โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ฟรี
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

ถนนบำรุงเมืองและถนนอัษฎางค์

ทางลัด: ความแตกต่างความคล้ายคลึงกันค่าสัมประสิทธิ์การเปรียบเทียบ Jaccardการอ้างอิง

ความแตกต่างระหว่าง ถนนบำรุงเมืองและถนนอัษฎางค์

ถนนบำรุงเมือง vs. ถนนอัษฎางค์

นนบำรุงเมือง ช่วงผ่านเสาชิงช้า ถนนบำรุงเมือง (Thanon Bamrung Mueang) ตั้งต้นจากถนนอัษฎางค์ที่แยกสะพานช้างโรงสี ไปทางทิศตะวันออก ตัดกับถนนเฟื่องนครและถนนตะนาว และเป็นเส้นแบ่งเขตการปกครองระหว่างแขวงวัดราชบพิธกับแขวงศาลเจ้าพ่อเสือและแขวงเสาชิงช้าไปจนถึงเสาชิงช้า จากนั้นตัดกับถนนอุณากรรณเข้าสู่ท้องที่แขวงสำราญราษฎร์ ตัดกับถนนมหาไชย (แยกสำราญราษฎร์) ข้ามคลองรอบกรุง (คลองโอ่งอ่าง) เข้าสู่ท้องที่แขวงบ้านบาตร เขตป้อมปราบศัตรูพ่าย ตัดกับถนนบริพัตร (แยกเมรุปูน) ตัดกับถนนวรจักรและถนนจักรพรรดิพงษ์ (แยกแม้นศรี) เป็นเส้นแบ่งเขตการปกครองระหว่างแขวงคลองมหานาคกับแขวงวัดเทพศิรินทร์ ผ่านสามแยกที่ตัดกับถนนยุคล 2 (แยกยุคล 2) และสามแยกที่ตัดกับถนนพลับพลาไชย (แยกอนามัย) ไปจนถึงถนนกรุงเกษม (แยกกษัตริย์ศึก) โดยมีถนนที่ต่อเนื่องไปคือถนนพระรามที่ 1 ถนนบำรุงเมืองเป็นถนนรุ่นแรกที่ใช้เทคนิคการสร้างตามแบบตะวันตก หลังจากที่พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดเกล้าฯ ให้สร้างถนนเจริญกรุงซึ่งเป็นถนนสมัยใหม่ และเป็นที่นิยมใช้สัญจรไปมาของชาวไทยและชาวยุโรป ใน พ.ศ. 2406 รัฐบาลจึงปรับปรุงถนนเสาชิงช้าซึ่งเริ่มต้นจากสะพานช้างโรงสี และเป็นถนนเก่าแก่มีมาตั้งแต่รัชสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช โดยทำเป็นถนนสมัยใหม่มีท่อระบายน้ำและไม่ปล่อยให้หญ้าขึ้นรกรุงรังเหมือนก่อน มีความยาว 29 เส้นเศษ จากนั้นได้พระราชทานนามว่า ถนนบำรุงเมือง ซึ่งเป็นนามที่มีความหมายเกี่ยวกับความเจริญก้าวหน้าของบ้านเมือง เพราะเมื่อแรกที่สร้างถนนบำรุงเมืองนั้นยังแคบอยู่และไม่ตรง และเมื่อสร้างเสร็จแล้วเจ้าของที่ดินริมถนนได้สร้างตึกแถว ห้องแถว และร้านค้า 2 ชั้น ถนนบำรุงเมืองเป็นถนนสายสำคัญที่มีคนสัญจรไปมามาก ซึ่งอาคารร้านค้าต่าง ๆ เหล่านี้ต่างก็ได้รับอิทธิพลมาจากสถาปัตยกรรมของอาคารในสิงคโปร์ คือ จีน-โปรตุเกส มีทางเดินด้านหน้าที่มีหลังคาคลุมถึงกันโดยตลอด คือ อาเขด ลักษณะพิเศษอีกประการหนึ่งของถนนบำรุงเมือง คือ ถนนช่วงตั้งแต่สี่กั๊กเสาชิงช้าจนถึงแยกเสาชิงช้า รวมถึงฝั่งถึงแยกสำราญราษฎร์ เป็นช่วงที่ไม่มีบาทวิถีอย่างถนนอื่น ๆ ทั่วไป เนื่องจากเจ้าของอาคารต่าง ๆ ที่อยู่ริมถนนรู้สึกว่าอาคารร้านค้าของตนนั้นคับแคบไปจึงได้มีการขยายพื้นที่ออกไปยังหน้าถนนและทำให้สามารถเดินทะลุถึงกันได้ตลอด ถนนบำรุงเมืองในช่วงนี้จึงไม่มีบาทวิถีเพราะไปอยู่ในตัวอาคาร แต่ภายหลังเจ้าของอาคารแต่ละหลังก็ได้ซ่อมแซมกลายเป็นปิดกั้นหมด ไม่สามารถเดินทะลุได้อย่างแต่ก่อน. นมอญ ถนนอัษฎางค์ (Thanon Atsadang) ถนนสายหนึ่งในพื้นที่เกาะรัตนโกสินทร์ เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร เป็นถนนที่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงโปรดเกล้าฯ ให้ตัดขึ้นในแบบตะวันตก หลังจากเสด็จประพาสชวา โดยทรงให้สร้างถนนริมกำแพงรอบพระนครใหม่ ซึ่งแต่เดิมเป็นทางเดินเล็ก ๆ ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เมื่อแล้วเสร็จจึงพระราชทานนามว่า "ถนนอัษฎางค์" เพื่อเป็นการเฉลิมพระเกียรติของ สมเด็จพระอนุชาธิราช เจ้าฟ้าอัษฎางค์เดชาวุธ กรมหลวงนครราชสีมา พระราชโอรสในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว กับสมเด็จพระศรีพัชรินทราบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง ถนนอัษฎางค์ เป็นถนนที่เชื่อมระหว่างถนนราชดำเนินใน ด้านสนามหลวง กับถนนจักรเพชร ด้านปากคลองตลาด โดยขนานไปกับคลองรอบกรุง หรือคลองหลอดวัดราชบพิธ และถนนราชินี ที่อยู่ฝั่งตรงกันข้าม ผ่านสถานที่สำคัญหลายแห่ง เช่น กระทรวงมหาดไทย, กระทรวงกลาโหม, สุสานหลวงวัดราชบพิธ, วัดบุรณศิริมาตยาราม เป็นต้น นอกจากนี้แล้ว อาคารบ้านเรือนตลอดจนห้องแถวริมถนนอัษฎางค์ มีความสวยงามและควรค่าแก่การอนุรักษ์ ได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นโบราณสถาน โดยเป็นสถาปัตยกรรมแบบจีน-โปรตุเก.

ความคล้ายคลึงกันระหว่าง ถนนบำรุงเมืองและถนนอัษฎางค์

ถนนบำรุงเมืองและถนนอัษฎางค์ มี 3 สิ่งที่เหมือนกัน (ใน ยูเนี่ยนพีเดีย): พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวสถาปัตยกรรมจีน-โปรตุเกสคลองรอบกรุง

พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว

งชาติสยามในรัชกาลที่ 4 ธงช้างเผือก พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหามงกุฎ พระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (พระราชสมภพ 18 ตุลาคม พ.ศ. 2347 - สวรรคต 1 ตุลาคม พ.ศ. 2411) พระมหากษัตริย์ไทยรัชกาลที่ 4 แห่งราชวงศ์จักรี มีพระนามเดิมว่า "เจ้าฟ้ามงกุฎ" เสด็จพระราชสมภพในวันพฤหัสบดี ขึ้น 14 ค่ำ เดือน 11 ปีชวด ตรงกับวันที่ 18 ตุลาคม พ.ศ. 2347 ในรัชสมัย รัชกาลที่ 1 ณ นิวาสสถานพระราชวังพระราชนิเวศน์ พระราชวังเดิม ด้านใต้ของวัดอรุณราชวรารามอ.

ถนนบำรุงเมืองและพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว · ถนนอัษฎางค์และพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว · ดูเพิ่มเติม »

สถาปัตยกรรมจีน-โปรตุเกส

ตึกแบบจีน-โปรตุเกสในภูเก็ต ศูนย์รวมข่าวพรหมเทพ จังหวัดภูเก็ต สถาปัตยกรรมจีน-โปรตุเกส คือรูปแบบของสถาปัตยกรรมที่ผสมผสานระหว่างตะวันออกและตะวันตก ในแหลมมลายูในยุคสมัยแห่งจักรวรรดินิยมของตะวันตก ราวปี..

ถนนบำรุงเมืองและสถาปัตยกรรมจีน-โปรตุเกส · ถนนอัษฎางค์และสถาปัตยกรรมจีน-โปรตุเกส · ดูเพิ่มเติม »

คลองรอบกรุง

ลองรอบกรุงและป้ายในปัจจุบัน คลองรอบกรุงในอดีต ด้านหลังคือ ภูเขาทอง วัดสระเกศ คลองรอบกรุง (Khlong Rop Krung) เป็นคลองขุด ที่พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชโปรดเกล้าฯให้ขุดขึ้นเมื่อ..

คลองรอบกรุงและถนนบำรุงเมือง · คลองรอบกรุงและถนนอัษฎางค์ · ดูเพิ่มเติม »

รายการด้านบนตอบคำถามต่อไปนี้

การเปรียบเทียบระหว่าง ถนนบำรุงเมืองและถนนอัษฎางค์

ถนนบำรุงเมือง มี 27 ความสัมพันธ์ขณะที่ ถนนอัษฎางค์ มี 21 ขณะที่พวกเขามีเหมือนกัน 3, ดัชนี Jaccard คือ 6.25% = 3 / (27 + 21)

การอ้างอิง

บทความนี้แสดงความสัมพันธ์ระหว่าง ถนนบำรุงเมืองและถนนอัษฎางค์ หากต้องการเข้าถึงบทความแต่ละบทความที่ได้รับการรวบรวมข้อมูลโปรดไปที่:

Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »