โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ติดตั้ง
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

ตัวเอกและบันเทิงคดี

ทางลัด: ความแตกต่างความคล้ายคลึงกันค่าสัมประสิทธิ์การเปรียบเทียบ Jaccardการอ้างอิง

ความแตกต่างระหว่าง ตัวเอกและบันเทิงคดี

ตัวเอก vs. บันเทิงคดี

ตัวเอก คือบุคคลที่เป็นศูนย์กลางของเรื่อง และมักถูกกล่าวถึงในฐานะที่เป็น ตัวละครหลัก ของเรื่อง เรียกว่า "พระเอก" หากเป็นผู้ชาย และเรียกว่า "นางเอก" หากเป็นผู้หญิง อย่างไรก็ตาม วรรณกรรมบางเรื่องอาจมีเฉพาะพระเอกหรือนางเอกก็ได้ เรื่องจะดำเนินตาม และมักจะมุ่งความสนใจไปที่ตัวเอก (หรือบางครั้งเป็นกลุ่มของตัวเอก) บ่อยครั้งที่เรื่องเล่าด้วยมุมมองของตัวเอก และถ้าในกรณีที่การเล่าเรื่องไม่ได้เป็นแบบการบรรยายแบบบุรุษที่หนึ่ง ความรู้สึกนึกคิดและการกระทำของตัวเอกมักถูกแสดงให้เห็นอย่างชัดเจนมากกว่าตัวละครอื่น ๆ ตัวเอกมักเป็นตัวละครที่มีการเปลี่ยนแปลงหรือพัฒนาการ แม้ว่านวนิยายจะมีศูนย์กลางอยู่ที่เหตุการณ์หรือตัวละครอื่น ๆ (เช่นในเรื่องสั้น Bartleby the Scrivernet ของเฮอร์มาน เมลวิลล์) ตัวเอกจะเป็นตัวละครที่มีพลวัตร และมักจะทำให้นิยายคลี่คลายไปในทิศทางที่นำไปสู่บทสรุปหลักของชิ้นงานนั้น และมักทำให้ผู้อ่านเกิดความชื่นชมหรือความสนใจได้ ตัวเอกนั้นไม่จำเป็นต้องเป็นวีรบุรุษของเรื่อง ผู้ประพันธ์หลายคนเลือกเล่าเรื่องจากมุมมองของตัวละครที่อาจไม่ใช่ศูนย์กลางของเรื่อง แต่อยู่ในฐานะที่จะแสดงความคิดเห็นต่อเรื่องราวนั้น อย่างไรก็ตาม บ่อยครั้งกว่าที่เรื่องจะเกี่ยวข้องกับตัวเอก แม้ว่าตัวเอกจะไม่ได้สร้างวีรกรรมอะไรในเรื่องนั้น แต่การกระทำของตัวเอกมักสำคัญต่อการดำเนินเรื่อง นอกจากนี้ตัวเอกกับผู้บรรยายไม่จำเป็นต้องเป็นตัวละครเดียวกัน ทั้งคู่อาจเป็นตัวละครเดียวกันได้ แต่แม้กระทั่งผู้บรรยายบุรุษที่หนึ่งก็ไม่จำเป็นต้องเป็นตัวเอก เนื่องจากผู้บรรยายนั้นอาจแค่รำลึกเรื่องราว โดยไม่จำเป็นต้องอยู่ในเหตุการณ์จริงเช่นเดียวกับผู้ฟัง. บันเทิงคดี เป็นงานรูปแบบหนึ่งที่ว่าด้วยสารสนเทศหรือเหตุการณ์ซึ่งมิใช่ข้อเท็จจริง แต่เป็นจินตนาการหรือทฤษฎีบางส่วนหรือทั้งหมด กล่าวคือ เป็นงานที่ผู้ประพันธ์แต่งขึ้น แม้บันเทิงคดีจะใช้หมายถึงสาขาหลักของงานวรรณกรรมอย่างหนึ่ง แต่ยังอาจหมายถึง งานละคร ภาพยนตร์หรือดนตรีด้วย บันเทิงคดีตรงข้ามกับสารคดี ซึ่งว่าด้วยเหตุการณ์ คำอธิบาย การสังเกตที่เป็นจริง (หรืออย่างน้อย ที่สันนิษฐานว่าเป็นจริง) เช่น ชีวประวัติ ประวัติศาสตร์ เป็นต้น ผลงานที่จัดเป็นบันเทิงคดี เช่น นิทาน เรื่องสั้น ภาพยนตร์บางประเภท เรื่องปรัมปรา การ์ตูน หรืออาจเป็นแอนิเมชัน และวิดีโอเกมบางประเภท เป็นต้น หมวดหมู่:ประเภทวรรณกรรม.

ความคล้ายคลึงกันระหว่าง ตัวเอกและบันเทิงคดี

ตัวเอกและบันเทิงคดี มี 0 สิ่งที่เหมือนกัน (ใน ยูเนี่ยนพีเดีย)

รายการด้านบนตอบคำถามต่อไปนี้

การเปรียบเทียบระหว่าง ตัวเอกและบันเทิงคดี

ตัวเอก มี 5 ความสัมพันธ์ขณะที่ บันเทิงคดี มี 9 ขณะที่พวกเขามีเหมือนกัน 0, ดัชนี Jaccard คือ 0.00% = 0 / (5 + 9)

การอ้างอิง

บทความนี้แสดงความสัมพันธ์ระหว่าง ตัวเอกและบันเทิงคดี หากต้องการเข้าถึงบทความแต่ละบทความที่ได้รับการรวบรวมข้อมูลโปรดไปที่:

Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »