไว้ใกล้ตัว หากพระภิกษุละทิ้งให้ไตรจีวรอยู่ห่างจากตัว แม้ระยะห่างเกินกว่าหัตถบาสรอบตัว ก็ถือว่าขาดจากความเป็นเจ้าของ จะต้องประกาศความเป็นเจ้าของกับพระภิกษุรูปอื่นใหม่ เพื่อให้เป็นพยานจึงนำมานุ่งห่มได้อีก การที่มีบัญญัติเช่นนี้ ก็เพื่อให้มีการรู้จักระมัดระวังข้าวของของตน ไม่ให้ถูกลักขโมยได้ง่าย ลักษณะอาคารที่ใช้สอยในเขตสังฆวาสนี้ ไม่มีข้อกำหนดว่า จะต้องเป็นรูปหรือทรวดทรงอย่างไร ตามที่ปฏิบัติกันมานั้น กุฏิส่วนมากก็มีลักษณะดังเรือนราษฎรอยู่อาศัย เพราะพระภิกษุก็คือราษฎรที่มาบวชนั่นเอง แต่ถ้าจะมีการกำหนดจำแนกแล้ว กุฏิที่พระสงฆ์อยู่อาศัยอาจมีได้ดังนี้ ๑.ภิกษุสร้างขึ้นเองโดยวิธีประกาศหาที่ที่ไม่มีผู้คัดค้าน และอยู่ในขนาดที่มีพุทธานุญาต.

ใหม่!!: ธุดงค์และกุฏิ · ดูเพิ่มเติม »

ภิกษุ

กษุ หรือ พระภิกษุ (บาลี: ภิกขุ; สันสกฤต: ภิกษุ) เป็นคำใช้เรียก "นักบวชชาย" ในพระพุทธศาสนาโดยเฉพาะ คู่กับภิกษุณี (นักบวชหญิง) คำว่า ภิกษุ เป็นศัพท์เฉพาะในพระพุทธศาสนา เป็นศัพท์บัญญัติที่ใช้เรียกนักบวชชายในพระพุทธศาสนาโดยเฉพาะ ไม่สาธารณะทั่วไปสำหรับทุกศาสนา มีความหมายว่า ผู้ขอ (ขออาหาร เป็นต้น) และสามารถแปลว่า ผู้เห็นภัยในวัฏฏสงสาร ก็ได้ ดังรูปวิเคราะห์ว่า "วฏฺฏสํสาเร ภยํ อิกฺขตีติ ภิกฺขุ" ในประเทศไทยและประเทศลาว มีคำเรียกภิกษุเถรวาทว่า "พระ" แปลว่าผู้ประเสร.

ใหม่!!: ธุดงค์และภิกษุ · ดูเพิ่มเติม »

วัด

วัด, อาวาส หรือ อาราม คือคำเรียก ศาสนสถานของศาสนาพุทธในประเทศไทย กัมพูชา และลาว เป็นที่อยู่ของภิกษุ และประกอบศาสนกิจของพุทธศาสนิกชน ภายในวัดมีวิหาร อุโบสถ ศาลาการเปรียญ กุฎิ เมรุ ซึ่งใช้สำหรับประกอบศาสนพิธีต่าง ๆ เช่น การเวียนเทียน การสวดมนต์ การทำสมาธิ วัดโดยส่วนใหญ่นิยมแบ่งเขตภายในวัดออกเป็นสามส่วนคือ พุทธาวาส สังฆาวาส และสัตวาส โดยส่วนพุทธาวาสจะเป็นที่ตั้งของสถูปเจดีย์ อุโบสถ สถานที่ประกอบกิจกรรมทางพระพุทธศาสนา ส่วนสังฆาวาส จะเป็นส่วนกุฎิสงฆ์สำหรับภิกษุสามเณรจำพรรษา ส่วนสัตวาสเป็นส่วนที่อนุญาตให้พุทธศาสนิกชนนำสัตว์เลี้ยงมาปล่อยเพื่อให้วัด และพระภิกษุสงฆ์สามเณรได้เลี้ยงดู และในปัจจุบันแทบทุกวัดจะเพิ่มส่วนฌาปนสถานเข้าไปด้วย เพื่อประโยชน์ในด้านการประกอบพิธีทางศาสนาของชุมชน เช่น การฌาปนกิจศพ โดยในอดีตส่วนนี้จะเป็นป่าช้า ซึ่งอยู่ติดหรือใกล้วัด ตามธรรมเนียมของแต่ละท้องถิ่น ซึ่งส่วนใหญ่กลุ่มฌาปนสถานในวัดพุทธศาสนาในประเทศไทยจะตั้งอยู่บนพื้นที่ ๆ เป็นป่าช้าเดิม.

ใหม่!!: ธุดงค์และวัด · ดูเพิ่มเติม »

วิหาร

วิหาร คืออาคารที่ประดิษฐานพระพุทธรูปคล้ายเป็นที่ประทับของพระพุทธเจ้า คู่กับอุโบสถ แต่ไม่มีวิสุงคามเหมือนพระอุโบสถ คำว่า วิหาร แต่เดิมใช้ในความหมายว่า วัด เช่นเดียวกับคำว่า อาราม อาวาส เช่น เวฬุวัน วิหาร เชตวันมหาวิหาร วิหารมีหลายแบบ เช่น.

ใหม่!!: ธุดงค์และวิหาร · ดูเพิ่มเติม »

ศีล

ีล (บาลี: สีล) คือข้อปฏิบัติตนขั้นพื้นฐานในทางพระพุทธศาสนา เพื่อควบคุมความประพฤติทางกายและวาจาให้ตั้งอยู่ในความดีงามมีความปกติสุข เพื่อให้เป็นกติกาข้อห้ามที่ใช้แก้ปัญหาขั้นพื้นฐาน 5 ปัญหาหลัก ซึ่งทำให้เกิดความสงบสุข และ ไม่มีการเบียดเบียนซึ่งกันและกันในสังคม ประโยชน์ของศีลในขั้นพื้นฐานคือทำให้กาย วาจา ใจ สงบไม่เบียดเบียนตนเองและผู้อื่น ทำให้สามารถที่จะทำให้จิตสงบได้ง่ายในการทำสมาธิ ในระดับของบรรพชิต ศีลจะมีจำนวนมาก เพื่อกำกับให้พระภิกษุสงฆ์สามเณรสามารถครองตนในสมณภาวะได้อย่างสมบูรณ์ และเอื้อต่อการประพฤติพรหมจรรย์ในขั้นสูงต่อไปได้ ความหมายของศีลนั้นแปลได้หลายความหมาย โดยศัพท์แปลว่า ความปกติกายวาจา กล่าวคือความปกติตามระเบียบวินัย, ปกติมารยาทที่สะอาดปราศจากโทษ, ข้อปฏิบัติในการเว้นจากความชั่ว, ข้อปฏิบัติในการฝึกหัดกายวาจาให้ดียิ่งขึ้น, ความสุจริตทางกายวาจาและอาชีพ และยังมักใช้เป็นคำเรียกอย่างง่ายสำหรับคำว่า "อธิศีลสิกขา" อันได้แก่ข้อปฏิบัติขั้นต้นเพื่อการฝึกตนในทางพระพุทธศาสนาด้ว.

ใหม่!!: ธุดงค์และศีล · ดูเพิ่มเติม »

สบง

ง คือผ้านุ่งของภิกษุสามเณร คำวัดเรียกว่า อันตรวาสก สบง เป็นผ้าผืนหนึ่งในจำนวน 3 ผืนหรือ ไตรจีวรของพระสงฆ์ ซึ่งได้แก่ จีวร (ผ้าห่ม) สบง (ผ้านุ่ง) สังฆาฏิ (ผ้าซ้อน) สบง เป็นผ้าสี่เหลี่ยมเหมือนผ้าขาวม้า ขนาดกลางกว้าง 91.44 เซนติเมตร ยาว 283.84 เซนติเมตรโดยประมาณ เล็กใหญ่กว่านั้นบ้าง ในพระวินัยกำหนดการนุ่งไว้คือ ด้านบนนุ่งปิดสะดือ แต่ไม่ถึงกระโจมอก ด้านล่างปิดหัวเข่าทั้งสองลงมาเพียงครึ่งแข้ง ไม่ถึงกรอมข้อเท้า นุ่งอย่างนี้เรียกว่า นุ่งเป็นปริมลฑล.

ใหม่!!: ธุดงค์และสบง · ดูเพิ่มเติม »

สมาธิ

มาธิ (สันสกฤต: समाधि) คือการฝึกฝนทางจิตหลากหลายรูปแบบ ซึ่งเป้าหมายคือ ก่อให้เกิดการตระหนักรู้ตนเอง และจิตสำนึกต่อการทำงาน การทำสมาธิโดยทั่วไปมักเป็นการฝึกหัดส่วนบุคคล ยกเว้นในบางกรณีเช่น การสวดมนต์ ผู้ฝึกสมาธิส่วนใหญ่ มักจดจ่อกับสิ่งใดสิ่งหนึ่ง อาจเป็นลมหายใจ การเพ่งวัตถุต่าง ๆ หรือแม้แต่การจดจ่อกับกิจกรรมที่กระทำ การทำสมาธิ มักเกี่ยวกับการปลูกฝังความรู้สึกหรือความเชื่อมั่นภายใน อาจจะเป็นการตั้งเป้าหมาย หรือ อาจจะหมายถึงการเชื่อมโยงกับสิ่งใดสิ่งหนึ่งอย่างเฉพาะเจาะจงก็ได้ การมีจิตใจที่เข้มแข็ง รู้จักไตร่ตรองความคิดให้ถูกต้อง รูปแบบการฝึกสมาธินั้นมากมายและมีความหลากหลาย คนทั่วไปอาจจะเข้าใจคำว่า "สมาธิ" ในบริบทที่แตกต่างกัน การทำสมาธินั้นมีมาตั้งแต่โบราณและ การฝึกฝนสืบทอดต่อกันมา จนกลายเป็นองค์ประกอบของประเพณีทางศาสนา ในประเพณีจิตวิญญาณตะวันออก เช่น ศาสนาฮินดู และ พุทธศาสนา แม้ในประเทศแถบตะวันตกบางแห่งก็เช่นกัน ในปี 2007 การศึกษาของรัฐบาลสหรัฐพบว่าเกือบ 9.4% ของผู้ใหญ่ (มากกว่า 20 ล้านคน) มีการฝึกสมาธิภายใน 12 เดือนที่ผ่านมาเพิ่มขึ้นจาก 7.6% (มากกว่า 15 ล้านคน) ในปี 2002 ตั้งแต่ปี 1960, การทำสมาธิได้รับการเพิ่มจุดเน้นของการวิจัยทางวิทยาศาสตร์ การทำสมาธิมีปรากฏในหลายศาสนา ซึ่งรวมถึง พุทธศาสนา ฮินดู และเต๋า และยังคงรวมถึงสิ่งที่ไม่เกี่ยวกับศาสนา เช่น.

ใหม่!!: ธุดงค์และสมาธิ · ดูเพิ่มเติม »

สมาทาน

มาทาน แปลว่า การถือเอา การรับเอา การถือปฏิบัติ สมาทาน หมายถึงการรับมาปฏิบัติ เช่น.

ใหม่!!: ธุดงค์และสมาทาน · ดูเพิ่มเติม »

สักการะ

ักการะ ใช้หมายถึง การกระทำที่ดี การกระทำอย่างดีอย่างพร้อมูล คือ การต้อนรับ การให้เกียรติ การแสดงความเคารพนับถือ การบูชาด้วยสิ่งหรือเครื่องอันพึงบูชา เช่น ดอกไม้ อาหารเป็นต้น สักการะ ยังหมายถึงสิ่งของหรือปัจจัย 4 มีอาหารเป็นต้น ที่ปรุงหรือจัดแต่งอย่างประณีตบรรจงสวยงาม อันเป็นเครื่องบูชาชั้นดี ซึ่งเรียกว่าเครื่องสักการะก็ได้ สักการะ เป็นการบูชาและเป็นเครื่องบูชาอย่างหนึ่ง จึงนิยมเรียกต่อกันว่า สักการบูชา และเครื่องสักการบูชา สักการะ เป็นการแสดงออกถึงความเคารพนับถืออย่างสูงต่อบุคคลหรือสิ่งที่ควรเคารพนับถือ เป็นการกระทำที่ชอบ และสิ่งที่เรียกว่าเครื่องสัการะนั้นนิยมจัดแต่งอย่างดี พร้อมบริบูรณ.

ใหม่!!: ธุดงค์และสักการะ · ดูเพิ่มเติม »

สังฆาฏิ

ังฆาฏิ แปลว่า ผ้าซ้อนนอก, ผ้าทาบ เป็นชื่อเรียกผ้าผืนหนึ่งในจำนวน 3 ผืน หรือไตรจีวรของพระคือ จีวร สบง สังฆาฏิ สังฆาฏิ คือผ้าที่ซ้อนทับจีวรอีกชั้นหนึ่งทำนองเป็นผ้าคลุมสำหรับป้องกันความหนาวในฤดูหนาว เมื่อห่มทาบจีวรก็จะเป็นผ้าสองชั้น ทำให้อบอุ่นขึ้นเมื่อห่ม จึงเรียกว่า ผ้าสังฆาฏิ (ผ้าซ้อน, ผ้าทาบ) สังฆาฏิแท้จริงแล้วเป็นผ้าสารพัดประโยชน์ เช่น ห่มแทนจีวร ทำเป็นผ้ากันแดดได้ เป็นต้น ในประเทศไทย สังฆาฏิ ปัจจุบันพระสงฆ์ไม่ได้ใช้ห่มซ้อนกับจีวรเหมือนก่อน ด้วยอยู่ในในถิ่นที่อากาศไม่หนาวจนเกินไป แต่พับแล้วพาดเก็บไว้บนบ่าเพื่อความสะดวกในเวลาเดินทาง จนกลายเป็นผ้าพาดบ่าตามปกติไป.

ใหม่!!: ธุดงค์และสังฆาฏิ · ดูเพิ่มเติม »

สันโดษ

ันโดษ คือ ความยินดี ความพอใจ คือความรู้จักพอดี ความรู้จักพอเพียง มีลักษณะ 3 อย่าง คือ.

ใหม่!!: ธุดงค์และสันโดษ · ดูเพิ่มเติม »

อรรถกถา

ัมภีร์อรรถกถาบาลีในปัจจุบันเป็นผลงานการแปลของพระพุทธโฆสะ ที่แปลยกจากภาษาสิงหลขึ้นสู่ภาษาบาลี อรรถกถา (Atthakatha; อ่านว่า อัดถะกะถา) คือคัมภีร์ที่รวบรวมคำอธิบายความในพระไตรปิฎกภาษาบาลี เรียกว่า คัมภีร์อรรถกถา บ้าง ปกรณ์อรรถกถา บ้าง อรรถกถา จัดเป็นแหล่งความรู้ทางพระพุทธศาสนาที่มีความสำคัญรองลงมาจากพระไตรปิฎก และใช้เป็นหลักฐานอ้างอิงอย่างแพร่หลายในวงการศึกษาพระพุทธศาสนา คัมภีร์อรรถกถา ไม่ใช่คำสอนของพระพุทธเจ้า แต่เป็นคัมภีร์ที่อธิบายความหรือคำที่ยากในพระไตรปิฎกให้เข้าใจง่ายขึ้น โดยยกศัพท์ออกมาอธิบายเป็นศัพท์ ๆ บ้าง ยกข้อความหรือประโยคยาวๆ มาขยายความให้ชัดเจนขึ้นบ้าง แสดงทัศนะและวินิจฉัยของผู้แต่งสอดแทรกเข้าไว้บ้าง ลักษณะการอธิบายความในพระไตรปิฎกของอรรถกถานั้น ไม่ได้นำทุกเรื่องในพระไตรปิฎกมาอธิบาย แต่นำเฉพาะบางศัพท์ วลี ประโยค หรือบางเรื่องที่อรรถกถาจารย์เห็นว่าควรอธิบายเพิ่มเติมเท่านั้น ดังนั้นบางเรื่องในพระไตรปิฎกจึงไม่มีอรรถกถาขยายความ เพราะอรรถกถาจารย์เห็นว่าเนื้อหาในพระไตรปิฎกส่วนนั้นเข้าใจได้ง่ายนั่นเอง.

ใหม่!!: ธุดงค์และอรรถกถา · ดูเพิ่มเติม »

อาบัติ

อาบัติ แปลว่า การต้อง, การล่วงละเมิด หมายถึงโทษที่เกิดจาการล่วงละเมิดสิกขาบทหรือข้อห้ามแห่งภิกษุ ใช้เรียกความผิดทางวินัยของพระภิกษุว่า ต้องอาบัติ อาบัติ มี 7 อย่าง แบ่งเป็น 2 ประเภทคือ.

ใหม่!!: ธุดงค์และอาบัติ · ดูเพิ่มเติม »

จาริก

ริก เป็นศัพท์ในพระไตรปิฎก หมายความถึงการเดินทางไปเพื่อการเผยแพร่พระพุทธศาสนา ศัพท์นี้ถูกนำมาใช้บ่อยครั้งในประเทศไทยโดยมีความหมายเดียวกับในพระไตรปิฎก เช่น จาริกธุดงค์, โครงการธรรมจาริก เป็นต้น ปัจจุบันการจาริกขยายความหมายไปถึงการเดินทางเพื่อไปสักการะสิ่งศักดิ์สิทธิ์หรือสังเวชนียสถานด้วย ซึ่งส่วนใหญ่จะใช้คำว่าการ จาริกแสวงบุญ.

ใหม่!!: ธุดงค์และจาริก · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศไทย

ประเทศไทย มีชื่ออย่างเป็นทางราชการว่า ราชอาณาจักรไทย เป็นรัฐชาติอันตั้งอยู่ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เดิมมีชื่อว่า "สยาม" รัฐบาลประกาศเปลี่ยนชื่อเป็นประเทศไทยอย่างเป็นทางการตั้งแต่ปี 2482 ประเทศไทยมีขนาดใหญ่เป็นอันดับที่ 50 ของโลก มีเนื้อที่ 513,115 ตารางกิโลเมตร และมีประชากรมากเป็นอันดับที่ 20 ของโลก คือ ประมาณ 66 ล้านคน กรุงเทพมหานครเป็นศูนย์กลางการบริหารราชการแผ่นดินและนครใหญ่สุดของประเทศ และการปกครองส่วนภูมิภาค จัดระเบียบเป็น 76 จังหวัด แม้จะมีการสถาปนาระบอบราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญและประชาธิปไตยระบบรัฐสภาในปี 2475 แต่กองทัพยังมีบทบาทในการเมืองไทยสูง ล่าสุด เกิดรัฐประหารเมื่อวันที่ 22 พฤษภาคม 2557 และมีการปกครองแบบเผด็จการทหารนับแต่นั้น พบหลักฐานการอยู่อาศัยอย่างต่อเนื่องในอาณาเขตประเทศไทยปัจจุบันตั้งแต่ 20,000 ปีก่อนคริสตกาล ชาวไทเริ่มอพยพเข้าสู่บริเวณนี้ในคริสต์ศตวรรษที่ 11 แล้วเข้ามาตั้งแว่นแคว้นต่าง ๆ ที่สำคัญได้แก่ อาณาจักรสุโขทัย อาณาจักรล้านนาและอาณาจักรอยุธยา นักประวัติศาสตร์มักถือว่าอาณาจักรสุโขทัยเป็นจุดเริ่มต้นของประวัติศาสตร์ไทย ต่อมาอาณาจักรอยุธยาค่อย ๆ เรืองอำนาจมากขึ้นจนเป็นมหาอำนาจในภูมิภาคในปลายคริสต์ศตวรรษที่ 14 การติดต่อกับชาติตะวันตกเริ่มด้วยผู้แทนทางทูตชาวโปรตุเกสในปี 2054 อาณาจักรรุ่งเรืองอย่างมากในรัชกาลสมเด็จพระนารายณ์มหาราช (ครองราชย์ปี 2199–2231) แต่หลังจากนั้นค่อย ๆ เสื่อมอำนาจโดยมีสาเหตุส่วนหนึ่งจากการผลัดแผ่นดินที่มีการนองเลือดหลายรัชกาล จนสุดท้ายกรุงศรีอยุธยาถูกทำลายสิ้นเชิงในปี 2310 สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีทรงรวบรวมแผ่นดินที่แตกออกเป็นก๊กต่าง ๆ และสถาปนาอาณาจักรธนบุรีที่มีอายุ 15 ปี ความวุ่นวายในช่วงปลายอาณาจักรนำไปสู่การสำเร็จโทษพระองค์โดยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ปฐมราชวงศ์จักรีแห่งกรุงรัตนโกสินทร์ ช่วงต้นกรุงรัตนโกสินทร์ ประเทศเผชิญภัยคุกคามจากชาติใกล้เคียง แต่หลังรัชกาลพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเป็นต้นมา ชาติตะวันตกเริ่มมีอิทธิพลในภูมิภาคเป็นอย่างมาก นำไปสู่การเข้าเป็นภาคีแห่งสนธิสัญญาไม่เป็นธรรมหลายฉบับ กระนั้น สยามไม่ตกเป็นอาณานิคมของตะวันตกชาติใด มีการปรับให้สยามทันสมัยและรวมอำนาจปกครองในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (ครองราชย์ปี 2411–53) สยามเข้าร่วมกับฝ่ายสัมพันธมิตรในสงครามโลกครั้งที่หนึ่งในปี 2460; ในปี 2475 เกิดการปฏิวัติเปลี่ยนแปลงการปกครองสู่ระบอบราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญโดยไม่เสียเลือดเนื้อ คณะราษฎรมีบทบาทนำทางการเมือง และในพุทธทศวรรษ 2480 นายกรัฐมนตรี จอมพล แปลก พิบูลสงคราม ดำเนินนโยบายชาตินิยมเข้มข้น ระหว่างสงครามโลกครั้งที่สอง ไทยเข้ากับฝ่ายอักษะ แต่ฝ่ายสัมพันธมิตรส่วนใหญ่ไม่ยอมรับการประกาศสงคราม ในช่วงสงครามเย็น ประเทศไทยเป็นพันธมิตรกับสหรัฐซึ่งสนับสนุนรัฐบาลทหารมาก รัฐประหารที่มีจอมพล สฤษดิ์ ธนะรัชต์เป็นหัวหน้าคณะในปี 2500 ทำให้คณะราษฎรหมดอำนาจ รัฐบาลฟื้นฟูพระราชอำนาจและมีมาตรการต่อต้านคอมมิวนิสต์ในภูมิภาค ผลของเหตุการณ์ 14 ตุลา 2516 ทำให้เกิดประชาธิปไตยระบบรัฐสภาช่วงสั้น ๆ ประเทศไทยมีนายกรัฐมนตรีจากการเลือกตั้งครั้งแรกในปี 2531 หลังพุทธทศวรรษ 2540 มีวิกฤตการเมืองระหว่างฝ่ายที่สนับสนุนและต่อต้านอดีตนายกรัฐมนตรีทักษิณ ชินวัตรมาจนปัจจุบัน รวมทั้งเกิดรัฐประหารสองครั้ง โดยครั้งล่าสุดเกิดในปี 2557 รัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบันเป็นฉบับที่ 20 ประกาศใช้เมื่อวันที่ 6 เมษายน 2560 หลังมีการลงประชามติรับร่างเมื่อหนึ่งปีก่อน ประเทศไทยเป็นสมาชิกสหประชาชาติ เอเปก อีกทั้งเป็นร่วมผู้ก่อตั้งอาเซียน ประเทศไทยเป็นพันธมิตรของสหรัฐตั้งแต่สนธิสัญญาซีโต้ในปี 2497 ถือเป็นประเทศอำนาจนำภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และประเทศอำนาจปานกลางในเวทีโลก ประเทศไทยเป็นประเทศที่มีรายได้ปานกลาง-สูงและประเทศอุตสาหกรรมใหม่ มีรายได้หลักจากภาคอุตสาหกรรมและบริการ การเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจทำให้มีการอพยพเข้าสู่เมืองในคริสต์ศตวรรษที่ 20 ตามประมาณการในปี 2560 จีดีพีของประเทศไทยมีมูลค่าราว 432,898 ล้านดอลลาร์สหรัฐ นับว่าเศรษฐกิจไทยเป็นเศรษฐกิจใหญ่สุดเป็นอันดับ 2 ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และใหญ่เป็นอันดับที่ 26 ของโลก.

ใหม่!!: ธุดงค์และประเทศไทย · ดูเพิ่มเติม »

นิมนต์

นิมนต์ ใช้ในความหมายว่าเชิญหรือเชื้อเชิญภิกษุสามเณร เช่น นิมนต์ เป็นคำที่ใช้แทนคำว่า อาราธนา ก็ได้ แต่ไม่นิยมใช้คู่กันเป็น อาราธนานิมนต์ กล่าวคือนิยมใช้คำใดคำหนึ่งเท่านั้นก็เป็นอันเข้าใจ เพราะมีความหมายอย่างเดียวกัน อย่างเช่นที่ใช้คำว่า อย่างนี้ถือว่าใช้ไม่ถูกต้องตามความนิยม.

ใหม่!!: ธุดงค์และนิมนต์ · ดูเพิ่มเติม »

โยชน์

น์ เป็นหน่วยวัดความยาวของไทย มีระยะเท่ากับ 400 เส้น แต่เนื่องจาก 1 เส้นถูกกำหนดให้เท่ากับ 40 เมตรโดย พระราชบัญญัติมาตราชั่ง ตวง วัด พระพุทธศักราช ๒๔๖๖ ดังนั้นความยาว 1 โยชน์จึงมีระยะเทียบเท่ากับ 16,000 เมตร หรือ 16 กิโลเมตร 1 โยชน์ มีค่าเท่ากั.

ใหม่!!: ธุดงค์และโยชน์ · ดูเพิ่มเติม »

ไตรจีวร

ระภิกษุในพระพุทธศาสนามีการนุ่งห่มจีวรด้วยสีต่างๆ ตามคติและวินัยในแต่ละนิกาย ไตรจีวร คือ ผ้าจีวร ๓ ผืน คนไทยเรียกสั้นๆ ว่า ผ้าไตร เป็นชื่อเรียกผ้านุ่งผ้าห่มที่พระสงฆ์ใช้สอย หมายถึงผ้า 3 ผืน ซึ่งมีทั้งผ้านุ่งและผ้าห่ม อันได้แก่ สังฆาฏิ (ผ้าพาดบ่า) อุตตราสงค์ (ผ้าจีวรสำหรับห่ม) และอันตรวาสก (ผ้าสบงสำหรับนุ่ง) แต่นิยมเรียกรวมกันว่า ไตรจีวร ไตรจีวรเป็นปัจจัยหรือบริขารของพระสงฆ์อย่างหนึ่งในจำนวน 8 อย่าง นอกจากนี้ยังมีอีกคำหนึ่งที่ใช้เรียกไตรจีวรทั้งนิกายเถรวาทและมหายานคือคำว่า กาสาวะ กาสายะ หรือ กาษายะ (kasāva kasāya กาสาว กาสาย; काषाय kāṣāya กาษาย;;;; cà-sa) ซึ่งหมายเอาตามชื่อสีที่ใช้ย้อมทำจีวรเป็นหลัก โดยผ้ากาสาวะ หมายถึงผ้าย้อมด้วยน้ำฝาด ซึ่งก็คือผ้าไตรจีวรทั้งสามผืนนั่นเอง.

ใหม่!!: ธุดงค์และไตรจีวร · ดูเพิ่มเติม »

เสนาสนะ

นาสนะ หมายถึง ที่อยู่อาศัยของภิกษุสงฆ์ เช่น กุฏิ วิหาร ศาลา รวมถึงที่นอนและที่นั่งและเครื่องใช้ เกี่ยวกับสถานที่หรือสิ่งที่ใช้ในการพำนัก เช่น โต๊ะ เก้าอี้ เตียง ตั่ง หมอน หรือแม้แต่โคนต้นไม้ อนึ่ง คำว่า "เสนาสนะ" มาจากศัพท์บาลี ว่า "เสนาสน" สร้างจากศัพท์ "เสน" (ที่นอน) และ "อาสน" (ที่นั่ง) เนื้อความจาก "วิภังคปกรณ์" กล่าวว่า " เสนาสนะ ได้แก่ เสนาสนะคือเตียงบ้าง เสนาสนะ คือตั่งบ้าง เสนาสนะคือที่นอนบ้าง เสนาสนะคือหมอนบ้าง เสนาสนะคือวิหารบ้าง เสนาสนะคือเพิงบ้าง เสนาสนะคือปราสาทบ้าง เสนาสนะคือป้อมบ้าง เสนาสนะคือโรงบ้าง เสนาสนะคือที่เร้นลับบ้าง เสนาสนะคือถ้ำบ้าง เสนาสนะ คือโคนไม้บ้าง เสนาสนะคือพุ่มไม้ไผ่บ้าง หรือภิกษุยับยั้งอยู่ในที่ใด ที่นั้นทั้งหมด ชื่อว่า เสนาสนะ".

ใหม่!!: ธุดงค์และเสนาสนะ · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

ธุตังคะ

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »