โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ฟรี
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

ถนนกษัตริย์และแม่น้ำจอร์แดน

ทางลัด: ความแตกต่างความคล้ายคลึงกันค่าสัมประสิทธิ์การเปรียบเทียบ Jaccardการอ้างอิง

ความแตกต่างระหว่าง ถนนกษัตริย์และแม่น้ำจอร์แดน

ถนนกษัตริย์ vs. แม่น้ำจอร์แดน

"เส้นทางสายเวียมาริส" (สีม่วง), "ถนนกษัตริย์" (สีแดง) และอื่น ๆ ราว 1300 ก่อนคริสต์ศักราช ถนนกษัตริย์ หรือ ทางส่วนพระมหากษัตริย์ (King's Highway) เป็นเส้นทางการค้าอันมีความสำคัญต่อตะวันออกกลาง เส้นทางเริ่มขึ้นที่อียิปต์ข้ามคาบสมุทรไซนายไปยัง อคาบา จากอคาบาก็เลี้ยวไปทางเหนือไปยังดามัสกัสและแม่น้ำยูเฟรตีส อาณาจักรโบราณหลายอาณาจักรรวมทั้งอีดอม, โมอับ, อัมมอน และรัฐในอราเมอันใช้เส้นทางสายนี้ในการทำการค้าขาย เส้นทางเริ่มขึ้นที่เฮลิโอโพลิสโบราณในอียิปต์ และจากที่นั่นก็ไปทางตะวันออกยังซิสมา (ปัจจุบันสุเอซ) ผ่านช่องมิทลา และป้อมอียิปต์เนเคิล และ เธเมดในทะเลทรายไซนายไปยังไอลัตและอคาบา จากที่นั่นถนนก็ขึ้นเหนือไปยังอราบาห์ ผ่านเพทรา และ มาอัน ไปยัง อดรูห์, เซลา และ ชอบัค ต่อไปยังเคอรัค และดินแดนของโมอับ ไปยัง มาดาบา, รับบาห์, อัมมอน/ฟิลาเดลเฟีย (ปัจจุบันอัมมาน), เจอราซา, โบซราห์, ดามัสกัส และ ทัดมอร์ไปสิ้นสุดลงที่ เรซาฟาบนตอนต้นของแม่น้ำยูเฟรตีส ถนนกษัตริย์กล่าวถึงใน ว่า: สงครามของอิสราเอลไลท์กับอาณาจักรในบริเวณทรานจอร์แดนระหว่างสมัยราชอาณาจักรอิสราเอล (และราชอาณาจักรยูดาห์ต่อมา) อาจจะมีสาเหตุบางส่วนมาจากความขัดแย้งในการพยายามควบคุมเส้นทาง ชาวนาบาเชียนใช้เส้นทางนี้ในการขนส่งสินค้าฟุ่มเฟือยที่รวมทั้งกำยาน และ เครื่องเทศจากทางตอนใต้ของ คาบสมุทรอาหรับ ระหว่างสมัยโรมันถนนกษัตริย์ได้รับการสร้างใหม่โดยจักรพรรดิทราจัน และเรียกว่า "ถนนทราเอียนาใหม่" (Via Traiana Nova) นอกจากทางการค้าแล้วเส้นทางสายนี้ก็ยังใช้เป็นเส้นทางสำคัญของการจาริกแสวงบุญของคริสเตียนที่มีจุดต่าง ๆ ที่มีความสำคัญต่อคริสต์ศาสนารวมทั้งภูเขาเนโบ และ อัล-มักห์ทาสบนฝั่งแม่น้ำจอร์แดนที่เป็นสถานที่ที่เชื่อกันว่าที่ที่พระเยซูทรงรับศีลจุ่มจากนักบุญจอห์นแบ็พทิสต์ มุสลิมใช้เป็นเส้นทางสำคัญในการฮัจญีไปยังมักกะหฺจนกระทั่งออตโตมันเติร์กสร้างทาริค อัน-บินท์ในคริสต์ศตวรรษที่ 16. แม่น้ำจอร์แดน (ฮิบรู: נהר הירדן Nehar haYarden, نهر الأردن Nahr al-Urdun) เป็นแม่น้ำในภูมิภาคเอเชียตะวันตก มีความยาวทั้งสิ้น 251 กิโลเมตร ไหลลงสู่ทะเลเดดซี ปัจจุบันถือเป็นพรมแดนธรรมชาติระหว่างอิสราเอลกับจอร์แดน ในความเชื่อของชาวคริสเตียนเชื่อว่าพระเยซูได้รับเข้าพิธีล้างจากนักบุญยอห์น แบปติสต์ ที่แม่น้ำแห่งนี้ อีกทั้งชื่อของราชอาณาจักรฮัชไมต์จอร์แดนก็มาจากชื่อแม่น้ำสายนี้เช่นกัน.

ความคล้ายคลึงกันระหว่าง ถนนกษัตริย์และแม่น้ำจอร์แดน

ถนนกษัตริย์และแม่น้ำจอร์แดน มี 2 สิ่งที่เหมือนกัน (ใน ยูเนี่ยนพีเดีย): พระเยซูยอห์นผู้ให้บัพติศมา

พระเยซู

ระเยซู (Jesus) หรือ เยซูชาวนาซาเร็ธ (Jesus of Nazareth; 4-2 ปีก่อนคริสตกาล - ค.ศ. 30-33Sanders (1993).) เป็นชาวยิวผู้เป็นศาสดาของศาสนาคริสต์ คริสต์ศาสนิกชนเรียกพระองค์ว่า พระเยซูคริสต์ เพราะถือว่าพระองค์เป็นพระคริสต์ พระผู้ช่วยให้รอด เป็นพระบุตรพระเป็นเจ้า และเป็นพระเจ้าพระบุตรซึ่งเป็นพระบุคคลหนึ่งในพระตรีเอกภาพ นอกจากนี้ในคัมภีร์ไบเบิลยังบันทึกว่าพระเยซูทรงแสดงปาฏิหาริย์ทรงรักษาคนตาบอดให้หายขาด รักษาคนพิการ โดยตรัสว่า บาปของเจ้าได้รับการให้อภัยแล้ว หลังพระเยซูสิ้นพระชนม์ ก็ได้ทรงฟื้นขึ้นจากความตายหลังสิ้นพระชนม์ได้เพียง 3 วัน และเสด็จขึ้นสู่สวรรค์ ชาวมุสลิมก็ให้ความเคารพพระเยซูเช่นกัน แต่เชื่อต่างจากชาวคริสต์ โดยชาวมุสลิมเรียกพระเยซูว่านบีอีซา คัมภีร์อัลกุรอานระบุว่าพระเยซูไม่ใช่ทั้งพระเจ้าและพระบุตรของพระเจ้า แต่เป็นบ่าวคนหนึ่งของพระเจ้า และเป็นเราะซูลที่พระเจ้าส่งมาเป็นแบบอย่างทางศีลธรรมให้แก่ชาวอิสราเอลเช่นเดียวกับเราะซูลอื่น ๆ นอกจากนี้กุรอานยังอ้างว่าพระเยซูได้ทำนายถึงเราะซูลอีกท่านหนึ่งที่จะมาในอนาคตด้วยว่าชื่ออะหมัด คำว่า "เยซู" มาจากคำในภาษากรีกคือ "เยซุส" Ιησους ซึ่งมาจากการถ่ายอักษรชื่อ Yeshua ในภาษาแอราเมอิกหรือฮีบรูอีกทอดหนึ่ง คริสตชนอาหรับเรียกเยซูว่า "ยาซูอฺ" ตามภาษาซีรีแอก ส่วนชาวอาหรับมุสลิมเรียกว่า "อีซา" ตามอัลกุรอาน ความหมายคือ "ผู้ช่วยให้รอด" เป็นชื่อที่ใช้กันมากในหมู่ชาวยิวตั้งแต่สมัยโยชูวาเป็นต้นมา ภาษาละตินแผลงเป็นเยซูส ภาษาโปรตุเกสแผลงต่อเป็นเยซู ภาษาไทยทับศัพท์ภาษาโปรตุเกสมาจนทุกวันนี้ ส่วนคำว่า "คริสต์" เป็นสมญาซึ่งมาจากคำในภาษากรีกว่า "คริสตอส" Χριστός ซึ่งเป็นคำแปลของคำภาษาฮีบรู Messiah อันหมายถึง "ผู้ได้รับการเจิม" ชาวอาหรับเรียกว่า "มะซีฮฺ" ซึ่งหมายถึงการแต่งตั้งให้ทำหน้าที่สูงส่ง เช่น พระมหากษัตริย์ ปุโรหิต ผู้เผยพระวจนะ เป็นต้น เมื่อราชอาณาจักรยูดาห์เสียแก่บาบิโลน ก็สิ้นกษัตริย์ที่ได้รับการเจิม ต่อจากนั้นชาวยิวก็โหยหาพระเมสสิยาห์ที่จะมาสร้างอาณาจักรใหม่ของพระเจ้า "พระคริสต์" จึงเป็นชื่อตำแหน่ง ไม่ใช่ชื่อตัวบุคคล ผู้นิพนธ์พระวรสารสี่ท่านมักเรียกพระองค์ว่า "พระเยซู" และเพื่อให้แตกต่างจากคนอื่น ๆ ที่ชื่อเหมือนกัน ก็เรียกเป็น "พระเยซูชาวนาซาเรธ" หรือ "พระเยซูบุตรของโยเซฟ" แต่นักบุญเปาโลหรือเปาโลอัครทูตมักเรียกพระองค์ว่า "พระคริสต์" หรือ "พระเยซูคริสต์" ที่เรียกว่า "พระคริสต์เยซู" ก็มี.

ถนนกษัตริย์และพระเยซู · พระเยซูและแม่น้ำจอร์แดน · ดูเพิ่มเติม »

ยอห์นผู้ให้บัพติศมา

อห์นผู้ให้บัพติศมา (โปรเตสแตนต์เดิมเรียกว่ายอห์นผู้ให้รับบัพติศมา) ยอห์นผู้ทำพิธีล้าง(คาทอลิก) หรือนักบุญยอห์น แบปติสต์(คาทอลิก) (John the Baptist; John the Baptizer) เป็นนักเทศน์ชาวยิวในคริสศตวรรษที่ 1 ถือว่าเป็นผู้เผยพระวจนะในสี่ศาสนาคือ ศาสนาคริสต์ ศาสนาอิสลาม ศาสนาบาไฮ และ “Mandaeanism” ท่านถูกกล่าวถึงในพระวรสาร คัมภีร์อัลกุรอาน และคัมภีร์ของศาสนาบาไฮ นักบุญยอห์นแบปติสต์บางทีก็รู้จักกันในชื่อ “ยอห์นผู้มาก่อน” (John the Forerunner) เพราะถือกันว่านักบุญยอห์นเป็นผู้มาล่วงหน้าก่อนพระเยซู.

ถนนกษัตริย์และยอห์นผู้ให้บัพติศมา · ยอห์นผู้ให้บัพติศมาและแม่น้ำจอร์แดน · ดูเพิ่มเติม »

รายการด้านบนตอบคำถามต่อไปนี้

การเปรียบเทียบระหว่าง ถนนกษัตริย์และแม่น้ำจอร์แดน

ถนนกษัตริย์ มี 19 ความสัมพันธ์ขณะที่ แม่น้ำจอร์แดน มี 8 ขณะที่พวกเขามีเหมือนกัน 2, ดัชนี Jaccard คือ 7.41% = 2 / (19 + 8)

การอ้างอิง

บทความนี้แสดงความสัมพันธ์ระหว่าง ถนนกษัตริย์และแม่น้ำจอร์แดน หากต้องการเข้าถึงบทความแต่ละบทความที่ได้รับการรวบรวมข้อมูลโปรดไปที่:

Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »