โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ฟรี
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

ทีเอชคิวและเดอะการ์เดียนเลเจนต์

ทางลัด: ความแตกต่างความคล้ายคลึงกันค่าสัมประสิทธิ์การเปรียบเทียบ Jaccardการอ้างอิง

ความแตกต่างระหว่าง ทีเอชคิวและเดอะการ์เดียนเลเจนต์

ทีเอชคิว vs. เดอะการ์เดียนเลเจนต์

ทีเอชคิว (THQ) เป็นบริษัทจำกัดมหาชนที่ผลิตและจัดจำหน่ายเกี่ยวกับวิดีโอเกม ในกรณีล้มละลายตั้งแต่เดือนธันวาคม 2012 และในการชำระหนี้ตั้งแต่เดือนมกราคม 2013 ก่อตั้งขึ้นเมื่อปี 1989 ในสหรัฐอเมริกา บริษัทได้พัฒนาผลิตภัณฑ์สำหรับเครื่องเล่นวิดีโอเกม,ครื่องเล่นวิดีโอเกมมือถือ รวมถึงคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล และอุปกรณ์ไร้สาย เกมของทีเอชคิว ที่สร้างอยู่ภายในรวมถึงเซนส์โรว์ซีรีส์,ฟรอนต์ไลน์: ฟลูออฟวอร์,เรดเฟกชั่น ซีรีส์ และเกมซีรีส์อื่นๆอีกมากมาย ปัจจุบันบริษัทนี้ได้ปิดกิจการลงแล้ว. อะการ์เดียนเลเจนต์ (The Guardian Legend หรือในชื่อ การ์ดิกไกเดน สำหรับการวางจำหน่ายในประเทศญี่ปุ่น เป็นวีดีโอเกมแนวผสมผสานระหว่างเกมแอ็คชั่นผจญภัยกับเกมยิงทุกอย่าง (Shoot 'em up) พัฒนาโดยบริษัทคอมไพล์ (Compile) สำหรับเครื่องเล่นเกมแฟมิคอม เกมนี้เป็นภาคต่อของเกมการ์ดิก (Guardic) ซึ่งผลิตในปี พ.ศ. 2529 บนเครื่องเอ็มเอสเอ็กซ์ เกมนี้ได้วางจำหน่ายที่ประเทศญี่ปุ่นโดยบริษัทไอเร็ม (Irem) ในปี พ.ศ. 2531 ทวีปอเมริกาเหนือโดยบรอเดอร์บันด์ (Brøderbund) ในปี พ.ศ. 2532 และในทวีปยุโรปโดยนินเทนโดในปี พ.ศ. 2533 ในเกมนี้ ผู้เล่นควบคุมตัวเอกของเกมเพียงคนเดียวคือเดอะการ์เดียน (The Guardian)ซึ่งรับภารกิจในการทำลายโลกต่างดาวที่ชื่อว่านาจู (Naju) ก่อนที่นาจูจะเข้ารุกรานโลก ผู้เล่นจะต้องปิดอุปกรณ์ควบคุมความปลอดภัยทั้ง 10 ตัวซึ่งกระจายอยู่ทั่วนาจูเพื่อเริ่มต้นขบวนการทำลายตัวเองของโลกนาจูดังกล่าว ผู้เล่นสามารถสำรวจส่วนต่าง ๆ ของนาจูได้โดยไม่เรียงลำดับ และสามารถสะสมอาวุธต่าง ๆ ได้ในระหว่างการเล่นเกม เดอะการ์เดียนเลเจนต์ได้รับเสียงวิจารณ์ทั้งบวกและลบจากนิตยสารหลายฉบับเช่นนิตยสารอิเล็กทรอนิกส์เกมมิงรายเดือน และนินเทนโดเพาเวอร์ โดยเสียงวิจารณ์ในแง่บวกจะชื่นชมภาพกราฟิกที่สวยงาม เพลงที่จดจำได้ง่าย และการตอบสนองการควบคุมที่ดี ส่วนเสียงวิจารณ์ในแง่ลบจะตำหนิรูปแบบการเล่นที่ซ้ำซาก และความซับซ้อนยุ่งยากของระบบพาสเวิร์ด เกมนี้ไม่ได้รับการกล่าวถึงมากนักในช่วงที่วางจำหน่ายอยู่ แต่ต่อมาเป็นเกมที่ได้รับการยอมรับว่าเป็นตัวอย่างที่ดีของเกมที่ผสมผสานเกมหลายประเภทเข้าด้วยกัน จนเป็นต้นแบบสำหรับเกมอื่น ๆ เช่นเกมซิกมาสตาร์เซกา (Sigma Star Saga) รวมถึงการผสมผสานการเล่นที่หลากหลายจากเกมอื่น ๆ เช่น ตำนานแห่งเซลดา (The Legend of Zelda), เมทรอยด์ (Metroid) และ 1942.

ความคล้ายคลึงกันระหว่าง ทีเอชคิวและเดอะการ์เดียนเลเจนต์

ทีเอชคิวและเดอะการ์เดียนเลเจนต์ มี 2 สิ่งที่เหมือนกัน (ใน ยูเนี่ยนพีเดีย): วิดีโอเกมคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล

วิดีโอเกม

กม ''ป็อง'' ถือได้ว่าเป็นวิดีโอเกมส์ชนิดแรกที่เกิดขึ้น เกม ''Space Invaders'' เป็นอีกหนึ่งเกมดังในยุคกำลังพัฒนาของวิดีโอเกม เกม ''Pac-Man'' เป็นเกมที่โด่งดังที่สุดในขณะวิดีโอเกมกำลังพัฒนา วิดีโอเกม (Video game) คือ เครื่องเกมอิเล็กทรอนิกส์ที่มนุษย์ใช้ส่วนต่อประสานกับผู้ใช้ (user interface) ส่งผลการกระทำ (input) กลับเข้าไปยังหน่วยประมวลผลกลาง (Central Processor Unit) ในตัวเครื่อง ให้คิดคำนวณแล้วแสดงผลโต้ตอบกลับมาด้วย แสง-เสียง-การสั่น-หรือภาพบนจอภาพ วิดีโอ คำว่า วิดีโอ ในวิดีโอเกม แต่เดิมหมายถึงอุปกรณ์แสดงภาพแบบแรสเตอร์ แต่ปัจจุบันสามารถใช้เรียกอุปกรณ์แสดงภาพใด ๆ ก็ได้ที่สร้างภาพสองมิติหรือสามมิติขึ้นมา ตัวอย่างเช่นคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล และเครื่องเล่นวิดีโอเกม อุปกรณ์เหล่านี้เป็นไปได้ตั้งแต่เมนเฟรมคอมพิวเตอร์ ไปจนถึงอุปกรณ์มือถือขนาดเล็ก วิดีโอเกมแบบเฉพาะอย่างเช่น เกมตู้ เคยมีแพร่หลายในอดีต แต่ปัจจุบันค่อย ๆ มีใช้น้อยลง วิดีโอเกมได้พัฒนาไปจนกลายเป็นอุตสาหกรรมและงานศิลปะ อุปกรณ์นำข้อมูลเข้าเป็นที่ใช้กันในการบังคับวิดีโอเกมเรียกว่า อุปกรณ์ควบคุมเกม (game controller) และแตกต่างกันไปในเครื่องเล่นแบบต่าง ๆ ตัวอย่างเช่น อุปกรณ์ควบคุมอาจประกอบด้วยเพียงแค่ปุ่มกดและก้านควบคุม (joystick) หรืออาจมีปุ่มกดถึงสิบปุ่ม และอาจจะมีมากกว่าหนึ่งก้านควบคุมก็ได้ เกมคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลยุคแรกจำเป็นต้องใช้คีย์บอร์ดในการเล่นเกม หรือต้องการให้ผู้ใช้ซื้อก้านควบคุมที่มีปุ่มกดอย่างน้อยหนึ่งปุ่มด้วย เกมคอมพิวเตอร์สมัยใหม่จำนวนมากให้ผู้เล่นหรือต้องการให้ผู้เล่นใช้คีย์บอร์ดควบคู่ไปกับเมาส์ อุปกรณ์ควบคุมเกมที่พบได้บ่อยกันคือ เกมแพด เมาส์ คีย์บอร์ด และก้านควบคุม ในหลายปีที่ผ่านมานี้ มีวิธีการนำข้อมูลเข้าเพิ่มเติมเช่น การให้ผู้เล่นสังเกตการณ์ในเครื่องเล่นที่ใช้กล้อง และระบบจอสัมผัสบนโทรศัพท์มือถือ วิดีโอเกมโดยทั่วไปใช้วิธีการเพิ่มเติมมากมายเพื่อสร้างปฏิสัมพันธ์และสารสนเทศให้กับผู้เล่น เสียงออดิโอในวิดีเกมนั้นเกือบจะเป็นสากล คือใช้อุปกรณ์ผลิตเสียง อย่างเช่น ลำโพง และหูฟัง ผลป้อนกลับอาจมาจากอุปกรณ์ต่อพ่วงสัมผัส (haptic peripheral) เช่นระบบการสั่น หรือผลป้อนกลับโดยใช้กำลัง (force feedback) บางครั้งการสั่นใช้กระตุ้นผลป้อนกลับแบบใช้กำลัง ผู้เล่นบางส่วนเชื่อว่าวิดีโอเกมสามารถพัฒนาทักษะทางจิตใจได้.

ทีเอชคิวและวิดีโอเกม · วิดีโอเกมและเดอะการ์เดียนเลเจนต์ · ดูเพิ่มเติม »

คอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล

วามหมายอื่น|PC แก้ความ ไฟล์:ashton 01.svg|thumbภาพวาดของgmail.com เครื่องพีซีอาจเป็นเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ใช้ประจำบ้าน (home computer) หรืออาจพบใช้ในงานสำนักงานที่มักจะเชื่อมต่อกันเป็นระบบเครือข่ายท้องถิ่น (local area network) ลักษณะเด่นจะเป็นเครื่องที่ถูกใช้งานโดยคนเพียงคนเดียว ซึ่งต่างจากระบบประมวลผลแบบ batch processing หรือ time-sharing ที่มีความซับซ้อน ราคาแพง มีการใช้งานจากคนหมู่มากพร้อม ๆ กัน หรือระบบประมวลผลข้อมูลขนาดใหญ่ที่ต้องการทีมทำงานเต็มเวลาคอยควบคุมการทำงาน ผู้ใช้ "PC" ในยุคแรกต้องเขียนโปรแกรมขึ้นใช้งานเอง แต่มาในปัจจุบัน ผู้ใช้มีโปรแกรมให้เลือกใช้ที่หลากหลายทั้งแบบที่ซื้อขายเชิงพาณิชย์และไม่เชิงพาณิชย์ ซึ่งล้วนแล้วแต่ติดตั้งได้ง่าย คำว่า "คอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล" เริ่มมีใช้ตั้งแต่ พ.ศ. 2515 (ค.ศ. 1972) สำหรับกล่าวถึงเครื่อง Xerox PARC ของบริษัท Xerox Alto อย่างไรก็ตามจากความประสบความสำเร็จของไอบีเอ็มพีซี ทำให้การใช้คำว่า คอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลหมายถึง เครื่องไอบีเอ็มพีซี.

คอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลและทีเอชคิว · คอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลและเดอะการ์เดียนเลเจนต์ · ดูเพิ่มเติม »

รายการด้านบนตอบคำถามต่อไปนี้

การเปรียบเทียบระหว่าง ทีเอชคิวและเดอะการ์เดียนเลเจนต์

ทีเอชคิว มี 7 ความสัมพันธ์ขณะที่ เดอะการ์เดียนเลเจนต์ มี 20 ขณะที่พวกเขามีเหมือนกัน 2, ดัชนี Jaccard คือ 7.41% = 2 / (7 + 20)

การอ้างอิง

บทความนี้แสดงความสัมพันธ์ระหว่าง ทีเอชคิวและเดอะการ์เดียนเลเจนต์ หากต้องการเข้าถึงบทความแต่ละบทความที่ได้รับการรวบรวมข้อมูลโปรดไปที่:

Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »