โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ฟรี
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

ทรวงอก

ดัชนี ทรวงอก

กายวิภาคศาสตร์ของทรวงอก ทรวงอก หรือ หน้าอก (chest) เป็นส่วนหนึ่งของกายวิภาคศาสตร์มนุษย์และในสัตว์หลายชนิด ซึ่งบางครั้งเรียกว่า อก (thorax).

29 ความสัมพันธ์: ช่องอกกระดูกสะบักกระดูกสันหลังกระดูกสันอกกระดูกต้นแขนกระดูกซี่โครงกระดูกโอบอกกระดูกไหปลาร้ากระเพาะอาหารกล้ามเนื้อทราพีเซียสกะบังลมกายวิภาคศาสตร์มนุษย์ม้ามสหรัฐสัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนมหลอดอาหารหลอดเลือดแดงสู่ปอดหัวนมหัวใจอกท่อลมท้องคอตับอ่อนปอดโครงกระดูกภายนอกไตเอออร์ตาเต้านม

ช่องอก

องอก (thoracic cavity หรือ chest cavity) เป็นช่องว่างในร่างกายมนุษย์ (และสัตว์ชนิดอื่นๆ) ที่ถูกหุ้มด้วยผนังช่องอก (thoracic wall) (กระดูกทรวงอก รวมทั้งผิวหนัง กล้ามเนื้อ และพังผืด).

ใหม่!!: ทรวงอกและช่องอก · ดูเพิ่มเติม »

กระดูกสะบัก

ในกายวิภาคศาสตร์ของมนุษย์ กระดูกสะบัก (Scapula) เป็นกระดูกแบบแบน (flat bone) ชิ้นหนึ่งที่เป็นส่วนประกอบสำคัญของกระดูกส่วนไหล่ (shoulder girdle) โดยมีส่วนที่ติดต่อกับกระดูกไหปลาร้า (clavicle) และกระดูกต้นแขน (humerus) นอกจากนี้ยังเป็นที่ยึดเกาะของเอ็นเพื่อประกอบเป็นข้อต่อไหล่ (shoulder joint) และมีกล้ามเนื้อหลายมัดที่มีพื้นผิวบนกระดูกสะบักเป็นจุดเกาะต้น (origin) และจุดเกาะปลาย (insertion) อีกด้วย ดังนั้นกระดูกสะบักจึงเป็นกระดูกที่มีความสำคัญยิ่งในการเคลื่อนไหวของแขนรอบข้อต่อไหล.

ใหม่!!: ทรวงอกและกระดูกสะบัก · ดูเพิ่มเติม »

กระดูกสันหลัง

กระดูกสันหลัง มองจากด้านข้าง ส่วนต่างๆของแนวกระดูกสันหลัง ส่วนต่างๆกระดูกสันหลังหนึ่งชิ้น มองจากทางด้านข้าง กระดูกสันหลังส่วนคอ ชิ้นแรก มองจากทางด้านบน แนวกระดูกสันหลังส่วนคอตอนต้น แสดงกระดูกและเอ็นของข้อต่อบริเวณท้ายทอย กระดูกสันหลังส่วนอก มองจากทางด้านบน กระดูกสันหลัง (Vertebral column) ในกายวิภาคของมนุษย์ คือกระดูกแกนของสัตว์มีกระดูกสันหลัง ตั้งแต่ส่วนต้นคอ ลงมาจนถึงส่วนก้น ภายในมีไขสันหลัง ซึ่งอยู่ในช่องไขสันหลังอีกทีหนึ่ง.

ใหม่!!: ทรวงอกและกระดูกสันหลัง · ดูเพิ่มเติม »

กระดูกสันอก

กระดูกสันอก (Sternum) เป็นกระดูกชนิดกระดูกแบบแบน (Flat bone) ที่วางตัวอยู่ตรงกลางของทรวงอก และติดต่อกับกระดูกซี่โครงโดยข้อต่อและกระดูกอ่อนซี่โครง (costas cartilage) เพื่อประกอบขึ้นเป็นโครงร่างแข็งของผนังช่องอก เพื่อป้องกันโครงสร้างที่อยู่ภายในช่องอกจากการกระทบกระเทือน นอกจากนี้ยังมีข้อต่อกับกระดูกไหปลาร้า (clavicle) ซึ่งเป็นกระดูกที่ค้ำจุนส่วนไหล่อีกด้ว.

ใหม่!!: ทรวงอกและกระดูกสันอก · ดูเพิ่มเติม »

กระดูกต้นแขน

ในกายวิภาคศาสตร์ กระดูกต้นแขน (Humerus) เป็นกระดูกแบบยาวที่เป็นแกนของส่วนต้นแขน (Arm) หรือต้นขาหน้าในสัตว์สี่เท้า กระดูกต้นแขนจะอยู่ระหว่างกระดูกสะบัก (scapula) ที่อยู่ในบริเวณไหล่ กับกระดูกของส่วนปลายแขน (forearm) คือกระดูกเรเดียส (Radius) และกระดูกอัลนา (Ulna) พื้นผิวด้านต่างๆของกระดูกต้นแขนยังเป็นจุดเกาะของกล้ามเนื้อจากบริเวณต่างๆที่ช่วยในการเคลื่อนไหวของแขนอีกด้ว.

ใหม่!!: ทรวงอกและกระดูกต้นแขน · ดูเพิ่มเติม »

กระดูกซี่โครง

กระดูกซี่โครง (Ribs) เป็นส่วนหนึ่งของโครงกระดูกมนุษย์ที่อยู่ในบริเวณส่วนอก ซึ่งจะเชื่อมต่อระหว่างกระดูกสันหลังส่วนอก (Thoracic vertebral column) ทางด้านหลัง กับกระดูกอก (Sternum) ทางด้านหน้า และประกอบขึ้นเป็นโครงร่างของผนังช่องอกและช่วยในการป้องกันอวัยวะภายในของช่องอกที่สำคัญ เช่นปอดและหัวใจ โดยทั่วไปแล้วในผู้ใหญ่จะมีกระดูกซี่โครงทั้งหมด 12 คู่ หรือ 24 ซี่ ทั้งในเพศหญิงและเพศชาย อย่างไรก็ตามในบางคนอาจมีจำนวนของกระดูกซี่โครงที่มากกว่าหรือน้อยกว่าปกติได้เล็กน้อ.

ใหม่!!: ทรวงอกและกระดูกซี่โครง · ดูเพิ่มเติม »

กระดูกโอบอก

กระดูกโอบอก หรือ กระดูกโอบไหล่ (pectoral girdle or shoulder girdle) เป็นกลุ่มของกระดูกที่เชื่อมโครงกระดูกแกน (axial skeleton) และรยางค์บน (upper limb) ทั้ง 2 ข้าง ในมนุษย์จะประกอบด้วยกระดูกไหปลาร้า (clavicle) และกระดูกสะบัก (scapula) ส่วนในสัตว์บางชนิดจะมีกระดูกโอบอก 3 ชนิด คือมีกระดูกโคราคอยด์ (coracoid) เพิ่มขึ้นมา ในสัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนมบางชนิด (เช่น สุนัข หรือม้า) จะวิวัฒนาการจนมีกระดูกโอบอกเพียงชิ้นเดียวคือ กระดูกสะบัก ในมนุษย์ ข้อต่อเพียงข้อต่อเดียวที่เชื่อมระหว่างกระดูกโอบไหล่และโครงกระดูกแกนคือ ข้อต่อสเตอร์โนคลาวิคิวลาร์ (sternoclavicular) ส่วนระหว่างกระดูกสะบักและกระดูกซี่โครงจะไม่มีข้อต่อแต่มีกล้ามเนื้อที่เชื่อมระหว่างกันซึ่งช่วยในการเคลื่อนไหวของกระดูกโอบไหล่ได้มากเมื่อเทียบกับกระดูกโอบเชิงกราน (pelvic girdle) สำหรับในสัตว์ที่มีเฉพาะกระดูกสะบัก จะไม่มีข้อต่อที่เชื่อมระหว่างรยางค์หน้าและอก จะมีเฉพาะกล้ามเนื้อที่ยึดระหว่างกันเท่านั้น.

ใหม่!!: ทรวงอกและกระดูกโอบอก · ดูเพิ่มเติม »

กระดูกไหปลาร้า

ในกายวิภาคศาสตร์ของมนุษย์ กระดูกไหปลาร้า (Clavicle) เป็นกระดูกแบบยาว (long bone) ชิ้นหนึ่งที่เป็นส่วนประกอบของกระดูกส่วนไหล่ (shoulder girdle) ชื่อของกระดูกไหปลาร้าในภาษาอังกฤษ Clavicle เป็นคำที่มาจากภาษาลาติน clavicula ซึ่งแปลว่า กุญแจเล็กๆ เนื่องจากกระดูกชิ้นนี้จะมีการหมุนรอบแกน ในแนวนอนคล้ายกับการไขกุญแจ ขณะที่แขนกางออก กระดูกไหปลาร้ายังเป็นกระดูกที่สามารถมองเห็น แนวของกระดูกได้จากภายนอกอย่างชัดเจน โดยเฉพาะในเพศหญิงซึ่งมีไขมันในบริเวณรอบๆกระดูกน้อยกว่า นอกจากในมนุษย์แล้ว กระดูกไหปลาร้ายังพบในสัตว์สี่ขา (tetrapods) ชนิดอื่นๆ แต่อาจมีรูปร่างเล็กกว่าหรืออาจไม่พบเลย กระดูกไหปลาร้าจะเจริญในสัตว์ที่ใช้ส่วนรยางค์หน้าในการหยิบจับ แต่จะไม่เจริญมากนักในสัตว์ที่ใช้รยางค์หน้าในการรองรับน้ำหนักหรือการวิ่ง กระดูกไหปลาร้าเปรียบเสมือนไม้ค้ำ ประคองแขนทั้งสองข้างไว้ ทำให้แขนสามารถเคลื่อนไหว ได้อย่างเป็นอิสระอยู่บนลำตัว กระดูกชิ้นนี้อยู่ในตำแหน่ง ที่ง่ายต่อการกระแทก บาดเจ็บ และรับแรงกระแทกที่ส่งผ่านมาจาก แขนไปสู่ลำตัว กระดูกไหปลาร้าจึงเป็นกระดูกชิ้นที่หักบ่อยที่สุดในร่างกาย โดยมักจะหักเนื่องจาก ล้มหรือตกจากที่สูง โดยลงกระแทกบริเวณไหล่ หรือกระแทกในท่าแขนที่เหยียดออก แรงจะส่งผ่านไปตามแขน ไหล่ ไปสู่กระดูกไหปลาร้า และจะหักในส่วนที่อ่อนแอที่สุด (คือรอยต่อระหว่าง 1/3กลาง กับ 1/3ด้านนอก) หลังจากหักจะถูกกล้ามเนื้อและน้ำหนักของแขนดึงให้ผิดรูปไป.

ใหม่!!: ทรวงอกและกระดูกไหปลาร้า · ดูเพิ่มเติม »

กระเพาะอาหาร

กระเพาะอาหาร เป็นอวัยวะของทางเดินอาหารที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการย่อยอาหารที่ผ่านการเคี้ยวภายในช่องปากมาแล้ว กระเพาะอาหารยังเป็นอวัยวะที่มีสภาพแวดล้อมเป็นกรด โดยมักจะมีค่าพีเอชอยู่ที่ประมาณ 1-4 โดยขึ้นกับอาหารที่รับประทานและปัจจัยอื่น ๆ นอกจากนี้ในกระเพาะอาหารยังมีการสร้างเอนไซม์เพื่อช่วยในการย่อยอาหารอีกด้วย ในศัพท์ทางการแพทย์จะเรียกโครงสร้างที่เกี่ยวกับกระเพาะอาหารโดยขึ้นต้นด้วยคำว่า gastro- และ gastric ซึ่งเป็นคำในภาษาละตินที่หมายถึงกระเพาะอาหาร.

ใหม่!!: ทรวงอกและกระเพาะอาหาร · ดูเพิ่มเติม »

กล้ามเนื้อทราพีเซียส

ในกายวิภาคศาสตร์มนุษย์ กล้ามเนื้อทราพีเซียส (Trapezius) เป็นกล้ามเนื้อในชั้นตื้นที่อยู่ด้านหลังของมนุษย์ เลี้ยงโดยเส้นประสาทแอกเซสซอรี (accessory nerve) หรือเส้นประสาทสมองคู่ที่ 11 และโดยแขนงประสาทด้านท้องของเส้นประสาทสันหลังส่วนคอที่ 3 และ 4 ซึ่งนอกจากจะเลี้ยงกล้ามเนื้อนี้แล้วยังเลี้ยงกล้ามเนื้อสเตอร์โนไคลโดมาสตอยด์ด้วย เนื่องจากใยกล้ามเนื้อนี้วางตัวในหลายทิศทาง กล้ามเนื้อทราพีเซียสจึงทำหน้าที่ได้หลากหลาย ได้แก.

ใหม่!!: ทรวงอกและกล้ามเนื้อทราพีเซียส · ดูเพิ่มเติม »

กะบังลม

กะบังลม (Diaphragm หรือ Thoracic diaphragm) เป็นแผ่นของกล้ามเนื้อโครงร่างในร่างกายขึงอยู่ด้านล่างของซี่โครง กะบังลมกั้นระหว่างช่องอก (ประกอบด้วยหัวใจ ปอด และซี๋โครง เป็นต้น) และช่องท้อง ทำหน้าที่สำคัญในการหายใจ ในทางกายวิภาคศาสตร์กะบังลมบางครั้งอาจหมายถึงโครงสร้างแบนอื่นๆ เช่น กะบังลมเชิงกรานหรือฐานเชิงกราน (pelvic diaphragm; เช่นในโรค "กะบังลมหย่อน" ที่หมายถึงการหย่อนของฐานเชิงกรานทำให้ทวารหนัก มดลูก หรือกระเพาะปัสสาวะยื่นออกมานอกช่องคลอด) แต่โดยทั่วไปแล้วคำว่า "กะบังลม" หมายถึงกะบังลมหน้าอก สัตว์มีกระดูกสันหลังอื่นเช่นสัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำและสัตว์เลื้อยคลานมีกะบังลมหรือโครงสร้างคล้ายกะบังลมแต่มีลักษณะจำเพาะที่แตกต่างกันออกไป เช่น ตำแหน่งของปอดในช่องท้อง เป็นต้น A commonly used mnemonic to remember the level of the diaphragmatic apertures is this: Mnemonic.

ใหม่!!: ทรวงอกและกะบังลม · ดูเพิ่มเติม »

กายวิภาคศาสตร์มนุษย์

รูปแสดงระบบกล้ามเนื้อของมนุษย์ในลักษณะธรรมชาติ จากหนังสือ ''Fabrica'' โดยแอนเดรียส เวซาเลียส กายวิภาคศาสตร์มนุษย์ (Human anatomy) เป็นสาขาหนึ่งของวิทยาศาสตร์การแพทย์ ที่เน้นทางด้านการศึกษาโครงสร้างต่างๆที่ประกอบกันเป็นร่างกายของมนุษย์ และเป็นหนึ่งในศาสตร์ที่มีประวัติความเป็นมาที่ยาวนาน การศึกษากายวิภาคศาสตร์ของมนุษย์สามารถแบ่งออกได้เป็นสี่สาขาหลัก ได้แก่ มหกายวิภาคศาสตร์ (Gross anatomy) จุลกายวิภาคศาสตร์ (Histology) ประสาทกายวิภาคศาสตร์ (Neuroanatomy) และกายวิภาคศาสตร์การเจริญเติบโต (Developmental anatomy) ในปัจจุบันการศึกษากายวิภาคศาสตร์ของมนุษย์จะเน้นไปในด้านการประยุกต์ใช้ และการนำเอาเทคโนโลยีทางด้านอณูชีววิทยามาใช้ในการศึกษากายวิภาคศาสตร์ในระดับเซลล์และเนื้อเยื่อ.

ใหม่!!: ทรวงอกและกายวิภาคศาสตร์มนุษย์ · ดูเพิ่มเติม »

ม้าม

ำลองภายในม้าม (Gray's Anatomy) ม้าม (spleen) เป็นอวัยวะในร่างกายสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม มีรูปทรงเรียวรี คล้ายเมล็ดถั่ว เป็นอวัยวะที่ขจัดเชื้อโรคและเซลล์เม็ดเลือดแดงที่ตายแล้วออกจากกระแสเลือด ม้ามจะอยู่บริเวณช่องท้องส่วนบน ใต้กะบังลมทางซ้าย และอยู่ใกล้กับตับอ่อน และไตซ้าย ถูกยึดติดไว้กับเยื่อบุช่องท้อง ม้ามมีขนาดแตกต่างกันไปในแต่ละบุคคล โดยในวัยผู้ใหญ่ ม้ามจะมีความยาวประมาณ 13 เซนติเมตร (ประมาณ 5 นิ้ว) และจะมีความกว้างประมาณ 10 เซนติเมตร (4 นิ้ว) และหนาประมาณ 3.8 เซนติเมตร (1.5 นิ้ว) และมีน้ำหนักประมาณ 200 กรัม (7 ออนซ์) หลอดเลือดที่เข้าสู่ม้ามคือ หลอดเลือดสเปลนิกอาร์เตอร์รี่ (splenic artery) และเลือดจากม้ามจะไหลเข้าสู่ตั.

ใหม่!!: ทรวงอกและม้าม · ดูเพิ่มเติม »

สหรัฐ

หรัฐอเมริกา (United States of America) โดยทั่วไปเรียก สหรัฐ (United States) หรือ อเมริกา (America) เป็นสหพันธ์สาธารณรัฐ ประกอบด้วยรัฐ 50 รัฐ และหนึ่งเขตปกครองกลาง ห้าดินแดนปกครองตนเองสำคัญ และเกาะเล็กต่าง ๆ โดย 48 รัฐและเขตปกครองกลางตั้งอยู่ ณ ทวีปอเมริกาเหนือระหว่างประเทศแคนาดาและเม็กซิโก รัฐอะแลสกาอยู่มุมตะวันตกเฉียงเหนือของทวีปอเมริกาเหนือ มีเขตแดนติดต่อกับประเทศแคนาดาทางทิศตะวันออกและข้ามช่องแคบเบริงจากประเทศรัสเซียทางทิศตะวันตก และรัฐฮาวายเป็นกลุ่มเกาะในมหาสมุทรแปซิฟิกกลาง ดินแดนของสหรัฐกระจายอยู่ตามมหาสมุทรแปซิฟิกและทะเลแคริบเบียน ครอบคลุมเขตเวลาเก้าเขต ภูมิศาสตร์ ภูมิอากาศและสัตว์ป่าของประเทศหลากหลายอย่างยิ่ง สหรัฐมีพื้นที่ขนาด 9.8 ล้านตารางกิโลเมตร มีประชากรราว 326 ล้านคน ทำให้มีพื้นที่ขนาดใหญ่เป็นอันดับที่ 4 ของโลก และมีประชากรมากเป็นอันดับที่ 3 ของโลก เป็นประเทศซึ่งมีความหลากหลายทางเชื้อชาติและวัฒนธรรม และเป็นที่พำนักของประชากรเข้าเมืองใหญ่สุดในโลกAdams, J.Q., and Pearlie Strother-Adams (2001).

ใหม่!!: ทรวงอกและสหรัฐ · ดูเพิ่มเติม »

สัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนม

ัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนม (Mammalia) จัดอยู่ในไฟลัมสัตว์มีแกนสันหลัง โดยคำว่า Mammalia มาจากคำว่า Mamma ที่มีความหมายว่า "หน้าอก" เป็นกลุ่มของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนม ที่มีการวิวัฒนาการและพัฒนาร่างกายที่ดีหลากหลายประการ รวมทั้งมีระบบประสาทที่เจริญก้าวหน้า สามารถดำรงชีวิตได้ในทุกสภาพสิ่งแวดล้อมสัตววิทยา (สัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนม), บพิธ-นันทพร จารุพันธุ์, สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, 2547, หน้า 411 มีขนาดของร่างกายและรูปพรรณสัณฐานที่แตกต่างกันออกไป รวมถึงการทำงานของระบบต่าง ๆ ภายในร่างกาย ที่มีการปรับเปลี่ยนไปตามลักษณะของสายพันธุ์ มีลักษณะเด่นคือมีต่อมน้ำนมที่มีเฉพาะในเพศเมียเท่านั้น เพื่อผลิตน้ำนมเพื่อใช้เลี้ยงลูกวัยแรกเกิด เป็นสัตว์เลือดอุ่น มีขนเป็นเส้น ๆ (hair) หรือขนอ่อน (fur) ปกคลุมทั่วทั้งร่างกาย เพื่อเป็นการรักษาอุณหภูมิในร่างกาย ยกเว้นสัตว์น้ำที่ไม่มีขน สัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนม ไม่จัดอยู่ในประเภทสัตว์กลุ่มใหญ่ คือมีจำนวนประชากรประมาณ 4,500 ชนิด ซึ่งถือว่าเป็นปริมาณน้อยมากเมื่อเทียบกับนก ที่มีประมาณ 9,200 ชนิด และปลาอีกประมาณ 20,000 ชนิด รวมทั้งแมลงอีกประมาณ 800,000 ชนิด ส่วนใหญ่เป็นสัตว์บก เช่น สุนัข ช้าง ลิง เสือ สิงโต จิงโจ้ เม่น หนู ฯลฯ สำหรับสัตว์น้ำที่จัดเป็นเลี้ยงลูกด้วยน้ำนม ได้แก่ โลมา วาฬ มานาทีและพะยูน แต่สำหรับสัตว์ปีกประเภทเดียวที่เลี้ยงลูกด้วยน้ำนมคือค้างคาว ซึ่งกระรอกบินและบ่างนั้น ไม่จัดอยู่ในประเภทของสัตว์ปีก เนื่องจากใช้ปีกในการร่อนไปได้เพียงแค่ระยะหนึ่งเท่านั้น สัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนมส่วนใหญ่ออกลูกเป็นตัว ยกเว้นตุ่นปากเป็ดและอีคิดนาเท่านั้นที่ออกลูกเป็น.

ใหม่!!: ทรวงอกและสัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนม · ดูเพิ่มเติม »

หลอดอาหาร

หลอดอาหาร (อังกฤษ: oesophagus/esophagus/œsophagus; กรีก: οἰσοφάγος) เป็นอวัยวะของสัตว์มีกระดูกสันหลังที่เป็นท่อกลวงประกอบด้วยกล้ามเนื้อที่อาหารจะผ่านจากคอหอยไปยังกระเพาะอาหาร ในมนุษย์ หลอดอาหารต่อเนื่องกับส่วนกล่องเสียงของคอหอย (laryngeal part of the pharynx) ที่ระดับของกระดูกสันหลังส่วนคอชิ้นที่ 6.

ใหม่!!: ทรวงอกและหลอดอาหาร · ดูเพิ่มเติม »

หลอดเลือดแดงสู่ปอด

หลอดเลือดแดงสู่ปอด หรือ พัลโมนารีอาร์เทอรี (Pulmonary artery) เป็นหลอดเลือดแดงซึ่งนำเลือดที่ปราศออกซิเจนจากหัวใจเข้าสู่ปอด ซึ่งถือว่าเป็นหลอดเลือดแดงเพียงชนิดเดียวที่บรรจุเลือดแดงที่ปราศออกซิเจน ในหัวใจของมนุษย์ หลอดเลือดแดงสู่ปอดทั้งหลายจะมีจุดเริ่มต้นที่บริเวณหัวใจห้องล่างขวา ซึ่งเป็นหลอดเลือดขนาดใหญ่ราว 3 เซนติเมตรแต่สั้นประมาณ 5 เซนติเมตร แล้วแตกกิ่งออกเป็นสองเส้น (ซ้ายกับขวา) ซึ่งนำเลือดที่ปราศออกซิเจนไปสู่ปอด และเข้าสู่หลอดเลือดผอยบริเวณถุงลมของปอด เพื่อแลกเปลี่ยนก๊าซคาร์บอนไดออกไซต์บางส่วนออกไปและรับออกซิเจนเข้ามา ซึ่งเป็นหนึ่งกระบวนการของระบบหายใจ ความดันหลอดเลือดแดงสู่ปอดของมนุษย์จะอยู่ที่ 9 - 18 มม.ปรอท 2009 ในขณะที่ความดันหลอดเลือดฝอยในปอดจะอยู่ที่ไม่เกิน 25มม.ปรอท หากเกินกว่านี้แสดงถึงภาวะความดันโลหิตในปอดสูง.

ใหม่!!: ทรวงอกและหลอดเลือดแดงสู่ปอด · ดูเพิ่มเติม »

หัวนม

หัวนม เป็นบริเวณที่ยกขึ้นของเนื้อเยื่อบริเวณผิวเต้านม สำหรับให้นมจากเต้าไหลออกผ่านท่อน้ำนม น้ำนมสามารถไหลผ่านหัวนมอย่างเรื่อย ๆ หรือสามารถพ่นออกได้โดยการหดตัวของกล้ามเนื้อเรียบที่เกิดขึ้นตามระบบท่อลำเลียง หัวนมถูกล้อมรอบด้วยวงปานนมซึ่งมักเป็นสีเข้มกว่าผิวรอบข้าง ซึ่งมักจะเรียกว่าจุกนมเมื่อพูดถึงหัวนมที่ไม่ใช่ของมนุษย์ จุกนมยังสามารถใช้เพื่ออธิบายปากที่มีความยืดหยุ่นของขวดนมเด็ก ส่วนในมนุษย์ หัวนมทั้งของผู้ชายและผู้หญิงสามารถเร้าอารมณ์ในฐานะส่วนหนึ่งของการกระตุ้นทางเพศ โดยในหลายวัฒนธรรม หัวนมของผู้หญิงเป็นสิ่งบ่งเพศ หรือ "...ถือว่าเป็นวัตถุทางเพศและได้รับการประเมินในด้านลักษณะทางกายภาพและความเซ็กซี่".

ใหม่!!: ทรวงอกและหัวนม · ดูเพิ่มเติม »

หัวใจ

หัวใจ เป็นอวัยวะกล้ามเนื้อซึ่งสูบเลือดทั่วหลอดเลือดไปยังส่วนต่าง ๆ ของร่างกายโดยการหดตัวเป็นจังหวะซ้ำ ๆ พบในสัตว์ทุกชนิดที่มีระบบไหลเวียน ซึ่งรวมสัตว์มีกระดูกสันหลังด้วย หัวใจสัตว์มีกระดูกสันหลังนั้นประกอบด้วยกล้ามเนื้อหัวใจและเนื้อเยื่อเกี่ยวพันเป็นหลัก กล้ามเนื้อหัวใจเป็นกล้ามเนื้อลายที่อยู่นอกเหนืออำนาจจิตใจ พบเฉพาะที่หัวใจ และทำให้หัวใจสามารถสูบเลือดได้ หัวใจมนุษย์ปกติเต้น 72 ครั้งต่อนาที ซึ่งจะเต้นประมาณ 2,500 ล้านครั้งในช่วงอายุเฉลี่ย 66 ปี และสูบเลือดประมาณ 4.7-5.7 ลิตรต่อนาที หนักประมาณ 250 ถึง 300 กรัมในหญิง และ 300 ถึง 350 กรัมในชาย คำคุณศัพท์ cardiac มาจาก kardia ในภาษากรีก ซึ่งหมายถึงหัวใจ หทัยวิทยาเป็นแขนงแพทย์เฉพาะทางเกี่ยวกับโรคและความผิดปกติของหัวใ.

ใหม่!!: ทรวงอกและหัวใจ · ดูเพิ่มเติม »

อก

ปรียบเทียบอกของมนุษย์และมด แผนภาพของแมลงดูดเลือด แสดงส่วนหัว อก และท้อง อก (อังกฤษ: thorax) เป็นส่วนหนึ่งของร่างกายของสัตว์ที่อยู่ระหว่างศีรษะและท้อง ในสัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนม อกเป็นบริเวณของร่างกายที่เกิดจากกระดูกอก (sternum), กระดูกสันหลังส่วนอก (thoracic vertebra), และกระดูกซี่โครง (rib) นับตั้งแต่คอไปจนถึงกะบังลม แต่ไม่รวมถึงรยางค์บน (upper limb) อวัยวะที่สำคัญที่อยู่ภายในช่องอกเช่น หัวใจ, ปอด รวมถึงหลอดเลือดจำนวนมากมาย อวัยวะภายในช่องอกจะถูกปกป้องด้วยกระดูกซี่โครงและกระดูกอก ไตรโลไบต์แบ่งร่างกายออกเป็น 3 ส่วนหลักๆ ได้แก่ หัว (cephalon) ซึ่งมีตา, ส่วนปาก และอวัยวะรับความรู้สึก เช่น หนวด (antennae), ส่วนอกซึ่งแบ่งเป็นปล้องๆ (ในบางชนิด การเป็นปล้องช่วยให้สามารถม้วนตัวได้), ส่วนหาง หรือ pygidium สำหรับในแมลงและไตรโลไบต์ (trilobite) ซึ่งเป็นสัตว์ที่สูญพันธุ์ไปแล้ว อกเป็นส่วนหนึ่งของบริเวณหลักๆ 3 ส่วน (tagmata) ของร่างกายซึ่งแบ่งออกได้เป็นปล้องย่อยๆ อีกหลายปล้อง บริเวณนี้จะเป็นบริเวณที่มีปีกและขายึดเกาะหรือเป็นบริเวณแผ่นข้อต่อหลายแผ่นในไตรโลไบต์ ในแมลงส่วนใหญ่ อกจะแบ่งออกเป็น 3 ส่วน คือ prothorax, mesothorax, และ metathorax ในแมลงที่มีอยู่ในปัจจุบัน ส่วน prothorax จะไม่มีปีกแต่จะมีขาในตัวเต็มวัย ส่วนปีกจะมีอยู่บ้างในส่วนของ mesothorax และโดยทั่วไปจะอยู่ที่ metathorax แต่ปีกอาจจะลดรูป หรือเปลี่ยนแปลงไปทำหน้าที่เฉพาะ (เช่นในแมลงวัน ปีกในปล้อง metathorax จะลดรูปเป็นอวัยวะช่วยในการทรงตัวเล็กๆ ชื่อว่า halteres) แมลงในอันดับย่อย Apocrita ในอันดับแตนจะมีท้องปล้องแรกรวมกับ metathorax เป็นโครงสร้างที่เรียกว่า propodeum ดังนั้นแมลงในอันดับย่อยนี้ อกจะประกอบไปด้วย 4 ปล้อง เรียกส่วนอกใหม่ว่า mesosoma ส่วนอกของแมลงสามารถแบ่งย่อยออกเป็นส่วนต่างๆ หลากหลาย ที่สำคัญได้แก่ส่วนหลัง (notum), ส่วนข้าง (pleuron มีอยู่ข้างละ 1 อัน), และส่วนท้อง (sternum) ในแมลงบางชนิดส่วนต่างๆ เหล่านี้จะประกอบด้วยแผ่นโครงกระดูกภายนอกอิสระ 1 อันหรือหลายอันโดยมีเยื่อแผ่นระหว่างกันเรียกว่า sclerites.

ใหม่!!: ทรวงอกและอก · ดูเพิ่มเติม »

ท่อลม

thumb ท่อลม (pneumatic tube, capsule pipeline, หรือ Pneumatic Tube Transport ย่อว่า PTT) เป็นระบบที่ใช้ส่งกระบอกบรรจุภัณฑ์ไปมาตามท่อโดยใช้อากาศหรือสุญญากาศขับดัน ระบบนี้ใช้ขนส่งของแข็ง ต่างจากท่อทั่วไปที่ใช้ส่งของเหลว สำนักงานต่าง ๆ เริ่มรับมาใช้ในระหว่างปลายคริสต์ศตวรรษที่ 19 กับต้นคริสต์ศตวรรษที่ 20 ด้วยจำเป็นต้องขนส่งพัสดุขนาดเล็ก อย่างจดหมาย เอกสาร หรือเงินตรา เป็นการด่วนหรือภายในระยะทางอันสั้น เช่น ในอาคารหรือเมืองเดียวกัน ปัจจุบัน นิยมติดตั้งในโรงพยาบาลที่ซึ่งระบบนี้ได้รับการพัฒนาและเสริมแต่งขึ้นอีกมากในช่วงคริสต์ทศวรรษที่ผ่านม.

ใหม่!!: ทรวงอกและท่อลม · ดูเพิ่มเติม »

ท้อง

ท้อง อาจหมายถึง.

ใหม่!!: ทรวงอกและท้อง · ดูเพิ่มเติม »

คอ

อ เป็นส่วนหนึ่งของร่างกายในสัตว์มีกระดูกสันหลังที่มีรยางค์หลายชนิด เป็นโครงสร้างที่แยกศีรษะออกจากลำตัว.

ใหม่!!: ทรวงอกและคอ · ดูเพิ่มเติม »

ตับอ่อน

ตับอ่อน (pancreas) เป็นอวัยวะซึ่งเป็นต่อมในระบบย่อยอาหารและระบบต่อมไร้ท่อในสัตว์มีกระดูกสันหลัง ในมนุษย์ ตับอ่อนอยู่ในช่องท้องหลังกระเพาะอาหาร เป็นต่อมไร้ท่อซึ่งผลิตฮอร์โมนสำคัญหลายชนิด รวมถึงอินซูลิน กลูคากอน โซมาโตสเตติน และแพนคริเอติกพอลิเพพไทด์ซึ่งไหลเวียนอยู่ในเลือด ตับอ่อนยังเป็นอวัยวะย่อยอาหาร โดยหลั่งน้ำย่อยตับอ่อนซึเอนไซม์ย่อยอาหารที่ช่วยการย่อยและดูดซึมสารอาหารในลำไส้เล็ก เอนไซม์เหล่านี้ช่วยสลายคาร์โบไฮเดรต โปรตีนและลิพิดในไคม์ (chyme) และตับอ่อนมักหลั่งเอนไซม์ คือ trypsinogen chymotrypsinogen procarboxypeptidase.

ใหม่!!: ทรวงอกและตับอ่อน · ดูเพิ่มเติม »

ปอด

ปอด คำว่าปอดในภาษาอังกฤษ ใช้คำว่า lung ในทางการแพทย์สิ่งที่เกี่ยวกับปอดใช้คำว่า Pulmonary นำหน้าสิ่งนั้น ๆ ในมนุษย์นั้นมีปอดอยู่ในทรวงอก มีสองข้าง คือขวาและซ้าย ปอดมีลักษณะนิ่ม ร่างกายจึงมีกระดูกซี่โครงคอยปกป้องปอดไว้อีกชั้นหนึ่ง ปอดแต่ละข้างจะมีถุงบาง ๆ 2 ชั้นหุ้มอยู่ เรียกว่า เยื่อหุ้มปอด เยื่อหุ้มปอดที่เป็นถุงบาง ๆ 2 ชั้นนี้เรียกว่า เยื่อหุ้มปอดชั้นในและ เยื่อหุ้มปอดชั้นนอก เยื่อหุ้มปอดชั้นในจะแนบติดไปกับผิวของปอด ส่วนเยื่อหุ้มปอดชั้นนอกจะแนบติดไปกับช่องทรวงอก ระหว่างเยื่อหุ้มปอด 2 ชั้นบางๆนี้จะมีช่องว่าง เรียกว่า ช่องเยื่อหุ้มปอด ในช่องเยื่อหุ้มปอดจะมีของเหลวคอยหล่อลื่นอยู่ เรียกว่า ของเหลวเยื่อหุ้มปอด ของเหลวนี้จะช่วยให้เยื่อหุ้มปอดแต่ละชั้นสไลด์ไปมาระหว่างกันได้โดยไม่เสียดสีกัน และของเหลวเยื่อหุ้มปอดก็ยังช่วยยึดเยื่อหุ้มปอดทั้งสองชั้นไว้ไม่ให้แยกจากกันโดยง่าย ปอดข้างซ้ายนั้นมีขนาดเล็กกว่าปอดข้างขวา เพราะปอดข้างซ้ายต้องเว้นที่เอาไว้ให้หัวใจอยู่ในทรวงอกด้วยกันด้ว.

ใหม่!!: ทรวงอกและปอด · ดูเพิ่มเติม »

โครงกระดูกภายนอก

โครงกระดูกภายนอก (Exoskeleton) โดยปกติแล้วสิ่งมีชีวิตระดับสูงจะมีโครงร่างค้ำจุน ไม่ว่าจะเป็นภายในแบบมนุษย์หรือภายนอก สำหรับโครงกระดูกภายนอกนั้น เราสามารถมองเห็นได้ โดยไม่ต้องใช้อุปกรณ์ใดๆ โดยทั่วไปจะทำหน้าที่เป็นโครงร่างของร่างกาย และให้ความแข็งแรง ป้องกันอันตรายจากภายนอก สิ่งมีชีวิตที่มีลักษณะเช่นนี้ ได้แก่ สัตว์ในกลุ่ม Arthropods (เช่น แมงมุม กุ้ง แมลงต่างๆ เป็นต้น) รวมถึงสัตว์น้ำ เช่น หอยต่างๆ หมวดหมู่:กายวิภาคศาสตร์ของสัตว์ หมวดหมู่:อวัยวะ หมวดหมู่:ระบบโครงกระดูก.

ใหม่!!: ทรวงอกและโครงกระดูกภายนอก · ดูเพิ่มเติม »

ไต

ตเป็นอวัยวะรูปถั่วซึ่งมีหน้าที่ควบคุมสำคัญหลายอย่างในสัตว์มีกระดูกสันหลัง ไตนำโมเลกุลอินทรีย์ส่วนเกิน (เช่น กลูโคส) ออก และด้วยฤทธิ์นี้เองที่เป็นการทำหน้าที่ที่ทราบกันดีที่สุดของไต คือ การขับของเสียจากเมแทบอลิซึม (เช่น ยูเรีย แม้ 90% ของปริมาณที่กรองถูกดูดกลับที่หน่วยไต) ออกจากร่างกาย ไตเป็นอวัยวะสำคัญในระบบปัสสาวะและยังมีหน้าที่ธำรงดุล เช่น การกำกับอิเล็กโทรไลต์ การรักษาสมดุลกรด–เบส และการกำกับความดันเลือด (ผ่านการรักษาสมดุลเกลือและน้ำ) ไตทำหน้าที่เป็นตัวกรองเลือดตามธรรมชาติ และนำของเสียที่ละลายได้ในน้ำออก ซึ่งจะถูกส่งไปยังกระเพาะปัสสาวะ ในการผลิตปัสสาวะ ไตขับของเสีย เช่น ยูเรียและแอมโมเนียม และยังทำหน้าที่ดูดน้ำ กลูโคสและกรดอะมิโนกลับ ไตยังผลิตฮอร์โมน เช่น แคลซิไตรออล อีริโธรพอยอิติน และเอนไซม์เรนิน ซึ่งเรนินออกฤทธิ์ต่อไตโดยอ้อมในการยับยั้งป้อนกลับ (negative feedback) ไตอยู่หลังช่องท้องในหลังเยื่อบุช่องท้อง (retroperitoneum) ไตรับเลือดจากคู่หลอดเลือดแดงไต และเทเข้าสู่คู่หลอดเลือดดำไต ไตแต่ละข้างขับปัสสาวะสู่ท่อไต อันเป็นโครงสร้างคู่และเทเข้าสู่กระเพาะปัสสาวะ สรีรวิทยาไตเป็นการศึกษาการทำหน้าที่ของไต ขณะที่วักกวิทยา (nephrology) เป็นแพทยศาสตร์เฉพาะทางว่าด้วยโรคไต โรคของไตมีหลากหลาย แต่ผู้ที่มีโรคไตแสดงลักษณะพิเศษทางคลินิกบ่อยครั้ง ปัญหาทางคลินิกเกี่ยวกับไตที่พบบ่อย รวมถึงกลุ่มอาการไตอักเสบ (nephritic) และเนโฟรติก (nephrotic) ถุงน้ำไต ไตบาดเจ็บเฉียบพลัน โรคไตเรื้อรัง การติดเชื้อทางเดินปัสสาวะ โรคนิ่วไต และการอุดกั้นทางเดินปัสสาวะ มีมะเร็งของไตหลายอย่าง มะเร็งของไตในผู้ใหญ่ที่พบมากที่สุด คือ มะเร็งเซลล์ไต มะเร็ง ถุงน้ำและปัญหาของไตอื่นบางอย่างสามารถรักษาได้ด้วยการตัดไต เมื่อการทำหน้าที่ของไต ซึ่งวัดได้โดยอัตราการกรองของโกลเมอรูลัส (glomerular filtration rate) ต่ำอย่างต่อเนื่อง การแยกสารผ่านเยื่อและการปลูกถ่ายไตอาจเป็นทางเลือกการรักษา นิ่วในไตปกติไม่เป็นอันตราย แต่อาจทำให้เกิดการปวด และการเกิดนิ่วซ้ำ ๆ เรื้อรังสามารถทำให้ไตเกิดแผลเป็น การนำนิ่วในไตออกเกี่ยวข้องกับการรักษาด้วยอัลตราซาวน์เพื่อสลายนิ่วเป็นชิ้นที่เล็กลง ซึ่งจะผ่านทางเดินปัสสาวะ กลุ่มอาการทั่วไปหนึ่งของนิ่วในไต คือ การปวดแปลบ (sharp) ถึงปวดจนรบกวนการใช้ชีวิต (disabling pain) ในตอนกลาง/ข้างของหลังส่วนล่างหรือขาหนี.

ใหม่!!: ทรวงอกและไต · ดูเพิ่มเติม »

เอออร์ตา

อออร์ตา เป็นหลอดเลือดแดงที่ใหญ่ที่สุดในร่างกายมนุษย์ เริ่มต้นจากหัวใจห้องล่างซ้าย และนำเลือดที่มีออกซิเจนสูงไปเลี้ยงส่วนต่าง ๆ ของร่างกายในระบบการไหลเวียนเลี้ยงกาย (systemic circulation).

ใหม่!!: ทรวงอกและเอออร์ตา · ดูเพิ่มเติม »

เต้านม

ต้านม (breast) คืออวัยวะส่วนหนึ่งของร่างกายผู้หญิงอยู่บริเวณหน้าอกทั้งสองข้าง เต้านมของเด็กหญิงจะแบนราบ และจะพัฒนาขยายขึ้นในช่วงที่ผู้หญิงเริ่มเป็นวัยรุ่น เต้านมใช้สำหรับป้อนนมเด็ก โดยเมื่อผู้หญิงมีลูกเต้านมจะผลิตน้ำนม การแสดงเต้านมในที่สาธารณะจะถูกห้ามตามกฎหมายในขณะที่บางสถานที่จะสามารถแสดงได้ เต้านมหรือหน้าอก ยังเป็นสัญลักษณ์ที่ใช้แสดงถึงความเป็นผู้หญิง ซึ่งเทคโนโลยีในปัจจุบัน สามารถแก้ไขตกแต่งลักษณะภายนอกของเต้านมให้มีลักษณะตามต้องการได้ เช่น การศัลยกรรมหน้าอกให้ใหญ่ขึ้นหรือทำให้เล็กลง การเปลี่ยนรูปทรงให้สวยงามขึ้น การลดการหย่อนคล้อยลง ทั้งนี้การจะทำการศัลยกรรมหน้าอกนั้น จำเป็นต้องทำโดยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้านเท่านั้น.

ใหม่!!: ทรวงอกและเต้านม · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

Chestหน้าอก

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »