โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ติดตั้ง
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

ตัวขยายสัญญาณและทรานซิสเตอร์

ทางลัด: ความแตกต่างความคล้ายคลึงกันค่าสัมประสิทธิ์การเปรียบเทียบ Jaccardการอ้างอิง

ความแตกต่างระหว่าง ตัวขยายสัญญาณและทรานซิสเตอร์

ตัวขยายสัญญาณ vs. ทรานซิสเตอร์

ตัวอย่างวงจรขยายกำลังสัญญาณ ตัวขยายสัญญาณ หรือ วงจรขยายสัญญาณ (Electronic Amplifier or Amplifier) หรือเรียกสั้นๆว่า Amp เป็นอุปกรณ์หรือวงจรอิเล็กทรอนิกส์ที่ช่วยเพิ่มขนาดหรือกำลังของสัญญาณ โดยการใช้พลังงานจากแหล่งจ่ายไฟและการควบคุมสัญญาณเอาต์พุทให้มีรูปร่างเหมือนสัญญาณอินพุท แต่มีขนาดใหญ่กว่า ในความหมายนี้ ตัวขยายสัญญาณทำการกล้ำสัญญาณ (modulate) เอาต์พุทของแหล่งจ่ายไฟ ตัวขยายอิเล็กทรอนิกส์มี 4 ประเภทพื้นฐานได้แก่ ตัวขยายแรงดัน, ตัวขยายกระแส, ตัวขยาย transconductance และตัวขยาย transresistance ความแตกต่างอยู่ที่สัญญาณเอาต์พุตจะแทนความหมายของสัญญาณอินพุทแบบเชิงเส้นหรือแบบเอ็กซ์โปเนนเชียล ตัวขยายสัญญาณยังสามารถถูกแยกประเภทโดยการแทนที่ทางกายภาพในขบวนของสัญญาณด้วย ในบทความนี้ ตัวขยายสัญญาณหมายถึงอุปกรณ์เช่นทรานซิสเตอร์, หลอดสูญญากาศ ฯลฯ วงจรขยายสัญญาณหมายถึงอุปกรณ์ขยายสัญญาณหรือชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์อื่นๆที่ขยายสัญญาณ. ทรานซิสเตอร์ (transistor) เป็นอุปกรณ์สารกึงตัวนำที่สามารถควบคุมการไหลของอิเล็กตรอนได้ ใช้ทำหน้าที่ ขยายสัญญาณไฟฟ้า, เปิด/ปิดสัญญาณไฟฟ้า, ควบคุมแรงดันไฟฟ้าให้คงที่, หรือกล้ำสัญญาณไฟฟ้า (modulate) เป็นต้น การทำงานของทรานซิสเตอร์เปรียบได้กับวาล์วควบคุมที่ทำงานด้วยสัญญาณไฟฟ้าที่ขาเข้า เพื่อปรับขนาดกระแสไฟฟ้าขาออกที่จ่ายมาจากแหล่งจ่ายไฟ ทรานซิสเตอร์ประกอบด้วยวัสดุเซมิคอนดักเตอร์ที่มีอย่างน้อยสามขั้วไฟฟ้าเพื่อเชื่อมต่อกับวงจร ภายนอก แรงดันหรือกระแสไฟฟ้าที่ป้อนให้กับขั้วทรานซิสเตอร์หนึ่งคู่ จะมีผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในกระแสที่ไหลผ่านในขั้วทรานซิสเตอร์อีกคู่หนึ่ง เนื่องจากพลังงานที่ถูกควบคุม (เอาต์พุต)จะสูงกว่าพลังงานที่ใช้ในการควบคุม (อินพุท) ทรานซิสเตอร์จึงสามารถขยายสัญญาณได้ ปัจจุบัน บางทรานซิสเตอร์ถูกประกอบขึ้นมาต่างหากแต่ยังมีอีกมากที่พบฝังอยู่ใน แผงวงจรรวม ทรานซิสเตอร์เป็นการสร้างบล็อกพื้นฐานของอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ที่ทันสมัย ​​และเป็นที่แพร่หลายในระบบอิเล็กทรอนิกส์สมัยใหม.

ความคล้ายคลึงกันระหว่าง ตัวขยายสัญญาณและทรานซิสเตอร์

ตัวขยายสัญญาณและทรานซิสเตอร์ มี 4 สิ่งที่เหมือนกัน (ใน ยูเนี่ยนพีเดีย): ชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์การกล้ำสัญญาณวงจรรวมแหล่งจ่ายไฟ

ชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์

้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ (Electronic Component) เป็นอุปกรณ์พื้นฐานที่แยกออกเป็นชิ้นย่อยๆเป็นเอกเทศหรือเป็นอุปกรณ์ที่มีเอกลักษณ์ทางกายภาพในระบบอิเล็กทรอนิกส์ที่ใช้ในการส่งผลกระทบต่ออิเล็กตรอนหรือสาขาที่เกี่ยวข้องกับอิเล็กตรอน ตัวอย่างชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ ชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ที่มีมากกว่าสองขั้วไฟฟ้า(ขาหรือลีดส์) เมื่อนำขาของชิ้นส่วนหลายชนิดมาบัดกรีเข้าด้วยกันบนแผงวงจรพิมพ์จะสร้างเป็นวงจรอิเล็กทรอนิกส์ (วงจรย่อย) ที่มีฟังก์ชันที่เฉพาะเจาะจง (เช่นเครื่องขยายสัญญาณ, เครื่องรับสัญญาณวิทยุหรือ oscillator) ชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์พื้นฐานอาจจะถูกเก็บในบรรจุภัณฑ์แยกชนิดกัน หรือจัดเรียงเป็นแถวหรือเครือข่ายของส่วนประกอบที่เหมือนกันหรือผสมกันภายในแพคเกจเช่นวงจรรวมเซมิคอนดักเตอร์, แผงวงจรไฟฟ้าไฮบริดหรืออุปกรณ์ฟิล์มหน.

ชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์และตัวขยายสัญญาณ · ชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์และทรานซิสเตอร์ · ดูเพิ่มเติม »

การกล้ำสัญญาณ

การกล้ำสัญญาณ หรือ (Modulation) ในอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์และ โทรคมนาคม การ(ควบ)กล้ำสัญญาณเป็นกระบวนการของการปรับเปลี่ยนลักษณะสมบัติอย่างใดอย่างหนึ่งหรือหลายๆอย่างของรูปสัญญาณคลื่นพาห์(สัญญาณที่เป็นตัวขนส่งความถี่สูง)ด้วยสัญญาณข้อมูลที่จะถูกส่งผ่าน เช่น กระแสบิตดิจิตอล(digital bit stream)หรือสัญญาณเสียงอนาล็อก การกล้ำสัญญาณรูปคลื่นไซน์จะแปลงสัญญาณข้อความ baseband เป็นสัญญาณ passband โมดูเลเตอร์เป็นอุปกรณ์กล้ำสัญญาณ, demodulator(บางครั้งเรียกว่า demod) เป็นอุปกรณ์ที่ทำงานตรงกันข้ามกับการกล้ำส้ญญาณ, โมเด็ม(จาก modulator-demodulator) สามารถทำงานได้ทั้งสองอย่าง จุดมุ่งหมายของการกล้ำสัญญาณดิจิตอลคือการโอนย้ายกระแสบิตดิจิตอลผ่านช่อง bandpass แอนะล็อก ตัวอย่างเช่นผ่านทางเครือข่ายโทรศัพท์ (PSTN) (ที่ซึ่งตัวกรอง bandpass จะจำกัดช่วงความถี่ไว้ที่ 300-3400 Hz ซึ่งเป็นความถี่เสียงที่มนุษย์ได้ยิน)เช่นบริการ ADSL หรือ ผ่านทางแถบความถี่วิทยุที่มีอยู่อย่างจำกัด จุดมุ่งหมายของการกล้ำสัญญาณอะนาล็อกคือการโอนย้ายสัญญาณแอนะล็อก baseband (หรือ lowpass) เช่นสัญญาณเสียงหรือสัญญาณทีวี ผ่านช่องทาง bandpass แบบอะนาล็อกที่ความถี่ที่แตกต่างกันเช่นในช่วงแถบความถี่วิทยุที่จำกัดหรือช่องทางเครือข่ายเคเบิลทีวี การกล้ำสัญญาณแอนะล็อกและดิจิตอลช่วยอำนวยความสะดวกในการมัลติเพล็กซ์แบบแบ่งความถี่(Frequency Division Multiplex) หรือ FDM ที่หลายๆสัญญาณข้อมูลความถี่ต่ำที่ผ่านการกรองมาแล้วจะถูกโอนพร้อมกันผ่านทางสื่อทางกายภาพเดียวกันที่ใช้ร่วมกัน โดยการใช้ช่อง passband แยกจากกัน (หลายความถี่คลื่นพาหะที่แตกต่างกัน) จุดมุ่งหมายของวิธีการกล้ำสัญญาณดิจิทัล baseband หรือที่เรียกว่า line coding ก็เพื่อที่จะถ่ายโอนกระแสบิตดิจิตอลผ่านช่องทางเบสแบนด์ โดยทั่วไปก็คือลวดทองแดงที่ไม่กรอง เช่นบัสแบบอนุกรมหรือสายแลน จุดมุ่งหมายของวิธีกล้ำสัญญาณกระตุก()ก็เพื่อที่จะถ่ายโอนสัญญาณอนาล็อกแบนด์แคบ เช่น สัญญาณเสียงพูดโทรศัพท์ ผ่านช่องสัญญาณ baseband แถบกว้าง หรือในบางรูปแบบส่งผ่านเหมือนเป็นกระแสบิตผ่านระบบการส่งผ่านดิจิตอลอื่น ในตัวสังเคราะห์เพลง, การกล้ำสัญญาณอาจถูกใช้ในการสังเคราะห์รูปคลื่นต่างๆ ด้วยคลื่น ความถี่เสียงกว้างโดยการใช้ oscillator จำนวนน้อย ในกรณีนี้ความถี่คลื่นพาหะโดยทั่วไปจะ อยู่ในลำดับเดียวกันหรือต่ำกว่าสัญญาณที่มากล้ำมากๆ ดูตัวอย่าง frequency modulation synthesis หรือ ring modulation synthesis.

การกล้ำสัญญาณและตัวขยายสัญญาณ · การกล้ำสัญญาณและทรานซิสเตอร์ · ดูเพิ่มเติม »

วงจรรวม

วงจรรวม วงจรรวม หรือ วงจรเบ็ดเสร็จ (integrated circuit; IC) หมายถึง วงจรที่นำเอาไดโอด, ทรานซิสเตอร์, ตัวต้านทาน, ตัวเก็บประจุ และองค์ประกอบวงจรต่าง ๆ มาประกอบรวมกันบนแผ่นวงจรขนาดเล็ก ในปัจจุบันแผ่นวงจรนี้จะทำด้วยแผ่นซิลิคอน บางทีอาจเรียก ชิป (Chip) และสร้างองค์ประกอบวงจรต่าง ๆ ฝังอยู่บนแผ่นผลึกนี้ ส่วนใหญ่เป็นชนิดที่เรียกว่า Monolithic การสร้างองค์ประกอบวงจรบนผิวผลึกนี้ จะใช้กรรมวิธีทางด้านการถ่ายภาพอย่างละเอียด ผสมกับขบวนการทางเคมีทำให้ลายวงจรมีความละเอียดสูงมาก สามารถบรรจุองค์ประกอบวงจรได้จำนวนมาก ภายในไอซี จะมีส่วนของลอจิกมากมาย ในบรรดาวงจรเบ็ดเสร็จที่ซับซ้อนสูง เช่น ไมโครโปรเซสเซอร์ ซึ่งใช้ทำงานควบคุม คอมพิวเตอร์ จนถึงโทรศัพท์มือถือ แม้กระทั่งเตาอบไมโครเวฟแบบดิจิทัล สำหรับชิปหน่วยความจำ (RAM) เป็นอีกประเภทหนึ่งของวงจรเบ็ดเสร็จ ที่มีความสำคัญมากในยุคปัจจุบัน.

ตัวขยายสัญญาณและวงจรรวม · ทรานซิสเตอร์และวงจรรวม · ดูเพิ่มเติม »

แหล่งจ่ายไฟ

รูปแสดงแหล่งจ่ายไฟแบบหลอดสูญญากาศ แขวนบนแร็ค ปรับได้ ทำงานที่ +/- 1500 volts DC, 0 to 100mA output, สามารถจำกัดกระแสได้ แหล่งจ่ายไฟ (Power supply)เป็นอุปกรณ์ที่จ่ายพลังงานไฟฟ้าให้กับโหลดไฟฟ้.

ตัวขยายสัญญาณและแหล่งจ่ายไฟ · ทรานซิสเตอร์และแหล่งจ่ายไฟ · ดูเพิ่มเติม »

รายการด้านบนตอบคำถามต่อไปนี้

การเปรียบเทียบระหว่าง ตัวขยายสัญญาณและทรานซิสเตอร์

ตัวขยายสัญญาณ มี 8 ความสัมพันธ์ขณะที่ ทรานซิสเตอร์ มี 21 ขณะที่พวกเขามีเหมือนกัน 4, ดัชนี Jaccard คือ 13.79% = 4 / (8 + 21)

การอ้างอิง

บทความนี้แสดงความสัมพันธ์ระหว่าง ตัวขยายสัญญาณและทรานซิสเตอร์ หากต้องการเข้าถึงบทความแต่ละบทความที่ได้รับการรวบรวมข้อมูลโปรดไปที่:

Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »