โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ฟรี
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

ตุ่นและตุ่นจมูกดาว

ทางลัด: ความแตกต่างความคล้ายคลึงกันค่าสัมประสิทธิ์การเปรียบเทียบ Jaccardการอ้างอิง

ความแตกต่างระหว่าง ตุ่นและตุ่นจมูกดาว

ตุ่น vs. ตุ่นจมูกดาว

ำหรับ ติ่ง ที่เป็นความหมายสแลงดูที่ ติ่งหู ตุ่น หรือ ติ่ง (Moles) เป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมวงศ์หนึ่ง ในอันดับตุ่น (Soricomorpha) ใช้ชื่อวงศ์ว่า Talpidae ซึ่งครั้งหนึ่ง (หรือบางข้อมูล) จะจัดให้ตุ่นอยู่ในอันดับสัตว์กินแมลง (Insectivora) ตุ่น มีลักษณะคล้ายหนูตะเภาตัวอ้วน ๆ ซึ่งเป็นสัตว์ในอันดับสัตว์ฟันแทะ (Rodentia) แต่ทว่าตุ่นมีอันดับแยกออกมาเองต่างหาก ซึ่งใกล้เคียงกับหนูผี (Soricidae) มากกว่า มีขนอ่อนนุ่ม สีคล้ำอย่างสีเทาหรือสีดำ ตลอดทั้งลำตัว ซึ่งขนนี้มีคุณลักษณะพิเศษที่สามารถบิดไปในทิศทางใดก็ได้ แตกต่างจากสัตว์ประเภทอื่น ๆ ส่วนหางสั้น ตุ่นอาศัยในโพรงใต้ดินตลอดเวลา จะไม่ขึ้นมาบนพื้นดิน หากไม่จำเป็น ดังนั้นจึงมีหูและตาเล็กมาก เพราะแทบไม่ได้ใช้ประโยชน์ และถูกเก็บซ่อนอยู่ใต้ขน เพื่อป้องกันมิให้ดินเข้าเวลาขุดดิน ในบางชนิดจะมีหนังพิเศษปิดเหนือตาด้วย ขาคู่หน้าของตุ่นซ่อนอยู่ใต้ขน ซึ่งจะยื่นออกมาแต่ส่วนปลายเป็นข้อมือที่มีเล็บที่แข็งแรง 5 เล็บ ซึ่งใช้ในการขุดโพรงดิน แต่จะใช้เดินบนพื้นดินไม่ได้เลย หากตุ่นขึ้นมาบนดินจะทำได้เพียงแค่คืบคลาน ในโพรงใต้ดินของตุ่น มีทางยาวมาก โดยมักจะขุดให้ลึกไปจากผิวดินราว 3 นิ้วครึ่งถึงครึ่งฟุต เป็นทางยาวขนานไปกับผิวดิน และลึกจากหน้าดินราวหนึ่งฟุตก็มีอีกโพรงหนึ่งเป็นคู่ขนานด้วยเช่นกัน ซึ่งทั้งสองสายนี้เชื่อมไว้ด้วยทางเชื่อมเล็ก ๆ ในแนวตามจุดต่าง ๆ เป็นระยะ ๆ แต่ในบางจุดอาจมีแนวดิ่งลึกลงไปถึง 4 ฟุต ผนังโพรงราบเรียบสม่ำเสมอกัน ที่ปลายสุดของโพรงจะใช้เป็นที่กลับตัว ซึ่งมีความกว้างเพียงขนาดเท่าตัวของตุ่น ดินที่ขุดขึ้นทำโพรงนั้นจะถูกอัดไปตามผนังโพรงเพื่อให้แน่นและแข็งแรง แต่บางส่วนก็จะถูกดันขึ้นไปเหนือพื้นดิน เห็นเป็นเนิน ๆ ซึ่งเรียกในภาษาไทยว่า "โขย" ตุ่น กินอาหารหลัก คือ ไส้เดือนดิน และก็สามารถกินอาหารอื่นได้ เช่น หนอน, หอยทาก และพืชประเภทหัว เช่น มัน หรือ แห้ว หลายชนิด ในวันหนึ่ง ๆ ตุ่นสามารถที่จะกินอาหารได้เท่ากับน้ำหนักตัว จึงเป็นสัตว์ที่ไม่อาจอดอาหารได้นาน ในฤดูแล้งที่อาหารขาดแคลน ตุ่นสามารถจะสะสมอาหารเป็นเสบียงได้ ในโพรงดินส่วนที่เป็นห้องเก็บอาหาร โดยมีรายงานว่า ตุ่นบางตัวเก็บหนอนไว้ในห้องเก็บอาหารนับร้อยตัว โดยที่หัวของหนอนเหล่านี้ถูกกัดจนหัวขาดแล้ว แต่ยังไม่ตาย ไม่อาจจะหนีไปไหนได้ ตามปกติ ตุ่นเป็นสัตว์ที่อาศัยอยู่ลำพัง นอกจากในฤดูผสมพันธุ์ ซึ่งในฤดูผสมพันธุ์ตัวผู้ต้องต่อสู้แย่งชิงตัวเมียเสียก่อน ตัวเมียจะเป็นฝ่ายสร้างรั งขนาดลูกรักบี้ที่บุด้วยใบไม้และฟางหรือกิ่งไม้เล็ก ๆ โดยจะอยู่ลึกจากหน้าดินประมาณ 2 ฟุต หรือตื้นกว่านั้น มีทางแยกออกจากรังหลายทาง เพื่อที่จะเข้าออกได้หลายทาง เพื่อความสะดวกและปลอดภัย ซึ่งรังของตุ่นจะสะอาดสะอ้านอยู่เสมอ ตุ่นมักจะมีลูกครอกละ 2-7 ตัว ลูกอ่อนที่เกิดใหม่จะยังไม่ลืมตา และขนจะเริ่มงอกเมื่อมีอายุได้สัก 10 วัน และลืมตาในเวลาต่อมา และจะออกจากรังเมื่อมีอายุได้ราว 5 สัปดาห์ มีอายุขัยโดยเฉลี่ยประมาณ 3 ปี ตุ่นกระจายพันธุ์ไปในทุกพื้นที่ทั่วโลก ยกเว้นในเขตขั้วโลกและโอเชียเนีย สามารถแบ่งออกได้เป็น 17 สกุล และ 3 วงศ์ย่อย (ดูในตาราง) พบประมาณ 44 ชนิด ซึ่งบางชนิดมีขนสีทอง บางชนิดมีส่วนหางยาว บางชนิดที่จมูกมีเส้นขนเป็นอวัยวะรับสัมผัสเป็นเส้น ๆ 22 เส้น ลักษณะคล้ายดาว และมีพฤติกรรมมักอาศัยอยู่บนดินและว่ายน้ำได้เก่งอีกด้วย ขณะที่บางชนิดก็สามารถปีนต้นไม้ได้ และอาศัยอยู่เป็นฝูง สำหรับในประเทศไทยพบเพียงชนิดเดียว คือ ตุ่นโคลส (Euroscaptor klossi). ตุ่นจมูกดาว (Star-nosed mole) เป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมขนาดเล็กชนิดหนึ่ง ในอันดับตุ่น (Soricomorpha) จัดเป็นเพียงชนิดเดียวเท่านั้นที่อยู่ในสกุล Condylura แบ่งออกได้เป็น 2 ชนิดย่อย (ดูในตาราง) ตุ่นจมูกดาว มีลักษณะทั่วไปคล้ายกับตุ่นชนิดอื่น ๆ แต่มีส่วนหางยาว โดยลักษณะเฉพาะตัวที่ดูโดดเด่น คือ เส้นขนที่จมูกที่บานออกเป็นแฉก ๆ คล้ายดาว ซึ่งทำหน้าที่เป็นประสาทสัมผัส 22 เส้นอยู่รอบรูจมูก โดยมีปลายสัมผัสที่เส้นขนเหล่านี้มากมายราวถึงหนึ่งแสนจุด ตุ่นจมูกดาว อาศัยอยู่ในบริเวณที่ราบลุ่มชื้นแฉะ ในบริเวณภาคตะวันออกของทวีปอเมริกาเหนือระหว่างแคนาดาและสหรัฐอเมริกา โดยพบไปถึงชายฝั่งทะเลในรัฐจอร์เจีย โตเต็มวัยจะมีความยาวประมาณ 15-20 เซนติเมตร น้ำหนักประมาณ 55 กรัม มีฟัน 44 ซี่ หากินด้วยการใช้กรงเล็บอันแข็งแรงขุดคุ้ยดินในพื้นที่ชุ่มน้ำหรือตะกอนลำธาร โดยใช้หนวดรอบจมูกคอยสอดส่องหา อันได้แก่ สัตว์ไม่มีกระดูกสันหลังขนาดเล็ก ๆ เช่น แมลงน้ำและตัวอ่อนชนิดต่าง ๆ, สัตว์จำพวกหอยและปลาหมึก เป็นต้น ซึ่งประสาทสัมผัสรอบจมูกนี้มีความว่องไวมาก ทำให้ตุ่นจมูกดาวสามารถจับเหยื่อเพื่อกินได้ในเวลาเพียง 120 มิลลิวินาทีเท่านั้น นอกจากนี้แล้ว ตุ่นจมูกดาวยังเป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนมที่สามารถดมกลิ่นใต้น้ำได้อีกด้วย โดยจะใช้หนวดสำรวจหาเหยื่อตามก้นแหล่งน้ำ โดยจะพ่นฟองอากาศออกมาจากรูจมูกหลายครั้ง เพื่อให้โมเลกุลกลิ่นในน้ำผสมกับอากาศ จากนั้นก็ทำการสูดหายใจเอาฟองอากาศกลับเข้าไปอย่างรวดเร็วด้วยความถี่ประมาณ 10 ครั้งต่อวินาทีเพื่อตรวจหากลิ่นของเหยื่อในน้ำ อีกทั้งยังเป็นตุ่นที่มีพฤติกรรมชอบใช้ชีวิตและหากินบนพื้นดินมากกว่าจะขุดโพรงอยู่ใต้ดินเหมือนเช่นตุ่นชนิดอื่น ๆ อีกด้ว.

ความคล้ายคลึงกันระหว่าง ตุ่นและตุ่นจมูกดาว

ตุ่นและตุ่นจมูกดาว มี 9 สิ่งที่เหมือนกัน (ใน ยูเนี่ยนพีเดีย): พ.ศ. 2518สกุล (ชีววิทยา)สัตว์สัตว์มีแกนสันหลังสัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนมสิงหาคมสปีชีส์หนอนอันดับตุ่น

พ.ศ. 2518

ทธศักราช 2518 ตรงกับปีคริสต์ศักราช 1975 เป็นปีปกติสุรทินที่วันแรกเป็นวันพุธตามปฏิทินเกรกอเรียน.

ตุ่นและพ.ศ. 2518 · ตุ่นจมูกดาวและพ.ศ. 2518 · ดูเพิ่มเติม »

สกุล (ชีววิทยา)

ในทางชีววิทยา สกุล (อังกฤษ genus) เป็นการจัดกลุ่มเอาสิ่งมีชีวิตสปีชีส์ที่มีลักษณะใกล้เคียงเข้ามารวมกัน ในการตั้งชื่อแบบทวินาม ชื่อสิ่งมีชีวิตประกอบขึ้นจากสองส่วน คือ สกุล ซึ่งต้องขึ้นต้นด้วยตัวพิมพ์ใหญ่ และ สปีชีส์ ตัวอย่างหนึ่งคือ Homo sapiens เป็นชื่อเรียกมนุษย์ อยู่ในสกุล Homo ชื่อสกุลในอาณาจักรหนึ่งสามารถซ้ำกับชื่อสกุลหรือชื่อในอนุกรมวิธานของอาณาจักรอื่นได้ ตัวอย่างเช่น Anura เป็นชื่อสกุลของพืชในวงศ์ และเป็นชื่ออันดับของกบ Aotus เป็นชื่อสกุลของถั่วและลิง เป็นต้น แต่ชื่อสกุลในอาณาจักรหนึ่ง ๆ ต้องห้ามซ้ำกัน หมวดหมู่:ชีววิทยา หมวดหมู่:การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์.

ตุ่นและสกุล (ชีววิทยา) · ตุ่นจมูกดาวและสกุล (ชีววิทยา) · ดูเพิ่มเติม »

สัตว์

ัตว์ (Animal) เป็นสิ่งมีชีวิตยูแคริโอตหลายเซลล์ในอาณาจักร Animalia (หรือเรียก เมตาซัว) แผนกาย (body plan) ของพวกมันสุดท้ายคงที่เมื่อพัฒนา แม้สัตว์บางชนิดมีกระบวนการการเปลี่ยนสัณฐานภายหลังในช่วงชีวิต สัตว์ส่วนใหญ่เคลื่อนที่ได้ สัตว์ทุกชนิดต้องกินสิ่งมีชีวิตอื่นหรือผลิตภัณฑ์ของสิ่งมีชีวิตเพื่อการดำรงชีพ (สิ่งมีชีวิตสร้างอาหารเองไม่ได้) ไฟลัมสัตว์ที่รู้จักกันดีที่สุดปรากฏในบันทึกฟอสซิลเป็นสปีชีส์ภาคพื้นสมุทรระหว่างการระเบิดแคมเบรียน (Cambrian explosion) ประมาณ 542 ล้านปีก่อน สัตว์แบ่งเป็นกลุ่มย่อยหลายกลุ่ม บางกลุ่ม เช่น สัตว์มีกระดูกสันหลัง (นก สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม สัตว์สะเทินน้ำสะเทินบก สัตว์เลื้อยคลาน ปลา) มอลลัสกา (หอยกาบ หอยนางรม ปลาหมึก หมึกสาย หอยทาก) สัตว์ขาปล้อง (กิ้งกือ ตะขาบ แมลง แมงมุม แมงป่อง ปู ลอบสเตอร์ กุ้ง) สัตว์พวกหนอนปล้อง (ไส้เดือนดิน ปลิง) ฟองน้ำ และแมงกะพรุน.

ตุ่นและสัตว์ · ตุ่นจมูกดาวและสัตว์ · ดูเพิ่มเติม »

สัตว์มีแกนสันหลัง

ัตว์มีแกนสันหลัง คือสัตว์ในไฟลัมคอร์ดาตา พวกมันจะมีแกนสันหลัง ใยประสาทส่วนหลังกลวง ช่องคอหอย หลอดเส้นประสาทกลวงส่วนหลัง และหางหลังทวารหนัก ในช่วงหนึ่งของวงจรชีวิต สัตว์มีแกนสันหลังเป็นพวกดิวเทอโรสโตม กล่าวคือในช่วงระยะตัวอ่อน ทวารหนักเกิดก่อนปาก และเป็นซีโลเมตที่มีสมมาตรด้านข้าง ในกรณีของสัตว์มีแกนสันหลังที่มีกระดูกสันหลัง แกนสันหลังจะถูกแทนที่โดยกระดูกสันหลังในช่วงเจริญเติบโต และพวกมันอาจจะมีปล้องตามร่างกาย ในอนุกรมวิธาน ตัวไฟลัมเองประกอบไปด้วยไฟลัมย่อยเวอร์เตบราตา (ซึ่งประกอบด้วย ปลา สัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำ สัตว์เลื้อยคลาน สัตว์ปีก และสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม) ทูนิคาตา (ซึ่งรวมทั้งซาล์ปและเพรียงหัวหอม) และเซฟาโลคอร์ดาตา ประกอบด้วยแหลนทะเล และยังรวมถึงบางกลุ่มที่สูญพันธุ์ไปแล้ว บางครั้งกลุ่มสัตว์มีกระดูกสันหลังถูกจัดรวมอยู่กับกลุ่มสัตว์มีกระโหลกศีรษะ สัตว์มีแกนสันหลังมีมากกว่า 65,000 สปีชีส์ที่ยังมีชีวิตอยู่ กว่าครึ่งเป็นพวกปลากระดูกแข็ง วาฬและเหยี่ยวเพเรกริน สัตว์ที่มีขนาดใหญ่ที่สุดและเคลื่อนที่เร็วที่สุดตามลำดับ เป็นสัตว์มีแกนสันหลังเช่นเดียวกันกับมนุษย์ ซากดึกดำบรรพ์ของสัตว์มีแกนสันหลังยุคแรกๆ มีอายุย้อนไปถึงในช่วงการระเบิดยุคแคมเบรียน.

ตุ่นและสัตว์มีแกนสันหลัง · ตุ่นจมูกดาวและสัตว์มีแกนสันหลัง · ดูเพิ่มเติม »

สัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนม

ัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนม (Mammalia) จัดอยู่ในไฟลัมสัตว์มีแกนสันหลัง โดยคำว่า Mammalia มาจากคำว่า Mamma ที่มีความหมายว่า "หน้าอก" เป็นกลุ่มของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนม ที่มีการวิวัฒนาการและพัฒนาร่างกายที่ดีหลากหลายประการ รวมทั้งมีระบบประสาทที่เจริญก้าวหน้า สามารถดำรงชีวิตได้ในทุกสภาพสิ่งแวดล้อมสัตววิทยา (สัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนม), บพิธ-นันทพร จารุพันธุ์, สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, 2547, หน้า 411 มีขนาดของร่างกายและรูปพรรณสัณฐานที่แตกต่างกันออกไป รวมถึงการทำงานของระบบต่าง ๆ ภายในร่างกาย ที่มีการปรับเปลี่ยนไปตามลักษณะของสายพันธุ์ มีลักษณะเด่นคือมีต่อมน้ำนมที่มีเฉพาะในเพศเมียเท่านั้น เพื่อผลิตน้ำนมเพื่อใช้เลี้ยงลูกวัยแรกเกิด เป็นสัตว์เลือดอุ่น มีขนเป็นเส้น ๆ (hair) หรือขนอ่อน (fur) ปกคลุมทั่วทั้งร่างกาย เพื่อเป็นการรักษาอุณหภูมิในร่างกาย ยกเว้นสัตว์น้ำที่ไม่มีขน สัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนม ไม่จัดอยู่ในประเภทสัตว์กลุ่มใหญ่ คือมีจำนวนประชากรประมาณ 4,500 ชนิด ซึ่งถือว่าเป็นปริมาณน้อยมากเมื่อเทียบกับนก ที่มีประมาณ 9,200 ชนิด และปลาอีกประมาณ 20,000 ชนิด รวมทั้งแมลงอีกประมาณ 800,000 ชนิด ส่วนใหญ่เป็นสัตว์บก เช่น สุนัข ช้าง ลิง เสือ สิงโต จิงโจ้ เม่น หนู ฯลฯ สำหรับสัตว์น้ำที่จัดเป็นเลี้ยงลูกด้วยน้ำนม ได้แก่ โลมา วาฬ มานาทีและพะยูน แต่สำหรับสัตว์ปีกประเภทเดียวที่เลี้ยงลูกด้วยน้ำนมคือค้างคาว ซึ่งกระรอกบินและบ่างนั้น ไม่จัดอยู่ในประเภทของสัตว์ปีก เนื่องจากใช้ปีกในการร่อนไปได้เพียงแค่ระยะหนึ่งเท่านั้น สัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนมส่วนใหญ่ออกลูกเป็นตัว ยกเว้นตุ่นปากเป็ดและอีคิดนาเท่านั้นที่ออกลูกเป็น.

ตุ่นและสัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนม · ตุ่นจมูกดาวและสัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนม · ดูเพิ่มเติม »

สิงหาคม

งหาคม เป็นเดือนที่ 8 ของปี ตามปฏิทินเกรกอเรียน และเป็นหนึ่งในเดือน 7 เดือนที่มี 31 วัน ตามหลักโหราศาสตร์ เดือนสิงหาคมเริ่มต้นขึ้นเมื่อดวงอาทิตย์ยกเข้าสู่ราศีสิงห์ และสิ้นสุดเมื่อยกเข้าสู่ราศีกันย์ แต่ในทางดาราศาสตร์ ต้นเดือนสิงหาคมดวงอาทิตย์อยู่ในกลุ่มดาวปูและปลายเดือนไปอยู่ในกลุ่มดาวสิงโต เดือนสิงหาคมเดิมใช้ชื่อในภาษาละตินว่า ซิกซ์ตีลิส (Sextilis) เนื่องจากเป็นเดือนที่ 6 ในปฏิทินโรมันดั้งเดิมที่เริ่มต้นปีในเดือนมีนาคม ต่อมาเปลี่ยนเป็น August เพื่อเป็นเกียรติแด่ ออกัสตัส ซีซาร์ เพราะเป็นเดือนที่พระองค์เข้าไปโรมในชัยชนะของเจ้าทั้งตะวันออกและตะวันตก ประเทศไทยเริ่มใช้ชื่อเดือนสิงหาคมในปี พ.ศ. 2432 ตรงกับสมัยรัชกาลที่ 5 โดยสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอกรมพระยาเทววงศ์วโรปการ เป็นผู้เสนอให้ใช้ราศีกำหนดชื่อเดือน.

ตุ่นและสิงหาคม · ตุ่นจมูกดาวและสิงหาคม · ดูเพิ่มเติม »

สปีชีส์

ในวิชาชีววิทยา ชนิด หรือทับศัพท์ว่า สปีชีส์ (species, ย่อ: sp., รูปพหูพจน์ย่อ: spp.) เป็นหน่วยการจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์พื้นฐานและอันดับอนุกรมวิธานหนึ่ง มักนิยามว่า สปีชีส์เป็นกลุ่มอินทรีย์ใหญ่สุดที่สามารถสืบพันธุ์แล้วออกลูกที่สืบพันธุ์ได้ การมีลักษณะปรับตัวเฉพาะบางท้องถิ่นอาจแบ่งสปีชีส์ต่ออีกได้เป็น "ชื่อต่ำกว่าระดับชนิด" (infraspecific taxa) เช่น ชนิดย่อย (ในทางพฤกษศาสตร์ มีใช้คำอื่น เช่น พันธุ์ (variety) พันธุ์ย่อยและแบบ (forma)).

ตุ่นและสปีชีส์ · ตุ่นจมูกดาวและสปีชีส์ · ดูเพิ่มเติม »

หนอน

องหนอน Proserpinus proserpina หนอน (larva) เป็นคำที่ใช้เรียกชื่อตัวอ่อนของแมลงที่มีการเปลี่ยนแปลงรูปร่างและการเจริญเติบโตแบบ Holometabola โดยมี 4 ระยะการเจริญเติบโต คือ ไข่ หนอน ดักแด้ และ ตัวเต็มวัย ตามลำดับ ลักษณะของตัวหนอนจะไม่มีตารวม มีปีกที่เจริญอยู่ภายใน ตัวหนอนมีการเจริญเติบโตขึ้นไปได้หลายระยะ โดยการลอกคราบจนถึงระยะสุดท้ายจะลอกคราบกลายเป็นดักแด้ พบได้ในแมลงจำพวก แมลงช้าง แมลงปีกใส ด้วง หนอนปลอกน้ำ ผีเสื้อ แมลงวัน หมัด ผึ้ง ต่อ แตน และ มด คำว่า หนอน อาจใช้เรียกสิ่งมีชีวิตจำพวก หนอนพยาธิ (worm) เช่น หนอนตัวกลม หนอนตัวแบน รวมทั้งไส้เดือนและหนอนทะเลด้ว.

ตุ่นและหนอน · ตุ่นจมูกดาวและหนอน · ดูเพิ่มเติม »

อันดับตุ่น

อันดับตุ่น (อันดับ: Soricomorpha) เป็นอันดับของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมอันดับหนึ่ง การอนุกรมวิธานของสัตว์ในอันดับนี้ ถูกแยกออกจากอันดับสัตว์กินแมลง (Insectivora) พร้อมกับอันดับเทนเรค (Afrosoricida), อันดับหนูผีช้าง (Macroscelidea) และอันดับเฮดจ์ฮอก (Erinaceomorpha) ขณะที่ข้อมูลบางแหล่งยังถือว่าอยู่ในอันดับสัตว์กินแมลงอยู่ สัตว์ที่อยู่ในอันดับนี้ ถูกแบ่งออกด้วยกันเป็น 4 วงศ์ ได้แก่ หนูผี (Soricidae), ตุ่น (Talpidae) และโซเลนโนดอน (Solenodontidae) ซึ่งเป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมลักษณะคล้ายหนูผี แต่ถูกแยกออกจากกันเป็นคนละวงศ์ ซึ่งเป็นสัตว์หายาก พบได้เฉพาะที่ประเทศคิวบาเท่านั้น และสูญพันธุ์ไป 1 วงศ์ คือ Nesophontidae.

ตุ่นและอันดับตุ่น · ตุ่นจมูกดาวและอันดับตุ่น · ดูเพิ่มเติม »

รายการด้านบนตอบคำถามต่อไปนี้

การเปรียบเทียบระหว่าง ตุ่นและตุ่นจมูกดาว

ตุ่น มี 48 ความสัมพันธ์ขณะที่ ตุ่นจมูกดาว มี 31 ขณะที่พวกเขามีเหมือนกัน 9, ดัชนี Jaccard คือ 11.39% = 9 / (48 + 31)

การอ้างอิง

บทความนี้แสดงความสัมพันธ์ระหว่าง ตุ่นและตุ่นจมูกดาว หากต้องการเข้าถึงบทความแต่ละบทความที่ได้รับการรวบรวมข้อมูลโปรดไปที่:

Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »